Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
15 กันยายน 2551

ข้อศอกเคลื่อนจากการดึง ( Pulled elbow )

ข้อศอกเคลื่อนจากการดึง ( Pulled elbow )
อาจมีชื่อเรียก หลายอย่าง เช่น slipped elbow, toddler elbow, nursemaid's elbow or radial head subluxation.


พบได้บ่อย ช่วงอายุ 2 – 4 ปี ( พบได้ตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี )

พบบ่อยใน เด็กหญิง และ มักจะเป็น แขนซ้าย

เกิดขึ้นจากการดึงแขน ขณะที่เหยียดข้อศอก และ คว่ำมือ ทำให้หัวกระดูกเรเดียสหลุดออกจากเส้นเอ็นที่ยึดไว้










แนวทางวินิจฉัย

ผู้ปกครอง มักให้ประวัติว่า ไม่มีอุบัติเหตุ อยู่ดี ๆ เด็กก็ไม่ขยับแขน หรือ อาจมีประวัติ ดึงแขนเพื่อยกตัวเด็กขึ้น จับมือกระชาก อุบัติเหตุหกล้ม

ตรวจร่างกายทั่วไปมักจะปกติ เล่นได้ ไม่ปวด ไม่บวม ไม่ร้อน ยกเว้น เด็กไม่ยอมขยับแขน ไม่ยอมคว่ำหงายมือ ไม่ยอมเหยียดงอข้อศอก



แขนจะอยู่ในท่างอศอกเล็กน้อย และคว่ำมือ เด็กอาจเอามืออีกข้างมาพยุงข้างที่เป็น
( ในบางครั้ง เด็กอาจร้องให้ ด้วยความเจ็บ หรือ ความกลัว ก็ได้ )

การเอกซเรย์ ไม่จำเป็นยกเว้นในกรณีสงสัยว่าจะมีกระดูกข้อศอกแตกหัก ร่วมด้วย หรือ ในกรณีที่ลองดึงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

แนวทางรักษา





ดึงหัวกระดูกเรเดียสให้เข้าที่ ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึก ( ยาชา หรือ ยาสลบ ) เด็กจะเจ็บมากขณะดึง แต่ถ้า ดึงกระดูกเข้าที่แล้ว ก็จะหายเจ็บ และ ขยับข้อศอก ขยับมือได้เหมือนปกติ ( แต่ในบางรายอาจต้องรอถึง 30 นาที โดยเฉพาะ เด็กอายุน้อยกว่า2 ขวบ หรือ เป็นมานานกว่า 4 ชม. )

หลังจากดึงแล้ว เด็กยังไม่ยอมเหยียดข้อศอก ไม่ยอมใช้มือ ให้ส่งเอกซเรย์ เพื่อดูว่า กระดูกผิดปกติหรือไม่ ถ้าเอกซเรย์ ปกติ ให้ลองดึง อีกครั้ง

แต่ถ้าดึงแล้ว เด็กหายเจ็บ และขยับข้อศอก ข้อมือได้ปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือ ผ้าคล้องแขน ( ในบางกรณีที่เด็กยังเจ็บแขน ก็อาจใช้ผ้าคล้องแขนไปก่อนก็ได้ )

ในกรณีที่ปวดมาก เป็นซ้ำ หรือ มีอาการนานกว่า 12 ชม. อาจต้องใส่เฝือกกาบ ( long arm post slap ) ประมาณ 7 – 10 วัน

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ต้องแนะนำผู้ปกครอง หลีกเลี่ยงการดึงแขน เพราะอาจกลับเป็นซ้ำอีก

https://www.emedicine.com/emerg/topic392.htm

https://www.emedicine.com/proc/topic104158.htm

https://www.rch.org.au/kidsinfo/factsheets.cfm?doc_id=5029


 


Create Date : 15 กันยายน 2551
Last Update : 30 มิถุนายน 2568 16:29:57 น. 1 comments
Counter : 20562 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ผมเป็นพ่อพึ่งมีลูกก็ว่าจะเอาไว้ใช้ตอนไปเที่ยว
ขออนุญาตเอาไปเผยเพร่นะครับ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pandasme&group=2
//www.pandasme.com


โดย: pandasme (ไข่ลวกในซุปกิมจิ ) วันที่: 25 เมษายน 2557 เวลา:11:29:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]