ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย





                  ฮัทโช่ยย  ฮัทโช่ยยยย.... 
ฝนตกอีกแล้วค่ะ  อะไรกันเนี่ย เมื่อวานยังแดดร้อนเปรี้ยงๆอยู่เลย
วันนี้ฝนตกอีกละ ไข้หวัดที่ทำท่าว่าจะหาย  ดูจะกลับมาแข็งแรงดื้อยาอีกแล้ว 





                   วันวิสาขบูชา วันนี้เด็กส่วนใหญ่ที่ได้ยินจะจำได้ว่า
วันนี้  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน  
เกิดเหตุการณ์สำคัญ  3 อย่างในวันเดียวกัน 
ทีนี้เรามาเพิ่มเติมความรู้กันดีกว่าค่ะว่า     วันวิสาขบูชา  
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา"
หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6  วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8  
เป็นจำนวน 2 หน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7   ความสำคัญ วันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3
คราว คือ




        1.     เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน
ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15  ค่ำ เดือน 6 
ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี



       2.    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35  พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15  ค่ำ
เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา
แห่งรัฐพิหารของอินเดีย




      3.     หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์
45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น
15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา
แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย




                      นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน





ประวัติความเป็นมาของวันวิสาข
บูชาในประเทศไทย






                วันวิสาขบูชานี้
ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.
420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง
มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา
ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่



                สมัยสุโขทัยนั้น
ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ
พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา
และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย



               
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้
พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร
ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล
ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ
ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร
เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์
และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น
ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ 
ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง
เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน



                 ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา
ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ
สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา
เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "




              ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี
และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์
เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา
จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู
การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช
ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1
ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ
เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ
และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ
โดยทั่วหน้ากัน



                ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน



               
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย
คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500
ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18
พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ
และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร
ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน
มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์
และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง
พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2500 รูป
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย
สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด
และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน
เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย



--------------------------------------------------------------------------------



ห ลั ก ธ ร ร ม ส ำ คั ญ
ที่ ค ว ร น ำ ม า ป ฏิ บั ติ


1.
ค ว า ม ก ตั ญ ญู

              คือ  
ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ
การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น



                    • บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก
ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต
ให้การศึกษาอบรมสั่งสอนให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี
เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้
และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก



                    • ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้
ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้ แก่วงศ์ตระกูล
เลี้ยงดูท่าน  และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว
ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน



                    • ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์
ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่าง
ไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย



                   • ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้
ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ
และให้ความเคารไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู 

                    •
ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว
และสังคมมีความสุขได้เพราะ  บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง
ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน
และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน



                    • นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว
คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง 
อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข



                    • ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา
และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์



                   • พุทธศาสนิกชน
รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัดกิจกรรม
ในวันวิสาขบูชา  เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที
ต่อพระองค์ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฎิบัติธรรม
เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป



2. อ ริ ย สั จ 4
          คือ
ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร
เกิดมีได้แก่ทุกคน มี 4 ประการ คือ



                    • ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน
ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน   และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย 
                    ส่วน
ทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด
จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก 
                    ทุกข์ที่เกิดจากการ
ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา
รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน



                    • สมุทัย คือ
เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า
ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหา
                    
ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ
ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น



                    • นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต 
                    ทั้ง
หมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ 8 ประการ (
ดูมัชฌิมาปฎิปทา )



                    • มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์
เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา
เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ




3. ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท
                    ความ
ไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้
ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง
การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน
การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ
ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด
และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท



                    การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท
กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร
และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด












ที่มา : //www.dhammathai.org/day/visaka.php






Free TextEditor







































































































Create Date : 28 พฤษภาคม 2553
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 14:18:31 น. 0 comments
Counter : 714 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.