ทำอยู่กับปัจจุบัน

ทำอยู่กับปัจจุบัน

ไม่พึงมัวหวนละห้อยความหลัง
ไม่
มัวเพ้อหวังอนาคต ว่างั้น
สิ่งใดล่วงแล้วก็ผ่านไป
สิ่งใดยังไม่ถึง
สิ่งนั้นก็ทำไม่ได้
สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือปัจจุบันนี้ ให้มองเห็น
ให้
พิจารณาให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง
เมื่อมองเห็นเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว


(พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ. ปยุตฺโต)






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:25:43 น.
Counter : 253 Pageviews.  

ฉลาดดูใจ
















































ฉลาดดูใจ
(พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี))


งานหลักที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ คือ
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อทำให้มีปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริงในทุกข์
เพื่อ
ความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกขเวทนาทั้งปวง
และอย่าได้
ลืมว่าการงานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพียงแค่งานอดิเรกทั้งนั้น
ทำ
เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเลี้ยงชีพ
คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
หลงผิดคิดว่า
การงานที่ทำเพื่อแค่เลี้ยงชีพ สำคัญจนลืมเวลาปฏิบัติธรรม
โลภ กอบโกยกัน
เพื่อหาความสุขสบายทางกาย ทางโลก
สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือ
เอาชนะใจตนเองไม่ใช่จ้องแต่เอาชนะผู้อื่น
ถ้าเราสามารถเอาชนะใจตนเองได้
แล้ว นั่นคือ “เรามีธรรม”



ถ้าจะพูดถึงการเจริญ
วิปัสสนากรรมฐาน เราแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


1. การปฏิบัติสมถะ (สมาธิ) คือ การทำจิตใจให้สงบ

2.
วิปัสสนา (ปัญญา) จะเกิดขึ้นหลังจากเกิดสมาธิแล้ว
เกิดการระลึกรู้
เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง
และจะมีผลของการปฏิบัติตามมาอีกสองประการ คือ


ปรมัตถ์
ความรู้สึกที่แท้จริง สภาพธรรมชาติที่เป็นจริงแท้
สิ่งที่เป็นชีวิต
จริงของชีวิต และปฏิเสธความเป็นตัวเรา
ซึ่งตรงข้ามกับ “บัญญัติ”

บัญญัติ
ความรู้สึกที่ถูกสร้างสมมุติขึ้น
เช่น ชื่อ วัตถุ ความหมาย เรื่องราว
รูปร่าง
การที่เราเกิดความสบาย
นั้น เนื่องจากความทุกข์มันลดลง เบาลง
คนเราสามารถแก้ไขความทุกข์ได้
ทุกลมหายใจที่เข้า-ออก แต่ไม่ทำกัน
เราควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
และควรจะทำความรู้จักรู้ใจตัวเอง
ต้องพยายามดูอยู่เรื่อยๆ
เพื่อให้รู้เท่าทันใจ เราก็จะรู้แจ้งในที่สุด



การเจริญสติปัฎฐานสี่
เพื่อให้เราแยกปรมัตถ์ออกจากบัญญัติ
คือ ดูจิตตามความจริงว่า
ชีวิตของเราตามความจริงนั้นไม่ใช่ของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเกิด-ดับ
ตลอดเวลา
ถ้าไม่ยึดติดว่าชีวิตเป็นของเรา
จิตก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

โดยแนะนำให้เข้าใจในความจริง
(ปรมัตถ์) ต่อไปนี้


ปรมัตถ์
ทางกาย
คือ ความรู้สึกร้อน, เย็น, แข็ง, อ่อน, ตึง, หย่อน,
ความ
ไหว, สบาย, ไม่สบาย ความรู้สึกเหล่านี้ต้องเข้าไปทำความเข้าใจบ่อยๆ
ระลึก
บ่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน

ปรมัตถ์ทางใจ คือ ความนึกคิด ความรู้สึก
หรือ “ผู้รู้” * (สภาพรู้)
การกำหนดรู้ความคิดนั้น รู้แค่คิด
ไม่ต้องรู้ว่าคิดอะไร
รู้เฉยๆว่ากำลังคิด ไม่ต้องหยุดคิด
และอย่า
บังคับความคิด จะทำให้เกิดความหงุดหงิด
ถ้าเกิดความโกรธ
ให้รู้เฉยๆว่าโกรธ รู้อย่างปล่อยวาง
ไม่เอาจิตเข้าไปผูกกับมัน
เราก็จะสบายใจ ไม่เป็นทุกข์
คำว่า รู้ปล่อยวาง คือ ไม่ยินดียินร้าย
ไม่เข้าไปบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
รู้อย่างไม่ว่าอะไร รู้เฉยๆ
สำหรับปรมัตถ์ทางใจมีมากมายหลายประเภท
เช่น ถ้าคิดถึงอดีตหรืออนาคตมากๆ
จิตจะฟุ้งซ่าน
เร่าร้อนไม่สบายใจ จะเกิดความกลัว ไม่ว่ากลัวตาย
หรือกลัวจน
หรือเกิดความหวาดระแวง กลัวคนมาทำร้าย
เพราะฉะนั้นอย่าปรุงแต่งจิต


(*) ผู้รู้ คู่กับ สิ่งที่ถูกรู้
ถ้ามีสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะมีผู้รู้
เช่น
ความเคลื่อนไหวต่างๆจะมีใจทำหน้าที่เป็น “ผู้รู้”
ใจที่มีสติ นั่งสงบ
เฉย ว่าง ผู้รู้จะเห็นความว่าง และความว่างจะเห็นความว่าง
คนเราไม่ควร
ยึดติดกับสิ่งต่างๆ เพราะทุกอย่างไม่เที่ยง
อย่าไปยินดียินร้าย
ปล่อยวาง
ควรเอาใจมาสนใจในสิ่งที่ร่างกายรู้สึก ฝึกให้มากๆ
แยกกายกับจิตให้ออกจากกัน
ถึงร่างกายจะปวดหรือไม่สบาย
แต่แยกจิตได้
ก็จะไม่ปวดหรือบรรเทาอาการปวดให้น้อยลง
ถ้าเราทำให้สบายๆ ปล่อยเฉยๆ
จะหายปวดหายไปเอง
จิต ในหนึ่งขณะเร็วมาก
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
“เพียง
แค่หนึ่งขณะจิต จิตคิดปรุงแต่ไปได้แสนโกฐิ” (1 โกฐิ = 1 ล้าน)



ถ้าเราไม่สังเกตก็จะไม่สามารถตามจิตได้ทัน
และ
เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจิตของเรานั้นเกิด-ดับตลอดเวลา
มีความเคลื่อน
ไหวเปลี่ยนแปลงไปทางไหนบ้าง
เหตนี้เองเราจึงยึดมั่น
ถือมั่นร่างกายหรือชีวิตว่าเป็นของเรา
ไม่ยอมปล่อย ยอมวาง
ควรจะหวน
คิดถึงปรมัตถ์ คือ ธรรมชาติที่ไม่ผันแปร ไม่คงสภาพของมัน
ไม่คงลักษณะ
ของมัน พิสูจน์ได้แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
สังขารร่างกายไม่ใช่ของเรา
รูป รส กลิ่น เสียง
ยึดถือจิตวิญญาณเป็นตัวเรา จนเกิดเป็น
สัต
ตถทิฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และกุจเฉตทิฐิ (ความเห็นผิด)



สรุปอาการที่เกิดขึ้นกับ จิต

ด้านไม่ดี ได้แก่ ฟุ้งซ่าน, ชอบ,
ไม่ชอบ, ความหลง,
ไม่ละอายต่อบาป, ความโลภ โกรธ หลง,
ทิฐิ(ความเห็นผิด),
มานะ(ความเย่อหยิ่ง ถือตัว), อิจฉา, ตระหนี่,
ท้อแท้,
สงสัย ทั้งหมดนี้มีอยู่ในปุถุชนทั้งหลาย


ด้านดี ได้แก่ ศรัทธา, สติ
(ความระลึกได้),
ไม่โลภ, ไม่โกรธ, ไม่หลง, มีเมตตากรุณา, ปิติ, ผ่องใส,

สงสาร, ยินดี, มีปัญญา, สงบ, สมาธิ
ทุกอย่างนี้ต้องกำหนดรู้
จิตวิญญาณไม่ใช่ของเรา
กายก็ไม่ใช่ เวทนาก็ไม่ใช่ สัญญาก็ไม่ใช่
สังขารก็ไม่ใช่ วิญญาณก็ไม่ใช่
มันไม่สามารถบังคับได้
เพราะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เกิดคนละขณะกัน
โดยที่เราไม่ทันสังเกตเห็น
เนื่องด้วยความถี่ของการเกิดเร็วมาก
และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
พอไม่ทันเห็นความเกิดดับนั้น
ก็เลยคิดว่าจิตวิญญาณ กาย เวทนา สัญญา
สังขาร
วิญญาณเป็นของเที่ยง เป็นตัวของเรา



ด้วยเหตุ
นี้เองเราจึงต้องเจริญสติ จึงจะเห็นความเกิดดับนั้น
แม้จะเห็นไม่ครบทุก
ขณะจิต แต่ก็ต้องเพียรฝึกให้ทัน
เพราะจิตมันเร็วมาก และฝึกฝนได้
ฝึก
ให้เห็นความเกิดดับไม่เที่ยงได้
ถ้าจิตปรุงแต่งก็เข้าไปดูการปรุงแต่ง
นั้นๆ
เมื่อดูเท่าทัน มันก็จะหายไป ไม่เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้นควร
ปล่อยวาง ไม่มีอะไรเป็นของเรา
อย่ายึดติด อย่ายึดมั่นถือมั่น
จิตใจก็สบาย
การปฏิบัติธรรมควรอยู่ในภาวะเบาๆ สบายๆ
ไม่ต้องไป
เครียดว่าจะทำได้ดี หรือไม่ได้ดี
ปล่อยให้มันสบายๆ
พร้อมกับแผ่เมตตามากๆ จะทำให้พ้นทุกข์ได้เร็วขึ้น



ธรรมน่าคิด:

-
“ปถุชน หมายถึง ผู้หนาแน่นด้วยกิเลส”

- “สภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น
ให้รู้สภาวธรรมนั้น
หากเปรียบความฟุ้งซ่านเป็นไฟ
ความไม่ชอบไม่พอใจก็จะเป็นเชื้อไฟ
พอมารวมกันยิ่งจะทำให้ไฟลุกลามมาก
ขึ้น”

- “การรู้ว่าเราต้องตาย ก็คือ
การเอาจิตไปผูกกับร่างกายว่าเป็นของเรา
ต้องระวังเพราะนั่นคือ
การยังเอาจิตไปติดในกายอยู่
เราต้องพิจารณาตามความจริงว่าสรรพสัตว์ทั้ง
หลายมีความเสื่อมความดับไปเป็นธรรมดา
เราไม่มีในร่างกาย
เราไม่ได้ตายไปด้วย”



ที่
มา...larndham







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:14:08 น.
Counter : 290 Pageviews.  

หัวใจบัณฑิต


































หัว..ใจของบัณฑิต มีอยู่ ๔ อย่าง สุ. จิ.
ปุ. ลิ.

สุ.  คือ  สุตะ    ฟัง
จิ.  คือ  จินตะ   คิด
ปุ.  คือ  ปุจฉา   ถาม
ลิ.  คือ  ลิขิต    เขียน

ผู้ที่เว้นจาก สุ. จิ. ปุ. ลิ. แล้วจะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร


เพราะอยากจะเป็นบัณฑิต
ต้องฟังให้มาก ๆ ฟังให้เข้าใจ


ฟัง
แล้วก็ต้องคิด ทบทวน หาเหตุผล ทำไมจึงเป็นอย่างนี้


ต้องได้เหตุได้ผล อย่าเชื่อทันที ต้องทบทวนดูเหตุผล
เสีย
ก่อน ถ้ายังไม่ได้เหตุผล ก็ถามผู้รู้ว่า  มันยังไงกันแน่ อะไรอย่างนี้
ถามแล้วกลัวจะลืม ก็เอามาเขียนไว้  บันทึกไว้ เผื่อทีหลัง จะได้นำมาอ่านได้
ถ้าทำอย่างนี้เป็นบัณฑิตได้  และ..อีกอย่างหนึ่ง คำว่า " ศึกษา "
เราชอบใช้พูดกันทั่ว ๆ ไป คำว่าศึกษา ไม่ใช้คำว่าเรียน คำว่าฟัง
แต่คำว่าศึกษา หลักฐานดั้งเดิมของท่าน ไม่ใช่เรียนหนังสือนะ หรือเรียนตำรา
ศึกษาว่า

ขณะเห็นนี้  ศึกษาหรือเปล่า
ศึกษาธรรมขณะ เห็น นี่นะ ทางตาก็มีธรรม  ทางหู ทางจมูก....ทางใจ ทั้ง ๖
ทางนี้ก็มีธรรมทั้งนั้น แต่ละทวารที่ที่เขาเกิด มีธรรมหรือเปล่า
มีธรรมอะไรศึกษาหรือเปล่า ถ้ามัวแต่อ่าน  แต่ฟังอยู่เฉย ๆ ผ่าน ๆ ไป
ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะว่าก็ต้องพยายามศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ ให้หายสงสัย
เพราะความลังเลสังสัยเป็นนิวรณ์  เป็นวิจิกิจฉานิวรณ์
เป็นธรรมเครื่องกั้นความดี แต่ศึกษาตามตัวหนังสือไม่พอ
ถ้าศึกษาตามตัวหนังสือได้ ก็สำเร็จกันไปหมดแล้ว

อ่านพระไตรปิฎกจบ ไม่ใช่อ่านจบอย่างเดียวนะ
ท่องได้ด้วยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ พระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระสูตร ๒๑,๐๐๐
พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธัมมขันธ์


เมื่อ
คราวทำสังคายนาที่ประเทศพม่า เขานิมนต์พระจาก
ประเทศต่าง ๆ ไป
เอาตำราพระไตรปิฏกมาตรวบสอบ ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก
แต่สวดปากเปล่าเหมือนสวดปาติโมกข์ อ่านจบพระไตรปิฏกท่องได้
แต่เข้าใจหรือเปล่า แล้วยังเอามาสอนในเมืองไทย ให้งมงายไปตาม ๆ กัน
เยอะแยะเลย

เพราะ..การศึกษานั้น จริง ๆ
แล้วต้องศึกษาตอนที่ธรรมกำลังปรากฎ กำลังมีอยู่ ให้รู้ว่าเป็นธรรมจริง ๆ
ถ้าเราเข้าใจทวารหนึ่งทวารใด ทวารอื่น ๆ ก็ง่ายขึ้น
เพราะมีลักษณะทำนองเดียวกัน แล้วเราจะเห็นคุณค่าของพระศาสนา
พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มัน
ลึกซึ้งอย่างนี้เอง จึงเข้าใจยาก ที่จะรู้ตามได้...


ที่มา  :  สมาธิดอทคอม








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:12:22 น.
Counter : 257 Pageviews.  

ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น




การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น
ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า


ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ
ภควา


สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ
ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา
จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง

จึงทรง
พระคุณปรากฏว่า กลฺยา
โณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต
ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของ
พระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้

แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่น
เดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว
จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง
ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า


ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตน
ให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ
ปรากฏ
ว่า ปาปโกสทฺโท
คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ
เพราะโทษที่ไม่ทำ
ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย

:
มุตโตทัย
: หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต





Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:11:02 น.
Counter : 238 Pageviews.  

ส่วนบุญกุศลที่เราแผ่ไปถึงผู้ที่ตาย จะถึงเขาหรือไม่


































ถาม
ส่วนบุญกุศลที่เราแผ่ไปถึงผู้ที่
ตายจะถึงเขาหรือไม่



ตอบ

สิ่ง
นี้เป็นสิ่งละเอียดอ่อน ไม่แน่นอน
เราอาจจะมีความรู้สึกว่า
เขากำลังลำบากจริงๆ
แต่เขาอาจจะมีความสุขกว่าเราก็เป็นได้
เช่น
เขาอาจจะไปเกิดในตระกูลที่ดีกว่าหรือเป็นเทวดา
ถ้าเป็นเช่นนั้น
ไม่ค่อยจำเป็นที่เราจะทำบุญให้เขา
แต่เขาก็อาจจะเกิดในภูมิที่ต้องการ
ส่วนกุศลจากเราก็เป็นได้
หรือถ้าเขาทำกรรมหนักไว้
เขาอาจจะเกิดเป็นผีในภูมิที่ต่ำที่สุด
ที่ไม่สามารถรับบุญกุศลที่คนอื่น
อุทิศให้ก็ได้


แต่เราก็
ไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ตายไปเกิดอยู่ที่ภพภูมิไหน
เราจึงมีหน้าที่ต้องทำ
บุญไปให้อยู่เสมอ

เมื่ออาจารย์บวชใหม่ๆ อาจารย์ก็คิดว่า
ทำ
บุญกับคนล่วงลับไปแล้วไม่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่งมงาย
แต่เดี๋ยวนี้ มีความรู้สึกตรงกันข้าม
เห็นว่าควรทำ
เพราะมีประโยชน์มากทีเดียว
อย่างน้อยเราทำบุญเราก็ได้บุญแล้ว
และอาจจะถึงผู้ตายด้วยก็เป็นได้
ผู้ตายเขาจะต้องการหรือไม่
เขาจะรับส่วนบุญกุศลได้หรือไม่
เราก็ไม่รู้แต่เราก็ทำบุญไปเรื่อยๆ
เราทำบุญเราก็สบายใจ ได้บุญแล้ว
และยังอาจจะได้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย



สมมติว่า
คน 2 คนอยู่ด้วยกัน เช่น สามีภรรยาก็ได้
เมื่อมีชีวิตอยู่มักจะทะเลาะ
กันบ่อยๆ ความใกล้ชิดมากทำให้มีอารมณ์มาก
บางทีก็ไม่มีเรื่องอะไร
แต่อาจจะเพราะ รัก หวง ห่วง หึง อิจฉา ฯลฯ ทำให้ทะเลาะได้
ภาษิตญี่ปุ่น
สอนว่า “สามีภรรยาทะเลาะกัน หมาก็ยังไม่กิน”
หมายความว่า
เมื่อสามีภรรยาทะเลาะกัน
คนที่อยู่รอบข้างไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว
ไม่ต้องห่วงเขา


ทีนี้ฝ่ายหนึ่งตายก่อน
อารมณ์ความจำมันจะตกค้างอยู่ในสันดานจิตใจของคนที่มีชีวิตอยู่
เหมือน
ถูกอัดเทปไว้ในสัญญาขันธ์ เมื่อเขาล่วงลับไปแล้ว ถ้าเราคิดถึงเขา
มีใจเป็นบุญ
ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขาบ่อยๆ นึกถึงความดีของเขาบ่อยๆ
นึก
ว่าเขาเป็นญาติของเรา เคยใช้ชีวิตร่วมกัน เคยทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
เคย
มีความสุขร่วมกัน เรานึกถึงเรื่องฝ่ายดีๆ
แล้วก็ทำบุญอุทิศแผ่ส่วนกุศลให้เขาไปเรื่อยๆ
จิตใจของเราก็จะค่อยๆ
เปลี่ยนไป


ตอนมีชีวิตอยู่ด้วยกันก็อาจจะต่างคนต่างบ่น
แต่พอฝ่ายหนึ่งตายไปแล้ว
ก็จะนึกถึงความดีของเขาง่ายขึ้น
เพราะไม่ถูกกระทบอารมณ์
ความจำฝ่ายไม่ดีก็ให้อโหสิกรรมไปได้โดย
อัตโนมัติ
ฉะนั้น
หน้าที่ของเราก็คือ พยายามใส่บาตร ทำบุญให้เรื่อยๆ
ระลึกถึงแต่ความทรง
จำฝ่ายดี อโหสิกรรม ให้อภัยเป็นอภัยทาน
ปล่อยวางความไม่พอใจความจำฝ่าย
ไม่ดีเสีย



ถ้าชาติไหนเราพบกันอีก ก็จะพบกันดีๆ
มีความสุข
ถ้าเราไม่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา
ชาติต่อไปถ้าบังเอิญไปพบกันอีก
พบปุ๊บก็อาจจะทะเลาะกันได้โดยไม่ได้ตั้ง
หลักเลย ก็เป็นได้ ระวัง
!!



คัดลอกบางส่วนจาก...ปัญหา 108
(1)
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่า
เตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 22 เมษายน 2553    
Last Update : 22 เมษายน 2553 18:09:36 น.
Counter : 251 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.