ทางดีไม่มีคนเดิน
















































ใครที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านห่างไกลและทุรกันดาร

แม้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็คงเข้าใจได้ว่า
การเดินทางไปไหนมาไหนสะดวกสบายหรือไม่ ยิ่งย้อนรอยไปไกลถึงรุ่นพ่อรุ่นแม่
หรือรุ่นของคุณปู่คุณย่า
อย่าว่าแต่หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลอย่างในเวลานี้เลย
ที่เดินทางเข้า-ออกลำบาก
เอาแค่หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากตัวอำเภอไม่ถึงยี่สิบกิโลเมตร
ถนนหนทาง ย้ำแย่ยิ่งกว่าทางเข้าป่าในเวลานี้เสียอีก
ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงถนนหนทางที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ ไปจนถึงทางเท้า
ที่ชาวบ้านใช้เดินเข้าไปในป่าและเรือกสวนไร่นา หรือว่าทางเกวียน
ที่ชาวบ้านใช้ขนผลิตผลการเกษตรกลับมาเก็บไว้ที่บ้าน
พูดได้ว่ายากกว่าสนามแข่งขันออฟโรดเสียอีก

สภาพของถนนหนทาง ที่เป็นอุปสรรคในการเดินทางเช่นนี้

ชาวบ้าน จึงไม่มีทางเลือกใดดีไปกว่าการเดินเท้า
และไม่มีทางเลือกใด
ที่ดีไปกว่าการใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทางและขนส่งสินค้าต่าง ๆ อีกแล้ว
การเดินทางเช่นนี้ แม้จะมีความล่าช้า
ถ้าเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยรถลาในปัจจุบัน
แต่ก็มีความสนุกสนานปะปนกันไปในระหว่างเดินทาง
ยิ่งเดินเท้ากับคนหมู่มากและคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน
ก็ยิ่งได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่พรั่งพรูออกมาจากคนโน้นทีคนนี้ที
ตลอดเส้นทางที่เดินไปจนกระทั่งถึงที่หมาย

การเดินเท้าไปไหนต่อไหนกับคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านบ่อย ๆ
นี้เอง เป็นที่มาของวลีหนึ่ง


ซึ่งประทับอยู่ในความ
ทรงจำของผู้เขียนมายาวนาน แม้ในขณะนั้น ผู้เฒ่าหลายคนจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ
มากมายหลายอย่างให้ฟัง แต่ก็ไม่ชวนให้สงสัยและจดจำเท่ากับคำพูดที่ว่า
“อีกหน่อย ถ้าทางที่เราเดินนี้ดี ก็จะไม่มีคนเดินอย่างทุกวันนี้อีกแล้ว”
ในขณะนั้น ผู้เขียนไม่ได้ย้อนถามกลับไปว่าเพราะอะไร แต่ก็คิดอยู่ในใจว่า
ทางดีจะไม่มีคนเดินได้อย่างไร
ก็ในเมื่อทางไม่ดีอย่างที่เป็นอยู่นี้ยังมีคนเดินเลย
ต่อเมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่งเติบใหญ่
หวนระลึกถึงคำพูดของพ่อเฒ่าขึ้นมาเมื่อใด ก็รู้สึกว่า
พ่อเฒ่าได้ให้ปริศนาธรรมมาขบคิดและหาคำตอบกันเอาเอง

ทางดีไม่มีคนเดิน” นั้น เข้าใจว่า
คงจะไม่ใช่ถนนหนทางที่ใช้เดินกันเพียงอย่างเดียว


พื้นที่
ทางนามธรรมที่เป็นช่องทาง หรือเป็นโอกาสให้เราได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ก็เป็น “ทาง” ในความหมายหนึ่งอีกเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นการทำความดีหรือความชั่วก็ตาม

“ทาง” ในความหมายแรก อันหมายถึง “ถนนหนทาง” นั้น

ในวันนี้ ก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นจริงแล้ว
เพราะถนนหนทางที่ลาดยางหรือเทคอนกรีตอย่างดี
เชื่อมโยงกันไปทุกที่ทุกแห่งนั้น
เต็มไปด้วยรถลาที่วิ่งกันไปมาจนหาทางเดินเท้าไม่ได้ ส่วน “ทาง” อันหมายถึง “มรรค”
ที่เป็นโอกาสให้เราได้ทำความดี
ที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตตามนัยพระพุทธศาสนานั้น
ยิ่งนับวันก็ยิ่งหาคนเดินน้อยลงทุกที แม้แต่ในหมู่ภิกษุเองก็ตาม
ยังเดินผิดทางกันเป็นจำนวนมาก

โดยนัย
นี้ “ทางดีไม่มีคนเดิน” ที่คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนพูดไว้

จึง
เสมือนหนึ่งคำทำนายที่ไม่ได้ตอบคำถามว่า ทำไมทางดีไม่มีคนเดิน หรือมี
ก็มีน้อยลงทุกที ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทาง”
ที่ส่งเสริมกุศลธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ในประเด็นคำถาม ที่ผู้เฒ่าให้เราค้นหาคำตอบเองนี้

หลายคนก็คงมีเหตุผลต่าง ๆ นานาที่จะยกขึ้นมาตอบ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้แห่งกายและจิตของเราเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้ความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า
ความเห็นที่แตกต่างจะนำมาสู่ความขัดแย้งจนเกิดความแตกแยกเสมอไป
ในทางตรงกันข้าม ความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย กลับทำให้เราเปิดมุมมองใหม่ ๆ
และได้เรียนรู้กว้างขึ้นไปอีกว่า เพราะเหตุใด คน ๆ
หนึ่งจึงตัดสินใจเลือกเดินทางอย่างที่ตนคิดตนเชื่อ

ในพระพุทธศาสนานั้น

ยอมรับและ
เคารพความแตกต่างทางความคิดความเชื่อของผู้คนและสังคมมาทุกยุคสมัย
พระพุทธองค์ไม่ได้บังคับขู่เข็ญใครให้เดินทางอย่างที่พระองค์ทรงดำเนินมา
หรือว่าบังคับขู่เข็ญใคร ให้สึกออกไปจากความเป็นสมณะ พระพุทธองค์ตรัสว่า
พระองค์ทรงทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ชี้ทางให้เราเดินเท่านั้น
ว่าทางที่พระองค์เดินเป็นอย่างไร เดินกันอย่างไร และจุดมุ่งหมายคืออะไร
ส่วนใครจะเดินหรือไม่ ก็ให้เป็นเรื่องของคน ๆ นั้นตัดสินใจเอาเอง

ในหลาย ๆ พระสูตร เราได้เห็นการทำหน้าที่ของพระพุทธองค์

ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ชี้ทางแก่ผู้คนมากมาย
ซึ่งก็ประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง ที่ประสบความสำเร็จ
บางท่านเมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
แต่ไม่สามารถบรรลุมรรคผลตามที่ตนพึงหวังก็ลาสิกขาออกไปก็มี
ส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จ พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ติดใจอะไร
แม้จะเสียเวลาไปกับการตอบคำถามมากมายให้กับคน ๆ นั้นจนหายสงสัย
ต่อเมื่อไม่ต้องการเดินทางที่พระองค์ทรงชี้ให้ ก็ทรงวางอุเบกขาเสีย
ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น หลายต่อหลายครั้ง พระองค์ยังถูกท้าทาย ถูกต่อว่า
และถูกกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา
แต่พระพุทธองค์ก็ทรงมีเมตตาอย่างยิ่งกับบุคคลเหล่านั้น

วิธีการหนึ่งในหลาย ๆ วิธี
ที่พระพุทธองค์ใช้กระตุ้นให้เราพิจารณาด้วยปัญญาของตน


ก่อน
จะเลือกเดินทางใดหรือไม่เดินทางใด หรือก่อนจะใช้จะเสพอะไรนั้น
ก็คือการพิจารณาหาประโยชน์แก่นสารและความจำเป็นสูงสุดของวัตถุสิ่งของหรือ
ความคิดความเชื่อนั้น ๆ ด้วยการแยกแยะหาแก่นและกระพี้
ต่อเมื่อเห็นตลอดสายว่า แก่นและกระพี้ของสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างไร
เราจะเลือกเดินทางใดก็ไม่มีใครบังคับ
ดังตัวอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏในโสณทัณฑสูตร

โสณทัณฑะ เป็นชื่อพราหมณ์ท่านหนึ่ง

ซึ่ง
เย่อหยิ่งทะนงตนในความเป็นพราหมณ์
อีกทั้งยังครองตนอยู่ในลาภยศสรรเสริญที่ได้จากพระราชาและชาวบ้าน
ต่อเมื่อพระพุทธองค์กระตุ้นให้พิจารณาด้วยตนเองว่า
คุณสมบัติที่แท้ของความเป็นพราหมณ์คืออะไร โดยไล่เรียงไปตามลำดับ
แล้วตัดออกไปทีละข้อ ๆ จากชาติกำเนิด การศึกษา รูปงาม
จนเหลือแต่ศีลและปัญญา ซึ่งไม่อาจจะตัดข้อหนึ่งข้อใดออกไปได้
เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ต้องอาศัยกันและกันฯ

ต่อเมื่อโสณทัณฑะเห็นชัดว่า อะไรคือแก่นสาร อะไรคือกระพี้

พระพุทธองค์ก็ชี้ให้เห็นต่อไปอีกว่า
ทางที่พระองค์เดินเป็นอย่างไรและนำไปสู่ตรงไหน แต่โสณทัณฑพราหมณ์
แม้จะเห็นดีเห็นงามไปกับพระพุทธองค์ทุกประการ จนไม่มีคำถามและข้อโต้แย้งใด ๆ
แต่ก็ไม่ประสงค์เดินทางที่พระองค์ทรงชี้ให้
เนื่องจากเห็นว่าลาภยศสรรเสริญสำคัญกว่าสิ่งใด จึงขอเดินตามทางของตนต่อไป
มิหนำซ้ำยังกราบทูลให้พระพุทธองค์ทราบอีกว่า
ตนจะขอทำความเคารพพระพุทธองค์ในท่ามกลางคนหมู่มากด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่
การกราบไหว้ เนื่องจากจะทำให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธาตนอีกด้วย

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง

ซึ่ง
สะท้อนให้เห็นตัวตนของคนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน
ทั้งที่เดินทางและกำลังเดินทางอย่างโสณทัณฑพราหมณ์
โดยเห็นลาภยศสรรเสริญเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิต
จนลืมคิดไปว่ายังมีความสุขอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส
หรืออาศัยอามิสแต่น้อยในการหยั่งชีพแห่งตน

บุคคลที่เลือกเดินทางเช่นนี้

ขณะ
ที่มีชีวิตอยู่ก็จะตะเกียดตะกายหาเงินหาทองให้ได้มาก ๆ
โดยคิดว่าปั้นปลายชีวิตจะได้สุขสบาย แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึง ส่วนคนที่ไปถึง
ก็รู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่าไร้จุดหมาย
จนต้องใช้เงินซื้อหาความสุขทางใจในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต
ซึ่งก็เดินทางผิดอีกเช่นกัน

ด้วยเหตุ
ดังนั้น


ถ้าเราไม่ต้องการเดินทางตามโสณทัณฑพราหมณ์
หรือเดินตามโสณทัณฑพราหมณ์ แต่กอปรไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมะ” อยู่เต็มหัวใจ
คล้ายกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ก็ควรใช้วิถีแห่งปัญญาในการพิจารณาแยกแยะให้ตลอดสาย มีกัลยาณมิตร
และมีศรัทธาอย่างยิ่งยวดที่จะค้นหาแก่นและกระพี้
ก็เชื่อแน่นว่าเราจะไม่เดินหลงทางอีกต่อไป ทางดีที่ไม่มีคนเดิน
หรือมีคนเดินกันน้อย ก็จะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อย ๆ































ขอบ
คุณที่มา

ทีมงานพุทธิกา






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 17 เมษายน 2553    
Last Update : 17 เมษายน 2553 17:22:53 น.
Counter : 263 Pageviews.  

"กลอนธรรมะสอนใจคลายยึดตน"


















































ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด
ว่าการเกิดนี้ลำบากยาก
นักหนา
ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา
ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย
(หลวง
วิจิตรวาทการ)

ต้อง
เวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
ไม่ต้อง
เกิดไม่ต้องตายสบายครัน
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย
(ท่านพุทธทาส
ภิกขุ)


กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้
ครั้นดับไป
สมมติว่าเป็นผี
เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี
เหมือนกันทั้งผู้ดีและ
เข็ญใจ
(เจ้าพระยาคลัง หน)

อันรูป
รสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก
ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง
อย่าลืมนะร่าง
กายไม่เที่ยงตรง
ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย
(จากหนังสือเก่าโบราณ)

กลาง
ทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง
สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้
จากดินน้ำลมและ
ไฟ
ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา

เมื่อ
ถึงคราวแตกดับ
สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา
ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา
เวียน
กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
(สมภาร พรหมทา)



































ขอบคุณที่มา

เว๊ปไซต์ธรรมะไทย








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 17 เมษายน 2553    
Last Update : 17 เมษายน 2553 17:21:05 น.
Counter : 594 Pageviews.  

เลือกของใส่บาตรตามวันเกิด













































เลือกของใส่บาตรตามวันเกิด

วันอาทิตย์

อาหารคาว    
 :
ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
อาหาร
หวาน   :
ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ
น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
ของถวายพระ :
หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
ไหว้
พระ        :
ปางถวายเนตร (พระประจำวันเกิด) กำลังวันเท่ากับ 6 (
สวดแบบย่อ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ)
ทำทาน        :
เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด
โรงพยาบาลโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม      :
ออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง อย่าใจร้อน
เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

วัน
จันทร์


อาหารคาว    :
ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่
ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้ แกงเผ็ดเป็ดย่าง
ปลาสลิดทอด
อาหารหวาน   : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง
น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง เผือก มัน ลางสาด ขนมเปี๊ยะ
ของถวาย
พระ :
แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
ไหว้พระ        :
ปางห้ามญาติ (พระประจำวันเกิด) กำลังวัน เท่ากับ 15 (สวดแบบย่อ อิ ระ ชา
คะ ตะ ระ สา)
ทำทาน        : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
พฤติกรรม      :
ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ
ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุกให้สตรีนั่งบนรถเมล์บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้
แข็งแรง

วันอังคาร

อาหาร
คาว     :
อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่
ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว
ปลาช่อนตากแห้งทอด
อาหารหวาน   :
ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกำ ขนุน น้ำสไปร์ท น้ำอัดลม
ของ
ถวายพระ :
เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
พัดลม กรรไกรตัดเล็บ
ไหว้พระ      : ปางไสยาสน์
(พระนอน) มีกำลังเท่ากับ 8 (สวดแบบย่อ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง)
ทำ
ทาน      :
คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก
พฤติกรรม   
:
ทำตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น ลดอารมณ์ร้อน
การชิงดีชิงเด่น

วันพุธ (กลางวัน)

อาหาร
คาว   :
เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด
ผัดพริกหมู คะน้าน้ำมันหอย
อาหารหวาน :
ขนมเปียกปูนเขียว น้ำฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว มะม่วงเขียวเสวยฝรั่ง
ชามะนาว
ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ
อุปกรณ์การเรียนการศึกษา
ไหว้พระ      : ปางอุ้มบาตร (
พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 17 ( สวดแบบย่อ ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท )
ทำ
ทาน      :
คนพิการทางหู โรงพยาบาลโรคสมอง โรงเรียนสอนคนหูหนวก
พฤติกรรม   
:
อ่านหนังสือธรรมะ ร้องเพลง ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง

วันพุธ (กลางคืน)

อาหาร
คาว   :
ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกงใบยอ หมูยอ
แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก
อาหารหวาน : ข้าวหมาก
ขนมเปียกปูนดำ เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดำ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ
ทุเรียน
ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม
ไหว้
พระ      :
ปางป่าเลไลย์ ( พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 12 (
สวดแบบย่อ คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ )
ทำทาน      :
มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด
พฤติกรรม    :
เลิก บุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เลิกการพนัน
เลิกทำตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกยาเสพติดทุกชนิด

วันพฤหัสบดี

อาหาร
คาว   :
ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหาร
หวาน  :
แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม
น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ
ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ไหว้พระ       : ปางสมาธิ (
พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 19 (สวดแบบย่อ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ)
ทำ
ทาน      :
โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม   
:
นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล 5 อย่าซื่อจนเกินไป

วันศุกร์

อาหาร
คาว    :
ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม
ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน  :  ขนมหวาน
หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของ
ถวายพระ :
นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้
พระ        :
ปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21
(สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน        :
เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม   
  :
ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด
จัด
สิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย

วันเสาร์

อาหาร
คาว    :
ประเภทของขม ของดำมะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน
น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน  : ลูกตาลเชื่อม
กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ : ร่มสีดำ
กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ไหว้พระ       
:
ปางนาคปรก (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 10 (สวดแบบย่อ โส
มา ณะ กะ ระ ถา โธ)
ทำทาน        : โรงพยาบาลโรคจิต
โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม      : กวาดลานวัด
ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม


















Free TextEditor







































































































 

Create Date : 17 เมษายน 2553    
Last Update : 17 เมษายน 2553 17:14:50 น.
Counter : 245 Pageviews.  

คุณธรรมใดที่เป็นคุณธรรมของผู้เป็น ใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า














































วัตตบท
 คือ
คุณธรรมของพระอินทร์ คือผู้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าเทวดาชั้นดาวดึงส์
เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้บำเพ็ญคุณธรรมนี้สามารถนำมาปรับใช้กับผู้ที่
เป็นผู้ใหญ่หรือหัวหน้า มี ๗ ประการ ได้แก่

 ๑) เลี้ยงดูมารดาบิดา
๒)
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
๓) พูดจาอ่อนหวาน ผูกน้ำใจ
๔)
ไม่พูดยุยงให้แตกร้าว
๕) ลดความตระหนี่
๖) มีสัจจะ
๗)
ระงับความโกรธเสียได้

 ผู้เป็นนาย
ควรปฏิบัติต่อบ่าวไพร่ คนรับใช้ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกจ้าง ๕ ข้อ ได้แก่

 มอบ
งานให้เหมาะสมกับความสามารถ ๑
ให้ค่าจ้างตามเหมาะสมควร ๑
ให้
สวัสดิการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ดี ๑
ให้ของกินแปลกๆ พิเศษ ๑
มีวัน
หยุดพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร ๑ (

ความ
อ่อนน้อม

 เป็นคุณธรรมสูง เป็นสมบัติของผู้ดี
เป็นมงคลอันสูงสุดประการ ๑ ในมงคล ๓๘ ประการ ทำให้มีมารยาทงาม
เป็นที่รักใคร่ทั้งผู้เป็นหัวหน้าและลูกน้อง
ผู้ไม่อ่อนน้อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในตระกูลต่ำ 























Free TextEditor






































































































 

Create Date : 17 เมษายน 2553    
Last Update : 17 เมษายน 2553 16:59:31 น.
Counter : 347 Pageviews.  

แรงไฟมิอาจต้าน-แรงกตัญญู...




















































เด็ก
หญิงผู้หนึ่งอายุ 13 ปี อาศัยอยู่กับมารดาที่มีนัยน์ตาบอดสนิททั้งสองข้าง

รักษา
มานานก็ไม่หาย
อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนบ้านข้างๆได้กระทำพิธีอัญเชิญเจ้าเข้าประทับทรง
เธอก็เอาดอกไม้ธูปเทียนไปร่วมพิธีกับเขาด้วยแล้วได้อ้อนวอนขอห้เจ้าช่วย
รักษาดวงตาของผู้เป็นแม่ของเธอให้หายด้วยผู้ประทับทรงจึงได้เขียนอักษรสงใน
กระบะทรายมีข้อความว่า 

ให้เอาเถ้า
ถ่านจากนิ้วมือของเธอไปละลายน้ำแล้วให้แม่กิน


ดวง
ตาก็จะมองเห็นเป็นปรกติ 
เมื่อเธอกลับไปถึงบ้านจึงรีบจุดตะเกียงแล้วเผานิ้วของตัวเองทันทีความร้อนทำ
ให้เธอเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสเหลือที่จะทนได้จึงได้ดึงนิ้วออกจากเปลวไฟ
แต่แล้วก็ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ถ้าไม่อดทนดวงตาของแม่คงจะไม่หายอย่างแน่นอน
คิดได้ดังนั้นจึงยื่นนิ้วไปเผาไฟทันที
ความร้อนได้เผานิ้วของเธอสร้างความเจ็บปวดอย่างมากน้ำตาไหลจนเต็มใบหน้า
แต่เธอก็ไม่ยอมละความพยายาม

ฝ่ายผู้
เป็นแม่เมื่อได้ยินเสียงลูกร้องก็วิ่งถลามาหาลูกด้วยความตกใจ

นาง
ทุ่มเทกำลังทั้งหมดเบิกดวงตาของตนเพื่อจะได้ดูลูกว่าเกิดอะไรขึ้นด้วยความ
รักและห่วงใยลูกจึงได้มองเห็นว่าลูกของตนกำลังเผานิ้วของเธออยู่จึงรีบดึง
มือออกอย่างเร็วมารู้อีกทีว่าดวงตาของเธอนี้นได้มองเห็นเป็นปรกติแล้วต่างโผ
กอดกันด้วยความดีใจ
แล้วเธอก็เล่าสาเหตุที่ต้องเผานิ้วตัวเองให้แม่ของเธอฟังทั้งหมด
แล้วสองแม่ลูกก็ได้นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบขอบพระคุณเจ้าองค์นั้นและอยู่กัน
อย่างมีความสุขตลอดมา.....












ขอ
ขอบคุณ

ที่มา : หนังสือหัวนอน








Free TextEditor




 

Create Date : 17 เมษายน 2553    
Last Update : 17 เมษายน 2553 6:06:38 น.
Counter : 352 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.