จิตอยู่กับปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร













































จิตอยู่กับปัจจุบันนั้น
เป็นอย่างไร



การปฏิบัติธรรม
คือการทำใจให้สงบ นั่งสมาธิ เดินจงกรม


ไม่ให้คิดถึงอดีต ไม่ให้คิดถึงอนาคต


ปัจจุบันนี้ กายนั่งอย่างไร นั่งอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ก็รู้


นี่เป็นปัจจุบัน


ถ้าเราสามารถกำหนดรู้การ ยืน เดิน นั่ง นอน


รู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก


รู้กายมีเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น



นี่ก็เป็นปัจจุบัน.. เป็นการทำเหตุดีในปัจจุบัน


เราสามารถกำหนดรู้ได้ เพราะกายก็มีอยู่เดี๋ยวนี้


เราปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้อยู่กับปัจจุบัน


พยายามไม่ให้คิดไปอดีต อนาคต



ถ้าเราสังเกตดูก็จะเห็นว่า


จิตที่ไม่สงบคือจิตที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน คิดไปอดีต คิดไปอนาคต


ยิ่งคิดมาก คิดไปๆ ก็เรื่องเก่าๆ ทั้งนั้น


ถ้าเรายังคิดไปอดีต คิดไปอนาคต เราก็ยังไม่เข้าใจธรรมะ


จิตไม่สงบ เพราะจิตไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน


เมื่อจิตไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ก็ไม่สามารถเข้าใจธรรมะได้


มีแต่ปรุงแต่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว ปรุงแต่งไปอนาคตที่ยังมาไม่ถึง


ทำอะไรก็ไม่ได้


การศึกษาธรรมะคือ การศึกษาปัจจุบันธรรม


เราต้องพยายามสร้างศรัทธา คือ ศรัทธาในการทำใจให้สงบ


ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 21:06:16 น.
Counter : 255 Pageviews.  

"คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข"



















































คิดดี พูดดี ทำดี
มีความสุข



การปฏิบัติของเรานั้น

เรามักจะคิด เรียกร้องธรรมะให้มาช่วยเรา

ที่ถูกแล้ว เราต้องช่วยเหลือตัวเอง

ต้องหมั่นพิจารณา.. โยนิโสมนสิการ

เราต้องน้อมเข้าไปหาธรรมะ

เอากาย วาจา จิต ไปละความชั่ว ทำความดี

พยายามชำระจิตใจให้สะอาด



ต้องพยายามใช้ปัญญามาพิจารณาดู คือโยนิโสมนสิการ

พยายามคิด พิจารณาดูอยู่อย่างนั้น

ทุกข์เกิดขึ้นเมื่อไร เราก็คิดผิด

เมื่อกระทบอารมณ์ เราก็ต้องรีบคิดดี พูดดี ทำดี

"คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข"

ธรรมะข้อนี้ใครก็รู้จัก เราก็ได้ยินมาตั้งแต่เล็กๆ แต่ยังไม่ถึงใจ

ใจเราก็ยังคิดสกปรกอยู่

กระทบนิดเดียวก็คิดสารพัด

เห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็เกิดน้อยใจ เสียใจ ไม่พอใจ ครุ่นคิดสารพัด

พยาบาท ปองร้าย สู้กัน ชนกันอยู่อย่างนั้น

ถ้าเราเข้าใจธรรมะนิดหน่อย



เอา คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข ตั้งไว้ที่หัวใจ

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตั้งขึ้นมา

ทุกข์เพราะคิดผิด

อย่าเชื่อความรู้สึกนึกคิด

อะไรก็ไม่แน่ ไม่แน่ ไม่แน่


































ถ้าเรามีสติระลึกได้
เอาธรรมะเหล่านี้มากรองอยู่อย่างนั้น

การปฏิบัติก็ง่ายมาก

ถ้าเรายึดธรรมเหล่านี้มาเป็นหลักในการปฏิบัติ.. ก็ไม่มีอะไร

เห็นอะไร ได้ฟังอะไร อะไรกระทบอารมณ์ ใจก็สงบ

เราอาจจะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ หรือทุกข์อาจจะเกิดขึ้นก็ได้

แต่จิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตสงบได้ ทำใจสงบได้

แม้ยังรู้สึกเป็นทุกข์ เพราะเรายังมีกิเลส

บางครั้งเมื่อรู้สึกน้อยใจ เรารีบจับความรู้สึกที่หน้าอก

ความรู้สึกทางกายเกิด ใจก็ไม่พุ่งออกไปชนกับเขา

ไม่ดูถูก ดูหมิ่นใคร ไม่ต้องคิดอะไร



จับความรู้สึกทางกายนี่แหละ ที่หน้าอก

ความรู้สึกเป็นทุกข์ เราก็ต้องรู้จักว่า กิเลสกำลังเกิด

แล้วก็พิจารณาดูว่าไม่แน่ ความรู้สึกสักแต่ว่าความรู้สึก

เลยเป็นเรื่องเล็ก ไม่เป็นเรื่องใหญ่โต เพราะเราไม่ปรุงแต่ง

ถ้าเราทำได้อย่างนี้ เราก็ปฏิบัติถูก











สนับสนุนข้อคิดนานาสาระ
โดย:


พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 15:13:33 น.
Counter : 619 Pageviews.  

เป็นสุขทุกขณะจิต เมื่อชีวิตไม่ติดลบ







































เป็นสุขทุกขณะจิต
เมื่อชีวิตไม่ติดลบ



เวลากินข้าว
เราไม่เพียงตักอาหารบำรุงเลี้ยงร่างกายเท่านั้น
หากยังเป็นโอกาสที่เราจะได้บำรุงเลี้ยงจิตใจด้วย
โดยเฉพาะเมื่อเรากินอย่างมีสติ รู้จักประมาณในการกิน
กินอย่างรู้คุณค่าที่แท้จริงของอาหาร
และด้วยสำนึกในบุญคุณของทุกชีวิตที่นำอาหารมาให้เรา
สติและสำนึกดังกล่าวจะช่วยบ่มเพาะจิตใจของเราให้งดงามและเป็นกุศล
นำไปสู่ชีวิตที่สงบเย็นและมีเมตตา



เวลาหายใจ เราไม่เพียงดูดออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเท่านั้น
หากยังเป็นโอกาสที่เราจะนำเอาความสงบเย็นไปหล่อเลี้ยงจิตใจด้วย
ในยามเครียดหรือเกิดโทสะ ลองหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สัก ๕-๑๐ ครั้ง
จิตจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ จะพบว่าความเครียดบรรเทาลง และจิตใจหายรุ่มร้อน
ยิ่งในยามปกติด้วยแล้ว การหายใจอย่างมีสติจะช่วยให้จิตสงบนิ่ง
มั่นคงแต่อ่อนโยน เต็มไปด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม



เวลาเดิน เราไม่เพียงพาตัวเองไปให้ถึงจุดหมายเท่านั้น
หากยังเป็นโอกาสที่เราจะพาใจให้เข้าถึงความผ่อนคลาย เป็นสมาธิ
เมื่อเดินอย่างมีสติรู้ตัวในทุกย่างก้าว ไม่กังวลกับจุดหมาย
ไม่สนใจว่าต้องเดินอีกไกลเท่าใด ไม่เร่งเร้าว่าเมื่อไหร่จะถึง
เมื่อนั้นเราจะเป็นอิสระจากระยะทางและเวลา
การเดินจึงกลายเป็นการพักใจในทุกก้าว แม้กายเหนื่อย แต่ใจหาเหนื่อยไม่


































ทุกอิริยาบถ
ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แม้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของร่างกายล้วนๆ
แต่แท้ที่จริงแล้วมีมิติด้านจิตใจมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
เป็นมิติที่มากไปกว่าการใช้สมองหรือความคิด
หากเป็นมิติที่สัมพันธ์กับความปกติสุข (หรือความทุกข์) ในระดับจิตวิญญาณ
ทุกขณะและทุกการกระทำของเราล้วนแยกไม่ออกจากมิติทางจิตใจ
กล่าวคือล้วนส่งผลต่อจิตใจ ไม่ว่าในทางบ่มเพาะหรือบั่นทอน
หล่อเลี้ยงหรือตัดรอนความสงบเย็นของชีวิตด้านใน



ชีวิตที่สนใจแต่มิติด้านกายภาพ มุ่งตักตวงความสุขทางกาย
หรือความพรั่งพร้อมทางวัตถุ โดยไม่คำนึงถึงมิติด้านจิตใจ
เอาแต่ปรนเปรอร่างกาย โดยละเลยการบำรุงเลี้ยงจิตใจ
ชีวิตดังกล่าวย่อมเป็นชีวิตที่ยากจะพบกับความสงบสุข
มีแต่จะรุ่มร้อนเพราะความอยากที่ไม่รู้จักพอ
ขณะเดียวกันจิตใจก็แส่ส่ายทุรนทุรายเนื่องจากขาดความสุขที่แท้
จึงต้องดิ้นรนแสวงหาโดยนึกว่าทรัพย์สมบัติจะนำความสุขที่แท้มาให้
แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวัง จึงต้องดิ้นรนแสวงหาต่อไปไม่รู้จบ
ชีวิตเช่นนี้เป็นชีวิตที่ติดลบ แม้จะมีทรัพย์สมบัติท่วมหัวก็ตาม



มนุษย์ทุกคนย่อมปรารถนาความสงบเย็นภายใน ความสงบเย็นแบบนี้หาซื้อไม่ได้
จะได้มาก็จากชีวิตด้านในที่เจริญงอกงาม
หรือจากจิตใจที่ได้รับการบำรุงเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น
ผู้ที่เห็นคุณค่าของชีวิตด้านในย่อมแสวงหาสิ่งดีงามมาบำรุงเลี้ยงจิตใจอยู่
เป็นนิจ สิ่งดีงามนั้นได้แก่ความปรารถนาดี (เมตตา) การเผื่อแผ่และเสียสละ
(จาคะ) ความตั้งมั่นและความสงบใจ (สมาธิ) ความรู้ตัวและไม่หลงลืม (สติ)
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องชีวิตจิตใจ (ปัญญา) เป็นต้น


































เพียงแค่หยุดคิดแล้วหันมามองดูตน
เราย่อมเห็นได้ไม่ยากว่าอะไรคือสิ่งที่ชีวิตจิตใจของเราปรารถนาอย่างแท้จริง
แต่ในยุคนี้ดูเหมือนว่าทำเพียงเท่านี้ก็นับว่ายากแล้ว
เพราะนอกจากชีวิตจะเร่งรีบจนแทบไม่มีเวลาว่างแล้ว แม้ในยามที่มีเวลาว่าง
อะไรต่ออะไรก็พากันแย่งเวลาเราไปจนหมด ไม่ว่าโทรทัศน์ วีดีโอ
โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต หรือสถานบันเทิง



ยิ่งกว่านั้นก็คือกระแสเงินตราที่ไหลบ่ามาแรง โดยเฉพาะสังคมไทยใน พ.ศ.นี้
และพ.ศ.หน้า ไม่เพียงสินทรัพย์จะถูกแปรเป็นทุนเท่านั้น
หากแต่สรรพสิ่งก็กำลังถูกแปรเป็นเงินตรา
ขณะที่วัฒนธรรมของชาติกำลังถูกแปรเป็นวัฒนธรรมเชิงท่องเที่ยว
เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศ คาสิโนและโต๊ะพนันบอลก็ทำท่าจะเดินตามหวย
คือถูกขุดขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อเป็นขุมเงินขุมทองให้รัฐ
เงินกำลังกลายเป็นเป้าหมายสูงสุดของคนในชาติ
และกลายเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จและความเจริญของทุกสิ่งตั้งแต่บุคคล องค์กร
ชุมชน ไปจนถึงประเทศชาติ
ใช่แต่เท่านั้นเงินยังทำท่าแพร่สะพัดสุดแต่ว่าใครจะไขว่คว้าได้แค่ไหน
ไม่ว่าเงินกู้ในรูปเครดิตการ์ดที่ธนาคารแข่งกันออก
เงินล้านที่หลั่งไหลสู่ชุมชนเพื่อเอาชนะความยากจน
และเงินลงทุนอีกหลายแสนล้านของรัฐบาลในโครงการนับไม่ถ้วน



ในยุคที่เงินตราเป็นตัวกำหนดทุกสิ่ง รวมทั้งความถูกต้อง จนแฟชั่น "นมหก"
กลายเป็นเรื่องธรรมดาเพราะจำเป็นสำหรับการสร้างเมืองไทยให้เป็นตลาดแฟชั่น
ชั้นนำของโลก การที่ผู้คนจะแลเห็นอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่าวัตถุเงินตรา
ย่อมเป็นเรื่องยาก อย่าว่าแต่เรื่องจิตวิญญาณเลย แม้กระทั่งศักดิ์ศรี
สิทธิมนุษยชน หรือสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นเรื่องโลกีย์ๆ
ก็แทบไม่มีความหมายเสียแล้วเมื่อเทียบกับความมั่งคั่งหรือการเติบโตทาง
เศรษฐกิจ


































ในยามที่เงินเป็นพระเจ้านี้
สิ่งสำคัญก่อนอื่นใดคือการมีสติยั้งคิด
ไม่หลงใหลไปตามกระแสและหรือลุ่มหลงกับมายาภาพ จนลืมไปว่า มีเงินมากเท่าไหร่
ก็ไม่มีความหมายหากชีวิตติดลบ ติดลบเพราะหิวโหยความสงบเย็นภายใน
ชีวิตเช่นนี้ว่างเปล่าเพราะหาสาระที่แท้ของชีวิตไม่เจอ
ใช่หรือไม่ว่าในที่สุดชีวิตเช่นนี้ย่อมกลายเป็นชีวิตที่กัดเจ้าของ



ปีใหม่นี้ถึงแม้เงินจะปลิวว่อนในอากาศมากกว่าเดิม
ก็อย่าหลงเพลินกับการไขว่คว้าเงินจนลืมชีวิตด้านในของตนเอง
พึงตระหนักว่าทุกขณะและทุกอิริยาบถล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตด้านใน
ลึกลงไปในทุกกิจกรรมคือโอกาสแห่งการบ่มเพาะจิตใจและการนำความสงบเย็นมาสู่
จิตวิญญาณ พยายามใช้ทุกกิจกรรมเพื่อการสร้างความไพบูลย์งดงามแก่จิตใจ
แทนที่จะทุ่มเททุกหยาดเหงื่อให้กับการแสวงหาเงินตราและวัตถุสถานเดียว



ที่ขาดไม่ได้ก็คือการหาเวลาสงบๆ ให้แก่ตนเอง
เพื่อไตร่ตรองมองตนและปล่อยวางจากสิ่งข้องขัดที่สะสมมาตลอดทั้งวัน
เวลาดังกล่าวสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเติมความสงบเย็นให้แก่จิตใจ
ถ้าทำได้เช่นนี้ ชีวิตย่อมเต็มอิ่มและนำความสุขใจมาให้ทุกขณะจิต












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระ:

โดย พระไพศาล วิสาโล






Free TextEditor

























 

Create Date : 12 เมษายน 2553    
Last Update : 12 เมษายน 2553 23:54:53 น.
Counter : 392 Pageviews.  

เขา..นินทา..เรา



















































เขานินทาเรา






เราไม่พอใจ เรากำลังจะโกรธเขา ต้องรีบแก้ไขทันที


"เขา" ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรากำลังจะเป็นทุกข์


เรากำลังจะผิดศีล กำลังจะผิดข้อวัตรของเรา


ระวังนะ..... ถ้าเราเป็นทุกข์ เราก็ผิดข้อวัตรของเราแล้ว


ผิดศีล เราก็บาปแล้ว


เราต้องมีหิริ โอตตัปปะ ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป


ถ้าเราเป็นทุกข์ เราผิดศีล เราก็บาป













ใครเขานินทาเราก็ไม่
สำคัญ เขาทำอะไรๆ เราก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรา


สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว


ไม่ต้องดูใคร ไม่ต้องฟังใคร ดูกายกับใจของเรานี่แหละ


เราต้องเป็นที่พึ่งของเราเอง


อัตตา หิ อัตตโน นาโถ นะ

















ระวังนะ.. คนโน้นคนนี้ก็ไม่สำคัญหรอก สำคัญที่จิตของเรานี่แหละ


ใครทุกข์ก็ไม่ต้องทุกข์ตามเขา ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่ต้องชี้แจง ไม่ต้องกลัว


สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์นะ


ถ้าเราทุกข์เราผิดแล้วนะ ไม่ใช่เขาผิดหรอก


ต้องรีบพิจารณาแก้ไขทันที











สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 12 เมษายน 2553    
Last Update : 12 เมษายน 2553 23:52:38 น.
Counter : 240 Pageviews.  

สุขแท้ด้วยปัญญา (พระไพศาล วิสาโล)























สุ ข แ ท้ ด้ ว ย ปั ญ ญ า
โดย พระไพศาล วิสาโล


คน
เราจะสุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ
ถึงแม้จะมีโชคเพราะถูกหวย
แต่หากรู้ว่าเพื่อนได้เงินรางวัลมากกว่าเพราะแทงมากกว่า
ที่เคยดีใจก็กลับเป็นซึมเศร้าไปทันที
ทำนองเดียวกันถึงแม้จะดีใจเพราะซื้อโทรศัพท์มือถือได้ถูกกว่าท้องตลาด
แต่เมื่อรู้ว่าเพื่อนบ้านซื้อได้ราคาถูกกว่าที่ตัวเองซื้อ
ปากที่เคยแย้มยิ้มก็หุบทันที

ในทางตรงข้ามแม้จะล้มป่วยหรือสูญเสีย
ทรัพย์หรือการค้าขาดทุน แต่หากมองว่านั่นเป็นธรรมดาของชีวิตที่มีขึ้นมีลง
จิตใจก็ยังผ่องใสเบิกบานได้ แม้จะมีเงินน้อย แต่ก็พอใจในสิ่งที่มี
ภูมิใจในสิ่งที่ทำ อีกทั้งยังรู้ว่ามีคนอื่นอีกมากมายที่ลำบากกว่าตัว
ชีวิตก็เป็นสุขได้ไม่ยาก

คนเราไม่ได้เป็นสุขได้เพราะทรัพย์ ตำแหน่ง
และสถานะเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต
รวมถึงมุมมองและความคิดที่สามารถยกจิตออกจากความทุกข์
หรือนำพาจิตให้เข้าถึงความสุข ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบหรือมีเหตุการณ์ใดๆ
เกิดขึ้นกับชีวิตก็ตาม
ขณะเดียวกันก็สามารถกำกับชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีงาม เกื้อกูล
ก่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ ปัจจัยเหล่านี้เรียกรวมๆ ว่า ปัญญา
ความสุขที่เกิดจากปัญญาจัดว่าเป็นความสุขที่แท้
เพราะไม่อิงอาศัยปัจจัยภายนอก
จึงเป็นหลักประกันแห่งความสุขอันยั่งยืนที่ไม่มีใครแย่งชิงได้

ปัญญา
อันเป็นที่มาแห่งความสุขที่แท้และยั่งยืนนั้น สามารถจำแนกออกเป็น 3 ด้านคือ
คิดดี คิดเป็น และเห็นตรง


1.
คิดดี
หมายถึง
การมีความคิดความเชื่อและความเห็นที่ถูกต้องดีงามหรือมีเหตุผล เช่น
เห็นว่าคุณค่าของชีวิตอยู่ที่การทำความดี มิใช่การสะสมวัตถุ ชื่อเสียง
หรืออำนาจ หรือเห็นว่าการคำนึงถึงผู้อื่น
ย่อมช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
ส่วนความเห็นแก่ตัวนั้นให้ผลตรงข้าม

2.
คิดเป็น
หมายถึง การรู้จักคิดหรือพิจารณา
ทำให้เห็นความจริง สามารถแก้ปัญหาหรือทำกิจต่างๆ ให้สำเร็จได้ เช่น
คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ หลงตามสิ่งเย้ายวน
หรือเอนเอียงตามอคติ รู้จักมองแง่ดี เห็นด้านบวก
รู้จักหาประโยชน์จากอุปสรรคหรือความทุกข์ หรือมองเห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤต

3. เห็นตรง หมายถึง
การมีความเห็นที่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้วางใจได้อย่างถูกต้อง
ไม่ก่อหรือซ้ำเติมให้เกิดทุกข์ เช่น
เห็นว่าสุขหรือทุกข์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของตน
มิได้ขึ้นอยู่กับวัตถุภายนอก
อีกทั้งยังมองเห็นว่าสิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
ไม่ขึ้นอยู่กับความปรารถนาของเรา จึงไม่สามารถยึดมั่นให้เป็นไปดังใจได้ ปัญญา
ระดับลึกที่สุดคือการมองเห็นว่าความทุกข์นั้นมีรากเหง้ามาจากความยึดติดถือ
มั่นในสิ่งต่างๆ ว่าเป็น “ตัวกูของกู”


การขาดปัญญาในการ
มองโลกและดำเนินชีวิตเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความ
ทุกข์ทั้งในระดับบุคคลและทั้งสังคม
ความบกพร่องทางปัญญาสะท้อนให้เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์ต่อไปนี้

ความรู้ถดถอย

จากการ
ประเมินผลการเรียนของนักเรียนชั้นต่างๆ ในหลายปีที่ผ่านมาพบว่า
เด็กไทยมีความรู้ในระดับที่ต่ำมาก เช่น
การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเมื่อ 2549 พบว่านักเรียนชั้น ป.6
ทั่วประเทศ ทำคะแนนทุกวิชาโดยเฉลี่ยได้ไม่ถึงร้อยละ 40
ยกเว้นภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ ทำได้ร้อยละ 43 ส่วนชั้น ม.3
ทำคะแนนทุกวิชาโดยเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 40
ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาทำได้ร้อยละ 44 และร้อยละ 41 ตามลำดับ

คุณธรรมตกต่ำ

คุณธรรมของ
คนไทยโดยรวมอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ
เห็นได้ชัดจากสถิติการก่ออาชญากรรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ
มีคนถูกฆ่าตายวันละเกือบ 20 คนหรือตายเกือบทุกชั่วโมง
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับคดีอุกฉกรรจ์อื่นๆ เช่น คดีข่มขืน
ปัจจุบันจึงมีผู้หญิงถูกกระทำชำเราไม่ต่ำกว่า 14 คนต่อวัน
ในขณะที่เด็กถูกละเมิดทางเพศทุก 2 ชั่วโมง

ประเทศไทยยังมีชื่อเสียง
ในด้านการลักขโมยและการคดโกงหรือคอร์รัปชั่น
ในการสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษจำนวน 60,000
คนเกี่ยวกับอันตรายในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ปรากฏว่าเมืองไทยติดอันดับหนึ่งในเรื่องการลักขโมย และติดอันดับ 2
ในด้านการชิงทรัพย์โดยใช้ความรุนแรง
นอกจากนั้นผลสำรวจความเห็นของนักธุรกิจต่างชาติ เมื่อเร็วๆ
นี้ยังพบว่าประเทศไทยมีคอร์รัปชั่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย
รองจากฟิลิปปินส์

หมกมุ่นในอบายมุข
และวัตถุนิยม


ปัจจุบันคนไทยกินเหล้าสูงสุดเป็น
อันดับ 1 ในเอเชีย และติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน 1 ใน 3
ของครัวเรือนทั้งประเทศซื้อหวยทั้งใต้ดินและบนดินถึงเดือนละ 1,850
บาทโดยเฉลี่ย จำเพาะหวยใต้ดินมูลค่าการเล่นทั้งประเทศมีจำนวนสูงถึงปีละ 4
แสนล้านบาท ยังไม่นับการพนันบอล ซึ่งพบว่าร้อยละ 25
ของผู้ที่อยู่ในวงจรการพนันฟุตบอลเป็นเยาวชน

ปรากฏการณ์ดังกล่าว
เกิดขึ้นควบคู่กับความฟุ้งเฟ้อและค่านิยมบริโภค ซึ่งแพร่หลายไปยังทุกระดับ
ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก เมืองหรือชนบท
การเที่ยวห้างและจับจ่ายใช้สอยเป็นพฤติกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
จนประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่นิยมการช็อปปิ้งมากเป็นอันดับ 2
ของโลกรองจากฮ่องกง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว
จนเกิดหนี้สินตามมา (ปัจจุบันสูงถึง 115,355 บาทต่อครอบครัวโดยเฉลี่ย)

ความทุกข์ในจิตใจเพิ่มพูน

ทั้งๆ
ที่มีสิ่งเสพและสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น
แต่คนไทยกลับมีความสุขลดลงและมีความทุกข์มากขึ้น
ดังเห็นได้จากสถิติการการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีถึงวันละ 13 คน หรือ 2 คนทุก 3
ชั่วโมง (มากกว่าอังกฤษถึง 10 เท่า) แม้แต่วัยรุ่นก็มีถึง 1 ใน 4
ที่คิดอยากฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีจำนวนสูง 6
ล้านคนหรือร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ

สังคมไทยจะมี
ปัญหาน้อยลงและผู้คนมีความสุขมากขึ้นหากมีทัศนคติ 4
ประการเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ได้แก่


1. รู้จักคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

การ
คิดถึงแต่ตนเอง ทำให้จิตใจคับแคบ
อัตตาหรือตัวตนใหญ่ขึ้นทำให้ถูกกระทบหรือเป็นทุกข์ได้ง่าย
ขณะเดียวกันก็เป็นคนสุขยากเพราะได้เท่าไรก็ไม่พอใจเสียที
ในทางตรงข้ามการคิดถึงผู้อื่นช่วยให้ตัวตนเล็กลง
เห็นความทุกข์ของตนเองเป็นเรื่องเล็กน้อย ยิ่งช่วยผู้อื่นมากเท่าไร
ก็ยิ่งมีความสุขเพราะได้เห็นผู้อื่นมีความสุขด้วย
กล่าวอีกนัยหนึ่งความสุขของเราย่อมไม่แยกจากความสุขของผู้อื่น

2. ไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุอย่างเดียว

วัตถุ
นั้นให้ความสุขเพียงชั่วคราว แต่ก่อให้เกิดภาระทางจิตใจต่างๆ มากมาย
การยึดติดความสุขทางวัตถุทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์
แท้จริงที่มาแห่งความสุขนั้นมีอยู่มากมาย
และสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้เงิน เช่น ความสุขจากมิตรภาพ
จากความสัมพันธ์ที่ดีงามกับผู้อื่น จากการทำงาน จากการทำความดี
และจากสมาธิภาวนา เป็นต้น
การตระหนักว่าความสุขมีหลายมิติและสามารถเข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุ
จะช่วยให้มีสุขได้ง่ายขึ้นและเป็นสุขที่ยั่งยืน

3. เชื่อมั่นในความเพียรของตน ไม่หวังลาภลอย
คอยโชค และรวยลัด


การหวังลาภลอย คอยโชค
หรือการหวังความสำเร็จโดยไม่ต้องเหนื่อย
เป็นที่มาแห่งความทุกข์ทั้งในระดับบุคคลและสังคม
การหันมาตระหนักว่าความสุขเกิดขึ้นได้จากความเพียรพยายามของตน
ทำให้ความสุขอยู่ในอำนาจของเราเอง และทำให้เราสามารถพึ่งตนเองได้
ไม่หวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โชควาสนา หรือหันเข้าหาวิธีการที่เป็นโทษ
เช่น อบายมุข การพนัน และการฉ้อโกง

4.
รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล


แม้
คนทุกวันนี้จะคิดเก่ง แต่ก็มักเอาอารมณ์เข้ามาเจือปน
ทำให้มองคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และโน้มเอียงไปในทางเข้าข้างตนเอง
การพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงเหตุผลยิ่งกว่าอารมณ์
จะช่วยให้มองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน สามารถแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่าง “ถูก
ใจ”
กับ “ถูกต้อง” ได้
ซึ่งช่วยให้สามารถคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อส่วนรวม
อีกทั้งยังสามารถลดทอนอคติ นำไปสู่การเป็นอยู่ด้วยปัญญา
และสามารถแก้ทุกข์ได้ด้วยตนเอง

ทัศนคติทั้ง 4 ประการ
ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการพร่ำสอนหรือฟังเทศน์เท่านั้น
หากยังต้องมีแบบอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจ
และที่สำคัญคือมีกระบวนการที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และบ่มเพาะทัศนคติ
ดังกล่าว
อาทิ การได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
การร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม และมีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดจากการทำงาน
จนสังเคราะห์เป็นบทเรียนหรือมุมมองในการดำเนินชีวิต






























การขาดปัญญาใน
การมองโลกและดำเนินชีวิตเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความ
ทุกข์ทั้งในระดับบุคคลและทั้งสังคม
ความบกพร่องทางปัญญาสะท้อนให้เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์ต่อไปนี้


ความรู้ถดถอย

จากการ
ประเมินผลการเรียนของนักเรียนชั้นต่างๆ ในหลายปีที่ผ่านมาพบว่า
เด็กไทยมีความรู้ในระดับที่ต่ำมาก เช่น
การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเมื่อ 2549 พบว่านักเรียนชั้น ป.6
ทั่วประเทศ ทำคะแนนทุกวิชาโดยเฉลี่ยได้ไม่ถึงร้อยละ 40
ยกเว้นภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ ทำได้ร้อยละ 43 ส่วนชั้น ม.3
ทำคะแนนทุกวิชาโดยเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 40
ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษาทำได้ร้อยละ 44 และร้อยละ 41 ตามลำดับ

คุณธรรมตกต่ำ

คุณธรรมของ
คนไทยโดยรวมอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ
เห็นได้ชัดจากสถิติการก่ออาชญากรรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ
มีคนถูกฆ่าตายวันละเกือบ 20 คนหรือตายเกือบทุกชั่วโมง
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับคดีอุกฉกรรจ์อื่นๆ เช่น คดีข่มขืน
ปัจจุบันจึงมีผู้หญิงถูกกระทำชำเราไม่ต่ำกว่า 14 คนต่อวัน
ในขณะที่เด็กถูกละเมิดทางเพศทุก 2 ชั่วโมง

ประเทศไทยยังมีชื่อเสียง
ในด้านการลักขโมยและการคดโกงหรือคอร์รัปชั่น
ในการสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษจำนวน 60,000
คนเกี่ยวกับอันตรายในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ปรากฏว่าเมืองไทยติดอันดับหนึ่งในเรื่องการลักขโมย และติดอันดับ 2
ในด้านการชิงทรัพย์โดยใช้ความรุนแรง
นอกจากนั้นผลสำรวจความเห็นของนักธุรกิจต่างชาติ เมื่อเร็วๆ
นี้ยังพบว่าประเทศไทยมีคอร์รัปชั่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย
รองจากฟิลิปปินส์

หมกมุ่นในอบายมุข
และวัตถุนิยม


ปัจจุบันคนไทยกินเหล้าสูงสุดเป็น
อันดับ 1 ในเอเชีย และติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก
และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน 1 ใน 3
ของครัวเรือนทั้งประเทศซื้อหวยทั้งใต้ดินและบนดินถึงเดือนละ 1,850
บาทโดยเฉลี่ย จำเพาะหวยใต้ดินมูลค่าการเล่นทั้งประเทศมีจำนวนสูงถึงปีละ 4
แสนล้านบาท ยังไม่นับการพนันบอล ซึ่งพบว่าร้อยละ 25
ของผู้ที่อยู่ในวงจรการพนันฟุตบอลเป็นเยาวชน

ปรากฏการณ์ดังกล่าว
เกิดขึ้นควบคู่กับความฟุ้งเฟ้อและค่านิยมบริโภค ซึ่งแพร่หลายไปยังทุกระดับ
ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก เมืองหรือชนบท
การเที่ยวห้างและจับจ่ายใช้สอยเป็นพฤติกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง
จนประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่นิยมการช็อปปิ้งมากเป็นอันดับ 2
ของโลกรองจากฮ่องกง ทั้งหมดนี้นำไปสู่ปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว
จนเกิดหนี้สินตามมา (ปัจจุบันสูงถึง 115,355 บาทต่อครอบครัวโดยเฉลี่ย)

ความทุกข์ในจิตใจเพิ่มพูน

ทั้งๆ
ที่มีสิ่งเสพและสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น
แต่คนไทยกลับมีความสุขลดลงและมีความทุกข์มากขึ้น
ดังเห็นได้จากสถิติการการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีถึงวันละ 13 คน หรือ 2 คนทุก 3
ชั่วโมง (มากกว่าอังกฤษถึง 10 เท่า) แม้แต่วัยรุ่นก็มีถึง 1 ใน 4
ที่คิดอยากฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีจำนวนสูง 6
ล้านคนหรือร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ

สังคมไทยจะมี
ปัญหาน้อยลงและผู้คนมีความสุขมากขึ้นหากมีทัศนคติ 4
ประการเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ได้แก่


1. รู้จักคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

การ
คิดถึงแต่ตนเอง ทำให้จิตใจคับแคบ
อัตตาหรือตัวตนใหญ่ขึ้นทำให้ถูกกระทบหรือเป็นทุกข์ได้ง่าย
ขณะเดียวกันก็เป็นคนสุขยากเพราะได้เท่าไรก็ไม่พอใจเสียที
ในทางตรงข้ามการคิดถึงผู้อื่นช่วยให้ตัวตนเล็กลง
เห็นความทุกข์ของตนเองเป็นเรื่องเล็กน้อย ยิ่งช่วยผู้อื่นมากเท่าไร
ก็ยิ่งมีความสุขเพราะได้เห็นผู้อื่นมีความสุขด้วย
กล่าวอีกนัยหนึ่งความสุขของเราย่อมไม่แยกจากความสุขของผู้อื่น

2. ไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุอย่างเดียว

วัตถุ
นั้นให้ความสุขเพียงชั่วคราว แต่ก่อให้เกิดภาระทางจิตใจต่างๆ มากมาย
การยึดติดความสุขทางวัตถุทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์
แท้จริงที่มาแห่งความสุขนั้นมีอยู่มากมาย
และสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้เงิน เช่น ความสุขจากมิตรภาพ
จากความสัมพันธ์ที่ดีงามกับผู้อื่น จากการทำงาน จากการทำความดี
และจากสมาธิภาวนา เป็นต้น
การตระหนักว่าความสุขมีหลายมิติและสามารถเข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุ
จะช่วยให้มีสุขได้ง่ายขึ้นและเป็นสุขที่ยั่งยืน

3. เชื่อมั่นในความเพียรของตน ไม่หวังลาภลอย
คอยโชค และรวยลัด


การหวังลาภลอย คอยโชค
หรือการหวังความสำเร็จโดยไม่ต้องเหนื่อย
เป็นที่มาแห่งความทุกข์ทั้งในระดับบุคคลและสังคม
การหันมาตระหนักว่าความสุขเกิดขึ้นได้จากความเพียรพยายามของตน
ทำให้ความสุขอยู่ในอำนาจของเราเอง และทำให้เราสามารถพึ่งตนเองได้
ไม่หวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โชควาสนา หรือหันเข้าหาวิธีการที่เป็นโทษ
เช่น อบายมุข การพนัน และการฉ้อโกง

4.
รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล


แม้
คนทุกวันนี้จะคิดเก่ง แต่ก็มักเอาอารมณ์เข้ามาเจือปน
ทำให้มองคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และโน้มเอียงไปในทางเข้าข้างตนเอง
การพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงเหตุผลยิ่งกว่าอารมณ์
จะช่วยให้มองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน สามารถแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่าง “ถูก
ใจ”
กับ “ถูกต้อง” ได้
ซึ่งช่วยให้สามารถคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อส่วนรวม
อีกทั้งยังสามารถลดทอนอคติ นำไปสู่การเป็นอยู่ด้วยปัญญา
และสามารถแก้ทุกข์ได้ด้วยตนเอง

ทัศนคติทั้ง 4 ประการ
ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการพร่ำสอนหรือฟังเทศน์เท่านั้น
หากยังต้องมีแบบอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจ
และที่สำคัญคือมีกระบวนการที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และบ่มเพาะทัศนคติ
ดังกล่าว
อาทิ การได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
การร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม และมีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดจากการทำงาน
จนสังเคราะห์เป็นบทเรียนหรือมุมมองในการดำเนินชีวิต






ขอบคุณบท
ความจาก ธรรมจักร






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 12 เมษายน 2553    
Last Update : 12 เมษายน 2553 23:03:57 น.
Counter : 381 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.