หลักธรรมะ...(ทุกข์เพราะไม่ยอมรับ ความจริง 2)





















หลักธรรมะ....


ทุกวันนี้เราทำไมถึงทุกข์ไม่หาย คือ...เราเลี้ยงทุกข์ไว้ นึกว่าทุกข์

มันเป็นของดี จะทิ้งมันไปก็กลัว...นึกว่ามันเป็นสุข ก็เลี้ยงทุกข์ไว้

ทุกข์มันก็อยู่สบาย เราก็ร้องไห้ไปเรื่อย ไม่สบาย ให้นั่งก็ไม่สบาย

ให้นอนก็ไม่สบาย ให้อาหารดีๆก็ไม่สบาย ใจมันเป็นทุกข์อยู่เพราะ

อะไร ให้อาหารไม่ถูก ไม่พอ ไม่ถูกเรื่องมันคือเกาไม่ถูกจุดคันมัน

มันก็ไม่หาย จะไปแก้โดยวัตถุต่างๆไม่ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ทุกข์

ที่มันเกิดขึ้นมา จะไปแก้วัตถุไม่ได้ จะไปสร้างวัตถุให้พอกับใจของ

คนนั้น พอไม่ได้


นอกจากเราจะรู้เรื่องของธรรมะ...เรื่องอนิจจัง...ของไม่เที่ยง เรื่อง

ทุกขัง...ความเป็นทุกข์ เรื่องอนัตตา...ความไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้

เป็นความจริงเหลือเกิน เป็นสัจธรรม ถ้าเป็นสัจธรรมจริงๆ ถ้ารู้

เรื่องอนิจจังเช่นนี้แล้ว ถ้าหากว่าใครนับถือคริสต์ก็เรียกว่าเห็นพระ

เจ้า ใครนับถือพุทธก็เรียกว่าเห็นพระพุทธ ถ้าใครไม่เห็นอนิจจัง อยู่

ในพุทธศาสนาก็ไม่เจอพระพุทธ อยู่ในคริสต์ก็ไม่เห็นพระเจ้า ก็พระ-

เจ้ากับพระพุทธเจ้ามันอันเดียวกันเท่านั้นแหละ คือธรรมะอันเดียวกัน

ถ้าเห็นอนิจจังก็คือเห็นความจริงอันเดียวกันทุกคน ไม่แปรเปลี่ยน

เป็นอย่างอื่น


ฉะนั้น วันนี้จึงให้ญาติโยมทั้งหลายทำความสงบดู...เรื่่องที่ทำความ

สงบนี้ บางแห่งก็สงสัยเหมือนกัน การนั่งหลับตา...บางคนก็พูดว่า

โอ้ย! ฉันไม่ไปแล้วนั่งหลับตา แค่ลืมตาโยมยังไม่เห็นเลยจะไปหลับ

ตาจะไปเห็นอะไรอย่างนี้ แล้วดูลึกซึ้งเข้าไปอีกว่า เรานั่งและลืมตา

เดี๋ยวนี้ ลืมตาเดี๋ยวนี้เรามอง ไปเห็นบ้านเราไหม มองเห็นบ้านสาย

ตาเราถึงไหม ถ้าหลับตาแล้วอย่างนี้เอาจิตเพ่งไปถึงบ้านเราได้ไหม

ดูอย่างนี้


ฉะนั้น ท่านจึงให้นั่งสมาธิ จะให้มันรวมเข้ามา ให้มันเป็นกำลังเพื่อ

ให้แก้ปัญหาต่างๆได้ ความเป็นจริงแล้วอาตมาสอนกรรมฐานที่นี่

พูดมากไปเสียหน่อย ความเป็นจริงของไม่มากขนาดนั้น ของนิด

เดียวเท่านั้นแหละ ไม่ใช่ของมากอย่างนั้น นี่พูดตามอาการของจิต

เท่านั้นแหละ...ฯ


~หลวงปู่ชา สุภัทโท~

ขอนอบน้อมแด่คุณพระไตรสรณะทั้งสาม...

ขอความสุขความเจริญในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกๆท่าน






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 18:38:32 น.
Counter : 316 Pageviews.  

จริงใจ..สบายจริง



















































คงเป็นเรื่องน่า
เศร้า
หากคนเราต้องบิดเบือนความจริงในใจ
แล้วใส่หน้ากากเข้าหากัน


เราคงมีชีวิตอยู่กับ
ความสุขปลอมๆ
ท่ามกลางความกลัวที่จะผิดหวัง
ทั้งที่ในที่สุดก็ต้อง
เผชิญหน้ากับมันอยู่ดี


ถอกหน้ากากออกดีไหม

จะเป็นไรไป
หากใครจะอ่านสายตาของเราได้
หรือแม้แต่จะมองทะลุถึงใจของเรา


เพราะเมื่อใดก็ตาม
ที่เราไม่ต้องปิดบัง อำพราง
ไม่ต้องไว้ท่าไว้ทางหรือมีเล่ห์เหลี่ยมใดๆ
เมื่อ
นั่นใจของเราย่อมมีพลังอย่างเต็มที่
ที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ
ให้บังเกิดขึ้น


ซึ่งต่างค้นพบพลังแห่งความจริงใจ
เป็นพลังที่เกิดขึ้น
อย่างเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ
แต่มีอานุภาพเหลือประมาณ



ฉะนั้น..
อย่ากลัวเลย..ที่จะเป็นคนจริงใจ
เป็นคนซื่อๆ ใสๆ
ปาก
กับใจตรงกัน
ถึงแม้เราไม่เก่ง ไม่ดีเด่น
ไม่ได้
เป็นคนสำคัญ
ขอเพียงเรามีความจริงใจต่อกัน
แค่นี้ก็สุขสบายใจ..

























บทความจากธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:21:18 น.
Counter : 335 Pageviews.  

ความสุข ๒ ชั้น ( ธรรมะเดลิเวอรี่)














































โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยน
แปลง.แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน
โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต***อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง
ที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย
เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า
ช้า ก็หาว่าอืดอาด
โง่
ก็ถูกตวาด

พอฉลาด ก็ถูกระแวง
ทำก่อน
บอกไม่ได้สั่ง

ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด
เฮ้อ
นี่แหละชีวิตคนทำงาน

ข้างต้น
น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน
เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน

ซึ่งจากการได้พูด
คุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มี
ปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ
โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย
ฯลฯ

โดยจะว่าไปแล้ว
บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา
บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก
เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม
วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ
๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ
จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ
อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก
เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า
' ไม่เบื่อหรอกครับท่าน
เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู
ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ
อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ ... แต่ผมให้เข้าครับ
'
( แล้วไป)
อาตมาจึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร
มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง
จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก)
ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่
กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า

ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือ
เกิน

ก็จงดีใจเถอะ
ที่มีมือให้เมื่อย

ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน
ก็จงดีใจ
เถอะ ที่มีขาให้ปวด

ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
ถ้าเราเห็น
งาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน

ก็จงดีใจเถอะ
ที่มีงานให้เบื่อ
เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้
ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน !
ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด
เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน
เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้
ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด
เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น
อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุตฺโต)
ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า
งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วย
กัน

ผล
ตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ
คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว
แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ
อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง
หนึ่งเดือน
คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย
เจริญพร...
..........
ที่มา : ขออนุโมทนาขอบคุณ คุณ Uraiwan Bunphawattanarak







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:20:12 น.
Counter : 316 Pageviews.  

ต้องการ : ไม่ต้องการ















































ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความไม่ต้องการ

แท้
จริงแล้ว ความต้องการนั้นมีอำนาจบั่นทอนความสุข
และความไม่ต้องการนั้นมีพลังปิดกั้นความสุข
ขณะที่ต้องการหรือไม่ต้องการสิ่งใด ความสุขจะหลบไปชั่วขณะไม่ปรากฏที่ใจ
หากไม่รีบคลี่คลายสู่ภาวะอันควร ความสุขอาจจะหายไปเลย ดังนั้น
หากมีความต้องการหรือความไม่ต้องการ ต้องรีบบริหารใจโดยด่วน

ความต้อง
การของมนุษย์มีหลายชั้น
คือ


ความต้องการที่จินตนาการผสมแต่งต่อ
• ความต้องการที่ตลาดโน้มน้าว

ความต้องการที่สังคมยัดเยียดให้
• ความต้องการที่ตนปรารถนา

ความต้องการตามธรรมชาติ

    
ความต้องการเหล่านี้ทุกชั้นสามรถแตกตัวได้ไม่รู้จบความต้องการของมนุษย์และ
สังคมมนุษย์เพิ่มขึ้นทุกปี ทุกยุค ไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้น
ความต้องการจึงมีธรรมชาติขยายพันธุ์ไม่สิ้นสุด
การวิ่งตามความต้องการจึงไม่เคยจบหรือสำเร็จบริบูรณ์
ทั้งนี้ไม่ว่ามนุษย์คนใดในโลก หรือพระเจ้าองค์ใดในสวรรค์

ชีวิตที่โลดแล่นตามความต้องการจึงเป็นชีวิตที่ลอยละ
ล่องอยู่บนริ้วคลื่นแห่งปรารถนาที่ไม่มีวันจบสิ้น

การกลั่นกรองความต้องการ

แท้จริง
แล้ว ในบรรดาความต้องการทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวันนั้น
มีเพียงไม่กี่ความต้องการที่มีคุณสมบัติควรค่าแก่การพิจารณาปฏิบัติตาม

ความ
ต้องการที่ควรดำเนินตามคือ


ความต้องการที่ยังคุณค่าให้เกิดแก่ตนเองและคนอื่นจริง

ความต้องการที่ยังประโยชน์ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ความต้องการที่ไม่นำผลร้ายใด ๆ ต่อเนื่องตามมาแม้นหากมีอยู่
ก็อยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
• ความต้องการที่มีความเป็นไปได้จริง

ความต้องการที่เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานการณ์

ความต้องการที่ไม่ทำให้สูญเสียความสุขปัจจุบันและความสุขในอนาคต

  
ต่อไปนี้เมื่อมีความต้องการใด จงเอามาตรเหล่านี้ไปกลั่นกรองดูเถิด
จะพบว่าในบรรดาความต้องการทั้งหมดที่ปรากฏต่อชีวิต และที่สังคมยัดเยียดให้
มีให้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ที่ควรดำเนินตาม

คนที่จะประสบความสำเร็จสุขได้ต้อง
ไม่วิ่งตามความต้องการสะเปะสะปะ
ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของคนอื่นแต่ต้องกลั่นกรองเฟ้นหาความต้องการที่ดีจริง
คุ้มค่าจริงอย่างแม่น ๆ ไม่กี่อย่าง แล้วทุ่มเททำจริง ๆ จัง ๆ
ก็จะประสบความสำเร็จได้


ส่วน
คนที่ปรนเปรอความต้องการอันไม่รู้จบ
ทั้งของตนหรือของคนอื่น

คือข้าทาสผู้วิ่งตามกระแสอารมณ์และปรารถนาที่ในที่สุดก็ไม่รู้ว่าพาไปไหนกัน
เพราะมนุษย์เกือบทั้งโลกวิ่งตามความต้องการกันอย่างไม่ได้ประเมินผลสุดท้าย
ณ ปลายทางเลย

  ดังนั้น
อยากมีความสุข อย่าวิ่งตามความต้องการอันไม่รู้จบ ไม่ว่าของตนหรือของคนอื่น
แต่จงกลั่นกรองเลือกเฟ้นให้แม่น ๆ และทำให้เหมาะ ๆ ก็จักสำเร็จได้จริง

ความไม่ต้องการ

ในขณะที่
ความต้องการนำไปสู่ความเพ้อเจ้อและไม่คุ้มค่า
ความไม่ต้องการก็นำไปสู่ความคับแคบและไร้ค่า ได้เช่นกัน

ความไม่ต้อง
การเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
• ปัญญาเห็นความไม่คุ้มค่า จึงไม่ต้องการ

ขี้เกียจ จึงไม่ต้องการ
• กลัว จึงไม่ต้องการ
• เคยเสียใจ
จึงไม่ต้องการ
• ถูกเสี้ยมสอนผิด ๆ หรือได้ข้อมูลผิด ๆ จึงไม่ต้องการ

ถูกตีกรอบปิดกั้นห้ามปรามจึงไม่ต้องการ
จะเห็นได้ว่า
เหตุแห่งความไม่ต้องการหลายประการทีเดียวที่เป็นกิเลสหรืออวิชชา

มี
เพียงความไม่ต้องการจากเหตุแห่งปัญญาประเมินผลแจ้งชัด
ในความคุ้มค่าตลอดสายแล้วเท่านั้นที่ควรนำมาพิจารณา

  ดังนั้น เมื่อมีความไม่ต้องการเกิดขึ้น
จงวิเคราะห์เสียก่อนว่าความไม่ต้องการนี้มาจากสาเหตุใด
หากเป็นความไม่ต้องการจากกิเลสหรืออวิชชา ก็จงขจัดความไม่ต้องการนั้นออกไป
เพราะไม่เช่นนั้น ความไม่ต้องการเหล่านั้นจะบีบชีวิตจิตใจให้คับแคบ
จนอาจต้องขุดรูอยู่อย่างขลาดกลัวในที่สุด

เมื่อ
ชีวิตลอยคออยู่กลางสมุทรแห่งโลกที่ปรุงแต่งความต้องการตลอดเวลา อยู่ ๆ
จะบอกว่าฉันไม่ต้องการอะไรเลยก็จะจมน้ำตายเสียก่อน
คือถูกความจำเป็นบีบรัดและระบบรอบด้านท่วมทับเอาได้ ดังนั้น
อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีความต้องการที่จะออกจากระบบทั้งหลายที่เห็นว่าไร้
สาระ

ต้องการอย่างกลางก็พึงต้องการสรรหาสาระเพื่อพัฒนาชีวิตจิตใจให้
สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

หากต้องการอย่างมาก
ก็ต้องการบริหารคุณค่าให้เกิดประโยชน์สุขสูงสุดที่เป็นไปได้ตามกำลัง

เพราะ
ต้องการจึงมีการใคร่ครวญหาทาง
เพราะปัญญาใคร่ครวญจึงเกิดความรู้
เพราะ
ความรู้ จึงเกิดการตกลงใจ
เพราะการตัดสินใจ จึงเกิดการกระทำ
เพราะการ
กระทำ จึงเกิดการพัฒนา
เพราะการพัฒนา จึงเกิดความสำเร็จ

เพราะ
ความสำเร็จ จึงมีสิทธิ์เสวยผลอันคือประโยชน์สุขที่ยิ่ง

ความต้องการ
ที่แม่นยำและชอบธรรมจึงคือปฐมบทแห่งความสำเร็จทั้งหลายในโลก ดังนั้น
อย่าปิดประตูชีวิตไว้ในกรงแห่งความไม่ต้องการตลอดไป ชีวิตจะเฉาตาย

สรุป

ด้วยเหตุนี้
อย่าขังตนไว้ในคุกความไม่ต้องการทั้งของตนและของใคร ๆ โดยไม่ได้พิจารณา
จะติดกับดับวิภวตัณหา กระนั้นการพลัดเข้าไปสู่กระแสความต้องการไม่รู้จบ
ก็จะหลุดเข้าสู่ทะเลแห่งภวตัณหาอันเสี่ยงภัย เหนื่อยยาก และไม่คุ้มค่า

ลอง
ประเมินเข้าไปในชีวิตจริงดู
การมีในสิ่งที่ไม่ควรมีล้วนนำมาซึ่งความเหนื่อยมา เดือดร้อน ทุกข์ระทม
และการไม่มีในสิ่งที่ควรมีก็นำมาซึ่งความอัตคัด ฝืดเคือง แห้งแล้ง
ทุกข์ระทวย

ด้วยเหตุนี้ การทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
จึงเป็นความผิด

และการไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ จึงเป็นความพลาด

หาก
ไม่อยากให้ชีวิตผิดพลาด ต้องกลั่นกรองความต้องการให้ดี
จนเหลือแต่ความต้องการที่น้อย ๆ และแม่น ๆ หาไม่จะเป็นชีวิตดักแด้
เริ่มต้นใหม่ไม่รู้จบกับความต้องการที่ไม่รู้สิ้น

และอย่าเหวี่ยงจน
ตกขอบไปติดคุกตามความไม่ต้องการเพราะจะทำให้ชีวิตดักดาน ไม่พัฒนา
เพราะเมื่อความไม่ต้องการครอบงำแล้ว อะไรที่ควรคิดก็จะไม่คิด
อะไรที่ควรทำก็จะไม่ทำ อะไรที่ต้องการเพียรก็จะไม่เพียร
ก็จะสูญพันธุ์ไปแบบไดโนเสาร์อย่างไร้ค่า

ภาวะที่ดีที่สุดคือปลดปล่อย
จิตใจให้เป็นอิสระทั้งจากความต้องการและความไม่ต้องการก่อน
เมื่อใจเป็นอิสระแล้ว ปัญญาจะกว้างใหญ่มาก
แล้วใช้ปัญญาไร้ขอบเขตกอปรจิตใจอิสระนั้นวินิจฉัยโอกาสและข้อจำกัด
รวมทั้งผลต่อเนื่องรอบด้านอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเห็นชัดแจ้งดีแล้ว
จึงตัดสินใจอย่างแม่นยำ

จำไว้ว่า คนประสบความสำเร็จ
ไม่ใช่คนทำมากหรือทำน้อย แต่คือคนที่ทำพอดี ๆ อย่างแม่นยำเท่านั้น



.........................................

จาก
หนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 6 ฉบับ 66 พฤษภาคม 2549

โดย ไชย ณ พล









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:19:03 น.
Counter : 269 Pageviews.  

ควบคุมความคิดได้ จะเป็นสุขได้

ควบคุมความคิดได้ จะเป็นสุขได้


คนบางคนมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก เมื่อถึงเวลาต้องจากโลกนี้ไป

ผู้อยู่หลังก็เศร้าโศกสงสาร คิดรำพันไปว่าเขาเป็นผู้ที่น่าสงสาร

มาก เพราะมีชีวิตอยู่ลำบากแล้วยังมาตาย อะไรทำนองนี้ นับว่า

เป็นการใช้ความคิดผิดอย่างยิ่ง ให้โทษแก่จิตใจผู้คิดอย่างยิ่ง

ที่จริงเมื่อผู้มีชีวิตทุกข์ยากต้องมาเสียชีวิตไป ควรที่ผู้อยู่หลังจะ

มีสติคิดให้ถูกให้ชอบให้ไม่เป็นทุกข์เป็นโทษแก่จิตใจตนเอง


คือ ควรจะคิดว่าเขาผู้นั้นมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก เพราะอำนาจแห่ง

กรรมของเขาเองที่ต้องเป็นกรรมไม่ดีแน่ เพราะกรรมไม่ดีเท่่านั้น

ที่จะให้ผลไม่ดี กรรมดีจะให้ผลไม่ดีไม่มีเลย เมื่อเขามาละโลกนี้ไป

เขาอาจจะไปเสวยผลของกรรมดี คือไปมีความสุขกว่าอยู่ในโลกนี้

ควรที่ผู้อยู่หลังจะยินดี เบาใจ ไม่ควรจะเศร้าเสียใจซึ่งเท่ากับยินดี

จะเห็นเขามีความทุกข์ต่อไปในโลกนี้


อันความคิดนั้นแม้สามารถควบคุมไว้ได้ ให้เป็นเหตุแห่งความสุข

ไม่ให้เป็นเหตุแห่งความทุกข์ จึงจะเป็นการถูกต้อง คิดอย่างไรก็ตาม

ให้จิตใจพ้นจากความทุกข์นับว่าถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม คิดอย่าง

ไรก็ตาม ที่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์ นับว่าไม่ถูกต้องเลย ไม่ควรปล่อยให้

ความคิดเช่นนั้นดำรงอยู่ได้เลย ต้องกำจัดเสียให้ได้โดยเร็วที่สุด


อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องกล่าวว่า แม้ต้องประสบกับการพลัดพราก

จากเป็นไม่ใช่จากตาย ก็อย่าคิดว่าพลัดพรากจากตายเสียดีกว่าให้

ทุกข์น้อยกว่า แล้วก็พยายามทำการพลัดพรากจากเป็นให้กลายเป็น

การพลัดพรากจากตายไปเสีย ดังมีปรากฎเป็นข่าวอยู่เสมอ การทำ

เช่นนั้นผิด ต้องไม่คิดทำเป็นอันขาด เมื่อต้องประสบการพลัดพราก

จากเป็นก็มีวิธีคิดเหมือนกัน แต่ต้องไม่ใช่คิดให้กลายเป็นการพลัด

พรากจากตายไปเสียเป็นอันขาด


การพลัดพรากจากเป็นกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การต้องสูญเสีย ผู้

เป็นที่รักที่ชอบใจไปทั้งๆที่มิได้ล้มหายตายจาก เป็นการต้องจากไป

ทั้งยังมีชีวิตอยู่ทุกฝ่าย เช่นเกิดจากการเปลี่ยนใจในเรื่องความรัก

ชอบของฝ่ายหนึ่ง ในกรณีนี้มักก่อให้เกิดความทุกข์ความเศร้าโศก

เสียใจ หรือความแค้นเคืองให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้เป็นอันมาก


สำหรับผู้ไม่เห็นประโยชน์ของการบริหารจิต ก็ย่อมยินดีปล่อยใจให้

ตกอยู่ใต้อารมณ์แห่งความทุกข์ความเศร้าโศก หรือความโกรธแค้น

ดังกล่าว ทั้งยังใช้ความคิดไปในทางที่จะเพิ่มความรู้สึกหรืออารมณ์

เหล่านั้นให้รุนแรงยิ่งขึ้น โดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งสมควร ที่จริงน่าจะเป็นที่

รู้สึกกันดีว่าความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจและความโกรธแค้นนั้น

ไม่ให้ส่วนที่ดีอย่างใดแก่จิตใจเลย ไม่เป็นสิ่งอันพึงปรารถนาเลย ไม่

น่าจะสงนรักษาหรือเพิ่มพูนความรู้สึกเช่นนั้นให้ยิ่งขึ้นเลย น่าแต่จะ

ควรหาทางทำให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไปเท่านั้น


และการจะทำให้สำเร็จผลดังกล่าวได้ก็มิใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับผู้อื่น แต่

ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าตัวเองเป็นสำคัญ ถ้าเจ้าตัวใช้สติพิจารณาให้เห็น

ว่าตนไม่ปรารถนาจะทนทุกข์ทรมาน เพราะความรู้สึกดังกล่าว

ปรารถนาจะพ้นความรู้สึกนั้นจริงๆ ก็ย่อมจะสามารถช่วยตนเอง

ได้ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ ความจริง

คือสัจธรรมมีอยู่เช่นนี้


ฉะนั้น จงพิจารณาให้เห็นความจริงประการแรกว่า เรานี้ต้องการจะ

เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าต้องการเป็นทุกข์ก็ปล่อยใจให้อยู่ใต้อำนาจ

ของความคิดที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์เถิด แต่ถ้าต้องการเป็นสุขก็

ให้ระงับความคิดทั้งหลาย อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์เสีย


ความทุกข์มิได้เกิดจากการพลัดพรากจากกัน ทั้งด้วยความเป็นหรือ

ความตาย แต่ความทุกข์เกิดจากความคิด เกิดจากใจ มีสติควบคุม

ความคิดให้ได้ อย่าให้ฟุ้งไป อย่าให้ติดอยู่ในเรื่องที่เป็นทุกข์แล้วก็

จะเป็นสุขได้ด้วยกันทุกคน....ฯ

20 มกราคม 2517


~ธรรมเทศนา....สมเด็จพระณาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก~

ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 18:30:35 น.
Counter : 285 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.