กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
11 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา



 
 
235 เส้นทางพุทธกิจ:  พุทธคยา ถึง กุสินารา
 

     เรื่องราวในพุทธประวัติที่เกี่ยวกับสังเวชนียสถานนี้   เราควรทราบไว้ เพื่อเป็นเครื่องเจริญศรัทธา  และประดับปัญญาบารมี
 
     ในตอนที่ผ่านมา ได้เสียโอกาสไปบ้าง เพราะบางแห่งธรรมชาติไม่อำนวย คือสถานที่แสดงปฐมเทศนามีฝนลูกเห็บ  ก็เลยไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ควร  อาตมาก็จะรวบรัดเอามาพูดสรุปในที่นี้ เรื่องที่พูดก็จึงมีเนื้อหามากมาย    แต่เวลาจํากัด   ก็เลยต้องมาคิดว่า จะพูดอย่างไรให้เหมาะแก่กาลเวลานี้
 
     อย่างไรก็ตาม   อยากจะท้าวความสักนิดหนึ่ง   เพราะว่าสถานที่นี้   เป็นที่ปรินิพพาน  เป็นที่จบท้าย  การแสดงธรรมก็เหมือนกับเป็นการสรุปเรื่องราว  ของการที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกมา คือเกี่ยวเนื่องด้วยสถานที่ทั้งหมดที่เราได้ผ่านมาแล้ว ขอประมวลความอีกนิดหน่อย
 
     พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยาโน้น   ไกลออกไป   ที่ได้บอกเมื่อกี้นี้ว่า ๒๕ โยชน์ คือ ประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ณ สถานที่นั้น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  ก็ได้เสด็จจาริกมาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่เมืองพาราณสี  และทรงแสดงปฐมเทศนา
 
     ได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธองค์เสด็จเดินทางมาภายในเวลาที่มีอยู่ประมาณ ๑๑ วัน   แต่ก่อนที่จะทรงเดินทางนั้น พระองค์ได้เสวยวิมุตติสุขก่อนรวม ๗ สัปดาห์
 
     เมื่อตรัสรู้นั้น เป็นวันเพ็ญเดือน ๖ จากวันเพ็ญเดือน ๖ นี่นับมาอีก ๔๙ วัน แล้วก็มีเวลาสำหรับเดินทางอีก ๑๑ วัน รวมเป็น ๖๐ วัน  เท่ากับ ๒ เดือน ก็มาพอดีกลางเดือน ๘
 
     เป็นอันว่า  ตรัสรู้กลางเดิอน ๖ เสด็จมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันกลางเดือน ๘ ก็ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่เบญจวัคคีย์ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรวันเพ็ญเดือน ๘   เรียกว่า อาสาฬหบูชา  คือ วันแสดงปฐมเทศนา ตรงกับลำดับประเพณีที่เราทราบกันดีอยู่
 
 
     พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ณ ที่นั้นแล้ว ก็ได้บําเพ็ญพุทธกิจ เสด็จจาริกแสดงธรรมอีกเป็นเวลา ๔๕ พรรษา

     ระหว่างนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปจําพรรษาหลายแห่ง จะลองสรุป มาดูกัน

     พรรษาแรก  ก็คือที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่แสดงปฐมเทศนา ซึ่งมีความสําคัญมาก คือ

        ๑. แสดงธรรมครั้งแรก  เป็นปฐมเทศนา เรียกว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

        ๒. ได้ปฐมสาวก  คือพระสาวกองค์แรก ได้แก่  พระอัญญาโกณฑัญญะ ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา และ

        ๓. ทําให้เกิดมีสาวกที่เป็นองค์แรกของพระสงฆ์ด้วย จึงนับว่าเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ กล่าวคือ เดิมนั้น มีแต่พระพุทธเจ้า และ พระธรรม สองอย่าง พอพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บวช ก็ทําให้เกิดมีองค์แรกในสงฆ์  เรียกว่า   เป็นวันที่เกิดสังฆรัตนะขึ้นในโลก

     ต่อจากนั้น เบญจวัคคีย์บวชตามกัน จนกระทั่งครบ และพระพุทธเจ้าก็ทรงจําพรรษาแรก ที่อิสิปตนมฤคทายวันนี้   มีสิ่งแรกๆ หรือมีที่หนึ่งเกิดขึ้นที่นี่หลายอย่าง

     จากพรรษาที่หนึ่งแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ ทรงบําเพ็ญพุทธกิจจนครบ ๔๕ พรรษา

     ในระหว่าง ๔๕ พรรษานี้  ก็มีสถานที่จําพรรษามากมาย  แต่โดยสรุปแล้ว มีที่ที่พระพุทธเจ้าจำพรรษามากอยู่ ๓ - ๔ แห่ง

     เริ่มแรก ก็เมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นแห่งที่พระพุทธเจ้าประดิษฐานพระพุทธศาสนา ที่เราผ่านมาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จจําพรรษาที่นั่น ๕ พรรษาด้วยกัน คือ พรรษาที่ ๒-๓-๔, ๑๗ และ ๒๐ การที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เมืองพาราณสีมาแสดงปฐมเทศนา ก็เพื่อโปรดเบญจวัคคีย์เท่านั้น หลังออกพรรษาแล้วก็เสด็จไปราชคฤห์


     ความจริง  พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยา  ก็อยู่แถบเมืองราชคฤห์ ใกล้ทางโน้นอยู่แล้ว แต่เพราะทรงระลึกถึงเบญจวัคคีย์ที่เคยปฏิบัติพระองค์ และทรงเห็นว่า เป็นผู้ที่มีพื้นความรู้ความเข้าใจ  อย่างที่เรียกว่า  มีธุลีในดวงตาน้อย และเป็นผู้มุ่งต่อการแสวงหาสัจธรรม พระองค์จึงได้เสด็จมาโปรด

     อีกอย่างหนึ่ง ก็เหมือนกับเป็นการสร้างฐานความมั่นใจแก่คนทั้งหลายในความตรัสรู้ของพระองค์  เพราะว่าถ้าพระองค์ปล่อยเบญจวัคคีย์ไว้  มองในแง่หนึ่ง  เบญจวัคคีย์นี้  สละละพระองค์มาด้วยความเข้าใจ ว่าพระโพธิสัตว์คลายความเพียร เลิกบําเพ็ญทุกรกิริยา  หมดทางตรัสรู้ เสียแล้ว  ถ้าพระองค์ปล่อยทิ้งไว้เบญจวัคคีย์ก็อาจจะไปเที่ยวพูดว่า ท่านผู้นี้เราเคยไปอยู่ด้วย เราเห็นท่านปฏิบัติมาแล้ว ท่านไม่ตรัสรู้หรอก ไม่มีทาง


     พระองค์เสด็จมาโปรดเบญจวัคคีย์  ทําให้เบญจวัคคีย์ยอมรับ และตรัสรู้ตามแล้ว เบญจวัคคีย์ก็กลายเป็นสาวกที่ยิ่งสร้างมั่นใจให้แก่ประชาชนในการประกาศพระศาสนา

     ดังนั้น  การที่พระองค์เสด็จมาพาราณสี  ณ ปาอิสิปตนะนี้   พุทธกิจก็คือมาโปรดเบญจวัคคีย์

     เสร็จแล้วก็ได้โปรดท่านผู้อื่นอีกบ้าง โดยเฉพาะบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี  ชื่อยสะ และเพื่อนของยสะอีก ๕๔ คน ทําให้เกิดมีพระอรหันต์ขึ้นเป็นรุ่นแรกที่เมืองนี้  รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วยเป็น ๖๑ องค์

     จากนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงส่งพระสาวกชุดแรก ๖๐ องค์ นี้  ออกประกาศพระศาสนา กระจายออกไปจากเมืองพาราณสีนี่แหละ

     จากนั้น พระพุทธเจ้าก็เสด็จสู่ราชคฤห์ ทรงแวะสํานักของชฎิลใหญ่ชื่ออุรุเวลกัสสป โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง (อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป) พร้อมทั้งบริวาร รวมเป็น ๑,๐๐๐ องค์ เข้ามาอุปสมบท เป็นพระภิกษุทั้งหมด

     แล้วเสด็จนําเข้าเมืองราชคฤห์  ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา โดยมีพระเจ้าพิมพิสารป็นสาวกองค์สําคัญ ในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ และได้ถวายวัดแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นที่ที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ เป็นที่มาของพิธีมาฆบูชา ดังที่เราได้ผ่านมา แล้ว และทรงจําพรรษาที่ ๒ ที่ราชคฤห์นี้ และยังได้อัครสาวก คือ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลาน์ด้วย

     จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงจําพรรษาที่เมืองราชคฤห์ต่อเป็นพรรษา ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ แล้วจึงเสด็จไปยังที่อื่นๆ และจําพรรษาที่โน้นบ้าง ที่นี่บ้างเรื่อยมา

     มีสถานที่สำคัญที่จำพรรษามากที่สุด คือที่สาวัตถี ณ วัดเชตวัน และบุพพาราม   อันเป็นเรื่องที่ สืบเนื่องมาจากการที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี  ได้เดินทางไปที่ราชคฤห์  เป็นการขยายพุทธกิจโดยเริ่มต้นจากราชคฤห์ นั่นเอง

     อนาถบิณฑิกเศรษฐี   นั้น   เดินทางไปเยี่ยมเยือนราชคหเศรษฐี  คือ เศรษฐีแห่งเมืองราชคฤห์ที่เป็นเพื่อนกัน จึงไปพักที่เมืองราชคฤห์ แล้วก็เลยได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม แล้วก็ได้ความเลื่อมใส

     เมื่อกลับไปสู่สาวัตถีแล้ว  อนาถบณฑิกเศรษฐี  กีไปสร้างวัดเชตวันขึ้นที่เมืองสาวัตถี  และนิมนต์พระพุทธเจ้าไปประทับ  ต่อมาก็ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับที่พระเชตวันนี้มากที่สุด

     ที่เชตวันนั้นเอง  ต่อมา  นางวิสาขามหาอุบาสิกาคนสําคัญ  มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามาก ก็ไปสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งไม่ไกลกัน ในเมืองเดียวกัน คือ เมืองสาวัตถี วัดของนางวิสาขาชื่อว่าวัดบุพพาราม พระพุทธเจ้าประทับที่วัดนี้ไม่น้อยเหมือนกัน

     ครั้งแรก   เสด็จไปประทับที่วัดพระเชตวัน  ในพรรษา ที่ ๑๔ จากนั้น  ก็เสด็จไปที่อี่น  แล้วจึงย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดเชตวัน  กับ  วัดบุพพาราม  ตั้งแต่  พรรษาที่ ๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ ตลอดเลย

     เป็นเวลาทั้งหมดที่จําพรรษาในเมืองสาวัตถีนั้น ๒๕ พรรษา แบ่งเป็นที่พระเชตวัน ๑๙ พรรษา และที่บุพพารามของนางวิสาขา อีก ๖ พรรษา

     จากนั้น   ก็เสด็จบนเส้นทางปรินิพพาน  โดยไปจําพรรษาสุดท้าย คือ พรรษาที่ ๔๕ ที่เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลีพรรษาสุดท้ายนี่แหละ เป็น จุดสําคัญ

     เรื่องราวบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน ปรากฏอยู่ในพระสูตรสําคัญ พระสูตรหนึ่ง เรียกว่า มหาปรินิพพานสูตร (ที.ม.๑๐/๖๗-๑๖๒)



 




 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2567
0 comments
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2567 8:09:05 น.
Counter : 318 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณRain_sk, คุณnewyorknurse

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space