ได้ยินกับความคิด





































"...ขณะที่อยู่เฉยๆ แม้มีตา มีสี มีเสียง
มีหู มีกลิ่น มีจมูก มีรส มีลิ้น มีกาย...


แต่ขณะที่ไม่รู้อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้...ขณะนั้น เป็น
"ธัมมารมณ์" แล้ว

อารมณ์ใด
ที่ไม่ปรากฏขณะที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส

อารมณ์นอกจากนี้ คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจ (ภาษาบาลี
ใช้คำว่า ธัมมารมณ์)


แต่...ทางใจ
สามารถรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง ไม่เว้นเลย


เข้าใจว่า..."ได้ยินแล้วคิด"

เป็นคำตอบที่ว่า..............


ขณะที่ "จิตได้ยิน" ต้องได้ยิน "เสียงที่ปรากฏ"

(ต้องเสียงที่ปรากฏด้วย)

ต้อง มีสิ่งที่ปรากฏทางหู คือ เสียง และจะต้องไม่หูหนวก
ด้วย.


ส่วน
จิตที่คิด........เกิดหลังจาก เสียงปรากฏแล้ว

ถ้า เสียงไม่ปรากฏ...จิต
ก็ไม่คิดถึง "เสียงที่ได้ยินแล้วนั้น.


นี่คือความรวดเร็วของจิต จากได้ยิน
แล้วคิด.! เป็นต้น


ทางอื่น
ก็โดยนัยยะเดียวกัน...."


ที่มา  :  สมาธิดอทคอม









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:08:12 น.
Counter : 332 Pageviews.  

มรรคแท้มีอันเดียว (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
















































ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์

เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่

อัน
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น
ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ
ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง มรรคแท้มีอันเดียว คือ
สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น
หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า
มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา
โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย
แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้

การดำริเช่นนั้นก็
เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง


การ
ดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว
เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค
การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป

การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ

เป็น
การงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท
ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น
ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบของผู้นั้น
ผู้พยายามดำเนินตามอริยมรรคดังกล่าวมาแล้ว
โดยติดต่อกันตามลำดับไม่ขาดสายได้ชื่อว่ามีความเพียรชอบในมรรคทั้งแปด

๖ ข้อเบื้องต้นมีความเห็นชอบเป็นต้น

 มี
ความพยายามชอบเป็นที่สุด หากขาดสัมมาสติ ตั้งสติชอบเสียแล้ว
จะเดินไปให้ถึงสัมมาสมาธิไม่ได้เลย เหมือนทางที่ไม่ติดต่อเชื่อมกัน
จะนำยานพาหนะไปตลอดทางได้อย่างไร

องค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ

ยิ่งเป็น
กำลังใหญ่สนับสนุนให้องค์มรรคนั้นๆ
มีกำลังกล้าหาญที่จะไม่ท้อถอยในหน้าที่ของตนๆ พึงสังเกตดูเถิดว่า นักปฏิบัติโดยมาก
หากสมาธิไม่มั่นคงแล้วมักไปไม่รอด

ปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ส่องทางให้เห็นทางเดินก็จริง แต่เมื่อสติกับสมาธิอ่อนกำลังลงแล้ว
ปัญญาอาจกลายเป็นสัญญาเป็นสังขารไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้

:
สามทัพธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

จากทำดีดอทเนต








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 21 เมษายน 2553    
Last Update : 21 เมษายน 2553 12:04:45 น.
Counter : 251 Pageviews.  

ทำดีไม่ได้ดี เพราะกรรมเก่าที่ไม่ดีกำลังส่งผล


























































ทำดีไม่ได้ดี เพราะกรรมเก่าที่ไม่ดีกำลังส่งผล

ที่ชอบผูดกันพร่ำเพรื่อในยุคนี้สมัยนี้ว่า ทำดีไม่ได้ดี
ทำไม่ดีกลับได้ดีนั้น แม้จะให้ถูกต้องควรต้องขยายความให้ยาวออกไปด้วย
เช่นว่า
ทำดีไม่ได้ดี เพราะกรรมเก่าที่ไม่ดีกำลังส่งผล
ทำไม่ดีกลับได้ดี เพราะกรรมเก่าที่ดีกำลังส่งผล
แม้กล่าวขยาย
ให้สมบูรณ์ดังนี้ ก็จะได้ความเข้าใจในเรื่องผลของกรรม ชัดเจนต้องขึ้น
คือกรรมนั้นแม้ทำแล้ววันหนึ่งต้องให้ผล
จนสามารถทำให้กรรมปัจจุบันต้องส่งผลช้าไปได้
คือกรรมดีในปัจจุบันไม่อาจส่งผลดีได้ทันที เมื่อมีผลของกรรมไม่ดีที่แรงกว่า
หรือกรรมไม่ดีในปัจจุบัน ไม่อาจส่งผลไม่ดีได้ทันที
เมื่อมีผลของกรรมดีในอนาคตแรงกว่า

.. สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ..
 จาก
ทำดีดอทเนต









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 21 เมษายน 2553    
Last Update : 21 เมษายน 2553 12:03:33 น.
Counter : 258 Pageviews.  

ผ้าขี้ริ้วห่อทอง (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)























































จิตรวมใหญ่ใต้ต้นกระบก

จนในที่สุดเมื่อภาวนาอยู่ไม่รู้จักคำว่า “หยุด
ถอย”
อยู่มาวันหนึ่งในพรรษาที่ ๓
มานั่งภาวนาอยู่ที่ใต้ต้นกระบกที่วัดทรายงาม
“จิตรวมใหญ่ด้วยการหยั่งสติปัญญา ลงในกายานุปัสสนา แยกแยะส่วนต่างๆ
ของธาตุขันธ์ออก พิจารณาด้วยปัญญาไม่ลดละ คือยกทั้งส่วนรูปกาย
ทั้งส่วนเวทนาคือทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญาที่หมายกายส่วนต่างๆ ว่าเป็นทุกข์
ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่า ส่วนนี้เป็นทุกข์ ส่วนนั้นเป็นทุกข์
ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญาผู้ดำเนินงาน ทำการขุดค้น
คลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง
จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างประจักษ์สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ้งตลอดทั่วถึง
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณา พิจารณากายครั้งนี้ละเอียดลออไปทุกชิ้น ทุกส่วน
ทุกอัน ไม่มีตกหล่น จนได้สภาวะของใจอันละเอียดสุดนั้น
จิตลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ โลกทั้งหลายไม่มีปรากฏขึ้นกับใจ ขาดสูญไปหมด
มีอยู่จำเพาะใจดวงเดียวไม่มีสิ่งใดเจือปน”

การพิจารณากาย
ครั้งนี้ ปรากฏประหนึ่งว่า “แผ่นดิน แผ่นฟ้าละลายหมด
กายกับใจนี้มันขาดออกจากกัน เหมือนว่าโลกนี้ขาดพรึบลงไป ไม่มีอะไรเหลือเลย
แม้แต่ร่างกายก็สูญหายไปหมด
เหลือแต่ความบริสุทธิ์ของใจอันเที่ยงแท้ทีเดียว”
เมื่อจิตถอนออกจาก
สมาธิแล้ว จิตนี้แปลกประหลาดอัศจรรย์และพิสดารอย่างลึกล้ำ
ถึงกับได้อุทานภายในใจว่า “นี่แหละชีวิตอันประเสริฐ
เราได้พานพบแล้ว”
คืนนั้นจึงเป็นคืนที่น่าจดจำอย่างไม่มีวันลืม
ธรรมชาติของจิตนี้มันแปลกกว่าที่คาดอยู่มาก
มากขนาดว่าก่อนจิตรวมกับหลังจิตรวมนี้มันเหมือนคนละคน ทั้งๆ
ที่เป็นคนเดียวกัน อันนี้พูดในด้านธรรมะนะ ไม่ได้โอ้อวด
พอจิตนี้รวมถึงที่สุดแล้ว ถอนจิตออกจากสมาธิแล้ว จิตนี้มันอาจหาญ
ไม่กลัวใคร คำไม่กลัว ไม่ได้หมายว่าเราเป็นนักเลง คือไม่กลัว ต่อความจริง
อันไหนเป็นความจริงเราอาจหาญที่จะต่อสู้และพิจารณา เรียกว่า “ธรรมทำให้กล้าหาญ” 

ท่านพ่อลี
ธมฺมธโร


เมื่อภาวนาจิตลงได้อย่างนั้นแล้ว สมบัติใดๆ
ในโลกที่เขานิยมว่ามีค่ามาก จะเอามากองให้เท่าภูเขาเลากา
ไม่ได้มีความหมายเลย ธรรมสมบัติที่ปรากฏเมื่อคืนนี้
เป็นธรรมสมบัติเหนือรัตนะเงินทองโดยประการทั้งปวง
อัศจรรย์ในธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นที่ยิ่ง จิตไม่เกี่ยวเกาะด้วยกามคุณเลย
ทั้ง ๆ ที่เคยสัญญากับคนรักไว้ก่อนบวชว่า “บวชเพียง
หนึ่งพรรษา ก็จะสึกออกมาแต่งงานกัน”
เมื่อจิตมิได้เยื่อใยในโลกเช่นนั้นอยู่มาวันหนึ่งเดินออกบิณฑบาต
เจอคนที่เราเคยรักมาใส่บาตร เราจึงบอกสาวคนที่เรารักนั้นไปว่า
“แป้งเอ๊ย...ต่อแต่นี้ไปเราจะไม่สึกแล้วนะ”

เมื่อเป็นสัน
ทิฏฐิกธรรม คือรู้เองเห็นเองเฉพาะตนแล้ว
จึงไม่นำไปพูดกับใครและปิดไว้ไม่ให้ใครรู้
จึงนึกถึงแต่กิตติศัพท์และกิตติคุณของท่านพระอาจารย์
(....เมื่อเรานำเรื่องนี้ไปกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่น
ต่อมาภายหลังท่านเทศน์ให้หมู่เพื่อนฟังว่า “บุญกุศล
นี้ต่างกันโว้ย มีหมู่ปฏิบัติมา ๓-๔ ปี มันลงเหมือนเราที่นครนายก”
เราจึงรู้ว่ามันลงเหมือนกัน
เพราะตอนนั้นเรายังเด็ก (อ่อนพรรษา) ทีหลังท่านเรียกเราว่า
“ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ท่านว่าให้หลวงตาบัวฟังหรือเปล่าก็ไม่รู้ ท่านเรียก “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เหมือนกัน (หัวเราะ)....)

ที่
มา: ธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 21 เมษายน 2553    
Last Update : 21 เมษายน 2553 11:43:40 น.
Counter : 308 Pageviews.  

ฉลองวันเกิดคือการฉลองวันตาย











































การฉลองวันเกิดคือการฉลองวันตาย
-คำสอนของหลวงพ่อปัญญา
นันทภิกขุ


การฉลองวันเกิดคือ
การฉลองวันตาย

หรือฉลองความทุกข์นั่นเอง

เพราะความเกิดเป็น
ทุกข์และมีเกิดก็ต้องมีตายเป็นของคู่กัน

การอยู่ในโลกนี้จึงเป็น
ทุกข์

ชีวิตคือกองทุกข์ที่ต้องบริหารทุกวัน

มันจึงเป็น
เหมือนฝี

เหมือนลูกศรที่ติดอยู่กับตัวตนเสมอ









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 21 เมษายน 2553    
Last Update : 21 เมษายน 2553 11:42:28 น.
Counter : 275 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.