กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
2 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา



๒. เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ

พระคันธกุฎี  เขาคิชฌกูฏ  เมืองราชคฤห์
 
อาทิตย์ที่ ๑๒ ก.พ. ๒๕๓๘ 


     เราได้เดินทางมาบนเส้นทางบุญจาริกโดยลําดับ และขณะนี้เราได้มานั่งเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่ประทับของพระองค์คือพระคันธกุฎี

    เมื่อเช้านี้เรามาถึงเมืองปัฏนา หรือเมืองปาฏลีบุตร ซึ่งก็ได้เล่าให้ฟังแล้วว่า เป็นสถานที่สําคัญแห่งหนึ่ง เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา  เป็นแหล่งที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกจากชมพูทวีป ไปสู่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย  อันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณ ๒๓๕ ปีหลังพุทธกาล

    หลังจากนั้น  เราก็ได้เดินทางต่อมาจนถึงเมืองนาลันทา แล้วก็เดินทางมายังเมืองราชคฤห์ตามลำดับขณะนี้เรามาถึงเมึองราชคฤห์แล์ว


235 ราชคฤห์:   ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     เมืองราชคฤห์นี้เป็นเมืองหลวงเก่าของแคว้นมคธเมืองปาตลีบุตรมีความสําคัญในสมัยหลังพุทธกาล ในฐานะเป็นแหล่งที่คําสอนของพระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกไปสู่ประเทศต่างๆ

     เมื่อเรามาถึงเมืองราชคฤห์นี้ก็ยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว   ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะแผ่ออกไปจากเมืองปาฏลีบุตรสู่ประเทศต่างๆ ได้ก็ต้องมาเริ่มต้นที่นี่ก่อน

     เมืองทั้งสองนี้มีความสําคัญด้วยกันทั้งคู่  ในทางการเมืองก็สําคัญในแง่ที่ว่าทั้งสองแห่งต่างก็เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธด้วยกัน  ดังที่กล่าวแล้วว่า ปาฏลีบุตรเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธหลังพุทธกาล  ส่วนราชคฤห์นี้ เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล ในทางการเมืองมีความเหมือนกันอย่างนี้

     ส่วนในทางพระศาสนาก็เหมือนกันในแง่ของการเป็นศูนย์กลางที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกไป

     สําหรับเมืองราชคฤห์นี้  เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีความสําคัญเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ก็เคยเสด็จมาที่นี่

     ดังที่เราทราบกันว่า ในการเสด็จออกบรรพชานั้น เมื่อเสด็จมาที่แม่น้ำอโนมาแล้วอธิษฐานเพศบรรพชาและตัดพระเมาลีที่นั่น  ต่อมาก็เสด็จมาที่เมืองราชคฤห์นี้  พระเจ้าพิมพิสารได้ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์เสด็จบิณฑบาตอยู่  ก็ทรงมีความเลื่อมใส  แล้วก็ได้ทรงสนทนาพร้อมทั้งได้รับพรคล้ายๆ เป็นคําปฏิญญาจากพระโพธิสัตว์ที่ทรงรับว่าเมื่อทรงค้นพบสัจธรรมแล้วจะเสด็จมายังเมืองราชคฤห์นี้

     เมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว  ก็ได้เสด็จมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์นี้

     ในแง่หนึ่ง  ก็เหมือนกับว่า ทรงปฏิบัติตามพระพุทธปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร  แต่อีกแง่หนึ่งมองในด้านงานพระศาสนา  ก็ถือว่ามีความสําคัญ ในฐานะที่เมืองนี้เป็นนครหลวงของแคว้นมหาอํานาจ  พระพุทธเจ้าทรงเลือกว่าการที่จะให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองนั้น ควรเริ่มต้นที่ใด ก็ปรากฏว่าเมืองราชคฤห์ได้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา โดยเสด็จมาทรงแสดงธรรมที่นี่  ทําให้พระเจ้าพิมพิสารได้ดวงตาเห็นธรรม และปฏิญาณพระองค์เป็นพุทธมามกะ


     ต่อจากนั้น เหตุการณ์สําคัญที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในพระพุทธศาสนาหลายอย่างก็ได้เกิดขึ้นที่นี่ เช่น  การถวายวัดเวฬุวัน ที่เป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา ซึ่งพรุ่งนี้ก็เข้าใจว่าจะได้ไปแวะเยี่ยมเยียนด้วย

     ยิ่งกว่านั้นประจวบกับช่วงนี้จะถึงวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วัดเวฬุวันนั้น จึงนับว่าเป็นเวลาอันเหมาะที่จะได้ไปนมัสการพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันนั้นด้วย


     พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญพุทธกิจที่เมืองราชคฤห์นี้ในพรรษาแรก พุทธกิจได้ดําเนินก้าวหน้าไปอย่างมาก ความก้าวหน้าที่ควรกล่าวไว้อีก อย่างหนึ่ง ได้แก่การได้พระอัครสาวก คือ พระสารีบุตร และพระมหา โมคคัลลานะ หรือที่ชาวพุทธเรานิยมเรียกว่า พระโมคคัลลาน์-สารีบุตร ซึ่งมาเป็นกําลังสําคัญในการที่จะเผยแพร่พระพุทธศาสนาต่อไป

     จุดสําคัญแห่งความเป็นศูนย์กลางพุทธกิจของเมืองราชคฤห์แห่งหนึ่ง  ก็คือที่นี่ ที่พระคันธกุฏี* นี้  ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพทธเจ้า  พระพุทธองค์เสด็จมาประทับที่นี่  เรียกว่า เป็นศูนย์กลางพุทธกิจ  เพราะว่ากิจการพระพุทธศาสนาเริ่มต้นไปจากองค์พระพุทธเจ้า  ฉะนั้นการที่เราได้มาที่นี่  จึงถือว่าเป็นจุดสุดยอดเลยทีเดียว  นับว่าเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองราชคฤห์อีกหนึ่ง

     เมื่อเราถือว่า เมืองราชคฤห์เป็นศูนย์กลางของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาก็ต้องถือว่า พระคันธกุฎีนี้เป็นศูนย์กลางการทํางานในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาด้วย

     อีกประการหนึ่ง  เมืองราชคฤห์ยังมีความสําคัญหลังพุทธกาลด้วย คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว  พระสาวกทั้งหลายได้ลือกเอาเมืองราชคฤห์นี้แหละเป็นที่ทําสังคายนาครั้งที่ ๑ การสังคายนานั้น ถือว่ามีความสําคัญมากที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาหลังพุทธกาล คือ

     เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ก็ถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์จึงเป็นการเริ่มต้น ของการที่พระพุทธศาสนาจะเผยแพร่ออกไป  แต่หลังพุทธกาลแล้ว  พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า  เมื่อพระองค์ล่วงลับไป พระธรรมวินัยที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ และบัญญัติไว้จะเป็นศาสดาแทนพระองค์

     เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  พระสาวกทั้งหลาย  มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้ปรารภว่า พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้  อาจจะกระจัดกระจายและเลือนรางหายไปได้ จึงได้มีการตกลงกัน โดยมีมติว่าจะประชุมกันทําสังคายนา รวบรวมพระธรรมวินัยมาเป็นองค์พระศาสดาสืบแทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นการเริ่มต้นเหตุการณ์ครั้งใหญ่หลังพุทธกาล จุดเริ่มต้นหลังพุทธกาลก็เริ่มต้นที่นี่

     เพราะฉะนั้น เมืองราชคฤห์จึงมีความสําคัญมากในแง่ของการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา ทั้งในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และเป็นจุดเริ่มต้นของงานพระศาสนาคือสังคายนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว


 


 




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2567
0 comments
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2567 18:15:51 น.
Counter : 95 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space