ดี ไม่ดี อยู่ที่.....ตัวเรา














































ดี ไม่ดี อยู่ที่.....ตัวเรา

หัวเราะ...เมื่ออยากหัวเราะ

ร้องไห้...เมื่ออยากร้องไห้

และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง!

อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ...

จงทำอะไรที่ใจอยากทำ...!

ตัวหนังสือ...เขียนผิด...ลบได้

การกระทำ...ทำผิด...เอาอะไรลบ

นึกว่าหมากำลังไล่ฟัดซิ...!

...จะได้รีบวิ่งรี่เข้าเส้นชัย...

...ล้มเมื่อไหร่จะได้รีบลุก...

ทุกย่างก้าว ของ ความฝัน คือ ย่างก้าว ของ
ความเหน็ดเหนื่อย


ทุกย่างก้าว ของ ความเหน็ดเหนื่อย คือ ก้าวย่าง ของ ความสำเร็จ

ต่อให้ทุกข์ที่สุด....ก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้

เมื่อเรานั่งมองอดีต เรายังผ่านทุกข์มาได้ตั้งหลายทุกข์

ก็ในเมื่อ..ชีวิต...มันยังมีชีวิต

ขอแค่อย่าทุกข์ก่อนเจอทุกข์

หลังทุกข์ อย่าทุกข์อีก

ให้ทุกข์ แค่ตอนทุกข์

แล้วทุกข์ที่สุด...ก็จะเป็น ทุกข์ แค่นี้เอง!

ให้ทำหน้าที่ทุกหน้าที่ด้วยหัวใจ

ให้หัวใจตระหนักในหน้าที่....

แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าหน้าที่เป็นหน้าที่

แต่เป็นการกระทำที่เกิดจาก...หัวใจเรียกร้อง...ต่างหาก

ดีไม่ดี...อยู่ที่ใจเรา...

ถ้าใจเรา...คิดดี เราก็จะเจอแต่สิ่งดีๆ

ถ้าเรามองในทางที่ดี...ใจเราก็จะรู้สึกดี

ถ้ากำลังใจดี...สิ่งเลวร้าย...ก็จะคลี่คลายเป็น...ดี
















Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 เมษายน 2553    
Last Update : 14 เมษายน 2553 14:56:56 น.
Counter : 257 Pageviews.  

ธรรมบทคำกลอน ภาค 4

























































1.เรื่องอุบาสกผู้ประพฤติ
ธรรม



อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ


กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ


ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนฺทติ


ภิยฺโย นนฺทติ สุคฺคตึ คโตฯ



ผู้ใดมีกุศลกรรมอันทำไว้ จิตผ่องใสภิญโญสโมสร


จากไปแล้วสุขใจไม่อาทร มิเดือดร้อนโลกหน้าบุญพาเพลิน


เขากล่าวคำรำพรรณสรรเสริญว่า บุญนั้นหนาทำไปอย่าได้เขิน


จากไปแล้วสุคติเป็นที่เพลิน จงอย่าเมินบุญนี้สุขขีจริงฯ












2.เรื่องภิกษุสองสหาย



พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน


น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต


โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ


น ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ


อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน


ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี


ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ


สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต


อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา


สภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ



หากชนใดกล่าวอ้างพุทธพจน์
เป็นประโยชน์มากพ้นกุศลใหญ่


แต่ประมาทในพระพุทธพจน์ใด จึงมิได้สบสันต์สามัญผล


ดุจโคบาลถือไม้ไล่โคต้อน สู่โคจรหญ้าดีมีน้ำล้น


นับแต่โคคนอื่นรับจ้างคน รสหวานข้นตนได้ที่ไหนมี


หากผู้รู้พุทธพจน์ประโยชน์น้อย มิท้อถอยประพฤติธรรมก่อกรรมนี้


ละราคะโทสะโมหัคคี จิตเปรมปรีย์รู้ชอบกอรปเหตุผล


ผู้มีจิตหลุดพ้นและล้นแล้ว จิตผ่องแผ้วเกิดดับมิสับสน


มิยึดมั่นใดใดในสกล สามัญผลย่อมได้สมใจจริง

































3.เรื่องนางสามาวดี ตอน
กำเนิดโฆษกเทพบุตร



โย ทณฺเฑณ อทณฺเฑสุ
อปฺปทุสฺเสสุ ทุสฺสติ


ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ


เวทนํ ผรุสํ ชานึ สรีรสฺส ว เภทนํ


ครุกํ วาปี อาพาธํ จิตฺตกฺเขปํ ว ปาปุเณ


ราชโต วา อุปสคฺคํ อพฺภกฺขาตํ ว ทารุเณ


ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ โภคานํ ว ปภงฺคุเณ


อถ วาสฺส อคารานิ อคฺคิ ฑหติ ปาวโก


กายสฺส เภทา ทุปฺปญโญ นิรยํ โส อุปปชฺชติฯ



ชนผู้ใดกล่าวร้ายและหมายฆ่า คนผู้ไร้อาญาอย่าสงสัย


ผู้นั้นต้องถึงเหตุอาเพศภัย มิสดใสสิบอย่างต่างๆกัน


ถึงเวทนาอันกล้าและหนาหนัก ทั้งเสื่อมศักดิ์มีใจไม่เฉิดฉัน


อีกสรีระต้องแตกแหลกจากกัน มิสุขสันต์ไข้หนักไม่ยักดี


อีกจิตมักฟุ้งซ่านรำคาญใหญ่ พระราชัยขัดข้องงานหมองศรี


ถูกกล่าวตู่กล่าวอ้างทางไม่ดี ความเสื่อมมีแตกพรากจากวงศา


ทั้งโภคะย่อยยับและอัปรา ถูกไฟป่าไหม้เรือนมิเชือนแช


ผู้ใดประทุษร้ายหมายดังนี้ ชีวีต้องพายพังอย่ากังขา


ยามเมื่อมรณะมากรายกรา ต้องบ่ายหน้าสู่นรกตกอเวจีฯ












4.เรื่องนางสามาวดี ตอน
กำเนิดโฆษกเศรษฐี



ปุพฺเพ สนฺนิวาเสน
ปจฺจุปฺปนฺน หิเตน วา


เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํ ว ยโถทเกฯ



เพราะเกื้อกูลกันในกาลก่อน


เพราะอาทรห่วงใยในชาตินี้


จึงถูกศรรักปักหัวใจในทันที


ดังวารีเคียงคู่กับอุบลฯ












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

คุณแกะน้อย xchange.teenee.com






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 21:15:34 น.
Counter : 798 Pageviews.  

หลงใหลในความคิดของตัวเอง



















































หลงใหลในความคิดของตัวเอง


คนที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ไม่เข้าใจธรรมะ ไม่เข้าใจตัวเอง


ก็มักจะ หลง หลงในความรู้สึก หลงใหลในความคิดของตัวเอง


มีแต่อารมณ์ยินดี ยินร้าย จิตไม่สงบ


ฟุ้งซ่านไป ทุกข์ไป ปรุงไป อยู่อย่างนั้น เลยเป็นทุกข์มาก


เรียกว่าคนนั้นนั่นแหละจะเป็นคนคิดมาก มีอารมณ์มาก


ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจธรรมะ ความสงบก็ไม่ค่อยมี


เพราะพอเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง มันก็ปรุงไปเรื่อยๆ



ธรรมะ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน


ความคิด ความรู้สึกของตัวเอง ก็ไม่แน่นอน อันนี้เราก็ไม่เห็น


เรามีแต่ถือทิฏฐิมานะ เอาแต่ใจตัวเอง


เราสังเกตดูก็ได้ ความรู้สึกเป็นอย่างไร


ยกตัวอย่างอาหารก็ได้


อาหารที่อร่อย บางทีก็มีโทษ ที่ไม่มีประโยชน์ก็มีมาก


อาหารที่ไม่อร่อย แต่มีประโยชน์มากก็มีอยู่ แต่ถ้าเราติดอาหาร


แล้วก็กินแต่ของอร่อยๆ ติดรสอร่อยก็เกิดโทษมาก


ประเทศที่เจริญบางทีก็มีโรค เจ็บไข้ป่วยมากขึ้น เพราะเลือกแต่


อาหารที่อร่อยๆ แล้วก็กินไปเรื่อยๆ กินไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เกิดโทษ


ทุกวันนี้มนุษย์ก็เห็นอันนี้ ก็พยายามเลือกอาหาร สิ่งที่ไม่อร่อยก็กิน


สิ่งที่อร่อยชอบมาก บางทีก็งดเสีย พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์



































ความรู้สึกนี่ก็เหมือนกัน
ปกติเราก็หลงอยู่อย่างนั้น


หลงคิดว่า สิ่งที่ถูกใจมันดี สิ่งที่ไม่ถูกใจก็ไม่ดี


ถูกใจก็ดี ไม่ถูกใจก็ไม่ดี


นี่ก็เหมือนคนติดในอาหาร หลงอาหาร


ชอบอะไรก็กินไปเรื่อยๆ จนเกิดโทษ สุขภาพไม่ดี



อารมณ์ที่เรารับทางตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ


จะถูกใจ หรือไม่ถูกใจ ก็ต้องตั้งสติ


ถ้าเราปฏิบัติธรรม ก็ต้องใช้ปัญญา


อะไรผิดเราก็สามารถพิจารณาได้.. เหมือนอาหาร


คำพูดต่างๆ สิ่งที่เห็นต่างๆ เรารีบระงับความรู้สึก


ทำใจสงบแล้วจึงคิด ก็จะคิดดีๆ ได้



การฝืนความรู้สึกของตัวเอง
ต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง


นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 21:11:42 น.
Counter : 271 Pageviews.  

คิดผิด คิดถูก



















































คิดผิด คิดถูก



เราต้องพยายามพิจารณาให้รู้
ว่า


คิดอย่างไรเรียกว่า "คิดผิด" คิดอย่างไรเรียกว่า "คิดถูก"



ถ้ามีเรา มีเขา มีสิ่งนี้ สิ่งนั้น เรียกว่าคิดผิด


คิดแล้วจิตไม่สงบก็เรียกว่า คิดผิด


คิดไปตามกิเลสตัณหา เรียกว่า คิดผิด



ปกติจิตก็คิดไปเรื่อยๆ


เมื่อระงับการปรุงแต่งของจิตไม่ได้ ก็ทุกข์


คิดผิด คือ จิตที่คิดมาก มี "เขา" มี "เรา"


เป็นความคิดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ


คิดตามอำเภอใจ ตามกิเลสตัณหา เช่นนี้ เรียกว่า คิดผิด



































ถ้าเรา ตั้งเจตนา
คิดที่จะทวนกระแส


คือ ระงับตัณหา เรียกว่า คิดถูก


แม้จะทุกข์อยู่ก็ตาม ทุกข์มากก็ตาม ก็อย่าสนับสนุน


เพื่อจะระงับทุกข์ ระวังอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น


มีหิริ โอตตัปปะ ละอาย กลัว


ไม่คิดไปตามกิเลสตัณหา ทวนกระแสต่อสู้อยู่อย่างนี้


ระงับตัณหา อุปาทาน ระงับความยินร้าย



อันนี้เราก็หมั่นสังเกต


ให้เราปฏิบัติตรงนี้ ปฏิบัติให้ถูก


จิตก็สงบ ไม่ค่อยคิดอะไร ทำใจสงบอย่างเดียว


เห็นอะไร ได้ยินอะไร ที่ไม่ถูกใจ จิตก็ไม่ปรุง


เราสามารถทำใจสงบได้ เพราะไม่ต้องคิดอะไร


อดทน ขัดเกลาความรู้สึก เรียบง่าย












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 21:10:09 น.
Counter : 357 Pageviews.  

ถ้าต่อสู้กับตัวเองก็..ง่ายนิด เดียว..!



















































ถ้าต่อสู้กับตัวเองก็ง่าย
นิดเดียว



การต่อสู้กับตัวเองนี้สำคัญ
มาก


ต้องพยายามพิจารณาจนถึงใจจริงๆ


จนเกิดศรัทธาที่จะต่อสู้ เพื่อเอาชนะตัวเองให้ได้


สังเกตดูก็ได้ จิตของเราทุกวันนี้ต่อสู้กับอะไร


เราต่อสู้กับคนอื่นทั้งนั้น ต่อสู้กับคนนี้คนนั้น


เราก็แบก คนนี้ไม่ดี คนโน้นไม่ดี คิดไปเรื่อยๆ


ต่อสู้กับคนอื่น.. ต้องคิดนี่ คิดโน่น


หาหลักฐาน หาข้อมูลต่างๆ เขาผิดอย่างไร เขาไม่ดีอย่างไร


รวบรวมบันทึกไว้ เขียนไว้เป็นแถว ทำอยู่อย่างนั้น



ถ้าต่อสู้กับตัวเอง ก็ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องคิดอะไร


พอเกิดความรู้สึกก็นิ่งเฉยเสีย ง่ายๆ


ทำได้แค่นี้เรียกได้ว่า "เอาชนะใจตัวเองได้"



อันนี้เราก็ต้องพยายามพิจารณา จนเข้าใจ จนเกิดศรัทธา


ศรัทธาในปัจจุบันธรรม


ปัจจุบันธรรมเท่านั้นที่จะให้เกิดประโยชน์ได้


ถ้าเรามัวแต่อยู่กับอดีต อนาคต ชีวิตของเราก็เป็นหมัน ไม่เกิดประโยชน์



































ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันได้
ก็หาความสุขได้


ความสุขก็ต้องอาศัยปัจจุบันธรรม



เราปล่อยวางอดีตก่อน แล้วก็ปล่อยวางอนาคต


แล้วในที่สุดก็ปล่อยวางปัจจุบันด้วย


เมื่อนั้นการเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็สมบูรณ์



ถ้าเราคิดไปอดีต หรือคิดไปอนาคต ปัจจุบันก็ไม่ปรากฏ


ปัจจุบันไม่ปรากฏก็ไม่รู้ปัจจุบัน


เพื่อที่จะเห็นปัจจุบัน ก็ต้องปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต


แล้วในที่สุดปัจจุบันก็ต้องปล่อย


ในที่สุดก็ปล่อยวางทั้ง อดีต อนาคต และปัจจุบัน


คือไม่ยึดมั่น ถือมั่นใน กาย เวทนา จิต ธรรม


จิตก็อิสระ สงบ



ฝากไว้พิจารณา โยนิโสมนสิการ


พยายามพิจารณา แล้วก็ปฏิบัติให้มันถูก.................. เอวัง












สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 21:08:30 น.
Counter : 318 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.