รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ที่มาของกฏ 3 ข้อ

มีคำถามเข้ามาว่า
ที่ผมกล่าวมา คือผลแห่งการ ปฎิบัติและฝึกฝนใช่ไหมครับ หากผมได้ฝึกตามที่อาจารย์ได้กล่าวเน้นย้ำ 3 ข้อ ผมจะได้รู้เอง คือรู้ ที่มาจากข้างในเอง เกิดขึ้นเอง เข้าใจเองโดยอัตโนมัติ โดยมิต้องอ่านไตรปิฎก อย่างนั้นใช่ไหมครับ ผมต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีกไหมครับ

บทความนี้ หักมุมความคิดผมเลย อาจเป็นที่ผมคาดหวังผลผิดทาง อาจเป็นด้วยอ่านประวัติการฝึกฝน ผลอันอัศจรรย์มามากไปหน่อย

******

สิ่งที่คุณถามนั้น ยากที่จะตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ครับ
เพราะว่า มันขึ้นแต่ละบุคคล แต่ในความเห็นของผมนั้นเป็นดังนี้

การปฏิบัตินั้น สมควรเริ่มจากการเข้าใจว่าวิธีการปฏิบัติคืออย่างไรให้ได้ก่อน และสมควรเข้าใจผลแห่งการปฏิบัติว่าคืออย่างไรด้วย

ในพระไตรปิฏกมีกล่าววิธีการปฏิบัติไว้ก็จริง แต่ผู้อ่านต้องนำวิธีการนั้นมาแยกย่อยออกจนเป็น work instruction ได้ถูกต้องถึงจะปฏิบัติได้ตรง เมื่อผมได้เดินทางในเส้นทางนี้ ผมก็ได้อ่านพระไตรปิฏก แต่ผมไม่อาจจะตีความออกเป็น work instruction ได้ตรงทาง เพราะความรู้ผมตอนนั้น ไม่เพียงพอที่จะทำได้เลย ทำให้ผมเสียเวลาผิดไปมากในการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติผิดไป ครั้นผมได้ฟังการสอนจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ผมก็ต้องนำมาตึความเป็น work instruction อีก ผมก็ยังตึความผิดอีก ทำให้ผมปฏิบัติผิดอีก เสียเวลาอีก

ผมได้นำความรู้จากพระไตรปิฏก และ คำสอนจากครูอาจารย์ มานั่งวิเคราะห์ถึงเหตุและผลในการปฏิบัติที่ผ่านมาของผมว่าผิดพลาดตรงไหนบ้าง ผมพบว่าพอผมวิเคราะห์ ผมก็เห็นจุดย่อย ๆ มากมายที่คำสอนของเหล่าครูอาจารย์ไม่ได้บอกไว้ ซึ่งจุดย่อย ๆ นี่เองกลับเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติถูกหรือผิด ยกตัวอย่างเช่น การภาวนา พุทโธ ผม พุทโธ มานานมากกว่าสิบปีขึ้นไป จิตรู้ ก็ไม่แยกตัวออกมาเลย เพราะสมัยนั้น อาจารย์ที่สอนก็มักบอกว่า พุทโธ ไป ไม่ต้องถาม พุทโธ เร็ว ๆ ให้อยู่กับพุทโธ ท่านสอนแค่นี้ แต่ผมก็ไปไม่ได้จริง

พอผมมาฝึกแบบหลวงพ่อเทียน ท่านสอนไม่ให้บริกรรม ผมฝึกไปเพียง 2 ปี จิตรู้ ผมก็แยกตัวออกมาได้แล้ว พอผมรู้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมจึงเข้าใจครับว่า การบริกรรมนั้นดีจริงในการฝึกฝน แต่ต้องเข้าใจวิธีการบริกรรมจึงจะได้ผลครับ ไม่ใช่บริกรรมแบบไม่รู้เรื่องไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่เข้าใจจุดปลีกย่อย ก็จะเสียเวลาไปเป็นสิบ ๆ ปีแบบผมที่ผ่านมาแล้วไม่ได้ผลเลย

ผมได้นำกฏ 3 ข้อมาแสดงไว้ นั่นคือ ประสบการณ์ที่ผมได้มาทั้งหมดในการปฏิบัติ ที่ผมคิดว่า มันเป็นภาษาไทยชาวบ้านยุคปัจจุบันที่คนฟัง เมื่อฟังแล้วจะเข้าใจในการวิธีการฝึกฝน เมื่อได้ฝึกฝนตามนั้น เขาก็จะไดัพบกับผลแห่งการฝึกฝนที่ออกมา ซึ่งผลแห่งการฝึกฝนแบบนี้ ผมได้เขียนบอกทางไว้เป็นระยะต่างๆ ใน blog ซึ่งผู้ติดต่ามอ่านย่อมได้รู้ว่า เมื่อฝึกแบบนี้ ผลจะออกมาแบบนี้ เพียงแต่ตอนฝึก อย่าหวังผล แต่เมื่อฝึกแล้ว มีผลปรากฏออกมาเองแล้ว ผู้ฝึกก็จะรู้ว่า ผลได้ออกมาแล้วครับ

ถึงแม้ว่า ผมจะบอกผลการปฏิบัติไว้ใน blog ก็จริง แต่ก็ยังมีจุดปลีกย่อยอีกมาก ที่ผมไม่ได้บอกไว้ เพราะผมไม่ทราบว่า จุดปลีกย่อยเหล่านี้มีอะไรบ้าง แต่เมื่อมีคนถามมานั่นแหละ ผมจึงจะรู้ว่า คนเขายังเข้าใจอะไรผิดเพี้ยนไปอีก ผมจึงนำมาแสดงไว้ใน blog นี้ครับ

สรุปก็คือ ถ้าใครสักคนปฏิบัติตามกฏ 3 ข้อนั้น ผลก็จะออกมา และ ผลที่ออกมาขอให้ศึกษาจากสิ่งทีผมเขียนไว้ใน blog นี้ครับ แต่ถ้าใครไม่สนใจผลที่ออกมา ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ก็ได้ครับ แต่เขาจะไม่เข้าใจว่า สิ่งที่เขากำลังปฏิบัติอยู่นั้นตรงทางหรือยัง เพราะเขาไม่ได้ตรวจสอบผลการปฏิบัตินั้นเอง

แต่ถ้าเขาไม่สนใจผลจริง ๆ มันก็ได้อยู่ครับ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ เขาอาจได้ผลแล้ว แต่เขาเพียงไม่รู้เท่านั้นว่าเขาได้ผลแล้ว

ผลการปฏิบัตินั้น จะว่าไป ผลมันมีและผลนั้นพูดออกมาได้หลายอย่าง แล้วแต่ว่าใครจะยกจุดใดมาพูดจุดใด บางคนพูดถึงนิพพาน บางคนพูดถึงการไม่ยึดติด บางคนพูดถึงไตรลักษณ์ แต่ทั้งหมดจะออกมาจากผลการปฏิบัติทั้งสิ้น แต่การพูดในสิ่งทีคนเข้าใจได้จริง ๆ ผมจะพูดถึงการไม่ยึดติด การเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม เพราะ 2 สิ่งนี้ ผมคิดว่าคนปัจจุบันเข้าใจได้มากกว่าการพูดถึงสิ่งอื่นๆ ในผลแห่งการปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้ผลจริง ๆ ผลก็จะปรากฏให้.เห็น.ได้จริง (เน้นย้ำว่า .เห็น. ถ้ายังไม่เห็น ยังไม่ใช่ผลครับ )

**************
การปฏิบัตินั้น ต้องเข้าใจวิธีการ จึงจะได้ผลออกมาได้จริง
ถ้าไม่เข้าใจ จะไม่มีทางได้ผลออกมาเลย
ผลแห่งการปฏิบัตินั้น ต้อง.เห็น.ได้จริงๆ ถ้าไม่เห็นยังไม่ใช่ผล แต่เพียงการคิดเอาเองของนักภาวนาเท่านั้นครับ







Create Date : 15 มกราคม 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:09:15 น. 6 comments
Counter : 1139 Pageviews.

 
กรุณาอย่าได้ถามวิธีการภาวนาแบบบริกรรมครับ
ผมแนะนำให้ฝึกตามกฏ 3 ข้อไปโดยไม่บริกรรม
แล้วจิตรู้แยกตัวออกมาได้ แล้วฝึกไปเรื่อยๆ แบบเดิม
ก็พอครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:5:24:13 น.  

 
รับทราบครับอาจารย์

เนื่องด้วยระดับความเข้าใจผมยังอยู่ในระดับต่ำๆ จึงขอยึดแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ เพื่อฝึกฝน และหากมีสิ่งใดติดขัด จักขอความเมตตาจากอาจารย์ให้ช่วยแก้ไขต่อไปครับ

เริ่มแรกผมฝึกที่วัดป่าสุคะโต วันที่ 5 ก็ได้เห็นหุ่นยนต์เคลื่อนไหว แต่หลังจากจบคอร์ส ก็ไม่ได้ฝึกต่อ จนได้มีบุญพบบล็อคนี้และได้ไปฟังอาจารย์สอน จึงได้รู้ว่า ในชีวิตประจำวันก็ฝึกได้ อาบน้ำ แปรงฟัน พับผ้า ดูทีวี 9ล9

แนวทางนี้"ผมคิด"ว่าเหมาะกับไลสไตล์ผมแล้ว จึงขออนุญาติให้อาจารย์เป็น "ไอดอลในทางทางธรรม" ของผมนะครับ -@^_^@-


โดย: Littleyogi IP: 180.183.243.128 วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:8:31:02 น.  

 
เรียนอาจารย์ครับ
กฎ 3 ข้อ
1 รู้สึกตัว
2 ผ่อนคลาย สบายๆ ไม่เครียด
3 อย่าอยากรู้อะไร (รู้สึกตัว)
หมายความว่าอย่างนี้ถูกไหมครับ
นั่งอยู่เฉย ๆ ยังไม่รู้สึกตัว(ยังไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ใข่)ก็ไม่เป็นไร อย่าอยากรู้สึกตัว เดี๋ยวจะผิดกฎข้อ 3
ไม่ต้องใส่ใจอะไร อย่ากระนั้นเลยขยับมือแขนขาเพื่อให้รู้สึกตัวว่ามีการเคลื่อนไหวดีกว่า (ผมคิดมากเกินไปหรือเปล่า)
ขอบคุณอาจารย์มากครับ


โดย: คนใหม่ IP: 117.47.148.146 วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:18:54:07 น.  

 
ผมจะยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมให้คุณเห็นในกฏข้อที่ 3
ถ้าคุณกำลังอ่าน blog ผมอยู่ แล้วเปิดพัดลมให้ส่ายไปมา
คุณอ่านหนังสือไป คุณก็รู้สึกได้ถึงลมจากพัดลมที่พัดมากระทบร่างกายของคุณได้ใช่ใหม

ถ้าตอบว่าได้ อาการอย่างนี้ คือ คุณรับรู้ได้โดยไม่อยากรู้ว่ามีลมมาพัดเลย คือ คุณไม่ได้สนใจในลมทีพัดอยู่ แต่คุณรู้สึกได้เอง

ถ้าตอบว่าไม่ได้ อาการอย่างนี้ คือ คุณขาดความรู้สึกตัวไปแล้วครับ
คุณจึงรู้สึกไม่ได้ถึงลมที่มากระทบร่างกาย

สำหรับคนใหม่ ๆ จะพบว่า อาการรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัวนี้จะสลับไปมาเสมอ บางครั้งรู้สึกตัว บางครั้งก็จะไม่รู้สึกตัว มันเป็นอย่างนี้

ลองไป download เสียงกิจกรรมมาฟัง เข้าไปกลุ่มกิจกรรมครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:1:09:01 น.  

 
คุณคนใหม่ แนะนำอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมครับ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=16-01-2011&group=13&gblog=49


โดย: นมสิการ วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:8:44:12 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:24:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.