รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
23 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

ผลของการปฏิบัติธรรม

เมื่อท่านลงมือฝึกฝนการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามมรรค8 นี่คือการสร้างเหตุขึ้น ย่อมมีผลตามมาอย่างแน่นอน

ในความเห็นของผม ผลแห่งการปฏิบัติธรรมนั้นก็คือ ข้อ 1 / 2 / 3 ของอริยสัจจ์ 4 นั้นเอง

ผลข้อที่ 1 คือ การรู้จักทุกข์อย่างถ่องแท้ คือ การเห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจริงจากสัมมาสติ
และสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น

ระดับความตั้งมั่นของสัมมาสมาธิ จะทำให้.เห็น.ทุกข์ที่หยาบและละเอียดที่ต่างกันออกไปแล้วแต่กำลังความตั้งมั่นของสัมมาสมาธิ

1.1..ถ้าสมาธิไม่ตั้งมั่นเลย ก็ไม่เห็นทุกข์ เพียงแต่รู้ว่าทุกข์นั้นมีจริง และ ทุกข์นั้นเป็นตัวเรา เป็นของเรา

1.2..ถ้าสมาธิตั้งมั่นบ้าง ไม่ตั้งมั่นบ้าง จะเห็นทุกข์ได้บางอย่าง บางอย่างจะไม่เห็น ทุกข์ทีเห็นได้ ก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้นักภาวนาได้รู้จัก ทุกข์ที่ยังไม่เห็น ก็จะมีสภาพเหมือนข้อ 1.1

1.3..ถ้าสมาธิตั้งมั่นอย่างมาก จะเห็นทุกข์ได้หมด ทั้งที่หยาบและละเอียด ทุกข์ที่เห็นจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้นักภาวนาดูอย่างรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ นักภาวนาจะเข้าใจได้เองและเกิดภาวนามยปัญญาว่า ทุกข์นั้นเกิดขึ้น ทุกข์นั้นตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วทุกข์นั้นก็ดับไป ทุกข์นั้นไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

ทุกข์ในข้อ 1 นี้ จะประกอบด้วย ทุกขเวทนาทั้งทางกายและทางใจ , จิตปรุงแต่งต่าง ๆ ที่แสดงตัวออกมาให้เห็นเป็นพลังงานที่วูบวาบในมโนทวาร

**************
ผลข้อที่ 2 คือ ความสามารถในการละ.ตัณหา. ซึ่งหมายความว่า อำนาจของตัณหาไม่สามารถนำ.จิตลููกโป่ง.เข้าไปเกาะติดแนบชิดกับทุกข์

จากข้อ 1.1 เมื่อสมาธิไม่ตั้งมั่นในคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ฝึกฝน หรือ ฝึกฝนผิดทาง อำนาจของตัณหายังแรงกล้า คนทั่ว ๆ ไปไม่สามารถละได้ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจึงไม่สลายตัวลงไปอย่างรวดเร็วดังข้อ 1.3 เมื่อทุกข์เกิด คนทั่ว ๆ ไปจึงรับทุกข์ไปแบบเต็ม ๆ ไม่มีการต่อรองกับใครได้เลย

จากข้อ 1.2 เมื่อสมาธิตั้งมั่นบ้าง ไม่ตั้งมั่นบ้าง ในยามที่สมาธิไม่ตั้งมั่น อำนาจของตัณหายังแรงกล้าเช่นเดิม นักภาวนาจึงยังคงติดกับในอำนาจของตัณหานี้อยู่ แต่ในคราวที่สมาธิตั้งมั่น อำนาจของตัณหาจะอ่อนแอ จิตนักภาวนาจะเป็นอิสระจากตัณหาได้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น

จากข้อ 1.3 เมื่อสมาธิตั้งมั่นอย่างมาก ตัณหาไม่อาจมีอำนาจได้อีก จิตของนักภาวนาจะเป็นอิสระจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ทุกข์ถึงแม้เกิด แต่ไร้อำนาจแห่งตัณหาเสียแล้ว นักภาวนาจะไม่ทุกข์ไปกับทุกข์ที่เกิดขึ้นอีก

******************
ผลข้อที่ 3 คือ นิโรธ ผลในระดับนี้จะมี 2 แบบ กล่าวคือ

แบบที่ 3.1 จิตปลอดอำนาจแห่งตัณหาเป็นบางครั้ง ซึ่งขึ้นกับกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิ ในยามที่จิตตั้งมั่น ตัณหาไม่มีอำนาจ แต่ในยามที่จิตไม่ตั้งมั่น ตัณหายังคงมีอำนาจอยู่

แบบที่ 3.2 จิตปลอดจากอวิชชาครอบงำ ซึ่งเกิดขึ้นจากอำนาจของปัญญาญาณที่รู้แจ้งอวิชชา

******************
ผลแห่งการปฏิบัติที่ผมเสนอแบบนี้ นักภาวนาสามารถนำไปใช้ได้จริงกับตนเองได้ทันทีว่า ตนเองได้ผลแล้วอยู่ในระดับใด โดยไม่ต้องไปถามใคร หรือ หาใครมารับรองผลการฝึกของตนเอง

การฝึกฝนที่ไม่หวังผลแห่งการปฏิบัติ ฝึกด้วยอาการที่ผ่อนคลาย เหมือนฝึกเล่น ๆ ย่อมส่งผลออกมาได้เอง และ นักภาวนาจะทราบได้ทันทีเมื่อนักภาวนามีทุกข์เกิดขึ้นแล้ว แต่ในขณะที่ฝึกฝนอยู ยังไม่มีทุกข์เกิดขึ้น นักภาวนาจะยังไม่ทราบตัวเองเลยว่า ตนเองฝึกไปถึงไหนแล้ว

นักภาวนาไทยส่วนมาก มักอยากจะวัดผลแบบตำราที่กล่าวไว้ คือ ความเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ การวัดผลแบบนี้เป็นสิ่งที่ยากในปัจจุบัน เพราะนักภาวนาจะไม่ทราบตัวเองว่าไปถึงไหนแล้ว คร้้นจะไปถามหาไหว้วานคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่เชื่อได้ยากยิ่ง อาจถูกอำนาจวาทะศิลป์ทำให้เคลิ้มไปจนหลงเข้าใจผิดได้ และนักภาวนารุ่นพี่ที่เขาเดินทางผ่านมาก่อนที่เขารู้จริง ๆ ไม่สงสัยอีกแล้ว เขาก็มักจะไม่บอกอีกเช่นกัน

การเห็นทุกข์ รู้จักทุกข์ ละตัณหาได้ เกิดนิโรธ นี่คือผลแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงของนักภาวนา




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2553
4 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:11:37 น.
Counter : 1084 Pageviews.

 

เห็นด้วยแน่นอน กำลังฝึก (แบบค่อยๆเตาะแตะ)อยู่ค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปัน และแนะนำนะคะ

 

โดย: มะลิลา IP: 223.206.190.235 24 พฤศจิกายน 2553 0:05:06 น.  

 

กิจกรรมการบรรยายและการปฏิบัติธรรมครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่บ้านหนังสือชินเขต 1 ในวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553 ระหว่างเวลา 13.00 -16.00 น.

ท่านที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม กรุณาลงชื่อได้ที่หน้ากิจกรรม

 

โดย: นมสิการ 24 พฤศจิกายน 2553 6:04:36 น.  

 

สมาธิมีประโยชน์มากครับ เราควรหมั่นฝึกจิตใจให้สงบบ้าง จะดีมากครับ

 

โดย: AkuAki 26 พฤศจิกายน 2553 11:55:25 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 15:28:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.