ถ้า “ใจเสีย” แล้วจะเสียใจ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)





























ถ้า “ใจเสีย” แล้วจะเสียใจ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)


ชีวิตกับธรรมะจะต้องอยู่ด้วยกัน
แยกออกจากกันไม่ได้
ถ้าแยกตัวชีวิตออกจากธรรมะเมื่อใด
ก็เหมือนกับ
ว่า เป็นคนไม่มีชีวิต
ชีวิตจะสมบูรณ์เรียบร้อย
ก็ต้องมีธรรมะประคับประคองจิตใจ
ทิ้งธรรมะเสียเมื่อใด
ชีวิตวุ่นวายเมื่อนั้น
อันนี้เราจะ เห็นได้ง่ายๆ ว่า
เวลาเรามีความวุ่นวายใจ
มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ

นั้นก็เพราะขาดธรรมะเป็นหลัก
คุ้มครองใจ

เมื่อไม่มีธรรมะคุ้มครองใจ จิตใจวุ่นวาย
มีความเดือดเนื้อร้อนใจ
ความเดือดเนื้อร้อนใจที่เกิดขึ้นนั้น
ก็เพราะว่าไม่เข้าถึงธรรมะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าถึงธรรมะ
ความทุกข์หายไป
ความเดือดร้อนทั้งหลายก็คลายจางไป ชีวิตมันสมบูรณ์ขึ้น
เพราะ
ฉะนั้น ชีวิตกับธรรมะ จึงสิ่งคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหลายประการ
ใน
แง่ต่างๆ เราแก้มันได้ด้วยอะไร
ถ้าที่ประพฤติธรรม
ก็แก้มันด้วยความรู้ความเข้าใจในธรรมะ
เอาธรรมะมาแก้ปัญหา
ชีวิตก็ผ่อนคลายไป
พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน อันนั้นคือ
ผลที่ปรากฏอยู่


ความไม่สบายใจนั้น ก็เป็นโรคอย่างหนึ่ง
เหมือนๆ
กับโรคทางร่างกาย
คนเราที่เป็นโรคทางกาย ต้องกินยา เพื่อรักษาโรคทางกาย
ฉันใด
เมื่อมีโรคทางจิตใจ ขึ้นมา ก็ต้องใช้ยาแก้โรคทางใจ
ยาแก้โรค
ทางกายนั้น เป็นเรื่องทางวัตถุ
เพราะว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุ
เกิดขึ้นด้วยธาตุมีประการต่างๆ
การมีโรคทางกาย
ก็เนื่องจากว่าอะไรบางอย่างขาดไป
ความต้านทานก็น้อยไป
จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายขึ้นมา
แต่ถ้าหากว่าเราไม่รู้เท่ารู้ทัน
โรคนั้นก็จะกำเริบเสิบสาน
ทำให้เราต้องพ่ายแพ้แก่โรค
ร่างกายถึงแก่
ความ แตกดับลงไปได้ ฉันใด
ในเรื่องทางจิตใจนี่ก็เหมือนกัน
มันมีโรคทางใจเกิดขึ้นบ่อยๆ
โรคทางใจนั้น ไม่เหมือนกับโรคทางกาย
คือ
โรคทางกาย มันมีตัวเป็นเชื้อโรคประเภทต่างๆ
ที่เข้ามายึดเอาร่างกาย
เป็นเรือนของมัน เป็นที่เกิดเป็นที่อาศัย
แล้วก็ทำให้เราต้องพ่ายแพ้
คน
ใดที่ยังมีกายปกติ ก็หมายความว่า
ความต้านทานทางร่างกายนั้นยังดีอยู่
เมื่อ
ความต้านทางร่างกาย ยังสมบูรณ์พร้อม เราก็เอาชนะโรคได้
แต่ก็ไม่แน่นัก
ว่าความต้านทานทางกายนี้
จะดีหรือสมบูรณ์อยู่ตลอดไป
มันอาจจะเกิด
ความเพลี่ยงพล้ำขึ้นมาเมื่อใดก็ได้
เพราะฉะนั้นคนบางคนที่เรามองเห็นว่า

มีร่างกายเป็นปกติเป็นน้ำเป็นนวลร่างกายแข็งแรง
แต่ก็เกิดการเจ็บ
ไข้ลงได้ทันที
อันนี้แสดงว่ามันมีเชื้อโรคอย่างแรงเกิดขึ้นในร่างกาย
ทำ
ให้ความต้านทาน ของร่างกายนั้นสู้ไม่ได้
ก็เลยต้องยอมแพ้มัน
กลาย
เป็นโรคประจำกายประจำตัวไป
และอาจจะถึงความแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้
เรื่อง
การเรียนรู้ในเรื่องโรคทางกาย ก็เพื่อจะได้มีการป้องกันแก้ไข
เมื่อโรค
นั้นเกิดขึ้น เราก็จะได้มีชีวิตเป็นปกติ ไม่วุ่นว่ายมากเกินไป
ฉันใด
เรื่องของจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
เมื่อมีโรคทางใจเกิดขึ้น
ก็เพราะว่าเราพ่ายแพ้
ต่อสิ่งที่ยั่วยุ
คือ อารมณ์ประเภทต่างๆที่เข้ามากระทบประสาททั้งห้า
คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย หกรวมทั้งใจด้วย
อันนี้เป็นประตูแห่งโรคทางใจ
































เพราะว่ามีสิ่งภายนอกมากระทบ
เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระ
ทบเข้า
แล้วเราไม่สามารถจะต่อสู้มันได้ เราก็พ่ายแพ้แก่สิ่งนั้น
การ
พ่ายแพ้ ก็หมายความว่า ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น
เช่น เราตกเป็นทาสของรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อันเป็นเรื่องของวัตถุเหมือนกัน
ที่เขาเรียก
ว่า มัวเมาในวัตถุ
หลงใหลอยู่ในสิ่งนั้น ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
จิต
ใจก็วุ่นวาย มีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ
อาจถึงกับเสียผู้เสียคนไปก็ได้
การ
สูญเสียทางร่างกายนั้น ไม่เป็นการสูญเสียเท่าใด
แต่การสูญเสียทางด้าน
จิตใจนั่นแหละ
เป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ในชีวิตของเรา


เพราะคนเรา ถ้าใจมันเสียเสียแล้ว
อะไรๆ
ก็จะพลอยเสียไปหมด
แม้ร่างกายจะเป็นปกติ แต่ว่าจิตใจ มันเสียกำลังไป

คนจะเป็นคนที่สมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร
กำลังใจจะสูญเสียก็เพราะว่า
ปล่อย
ตัวปล่อยใจมากเกินไปในสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุ
อันเกิดขึ้นกระทบทางจิตใจ

เราไม่สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้
ที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้
นั้นก็เพราะว่า ไม่มีสติไม่มีปัญญา
ตัวสติ
ก็คือ ตัวธรรมะ
ปัญญา ก็คือ ตัวธรรมะ
เราไม่มีธรรมะคุ้มครองจิตใจ
เรา
จึงได้พ่ายแพ้แก่สิ่งเหล่านั้น
แต่ถ้าเรามีสติรู้ทัน
มีปัญญารู้เท่าต่อสิ่งนั้น
เราไม่พ่ายแพ้แก่อารมณ์
สิ่งใดมากระทบ
เราก็ปัดมันไป ปัดทิ้งไป
ไม่ยอมรับสิ่งนั้นไว้
ไม่ยอมรับโดยความไม่
รู้ไม่เข้าใจ
แต่ว่าเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น
ด้วย
ความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า ด้วยความรู้เท่าทัน


ถ้าเรารู้เท่าทันต่ออารมณ์
อารมณ์ที่มากระทบ
ก็เหมือนกับคลื่นที่มากระทบฝั่ง
มันหายไป คลื่นที่หายไปนั้น
ไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหาย
เช่นเราไปยืนอยู่ที่ชายทะเล
เราก็จะพบว่า
มีคลื่นมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา
คลื่นที่กระทบฝั่งนั้น
มันไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหายอะไร
กระทบแล้ว มันก็หายไปๆ
เราจึงพูดว่า
หายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
ที่มันหายไปแบบคลื่นกระทบฝั่งนั้น
ไม่มีความเสียหายมากนัก
อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
มากระทบจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
ถ้าหากว่า
เราไม่รู้เท่าทัน มันก็ทำให้เราเสียหาย
คือ ทำให้เกิดความ
รู้สึกรุนแรงในเรื่องนั้นๆ
ความรู้สึกรุนแรง มันเป็นไปทางรักก็ได้
ทางชังก็ได้
ทางหลงก็ได้ หรือทางใดทางหนึ่งก็ได้
ถ้ารุนแรงแล้ว มันก็วุ่นวายเดือดร้อน
แต่ถ้าเป็นไปแต่
พอดีๆ ก็จะไม่เกิดความเสียหายมากเกินไป
อันนี้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้น
แก่ใครเมื่อใดก็ได้
ถ้าหากว่า
บุคคลนั้นขาดธรรมะเป็นเครื่องประคับประคองใจ
ก็จะเกิดปัญหาวุ่นวายกัน
ด้วยประการต่างๆ

ทีนี้อีกประการหนึ่ง
เรื่องที่เกิดขึ้นในใจของเรานั้น
มันไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้นดังที่
กล่าว
แต่ว่ามันก่อให้สิ่งอะไรๆ ขึ้นต่อไปในใจของเรา
ที่เรียกว่า
เป็นนิสัย
นิสัย ก็คือ สิ่งที่เราสร้างมันขึ้นวันละเล็กละน้อย
สร้าง
มันขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มมันขึ้นเรื่อยๆ ในจิตใจของเรา
สิ่งที่เราสร้างขึ้น
เรื่อยๆ นั้น
ถ้าสร้างด้วยความหลง ความเข้าใจผิด
มันก็งอกงาม
มาเป็นความหลงความเข้าใจผิด
ถ้าเราสร้างมันขึ้นด้วยปัญญา
มันก็งอกงามขึ้นเป็นปัญญา
ทำให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
แต่ว่า
ส่วนมาก มักจะสร้างมันขึ้นด้วยความหลง
ความเข้าใจผิด
แล้วก็ไปยึดติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จนกลายเป็นนิสัย
เพราะฉะนั้นคนเรา
จึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน
ที่ไม่เหมือนกันนั้น
ก็เพราะว่าไม่มีธรรมะอยู่ในใจ
ถ้าจิตใจที่มีธรรมะแล้ว มันเหมือนกันหมด
ไม่มีความแตกต่างกัน
เพราะธรรมะเข้าไปปรุงแต่ง
พอธรรมะเข้าไปปรุง
แต่งใจของใคร ใจนั้นก็มีสภาพปกติ

จิตที่ปกตินั้น คือ
จิตที่ไม่กระทบด้วยอะไรๆ
มันเป็นจิตที่สะอาดอยู่
เพราะไม่มีสิ่งเศร้าหมองเข้ามารบกวน
เป็นจิตที่สว่าง
เพราะรู้แจ้งในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง
แล้วก็เป็นจิตที่สงบ
เพราะอะไรๆ มารบกวนไม่ได้
มันไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ไม่มีการ
เปลี่ยนเป็นนั้นเป็นนี้ไปตามรูปต่างๆ สภาพ
จิตใจก็เป็นตัวเอง
เรียกว่าสะอาด สว่าง สงบ...






(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา
ฉบับที่ 81 ส.ค. 50
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
วัดชล
ประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 14:42:17 น.
Counter : 350 Pageviews.  

ถ้า “ใจเสีย” แล้วจะเสียใจ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)

























ถ้า “ใจเสีย” แล้วจะเสียใจ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)


ชีวิตกับธรรมะจะต้องอยู่ด้วยกัน
แยกออกจากกันไม่ได้
ถ้าแยกตัวชีวิตออกจากธรรมะเมื่อใด
ก็เหมือนกับ
ว่า เป็นคนไม่มีชีวิต
ชีวิตจะสมบูรณ์เรียบร้อย
ก็ต้องมีธรรมะประคับประคองจิตใจ
ทิ้งธรรมะเสียเมื่อใด
ชีวิตวุ่นวายเมื่อนั้น
อันนี้เราจะ เห็นได้ง่ายๆ ว่า
เวลาเรามีความวุ่นวายใจ
มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ

นั้นก็เพราะขาดธรรมะเป็นหลัก
คุ้มครองใจ

เมื่อไม่มีธรรมะคุ้มครองใจ จิตใจวุ่นวาย
มีความเดือดเนื้อร้อนใจ
ความเดือดเนื้อร้อนใจที่เกิดขึ้นนั้น
ก็เพราะว่าไม่เข้าถึงธรรมะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าถึงธรรมะ
ความทุกข์หายไป
ความเดือดร้อนทั้งหลายก็คลายจางไป ชีวิตมันสมบูรณ์ขึ้น
เพราะ
ฉะนั้น ชีวิตกับธรรมะ จึงสิ่งคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหลายประการ
ใน
แง่ต่างๆ เราแก้มันได้ด้วยอะไร
ถ้าที่ประพฤติธรรม
ก็แก้มันด้วยความรู้ความเข้าใจในธรรมะ
เอาธรรมะมาแก้ปัญหา
ชีวิตก็ผ่อนคลายไป
พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน อันนั้นคือ
ผลที่ปรากฏอยู่


ความไม่สบายใจนั้น ก็เป็นโรคอย่างหนึ่ง
เหมือนๆ
กับโรคทางร่างกาย
คนเราที่เป็นโรคทางกาย ต้องกินยา เพื่อรักษาโรคทางกาย
ฉันใด
เมื่อมีโรคทางจิตใจ ขึ้นมา ก็ต้องใช้ยาแก้โรคทางใจ
ยาแก้โรค
ทางกายนั้น เป็นเรื่องทางวัตถุ
เพราะว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุ
เกิดขึ้นด้วยธาตุมีประการต่างๆ
การมีโรคทางกาย
ก็เนื่องจากว่าอะไรบางอย่างขาดไป
ความต้านทานก็น้อยไป
จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายขึ้นมา
แต่ถ้าหากว่าเราไม่รู้เท่ารู้ทัน
โรคนั้นก็จะกำเริบเสิบสาน
ทำให้เราต้องพ่ายแพ้แก่โรค
ร่างกายถึงแก่
ความ แตกดับลงไปได้ ฉันใด
ในเรื่องทางจิตใจนี่ก็เหมือนกัน
มันมีโรคทางใจเกิดขึ้นบ่อยๆ
โรคทางใจนั้น ไม่เหมือนกับโรคทางกาย
คือ
โรคทางกาย มันมีตัวเป็นเชื้อโรคประเภทต่างๆ
ที่เข้ามายึดเอาร่างกาย
เป็นเรือนของมัน เป็นที่เกิดเป็นที่อาศัย
แล้วก็ทำให้เราต้องพ่ายแพ้
คน
ใดที่ยังมีกายปกติ ก็หมายความว่า
ความต้านทานทางร่างกายนั้นยังดีอยู่
เมื่อ
ความต้านทางร่างกาย ยังสมบูรณ์พร้อม เราก็เอาชนะโรคได้
แต่ก็ไม่แน่นัก
ว่าความต้านทานทางกายนี้
จะดีหรือสมบูรณ์อยู่ตลอดไป
มันอาจจะเกิด
ความเพลี่ยงพล้ำขึ้นมาเมื่อใดก็ได้
เพราะฉะนั้นคนบางคนที่เรามองเห็นว่า

มีร่างกายเป็นปกติเป็นน้ำเป็นนวลร่างกายแข็งแรง
แต่ก็เกิดการเจ็บ
ไข้ลงได้ทันที
อันนี้แสดงว่ามันมีเชื้อโรคอย่างแรงเกิดขึ้นในร่างกาย
ทำ
ให้ความต้านทาน ของร่างกายนั้นสู้ไม่ได้
ก็เลยต้องยอมแพ้มัน
กลาย
เป็นโรคประจำกายประจำตัวไป
และอาจจะถึงความแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้
เรื่อง
การเรียนรู้ในเรื่องโรคทางกาย ก็เพื่อจะได้มีการป้องกันแก้ไข
เมื่อโรค
นั้นเกิดขึ้น เราก็จะได้มีชีวิตเป็นปกติ ไม่วุ่นว่ายมากเกินไป
ฉันใด
เรื่องของจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
เมื่อมีโรคทางใจเกิดขึ้น
ก็เพราะว่าเราพ่ายแพ้
ต่อสิ่งที่ยั่วยุ
คือ อารมณ์ประเภทต่างๆที่เข้ามากระทบประสาททั้งห้า
คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย หกรวมทั้งใจด้วย
อันนี้เป็นประตูแห่งโรคทางใจ
































เพราะว่ามีสิ่งภายนอกมากระทบ
เมื่อมีสิ่งภายนอกมากระ
ทบเข้า
แล้วเราไม่สามารถจะต่อสู้มันได้ เราก็พ่ายแพ้แก่สิ่งนั้น
การ
พ่ายแพ้ ก็หมายความว่า ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น
เช่น เราตกเป็นทาสของรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อันเป็นเรื่องของวัตถุเหมือนกัน
ที่เขาเรียก
ว่า มัวเมาในวัตถุ
หลงใหลอยู่ในสิ่งนั้น ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
จิต
ใจก็วุ่นวาย มีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ
อาจถึงกับเสียผู้เสียคนไปก็ได้
การ
สูญเสียทางร่างกายนั้น ไม่เป็นการสูญเสียเท่าใด
แต่การสูญเสียทางด้าน
จิตใจนั่นแหละ
เป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ในชีวิตของเรา


เพราะคนเรา ถ้าใจมันเสียเสียแล้ว
อะไรๆ
ก็จะพลอยเสียไปหมด
แม้ร่างกายจะเป็นปกติ แต่ว่าจิตใจ มันเสียกำลังไป

คนจะเป็นคนที่สมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร
กำลังใจจะสูญเสียก็เพราะว่า
ปล่อย
ตัวปล่อยใจมากเกินไปในสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุ
อันเกิดขึ้นกระทบทางจิตใจ

เราไม่สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้
ที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้
นั้นก็เพราะว่า ไม่มีสติไม่มีปัญญา
ตัวสติ
ก็คือ ตัวธรรมะ
ปัญญา ก็คือ ตัวธรรมะ
เราไม่มีธรรมะคุ้มครองจิตใจ
เรา
จึงได้พ่ายแพ้แก่สิ่งเหล่านั้น
แต่ถ้าเรามีสติรู้ทัน
มีปัญญารู้เท่าต่อสิ่งนั้น
เราไม่พ่ายแพ้แก่อารมณ์
สิ่งใดมากระทบ
เราก็ปัดมันไป ปัดทิ้งไป
ไม่ยอมรับสิ่งนั้นไว้
ไม่ยอมรับโดยความไม่
รู้ไม่เข้าใจ
แต่ว่าเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น
ด้วย
ความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า ด้วยความรู้เท่าทัน


ถ้าเรารู้เท่าทันต่ออารมณ์
อารมณ์ที่มากระทบ
ก็เหมือนกับคลื่นที่มากระทบฝั่ง
มันหายไป คลื่นที่หายไปนั้น
ไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหาย
เช่นเราไปยืนอยู่ที่ชายทะเล
เราก็จะพบว่า
มีคลื่นมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา
คลื่นที่กระทบฝั่งนั้น
มันไม่ได้ทำฝั่งให้เสียหายอะไร
กระทบแล้ว มันก็หายไปๆ
เราจึงพูดว่า
หายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
ที่มันหายไปแบบคลื่นกระทบฝั่งนั้น
ไม่มีความเสียหายมากนัก
อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
มากระทบจิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน
ถ้าหากว่า
เราไม่รู้เท่าทัน มันก็ทำให้เราเสียหาย
คือ ทำให้เกิดความ
รู้สึกรุนแรงในเรื่องนั้นๆ
ความรู้สึกรุนแรง มันเป็นไปทางรักก็ได้
ทางชังก็ได้
ทางหลงก็ได้ หรือทางใดทางหนึ่งก็ได้
ถ้ารุนแรงแล้ว มันก็วุ่นวายเดือดร้อน
แต่ถ้าเป็นไปแต่
พอดีๆ ก็จะไม่เกิดความเสียหายมากเกินไป
อันนี้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้น
แก่ใครเมื่อใดก็ได้
ถ้าหากว่า
บุคคลนั้นขาดธรรมะเป็นเครื่องประคับประคองใจ
ก็จะเกิดปัญหาวุ่นวายกัน
ด้วยประการต่างๆ

ทีนี้อีกประการหนึ่ง
เรื่องที่เกิดขึ้นในใจของเรานั้น
มันไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้นดังที่
กล่าว
แต่ว่ามันก่อให้สิ่งอะไรๆ ขึ้นต่อไปในใจของเรา
ที่เรียกว่า
เป็นนิสัย
นิสัย ก็คือ สิ่งที่เราสร้างมันขึ้นวันละเล็กละน้อย
สร้าง
มันขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มมันขึ้นเรื่อยๆ ในจิตใจของเรา
สิ่งที่เราสร้างขึ้น
เรื่อยๆ นั้น
ถ้าสร้างด้วยความหลง ความเข้าใจผิด
มันก็งอกงาม
มาเป็นความหลงความเข้าใจผิด
ถ้าเราสร้างมันขึ้นด้วยปัญญา
มันก็งอกงามขึ้นเป็นปัญญา
ทำให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
แต่ว่า
ส่วนมาก มักจะสร้างมันขึ้นด้วยความหลง
ความเข้าใจผิด
แล้วก็ไปยึดติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จนกลายเป็นนิสัย
เพราะฉะนั้นคนเรา
จึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน
ที่ไม่เหมือนกันนั้น
ก็เพราะว่าไม่มีธรรมะอยู่ในใจ
ถ้าจิตใจที่มีธรรมะแล้ว มันเหมือนกันหมด
ไม่มีความแตกต่างกัน
เพราะธรรมะเข้าไปปรุงแต่ง
พอธรรมะเข้าไปปรุง
แต่งใจของใคร ใจนั้นก็มีสภาพปกติ

จิตที่ปกตินั้น คือ
จิตที่ไม่กระทบด้วยอะไรๆ
มันเป็นจิตที่สะอาดอยู่
เพราะไม่มีสิ่งเศร้าหมองเข้ามารบกวน
เป็นจิตที่สว่าง
เพราะรู้แจ้งในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง
แล้วก็เป็นจิตที่สงบ
เพราะอะไรๆ มารบกวนไม่ได้
มันไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ไม่มีการ
เปลี่ยนเป็นนั้นเป็นนี้ไปตามรูปต่างๆ สภาพ
จิตใจก็เป็นตัวเอง
เรียกว่าสะอาด สว่าง สงบ...






(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา
ฉบับที่ 81 ส.ค. 50
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
วัดชล
ประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 13:04:12 น.
Counter : 261 Pageviews.  

หยุดชั่ว มันก็ดี (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

































หยุดชั่ว มันก็ดี (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


คน
เราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ เช่น
ผ้ายังสกปรกอยู่
ยังไม่ได้ทำความสะอาด
แต่อยากจะย้อมสีซะแล้ว
ลองเอาผ้าเช็คเท้าที่
ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูซิ
มันจะสวยไหม

การ
ไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด
บางคนบางคราว
โจรมันก็ให้ได้
มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะ มันยากที่สุด


การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก
การ
ทำบุญ โจรมันมันก็ทำได้มันเป็นปลายเหตุมัน
การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้ง
ปวงนั้นนะเป็นต้นเหตุ

: หลวงพ่อชา สุภัทโท




ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 13:02:01 น.
Counter : 344 Pageviews.  

มรณาสันนวิถี (วิถีจิตของคนที่ใกล้ตาย)



มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ใกล้จะตาย หมายถึง
เมื่อมรณาสันนวิถีเกิดขึ้นแล้ว จุติจิต
(จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับที่ใกล้เคียงกัน
จะไม่มีวิถีจิตที่มีอารมณ์เป็นอย่างอื่นเกิดขึ้น คั่นระหว่างจุติจิตอีก


   ในมรณาสันนวิถีนี้
มีชวนะจิตเกิดขึ้นเพียง ๕ ขณะเท่านั้น (ปกติจะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)



เพราะเหตุที่จิตมีกำลังอ่อน
เนื่องจากอำนาจของกรรมที่ส่งมานั้น ใกล้จะหมดอำนาจอยู่แล้ว
และอีกประการหนึ่ง หทัยวัตถุอันเป็นกัมมชรูป ซึ่งเป็นที่ตั้งของจิต
ก็มีแต่จะเสื่อมสิ้นลงเรื่อยๆ กำลังของชวนะจิตอ่อนไป
เหมือนไฟที่น้ำมันจะหมด หรือจะมอดอยู่แล้ว แสงสว่างของไฟ ก็ย่อมจะริบหรี่
เพราะหมดกำลังของปัจจัย คือน้ำมันและไส้นั่นเอง



  เมื่อหมดมรณาสันนวิถีแล้ว
ต่อจากนั้นจุติจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ เรียกว่า สัตว์นั้นถึงแก่ความ
ตาย 



ในทันทีที่จุติจิตดับลง
ปฏิสนธิจิตจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยไม่มีจิตอื่น เกิดขึ้น
มาคั่นระหว่าง จุติจิตกับปฏิสนธิจิตได้เลย



  แต่สำหรับจุติจิตของพระอรหันต์นั้น
จะไม่มีปฏิสนธิจิตมาเกิดต่อจากจุติจิตอีก
เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว ภพชาติที่จะต้องเกิดอีกไม่มี
เมื่อจุติจิตดับลง จึงเข้าสู่ปรินิพพาน



  (ชวนะจิต หมายถึง การเสพอารมณ์ ๕
ของจิต คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ปกติของสัตว์จะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)
















       อารมณ์ของมรณาสันนวิถี



  
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่ยังมิได้เป็นพระอรหันต์นั้น จะเป็นสัตว์นรก เปรต
อสุรกาย หรือเดรัจฉานก็ตาม ..หรือเป็นมนุษย์ เทวดา และพรหมก็ตาม
เมื่อใกล้จะตาย นิมิตทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์
หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเฉพาะหน้าในทวารใดทวารหนึ่ง
แห่งทวารทั้ง ๖ นั้นเสมอ....



   พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงว่า...



   "ตถา จ มรนฺตานํ ปน มรณกาเล
กมฺมํวา



    กมฺมนิมิตฺตํวา คตินิมิตฺตํวา
ฉนฺนํ ทฺวารานํ



    อญฺญตฺรสฺมํ ปตฺจุปฏฐาติ"



   "อารมณ์ของมรณาสันนวิถี
จึงได้แก่นิมิตอารมณ์ทั้ง๓ ประการ คือ



   กรรมอารมณ์   กรรมนิมิตอารมณ์  
และคตินิมิตอารมณ์"



กรรมอารมณ์ ได้แก่
ธรรมารมณ์ที่เกี่ยวกับกุศลกรรม อกุศลกรรม กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุศล ได้แก่
การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนา
โดยทำมาแล้วด้วยความปีติโสมนัสอย่างไร
ก็ให้ระลึกถึงความปีติโสมนัสให้เกิดขึ้น คล้ายกับว่าตนกำลังทำบุญให้ทาน
รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนาอยู่ในขณะนั้น



  ส่วนกรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายอกุศล ได้แก่
การที่ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เคยฉกชิงวิ่งราว เคยโกรธแค้นพยาบาท
ความเสียใจหรือความโกรธนั้น คล้ายๆกับว่า กำลังปรากฏขึ้นกับตน
เพราะเหตุดังกล่าวเหล่านั้น



   กรรมอารมณ์นี้เป็นความรู้สึกทางใจ
จึงปรากฏได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว
เมื่อกรรมอารมณ์เป็นฝ่ายกุศลก็นำไปสู่สุคติ
ถ้ากรรมอารมณ์เป็นฝ่ายอกุศลก็จะต้องนำไปสู่ทุคติ



กรรมนิมิตอารมณ์



   กรรมนิมิตอารมณ์ ได้แก่
อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพที่รู้ได้ทางใจ
ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของแต่ละบุคคล ที่ตนได้กระทำแล้วด้วยกาย วาจา ใจ
ย่อมจะมาแสดงนิมิตเครื่องหมายให้รู้ได้"เมื่อใกล้จะตาย"



   ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็ให้รู้ให้เห็น
เป็นการทำบุญให้ทาน เช่น เห็นโบสถ์ วิหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ตนเคยสร้าง
เห็นพระภิกษุที่เคยบวชตนเอง หรือบวชลูก-หลาน เห็นพระพุทธรูปที่ตนเคยสร้าง
เป็นต้น



   มรณาสันนวิถีก็หน่วงเอาอารมณ์นั้นๆ
มาเป็นอารมณ์ให้เป็นนิมิตเครื่องหมายในสิ่งต่างๆเหล่านั้น



   กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่น เห็นแห
อวน หอก ดาบ ปืนผาหน้าไม้ เครื่องประหัตประหารเบียดเบียนสัตว์
ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปมาแล้ว เป็นต้น
มรณาสันนวิถีก็จะน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์



   กรรมนิมิตอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุศล
และอกุศลดังกล่าวมาแล้วนั้น ถ้าเป็นแต่เพียงนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ
ดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏทางมโนทวาร(ทางใจ)เป็นอดีตอารมณ์
แต่ถ้าได้เห็นด้วยตาจริงๆ ได้ยินด้วยหูจริงๆ ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัส
เป็นความรู้สึกจริงๆ ก็เป็นนิมิตอารมณ์ ที่ปรากฏทางปัญจทวาร(ทวาร ๕ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย) และเป็นปัจจุบันอารมณ์



   กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายกุศล
ย่อมนำไปสู่"สุคติ" แต่ถ้ากรรมนิมิตเป็นฝ่ายอกุศล ก็ย่อมนำไปสู่ "ทุคติ"



คตินิมิตอารมณ์



   คตินิมิตอารมณ์ เป็น
นิมิตเครื่องหมาย ที่จะนำไปสู่" สุคติ หรือทุคติ
"ถ้าเป็นคตินิมิตอารมณ์ที่จะนำไปสู่"สุคติ" ก็จะปรากฏเป็นปราสาทราชวัง
วิมานทิพยสมบัติ เทพบุตร เทพธิดา เห็นครรภ์มารดา เห็นวัดวา เห็นบ้านเรือน
เห็นผู้คน หรือเห็นภิกษุสามเณร ล้วนแต่เห็นสิ่งที่ดีๆ



    คตินิมิตอารมณ์
ที่จะนำไปสู่"ทุคติ"ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ ถ้ำ เหว ป่าทึบ เห็นนายนิรยบาล
เห็นสุนัข เห็นแร้งกา เป็นต้น ที่กำลังเบียดเบียนทำอันตรายตน
ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น



    คตินิมิตอารมณ์ ย่อมปรากฏได้ในทวารทั้ง
๖ แต่ส่วนมากจะปรากฏทางจักขุทวาร และทางมโนทวาร
คือเห็นทางตากับทางใจเป็นส่วนมาก และจัดเป็นปัจจุบันอารมณ์



    อารมณ์ของมรณาสันนวิถีนี้
ย่อมจะมีอารมณ์ที่เป็นกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏ แก่วิถีจิตสุดท้ายที่ใกล้ชิดกับ"จุติจิต"ที่สุด
และอารมณ์ทั้งสามนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ ประการตามลำดับ
คือ...



  (จุติจิต หมายถึง
จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน)



  (คัดจากหนังสือ
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)





คัด
ลอกมาจาก //www.srakaew.tht.in/aticle70Blank.html







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 02 มิถุนายน 2553    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 16:27:18 น.
Counter : 376 Pageviews.  

การบำรุงบิดามารดา

























มงคลที่ ๑๑.การบำรุงบิดามารดา



ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง
ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก
ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ



ที่ว่าเป็นครูของลูก
เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก



ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก
เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก
บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน



ที่ว่าเป็นพรหมของลูก
เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู
ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา
หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก
ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา
หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก
ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย
ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา
หรือเพราะความไม่รู้



ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก
เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่



เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก
คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่



เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก
คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา



เป็นเนื้อนาบุญของลูก
คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญ
ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง



เป็นอาหุไนยบุคคล
คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา
เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง



การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดัง
นี้



ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่
ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย
รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน
ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน
ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้



๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา
ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เชื่อในเรื่องการทำดี



๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล
ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้



๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่
ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน
คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน



๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา
ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้



มงคลที่
๑๒.การสงเคราะห์บุตร



คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่



๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม
และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา



๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม
และความสามารถเสมอบิดา มารดา



๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม
และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา



การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น
มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ



๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว



๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี



๓.ให้การศึกษาหาความรู้



๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี
(ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้)



๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร
(การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)



มงคลที่
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา



เมื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของ
ชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น
ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่



๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต
เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี
หรือมีชู้กับชายอื่น



๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร
เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ
หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง



๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย
เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น
ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ
แต่ตัวเองเป็นผู้นำ



๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่
คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก
ป่วยไข้ ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ



๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว
คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน
แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท
เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี



๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน
ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน
ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง
แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง



๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้
คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู
สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้น แม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น
อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า
เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ



ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี
ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้



๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน



๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน



๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน



๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน



เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว
แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้



สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ



๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
คือการแนะนำเปิดเผยว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดบังกับผู้อื่น
และให้เกียรติภรรยาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย



๒.ไม่ดูหมิ่น
คือไม่ดูถูกภรรยาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล
การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตน แต่ต้องสอนให้



๓.ไมประพฤตินอกใจภรรยา
คือการไปมีเมียน้อยนอกบ้าน เลี้ยงต้อย
หรือเที่ยวเตร่หาความสำราญกับหญิงบริการ



๔.มอบความเป็นใหญ่ให้ในบ้าน
คือการมอบธุระทางบ้านให้กับภรรยาจัดการ
รับฟังและทำตามความเห็นของภรรยาเกี่ยวกับบ้าน



๕.ให้เครื่องแต่งตัว
คือให้ความสุขกับภรรยาเรื่องการแต่งตัวให้พอดี
เพราะสตรีเป็นผู้รักสวยรักงามโดยธรรมชาติ



ฝ่ายภรรยาก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสามีคือ



๑.จัดการงานดี
คืองานบ้านการเรือนต้องไม่บกพร่อง ดูแลด้านความสะอาด ทำนุบำรุงรักษา
ด้านโภชนาการให้เรียบร้อยดี



๒.สงเคราะห์ญาติสามีดี
คือให้ความเอื้อเฟื้อญาติฝ่ายสามี เท่าที่ตนมีกำลังพอทำได้
ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียว



๓.ไม่ประพฤตินอกใจสามี คือไม่คบชู้
หรือปันใจให้ชายอื่น ซื่อสัตย์ต่อสามีคนเดียว



๔.รักษาทรัพย์ให้อย่างดี
คือรู้จักรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หมดไปด้วยความสิ้นเปลือง
แต่ก็ไม่ถึงกับตระหนี่



๕.ขยันทำงาน คือไม่เกียจคร้านเอาแต่ออกงาน
นอน กิน หรือเที่ยวแต่อย่างเดียว ต้องทำงานบ้านด้วย




คัด
ลอกมาจาก//www.srakaew.tht.in/aticle128Blank.html







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 02 มิถุนายน 2553    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 16:24:52 น.
Counter : 368 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.