Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
สปอร์ต แมเนจเม้นท์เปลี่ยนจาก เล่นเป็นธุรกิจ


สปอร์ต แมเนจเม้นท์เปลี่ยนจาก เล่นเป็นธุรกิจ



((( เดี๋ยวนี้กีฬากลายเป็นธุรกิจไปแล้ว .... ถึงขนาดมีการเปิดเรียนการบริหารการกีฬาอย่างเป็นล่ำเป็นสัน)))


สร้างนักกีฬาก็เหมือนสร้างดารา องค์ประกอบไม่แตกต่างกัน ต้องฝึกฝนร่างกาย การพูดจา การแต่งตัว ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ต้องมีการวางแผนกีฬา เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายหรืองานอดิเรกของคนรักสุขภาพ แต่สำหรับนักกีฬาอาชีพการจะประสบความสำเร็จนอกจากมีดีจากพรสวรรค์ ยังต้องพึ่งพรแสวงด้านการบริหารจัดการ และการตลาดเข้าช่วย หากต้องการเป็นเลิศบนเส้นทางสายนี้

ประเทศบราซิล ส่งออกนักกีฬา คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3% ของจีดีพีประเทศ

กีฬาสร้างรายได้เป็นอันดับที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา

ฟอร์มูล่า วัน สนามแข่งรถที่จ่ายเงินค่าเข้าชม แพงที่สุด คือประมาณ 1 แสนบาทต่อครั้ง

ยังไม่นับรวม ฟุตบอล เทนนิสและกอล์ฟ กีฬาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก

นี่คือตัวอย่างคร่าวๆ ของการพัฒนากีฬา ให้กลายเป็นธุรกิจทำเงินเข้าประเทศ และสร้างนักกีฬาอาชีพประดับวงการ

สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมานักกีฬายังต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก แต่การจะพัฒนากีฬาให้เป็นอาชีพได้นั้น จำเป็นต้องมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก ซึ่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการธุรกิจกีฬาในประเทศนั้นยังมีน้อย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงได้พัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิงขึ้น ในระดับปริญญาโทและเอก เรียกว่าเป็นสาขาแรกที่สอนเรื่องการจัดการธุรกิจกีฬาโดยเฉพาะ

ดร.ปรางทิพย์ ยุวานนท์ ผู้อำนวยการ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง บอกว่า หลักสูตรดังกล่าวเป็นการบูรณาการ 3 ศาสตร์ความรู้เข้าไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย ศาสตร์การบริหารธุรกิจ ศาสตร์ของการกีฬาและศาสตร์ของการบันเทิงหรือนิเทศศาสตร์ เพื่อต้องการบริหารจัดการการกีฬาให้เป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินและสร้างนักกีฬาอาชีพ

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้ความสำคัญ หรือสนับสนุนนักกีฬาอาชีพ เพราะสร้างชื่อเสียงและกลายเป็นธุรกิจสร้างรายได้เข้าประเทศ เป็นธุรกิจที่ลงทุนกับคน แทนการลงทุนกับเครื่องจักรหรือสิ่งของ

"ที่ผ่านมาเราพัฒนานักกีฬา เพื่อเป้าหมายการคว้าเหรียญทอง แต่ไม่ได้กลับไปดูเลยว่า คนดูกีฬาอยากดูอะไร ชอบอะไร ทั้งไม่ได้มีการสำรวจด้วยว่าการแข่งขันมีคนดูหรือเปล่า รายการถ่ายทอดกีฬาเรทติ้งเป็นอย่างไร ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนนี้จะเน้นเรื่องคนดูหรือกลุ่มทาร์เก็ตเป็นหลัก ในส่วนของสร้างอารมณ์ร่วม และความประทับใจ"

หลักสูตรการเรียนการสอนที่เปิดตัวใหม่นี้ ดร.ปรางทิพย์ บอกว่า เน้นเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์ กระบวนการสร้างแบรนด์ การตลาดกีฬาและการบันเทิง ธุรกิจเอเยนซี การคัดเลือกดารา การสร้างฮีโร่ เชียร์รีดเดอร์ การจัดกิจกรรมผสมผสานระหว่างธุรกิจกีฬาและบันเทิงให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาให้ประสบความสำเร็จ การประสานงานเครือข่ายในระดับประเทศและระดับโลก การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การสื่อสารมวลชนทางการกีฬาและการบันเทิง เทคนิคการถ่ายทอดสด เป็นต้น

โดยอาจารย์เน้นผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการ และพันธมิตรในแวดวงกีฬาและบันเทิงที่จะเข้าสอนและถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท สิทธิณี ครีเอชั่น จำกัด บจม.ธนาคารกรุงไทย สมาคมแข่งรถจักรยานแห่งประเทศไทย และ Acorn Thailand

นอกจากนั้นแล้วในปลายเดือนพฤษภาคม 2552 ทางผู้บริหารหลักสูตรยังได้เตรียมแผนเซ็นความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยเซาท์ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาระหว่างสองสถาบัน

"หลักสูตรให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ให้นักกีฬา เพราะที่ผ่านมานักกีฬาในบ้านเราไปแข่งขันแล้วชนะได้เหรียญกลับมา ก็กลายเป็นฮีโร่ชั่วขณะ แต่สักพักพอสังขารไม่ไหวเล่นกีฬาไม่ได้ ฮีโร่เหล่านั้นก็ออกมาเป็นนักร้องบ้าง นักแสดงตลกบ้าง ตัวประกอบบ้าง เพราะไม่สามารถรักษาภาพลักษณ์ฮีโร่เหล่านั้นเอาไว้ได้ ทั้งๆ ที่ศักยภาพของตนเองมีมากกว่านั้น"

ดร.ปรางทิพย์ บอกต่อว่า การสร้างนักกีฬาก็เหมือนสร้างดารา องค์ประกอบเหมือนๆ กัน ต้องเทรนด์ร่างกาย การพูดการจา การแสดงออก การแต่งตัว มีสเต็ปเหมือนกัน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ต้องมีการวางแผน

จึงคาดว่าหลักสูตรดังกล่าว จะได้รับความสนใจจากกลุ่มนักกีฬา กรรมการผู้ตัดสินกีฬา บุคคลในแวดวงธุรกิจกีฬา พิธีกรหรือผู้ประกาศข่าวกีฬา รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจการกีฬาหรือลงทุนทางด้านนี้

"ทุกวันนี้คนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจกีฬา ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่จบพละ วิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นนักกีฬาเก่า อาศัยครูพักลักจำ หรืออาศัยประสบการณ์ เพราะยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยตรง ซึ่งหลักสูตรนี้จะเข้าไปเติมเต็มให้คนกลุ่มนี้ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจ"

ดร.ปรางทิพย์ บอกว่า จากแนวโน้มปัจจุบันที่ผู้เรียนหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาในหลักสูตรเอ็มบีเอเฉพาะทางมากขึ้น เนื่องจากต้องการจบออกไปแล้ว มีงานทำทันที หรือช่วยพัฒนาอาชีพของตนให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งผู้ที่จบหลักสูตรดังกล่าวจะได้ใบรับรองประกอบธุรกิจกีฬา เพื่อไปประกอบอาชีพ

พื้นฐานชีวิตของคน ประกอบด้วย หนังสือ ดนตรีและกีฬา ซึ่งผู้ปกครองในปัจจุบันก็ใส่ใจให้บุตรหลานของตน เก่งทั้งตำรา และกิจกรรม ส่งเสริมให้เชี่ยวชาญทั้งดนตรี เพื่อผ่อนคลายความเครียด จรรโลงจิตใจ และเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง

และหากพัฒนากีฬาให้กลายเป็น "อาชีพ" เลี้ยงตนเอง สร้างชื่อเสียงและรายได้เข้าประเทศได้ด้วย เรียกว่าทำกำไรสองต่อ


ที่มา: //www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/mba/20090510/40316/สปอร์ต-แมเนจเม้นท์เปลี่ยนจาก-เล่นเป็นธุรกิจ.html


Create Date : 23 พฤษภาคม 2552
Last Update : 23 พฤษภาคม 2552 23:34:35 น. 2 comments
Counter : 686 Pageviews.

 
สร้างอาชีพ เสริมสร้างรายได้ ก่อเกิดความสุข ด้วยธุรกิจการกีฬาและการบันเทิงกับ M.B.A (sport and entertainment business)

//graduate.spu.ac.th/mseb/content/589/8334.php


โดย: nei IP: 202.44.70.54 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:25:50 น.  

 
เรียน MBA ที่ศรีปทุม
ดีจริงๆครับ มีทั้งส่วนลด
และการดูแลอย่างดีเยี่ยม
จากคณาจาย์ผู้สอน


โดย: นัทคับ IP: 61.90.165.204 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:49:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.