กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
25 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ดูข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร  



235 ดูของข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร  
 

     เมื่อมองจากคำสอนในพุทธศาสนา แล้วดูศาสนาฮินดู กับ ศาสนาเชน จะเห็นศาสนาทั้งสองนั้นเป็นสุดโต่งสองอย่าง
 
     ฝ่ายหนึ่ง คือศาสนาฮินดู  ไปสนใจใส่ใจอยู่กับเรื่องซูเปอร์แนทจูรัล (supernatural) คือ เรื่องเหนือธรรมชาติ  เรื่องเทพเจ้า ฤทธิ์เดช ปาฏิหาริย์การดลบันดาล มองข้ามเรื่องธรรมชาติ
 
     พวกฮินดูถือว่า  เรื่องสำคัญคือเทวดานี่ยิ่งใหญ่เหนือธรรมดา บันดาลทุกอย่างได้ จะเอาอะไรให้เป็นอย่างไรก็ได้  ไม่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย  แม้จะมีเรื่องสัตว์อยู่บ้างก็ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา แต่เป็นสัตว์พิเศษ และวิเศษ  เช่น  เป็นพาหนะของเทพเจ้า  ไม่ใช่ชีวิตที่อยู่กันในท่ามกลางธรรมชาติ  ประกอบด้วยมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่พึงมีความสัมพันธ์กันด้วยคุณธรรม  นี้เป็นความแตกต่างในแบบที่ว่าศาสนาฮินดูนั้นมองเลยเหนือธรรมชาติไป
 
     ส่วนพวกเชนนั้น  บอกว่าฉันอยู่ตามธรรมชาติ  แต่กลายเป็นว่าไม่เอาเรื่องตามสมมติของมนุษย์  ปล่อยตัวจนกระทั่งไม่นุ่งผ้าไปเลย
 
     พระพุทธศาสนานี้   ถ้ามองในแง่เทียบกับสองศาสนานั้น  ก็จะเห็นความเป็นทางสายกลางแบบง่ายๆ อย่างหนึ่ง  แต่ที่จริงมีความหมายลึกซึ้งลงไปอีก ขอย้ำทวนไปถึงหลักการที่พูดมาอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะเห็นหลักการของพระพุทธศาสนาเมื่อเทียบกับศาสนาฮินดู และเชน  คือ
 
        ๑. พระพุทธศาสนาสอนให้อยู่กับความเป็นจริง ให้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎของมัน คือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วปฏิบัติไปตามเหตุปัจจัยด้วยความมีเหตุ มีผล เรียกว่า ปฏิบัติตามธรรม
 
     ธรรม  คือ ตัวหลักความจริง หรือกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย พระพุทธศาสนาสอนให้อยู่กับธรรม  อยู่กับความเป็นจริง  ไม่หนีความจริง  ไม่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ
 
        ๒. ให้หวังผลจากการกระทำที่ถูกต้อง ให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายามของตน ไม่ใช่มัวหวังผลจากการดลบันดาลของเทพเจ้า แล้วรอคอยความช่วยเหลือ เรียกว่า ทำตามหลักกรรม
 
        ๓. ให้มนุษย์ฝึกฝนพัฒนาตนเอง  ให้มีคุณสมบัติ  มีความพร้อม  มีพฤติกรรมดีงาม มีจิตใจเจริญงอกงาม  มีความสามารถที่จะมีความสุข เป็นต้น  และมีปัญญาที่รู้ความจริง  เข้าใจธรรม แล้วพึ่งตน  สามารถทำการที่ถูกต้องเองได้  ไม่ต้องบูชายัญ เรียกว่า เจริญสิกขา
 
     ขั้นที่หนึ่ง  ของฮินดูนั้นเขาอยู่กับเทพที่เหนือธรรมชาติ  แต่ของพระพุทธศาสนาอยู่กับความเป็นจริงของธรรมชาติเรียกว่า ธรรม
 
     ขั้นที่สอง  ของฮินดูเขาหวังผลจากการดลบันดาลของเทพเจ้าผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์  ส่วนของพระพุทธศาสนาให้หวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายาม เรียกว่า กรรม (พระพุทธเจ้าจึงเป็นกรรมวาท และวิริยวาท = ผู้ถือหลักกรรมคือการกระทำ และถือหลักความเพียร)  
 
     ขั้นที่สาม ของฮินดูเขาบอกความต้องการของตนและเอาใจเทพเจ้า ด้วยการบูชายัญ แต่ของพระพุทธศาสนาให้ฝึกฝนพัฒนาตนที่จะรู้ทันเข้าถึง และเอาประโยชน์จากจริงของธรรมชาติ เรียกว่า สิกขา
 
     เมื่อมองผลรวมในระดับสังคม:  ถ้ามนุษย์ไม่มัวมองหาเทวดา แต่หันมาเอาใจใส่กัน ช่วยเหลือกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน ช่วยกันระดมแรง ระดมปัญญาแก้ปัญหา ชีวิตและสังคมมนุษย์จะดีขึ้นมากมาย
 
     พระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ที่พัฒนาแล้วนี่แหละ จะมาช่วยกันสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามขึ้นมา ที่มนุษย์ช่วยกันเองได้ สังคมอย่างนี้จึงจะดีที่สุด  ดีกว่าจะไปรอให้เทพเจ้ามาช่วย
 
     หมายความว่า  มนุษย์เราเองนี่แหละ  พัฒนากันให้ดีแล้ว จะช่วยกันได้ดีที่สุด  จะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้  ไม่ต้องรอคอยอำนาจของพระพรหม ไม่ต้องรอคอยความช่วยเหลือของเทพเจ้า นี้ก็คือระบบกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นสังคมของคนที่พัฒนาแล้ว คือสังฆะนั่นเอง
 
     สังฆะนี่เป็นระบบที่ถือว่า เมื่อมนุษย์เราพัฒนากันดีแล้ว ทั้งด้านพฤติกรรม  ด้านจิตใจ และด้านปัญญา  ทั้งด้านความสัมพันธ์กับชีวิตของตนเอง  ความสัมพันธ์กันในสังคม และความสัมพันธ์กับธรรมชาติมนุษย์  เรานี้แหละจะช่วยกันเองได้ดีที่สุด เป็นทางสายกลาง ตรงข้ามกับสังคมที่เป็นสุดโต่งสองทาง คือ
 
        ๑. สังคมที่มนุษย์แต่ละคนต่างก็เห็นแก่ตัว ต่างคนต่างจะเอาให้แก่ตน มุ่งให้ตัวอยู่รอดและเหนือเขา แล้วก็แย่งชิงเบียดเบียนเอาเปรียบ ข่มเหงกัน
 
        ๒. สังคมที่มนุษย์ไม่พัฒนาตัว  มองข้ามหัวเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มัวหวังพึ่งอำนาจของเทพเจ้า ต่างกลุ่มต่างพวก นับถือเทพเจ้าคนละองค์ แล้วหันมาทะเลาะและทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง
 
     มีบทเรียนมากมายจากประวัติศาสตร์ว่า  มนุษย์ทำลายกันเอง เบียดเบียนล้างผลาญกันเองเพราะนับถือเทพเจ้าคนละองค์  แม้แต่นับถือเทพเจ้าองค์เดียวกันก็ยังแบ่งกันและทำลายกันอีก
 
     พวกนี้บอกว่า พวกฉันเท่านั้นเป็นที่โปรดของเทพเจ้า อีกพวกหนึ่ง ไม่ได้รับการโปรด หรือนิกายหนึ่งว่าอีกนิกายหนึ่งเป็นพวกทรยศต่อพระเจ้า เสร็จแล้วก็ทำลายล้าง รบกัน นอกจากนั้น ใครไม่นับถือเทวดา ก็ยังไปบังคับเขา ไปฆ่าเขาอีก
 
     เมื่อเป็นอย่างนี้  มนุษย์ก็มารบกันทำลายกันเพราะเทวดา เพราะไปนับถือเทวดาคนละองค์หรือนับถือคนละแบบ อย่างนี้เป็นต้น
 
     แต่พุทธศาสนาสอนว่าให้มนุษย์พัฒนาตัวเอง  และช่วยกันและกันให้พัฒนา  โดยให้แต่ละมนุษย์นั้น มีเจตนามุ่งดีด้วยเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก และมีปัญญารู้ความจริงของธรรมชาติ
 
     มนุษย์ที่พัฒนาแล้วนี่แหละ จะช่วยกันเองได้ดีที่สุด การช่วยให้มนษยุพัฒนาตัวแล้วมาช่วยกันเอง  จะดีกว่ามัวไปหวังและรอคอยการช่วยเหลือจากเทพเจ้า แล้วมาฆ่ากันเองระหว่างมนุษย์
 
     อันนี้เป็นหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งมาประสานกับหลักพระรัตนตรัยที่พูดไปแล้ว กล่าวคือ
 
     ด้วยการเข้าถึงธรรม  ที่มีอยู่ตามธรรมดา  มนุษย์ก็พัฒนาขึ้นเป็น พุทธะ
 
     มนุษย์ที่พัฒนาตนเองเป็นพุทธะแล้ว และที่จะเป็นพุทธะ ก็มาช่วยกันสร้างและรวมกันเป็นสังฆะ คือเป็นสังคมของคนพัฒนาแล้ว  ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ซึ่งจะช่วยเหลือกันเองได้ดีที่สุด
 
     นี้เป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา ที่เราไม่ควรจะละทิ้ง ละเลย หรือหลงลืม แม้แต่ความเข้าใจในพระรัตนตรัย  ถ้าไม่มองเห็นหลักการตามความหมายที่ว่ามานี้  ก็จะมองกันอย่างเลือนลางมาก

 


Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2567 19:08:10 น. 0 comments
Counter : 121 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space