กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
10 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม

 

๖. จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ธัมเมกขสถูป  สารนาถ
 
พุธที่ ๑๕ ก.พ. ๒๕๓๘

 
    บัดนี้เราได้เดินทางมาถึง สังเวชนียสถาน แห่งที่ ๒ ใน ลำดับของการเดินทาง คือ อิสิปตนมฤคทายวัน  อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือการแสดงธรรมครั้งแรก ที่มีชื่อว่าพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
 
    แต่ถ้านับตามลำดับในพุทธประวัติก็เป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ คือ ตามลำดับเหตุการณ์ ได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
 
        “อิสิปตนมฤคทายวัน” นี้   คนทั่วไปในปัจจุบัน  รวมทั้งทางการของอินเดีย รู้จักกันในชื่อว่า สารนาถ
 

235 ฝนตกใหญ่ ทำให้เวลาน้อย  เรียนได้เพียงที่ทางและถ้อยคำ
 
ก) ธรรมจักร ๒ ความหมาย 
 
     สถานที่แสดงปฐมเทศนานี้  นับว่ามีความสำคัญมาก  เพราะถือเป็นการประดิษฐานพระพุทธศาสนา คือ เริ่มประกาศพระศาสนานั่นเอง   แต่คำว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  ซึ่งเป็นชื่อของพระสูตรที่ทรงแสดงครั้งแรกนี้มีความหมายที่แปลได้  ๒ อย่าง
 
     “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”   แปลง่ายๆ ว่า พระสูตรที่ว่าด้วยการ หมุนวงล้อแห่งธรรม อาจจะแยกศัพท์ให้เห็นว่ามี ธมฺม+จกฺก รวมเป็น ธรรมจักร ก็คือ วงล้อแห่งธรรม แล้วก็ปวัตตนะ แปลว่า ให้เป็นไป คือ หมุน และ สูตร ก็คือพระสูตร
 
     เพราะฉะนั้น   จึงแปลว่า พระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม
 
     หมุนวงล้อแห่งธรรม หรือ หมุนธรรมจักร ก็หมายความว่า พระ พุทธเจ้าได้ทําให้วงล้อแห่งธรรมนี้ หมุนเหมือนกับกลิ้งออกไป และหมุน ออกไปนั้น ก็คือการที่พระพุทธศาสนาเริ่มแผ่ออกไปนั่นเอง
 
     เพราะฉะนั้น การแสดงธรรมครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มของการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา หรือการประกาศธรรม
 
     แต่คำว่า ธรรมจักร นั้น อาจจะมีความหมายได้อีกอย่างหนึ่ง โดย เทียบกับคำว่า อาณาจักร
 
     “อาณาจักร”   แปลว่า   วงล้อแห่งอำนาจ พระเจ้าแผ่นดินหรือพระ เจ้าจักรพรรดิก็หมุนวงล้อเหมือนกัน แต่หมุนวงล้อแห่งอำนาจหรือ อาณาออกไป ทำให้พระราชอำนาจแผ่ขยายออกไปโดยครอบงำประเทศ อื่นหรือดินแดนอื่นๆ เราจึงเรียกดินแดนที่วงล้อแห่งอำนาจของพระ ราชาไปถึง ว่าเป็นอาณาจักร คือ ดินแดนที่พระราชอำนาจแผ่ไปถึง
 
     ถ้ามองในแง่นี้    อาณาจักรเป็นดินแดนที่ทางฝ่ายบ้านเมืองเขาแผ่อำนาจไปถึงที่  ฉันใด  ธรรมจักรก็เป็นดินแดนที่ธรรมแผ่ ไป  ฉันนั้น  
 
     ถ้าแปลในความหมายนี้ ธรรมจักร  ก็หมายถึงดินแดนแห่งธรรมนั้นเอง  ในเมื่อแปลว่า ดินแดนแห่งธรรม คำว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  ก็หมายถึงพระสูตรที่ว่าด้วยการทำให้เกิดดินแดนแห่งธรรม หรือแผ่ดินแดนแห่งธรรมให้กว้างออกไป ในแง่นี้ก็เท่ากับว่า เป็นการประดิษฐานพระพุทธศาสนา
 
     รวมความว่า จะใช้ในความหมายไหนก็ได้ก็เป็นการเริ่มประกาศ ธรรมนั่นเอง
 
     ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเผยแผ่ธรรม หรือจะเป็นการเริ่มแผ่ดินแดน แห่งธรรมออกไปก็ตาม ก็เริ่มด้วยการแสดงธรรมครั้งแรก ที่เรียกว่า ปฐมเทศนา
 

     เนื้อหาก็เป็นเรื่องของพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่มีในพระ ไตรปิฎก
 
 
ข) วัด ที่เหลือแต่ซาก
 
     แต่ก่อนที่จะพูดถึงเนื้อตัวของพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดง ก็ อยากจะพูดถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
 
     ที่อิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถนี้มีโบราณวัตถุสถานสำคัญที่ เหลืออยู่และควรรู้เริ่มด้วยซากวัด ๕-๗ วัด
 
     แต่จากการขุดค้นของนักโบราณคดี พบวัดทั้งหมดประมาณ ๓๐ วัด โดยมีหลักฐานและร่องรอยบ่งบอกว่า แทบทุกแห่งถูกทำลายด้วย การบุกรื้อและเผา และมีการทำลายเช่นนั้นซ้ำๆ  (คงเพื่อให้สิ้น ? )   
 
     ตามประวัติศาสตร์ว่า ในช่วงใกล้พ.ศ. ๑๗๐๐ ที่พระพุทธศาสนา สูญสิ้นจากชมพูทวีปนั้นกองทัพมุสลิมเตอร์ก็มาบุกเมืองพาราณสี และได้เวียนมาทำลายวัดวาอาราม กับทั้งไล่ฆ่าพระสงฆ์ที่สารนาถนี้หลายครั้ง โดยปล้นและขนเอาทรัพย์สินสิ่งของมีค่าไปมากมาย
 
     เขาเล่าตัวอย่างไว้   เช่น   มูฮัมหมัดแห่งเมืองฆูร์  (Muhammad of Ghur ผู้พิชิตยิ่งใหญ่ที่ทำให้อาณาจักรมุสลิมเกิดขึ้นในชมพูทวีปเป็นครั้งแรกในปีที่ท่านม้วยมรณ์  คือเกิดรัฐสุลต่านแห่งเดลีใน พ.ศ. ๑๗๔๙)   ได้เคย  มาบุกทำลายสารนาถ และขนทรัพย์สินสิ่งมีค่าไป ๔๐๐ หลังอูฐ
 
     ผู้ที่ทำลายสารนาถหมดสิ้นปิดท้ายรายการ คือ อุปราชของท่าน มูฮัมหมัดแห่งเมืองฆูร์นั้น ชื่อว่ากุตาบ-อุดดิน
 
     (ในบริเวณนี้    มีวัดเชนอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นของใหม่ เพิ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ไม่พึงนำมาสับสน เพราะไม่เกี่ยวกัน;  และมีเจดีย์ทรงอย่างพุทธคยา ซึ่งก็เป็นของสมัยใหม่)
 

ค) หลักศิลาจารึกอโศกแห่งที่เลื่องชื่อ
 
     นอกจากวัด ของโบราณก็มีเสาหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก มหาราช สูงราว ๕๐ ฟุต (หักลงมาแล้วเป็น ๔ ท่อน) ซึ่งเป็นหลักที่มีชื่อ เสียงมาก เพราะหัวเสาเป็นรูปสิงห์ ๔ ตัว หันหัวแยกกันไป ๔ ทิศ ทูน พระธรรมจักรอยู่บนหัวสิงห์ทั้งสี่
 
     เมื่ออินเดียได้เอกราชใน พ.ศ. ๒๔๙๐ แล้ว ได้นำรูปพระ ธรรมจักรนี้ไปสถิตเป็นสัญลักษณ์ในกลางธงชาติอินเดีย และใช้รูปสิงห์ ๔ ตัว หันหัวไป ๔ ทิศ นี้เป็นตราแผ่นดินของประเทศอินเดียสืบมา
 
     ความในจารึกหลักนี้  (จารึกหลักศิลาฉบับย่อย ที่ ๑)  เป็นประกาศห้าม มิให้มีการทำสงฆ์ให้แตกแยก (สังฆเภท) เนื้อความสำคัญว่า
 
        ข้าฯ ได้ทำให้สงฆ์สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวแล้ว  บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ไม่อาจทำลายสงฆ์ได้
 
        ก็แล หากบุคคลใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลนั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งห่มผ้าขาวและไปอาศัยอยู่  ณ สถานที่อื่น (นอกวัด)
 
        พึงแจ้งสาสน์พระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน
 
     (ตำแหน่งที่เสาหลักศิลาจารึกนี้ตั้งอยู่ บางท่านว่าเป็นที่พระพุทธ เจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แต่บางท่านว่าเป็นที่ทรงส่งพระสาวก ๖๐ รูป ไปประกาศพระศาสนา แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงความเชื่อ; ค่อนข้างล่าสุด มีผู้ เสนอข้อสันนิษฐานว่า จุดที่แสดงปฐมเทศนาน่าจะเป็นที่ตั้งวิหารที่อยู่ ทางตะวันตกของเสาศิลาจารึก)
 
      ในบริเวณสารนาถนี้   มีพระมูลคันธกุฎี คือ  กุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้าด้วย
 
ง) เจาขัณฑีสถูป  

     นอกจากนี้   สิ่งที่จะเว้นไม่กล่ าวถึงมิได้คือพระสถูป ๓ แห่ง ได้แก่
  
        ๑. เจาขัณฑีสถูปเป็นอนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบกับพระเบญจวีคคีย์   เมื่อเสด็จมาโปรดหลังจากตรัสรู่ได้  ๒ เดือน
 
     เป็นการพบกันอีกหลังจากเบญจวัคคีย์ละจากพระองค์ไปเมื่อทรง เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา  เรียกแบบฝรั่งว่าเป็น Reunion
 
     พระสถูปนี้   ผู้รู้สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยคุปตะ  (ราชวงศ์ คุปตะครองราว พ.ศ. ๘๖๓–๑๓๙๓) พระถังซัมจั๋ง หรือหลวงจีนเหี้ยน จัง ซึ่งมาที่นี่เมื่อใกล้พ.ศ. ๑๒๐๐ บรรยายว่าสูง ๓๐๐ ฟุต
 
     ชื่อของพระสถูปนี้ไม่ชัดเจน   พวกเราคนไทยอ่านจากที่เขาเขียนไว้   เป็นภาษาอังกฤษว่า  “Chaukhandi”  แล้วก็พูดก็เขียนกันมาว่า  “เจาคันธี”  แต่ไม่รู้ว่าจะแปลอย่างไร
 
     เรื่องนี้ยากที่จะสืบสาวให้ได้ความถ่องแท้ชัดเจน   แต่ในแง่ตัวหนังสือ Chaukhandi ของเขานี้  น่าจะเขียนเต็มรูปเป็น Chaukha∂I  เมื่อถือตามหลักการถ่ายถอดอักษร หรือจะว่าปริวรรตตัวอักษรก็แล้วแต่  (อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า transliteration) Chaukha∂i ก็เป็น เจาขัณฑี
 
     “เจาขัณฑี”  แยกศัพท์ได้  เป็น  เจา (สี่) + ขณฑ  (ท่อน  ชิ้น )  ส่วน  “อ”  เป็นเรื่องของไวยากรณ์  ที่แปลว่า  “มี”  รวมแล้วแปลว่า   มีสี่ท่อน  สี่ตอน  สี่ชิ้น  สี่เสี่ยง หรือ  (แยกออก/แตกออกเป็น)   สี่ช่อง หรือ  สี่โพรง  ก็ได้  
 
     ความหมายอย่างนี้ น่าจะได้พิจารณาควบคู่กันไปกับการสำรวจ ตรวจสอบสถานที่ ซึ่งคงต้องฝากท่านที่อยู่ใกล้ หรือได้ มาบ่อยๆ ช่วยทำความกระจ่างเพราะเป็นของถูกทำลายแตกพังมีสภาพเคลื่อนคลาดยักย้ายซับซ้อนสับสน
 
     แต่ว่าถึงสภาพที่เป็นอยู่พระสถูปนี้ส่วนนอกถูกรื้อขนไปเหลือแต่เนินมูลวัสดุข่างใน และบนยอดเนินพระสถูปนั้นมีหอคอยแปดเหลี่ยมที่สร้างใหม่ทับซ้อนขึ้นไป
 
     หอคอยแปดเหลี่ยมนี้   เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ. ๒๑๓๑ ในสมัยอาณาจักรมุสลิม โดยอักบาร์มหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่พระราชบิดาคือ หุมายูนู  จักรพรรดิมุข่าลหรือโมกุล  องค์ที่  ๒   (โอรสของบาเบอร์ กษัตริย์องค์แรกที่สถาปนาราชวงศ์มุข่าลหรือโมกุลนั้น)    ได้เคยเสด็จมา พานักที่นี่  ในช่วงเวลาที่ยังแย่งชิงอำนาจกับศัตรูคู่สงคราม
 
 
จ)  ธัมมิราชิกสถูป  
 
        ๒. ธัมมิราชิกสถูป  (แปลง่ายๆ ตามรูปศัพท์ว่า พระสถูปเนื่องด้วย หรืออุทิศแด่องค์พระธรรมราชา)  นักโบราณคดีว่าเก่าแก่มาก สร้างก่อน สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และมีหลักฐานว่าเป็นที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ
 
     นอกจากถูกกองทัพมุสลิมทำลายในช่วง พ.ศ. ๑๗๐๐ แล้ว ส่วนที่ เหลือของธัมมิราชกสถูป ถูกทำลายครั้งสุดท่ายใน พ.ศ. ๒๓๓๗ เมื่อเจ้าเมืองพาราณสีครั้งนั้น สั่งให้นำอิฐิจากโบราณวัตถุสถานที่สารนาถ  ไปสร้างตึกรามบ้านช่องในตลาดเมืองพาราณสีที่ตั้งชื่อว่า “ชคัตคัญช์”
 
     ธัมมราชิกสถูปถูกรื้อทำลายหมดส่วนในครั้งนั้น   ต่างจากพระสถูปอื่นที่ยังมีส่วนเหลือบ้าง (คงเป็นเพราะธัมมิราชิกสถูปนี้สร้างด้วยอัฐิต่างจากธัมเมกขสถูป ที่สร้างด้วยหินนเป็นส่วนสำคัญ)  
 
     แต่ขณะนี้    เรามานั่งกันอยู่เบื้องหน้าพระสถูปสำคัญ ที่เขาเรียกชื่อ กันในบัดนี้ว่า Dhamekh Stupa ซึ่งในที่นี้จัดเป็นที่ ๓ ตามลำดับที่พูดถึง คือพูดถึงพระสถูปอื่นก่อนให้เสร็จไปแล้ว จึงมาจบที่จุดหมาย ซึ่งขอเรียกให้เป็นคำที่มีความหมายเท่าที่คิดได้ว่า  “ธัมเมกขสถูป”
 
ฉ) ธัมเมกขสถูป
 
        ๓. ธัมเมกขสถูป นี่   ชื่อและความหมายที่จริงแท้ว่าอย่างไร เราก็ ยังไม่จะแจ้งลงไป ได้แค่มาสันนิษฐานกัน
 
     ตามคำของเขาที่เขียนกันมาว่า Dhamekh ถอดอักษรตรงๆ  ก็เป็น ธเมข ซึ่งมองไม่เห็นศัพท์เลย  ไม่รู้จะแปลได้อย่างไร ต้องเป็นคำที่เพี้ยน
 
     เมื่อคิดอย่างค่อนข้างเดา  แต่ให้มีเค้าและได้ความหมาย ก็มาลงที่ ธัมเมกขะ  เป็น ธัมเมกขสถูป
 
     ทีนี้  “ธัมเมกขสถูป” นั้น  ก็คิดแปลตามศัพท์เอาว่า  เป็นพระสถูปที่สร้างอุทิศแด่ท่านผู้เห็นธรรม เพราะคำว่า  ธัมเมกขะ นั้น    แยกศัพท์ออกไปได้    ให้มาจากคำว่า  ธมฺม+อิกฺข  
 
     ธมฺม  ก็แปลว่า ธรรม  อิกฺข  แปลว่า เห็น หรือผู้เห็น  อิกฺข แปลง อิ เป็น เอ ดังที่เราจะเห็นอยู่เสมอ
 
     อย่างที่แปลกันวันก่อน  สิกขา  แปลง  อิ   เป็น เอ  ก็เป็น เสกขา แล้ว สั้นลงเป็น เสกขะ
 
     นี่ก็ อิกขะ แปลว่า เห็น แปลง อิเป็น เอ เป็น เอกขะ แปลว่า  ผู้เห็น   
 
     ธมฺม + เอกฺข   ก็เป็น  ธัมเมกขะ   แปลว่า    ผู้เห็นธรรม   แล้วเติมคำว่า    สถูปเข้าไป   ก็แปลว่า   พระสถูป ที่สร้างเพื่ออุทิศแด่ท่านผู้เห็นธรรม
 
     ท่านผู้เห็นธรรม ในที่นี้  หมายถึง   ท่านผู้เห็นธรรมท่านแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ 
 
     แต่การที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ จะเป็นผู้เห็นธรรมครั้งแรกได้  ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่เรียกว่า ปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
 
     เพราะฉะนั้น   พระสถูปนี้จึงเป็นสัญลักษณ์   ที่เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงการแสดงพระธรรมจักร หรือเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกัน
 
     สาระสำคัญก็คือ ต้องการให้เป็นเครื่องรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ในพุทธประวัติที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มเผยแผ่พระศาสนานั่นเอง
 
     ธัมเมกขสถูปนี้    ถือกันมาว่าเป็นตำแหน่งที่ทรงแสดงปฐมเทศนา ถึงแม้จะมีการเดาบ้าง สันนิษฐานบ้าง ว่าเป็นจุดอื่นอันนั้นอันโน้น ก็ยัง ยุติไม่ได้ก็จึงยังถือที่นี่เป็นหลักไว้
 
     ธัมเมกขสถูป   ถึงจะถูกทำลาย  (และต่อมาถูกรื้อขนเอาวัสดุไปสร้างตลาดเมืองพาราณสีอย่างที่เล่าข้างต้น) แต่เหลือรอดมาได้มากคงเป็นเพราะโครงสร้างส่วนล่างที่เป็นแปดเหลี่ยมสร้างด้วยศิลาล้วน  (ทั้ง ๘ ด้านมีช่องที่เคยประดิษฐานพระพุทธรูปไว้)   ส่วนบนเหนือขึ้นไปจึงเป็นอิฐ
 
     ธัมเมกขสถูปนี้    นักโบราณคดีไม่รู้ชัดว่าเริ่มสร้างเมื่อใด    แต่มีการเติมขยายกันมา ๘ ครั้ง สูงกว่า ๙๘ ฟุต
 

ช) อิสิปตนมฤคทายวัน ทำไมเป็น สารนาถ
 
     ข้อควรทราบต่อไป คือ พระสถูปเป็นต้น ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ในถิ่นที่ เรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  
 
     “อิสิปตนะ”  แปลว่า  เป็นที่ขึ้นลงของพระฤษี   ตัวศัพท์เอง   แปลว่า เป็นที่ตกลงของพระฤษี  แต่ในอรรถกถา ท่านแปลว่า สถานที่เป็นที่ฤษีขึ้นลง
 
     หมายความว่า  ฤษีชอบมากันที่นี่   มาอะไร  ก็มาประชุมกัน คือ มารวมกันที่นี่มาก  โดยถือตามที่มองเห็นว่า ฤษีเหาะกันมาจากทางไหนๆ  แล้วก็มาหายตุบลงที่นี่    ก็เรียกว่า   ฤษีตกลงมา  คือเป็นที่ลงที่ขึ้นของฤษี   ผู้เหาะกันไปในที่ต่างๆ คนก็เลยเรียกชื่อสถานที่นี้ว่า เป็น อิสิปตนะ
 
     พร้อมกันนั้นก็มีคำว่า  “มฤคทายวัน”   ต่อท้าย  เพราะเป็นป่าที่พระราชทานแก่เนื้อ  มาจากศัพท์ต่างๆ  คือ  มิค (มฤค = เนื้อ) + ทาย (สิ่ง ที่ให้หรือมอบให้) + วัน (ป่า)
 
     แปลรวมความว่า   ป่าที่พระราชทานให้เป็นที่อยู่ของหมู่เนื้อ หรือป่าที่พระราชทานอภัยแก่เนื้อ หรือป่าที่ให้เป็นที่อยู่อย่างไม่มีภัยแก่เนื้อ
 
     “มิค”   แปลว่า   เนื้อ  ในที่นี้  ก็คือพวกกวางต่างๆ
 
     ขอสรุปว่า  โดยทั่วไปในคัมภีร์ท่านอธิบายสั้นๆ เพียงว่าป่านี้เป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นป่าอภัยทาน แต่เรามักเอาความ หมายนี้ไปโยงกับเรื่องราวความเป็นมาในชาดกที่ชื่อว่านิโครธมิคชาดก  (ชา.อ.๑/๒๒๑)
 
     ในชาดกที่ว่านั้น   มีเรื่องราวที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปล่าเนื้อในป่า ซึ่งเป็นอุทยานนี้เป็นประจำ ทั้งเพื่อสนุกและเอาเป็นอาหารเสวย
 
     พวกเนื้อก็เลยเห็นว่า  ถ้าขืนให้พระเจ้าแผ่นดินล่าเนื้ออย่างนั้นทุก วัน พวกตัวก็เดือดร้อนตลอดเวลา อยู่กันไม่เป็นสุข ก็เลยมาปรึกษากัน เห็นควรให้ใช้วิธีทำความตกลงกับพระราชา จัดวาระลำดับกันให้จับไป วันละตัวๆ และก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่ช่วยแม่เนื้อว่า
 
     วันหนึ่ง ถึงวาระแม่เนื้อลูกอ่อนจะต้องเข้าลำดับ พระโพธิสัตว์ก็เอา ตัวเองเข้าไปแทน ว่าขอให้ฆ่าตัวเอง ตนยอมสละชีพเพื่อจะสงวนชีวิตของ เนื้อแม่ลูกอ่อนนั้นไว้ จะได้มีโอกาสเลี้ยงดูลูก เป็นการแสดงน้ำใจของ พระโพธิสัตว์ที่มีเมตตากรุณาอย่างสูงถึงกับยอมเสียสละชีวิตของตัวเอง
 
     เรื่องราวก็ทราบถึงพระราชา เป็นเหตุให้พระราชาพระราชทาน อภัยแก่พวกเนื้อพวกกวางทั้งหลายในป่านั้นทั้งหมด เนื่องมาจากการเสียสละของพระโพธิสัตว์นั้น และป่าที่เป็นอุทยานนั้นก็ได้กลายเป็นที่ที่พระราชทานอภัยหรือการอยู่อย่างไม่มีภัยแก่ประดาเนื้อ
 
     ปัจจุบัน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนี้   เรียกกันว่า สารนาถ  สันนิษฐานว่า   ชาดกเรื่องที่เล่ามานี้ เป็นที่มาของชื่อปัจจุบันนี้ด้วย    เพราะคำว่าสารนาถนี้   เข้าใจกันว่าจะกร่อนมาจากคำว่า  “สารังคนาถ”  ซึ่งแปลว่า  ที่พึ่งของเนื้อ (สารังค = เนื้อ + นาถ = ที่พึ่ง)   
 
     หมายความว่า  ในป่านี้  เนื้อทั้งหลายอยู่กันอย่างปลอดภัย มีความ สุขสวัสดีเพราะได้พระโพธิสัตว์ (และพระราชา) เป็นที่พึ่ง
 
     นี่คือเรื่องราวความเป็นมา เกี่ยวกับประวัติของสถานที่ พอให้ทราบเค้าความเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญ แต่ก็ควรทราบไว้เป็น ความรู้ประกอบ
 
ฌ) พาราณสีชื่อนี้ทำไมยืนยงนัก
 
     นอกเหนือจากนี้  ก็ควรจะทราบกว้างออกไปว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนี้  อยู่ในแขวงเมืองพาราณสี
 
     เมืองพาราณสีเป็นเมืองใหญ่   มีในสมัยพุทธกาล  คำว่า “พาราณสี”  นั้น  ตั้งชื่อขึ้นมาตามชื่อ ของแม่น้ำ  ๒ สาย ที่อยู่ในเขตของเมืองนี้คือ   แม่น้ำพรณา หรือเรียกอีก   อย่างหนึ่งว่า วรุณา  บวกกับอีกแม่น้ำหนึ่ง ชื่อว่า อสี   รวมกัน ๒ ชื่อ ก็ เป็นพาราณสี
 
     เมืองพาราณสีนั้น   เป็นเมืองใหญ่ในสมัยพุทธกาล   แต่ไม่ใช่เป็นเมืองหลวงศูนย์กลางอำนาจอย่างราชคฤห์ และสาวัตถีเหตุที่เป็นอย่างนั้น   ก็เพราะว่า ในสมัยพุทธกาล เมืองพาราณสีได้เสื่อมอำนาจลงไปแล้ว
 
     แต่ก่อนนั้น เมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นใหญ่ ชื่อว่า แคว้นกาสีซึ่งเคยเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองมาในสมัยก่อนพุทธกาล มีพระเจ้า แผ่นดินปกครอง มักจะเรียกว่า พระเจ้าพรหมทัต มีเรื่องราวมาในชาดก มาก เพราะเรื่องชาดกมากมายเกิดขึ้นที่เมืองพาราณสี ของพระเจ้าพรหมทัต
 
     พระเจ้าพรหมทัต  นั้น  เป็นคล้ายๆ ชื่อตำแหน่ง   คงจะเรียกชื่อตามพระราชวงศ์หมายความว่า กษัตริย์องค์ใดในราชวงศ์นี้เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกว่าพระเจ้าพรหมทัตหมด ไม่ใช่เป็นชื่อเฉพาะพระองค์
 
     สมัยก่อนนั้น พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพาราณสี ของ แคว้นกาสี ซึ่งเป็นแคว้นเอกราช แต่แคว้นกาสีนี้ได้ขับเคี่ยวทำสงคราม กับแคว้นโกศลตลอดมาเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งในที่สุดก็ได้เสีย อำนาจให้แก่แคว้นโกศลไปตั้งแต่ก่อนถึงพุทธกาล
 
     เพราะฉะนั้น   เมืองพาราณสีก็เลยเป็นเมืองใหญ่ที่ไม่ใช่ราชธานีไป เสียแล้วในสมัยพุทธกาล คือขึ้นต่อแคว้นโกศลนั่นเอง
 
     อนึ่ง   เมืองพาราณสีนี้   เรียกชื่อได้  ๒-๓ อย่าง   บางทีก็เรียกว่า  กาสีนคร  บางที  ก็เรียก  กาสีปุระ หรือ กาสีบุรี
 
     เรื่องราวนี้เกี่ยวกับสถานที่ พอให้ทราบความเป็นไปทางการบ้าน การเมืองด้วย โยมจะได้มองสภาพแวดล้อมออก
 
     สำหรับเมืองพาราณสีนั้น  แม้ว่าจะหมดสภาพที่เป็นเมืองหลวง ของแคว้นใหญ่ไปแล้ว แต่เพราะเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ ก็ ยังมีความสำคัญมาก
 
     ยิ่งกว่านั้น   เมืองพาราณสีนี้   ยังเป็นเมืองที่แปลกพิเศษ คือ มีชื่อที่มั่นคง ปัจจุบันนี้ก็ยังเรียกเมืองพาราณสีต่างจากเมืองอื่นๆ ที่โดยมาก แม้แต่ชื่อก็ไม่เหลือ แม้จะเป็นแคว้นใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ก็จริง
 
     อย่างเมืองราชคฤห์    ก็หมดชื่อไปแล้ว   ปัจจุบันนี้เหลือแต่ชื่อที่เรียกกันทางโบราณคดี

ฯลฯ
 



 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2567 19:39:39 น. 0 comments
Counter : 54 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space