กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2567
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
2 เมษายน 2567
space
space
space

ถาม-ตอบ สำนวนแปลบาลี



235 เขาถาม  450

> มีเรื่องหนึ่งที่มิตรฯ ตั้งข้อสังเกตว่าสำนวนการแปลบาลีเป็นไทยแบบจารีตนั้น “อ่านยาก”

  ทำให้ผมมีข้อสังเกตว่า สำนวนการแปลบาลีเป็นไทยแบบจารีต  ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอ่านเอาความ  แต่อาจจะมีเจตนาเพื่อที่จะ “แปลกลับ”  ได้แบบ lossless ซึ่ง  (ถ้าข้อสังเกตผมเป็นจริง) ก็จะอธิบายได้อย่างดีว่าทำไมสนามหลวงถึงยังมีสอบ  “วิชากลับ”  ทั้งที่ดูจะไม่มีความจำเป็นอะไรเลย  (ถ้าเราเรียนบาลีเพื่อที่จะแปลพระบาลีเป็นไทย จะได้ประโยชน์อะไรกับการแปลไทยกลับเป็นพระบาลี แทนที่จะไปเน้นการแต่งภาษาบาลีให้สละสลวยไปเลยตั้งแต่ต้น?)


 
235 เขาตอบ  450

> ขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ หากกล่าวถึงหนังสือเรียนหลักสูตรบาลีที่เป็นเล่มแปลภาษาไทย สาเหตุที่คนสมัยปัจจุบันรู้สึกว่าอ่านยาก เพราะเป็นคำแปลภาษาไทยเมื่อนานมาแล้ว แต่ปัจจุบันนี้มีหนังสือเรียนสำนวนแปลโดยอรรถใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาสมัยปัจจุบันมากขึ้นและอ่านง่ายขึ้นแล้วค่ะ

"สำนวนการแปลบาลีเป็นไทยแบบจารีต"  นี้หมายถึง  "แปลโดยพยัญชนะ"  ใช่ไหมคะ  การแปลโดยพยัญชนะ  มีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราสามารถแปลกลับได้   เข้าใจสำนวนภาษาต้นทาง และเป็นการเก็บรักษาในรูปแบบหนึ่ง   แต่ไม่ใช่สำหรับอ่านเอาใจความค่ะ   หากอ่านเพื่อศึกษาเนื้อความ   ควรอ่านสำนวนแปลโดยอรรถ และเลือกสำนวนที่คนสมัยปัจจุบันแปล  สื่อสารกับคนปัจจุบันได้มากกว่าสำนวนแปลที่แปลไว้เมื่อนานมากมาแล้ว
การกลับ (แปลไทยเป็นมคธ)  กับการแปล  (แปลมคธเป็นไทย)  เป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันในแง่การเรียนรู้ค่ะ  บางสิ่งที่ผู้ศึกษาอาจไม่ได้สังเกตในวิชาแปล  ก็อาจสังเกตในวิชากลับ การแปลกลับไปมาเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ฝึกฝนนักแปล  การแปลพระธรรมเป็นภาษาทิเบตในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๘-๙ ก็ใช้วิธีแปล  (สันสกฤตพุทธเป็นทิเบต) และตรวจสอบด้วยการกลับ  (ทิเบตเป็นสันสกฤตพุทธ) ส่วนการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ และ บ.ศ.๙ นั้น ต้องอาศัยพื้นฐานจากวิชากลับค่ะ เพราะไม่ใช่การกลับตรงๆ แบบวิชากลับ  แต่มีการตีความ  ตัดเนื้อความ  ต่อความ  เติมความ  เป็นเหมือนวิชาการเขียนอย่างหนึ่ง
 
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3717141951945557&set=pcb.3717142351945517

235 เขาตั้งข้อสังเกต 450

> ระวังการอ่าน พระไตรปิฏกหรืออรรถกถาที่แปลเป็นภาษาไทย .. เพราะมีความคลาดเคลื่อนบ่อยๆหลายๆแห่ง

https://pantip.com/topic/42618732


235 ผู้ศึกษาพุทธธรรมเบื้องต้นควรมีความรู้ภาษาของเขา (บาลี)  บ้าง  เวลาตัวยกศัพท์ทางธรรมมาพูดอ้างอิงแล้วจะได้รู้ความหมายว่าหมายถึงอะไรแค่ไหน

ตัวอย่าง  450 

> ภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง 2 อันนี้ แปลว่าอะไร

https://pantip.com/topic/42620826

พุทโธ   พุทธัง   ความหมาย  พุทธ  พุทธะ  (พระพุทธเจ้า)  เหมือนกัน  ที่เป็นโอ  (พุทฺโธ)  เป็นอัง (ธมฺมํ) เป็นไปตามวิภัตติ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=7406092786151061&set=a.332517853508625

 




 

Create Date : 02 เมษายน 2567
0 comments
Last Update : 7 เมษายน 2567 8:10:49 น.
Counter : 120 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space