กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
7 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

มาฆบูชาขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา



235 มาฆบูชา ขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา


     ทั้งหมดนี้รวมเป็นสามคาถากึ่ง  จัดเป็นสามตอน  ขอทวนอีกครั้ง  

       คาถาที่ ๑ แสดงลักษณะทั่วไปของพระพุทธศาสนา ที่เป็นจุดแสดงออกหรือจุดปรากฏ  ทางด้านข้อประพฤติปฏิบัติ  จุดหมาย รวมทั้งลักษณะของพระสงฆ์ หรือ บรรพชิต

       คาถาที่ ๒ กล่าวถึงหลักคําสอน ที่เป็นบทสรุปของภาคปฏิบัติโดยตรง ที่เราเรียกกันว่า หัวใจพระพุทธศาสนา

       ส่วนที่ ๓ ซึ่งยาวหน่อย แสดงข้อปฏิบัติในการดําเนินชีวิตของพระภิกษุ  ผู้ทําหน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม  สั่งสอนประชาชนต่อไป

     มีข้อสังเกตนิดหนึ่งว่า ในพระไตรปิฎก มีพระสูตรชื่อมหาปทานสูตร ในทีฆนิกาย เล่าเรื่องประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ซึ่งทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ไว้ด้วย  ในมหาสันนิบาต ก็เลยมีคาถานี้ปรากฏ ๒ แห่ง คือในมหาปทานสูตรนั้น กับในคาถาธรรมบท

     แต่มีข้อแตกต่างกันนิด คือ มีการสลับคาถา  แห่งหนึ่งนั้น (มหาปทานสูตร, ที.ม.๑๐/๕๔) เอาคาถา ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา ขึ้นก่อน แล้วเอาคาถา สพพปาปสฺส อกรณํ เป็นคาถาที่ ๒ ส่วนอีกแห่งหนึ่ง (คาถาธรรมบท, ขุ.ธ. ๒๕/๒๔) นั้น กลับเอาคาถา สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือตัวหลักคําสอนขึ้นก่อน  แล้วจึงแสดง ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา คือ ลักษณะทั่วไปของพระพุทธศาสนาเป็นลําดับที่สอง

     อย่างไรก็ตาม อย่าไปถือเป็นเรื่องสําคัญเลย ใจความก็ได้เท่ากันนั่นแหละ สลับกันไปสลับกันมา

     นี่เป็นความรู้เบื้องต้น สําหรับให้ทราบคร่าวๆ เกี่ยวกับพระโอวาทปาติโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆปูรณมี ซึ่งบัดนี้เรา เรียกกันว่า วันมาฆบูชา

     “วันมาฆบูชา” นั้น ไม่ใช่ศัพท์เดิม ในพุทธกาลไม่มีคํานี้  มีแต่คําว่า มาฆปุณฺณมี เท่านั้นเอง

     “มาฆปณุณมี”  (เขียนอย่างไทยเป็น มาฆปุรณมีบ้าง มาฆปูรณมีบ้าง มาฆบูรณมีบ้าง) ประกอบเป็นคําในภาษาบาลีตามไวยากรณ์ เป็น มาฆปุณฺณมิยํ  แปลว่า ในดิถีเป็นที่เต็มดวงแห่งพระจันทร์ ในเดือนมาฆะ  ที่เราเรียกกันว่า เดือน ๓

     ต่อมา เรากําหนดให้วันมาฆปุณณมี หรือ วันเพ็ญเดือน ๓ นี้เป็นวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา โดยมีการประกอบพิธีบูชาขึ้น ก็เลยเรียกวันนี้ว่า วันมาฆบูชา แปลว่า วันที่มีการบูชาในเดือนมาฆะ  ทิ้งคําว่า วันเพ็ญไว้ในฐานที่เข้าใจ  การบูชาในเดือนมาฆะ ก็หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ นั่นเอง

     วันมาฆบูชา  เพิ่งเกิดในรัชกาลที่ ๔ นี่เอง คือในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงศึกษาพระไตรปิฎก ศึกษาพระคัมภีร์มาก ทรงพบเหตุการณ์ครั้งนี้  ทรงมีพระราชดําริว่าเป็นเหตุการณ์ที่สําคัญ น่าจะยกขึ้นมากําหนดเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนาด้วย  ก็จึงโปรดให้จัดมีพิธีบูชาขึ้น

     สมัยก่อนนี้  ในเมืองไทยเรามีวันวิสาขบูชา  เท่านั้น เป็นวันสําคัญ ซึ่งคงจะมีการฉลองกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ต่อมาในสมัยอยุธยามีการฉลองใหญ่  ด้วยการบูชากันทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ถึง ๓ วัน ๓ คืน ทํากันจริงจังใหญ่โตมาก  แต่กาลล่วงมา  ประเพณีวันวิสาขบูชาก็เลือนรางลงไป  โดยเฉพาะอาจเป็นเพราะการศึกสงคราม  ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา

     พอมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในหลวงก็ทรงยุ่งกับการสงคราม การที่จะป้องกันข้าศึก การปกป้องบ้านเมือง

     พอปรับปรุงประเทศชาติได้ร่มเย็นเป็นสุข  มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ บ้านเมืองมั่นคงแล้ว ก็ทรงหันมาเอาพระทัยใส่ในเรื่องทางด้านสันติ และงานในยามที่บ้านเมืองดีก็จึงฟื้นฟูพระศาสนา รวมทั้งฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาด้วย ให้มีการสมโภชประจําปีถึง ๓ วัน ๓ คืน เป็นการใหญ่ เหมือนในสมัยอยุธยา แต่แล้วต่อมาก็เลือนรางลงไปอีก จนกระทั่งวิสาขบูชาเหลืองานวันเดียว

     ในประเทศศรีลังกา เขาให้ความสําคัญกับวิสาขบูชามาก มีพิธีใหญ่โตอย่างยิ่ง (พระที่นั่งข้างหลังบอกว่า ในศรีลังกา เขาฉลองกันตั้ง ๑ เดือน) วิสาขบูชาจึงเป็นงานใหญ่โตมาก

     เป็นอันว่า เมืองไทยเรา เดิมก็มีวิสาขบูชาเป็นวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ในแง่ที่เกี่ยวกับพุทธประวัติวันเดียว  นอกนั้นมีแต่วันที่เกี่ยวกับวินัย คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปตามคติความเป็นอยู่ของพระสงฆ์

     มาในรัชกาลที่ ๔ ก็โปรดให้มีพิธีมาฆบูชาเพิ่มขึ้น แล้วก็มาถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเสร็จแล้ว ทางคณะสงฆ์เห็นว่า วันแสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็เป็นวันที่สําคัญมาก  น่าจะได้กําหนดให้มีพิธีบูชาใหญ่  ทางราชการก็เลยตกลงเห็นชอบกับคณะสงฆ์ ประกาศให้มีวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา เป็นวันล่าสุด เพิ่งมีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ นี้เอง

     นี้เป็นการเล่าถึงวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีในประเทศไทย  รู้อย่างนี้แล้วจะได้ไม่แปลกใจว่า ในกิจการพุทธศาสนาระหว่างประเทศนั้น เป็นที่รู้จักกันเฉพาะวันวิสาขบูชาเท่านั้น วันอื่นๆ คือ วันมาฆบูชา และอาสาฬหบูชา ประเทศอื่นเขาไม่รู้ด้วย

     วันนี้ เราใกล้มาฆบูชาที่จะมาถึง และเดินทางมาถึงเวฬุวัน ก็เลยมาทําพิธีมาฆบูชากัน เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาต

     ดังได้กล่าวไปแล้วว่า โอวาทปาติโมกข์ มีความหมายอย่างไร และมีใจความคําสอนโดยย่อ คือ ตัวแท้ๆว่าอย่างไร

 


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2567 9:26:17 น. 0 comments
Counter : 214 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space