กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
15 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

สายมู



 
หลายเรื่องที่ควรรู้ให้ชัด
 
235 จะนอนคุดคู่อยู่ด้วยการอ้อนวอนปรารถนา หรือจะเดินหน้าด้วยอธิษฐาน
 

     มีแง่คิดเข้ามาอย่างหนึ่งว่า บางทีการอ้อนวอนก็ไม่ใช่ไร้ผล  เอาล่ะซิ   เดี๋ยวโยมก็บอกว่า เอ... ชักจะมาหนุนให้อ้อนวอนแล้ว
 
     อันนี้เป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติ   จึงลองมาวิเคราะห์กันดู   ที่ว่าการอ้อนวอนนี้ไม่ใช่ไร้ผลทีเดียวนั้น  มีอะไรแฝงอยู่
 
     การอ้อนวอนนั้น   โดยตัวมันเองไม่ใช่สิ่งที่ให้ผล   แต่ในการอ้อนวอนนั้น   มันได้ทำให้เกิดสภาพจิตอย่างหนึ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลพ่วงมาโดยไม่รู้ตัว   พวกที่อ้อนวอนนั้นทำไปโดยไม่รู้   แต่บางครั้งมันได้ผล
 
     ทำไมจึงบอกว่า  บางครั้งมันได้ผล สิ่งที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัวก็คือ สภาพจิต เมื่อมีการอ้อนวอนนั้น  จิตจะรวมในระดับหนึ่ง และทำให้เกิดแรงความมุ่งหวัง  แรงความมุ่งหวังนั้นทำให้จิตแน่วมุ่งดิ่งไป และมีพลังขึ้นมาในแนวของสมาธินั่นเอง
 
     จิตที่อ้อนวอนนั้น เมื่อความตั้งใจปรารถนาแรงมาก มันก็พุ่งดิ่งไปทางเดียว  จิตก็แน่วตั้งมั่นขึ้นมา จิตที่ตั้งมั่นนี้แหละเป็นคุณประโยชน์   คนอ่อนแอจึงอาศัยการอ้อนวอนมาช่วยตัว
 
     ส่วนคนที่ไม่อ้อนวอนเลย  แต่พร้อมกันนั้น  ก็ไม่รู้จักรวมจิตด้วยวิธีอื่น  บางทีบอกว่าตัวเองเป็นคนมีปัญญา  แต่เป็นคนที่พร่า จับจด  เมื่อจิตพร่าจับจดไม่เอาอะไรมุ่งลงไปแน่นอน จิตก็ไม่มั่น ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล เลยกลับไปแพ้คนที่ตัวว่าโง่เขลางมงาย
 
     เรื่องความตั้งมั่นแน่วแน่ของจิตนี้สำคัญมาก  คนอาจจะทำให้มันเกิดขึ้นมาโดยไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัว  แล้วจิตก็ทำงานให้อย่างที่เจ้าตัวไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัวด้วย   เลยพูดง่ายๆ  ว่ามันลงในระดับจิตที่ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว  
 
     ที่จริง  คนที่อ้อนวอนนั้น  เขาก็รู้ตัวในการอ้อนวอนของเขา  แต่ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา คือแทนที่จะมองเห็นการกระทำเหตุอันจะนำไปให้ถึงผลที่ตัวอยากได้  เขามองไปตันแค่สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ลัดข้ามไปยังผลที่อยากจะได้  แต่เพราะความที่ใจอยากแรงกล้า  ประสานกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เป็นศรัทธาอันดิ่ง  ก็จ่อแน่วเกิดเป็นแรงที่ทำให้จิตมั่นและมุ่ง
 
     ถ้าพูดในแง่การทำงานของจิต  ที่จริงเป็นการปรุงแต่งในจิตสำนึกนี่แหละ  ปรุงแต่งอย่างแรงทีเดียว  แต่แรงด้วยความรู้สึก  ไม่ใช่แรงด้วยความรู้  ก่อนที่จะตกภวังค์สะสมเป็นวิบากต่อไป
 
     รวมแล้ว การกระทำหลายอย่างที่เป็นไปนี้  เหมือนว่าเราไม่รู้ตัว  แต่ได้กระทำไปเอง โดยความเคยชินในการดำเนินชีวิตประจำวันบ้าง  โดยความเชื่อที่จูงนำตัวเองไปอย่างไม่รู้ตัวบ้าง โดยปัจจัยต่างๆ ชักพาให้เป็นไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ที่อยู่ในอวิชชา
 
     เมื่อทำการต่างๆ ได้ผลบ้าง  ไม่ได้ผลบ้าง  มีผลพลอยได้ขึ้นมาบ้างนั้น หลายอย่างเหมือนเป็นไปเอง คือ มันพอดีไปจำเพาะถูกจุดถูกจังหวะเข้า   ปัจจัยที่ตรงเรื่องเกิดขึ้น ก็เลยได้ผลหรือตรงข้ามกับได้ผล
 
     ทีนี้  พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเราพัฒนาตนเพื่ออะไร  ก็เพื่อให้ทำการต่างๆได้ผล โดยเป็นไปอย่างรู้ตัว   มองเห็นชัดเจนด้วยปัญญา มีความรู้เข้าใจ  ด้วยการเห็นจริง  ทำตรงตัวเหตุปัจจัย ดุจบังคับบัญชามันได้  เมื่อทำโดยรู้เข้าใจมองเห็นความเป็นไป  ก็ก้าวต่อได้  ไม่ใช่ว่าไปทำจับพลัดจับผลูพอดีตรงเข้า  ก็เลยได้ผลขึ้นมา  แล้วเมื่อไม่รู้เหตุผลที่เป็นไป ก็จมวนอยู่แค่นั้น
 
     สำหรับการอ้อนวอนนั้น  ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีอวิชชา แต่สภาพจิตของเขาที่มีอาการมั่นแน่วและได้ผลขึ้นมาในการอ้อนวอนนั้น  ก็เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ  คือเป็นกรรม ได้แก่การกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้นมา
 
     อธิบายหน่อยหนึ่งว่า จิตของเขา เอาสิ่งที่เป็นเป้าหมายของการอ้อนวอนนั้นเป็นสื่อ แล้วมีแรงความมุ่งหวังขับดันไป ได้ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากำกับ ทำให้เกิดความแน่วแน่และความพุ่งดิ่ง  ก็ทำให้จิตในระดับของความไม่รู้ตัวนี้  จับมั่นมุ่งอยู่กับความปรารถนาอันนั้น  ใจก็ครุ่นพัวพันอยู่ที่จุดหมายนั้น   แล้วเกิดแรงโน้มนำชักพาไปสู่ผลที่ต้องการ   แม้แต่โดยตนเองไม่รู้ตัว การอ้อนวอนในบางกรณีจึงได้ผล เป็นการจับพลัดจับผลูแบบหนึ่ง
 
     พวกไสยศาสตร์ทั่วๆ ไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป

     ในทางพระพุทธศาสนา  ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา  แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์
 
     พุทธศาสนิกชนที่ยังอยู่ในระดับนี้  เราก็ต้องยอมรับความเป็นปุถุชนของเขา อย่างน้อยก็ควรจะใช้หลักนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดี และให้มีทางเชื่อมต่อเข้าสู่การพัฒนาในไตรสิกขาได้
 
     พระพุทธศาสนาได้แยกสาระในเรื่องนี้ออกมาให้เราแล้ว  แต่บางทีเราก็จับไม่ได้  ก็เลยยังวุ่นกันอยู่
 
     ในระบบการอ้อนวอนที่บางทีได้ผลนี่ มันมีแก่นแท้อยู่ นั้นก็คือตัวความมุ่งหวังและใฝ่ปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ที่ทำให้จิตรวมกำลังพุ่งดิ่งไปในทางนั้น  สาระนี้ท่านเอาออกมาแล้วให้ชาวพุทธใช้ได้  เรียกว่า อธิษฐาน
 
     แต่ชาวพุทธทั่วไปก็แยกไม่ออกอีกนั่นแหละ ทั้งที่หยิบยกแยกออกมาให้โดยเรียกว่า “อธิษฐาน” แล้ว ชาวพุทธในเมืองไทยเรากลับเอาอธิษฐานไปปนกับความหมายในเชิงอ้อนวอนอีกตามเคย   จะเห็นว่าคนไทยทั่วไป แยกไม่ออกว่า อธิษฐาน ต่างกับการอ้อนวอนอย่างไร
 
     ตอนนี้  ต้องการจะพูดให้แยกออกได้ก่อน ว่าในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านเอาตัวแกนที่จะใช้ได้ออกมา คือ อธิษฐาน แล้วให้ชาวพุทธนำไปใช้ได้
 
     อธิษฐาน นี้  แปลว่า  ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว  คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมายหรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป
 
     แม้แต่จะบำเพ็ญกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ว่าเราทำได้ทีเดียวทั้งหมด ทั้งชาติก็ทำไม่ไหว  อย่าว่าแต่ปีสองปีหรือเดือนสองเดือนเลย  ตลอดชาตินี้เราจะทำกุศล หรือความดีทุกอย่างนี่  เราทำไม่ไหว
 
     ไม่เฉพาะพวกเราหรอก  แม้แต่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญความดี  บางทีทั้งชาติทำได้จริงจังข้อเดียว  ไม่ใช่ว่าข้ออื่นไม่ทำ ทำดีทั่วๆไป แต่มีข้อเด่นที่มุ่งจริงจังอยู่ข้อสองข้อ
 
      เพราะฉะนั้น ในการเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่งๆ นี้จะต้องมีจุดที่มุ่งมั่น การทำดีต้องมีเป้าหมายว่า จะทำความดีอันไหนให้เป็นพิเศษ เราต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาก่อนว่า อันนี้เราควรจะทำ อันนี้เราจะต้องทำให้ได้  เมื่อมั่นใจกับตัวเองแล้วก็อธิษฐานจิต
 
     การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว
 
        ๑. ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ
 
        ๒. ต่อจุดมุ่งหมาย  หมายความว่า  เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วเราก็อธิษฐานจิต
 
      การอธิษฐานจิตนี้  เป็นการทำให้จิตของเรา  พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น  พูดเชิงภาพพจน์ ว่า เป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิตเลยทีเดียว  (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญา ก่อนตกภวังค์ อย่างที่พูดข้างต้น)  แล้วภวังคจิตอันเป็นวิบากคือเป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่งแห่งศักยภาพของเรา  ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา  แม้แต่โดยไม่รู้ตัว  ให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น  เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้น
 
     สิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้อง  เวลาเข้าไปสัมพันธ์  เราจะมีความโน้มเอียงที่จะเข้าไปหาสิ่งโน้นสิ่งนี้   โดยมีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกัน
 
     จากจุดที่มีความรู้สึกหันเหโน้มเอียงต่อสิ่งเหล่านั้น  ในเวลาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์  เริ่มแต่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกันนี่แหละ วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปตามแนวทางของตนๆ  ทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน และนี่แหละ คือสิ่งที่เรียก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปตามกรรม
 
     ฉะนั้น  แรงความโน้มเอียงความสนใจเป็นต้นที่ว่ามานี้  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ  แม้แต่ตัวเราเองบางทีก็ไม่รู้ตัว คนหนึ่งมองสิ่งหนึ่งก็มีความรู้สึก และเข้าใจอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็เข้าใจและรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง
 
     จากจุดเริ่มต้นที่มอง และรู้สึกอย่างใด ก็จะทำให้เขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นไปตามแบบหรือลักษณะเฉพาะของตน  รวมถึงการที่เขาจะหันเหไปหา จะมุ่งไปในทิศทางนั้น จะทำความเพียรพยายามให้ได้ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น
 
     นี่เป็นการพูดในระยะยาว
 
 




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2567
0 comments
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2567 7:28:44 น.
Counter : 143 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space