ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ













































ปัจจัย
ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ
(ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง,
ต้นทางของความดีงามทั้งปวง :
sources or conditions for the arising of
right view)

๑. ปรโตโมสะ

(เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก
คือ
การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม
ฟังคำบอกเล่าชัก
จูงของผู้อื่น
โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร :
another’
s utterance; inducement by others;
hearing or learning from others)


๒. โยนิโสมนสิการ

(การ
ใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น
คือกระทำในใจโดยแยบคาย
มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา
รู้จักสืบสาวหาเหตุผล
แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก
ให้เห็นตามสภาวะและตามความ
สัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
: reasoned attention; systematic attention;
genetical
reflection; analytical reflection)

ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่
ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง
แปลอย่างปัจจุบันว่า
“องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ
“บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑
ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ

แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา

ปัจจัย
ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ
และ อโยนิโสมนสิการ
ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.










ขอบคุณบทความจาก ลานธรรมจักร







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:13:53 น.
Counter : 327 Pageviews.  

ธรรมะนำใจ




































ชีวิตคน ใช่ดิ้นรน แค่เรื่องรัก
ควรยึดมั่น
หลักธรรม คำสั่งสอน
อยากให้เค้า เป็นดั่งใจ เช่นเราปอง
จะเศร้าหมอง
สืบไป ในกงเกวียน

ในห้วงทุกข์ มากมาย คือความรัก
แล้วใยจัก ไขว่คว้า
แต่รักเล่า
ทำความดี แต่งเสริม ให้ใจเรา
เป็นดังเงา ติดใจเรา
ทุกชาติไป

หากจะรัก จงรักกัน
ด้วยศีลห้า
จะนำมา ซึ่งความสุข ทุกสมัย
หากใครรัก
แล้วให้รัก มาเผาใจ
อย่าหาใคร มาเป็นไฟ ให้ใจเลย

แล้วอย่างนี้
ความรัก มีสุขหรือ
ความรักคือ ความทุกข์ สนุกหมัย
รักพ่อแม่
ตายหรืออยู่ มีที่ไป
รักหลงไหล ตายแล้วไป ไร้ปลายทาง

คนทุกคน ในวังวน จงสำนึก
อย่าลงลึก
กับความโลภ และโกรธหลง
เลิกยึดเขา เลิกยึดเรา ด้วยทางปลง
จงสวดมนตร์
ปฏิบัติธรรม ช่วยนำใจ










ขอบคุณบทความจาก
ลานธรรมจักร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:12:29 น.
Counter : 324 Pageviews.  

มาตาปิตุคุณภารกตเวทีสูตร





















ดังที่ได้สดับมา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวัน
มหาวิหารแห่งอนาถบัณฑิต
เศรษฐี กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระมหา
สาวก ๒,๕๐๐ รูป
และปวงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๓๘,๐๐๐ องค์

ในกาลนั้นแล
พระโลกนาถเจ้าทรงนำปวงสาวกดำเนินไปทางใต้ ได้
ทอดพระเนตรเห็นโครงกระดูก
กองหนึ่ง กองอยู่ข้างทาง พระตถาคต
เจ้าจึงน้อมพระวรกายก้มลงกราบโครง
กระดูกด้วยความเคารพ

พระอานนท์เถระเจ้าประนมหัตถ์ทูลถามว่า...
"ข้า
แต่พระโลกนาถเจ้า! พระตถาคตเป็นครูผู้สอนแห่งไตรภพ เป็น
บิดาผู้เมตตา
แห่งสัตว์ในโยนิ ๔ เป็นผู้ควรแก่การเคารพของบุคคล
ทั้งปวง
ด้วยเหตุอันใดจึงทรงแสดงความเคารพโครงกระดูกเช่นนี้?"

พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"ดูกรอานนท์!
พวกเธอทั้งหลายเป็นศิษย์ของตถาคต ได้ออกบวชมา
นาน
แต่ความรู้ยังไม่กว้างขวาง โครงกระดูกเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษ
หรือบิดา
มารดาในอดีตชาติของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้แสดงความ
เคารพกราบไหว้
"....พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้า
สืบไปว่า..."เธอจง
แบ่งกระดูกเหล่านี้ออกเป็น ๒ กอง หากเป็นกระดูก
ของบุรุษจักมีสีขาวและ
หนัก หากเป็นกระดูกของสตรีจักมีสีดำและเบา"

พระอานนท์เถระเจ้ากราบ
ทูลว่า..."ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า บุรุษขณะมี
ชีวิตอยู่สวมใส่อาภรณ์รองเท้า
และหมวก ท่าทางองอาจ พอเห็นก็รู้ได้
ว่าเป็นกายแห่งบุรุษ
สตรีขณะยังมีชีวิตชอบประดับตกแต่งร่างกายด้วย
เครื่องสำอางและน้ำหอม
การประดับตกแต่งเยี่ยงนี้ ย่อมรู้ได้ว่าเป็นกาย
แห่งสตรี
เมื่อได้ทำกาลไปแล้ว เหลือแต่กระดูกไม่แตกต่างกัน ขอพระ-
องค์ผู้เจริญ
ได้โปรดแสดงแก่สาวกทั้งหลายว่าจะพึงรู้ได้อย่างไร?"...

พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์เถระเจ้าว่า....
"หากเป็นบุรุษ
ขณะมีชีวิตมักเข้าวัดฟังธรรม ถือศีล กราบไหว้พระรัตน-
ตรัย
สรรเสริญพระพุทธคุณ ด้วยเหตุนี้กระดูกจึงเป็นสีขาวและหนัก...
สตรีขณะมี
ชีวิตมักหลงใหลในความรักผูกพัน ต้องให้กำเนิดบุตรชายหญิง
เป็นภาระ
หน้าที่โดยธรรมชาติ ให้กำเนิดบุตรแต่ละคนต้องให้น้ำนมเลี้ยง
ดู
น้ำนมนั้นมาจากโลหิต บุตรแต่ละคนต้องดื่มน้ำนมประมาณ ๑,๒๐๐
แกลลอน
ด้วยเหตุนี้ร่างกายของมารดาจึงร่วงโรย ใบหน้าซีดเซียว
กระดูกจึงเป็นสีดำ
และมีน้ำหนักเบา"....

พระอานนท์เถระเจ้าได้สดับแล้ว
บังเกิดความเจ็บปวดใจ น้ำตาไหลริน
ด้วยความเศร้าใจ และกราบทูลถามว่า....
"ข้า
แต่พระโลกนาถเจ้า พระคุณแห่งมารดานั้นจะทดแทนได้เยี่ยงใด?"...
พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแก่พระอานนท์เถระเจ้าว่า...
"เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
เราจักแสดงอรรถาธิบายแก่เธอทั้งหลาย เมื่อ
มารดาเริ่มตั้งครรภ์นครบ ๑๐
เดือน มารดาต้องทุกข์ลำบาก

ในครรภ์มารดา...'เดือนแรก'
ดุจหยาดน้ำค้างบนใบหญ้าอยู่ในยามเช้า
ไม่อาจอยู่จนถึงยามเย็น
บังเกิดในยามย่ำรุ่ง ครั้นบ่ายก็สลายตัวไป
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สอง'
ดุจการแข็งตัวของเนย
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สาม'
เหมือนการจับตัวของก้อนเลือด
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สี่'
เริ่มเป็นรูปร่างมนุษย์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่ห้า'
ทารกในครรภ์มารดาเกิดมีรยางค์ทั้ง ๕
รยางค์ทั้ง ๕ คือสิ่งใด ?
ศีรษะ
๑....แขน ๒..... ขา ๒.....
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่หก'
ทารกในครรภ์บังเกิดอินทรีย์ ๖
อินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นคือสิ่งใด ?
...ดวง
ตา เป็นอินทรีย์แรก
...หู เป็นอินทรีย์ที่สอง
...จมูก
เป็นอินทรีย์ที่สาม
...ปาก. เป็นอินทรีย์ที่สี่
...ลิ้น.
เป็นอินทรีย์ที่ห้า
...ใจ. เป็นอินทรีย์ที่หก
ในครรภ์มารดา...'เดือน
ที่เจ็ด' ทารกในครรภ์บังเกิดกระดูกทั่วร่างกาย
๓๖๐ ชิ้นและบังเกิดต่อมขน
๘๕,๐๐๐ ต่อม
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่แปด'
บังเกิดสติปัญญาและรับรู้ทางทวารทั้ง ๙
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่เก้า'
ทารกในครรภ์สามารถดูดกินอาหาร ดังเช่น
ลูกท้อ สาลี่ กระเทียม ผลไม้ต่างๆ
ธัญชาติทั้ง ๕ อันโอชา ทารกในกาย
มารดาอวัยวะใหม่บังเกิดขึ้นข้างบน
อวัยวะเก่าลงเบื้องล่าง ประดุจดังพื้น
พสุธา
มีภูเขาตั้งสูงตระหง่านขึ้นมา ภูเขานั้นมีนาม ๓ นาม
...นามแรก.
สุเมรุบรรพต
...นามสอง. กรรมบรรพต
...นามสาม. โลหิตบรรพต

ภูเขา
อันสมมุติเหล่านี้ พังทลายลงกลายเป็นสายสะดือส่งเลือดของมารดา
อันเป็น
อาหารของทารกในครรภ์
ในครรภ์มารดา...'เดือนที่สิบ' กายทารกครบสมบูรณ์
ครั้นถึงเวลาเกิด หาก
เป็นบุตรกตัญญูจะห่อแขนประนมมือ คลอดอย่างง่ายดาย
ปลอดภัย ไม่ทำ
ร้ายและสร้างความทุกข์ให้มารดา หากเป็นเด็กอกตัญญู
จะทำร้ายหัวใจและ
ตับมารดา เตะถีบร่างกายมารดา
ดุจดังมีดนับพันนับหมื่นกรีดลงที่หัวใจ
ความทุกข์ของมารดาในการให้กำเนิด
บุตรเป็นเช่นนี้...."

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม
คุณพระสงฆ์~


---------------- ที่นี่ดอทคอม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:11:10 น.
Counter : 334 Pageviews.  

พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร





















ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐๙
มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ
(พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช
ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษา
พระอภิธรรมอยู่ที่สานักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา
จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง
ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระ
อภิธรรมปิฎก
ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้นให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การ
ศึกษาและ

จดจา
ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต
พระอนุรุทธาจารย์ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์
มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔
คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจธรรมะอย่างแตกฉาน
สามารถแยกแยะและขยายความได้อย่างละเอียดลึกซึ้น มีปฏิภาณไหวพริบ
มีโวหารและวาทะที่จะทาให้ผู้อื่นรู้ตาม เข้าใจตามได้โดยง่าย ๗ ฉฬภิญญะ =
ผู้มีอภิญญา ๖ อันได้แก่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ๒ .มีหูทิพย์ ๓.
ทายใจผู้อื่นได้ ๔.ระลึกชาติได้ ๕. มีตาทิพย์ ๖.
สามารถทาลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๘ เตวิชชะ = ผู้ที่ได้วิชชา ๓ ได้แก่ ๑.
ระลึกชาติได้ ๒. รู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ ๓.
มีปัญญาที่ทาอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ๙ หลักฐานบางแห่งระบุว่า ประมาณปี พ.ศ.
๑๕๐๐

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ+ธัมมะ+อัตถะ+สัง+คหะ อภิ =
อันประเสริฐยิ่ง ธัมมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน อัตถะ =
เนื้อความ สัง = โดยย่อ

คหะ = รวบรวม

อภิธัมมัตถสังคหะ
จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์
ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙
ตอน) แต่ละปริจเฉทมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ปริจเฉทที่ ๑
จิตตสังคหวิภาค

แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต
ทั้งโดยย่อและโดย พิสดาร ทาให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต
อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต

ปริจเฉทที่ ๒
เจตสิกสังคหวิภาค

แสดงเรื่องเจตสิก คือ
ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น
เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท เจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล

ปริ
จเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

แสดงการนาจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับ
ธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความ รู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว
(เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์)
และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

แสดง
วิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทางานของจิตที่เกิดทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทาให้
รู้กระบวนการทางานของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถี
จิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิด
ประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบาป จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบ คาย
(โยนิโสมนสิการ) หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ)
หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้

ปริ
จเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

แสดงถึงการทางานของจิตขณะใกล้ตาย
ขณะตาย (จุติ) และขณะ เกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย
การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง
๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร
ควรวางใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี
พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที มิใช่
ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้อง

เร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่
และยังได้อธิบาย เรื่องของกรรม
ลาดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย

ปริจเฉทที่
๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน

เมื่อได้ศึกษาทาความเข้าใจเรื่องจิต
และเจตสิก อันเป็นนามธรรม มาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖
นี้พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงองค์ประกอบที่สาคัญ
อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูป
ร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่างๆ ได้ ๒๘ ชนิด
และอธิบายถึงสมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร

ใน
ตอนท้ายได้กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะ
ทาให้เข้าใจเรื่องของพระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

ปริจเฉทที่ ๗
สมุจจยสังคหวิภาค

เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก
รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว
ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข
และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์
ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป)
จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา
ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรม
ของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้
จึงทาให้ชีวิตตกอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗
นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สาคัญๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์
(ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียว

แน่น), อายตนะ ๑๒
(สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์), ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพ
ของตน), อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม
(ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ
คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗
และมรรคมีองค์ ๘

ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

ในปริจเฉท
นี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท
(เหตุและผลที่ทาให้มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์) และปัจจัยสนับสนุน
๒๔ ปัจจัย ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ
(สมมุติสัจจะหรือสมมุติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

ปริจเฉทที่ ๙
กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้
ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทาสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิด
ความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น
ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทา
สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ
ทาลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข
อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย
ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน
เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต+เจตสิก และรูป
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป -
เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา
เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร
ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้
ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน
ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกาลัง
แก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด


-------------------------
ธรรมะไทย







Free TextEditor

























 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:09:18 น.
Counter : 476 Pageviews.  

สาระธรรมควรคิด โดย ว.วชิรเมธี






























มนุษย์เกิดมาในโลกอย่างมีความหมาย
ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่าหรือเกิดมาเพื่อจะถูกลืม
ยกเว้นคนที่พยายามจะทำให้คนอื่นลืมตนเอง ไม้ทุกต้น หญ้าทุกชนิด
ก็เช่นเดียวกับน็อตทุกตัว
ที่ถูกผลิตมาเพื่อเหมาะสมกับภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ


คนที่เข้าใจโลก ถึงขั้นจะมองเห็นอะไรๆ
ที่คนอื่นเขาเครียดกันเป็นเรื่องขำขันได้ จะมีอายุยืน อยู่ในโลก
แต่ไม่หลงโลก อยู่ในโลกเพื่อเหยียบโลกเล่น ไม่ใช่แบกโลกไว้บนบ่า
คนอย่างนี้หายาก แต่มีอยู่ที่ไหน คนอยู่ใกล้ก็มีความสุข

มีความจริง
ทั้งสองด้านรวมอยู่ในตัวมันเองเสมอ
ต่างแต่ว่าเราจะเลือกหยิบด้านใดขึ้นมาประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้น

         
คนที่คิดทางบวกเป็นคนที่โชคดีและได้กำไรเสมอ ส่วนคนที่คิดในทางลบ
แม้เรื่องดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ก็ยังไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
กับตน วิธีคิดบ่งบอกอนาคต กำหนดชะตากรรม
เราคิดอย่างไรก็จะกลายเป็นคนอย่างนั้น คิดบวก ชีวิตก็เป็นบวก คิดลบ
ชีวิตก็ติดลบ


ที่ใดมีปัญหา
ที่นั่นย่อมมีทางออก ปัญหาและทางออกจึงเป็นเสมือนสองด้าน
ของเหรียญกษาปณ์อันเดียวกัน เพียงมีสติรู้จักพลิกปัญหา
ก็จะพบว่ามีภูมิปัญญาอันเลิศล้ำ รอให้ค้นพบอยู่อย่างท้าทาย

         
หากแอปเปิ้ลที่อยู่ในมือมันช้ำเพียงบางส่วน แทนที่เธอจะโยนทิ้งไปทั้งหมด
เธอก็ควรจะเลือกเฉือนเอาด้านที่ช้ำนั้นออกเสีย แล้วเลือกรับประทานส่วนที่ดี
เพียงแค่นี้เธอก็ได้ลิ้มโอชารสอันหอมหวาน มัน กรอบ อร่อย
ของแอปเปิ้ลลูกที่อยู่ในมือของเธอแล้ว

ความสุขหรือความทุกข์ บางครั้งอยู่ที่ "ท่าที"
ในการเผชิญของเราเป็นสำคัญ ถ้า "รู้เท่าทัน" สิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างมีสติ
ทุกข์อาจกลายเป็นสุข ปัญหาอาจกลายเป็นปัญญา วิกฤติอาจถูกแปรเป็นโอกาส


ชื่อเสียงที่
แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นจากความดีงามอันบริสุทธิ์
แม้ใครจะพยายามลบล้างให้มัวหมอง แต่เมื่อมรสุมแห่งความเท็จผ่านพ้นไป
ก็จะกลับแวววาวพราวพรายขึ้นมาได้อีกเสมอ

         
หากป่วยกายอยู่แล้ว อย่าให้ใจต้องมาป่วยซ้ำลงไปอีก ถ้าป่วยกาย แต่ใจไม่ป่วย
โอกาสหายป่วยย่อมมีมาก
แต่ถ้าป่วยกายด้วย ป่วยใจด้วย
บางทีโรคกายไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจทุกข์ทรมานเพราะโรคใจคอยแทรกซ้อน

         
ขออย่าได้ท้อถอยในการที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่
คนเรายามที่เป็นปุถุชนก็มีโอกาสผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น
แต่คนโง่จะปล่อยให้ผิดพลาดแล้วผิดพลาดเลย
ส่วนคนที่มีปัญญาเมื่อรู้ว่าผิดพลาดไปแล้ว จะรีบถอนตนออกมาอย่างทันท่วงที
แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มี่ซ้ำรอยเดิม


          น้ำเน่าอาจระเหยกลายเป็นเม็ดฝนหล่อเลี้ยงผืนโลก
กรวดทรายต่ำต้อยอาจถูกหล่อหลอมเป็นศิลป์สถาปัตย์
ทรงคุณค่าระดับสากล
ข้าวเปลือกในนาอาจกลายเป็นกระยาหารของพระมหาจักรพรรดิ
ลูกกุลีอาจกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน ฯลฯ

         
ขอเพียงมนุษย์ไม่ดูถูกตัวเอง ตระหนักรู้ถึงศักยภาพพิเศษที่ซุกซ่อนอยู่ในตน
แล้วเพียรเจียระไนชีวิตให้แวววาวพราวพรายด้วยการศึกษาเรียนรู้
ซึมซับเก็บรับบทเรียนจากการงานและการใช้ชีวิตอย่างสุขุม
ก็ย่อมจะมีชีวิตที่คุ้มค่า สงบ ร่มเย็น และเป็นสุขได้โดยไม่ยากเย็น

มือของผู้ให้ อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ
ชื่อของผู้ให้ น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ เกียรติของผู้ให้
กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบและปวงวีรบุรุษ


การให้
แค่เพียงคิดจะทำ ใจก็ยังเป็นสุข ครั้นได้ให้แล้ว จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน
เมื่อวันเวลาผ่านไป หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ
ความปีติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม

การให้
จึงเป็นความสุขแท้ทั้งเวลาก่อนให้ ขณะที่ให้ และหลังจากได้ให้ไปแล้ว


         
การเสียสละ แบ่งปัน เป็นทั้งความ "สมาน" คือ
ความสามัคคีปรองดองระหว่างกันและกัน และเป็นกุศโลบายในการสร้างความ "เสมอ"
คือ ให้คนทุกคนมองเห็นหัวอกของคนอื่น


เมื่อมนุษย์รู้จักแบ่งปันแก่กันและกัน
อันมีพื้นฐานมาจากการมีอัชฌาศัยกว้างขวางเอื้ออารีเช่นนี้
ศานติภาพท่ามกลางความแตกต่าง ก็จะเกิดมีได้อย่างไม่ยากเย็นนัก












ขอบคุณบทความจาก ทำดี.คอม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 15:44:05 น.
Counter : 346 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.