กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
26 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

พระรัตนตรัย:สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง

 
 
ถ้าจะยังเป็นนพุทธ ต้องรักษาหลักการไว้
 
235 พระรัตนตรัย: สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง

 
     เดี๋ยวนี้ความหมายของพระรัตนตรัยก็ไม่ค่อยเข้าใจกันว่าเป็นอย่างไร ก็เลยนับถือเป็นแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรต่ออะไรไป
 
     การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีข้อน่าพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง   คือ  เมื่อกี้บอกแล้วว่า  การที่เราไปนับถือเทพเจ้าอะไรต่างๆ หวังผลจากการดลบันดาลของเทพเจ้าเหล่านั้น  เมื่อเชื่อว่าท่านมีฤทธิ์ มีอำนาจ  ก็ทำให้รู้สึกว่าสบายใจดีเหมือนกัน เคยบอกว่าเป็นเครื่องกล่อม  แต่ก็ไม่ใช่เสียไปทั้งหมด
 
     ในพระพุทธศาสนาเอง  ก็มีเครื่องกล่อมเป็นขั้นๆ ดังได้กล่าวแล้วว่า แม้แต่สมาธิก็ใช้เป็นเครื่องกล่อมได้อย่างหนึ่ง
 
     แต่ทำอย่างไรเราจะใช้เครื่องกล่อมอย่างรู้เท่าทัน และไม่ให้เกิดโทษ  ก็ต้องรู้บทบาทและขอบเขตของสิ่งกล่อมว่า  มันเป็นการช่วยแก้ปัญหาขั้นที่ ๑ คือ ขณะที่กำลังว้าวุ่น  สับสน พลุ่งพล่าน  กระวนกระวาย หรือระโหยโรยแรง  ถ้าช่วยตัวเองไม่ได้เลย  ก็ใช้สิ่งกล่อมมาช่วยทำให้สงบ ชุ่มชื่น ได้พักฟื้นตัว หรือปลุกปลอบให้ฟื้นกำลังขึ้นมาก่อน
 
 
     สิ่งกล่อมก็ทำหน้าที่เป็นนเครื่องจัดปรับให้เข้าที่อย่างหนึ่ง
 
     เมื่อกล่อมแล้ว ทำให้สบายใจ ก็อุ่นใจสดชื่นขึ้นมา พออุ่นใจขึ้นมาแล้ว มันจะเสียตอนที่ว่าจะนอนใจ  พออุ่นใจ  สบายใจ  ก็นอนใจ  ทีนี้มันไม่ใช่นอนใจอย่างเดียว กายมันก็จะนอนด้วย คือไม่กระตือรือร้น ขวนขวาย ก็กลายเป็นตกหลุมความประมาท คราวนี้ก็เสื่อม
 
     ในกรณีที่ความนับถือ หรือเชื่อถือในสิ่งเหล่านั้น  แม้เป็นสิ่งกล่อม  แต่ไม่ใช่กล่อมอย่างเดียว ยังช่วยปลุกใจด้วย  ทำให้มีกำลังใจเข้มแข็ง และเสริมความเพียรพยายามที่จะทำการอย่างจริงจัง อันนี้ท่านไม่ว่า สำหรับมนุษย์ที่อยู่ในระดับปุถุชน  ยังต้องการสิ่งที่มาหล่อเลี้ยงจิตใจ ข้อสำคัญอย่าให้กลายเป็นฮึกเหิมทำการอันขาดสติหรือเสียหลักกรรม
 
     การนับถือสิ่งที่เรียกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น  ถ้าตราบใดยังไม่เสียหลักกรรม  ก็ยังไม่ตกจากพระพุทธศาสนา  แต่ถ้าผิดหลักกรรมเมื่อไร ก็หลุดจากพระพุทธศาสนาทันที
 
     หลักกรรมนี้เป็นหลักตัดสินสำหรับมนุษย์  เพราะว่ากรรมคือธรรม  ส่วนที่โยงมาหามนุษย์ ที่ว่าไม่เสียหลักกรรมอย่างไร คือถ้าเราไปเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว  เราหวังผลจากการดลบันดาล ไม่เพียรพยายามกระทำการตามเหตุปัจจัย ไม่กระทำการ นั่นคือเสียหลักกรรม
 
     ถ้าเชื่อถือแล้ว ทำให้มีความมั่นคงในการกระทำ  ทำการเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น ก็ยังไม่หลุดไปจากหลักกรรม คือยังหวังผลจากการกระทำ และพยายามทำการให้สำเร็จด้วยความเพียร แต่ถ้าเมื่อใดเลิกหวังผลจากการกระทำ  ไปหวังผลจากการดลบันดาลการอ้อนวอนนอนรอคอย ก็เป็นอันว่าพลาดหลักกรรมแล้ว
 
     ถ้ายังหวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายาม ก็ยังมีหลักกรรมอยู่ อันนี้เป็นตัวตัดสินที่สำคัญ
 
     ฉะนั้นชาวพุทธ  บางทีแม้จะนับถือพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในฐานะที่ยังเป็นปุถุชน  พอให้มีอะไรมาเป็นเครื่องรวมใจ  ก็อนุโลมได้  ให้เป็นการนับถือในช่วงต่อที่จะเข้าหรือขึ้นสู่พระพุทธศาสนา
 
     ทั้งนี้เพราะว่า  ปุถุชนย่อมยังมีความหวาดหวั่นที่เป็นความอ่อนแออย่างหนึ่ง  เนื่องจากไม่รู้ความจริง ถ้าไปเจออะไรเข้า  ที่น่าตื่นตระหนกหวาดกลัวอย่างฉับพลันทันที  ใจจะหวั่นไหว  ตระหนก  ตื่นเต้น  ใจรวมไม่ทัน   สติไม่มา  ปัญญาหาย  สมาธิไม่มี  จิตใจอาจจะเตลิดไปเลย
 
     ทีนี้  ถ้าใจรวมไม่ติด  ไม่ตั้งมั่น  เตลิด  ขวัญหาย  คุมสติไม่อยู่เสียแล้ว  มันก็เสีย  ทำอะไรไม่ถูก  ไม่ได้ผล  บางทีทำอะไรไม่ได้เลย  ฉะนั้น  จึงต้องมีอะไรมาเป็นเครื่องช่วยรวมใจ  พอให้ตั้งเป็นศูนย์รวมได้   พอตั้งหลัก  ตั้งตัวได้  สติคุมอยู่  มีสมาธิขึ้นมา  ก็เริ่มทำการได้
 
     ในกรณีอย่างนี้   ถ้าสิ่งใดมาช่วยให้จิตรวมได้  ให้สติอยู่  จิตไม่เตลิดไป  ก็ยังพออาศัย แต่ขออย่างเดียว คืออย่าให้กล่อมจนกระทั่งว่า อุ่นใจ และนอนใจ แล้วก็นอนรอเลย ไม่เพียรทำ ถ้าอย่างนั้นละผิดแน่
 
     เป็นอันว่า ถ้ามันช่วยให้เรารวมใจให้มีกำลังได้แล้ว เรายิ่งมีกำลังใจทำการด้วยความเพียรมากยิ่งขึ้น ก็เรียกว่าไม่เสียหลักกรรม
 
     เรื่องจิตเตลิด  คุมสติไม่อยู่นี้สำคัญ   จึงต้องไม่ประมาท  เพราะเป็นเรื่องลงถึงจิตไร้สำนึกเลยทีเดียว  ไม่อยู่ในระดับที่จะคิดเหตุผล  เช่น  เข้าป่า พอได้ยินว่า เสือมา!  ไม่ต้องคิดเลยว่าเสือคืออะไร  มันเป็นอันตรายอย่างไร   มันจะทำอะไรเราได้  ไม่ทันคิดด้วยซ้ำ  ตัวสั่นงันงกทันที นี่คือออกจากจิตไร้สำนึก
 
     ในการแก้ปัญหาอย่างนี้  จะมัวคิดเหตุผลอยู่ไม่สำเร็จ  สิ่งที่จะแก้ก็ต้องลงถึงจิตไร้สำนึกเหมือนกัน
 
     ในกรณีอย่างนี้   ถ้ามีปัญญารู้ชัดว่าจะทำอะไร  จะแก้ไขเหตุการณ์อย่างไร ยิ่งรู้เท่าไรก็ยิ่งมั่นใจเท่านั้น  การที่จะอกสั่นขวัญหายก็ไม่มี  เหมือนคนที่รู้ว่าตัวอยู่ในที่ปลอดภัย อาการขวัญหายก็ไม่เกิดขึ้น  นี่ก็ฉับพลันทันที  เป็นเรื่องลึกถึงจิตไร้สำนึกเหมือนกัน
 
     แต่ถ้าไม่มีความรู้นี้  ความมั่นใจก็ต้องอาศัยศรัทธา  และสิ่งที่ศรัทธาหรือเชื่อนั้น ก็ต้องลงถึงจิตไร้สำนึกเช่นเดียวกัน
 
     พอเกิดเหตุร้ายแรงปัจจุบันทันด่วน  คนที่ปัญญายังไม่ถึง  ใจไม่เข้มแข็งพอ สติก็คว้าอะไรไม่ทัน  เลยคว้างหรือเตลิด  ทำอะไรไม่ถูก  ตอนนี้  ศรัทธาก็ทำให้จิตไม่เตลิดไป  แต่รวมอยู่ได้  แล้วสติก็มาได้  ก็ไม่เตลิดไป  เพราะศรัทธาทำให้สติมีจุดจับ  การนับถือพระรัตนตรัยในขั้นนี้จึงมีความสำคัญอยู่เหมือนกัน
 
     แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกันว่า จะหยุดอยู่ในระดับนี้ไม่ได้  จะต้องเดินหน้าจากขั้นมั่นใจด้วยศรัทธา ไปสู่ความมั่นคงด้วยปัญญา
 
     ได้พูดนอกเรื่องออกไปหน่อย  รวมความก็คือ ในพระพุทธศาสนานี้ จะต้องไม่ทิ้งหลักการสำคัญ ๔ ประการ
 
        หลักที่ ๑.  ธรรมเป็นหลักใหญ่ที่เคยพูดไปแล้วว่า เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สิ่งแรกที่พระองค์ทำ ก็คือ ดึงคนจากเทพสู่ธรรม  ดึงจากการมองไปที่ปัจจัยภายนอก สิ่งที่เหนือธรรมชาติ คือ เทพเจ้าที่จะมาดลบันดาล ให้หันมามองความจริงของธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ ธรรม ได้แก่ตัวความจริงของธรรมชาติ
 
        หลักที่ ๒.  แทนที่จะหวังผลจากการไปอ้อนวอน ก็ให้มากระทำการด้วยความเพียรพยายาม คือ กรรม ได้แก่การกระทำของมนุษย์ให้สำเร็จผลด้วยความเพียร
 
        หลักที่ ๓.  เพื่อให้กระทำการได้ผล  โดยถูกต้องตรงตามเหตุปัจจัย ก็ต้องให้รู้เข้าใจถึงธรรมด้วยการพัฒนาคนขึ้นมา คือสิกขา
 
        หลักที่ ๔.  เมื่อมนุษย์พัฒนาด้วยสิกขาขึ้นมาแล้ว  ก็จะมาเป็นกัลยาณมิตรกัน อยู่ในสังฆะ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามขึ้นมาได้ คือสังคมแห่งกัลยาณมิตร
 
     ชาวพุทธเรา  ถ้าไม่มั่นในหลักการเดิม  ก็จะเอียงและพร่า แล้วก็จะเขวออกไปนอกทาง วันนี้ก็จึงยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดย้ำไว้อีกครั้งหนึ่ง
 
     ถือว่า เรื่องถ้ำอชันตา-เอลโลราให้คติธรรมสำคัญในทำนองที่กล่าวมานี้  ให้เห็นว่า ความเสื่อมและความเจริญของพระพุทธศาสนา  อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยเหล่านี้ อย่างน้อยก็ควรจะทราบ ความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาฮินดู
 

235 ดูให้ชัด

 


Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2567 19:34:49 น. 0 comments
Counter : 171 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space