แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยไม่พึงพารถยนต์
TRANSIT ORIENTED DEVELOPMENT คือแนวทางการพัฒนาเมืองที่ต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายกำลังให้ความสนใจในการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ด้วยแนวคิด Transit Oriented Development หรือชื่อย่อคือ TOD ที่สร้างสรรค์จากแนวคิดพื้นฐานคือการสร้างชุมชนที่เดินได้สะดวก มีความกระชับแน่นเหมาะสมโดยรอบบริเวณขนส่งระบบรางที่สะดวก เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดการอยู่อาศัยในพื้นที่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพารถยนต์ แนวคิดนี้เป็นแนวทางหลักแนวทางหนึ่งในการพัฒนาที่จะแก้ปัญหาของการกระจายตัวของเมืองในยุคที่น้ำมันแพงมหาศาลและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายจนกลายเป็นปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน องค์ประกอบที่มีผลทำให้แนวคิด TOD ได้รับความสนใจนำไปพัฒนาเมืองต่างๆ - การเจริญเติบโตของเมืองต่างๆบนโลก ที่ทุกเมืองต่างมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อมๆกับปัญหาการจราจรโดยเฉพาะเมืองในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย - ความไม่สะดวกของพื้นที่ชานเมืองที่มีการเติบโตในลักษณะเกาะตามเส้นทางคมนาคม - สภาพการใช้ชีวิตในพื้นที่เมืองที่ขาดความสงบสุขเนื่องจากการจราจรด้วยรถยนต์ ทำให้เกิดความต้องการวิถีชีวิตแบบใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพารถยนต์แต่มีความสะดวกสบายในพื้นที่เมือง - ความต้องการพื้นที่สำหรับการเดิน การพักผ่อนในเมืองที่เพิ่มมากขึ้นตามความเจริญขึ้นของเมือง - รูปแบบครอบครัวที่เปลี่ยนไปในชีวิตเมือง เริ่มมีครอบครัวในลักษณะครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น - การสนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบนี้โดยรัฐบาลกลางที่เพิ่มมากขึ้น(เฉพาะในสหรัฐอเมริกา) - การมีพันธมิตรระหว่างเมืองเพิ่มมากขึ้นที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางของ TOD ปัญหาจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นในทุกๆเมืองใหญ่ในโลก เกือบทุกเมืองประชาชนต้องเสียเวลาไปกับการจราจรบนท้องถนนอย่างน้อยสองชั่วโมงต่อวัน การแก้ปัญหาโดยการขยายพื้นที่ถนนหรือสร้างทางด่วนสำหรับรถยนต์กลายเป็นการซ้ำเติมให้ปัญหาเหล่านี้ยิ่งซับซ้อนและยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้น Transit Oriented Development คือวิธีการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงที่จะช่วยลดการจราจรที่ติดขัดและช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมของเมือง เทคนิคหนึ่งของแนวทางการพัฒนาคือการสร้างเอกลักษณ์ของระบบขนส่งมวลชน แนวคิดการขยายถนนหรือสร้างทางด่วนนั้นกลายเป็นเรื่องล้าหลังและไร้สติสำหรับการพัฒนาเมืองไปแล้ว ในปัจจุบันนั้นเมืองต้องพัฒนาด้วยการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ดีและมีเอกลักษณ์ The Urban Land Institute (ULI) ส่วนประกอบสำคัญในการออกแบบตามแนวคิด Transit Oriented - ความสะดวกสบายของคนเดินเท้าต้องได้รับการพิจารณามาก่อนเป็นเบื้องแรก - สถานีขนส่งระบบรางต้องเป็นจุดเด่นที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของบริเวณ - ศูนย์กลางในระดับภาคต้องประกอบไปด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีทั้งร้านเช่า สำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสถานที่ราชการ ฯลฯ - ต้องมีความหนาแน่สูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยพื้นที่ต่างๆโดยรอบต้องสามารถเดินทางเข้าถึงสถานีขนส่งระบบรางได้ภายในเวลาไม่เกินสิบนาที - มีระบบขนส่งอื่นๆสนับสนุนระบบขนส่งระบบรางที่เป็นระบบหลัก เพื่อกระจายรัศมีการบริการให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่เมือง เช่น รถราง รถประจำทาง เป็นต้น - ออกแบบให้สะดวกในการใช้จักรยาน เสก็ตบอร์ด หรือพาหนะอื่นๆที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักได้อย่างสมบูรณ์ - มีการจัดการ การควบคุมและลดพื้นที่จอดรถยนต์ในรัศมี การเดินทางด้วยเท้าในระยะเวลาสิบนาทีจากสถานีขนส่งหรือศูนย์กลางเมือง
Create Date : 16 กันยายน 2551
Last Update : 16 กันยายน 2551 19:12:12 น.
2 comments
Counter : 2311 Pageviews.
โดย: A (Simply happy ) วันที่: 13 ตุลาคม 2552 เวลา:13:36:17 น.
โดย: 111 IP: 58.137.22.73 วันที่: 3 สิงหาคม 2554 เวลา:9:17:54 น.
bicycleman
Location :
นครราชสีมา Thailand
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [? ]
บุคคลหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร วันหนึ่งค้นพบว่าเรากำลังตกอยู่ในอิทธิพลของเจ้าเครื่องจักรบริโภคน้ำมันที่ชื่อว่ารถยนต์ จนหลงลืมทำลายเมืองและวิถีวัฒนธรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้มัน ตั้งแต่นั้นก็มุ่งมั่นที่จะปฏิวัติเมืองด้วยจักรยาน จึงสร้างบล็อคนี้มาเพื่อหาแนวร่วม
นี่เว็บนอกครับมีบทความพวกเศษฐศาตร์พลังอยู่พอควร
Cash for clunkers