จักรยานปฏิวัติเมือง รวมเรื่องของทางจักรยานและการออกแบบเมือง

บันทึกไว้เป็นหลักฐาน

วันนี้ได้ข่าวดี(หรือไม่ดีหว่า)ว่ามีสิทธิ์ที่ได้เป็นนักเรียนปริญญาเอกของไต้หวัน ทำให้ต้องเตรียมตัวเดินทางไปประมาณเดือนกันยายนนี้ เฮ้อใจหายเหมือนกันนะเนี่ยที่ต้องจากแผ่นดินไทยไป แต่อย่างไรก็ดีเพื่ออนาคตก็ต้องจำสะกดใจเอาไว้

อยากรู้ว่าที่โน่นเค้าอยู่กันอย่างไร เค้าเรียนกันอย่างไร แตกต่างจากเราแค่ไหน ทางเท้าทางจักรยานเค้าเป็นอย่างไรกันมั่ง ได้ไปรู้ได้ไปเห็นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อบ้านเมืองมากขึ้นนะ




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2550   
Last Update : 1 มิถุนายน 2550 1:25:17 น.   
Counter : 985 Pageviews.  

ทำไมต้องทำอะไรให้คนพิการ

มีประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงในที่ประชุมของเมืองแห่งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องทางเท้า ผมเคยเสนอว่าทางเท้าในเมืองทั้งหมดนั้นควรที่จะทำเป้นทางลาดในบริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย สะดวกขึ้น รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการอีกด้วย ซึ่งมันก็คือสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเมืองนั้นๆมีความเอื้ออาทรกับกลุ่มคนที่ด้อยสมรรถภาพทางกายมากกว่าคนปกติหรือไม่ ข้อโต้แย้งที่ท่านผู้ทรงเกียรติของพี่น้องทั้งหลายที่เลือกเขาเข้ามาทำงานก็คือว่า ในเมืองเรานั้นจะมีคนพิการสักกี่คนกันมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปลงทุนทำอย่างนั้นให้เปลืองงปม. นี่คือวิสัยทัศน์แบบไร้สติครับ เพราะอะไรหรือ ผมจะอธิบายให้ฟัง(คือตอนประชุมกันท่านอธิบายไม่ได้ครับท่านคิดว่าท่านรู้แล้ว และเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับเมือง ก็เลยต้องเอามาอธิบายให้คนอื่นๆที่เข้ามาอ่านในบล็อคเผื่อจะมีผู้บริหารเมืองอื่นที่มีวิสัยทัศน์มาเอาไปใช้)
ทางลาดขอบทางเท้าที่เราๆท่านๆเห็นอยู่ในท้องถิ่นรวมทั้งกทม.นั้นส่วนใหญ่จะทำผิดมาตรฐานทั้งสิ้นเพราะมีความลาดเอียงที่ไม่เหมาะสม คือมีความชันมากเกินไปทำให้เมื่อเวลาใช้งานนั้นคนพิการหรือคนที่ด้อยสมรรถภาพทางกาย(ผู้สูงอายุ เด็กๆ)อาจจะเกิดอันตรายจากการลื่นล้มได้ ความลาดชันที่เหมาะสมนั้นจะอยู่ที่ 1ต่อ 12 ครับ ก็คือหากทางเท้านั้นมีความสูงจากพื้นถนน 10 ซม. ต้องทำทางลาดความยาวอย่างน้อย 1.20 เมตรขึ้นไป หรือถ้าทำได้ยาวกว่านี้ก็ยิ่งดีใหญ่(ดีที่สุดคือให้ได้ 1 ต่อ 20) ทีนี้ทางเท้าในบ้านเราส่วนใหญ่แล้วมักจะสูงกว่าถนนและสูงมากกว่า 10 ซม.ถ้าจะทำทางลาดก็จะทำได้แต่แบบชันๆ(เพราะไม่มีพื้นที่พอ)เลยกลายเป็นไม่ทำดีกว่า ทางเท้าบ้านเราจึงยังด้อยพัฒนาอยู่เช่นนี้ แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรดีครับ วิธีแก้ก็คือหากต้องปรับระดับทางเท้าให้เท่ากับระดับถนน (จะมีท่านผู้บริหารบางคนบอกว่าแล้วฝาบ่อพักที่มันสูงระดับเดียวกับทางเท้าเดิมมันจะไม่โผล่หรือ? อ้าวถ้ามันโผล่ก็สกัดผิวที่โผล่ออกแล้วทำขอบวางฝาใหม่ให้เสมอไม่ได้หรือไง? เรื่องแค่นี้ทำเป็นโ......ง่)จากนั้นก็ทำขอบกั้นเพื่อกันรถยนต์ถือโอกาสใช้ทางเท้าเป็นที่จอดรถ



นี่คือตัวอย่างการนำแนวคิดการสร้างทางเท้าที่มีระดับเดียวกับถนนมาใช้ ซึ่งดูแล้วก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะทำกันแต่สำคัญว่าเรามองเห็นความจำเป็นที่จะทำหรือไม่


เมื่อสามารถสร้างทางเท้าแบบนี้ได้ เมืองทั้งเมืองทางเท้าก็จะเชื่อมต่อกันได้โดยไม่มีการเปลื่ยนระดับ เว้นแต่ตรงไหนเป็นตรอกเป็นซอยก็ทำเป็นโค้งอย่างรูปข้างบน ไม่ใช่แต่คนพิการเท่านั้น ผู้สูงอายุ(ที่นับวันบ้านเราจะมีจำนวนมากยิ่งขึ้น)ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้น เราๆท่านๆเมื่ออายุมากก็ยังสามารถออกมาเดินนอกบ้านได้บ้าง(ที่กระตือรือล้นอยากให้ทำก็เพราะผมกลัวว่าเมื่อผมอายุมากแล้วจะไม่มีทางเท้าดีๆให้เดิน) นี่คือการแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองว่าคำนึงถึงประโยชน์ของคนทุกหมู่เหล่า แสดงถึงความเป็นเมืองน่าอยู่
คราวนี้เรามาดูว่าที่เป็นอยู่ในบ้านเมืองเราเป็นอย่างไร วันหนึ่งท่านผู้บริหารเดินทางไปดูงานเมืองนอกแล้วพบว่าทางเท้าของมหานครนั้นเค้ามีปุ่มสัมผัสคนพิการ ท่านก็เลยปิ้งงงงงงไอเดียนำกลับมาให้เราชาวเมืองตาดำๆได้ใช้งานบ้าง โดยที่ท่านยังไม่ดูเลยว่าเมืองของท่านนั้นทางเท้าต่อเนื่องกันดีหรือยัง มีการจัดการทางเท้าให้ปลอดจากการถูกรุกล้ำหรือไม่ เพียงแต่ท่านกระสันต์อยากจะได้มามันก็เลยปรากฎดังภาพด้านล่างนี้




เส้นสีเหลืองที่เห็นในภาพคือปุ่มสัมผัสของผู้พิการทางสายตาเป็นเหมือนภาษาที่จะบอกเค้าว่าหากเดินไปตามทางนี้แล้วจะปลอดภัยโดยปุ่มสัมผัสจะมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเมื่อที่ใดมีอุปสรรคมีการเปลี่ยนระดับเปลี่ยนทิศทางเพื่อสื่อให้ผู้พิการเข้าใจและเลือกเปลี่ยนทิศทางในการเดิน การมีปุ่มสัมผัสคนพิการที่ได้มาตรฐานบนทางเท้าจะทำให้ผู้พิการมีความมั่นใจในการเดินทางสามารถเดินทางได้ด้วยตนเองโดยไม่เป็นภาระกับคนอื่น(ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผู้พิการอยากได้ที่สุดคือการไม่เป็นภาระให้กับใคร) เวลานำมาวางบนทางเท้าจึงต้องมีการเว้นระยะไม่ให้มีอะไรมากีดขวางให้เกิดอุบัติเหตุกับเค้าได้ แต่ดูเถิดพ่อแม่พี่น้อง ดูที่เราเอามาใช้กันซิว่ามันน่าเสียดายงบประมาณสักแค่ไหน?
ถ้าหากว่าวันหนึ่งมีคนตาบอดจากเมืองที่มีทางเท้ามีปุ่มสัมผัสคนพิการที่ได้มาตรฐานแล้วเค้ามาเจอที่เมืองไทยเลยพาลเข้าใจว่าคงมีมาตรฐานเหมือนกับบ้านเค้า อะไรจะเกิดขึ้น ท่านผู้บริหารเมืองคงได้ทำบาปกรรมมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะคนตาบอดโชคร้ายคนนั้นคงจะได้ความพิการอะไรสักอย่างเพิ่มมาอีกแน่ๆ
เมื่อไรเราจะหลุดพ้นจากการครอบงำของวิสัยทัศน์ทาสรถยนต์สักทีนะ รถจะติดก็ให้มันติดไปซีถ้าเรามีทางเท้าที่เดินสะดวก ขี่จักรยานได้ คนก็จะได้หันมาเดิน มาขี่จักรยาน (ประชากรเมืองก็จะเป็นไขมันในเลือดสูงลดลง) ถ้าจะเอาแต่ความสะดวกของรถยนต์ เมืองๆนั้นก็จะค่อยๆกลายเป็นเมืองที่ไร้ชีวิตไปเรื่อยๆเพราะทางเท้าจะถูกรื้อออกไปจนกลายเป็นแต่ถนนทั้งเมือง เอาไว้วันหน้าจะเอามาให้ดูว่าบ้านเรากำลังจะมีเมืองแบบนี้(ผมถึงได้มานั่งบ่นบ้าอยู่นี่ไง)




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2549   
Last Update : 21 ตุลาคม 2549 23:13:57 น.   
Counter : 2234 Pageviews.  

โดนอีกแล้ว



วันนี้ก็โดนอีกแล้วเรา ก็เรื่องเก่าๆเดิมๆ งานนี้นำเสนอไอเดียการปรับปรุงทางเท้าให้ใช้ขี่จักรยานได้ด้วย โดยการปรับผิวทางเท้าเดิมให้เสมอกับพื้นผิวถนนเพื่อที่จะทำให้ทางเท้าเรียบเสมอกันตลอดแนวจะได้ไม่ต้องมีขอบกันให้เกิดการสะดุดหรือเปลี่ยนระดับ เพื่อที่เมืองเราจะได้มีทางเท้าสวยๆไว้อวดแขกบ้านแขกเมืองบ้าง ท่านผู้บริหารที่ทรงเกียรติท่านบอกว่าทำอะไรต้องคำนึงถึงคะแนนเสียงของท่านด้วยเดี๋ยวสมัยหน้าท่านจะไม่ได้มานั่งฟังข้าพเจ้าพร่ำเพ้อรำพันอีก เฮ้อ..แล้วชาติไหนเราจะมีทางเท้าดีๆอย่างญี่ปุ่นเค้ามั่งน้าถ้าผู้บริหารเมืองยังคิดถึงแต่เรื่องการเมืองอยู่อย่างนี้ ทำไมนะคนทั้งเมืองมีรถยนต์ใช้ก็คงสักยี่สิบเปอร์เซ็นต์ แล้วไอ้พวกที่ต้องใช้รถเมล์ ต้องเดินเท้ามีตั้งแปดสิบเปอร์เซ็นต์ ทำไมท่านนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ถึงไม่นึกถึงคนส่วนใหญ่บ้างงงง แต่เวลาเลือกตั้งทีก็ทำท่าอ่อนน้อมกันเหลือเกิน ไหว้แมร่งไปทุกหย่อมหญ้า แต่พอได้ชูคอเสียหน่อย มีอำนาจสักนิดทำไมไม่คิดทำอะไรที่มันเป็นต้นแบบดีๆให้เมืองอื่นเค้าดูบ้าง หรือว่าเราเองที่คาดหวังอะไรสมบูรณ์เกินไป ก็มันเคยเห็นบ้านเมืองอื่นเค้าทำกันได้ทำมั๊ย ทำมัยบ้านเรามันจะทำไม่ได้วะกะอีแค่ทางเท้าสวยๆนี่ อุตส่าห์ไปร่ำไปเรียนมาด้านการออกแบบเมือง กว่าจะจบก็แทบเลือดตากระเด็น ไปดูงานเมืองนอกเมืองนา กลับมาไฟแรงอยากทำให้ลูกหลานมันได้ใช้ของดีๆมั่งก็เจอแต่พวกสาวกรถยนต์ทั้งหลายที่ทำอะไรต้องคิดถึงรถ รถรถ รถรถรถ แล้วก็รถไว้ก่อน นี่มันจะรู้กันบ้างไหมนี่ว่าตกเป็นทาสรถยนต์กันหมดแล้ว สาธุขอให้น้ำมันมันขึ้นเป็นลิตรละสักห้าสิบบาทวันพรุ่งนี้เถอะ ดูสิจะมาขี่จักรยานกันบ้างไหม



นี่ไงทางเท้าที่อยากได้ ยินดีที่จะออกแบบให้ด้วยนะ ดูซิพี่น้องมันเหลือบ่ากว่าแรงที่คนไทยจะทำได้ตรงไหนมันต้องใช้เทคโนโลยีอะไรสูงส่งนักหนาหรือไงทำไมมันกลัวกันเหลือเกินว่าคนจะว่าๆๆๆๆๆ กลัวชาวบ้านจะเดือดร้อนตอนรื้อทางเท้าเดิมออก แล้วทางเท้าเดิมมันเป็นหลุม เป็นบ่อ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นป้ายโฆษณาก็จะปล่อยให้มันเป็นไปหรือไงนี่



อยากมีทางจักรยานแบบนี้จังเลยจะได้มีเพื่อนมาขี่จักรยานร่วมกันกับข้าพเจ้าบ้าง มีท้องถิ่นไหนสนใจจะเอาไปทำก็บอกมายินดีให้คำปรึกษาเต็มที่ อยากยึดอำนาจแล้วจับไอ้ผู้บริหารเมืองทั้งหลายเอามานั่งเก้าอี้คนพิการให้ใช้ทางเท้าของเมืองดูบ้างจะได้รู้สึกว่าทางเท้าบ้านเรานั้นมันไม่เหมาะกับการเดินแค่ไหน ก็คงทำได้แค่บ่นบ้าไปตามประสาเท่านี้แหละน้อ




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2549   
Last Update : 21 ตุลาคม 2549 1:24:19 น.   
Counter : 3550 Pageviews.  

อิจฉาคนญี่ปุ่น

เมื่อเดือนที่แล้ว(กันยายน2549) มีโอกาสได้เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ไปพบเห็นรูปแบบกายภาพเมืองของเค้าแล้วก็ให้นึกอิจฉาคนญี่ปุ่นเป็นที่สุด พวกเราอาจจะเคยได้ยินว่าคนญี่ปุ่นมีอายุยืนที่สุดในโลก อาจจะคิดว่าเพราะเค้ามีอากาศดี อาหารดี ฯลฯ แต่เหตุผลหนึ่งก็คือเค้ามีทางเท้าดีด้วย ดีอย่างไรนะหรือ ก็คือที่ประเทศญี่ปุ่นนี่ถือว่ามีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการใช้ทางเท้าเป็นทางจักรยานร่วมกันไปด้วยมากที่สุดในโลก(ในประเทศอื่นๆไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะใช้ทางจักรยานแยกออกจากทางเท้า) ทางเท้ารุ่นใหม่ของเค้าส่วนใหญ่จะใช้ระดับทางเท้าให้ใกล้เคียงกับระดับถนนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของทางเท้าทำให้ขี่จักรยานได้สะดวก โดยมีขอบกันด้านถนนเพื่อป้องกันรถยนต์จอดบนทางเท้า(ที่พบเห็นทั่วไปในประเทศไทยจนกลายเป็นเรื่องปกติ) คนเดินเท้าหรือขี่จักรยานจะมีความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เค้าสร้างความร่มรื่นให้กับทางเท้าด้วยต้นไม้ที่ปลูกริมทางเท้าด้านใดด้านหนึ่ง(ต่างจากประเทศไทยที่นิยมปลูกต้นไม้กลางทางเท้า ทางเท้าที่แคบอยู่แล้วก็เลยโดนแบ่งออกเป็นสองส่วน ยิ่งแคบไปอีก) ใครอยากเดินทางไปไหนก็ใช้จักรยาน ทำให้เกิดการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเค้าดีกว่าเรามากกกก
ตัวอย่างภาพทางจักรยานที่เป็นทางเท้าไปในตัวของเค้า เห็นแล้วอยากเอาจักรยานจากเมืองไทยไปขี่ที่ญี่ปุ่นจริงๆเล้ย ญี่ปุ่นเค้าถือว่าคนขี่จักรยานก็คือคนที่เดินเร็วเค้าก็เลยให้ใช้ทางเท้าร่วมกับคนเดินเท้าได้แถมยังมีการอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ด้วยทางม้าลายตรงจุดที่เป็นทางข้ามให้ด้วย




ได้เห็นจุดที่เป็นทางข้ามถนนอย่างรูปสุดท้ายที่ทำทางเท้าลำออกมาเพื่อให้คนข้ามถนนได้สะดวกก็เลยเกิดไอเดียอยากเอากลับมาใช้ที่เมืองไทยบ้าง มีโอกาสก็เลยนำเสนอท่านผู้บริหารเมืองในที่ประชุม อุตสาห์ยกแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อคนเดินเท้าอย่างไร ท่านผู้บริหารที่นั่งหาวแล้วหาวอีก บางทีก็เผลองีบไปนิดหน่อย ฟังมั่งไม่ฟังมั่ง พอเราพูดจบท่านก็ตื่นมาบอกว่า "เป็นไปไม่ได้หรอก ทุกวันนี้เทศบาลต้องเฉือนฟุทบาทให้ถนนกว้างขึ้นในหลายพื้นที่ แต่นี่คุณมาเสนอให้เอาฟุทบาทไปกินพื้นที่ถนนรถก็จะยิ่งติดไปกันใหญ่ ไม่เข้าท่า............" ที่เว้นจุดๆไว้คือสาระพัดเหตุผลที่ท่านอ้างมาเพื่อให้เห็นว่าต้องอำนวยความสะดวกให้คนขับรถส่วนตัวเสียก่อน คนเดินเท้าจะเป็นอย่างไรช่างหัวมัน...ก็คงได้แต่ปลง...อนิจจา..ประเทศไทย




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2549   
Last Update : 17 ตุลาคม 2549 6:40:38 น.   
Counter : 3784 Pageviews.  

ทำไมเราไม่ขี่จักรยานกันบ้าง

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าเมืองไทยทำไมถึงไม่มีทางจักรยานที่เป็นเรื่องเป็นราวกับเขาบ้าง บางคนบอกว่าขี่จักรยานไม่ได้มันร้อน บางคนบอกว่ามันอันตราย บางคนบอกว่ามันเหนื่อย ฯลฯ สรุปได้ว่าเราไม่ควรที่จะขี่จักรยาน ทั้งๆที่น้ำมันกำลังจะลิตรละสามสิบบาทแล้วววว ประเทศที่ผลิตรถยนต์ทั้งหลายเช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ เค้าต่างก็มีทางจักรยานเป็นหน้าเป็นตาของเมือง แล้วทำมั๊ย ทำไมไทยแลนด์แดนสยามเมืองยิ้มของเรามันถึงได้ยากลำบากนักหนาที่จะมีทางจักรยานในเมือง เอาล่ะจะเล่าให้ฟังว่าอะไรที่เป็นอุปสรรค




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 21 พฤษภาคม 2549 23:35:22 น.   
Counter : 1448 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

bicycleman
Location :
นครราชสีมา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




บุคคลหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร วันหนึ่งค้นพบว่าเรากำลังตกอยู่ในอิทธิพลของเจ้าเครื่องจักรบริโภคน้ำมันที่ชื่อว่ารถยนต์ จนหลงลืมทำลายเมืองและวิถีวัฒนธรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้มัน ตั้งแต่นั้นก็มุ่งมั่นที่จะปฏิวัติเมืองด้วยจักรยาน จึงสร้างบล็อคนี้มาเพื่อหาแนวร่วม
[Add bicycleman's blog to your web]