กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
14 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา


 
 
 235 คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา


     ในเรื่องโยนิโสมนสิการนี้  สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของความคิด  ได้แก่  การรู้จักคิด  รู้จักพิจารณา

     บางทีเราไปสอนกันว่า ในทางพุทธศาสนา ในการปฏิบัติธรรมเช่นอย่างวิปัสสนานี่ไม่ให้คิด การพูดอย่างนี้จะต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจจะพลาดได้

     พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้   ก็ด้วยการคิด  แต่หมายถึง  การรู้จักคิด คือ ต้องคิดเป็น  อย่างที่ยกตัวอย่างเมื่อกี้นี้ พระพุทธเจ้าทรงคิดตลอดเลย เช่น ในการพิจารณาสภาพจิตของพระองค์เอง  ทรงแยกความคิดเป็นฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล ทรงพิจารณาว่ามันเกิดขึ้นแล้ว มีผลดี หรือผลร้าย และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร  เพราะอะไรเป็นปัจจัย พระองค์คิดทั้งนั้นเลย แต่คิดคู่ไปกับการตรวจสอบสืบค้นของจริง


     เพราะฉะนั้น  ต้องแยกว่า  ความคิด มี ๒ อย่าง คือ ความคิดปรุงแต่ง กับ ความคิดเชิงปัญญา  เช่น  ที่เรียกว่า  สืบสาวหาเหตุปัจจัย
 
     เบื้องต้น   ความคิดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำให้เราคิด ทรงแนะนำให้เราละเสีย ก็คือ ความคิดปรุงแต่ง
 
     ความคิดปรุงแต่ง  คือคิดอย่างไร  คือความคิดด้วยอำนาจความยินดี ยินร้าย ใต้อิทธิพลของความชอบ ชัง
 
     หมายความว่า  คนเรานี้ได้ประสบอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  เวลาประสบอารมณ์นั้น นอกจากการรับรู้แล้ว  ก็จะมีสิ่งหนึ่ง  คือความรู้สึกที่เรียกว่า  เวทนา  สิ่งใดที่เข้ามาแล้วเป็นที่สบาย   เรียกว่า  เกิดสุขเวทนา  อันใดที่ไม่สบาย เรียกว่าเกิดทุกขเวทนา
 
     สิ่งทั้งหลายที่เรารับรู้ทุกอย่าง  จะมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วย   เวลาเราเห็น  ไม่ใช่เฉพาะว่าเห็นรูปร่าง  เห็นสีเขียว  สีขาว  สีดำ  สีแดง   รูปร่างกลม  ยาว เหลี่ยมเท่านั้น  ทุกครั้งที่เราได้ดู  ได้เห็นนั้น  เรามีความรู้สึกด้วย คือมีความรู้สึกสบาย  ไม่สบาย  อันนี้แหละเป็นตัวสำคัญ
 
     ความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนานี้  จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยา  ที่เรียกว่า  ความชอบ หรือไม่ชอบ หรือที่ภาษาเก่าของพระเรียกว่า “ยินดี ยินร้าย”  ถ้าเป็นสุขเวทนา  สบาย  เราก็ชอบใจ หรือยินดี   ถ้าเป็นทุกขเวทนา  เราก็ไม่ชอบใจ หรือยินร้าย
 
     เราต้องแยกให้ได้ ๒ ตอน ที่ว่า สบาย กับ ยินดี หรือสบาย แล้วชอบใจ  นี่คนละตอนกัน
 
     ตอนสบายเป็นเวทนา  เป็นฝ่ายรับ   ยังไม่ดีไม่ชั่ว  ยังไม่เป็นกุศล หรืออกุศล   สบาย  ไม่สบาย  สุข  ทุกข์  อันนี้ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล  ยังเป็นกลางๆ เป็นเวทนา
 
     แต่เมื่อไรเกิดปฏิกิริยาว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ  ยินดี หรือ ยินร้าย  อันนี้  เรียกว่าเกิดตัณหา  แล้ว ตัณหานี้เป็นปฏิกิริยา  เป็นสภาพจิตที่เป็นสังขารแล้ว  คือ  ก้าวจากเวทนาไปเป็นสังขารแล้ว
 
        235 สุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย เป็น เวทนา    
 
        235 แต่ยินดี-ยินร้าย  ชอบใจ-ไม่ชอบใจ เป็น สังขาร 
 
     เมื่อเกิดความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ คือเกิดตัณหาขึ้นมาแล้ว  จากนี้เราจะคิด  ถ้าชอบใจ  เราคิดตามอำนาจความชอบใจ  ถ้าไม่ชอบใจเรา  ก็คิดตามอำนาจความไม่ชอบใจ  ความคิดอย่างนี้  เรียกว่า   ความคิดปรุงแต่ง  จะเกิดความเอนเอียง จะเกิดปัญหาแก่จิตใจ  จะมีตัวตนที่รับกระทบอย่างนั้นอย่างนี้
 
     แต่ถ้าเราคิดเชิงปัญญา  คือ  พิจารณาว่าอะไรเกิดขึ้นจึงเป็นอย่างนี้  อันนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร  สืบสาวหาเหตุปัจจัย อันนี้ไม่ใช่คิดปรุงแต่ง   อันนี้เป็นการคิดเชิงปัญญา  เช่น  คิดสืบสาวตามหลักปฏิจจสมุปบาท  เป็นต้น  เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงคิด  ในตอนที่ตรัสรู้
 
     เพราะฉะนั้น   ต้องแยกให้ถูกว่า ความคิดมี ๒ แบบ  เราไม่ควรจะคิดเชิงปรุงแต่ง เพราะจะทำให้
 
        ๑. ไม่เกิดปัญญา  ไม่เห็นตามเป็นจริง  แต่เห็นตามอำนาจความยินดียินร้าย  เป็นการสร้างภาพ และเกิดความลำเอียงไปตามความชอบชัง
 
        ๒. เกิดโทษต่อชีวิตจิตใจ  ทำให้จิตใจขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแคบ บีบคั้น เร่าร้อน เครียด เป็นต้น พูดสั้นๆ ว่าเกิดทุกข์รวมทั้งปัญหานานา ทั้งแก่ตนและกับผู้อื่น ที่เนื่องจากโลภะ โทสะ และโมหะ
 
     อนึ่ง   ปัญหาและความสับสนในเรื่องนี้   เกิดขึ้นจากเหตุอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของถ้อยคำ หรือ การใช้ถ้อยคำในความหมายเฉพาะของแต่ละท่าน คือ อาจารย์บางท่าน  ใช้คำว่า ความคิด  นั้น ในความหมายอย่างเดียว ว่า หมายถึงความคิดปรุงแต่งเท่านั้น   เมื่อพูดว่า ความคิด  ก็คือ ความคิดปรุงแต่ง นั่นเอง
 
     ในกรณีอย่างนี้   ก็เป็นเรื่องของผู้อ่าน หรือ ผู้ศึกษา   ที่จะต้องเข้าใจถ้อยคำนั้นไปตามความหมายที่ท่านต้องการ และไม่นำไปสับสนกับความหมายในที่อื่น
 
     ที่ยกเรื่องนี้มาพูด เพราะว่าเป็นคติที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
 
 


Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2567 19:55:25 น. 0 comments
Counter : 89 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space