life of gone...ชีวิตต้องเดินไปข้างหน้าเสมอ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 ธันวาคม 2567
 
All Blogs
 
สายใยบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้..พหุวัฒนธรรมจากเหนือสู่ใต้กับการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างงดงามและลงตัว

สวัสดีค่ะ วันนี้สาวเอากิจกรรมดีดีของตรังมาฝาก

สายใยบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้..เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น ณ วัดภูเขาทอง ตรัง ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗  เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะ สาวเลยมาเขียนช้า ข้อมูลชุดนี้เป็นชุดเดียว กับกระทู้พันทิปนะคะ



 
สายใยบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้





 
“จุลกฐิน” สำหรับคนใต้หลายคนอาจไม่คุ้นเคย แม้กระทั่งแอดมินเอง เมื่อหลายวันก่อนมีเพื่อนรุ่นพี่ที่สนิทจากพัทลุงได้โพสถึงงานจุลกฐินที่กำลังจะจัดขึ้น ณ วัดภูเขาทอง ต.น้ำผุด จ.ตรัง ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ ด้วยความสงสัยจึงไปหาข้อมูลพร้อมไปถ่ายภาพมาในวันที่ ๒๕ ตุลาคม

 
ดอกฝ้าย




 

กฐินมีหลายแบบ ทั้งกฐินหลวง กฐินราษฎร์ สำหรับจุลกฐินหรือกฐินแล่น จัดอยู่ในประเภทของกฐินราษฎร์ ความแตกต่างจากทั่วไป คือ ต้องทอผ้าไตรจีวรสำหรับถวายพระให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง จึงต้องอาศัยความสามัคคีกันอย่างมาก ส่วนใหญ่จุลกฐินนิยมทำกันในแถบภาคเหนือ และอีสาน จึงกล่าวได้ว่าคนตรังโชคดีที่ได้เห็นประเพณีนี้

 
ที่มาของการจัดงาน “สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้” มาจากความตั้งใจของคุณพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์ คนตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังที่ไปทำธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ อยากทำบุญในรูปแบบจุลกฐิน ณ บ้านเกิด โดยมีโจทย์ในใจคือ เป็นวัดที่มีโบราณสถาน และยังคงอนุรักษ์ประเพณีแบบดั้งเดิมไว้ได้... วัดภูเขาทอง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ พระนอนทรงเทริดมโนราห์อายุกว่า 1,000 ปีเป็นพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพานองค์เดียวที่พบในประเทศ จึงเป็นวัดที่คุณพิมพ์ชมเลือก และได้ติดต่อขอเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้

 



 
การเตรียมทั้งคน และของมาจากภาคเหนือไม่ง่ายเลย เริ่มจากการปลูกฝ้ายก่อนช่วงเข้าพรรษาประมาณ ๓ เดือนเพื่อให้ทันวันงาน จากนั้นจึงประสานความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ พระครูบา และคนทอผ้ากว่า ๑๐๐ คนจากเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง รวมทั้งจากพัทลุง และตรัง พร้อมอุปกรณ์แทบทุกชิ้นมาร่วมแรง ร่วมใจให้งานในครั้งนี้สำเร็จ ซึ่งไม่ง่ายเลย ยิ่งได้เห็นชุดชนเผ่า ปกาเกอะญอ จากเชียงใหม่ และ โพล่ง จากลำพูน เดินทางกว่า ๓๐ ชั่วโมงเพื่อมาทำบุญยิ่งประทับใจ


วันงานคือ ๒๕ ตุลาคม ดอกฝ้ายเริ่มผลิบานในแปลงปลูก ฝ้ายสีขาวสวย ได้รับการเก็บไว้บางส่วนก่อนฝนตกในเรือจาก “ติหมา” และตะกร้ากระจูด ภูมิปัญญาของชาวบ้านทางใต้ เรียงไว้อย่างงดงาม เตรียมพร้อมไว้ก่อนเริ่ม..ฤกษ์ดีคือ บ่ายโมง พิธีบวงสรวงในรูปแบบทางเหนือ โดยมีโนราห์มารำประกอบงาน นอกจากนี้ยังได้เชิญทั้งศิลปินแห่งชาติอย่าง มาลา คำจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่หลายท่านมาร่วม...การผสมผสานระหว่างประเพณีทางเหนือ ร่วมกับโนราห์ทางใต้หาดูยาก ชื่นชมเจ้าภาพ และทีมผู้จัดงานจากใจ



แปลงปลูกฝ้ายในบริเวณวัดค่ะ







ช่วงที่จัดงานเป็นช่วงฝนตก เลยมีการเก็บฝ้ายไว้บางส่วนแล้วด้วย
 





กำหนดการในพิธีบวงสรวงเริ่มบ่ายโมง เรามาดูโต๊ะบวงสรวงกันค่ะ






ชาวบ้านทั้งจากตรัง และทีมทอผ้าพร้อมค่ะ







ฝั่งทีมทอผ้าจากภาคเหนือ






 ชุดชนเผ่าชาวเหนือ และคุณน้าคนตรังที่นุ่งผ้าทอนาหมื่นศรีของคุณแม่ (ขวามือ)






เมื่อได้เวลา โนราห์เริ่มรำบวงสรวง






ถ่ายมาหลายมุมค่ะ






หน้าตรง






ด้านหลัง







ฝั่งเต้นท์ มีพิธีกรอธิบายขั้นตอน







ช่วงจุดเทียน เริ่มจากคุณพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์  ประธานจัดงาน







 มาลา คำจันทร์  ศิลปินแห่งชาติ ชอบหนังสือท่านมานาน เสียดายไม่ได้ขอถ่ายรูปด้วย






และคนอื่น ๆ







มีทั้งคนเหนือ







ภาคกลาง






และตรัง






จากนั้นเป็นการปักธูป และทำบุญ เพื่อรับช่อใบโกสน





เป็นช่อแบบนี้






ต่อไปเตรียมเก็บฝ้ายใส่กระบุงเสื่อกระจูด






มีดนตรีจากทางเหนือบรรเลง







ร่วมกับโนราห์จากทางใต้ ร่ายรำอย่างสนุกสนาน






จากนั้นรอเวลา






จะมีการจุดประทัดก่อน






จึงเข้าไปด้านในได้ คนที่มีช่อใบโกสนให้นำไปวางด้านบน






มุมกว้างของที่วางค่ะ







จากนั้นก็เริ่มเก็บฝ้ายกัน






สาวถ่ายรูปมาไม่เยอะ ในช่วงนี้





โนราห์เก็บฝ้าย






ทีมผ้าทอนาหมื่นศรี






รูปหมู่โนราห์ และชาวเหนือ







จากนั้นทั้งหมดร้องรำ เดินไปในโรงทอชั่วคราวที่ทางวัดจัดไว้
 







มาถึงโรงทอชั่วคราวกันแล้ว






จากนั้นเข้าสู่พิธีกรรมอีกหนึ่งอย่าง






คนจะนั่งเรียงกันแบบนี้







เริ่มจากนำฝ้ายมาวางไว้ในมือ แล้วเอาเงินทำบุญห่อ 






แล้ววางไว้บนผ้า






 จากนั้นกล่าวคำถวายพระ  ต่อด้วยทำพิธีบูชา






แล้วพับผ้าขาวตามยาว 






ม้วนรวมกัน





นำไปถวายพระ








จากนั้นนำไปไหว้ตามกี่ทอผ้า






ทุกหลังแบบนี้ค่ะ







เสร็จพิธีช่วงนี้






ฝ้ายที่เก็บไว้ก่อนฝนตก ใส่ในติหมาด้วย






ชุดของถวายพระ






หลายอย่างสาวเพิ่งเคนเห็น






ตอนนี้เริ่มหิว มีน้ำลำไยจากลำพูนมาแจก






หวานอร่อยมาก






ของกินอื่นก็มี แต่สาวไม่ได้กิน






ของฝากก็มีมาขายด้วย






น่าซื้อค่ะ






มีโนราห์น้อยแสดงที่ลานด้วยน่ารักดี






หลังจากเสร็จพิธีมาถึงช่วงทอผ้ากันค่ะ...การทอจะมีหลายส่วนเริ่มจาก
๑. อีดฝ้าย หรือ หนีบฝ้ายเอาเม็ดฝ้ายออก








มาดูใกล้ ๆ กันค่ะ คนทำนุ่งผ้าทอนาหมื่นศรี ส่วนอีกผืนผ้าทอทางเหนือ สวยทั้งคู่






๒. ดีดฝ้าย/ปดฝ้าย คือ การเอาฝ้ายมาดีดในสะดึงยาว






๓. กิ๊กฝ้าย/ม้วนฝ้าย คือ การม้วนฝ้ายในไม้ยาว ๆ ให้เป็นทรงยาวรี






ได้มาแบบนี้ค่ะ






๔. ปั่นฝ้าย คือ เอาฝ้ายมาปั่นให้ออกมาเป็นเส้น






๕.ฝัดหลอด คือ ใส่หลอด เพื่อส่งให้คนทอ






กี่ทอผ้าที่มาใช้ขนมาจากภาคเหนือ ๘ หลัง






และยังมีกี่เอว  ซึ่งเป็นการทอผ้าของชนเผ่าชาวกะเหรี่ยงมาใช้ด้วย






เพิ่งเห็นเป็นครั้งแรกเลย น่าสนใจมาก





ถ่ายรูปเพลินกันมาก






คุณป้าคนนี้น่าจะเป็นคนตรัง





 
สาวไปอีกครั้งในช่วงค่ำวันที่ ๒๕ ได้พบกับ พระมงคลวชิราคม วิ. เจ้าอาวาสวัดนิคมประทีป(โคกหล่อ) นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รวมทั้งนายระลึก หลีกภัย มาให้กำลังใจ พร้อมร่วมปล่อยโคมลอย ในงานช่วงค่ำหลังเครื่องบินเที่ยวสุดท้ายออกจากสนามบินตรัง








บรรยากาศช่วงค่ำค่ะ






ชุดพุ่มกฐิน






ทุกคนตั้งใจกันมาก






มีของกินเอามาให้ถึงที่เลย มาตรังไม่อด




 
หลังจากทอเสร็จจะเข้าสู่ขั้นตอนการย้อม โดยสีที่ใช้ได้จากแก่นฝาง ไม้ขนุน และขมิ้น คั้น กรองน้ำมาย้อม ต่อด้วยการเย็บเป็นอันเสร็จ

 





ตำขมิ้นกับครกนี้







หม้อ กระทะ เตรียมย้อม






ตอนนี้นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มาถึงแล้วค่ะ







ผู้ว่า ฯ เป็นคนเหนือ อู้คำเมืองเพลินเลย






ตอนนี้เตรียมย้อมผ้ากันค่ะ






ผู้ว่า ฯ ร่วมทำ






ให้กำลังใจ






ทำบุญ






ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก






พร้อมทั้งปล่อยโคมลอย






ร่วมกับชาวบ้าน






ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ความร่วมมือ และความสามัคคีจึงสำคัญมาก..







แถมภาพช่วงเช้าอีกวันที่สาวไม่ได้ไป เอามาจากวัดค่ะ







สวยงามมาก






ดีใจที่ได้ไปร่วมกิจกรรมดีดีแบบนี้ค่ะ





ขอบคุณที่แวะมา



 



Create Date : 04 ธันวาคม 2567
Last Update : 4 ธันวาคม 2567 14:20:35 น. 7 comments
Counter : 577 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณกะว่าก๋า, คุณ**mp5**, คุณSweet_pills, คุณThe Kop Civil


 
กิจกรรมที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์อย่างยิ่ง
ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะคะ


โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 4 ธันวาคม 2567 เวลา:15:17:25 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยนะครับน้องสาว



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ธันวาคม 2567 เวลา:18:42:57 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
ช่วงนี้ ฝุ่นpmเริ่มกลับมาแล้วครับ อาจต้องงดวิ่งหรือวิ่งน้อยลง


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 4 ธันวาคม 2567 เวลา:22:09:59 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับน้องสาว



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 ธันวาคม 2567 เวลา:3:28:23 น.  

 
งานฝีมืออย่างผ้าทอกว่าจะได้มาไม่ง่ายเลย
มีคุณค่ามากค่ะ
ขอบคุณคุณสาวสำหรับภาพบรรยากาศงาน
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 5 ธันวาคม 2567 เวลา:23:59:31 น.  

 
อนุโมทนาสาธุบุญด้วยครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:10:20:05 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณสาว
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ





โดย: tanjira วันที่: 4 มกราคม 2568 เวลา:15:12:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sawkitty
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




เป็นคนรักแมวที่เป็นคนยะลา แต่มาทำงานตรัง ถ้าจะตามตัวให้แวะไปหาที่ห้องแมวพันทิบคะ


Friends' blogs
[Add sawkitty's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.