กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
27 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

จีน- อินเดีย แล้วเกิดมี อินโดจีน - อินโดนีเซีย


 
 
235 จีน – อินเดีย  แล้วเกิดมี  อินโดจีน - อินโดนีเซีย

 
     จีนและอินเดีย  เป็นอารยธรรมใหญ่  ที่เจริญต่อเนื่องมายาวนานหลายพันปี   อีกทั้งสองประเทศนี้ก็ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก   จึงมีการเดินทางติดต่อค้าขายถึงกันมาแต่โบราณ
 
     ในช่วงที่ทางตะวันตกเริ่มต้นคริสต์ศักราช   พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองมากในชมพูทวีป และแผ่มาถึงประเทศจีน  ดังที่พระเจ้ามิ่งตี่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ทรงรับนับถือพระพุทธศาสนาเมื่อ   ค.ศ.65/พ.ศ.๖๐๘ และในอินเดียเอง  ไม่กี่ปีหลังจากนั้น  คือ ใน ค.ศ.78/พ.ศ.๖๒๑ ก็เข้าสู่รัชสมัยของพระเจ้ากนิษกมหาราช  (มีนครหลวงชื่อปุรุษปุระ คือ Peshawar) องค์พุทธศาสนูปถัมภ์ที่ถือกันว่ายิ่งใหญ่มาก  ถัดจากพระเจ้าอโศกมหาราช
 
     ในยุคแห่งความรุ่งเรื่องนี้  ผู้เดินทางระหว่างจีนกับอินเดีย  นอกจากพวกพ่อค้าวาณิชแล้ว ก็มีพระภิกษุที่เป็นธรรมาจารย์ และหลวงจีน ที่จาริกไปเผยแผ่  มาศึกษาและสืบพระพุทธศาสนา  มากขึ้นตามลำดับ
 
     จีนกับอินเดียนั้น  แม้ว่าดินแดนจะไม่ห่างไกลกันนัก   แต่มีภูเขาหิมาลัยขวางอยู่   การเดินทางบกไปมาระหว่าง ๒ ประเทศนี้   จึงต้องอ้อมไกลไปโดยทางที่เรียกกันมาว่าทางสายไหม (Silk Road; เส้นทางนี้ขยายไปเชื่อมกับถนนของจักรวรรดิโรมัน/Roman roads ด้วย)  ผ่านแผ่นดิน ที่แห้งแล้งกันดารแห่งเอเชียกลาง  ข้ามภูเขาและทะเลทราย ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งยังมีภัยจากโจรผู้ร้าย ตลอดจนบางกาลบางสมัยมีสงคราม และการสู้รบระหว่างคนต่างถิ่นต่างเผ่า เป็นอุปสรรคมาก
 
     ด้วยเหตุนี้ จึงมีการค้นหาทางเดินเรือขึ้นมาเป็นทางเลือก และการจาริกทางทะเลก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ
 
     ทางบกนั้น   ถ้าจากจีนมาอินเดียก็ผ่านเอเซียกลาง  อ้อมวกเข้ามาทางแคว้นโยนก และหรือแคว้นคันธาระ  (คือ อัฟกานิสถาน และปากีสถานในปัจจุบัน) โดยเฉพาะผ่านเมืองตักศิลา แล้วลงมาทางตะวันออกตามลำดับ
 
     แต่ทางทะเล   มีแผ่นดินเป็นแหลมใหญ่  หรือคาบสมุทรคั่นขวางระหว่างจีน กับ อินเดีย นั้น (ดูแผนที่จะเห็นชัด)  ซึ่งสมัยก่อนถอยหลังไปประมาณครึ่งศตวรรษนี้เอง  ยังมีคำเรียกรวมๆ ว่า “อินโดจีน” * หรือ คาบสมุทรอินโดจีน  (Indochina/Indochine/Indochinese peninsula) ซึ่งแปลว่า ผืนแผ่นดิน หรือคาบสมุทรที่อยู่ระหว่างอินเดีย กับ จีน
 
     อินโดจีน  นี้  ประกอบด้วย   (เรียงต่อจากจีนลงมา) เวียดนาม  ลาว  กัมพูชา  ไทย  พม่า มลายู  (ต่อมาขยายเป็นมาเลเซีย)
 
     จากผืนแผ่นดินนี้   มองลงไปในทะเล   มีหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางผ่านหรือใกล้ทางผ่าน  อันชวนให้แวะอีกมาก  เช่น  สุมาตรา  ชวา  เป็นต้น  ซึ่งส่วนใหญ่รวมอยู่ในอาณาจักร ที่ปัจจุบันเรียกชื่อตามสายตาของฝรั่งว่า  ประเทศอินโดนีเซีย  (Indonesia) ซึ่งแปลว่า  “แดนหมู่เกาะอินเดีย” (มาจากคำกรีก – ละติน : Indo- [อินเดีย] + nês [เกาะ] + -ia  [ดินแดน, ประเทศ])
 
     นอกจากค้าขายแล้ว  พ่อค้าวาณิช เป็นต้น  ที่เดินทางผ่านไปมานั้น  บางทีก็แวะพำนักอยู่นานๆ   ตลอดจนตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นหลักแหล่ง    กลายเป็นเจ้าถิ่นเสียเอง  จึงปรากฏว่า ต่อมา  ได้เกิดมีบ้านเมือง ตลอดจนอาณาจักรต่างๆ ขึ้นมา ตามชายฝั่งทะเล  และใกล้ทะเล บนเส้นทางพาณิชย์เหล่านี้
 
     ผู้ที่สร้างบ้านตั้งเมืองเหล่านี้  มีทั้งชาวชมพูทวีปที่เป็นผู้นำตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่  และคนท้องถิ่นที่จัดตั้งบ้านเมืองขึ้นตามระบบแบบแผนของชมพูทวีป  ที่ถือว่าเป็นผู้เจริญ  ดังที่ตำราฝ่ายตะวันตกเรียกแว่นแคว้นเหล่านี้ว่า Indianized kingdoms  คือเป็นอาณาจักรเยี่ยงอย่างอินเดีย
 


ไม่พึงสับสนกับ  “อินโดจีนของฝรั่งเศส/French Indochina” ที่มี่เพียง  ลาว กัมพูชา และเวียดนาม อันเกิดขึ้นโดยทางการเมืองและมีอยู่เฉพาะตั้งแต่ปี 1893/๒๔๓๖ ถึง1954/๒๔๙๗ แล้วก็สลายไป

 


Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2567 19:10:04 น. 0 comments
Counter : 74 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space