1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
แนวการเขียนแผนธุรกิจ (ภาคการผลิต)
แนวการเขียนแผนธุรกิจ (ภาคการผลิต) จาก CD-ROM - จุดประกายธุรกิจ SME ตัวอย่างแนวการเขียนแผนธุรกิจ (ภาคการผลิต) ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ให้สามารถเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) ได้ด้วยตนเอง อันจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือนำไปใช้เป็น แนวทางในการบริหารกิจการในธุรกิจของผู้ประกอบการต่อไป ตัวอย่างแนวการเขียนแผนธุรกิจฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนแรก โครงสร้าง...แผนธุรกิจ ส่วนที่สอง ตัวอย่างแนวการเขียนแผนธุรกิจส่วนแรก อธิบายถึงหัวข้อหลักและรายละเอียด หรือข้อย่อยในแต่ละหัวข้อหลักที่ควรมีในการเขียนแผนธุรกิจ เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่มีความคุ้นเคยกับการเขียนรายงานและมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนธุรกิจแล้ว โดยผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการ ทบทวนว่า ตนเองได้เขียนแผนธุรกิจ โดยระบุข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนหรือไม่ ส่วนที่สอง เป็นแนวทางสำหรับช่วยในการเขียนแผนธุรกิจอย่างละเอียด เหมาะสมสำหรับ ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยจัดทำแผนธุรกิจมาก่อนและไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอย่างไร มีลักษณะคล้ายกับ การเติมคำในช่องว่าง... ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแบบฟอร์มในการจัดทำ แผนธุรกิจของผู้ประกอบการเอง โดยเลือกหัวข้อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานของกิจการ นอกจากนี้ ในแต่ละหัวข้อจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับความหมายของหัวข้อนั้นๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจและสามารถเขียนแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตัวอย่างแนวการเขียนแผนธุรกิจฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นต่อไป (จาก CD-ROM - จุดประกายธุรกิจ SME) บทความแนะนำ... การเขียนแผนธุรกิจ เนื้อหาในแต่ละบท 1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (แนวทางการเขียน) 2. ความเป็นมาของโครงการ (แนวทางการเขียน) 3. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (แนวทางการเขียน) 4. การวิเคราะห์สถานการณ์ (แนวทางการเขียน) 5. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (แนวทางการเขียน) 6. แผนเชิงกลยุทธ์ (แนวทางการเขียน) . . . 6.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร . . . 6.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ . . . 6.3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ 7. แผนการบริหารจัดการ (แนวทางการเขียน) . . . 7.1 รูปแบบธุรกิจ . . . 7.2 โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร . . . 7.3 ทีมผู้บริหาร และหลักการบริหารงาน . . . 7.4 แผนด้านบุคลากร . . . 7.5 สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการจัดการ บริหารงานโครงการ 8. แผนการตลาด (แนวทางการเขียน) . . . 8.1 ภาพรวมของตลาด . . . 8.2 สินค้า / บริการ . . . 8.3 กลุ่มลูกค้า . . . 8.4 การแข่งขัน และคู่แข่ง . . . 8.5 กลยุทธ์ทางการตลาด (4 Ps) . . . 8.6 สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการตลาด 9. แผนการผลิต . . . 9.1 ขั้นตอนการผลิต / จัดทำบริการ . . . 9.2 ทำเลที่ตั้ง และการวางผังโรงงาน . . . 9.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ . . . 9.4 กำลังการผลิต / ปริมาณที่ผลิตจริง และแผนงานด้านการผลิตของกิจการ . . . 9.5 ต้นทุนการผลิตสินค้า / บริการ . . . 9.6 การควบคุมคุณภาพการผลิต / การให้บริการ . . . 9.7 สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการผลิต 10. แผนการเงิน . . . 10.1 การลงทุนในกิจการ (ก่อนการดำเนินงานตามโครงการ) . . . 10.2 การลงทุนในโครงการใหม่ . . . 10.3 ประมาณการทางการเงินของกิจการในอนาคต 3-5 ปี . . . 10.4 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน . . . 10.5 การวิเคราะห์การเติบโตของกิจการและแนวโน้มการเติบโต . . . 10.6 วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน . . . 10.7 สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการเงิน 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ . . . 11.1 ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ . . . 11.2 ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ผลกระทบต่อโครงการ และแผนรองรับหรือแนวทางแก้ไข . . . 11.3 การประเมินสถานการณ์จำลอง 12. แผนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ1. บทสรุปผู้บริหาร (แนวทางการเขียน) ความเป็นมาและสถานะของกิจการในปัจจุบันo ชื่อและที่ตั้งกิจการ / ชื่อผู้บริหารที่สำคัญ / ประเภทสินค้าที่ผลิต / ยี่ห้อสินค้า (ถ้ามี) o กลุ่มลูกค้าหลัก / ส่วนแบ่งตลาด / คู่แข่งที่สำคัญ / ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ o ฐานะของกิจการ (เงินทุน-เงินกู้) และผลประกอบการในปัจจุบัน โอกาสทางธุรกิจ และแนวคิดในการจัดทำโครงการo ความเป็นมาของโครงการ / วัตถุประสงค์ของโครงการ (เพื่อขยายสาขา / เพื่อจัดตั้งกิจการใหม่ / เพื่อปรับปรุงกิจการ) o การลงทุนในโครงการ และแหล่งที่มาของเงินทุน วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนธุรกิจ (เพื่อขอสินเชื่อ, หาผู้ร่วมลงทุน หรือปรับปรุงกิจการ เป็นต้น) กลยุทธ์ในการบริหารโครงการo ด้านการจัดการ / การผลิตหรือบริการ / การตลาด และการเงิน ผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการ o ระยะเวลาคืนทุน (Pay -back Period) o จุดคุ้มทุน (Break-even Point) o มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (NPV) o อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (IRR) 2. ความเป็นมาของโครงการ (แนวทางการเขียน) ประวัติ และความเป็นมาของกิจการ o แนวความคิดในการก่อตั้งกิจการ o ผู้ก่อตั้งกิจการ o ปีที่ก่อตั้ง o ทุนจดทะเบียน / ทุนที่ชำระแล้ว o การเติบโตของกิจการ (ได้แก่ การเพิ่มทุน การลงทุนขยายกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารฯลฯ) o ความสำเร็จครั้งสำคัญของกิจการ (ถ้ามี) รายชื่อหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น และสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง ประวัติของหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ย้อนหลัง 3 ปี) กรณีที่เป็นโครงการใหม่ ให้ระบุชัดเจนว่าจะเริ่มดำเนินงานเมื่อใด (จัดทำเป็นตารางแสดงขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดตั้งจนถึงวันเริ่มดำเนินงาน) 3. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (แนวทางการเขียน) ภาพรวมของอุตสาหกรรม แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม มาตรฐานในการประกอบการในอุตสาหกรรม (เช่น ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO, QS, GMP, HACCP ฯลฯ) ตลอดจน Benchmark อื่น ๆ ที่สำคัญในอุตสาหกรรม นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ (ถ้ามี) 4. การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) (แนวทางการเขียน) จุดแข็งของกิจการ : ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง จุดอ่อนของกิจการ : ปัจจัยภายในที่ทำให้กิจการมีความเสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลัก / คู่แข่งรอง โอกาสของธุรกิจ : ปัจจัยภายนอกที่จะเสริมให้กิจการเติบโตต่อไปในอนาคต อุปสรรคของธุรกิจ : ปัจจัยภายนอกที่จะทำให้กิจการไม่รุ่งเรือง หรือเติบโตช้า 5. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (Vision, Mission & Goals) (แนวทางการเขียน) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพของกิจการที่ต้องการจะเป็นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน พันธกิจ (Mission) คือ งานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกิจการ เป้าหมาย (Goal) คือ การกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจากพันธกิจของกิจการ โดยกำหนดเป็นข้อ ๆ แบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ระยะปานกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้เป้าหมายในแต่ละระยะเวลาควรสอดคล้องกัน สามารถวัดผลได้ และระบุเวลาที่แล้วเสร็จอย่างชัดเจน 6. แผนเชิงกลยุทธ์ (แนวทางการเขียน) กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) คือสิ่งที่บอกถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของกิจการ ได้แก่o มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy) เป็นการขยายธุรกิจไปในทิศทางต่าง ๆ เช่น - ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกื้อหนุนธุรกิจเดิม โดยเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นทางหรือปลายทางของธุรกิจเดิม (Forward Backward Integration) - ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง (Conglomerate Diversification) เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน - จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance Strategy) เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดิมโดยไม่ต้องลงทุนเอง o กลยุทธ์คงตัว (Stability Strategy) ไม่มีการลงทุนใด ๆ ในช่วงนี้ แต่มุ่งเน้นในธุรกิจเดิมให้เข้มแข็ง o การลดขนาดกิจการ (Retrenchment Strategy)- ขายทิ้งกิจการบางส่วน (ที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุน) - ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ (Restructure) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) คือ การดึงจุดเด่นขององค์กรขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และ ส่งเสริมกลยุทธ์ระดับองค์กรo เป็นผู้นำด้านต้นทุน (ที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน) (Cost Leadership Strategy) ทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาถูกกว่าคู่แข่ง o เน้นความแตกต่างของสินค้า (Differentiation Strategy) สามารถสร้าง Value Added ใหม่ ๆ ให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค o มุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทำให้กิจการสามารถตั้งราคาสินค้าได้สูงขึ้น กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Level Strategies) ในด้านต่างๆ ได้แก่o การบริหารจัดการ เป็นการสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ o การตลาด เป็นการกำหนดแผนงานด้านการตลาดเพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ o การผลิต เป็นการกำหนดแผนงานด้านการผลิตให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ o การเงิน เป็นการกำหนดแผนงานด้านการเงินให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ 7. แผนการบริหารจัดการ (แนวทางการเขียน) (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่) รูปแบบธุรกิจ (กิจการเจ้าของคนเดียว ,ห้างหุ้นส่วน ,บริษัทจำกัด ฯลฯ) โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร ทีมผู้บริหารและหลักการบริหารงานo รายชื่อคณะกรรมการ และกรรมการบริหาร o ลักษณะการบริหารงาน (เช่นการรวมอำนาจ หรือกระจายอำนาจ เป็นต้น) กรณีการจัดตั้งกิจการใหม่ ให้แสดงความสัมพันธ์ของการบริหารงานระหว่างกิจการเดิมและ กิจการใหม่ให้ชัดเจน แผนด้านบุคลากรo กำลังคนในปัจจุบัน อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน และแผนด้านกำลังคน (การสรรหา และ จัดเตรียมบุคลากร) o แผนพัฒนาบุคลากร ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมาย (ถ้ามี) พันธมิตรทางธุรกิจ และการให้ความช่วยเหลือ (ถ้ามี) สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการจัดการ บริหารงานโครงการo สรุปจุดเด่นด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ o สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการจัดการ บริหารงานโครงการ o เป้าหมายทางการจัดการที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์ o งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการจัดการ 8. แผนการตลาด (แนวทางการเขียน) (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่) ภาพรวมของตลาด o สภาวะทั่วไปของตลาด อธิบายย้อนหลัง 3 ปี และคาดการณ์ล่วงหน้า 3 ปี (ระบุที่มาของสมมติฐาน) o ขนาด หรือมูลค่าการซื้อขายของตลาด (ระบุที่มาของตัวเลขหรือสมมติฐาน และข้อจำกัดในการประมาณการด้วย) o ปริมาณความต้องการของตลาด / จำนวนผู้ซื้อในตลาด o ปริมาณการผลิตเพื่อตอบสนองตลาด / จำนวนผู้ผลิตในตลาด สินค้า/บริการ o ลักษณะและจุดเด่นของสินค้า / บริการ o การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (ภาพที่ต้องการให้เป็นในสายตาของผู้บริโภค) o ภาพตัวอย่างของสินค้า / สถานที่ให้บริการ o พื้นที่จำหน่าย และตลาดเป้าหมาย (ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นตลาดระดับท้องถิ่น หรือตลาดระดับประเทศ) o ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาด กลุ่มลูกค้า o ลูกค้าเป้าหมายคือใคร o ลูกค้ารายใหญ่ของกิจการ 5 อันดับแรก แจกแจงยอดขายสำหรับลูกค้าแต่ละราย และความสัมพันธ์กับลูกค้ารายพิเศษ (ถ้ามี) o กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในอนาคตของโครงการคือใคร (สามารถขยายฐานลูกค้าได้หรือไม่) การแข่งขัน และคู่แข่ง o สภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน o คู่แข่งหลัก / คู่แข่งรองของกิจการ o เปรียบเทียบยอดขาย หรือส่วนแบ่งตลาดของกิจการกับคู่แข่งหลัก o เปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนระหว่างผลิตภัณฑ์ของกิจการกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง o ลูกค้ากลุ่มเดิมมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งหรือไม่ o แนวโน้มการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ กลยุทธ์ทางการตลาด o กลยุทธ์ด้านสินค้า /บริการ o กลยุทธ์ด้านราคา o กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย o กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาดและการขาย สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการตลาดo สรุปจุดเด่นด้านการตลาด o สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการตลาด o ยอดขาย / ส่วนแบ่งตลาด และเป้าหมายทางการตลาดอื่นๆ ที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์ o งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการตลาด 9. แผนการผลิต (ก่อนและหลังการดำเนินการตามโครงการใหม่) ขั้นตอนการผลิต / การให้บริการ (แสดงในรูป Flow Chart) ทำเลที่ตั้ง และการวางผังโรงงาน o แผนที่โรงงาน o แผนผังภายในโรงงาน o จำนวนพื้นที่ใช้สอย o การได้มาซึ่งพื้นที่ (ซื้อหรือเช่า ระบุรายละเอียดการชำระเงิน ในกรณีที่เป็นการเช่าให้ระบุปีที่ สัญญาเช่าหมดอายุ) เครื่องจักรและอุปกรณ์ o รายการเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สำคัญ (หากยังอยู่ระหว่างการชำระเงิน ให้ระบุรายละเอียด เงื่อนไขการชำระเงิน) o อายุการใช้งาน o การซ่อมแซม/บำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ กำลังการผลิต/ปริมาณที่ผลิตจริง และแผนงานด้านการผลิตของกิจการ (อาจจัดทำในรูปของ Gantt Chart) ต้นทุนการผลิตสินค้า / บริการ o วัตถุดิบสำคัญ และซัพพลายเออร์หลักที่กิจการติดต่อด้วย o การบริหารวัตถุดิบ และนโยบายวัตถุดิบคงคลัง (เช่น ระดับวัตถุดิบขั้นต่ำ ฯลฯ) o จำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิต / ทักษะที่จำเป็นของแรงงาน / ตลาดแรงงานของอุตสาหกรรม o ค่าใช้จ่ายในโรงงาน (Overhead Cost) o ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย (แยกให้เห็นระหว่างต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร) o เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของกิจการกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานของอุตสาหกรรม (ถ้ามี) และบอกสาเหตุของความแตกต่าง การควบคุมคุณภาพการผลิต / การให้บริการo ความพร้อมของสาธารณูปโภคต่าง ๆ o ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น กระบวนการการกำจัดของเสีย การใช้พลังงาน การเลือกใช้ วัตถุดิบ เป็นต้น) สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการผลิตo สรุปจุดเด่นด้านการผลิต o สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการผลิต o เป้าหมายทางการผลิตที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์ o งบประมาณที่ต้องใช้ด้านการผลิต 10. แผนการเงิน การลงทุนในกิจการ (ก่อนการดำเนินงานตามโครงการ)o รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)- ประเภทและวงเงินกู้ - วัตถุประสงค์ของเงินกู้ - อัตราดอกเบี้ย - การชำระคืนเงินต้น - ระยะเวลาปลอดหนี้ - หลักประกันเงินกู้ การลงทุนในโครงการใหม่o แหล่งเงินที่ประสงค์จะขอกู้ o รายละเอียดเงินกู้ยืม (ถ้ามี)- ประเภทและวงเงินกู้ - วัตถุประสงค์ของเงินกู้ - อัตราดอกเบี้ย - การชำระคืนเงินต้น - ระยะเวลาปลอดหนี้ - หลักประกันเงินกู้ ประมาณการทางการเงินของกิจการในอนาคต 3-5 ปีo สมมติฐานทางการบัญชีและการเงิน - อัตราการเพิ่ม/ลดของยอดขาย กำลังการผลิต ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในแต่ละปี - อัตราดอกเบี้ยจ่าย ประมาณจากอัตราดอกเบี้ยจ่ายของวงเงินกู้เดิม และวงเงินกู้ใหม่ที่ คาดว่าจะกู้เพิ่ม - สัดส่วนการขายเงินสด : ขายเงินเชื่อ - ระยะเวลาในการให้เครดิตแก่ลูกค้า - นโยบายการให้ส่วนลดการค้า และส่วนลดเงินสด (ถ้ามี) - ระยะเวลาที่ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้า - ระยะเวลาในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง - วิธีการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภท - อัตราภาษีเงินได้ o ประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดย- ประมาณการปีที่ 1 เป็นรายเดือน - ประมาณการปีที่ 2 และ 3 เป็นรายไตรมาส - ประมาณการหลังปีที่ 3 เป็นรายปี (ถ้ามี) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินo อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (Liquidity Ratio)- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) - อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) o อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)- อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin Ratio) - อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin Ratio) - กำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin) - อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (Return on Asset - ROA) - อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity - ROE) o อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management Ratio)- อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover Ratio) - ระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ (Average Collection Period - Day) - ระยะเวลาในการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover - Day) - ระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover - Day) o อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ และความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม - อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (Debt Ratio) - อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) - อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยจ่าย (Interest Coverage Ratio) วิเคราะห์การเติบโตของกิจการและแนวโน้มการเติบโต (Trend Analysis) วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน o ระยะเวลาคืนทุน (Pay-back Period) o จุดคุ้มทุน (Brake-even Point) o มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (Net Present Value : NPV) o อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR) ) สรุปจุดเด่น ปัญหา และเป้าหมายทางการเงินo สรุปจุดเด่นด้านการเงิน o สรุปปัญหาที่สำคัญด้านการเงิน o เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์ 11. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ผลกระทบต่อโครงการ และแผนรองรับ (แนวทางการแก้ไข)ปัญหา ผลกระทบ แนวทางแก้ไข 1 สินค้าถูกลอกเลียนแบบ 2 ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณการไว้ 3 คู่แข่งตัดราคาขาย 4 วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขาดแคลน 5 มีปัญหากับหุ้นส่วน 6 ฯลฯ การประเมินสถานการณ์จำลอง (Sensitivity Analysis) o กรณีที่ดีกว่าปกติ (Best Case) เช่น ยอดขายเพิ่ม 10% o กรณีปกติ (Base Case) ยอดประมาณการปัจจุบัน o กรณีที่ต่ำกว่าปกติ (Worst Case) เช่น ยอดขายลด 10% 12. แผนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ เช่น การปรับปรุงระบบบัญชี / ระบบบัญชีสินค้าคงคลัง / การขนส่ง / การจัดเก็บ / ระบบการผลิต / การตลาด การขอรับรองระบบมาตรฐาน เช่น ISO, GMP, HACCP และอื่นๆ ที่จำเป็น 13. ภาคผนวก (แหล่งที่มาของข้อมูล และสำเนาเอกสารต่างๆ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรา (ถ้ามี) ) (จาก CD-ROM - จุดประกายธุรกิจ SME)
Create Date : 06 ธันวาคม 2551
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 1:00:27 น.
5 comments
Counter : 16605 Pageviews.
โดย: Aui-tui วันที่: 26 ธันวาคม 2551 เวลา:15:12:40 น.
โดย: สุดยอด IP: 202.149.25.236 วันที่: 21 มีนาคม 2552 เวลา:19:13:56 น.
โดย: nui IP: 222.123.68.248 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:22:16:15 น.
โดย: เนเธเนเธเนเธเนเธฒเธเธฃเธฐเธขเธฒ IP: 58.11.85.70 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:16:44 น.
โดย: yuth IP: 115.67.65.93 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:9:55:02 น.
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [? ]
ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544วิทยากรเชิงกิจกรรม วิทยากรกระบวนการ ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนกลยุทธ์ วิจัยธุรกิจ IT Dashboard ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด << Main Menu >> ดวงถาวร ดวงตามวันเกิด ดวงตามปีเกิด ;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'
ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong
ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ
การตลาดและการประชาสัมพันธ์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
และ การวางแผนกลยุทธ์
วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ
นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ
Executive & Management Coach
ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
บอกได้คำเดียวว่า"สุดยอด"
อืม!!!
ขอให้มีความสุขกับปีใหม่ที่จะมาถึงนะครับ