กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
12 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์



๙  ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์

ลุมพินี ในเขตประเทศเนปาล

เสาร์ที่ ๑๘ ก.พ. ๒๕๓๘ 


     เราได้เดินทางมาถึง  สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔  เป็นที่สุดท้ายในการเดินทางของเรา   แต่เป็นลำดับแรกในเหตุการณ์แห่งพุทธประวัติ  คือ สถานที่ประสูติ  ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงให้ทราบด้วยศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกที่ได้ประดิษฐานไว้  มีข้อความเพียงสั้นๆ ว่า

        "พระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกได้ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จมา และทรงกระทําการบูชา เพราะว่าพระพุทธศากยมุนีได้ประสูติ ณ ที่นี้

        "ได้โปรดให้สร้างรั้วศิลา และโปรดให้ประดิษฐานเสาศิลาจารึกขึ้นไว้"

     ต่อจากนี้มีข้อความอีกเล็กน้อย  ศิลาจารึกนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุด ส่วนหลักฐานอื่นๆ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาภายหลังเป็นส่วนมาก

     พวกอิฐต่างๆ  ที่กองอยู่นั้น  อาจจะเป็นพวกสถูปบ้าง  เป็นซากของกุฎิบ้าง   อีกอย่างหนึ่งก็คือ วิหารมายาเทวี  ที่อยู่ในวงล้อมผ้าเหลืองที่เขากำลังจัดการขุดแต่ง  เมื่ออาตมามาครั้งก่อนโน้น  เขายังไม่ได้รื้อ  ยังเข้าไปนมัสการได้   แต่เป็นวิหารที่ไม่ใช่ของชาวพุทธเอง  คือ เป็นของชาวฮินดูสร้างขึ้น  เท่าที่ทราบว่าเป็นของภายหลัง

ฯลฯ 
 



 


235 คติจากสังเวชนียสถาน


     ที่ว่ามานั้นเป็นเรื่องของสถานที่ ซึ่งก็มีความสําคัญ เพราะว่าเราต้องการให้เกิดผลในทางจิตใจ คือให้เป็นสังเวชนียสถานอย่างแท้จริง หมายถึงเป็นที่ให้เกิด สังเวช ในความหมายว่า เป็นเครื่องกระตุ้นเตือน ใจให้เกิดศรัทธาและปัญญา

     ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อเรามาในสถานที่  ที่เรียกว่าสังเวชนียสถาน และสถานที่สําคัญในทางพระพุทธศาสนาทุกแห่ง สิ่งที่เราควรจะได้โดยสรุป ก็มี ๒ อย่าง คือ ศรัทธา กับ ปัญญา

     บางท่านก็อาจจะได้เฉพาะศรัทธา คือ ความเลื่อมใสและมั่นอกมั่นใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเกิดปีติ  มีความปลาบปลื้มใจที่เป็นผลจากศรัทธานั้น  นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งบางทีไม่ได้คือ ปัญญา

     อย่างไรก็ดี   เมื่อได้ศรัทธาไป ก็ยังเรียกว่าได้ผลบ้าง  แต่ไม่สมบูรณ์  ถ้าจะให้ดีก็ควรจะได้ปัญญาด้วย อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า ปัญญาที่เกิดขึ้นนี้  หมายถึง

        ปัญญาอย่างที่ ๑  คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นคติธรรมดาของสังขาร อันได้แก่ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์  เป็นอนัตตา ตามหลักพระไตรลักษณ์  ซึ่งจะทำให้เราเห็นความจริงแล้วโน้มธรรมมาปฏิบัติในใจ  ปัญญานี้จะโยงไปสู่ความสว่างชัดในธรรมดาของสังขาร  พร้อมทั้งการที่จะเป็นอยู่ และทําการทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท

        ปัญญาอย่างที่ ๒  คือ จากเหตุการณ์และสถานที่นั้นๆ ก็เชื่อมโยง ต่อไปให้เราระลึกถึงคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคําสอนเหล่านั้น ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับสถานที่แต่ละแห่ง ตลอดจนพระธรรมเทศนาต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในโอกาสนั้นๆ

     ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องทางปัญญา ซึ่งจะได้มากได้น้อย ก็อยู่ที่การรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักคิด รู้จักพิจารณา

     อย่างเราเดินทางมาครบ ๔ แห่งนี้  ความหมายของสังเวชนียสถานแต่ละแห่งนั้น ก็มีต่างๆ กัน ถ้าจะประมวลสรุปแล้ว เราก็ได้แง่คิดหลายแบบ จะยกตัวอย่างง่ายๆ


235 ทำประโยชน์ของตนให้ถูกให้ดี  จะเป็นที่พึ่งของโลกได้   

     เริ่มต้น สังเวชนียสถาน ๔ นั้น เราเห็นชัดว่า แห่งแรก  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประสูติ คือ การเกิด แล้วต่อไป แห่งสุดท้าย เกี่ยวกับการปรินิพพาน ก็คือ การตาย

     สองอย่างนี้การเกิด กับ การตาย  เป็นของสามัญสําหรับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะพระพุทธเจ้า ใครก็ตามที่มีชีวิต ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเกิด แล้วต้องสิ้นสุดด้วยการตาย

     แต่พระพุทธเจ้าทรงมีเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ ระหว่างนั้นท่ามกลางระหว่างประสูติ กับ ปรินิพพาน มี ตรัสรู้ กับ แสดงปฐมเทศนา อันเป็นส่วนพิเศษที่ทําให้พระชนมชีพ หรือชีวิตของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ต่างจากคนทั้งหลาย

     การตรัสรู้นั้น ถ้ามองความหมาย ก็คือการที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุจุดหมายที่ทรงประสงค์ เป็นความสําเร็จของพระองค์ทําพระชนมชีพของพระองค์เองให้สมบูรณ์ เรียกว่า เป็นการทําประโยชน์ของตนเอง ให้เสร็จสิ้น

     ต่อมา  การแสดงปฐมเทศนา คือการบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ การที่พระองค์มีอะไรมอบไว้ให้แก่ชาวโลก

     ประโยชน์ ๒ ประการ นี้   เรียกว่าหลัก อัตตัตถะ และปรัตถะ

     การตรัสรู้   เป็นการบรรลุความสมบูรณ์แห่งอัตตัตถะ หรืออัตตหิตะ ได้แก่  ประโยชน์ตน

     ส่วนการแสดงปฐมเทศนา เป็นจุดเริ่มต้นของการบาเพ็ญปรัตถะหรือปรหิตะ คือ ประโยชน์เพื่อผู้อื่น

     ในการปฏิบัติธรรมนั้น หลักธรรมคู่นี้สําคัญมาก  พระพุทธเจ้าทรงย้ำบ่อยๆว่า ให้บําเพ็ญทั้งอัตตัตถะ ประโยชน์ตน และปรัตถะ  ประโยชน์ผู้อื่น

     ทั้งสองอย่างนี้เนื่องกัน  ผู้ที่จะบําเพ็ญประโยชน์ให้ผู้อื่นได้อย่างดี  ก็ต้องพัฒนาตน ยิ่งเราบรรลุประโยชน์ตนมากขึ้นไปเท่าไร  เราก็ยิ่งสามารถทําประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้มากขึ้นเท่านั้น

     ความดีงาม  ความสามารถ  ความมีสติปัญญา  ที่เกิดจากการพัฒนาตนของเรานี้แหละ คือประโยชน์ตนที่แท้จริง

     ถ้าเราได้พัฒนาตนเอง  ทําประโยชน์ตนให้เจริญงอกงาม โดยมีสติปัญญาความสามารถมากขึ้น  ก็เท่ากับเป็นความดีงามความประเสริฐแห่งชีวิตของเราเอง พร้อมกันนั้น เราก็สามารถที่จะบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้ดีขึ้นด้วย

     ทั้งนี้เพราะว่า  บุคคลที่มีสติปัญญา  มีความสามารถ  มีความสุข  มีชีวิตที่สงบแล้ว  จึงจะสามารถบําเพ็ญประโยชน์  ช่วยเหลือผู้อื่น เผื่อแผ่  ความดีงาม  สติปัญญา  ความรู้และความสุขไปให้แก่คนอื่นได้เต็มที่

     เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า ที่ทรงเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว คือ ได้พัฒนาพระองค์เองให้มีคุณสมบัติทั้งปวงสมบูรณ์แล้ว จบกิจแห่งการเจริญศีลสมาธิปัญญา พร้อมด้วยพระปัญญา มหากรุณา และวิสุทธิคุณ มีความสุขเป็นคุณสมบัติประจําพระองค์อยู่แล้วตลอดเวลา  ไม่ต้องแสวงหาความสุขที่ไหน และไม่มีอะไรที่จะต้องทําเพื่อพระองค์เองอีกต่อไป  จึงอุทิศพระชนมชีพทั้งหมดให้แก่การบําเพ็ญพุทธกิจ  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเพียงอย่างเดียว  จนถึงที่สุดแห่งพุทธกาล

     ผู้ใดยังไม่บรรลุประโยชน์ตน ผู้นั้นก็ยังทําประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ไม่เต็มที่ด้วยเหตุ  ๒ ประการ คือ

     ด้านหนึ่ง  ยังมีความสามารถที่จะทําประโยชน์นั้นได้ไม่สมบูรณ์ เช่น ยังพัฒนาตนให้มีความสามารถต่างๆ ได้ไม่เพียงพอ และไม่รู้ชัดเจน จะแจ้งลงไปแม้แต่ว่าอะไรจะเป็นประโยชน์จริงแท้หรือไม่

     อีกด้านหนึ่ง  ยังมีห่วงกังวลเกี่ยวกับตนเอง อย่างน้อย  แม้แต่ไม่ห่วงสุขทุกข์ของตัวแล้ว ก็ยังกังวลกับการที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง

     ผู้ที่จะช่วยคนตกน้ำ   ถ้าตัวเองว่ายน้ำไม่เป็น  ถึงจะมีใจการุณย์ อย่างยิ่ง จะช่วยเขาได้อย่างดีก็แค่หาวัสดุอุปกรณ์มาฉุด ดึง ลาก พา จูง หรือโยนให้ซ้ำร้าย  ถ้าช่วยไม่เป็น กลับก่ออันตราย หรือไม่ปลอดภัย ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนที่ตนคิดจะช่วยนั้น

     เพราะฉะนั้น ประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) คือความพร้อมสมบูรณ์ของตนเอง หรือความมีตนที่ได้พัฒนาอย่างดีเต็มที่แล้ว จึงเป็นฐานของการบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น

     ด้วยเหตุนี้  จึงมีคุณสมบัติของพระอรหันต์ที่ว่า เป็นผู้ได้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว จนกระทั่งไม่ต้องทําอะไรเพื่อตัวเองอีก เพราะมีความสมบูรณ์ในตัว ทั้งสติปัญญา  ทั้งความสุข ความสงบ ความเป็นอิสระ

     เมื่อมีภาวะที่พัฒนาดีแล้วเหล่านี้พร้อมในตัว  ก็นําเอาความสุข  ความเป็นอิสระเป็นต้นนี้ไปเผื่อแผ่ แจกจ่ายแก่ผู้อื่นด้วยเมตตากรุณาต่อไป

     อย่างไรก็ตาม พึงทราบว่า  การทําประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น ท่านถือว่า เป็นการบําเพ็ญประโยชน์ตน คือเป็นอัตตัตถะอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการพัฒนาตนให้มีทั้งความดีงาม และความสามารถมากขึ้น

     ยิ่งเราพยายามช่วยเหลือ  ทําประโยชน์แก่ผู้อื่นเท่าใด ไม่ว่าจะในระดับบุคคล หรือในระดับชุมชนสังคมส่วนรวม  เราก็ยิ่งมีความดีงาม และแกร่งกล้าสามารถมากขึ้นเท่านั้น

     การช่วยเหลือผู้อื่น หรือทําประโยชน์ส่วนรวม  จึงเป็นวิธีปฏิบัติ  ส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้สมบูรณ์

     เรื่องนี้เห็นได้ง่ายๆ ดังที่เรามีพระโพธิสัตว์ไว้เป็นแบบอย่าง

     เรารู้กันดีว่า  พระโพธิสัตว์  คือ  ท่านที่กำลังบำเพ็ญบารมี   การบำเพ็ญบารมี  มีหลายข้อหลายขั้น แต่ส่วนสําคัญก็คือการสละตนเอง ทั้งทรัพย์ อวัยวะ  ตลอดถึงชีวิต เพื่อช่วยเหลือทําประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อย่างเต็มที่

     การบําเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหมดนี้ ก็เป็นอัตตัตถะ คือ เป็นการพัฒนาตนเอง ให้มีคุณสมบัติความดีงามความสามารถเพิ่มพูน จนเต็มเปี่ยมสมบูรณ์พอแก่การบรรลุโพธิญาณ ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า


     จึงเป็นความประสานกัน ระหว่างอัตตัตถะ กับ ปรัตถะ หรือ ระหว่างประโยชน์ตน กับ ประโยชน์ผู้อื่น ในระดับต้น หรือขั้นในระหว่าง คือ สําหรับคนทั่วไป  จนถึงพระโพธิสัตว์ ที่เหมือนกับว่าการทําปรัตถะ เป็นส่วนหนึ่งของอัตตัตถะ  แต่ที่จริงก็คืออิงอาศัย และหนุนเสริมกันไป

     ความประสานกัน ระหว่างอัตตัตถะกับปรัตถะ หรือระหว่างประโยชน์ตนกับประโยชน์ผู้อื่นนั้น มาบรรจบสมบูรณ์ ในขั้นสุดท้าย หรือในระดับสูงสุด คือท่านผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ได้แก่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งจบกิจแห่งการพัฒนาตนแล้ว ไม่มีอะไรจะต้องทําเพื่อตนต่อไปอีก อัตตัตถะที่สมบูรณ์หรือเต็มแล้วนั้น จึงมีไว้เพื่อให้สามารถทําปรัตถะคือประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้อย่างดีที่สุดสืบไป

     พูดรวมตลอดว่า 

        > เมื่อพัฒนาตัวเองให้มีอัตตัตถะมากขึ้น ก็มีความพร้อมความสามารถที่จะทําปรัตถะบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มากขึ้น

        > ยิ่งบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นทําปรัตถะมากขึ้น ตนเองก็ยิ่งพัฒนามีสติปัญญาความรู้ความดีงามความสามารถที่เป็นอัตตัตถะมากขึ้น กระบวนธรรมดําเนินไปอย่างนี้จนในที่สุด

        > เมื่อพัฒนาตนจนมีอัตตัตถะเต็มบริบูรณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะทําปรัตถะได้โดยสมบูรณ์

     เพิ่มอีกหน่อยว่า  ผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์ตน คือ พัฒนาตนให้มีอัตตัตถะพร้อมดีแล้ว ก็เป็นอัตตนาถ คือพึ่งตนได้

     ผู้ที่ทําประโยชน์แก่ผู้อื่นบําเพ็ญปรัตถะได้ผล  ก็เป็นปรนาถ คือ เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่น

     ถ้ามีอัตตัตถะเต็ม เป็นอัตตนาถสมบูรณ์แล้ว  ทําปรัตถะได้เต็มที่ คือเป็นพระพุทธเจ้า ก็เป็นโลกนาถ คือเป็นที่พึ่งของชาวโลกทั้งหมด

     ทุกคนควรเป็นทั้งอัตตนาถ และปรนาถ โดยให้ความเป็นอัตตนาถ และปรนาถ นั้น ประสานอิงอาศัยเสริมหนุนกัน ตามหลักการที่พระโลกนาถได้ตรัสแสดงไว้

     สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และประกาศปฐมเทศนา เป็นเครื่องหมายของการที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว  ซึ่งความสมบูรณ์แห่งอัตตัตถะ คือ การบําเพ็ญประโยชน์ตนจนพัฒนาพระองค์เองสมบูรณ์แล้ว และการที่ทรงทําประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นการบําเพ็ญปรัตถะ ถึงขั้นที่ทรงเป็นพระโลกนาถอย่างที่ได้กล่าวมา

     ฉะนั้น  สังเวชนียสถาน ๔ จึงเป็นเครื่องเตือนใจชาวพุทธว่า ท่ามกลางคติธรรมดาแห่งชีวิตที่เราเกิดมาจนกระทั่งตายไป เราควรจะได้ทํากิจ ๒ อย่างนี้ให้สําเร็จ

     กล่าวคือ สําหรับชีวิตของตัวเอง เราก็ควรจะเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม ประเสริฐ พัฒนาตัวเราให้สมบูรณ์ที่สุด  พร้อมกันนั้น เราก็ควรจะมีอะไร ให้แก่โลกด้วย โดยบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่สังคม

     นี่เป็นคติธรรมอย่างหนึ่งที่ควรจะได้จากสังเวชนียสถาน ๔ อัน เป็นความหมายอย่างง่ายๆ นอกจากนั้น ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ดังได้กล่าวไปแล้ว

 




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2567
0 comments
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2567 20:49:03 น.
Counter : 97 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space