กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
25 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา


 
235 เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา  ยกมาดูกันแค่นี้ก็มองเห็น
 

     ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๒๔๓ มีบุคคลสำคัญคนหนึ่งในศาสนาฮินดูเกิดขึ้น ชื่อว่า ศังกราจารย์
 
     ศังกราจารย์เป็นฮินดูนิกายไศวะ (นับถือพระศิวะ) เกิดที่เกราลา (Kerala) ในอินเดียภาคใต้  ในยุคที่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเสื่อมไปจากอินเดียนานแล้ว และพระพุทธศาสนาแบบมหายานก็ได้เจริญจนถึงขีดสุด และกำลังเริ่มเสื่อมลง
 
     ศังกราจารย์ได้มาเป็นศิษย์ของโควินทะ  ซึ่งเป็นศิษย์ของเคาฑปาทะ  อาจารย์ศาสนาฮินดูนิกายเวทานตะ
 
     นักปราชญ์ปัจจุบันทราบกันดีว่า เคาฑปาทะ ได้นำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามหายานมาใช้ เคาฑปาทะ และศังกราจารย์ได้ชื่อว่า เป็นต้นตำรับศาสนาฮินดูแบบอไทวตะเวทานตะ
 
     ปรัชญาฮินดูนิกายนี้ของศังกราจารย์ ได้ความคิดมาจากพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก ของนาคารชุน (นาคารชุนเป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งของมหายาน มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๖๙๓-๗๙๓ ก่อนศังกราจารย์หลายร้อยปี)
 
     ศังกราจารย์ได้แนวคิดเรื่องมายา ศูนยตา และการแบ่งสัจธรรม เป็น ๒ ระดับคือ โวหารสัจจะ (โวหารสัจจะ เป็นคำเดิมในพระไตรปิฎก ตรงกับที่เราใช้ว่า สมมติสัจจะ) กับ ปรมัตถสัจจะ เป็นต้น มาจากคำสอนของนาคารชุน และนำมาใช้เป็นฐานแห่งปรัชญาของตน จนพวกฮินดูนิกายไวษณวะ หรือไวศณพ  (นับถือพระวิษณุคือพระนารายณ์) ซึ่ง เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายไศวะ เรียกศังกราจารย์ว่าเป็น  “ปรัจฉันนเพาทธะ”  แปลว่า  ชาวพุทธแอบแฝง หรือชาวพุทธซ่อนตัว
 
     เมื่อศังกราจารย์แข็งกล้าขึ้นมาแล้ว  ก็ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์  พยายามล้มล้างพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ได้เขียนผลงานเจาะจงโจมตีพระพุทธศาสนา  ถึงกับเรียกพระพุทธศาสนาว่าเป็นลัทธิไวนาศิกะ (ลัทธิที่ก่อความพินาศ) หรือสรรพไวนาศิกะ (ก่อความพินาศหมดสิ้น) และกล่าวว่า พระพุทธเจ้าสอนธรรมด้วยโทสะ เพื่อจะทำให้ประชาชนหลงผิด
 
     (ควรเทียบกับวิธีของพวกไวษณพที่บอกว่า  พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ซึ่งมาทำหน้าที่หลอกคนของอสูรคือพวกชาวพุทธ)
 
      ศังกราจารย์ได้เขียนวิจารณ์โจมตีคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย  ทั้งนิกายสรวาสติวาท นิกายวิชญาณวาท แต่พอถึงนิกายศูนยวาทของมาธยมิก เขากลับตัดบทเอาง่ายๆ ว่าไม่ควรแก่การพิจารณา หรือไม่คุ้มควรแก่การที่จะปฏิเสธ
 
     ในเรื่องนี้ L.M. Joshi อาจารย์ในมหาวิทยาลัยปัญจาบ   วิจารณ์ว่า อาจารย์ของอาจารย์ของศังกราจารย์ได้ความคิดมาใส่ปรัชญาของตนจากมหายาน ศังกราจารย์มาเจอปรัชญาแห่งลัทธิของตนเข้าในคำสอนมาธยมิกของนาคารชุน รู้ตระหนักอยู่ว่าตัวเป็นหนี้คำสอนแบบศูนยตานี้มากมาย ก็เลยทำเฉยผ่านไปเงียบๆ
 
     L.M. Joshi เรียกการกระทำของชาวฮินดู เช่น ศังกราจารย์นี้ว่า เป็น philosophical plunder (การปล้นสะดมทางปัญญา)
 
     Arnold J. Toynbee เขียนไว้ว่า
 
        “ศาสนาฮินดูฉกฉวยขโมยฉกฉวยขโมยพุทธปรัชญาที่แก่หง่อมแล้วไป  ก็เพื่อเอามาเป็นอาวุธ  ที่จะขับไล่คู่แข่งทางปรัชญา ออกไปเสียจากถิ่นกำเนิดที่ร่วมกันในสินธุโลก”  (Joshi, 338)
 
     นอกจากปฏิบัติการด้านคำสอน หรือปรัชญาแล้ว   ศังกราจารย์ได้ตั้งคณะสงฆ์ฮินดูขึ้นตามแบบพระพุทธศาสนา
 
     ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเดิม  เขาไม่มีนักบวชอย่างพระสงฆ์ของเรา  นักบวชก็คือพราหมณ์ที่อยู่บ้าน  มีลูกมีเมีย ครองเรือน  ศังกราจารย์ตั้งคณะสงฆ์ฮินดูขึ้นมาแล้ว  ก็ได้ตั้งวัดเลียนแบบพระพุทธศาสนาด้วย โดยตั้งวัดฮินดูแบบไศวะ (เรียกว่า “มัฐ”) ขึ้นใน ๔ ทิศ ทั้งใต้  (วัดศฤงเครี)  ตะวันออก (ปุรี) ตะวันตก (ทวารกะ) และเหนือ (พทรีนาถ)
 
     บางวัดก็ตั้งขึ้นซ้อนทับบนวัดพุทธศาสนาเก่า  เช่น  วัดที่พทรีนาถ  ซึ่งแม้แต่พระพุทธรูปของเดิมก็ยังมีอยู่
 
     เรื่องนี้สวามีวิเวกานันทะ (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๔๕) ผู้นำยุคปัจจุบันของฮินดูในนิกายของศังกราจารย์  ก็ยังได้กล่าวว่า
 
        “วัด (ฮินดู) ที่ชคันนาถนั้น  เป็นวัดพุทธเก่า  พวกเรายึดเอาวัดนี้และวัดอื่นๆ มา แล้วทำให้เป็นฮินดูเสีย   เรายังจะต้องทำอย่างนี้อีกมาก”   (Joshi, 351)
 
     อาตมาเคยเล่าที่นาลันทาแล้วว่า  พุทธศาสนายุคหลังนี้ พอเจริญมากขึ้น พระสงฆ์ก็ไปรวมตัวกันที่ศูนย์กลางใหญ่ๆ เช่นที่มหาวิทยาลัยนาลันทา  เป็นต้น ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์เป็นต้นแล้ว ก็มัวแต่ยุ่งอยู่กับเรื่องราวกิจการภายในของตัวเอง  ขาดความสัมพันธ์กับประชาชน และชนบทก็อ่อนแอถูกทอดทิ้ง
 
     ข้อนี้ก็อาจจะเป็นช่องว่างหนึ่งที่ว่า เมื่อวัดพุทธในชนบทอ่อนแอ พวกฮินดูก็เข้าครอง  เพราะเขาทำให้คล้ายๆ กันอยู่แล้ว ก็อาจจะเข้ามาช่วย  มาทำหน้าที่แทนบ้าง  อะไรบ้าง  ต่อมาก็กลืนหมดไป
 
     เรื่องที่ศาสนาฮินดูกลืนพระพุทธศาสนานี้ อาจแยกได้เป็น ๒ อย่าง คือ กลืนในทางหลักคำสอน และกลืนในทางสังคม   แต่จะอย่างไรก็ตาม รวมแล้วก็คือกลืน
 
     L.M. Joshi หลังจากศึกษาเรื่องทำนองนี้มากมายแล้ว ได้เขียน สรุปไว้ว่า
 
        “นักปราชญ์นักวิชาการมากหลายท่านรวมทั้ง  V.A. Smith, S. Radhakrishnan, B.M. Barua, P.C. Bagchi, R.C. Majumdar, R.C. Mitra, Sylvain Levi และท่านอื่นๆได้ แสดงความเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย  ก็คือ  การกลมกลืนของพุทธศาสนาเข้ากับศาสนาฮินดู แบบทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป  อย่างแทบไม่รู้ตัว”  (Joshi, 322)
 
     อย่างไรก็ตาม เหตุปัจจัยไม่ใช่มีเท่านี้ การกำจัดด้วยกำลังโดยวิธีรุนแรง ก็เป็นเหตุที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน
 
     นอกจากนั้น การที่พระสงฆ์มารวมศูนย์อยู่ในเมืองใหญ่ๆ   ต่อมา  พอมุสลิมเตอร์กยกทัพมากำจัด เมื่อฆ่าและทำลายที่ศูนย์กลางหมดแล้ว   ชนบทก็ไม่มีเหลือ  ก็เลยหมดกำลัง  อันนี้ก็เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งแห่งความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนา
 
     แต่ก่อนที่มุสลิมเตอร์กจะยกทัพเข้ามาครั้งสุดท้าย ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ พระพุทธศาสนาในอินเดียยังมีเวลาที่จะเสื่อมอีกนาน
 
     ขอย้อนกลับมาพูดถึงว่า เมื่อศังกราจารย์ได้ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมา เลียนแบบพระพุทธศาสนานั้น ลองมาเทียบเวลากันดูว่า ถ้ำของฮินดูก็สร้างขึ้นในช่วงเวลาระยะนั้น เป็นไปได้ไหมว่า เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กันกับการที่ฮินดูได้ทำการเลียนแบบพระพุทธศาสนา นี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน อาจจะเชื่อมโยงกันได้
 
     ตอนนี้ขอแทรกเรื่องศังกราจารย์อีกนิดหนึ่งว่า  โปรเฟสเซอร์   เซงกะกุ มาเยดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เขียนไว้ใน Encyclopaedia Britannica (1988) หัวข้อเรื่อง ศังกราจารย์ ตอนหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจว่า
 
        “ศังกราจารย์เที่ยวเผยแพร่คำสอน โต้วาทะไปทั่วอินเดีย  เขาไม่ยอมเข้าไปสอนชาวเมือง เวลานั้นพุทธศาสนายังมีกำลังมากอยู่ในเมือง  แม้ว่าจะเริ่มเสื่อมลงแล้ว และศาสนาเชนก็แพร่หลายในหมู่พ่อค้าวาณิช ชาวเมืองก็ยังแสวงหาความสุขสะดวกสบาย  พวกนักเสพสุขอยู่กันในเมือง ศังกราจารย์เที่ยวเผยแพร่คำสอนแก่นักบวช และปัญญาชนตามท้องถิ่นหมู่บ้าน”  (vol.10, p. 419)
 

     ข้อความนี้ น่าจะเอามาโยงกับสภาพฝ่ายพุทธศาสนาที่เล่าข้างต้น ว่า พระสงฆ์มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางใหญ่ๆ และการที่ศังกราจารย์ตั้งวัดฮินดูซ้อนทับวัดพุทธเดิม


- เปิด “วัดพระราม” เทวสถานบนพื้นที่ขัดแย้งฮินดู-มุสลิม

https://www.prachachat.net/world-news/news-1484339

 


Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2567 12:23:48 น. 0 comments
Counter : 106 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space