รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
เหตุและผล ของกฏการภาวนา 3 ข้อ

ในวันกิจกรรม ผมได้พูดถึงกฏ 3 ข้อในการภาวนา คือ
1.รู้สึกตัว
2.ผ่อนคลาย สบาย ๆ อย่าเครียด
3.อย่าอยากรู้อะไร แต่ให้จิตเขารู้เอง

ในบทนี้ ผมจะมาเขียนถึงเหตุและผลในกฏการภาวนา 3 ข้อนี้ครับ
ขอให้ดูรูปประกอบ


รูปข้างบนเป็นรูปเก่า ที่ผมใช้ใน blog นี้มามากกว่า 1 ครั้ง แต่ก็สามารถใช้ได้ดีกับเรื่องนี้

ขอให้ดูรูปด้านซ้าย

รูปด้านซ้ายมือ เป็นสภาวะของนักภาวนาที่ปฏิบัติตามกฏ 3 ข้อข้างต้น เพียงนักภาวนามีความรู้สึกตัวที่จิตใจดีอยู่ มีความผ่อนคลาย ไม่มีความอยากในจิตใจในการที่จะรู้สิ่งใด จิตรู้ของนักภาวนาก็อยู่ที่ฐานของการรู้ได้แล้ว (ในภาษาพระวัดป่า จะเรียกลักษณะนี้ว่า จิตตั้งอยู่ในฐาน)
แต่เนื่องด้วยนักภาวนามือใหม่ กำลังสติยังอ่อนมาก จึงไม่อาจเห็นลักษณะอาการที่จิตอยู่ในฐานอย่างนี้ได้

เมื่อจิตอยู่ในฐานของการรู้ นักภาวนาจะเห็นอาการต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ อย่างดังรูปด้านซ้ายมือ และนี่คือ ลักษณะอาการที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น แต่เนื่องจากกำลังสติสัมปชัญญะยังอ่อนอยู่ จิตตั้งมั่น แบบนี้จึงอยู่ได้ไม่นานนัก กลายเป็นจิตไม่ตั้งมั่นไป

อาการที่จิตไม่ตั้งมั่น ก็ดังภาพด้านขวามือ จิตจะไปเน้นรู้ในบางสิ่ง ที่เป็นอย่างนี้ เพราะตัณหา หรือความอยากรู้ที่เกิดขึ้นในจิตใจที่ไม่เป็นไปตามกฏข้อที่ 3 นั่นเอง

เมื่อจิตเกิดความอยากรู้ ที่ไม่เป็นไปตามกฏข้อที่ 3 จิตรู้ของนักภาวนาจะวิ่งออกจากฐานเข้าไปจับยึดกับสิ่งที่ต้องการรู้ทันที เช่น เมื่อนักภาวนาชายเห็นหญิงสาวสวย จิตของนักภาวนาก็จะวิ่งไปจับภาพหญิงสาวสวยทันที ผลคือ จิตไม่ตั้งมั่นอีกต่อไป ถ้าการจับยึดสมบูรณ์เต็มที่เมื่อไร โมหะก็จะเข้าครอบครองจิตใจของนักภาวนาชายผู้นี้ทันที แล้วการปรุงแต่งที่เป็นราคะก็จะเข้ามา หรือ พูดภาษาชาวบ้านก็คือ ราคะเกิดในจิตใจแล้ว

ท่านจะเห็นว่า กฏ 3 ข้อที่ผมยกมากล่าวอ้าง ก็คือ การฝึกฝนเพื่อให้จิตเกิดความตั้งมั่นอยู่ในฐานนั่้นเอง อันเป็นการฝึกที่ตรงทางไม่อ้อมค้อมเพื่อให้จิตตั้งมั่้น เมื่อนักภาวนาฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะค่อยๆ เพิ่มความตั้งมั่นขึ้นทีละน้อย แต่นักภาวนาจะยังดูไม่ออกในระยะแรก ๆ และระยะกลางๆ จนเมื่อนักภาวนาเกิดญาณขึ้นมาเมื่อไร จะเห็น จิตรู้ ได้นั่นแหละ นักภาวนาจึงจะเห็นได้ว่า จิตนั้นตั้งมั่นอยู่กับฐานเป็นอย่างนี้ อย่างนี้เอง

การฝึกฝนให้จิตตั้งมั่นต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะจิตใจให้คุ้นเคยกับสิ่งใหม่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วดังใจหมาย นักภาวนาจึงสมควรอดทนในเรื่องภาวนานี้ ถ้าต้องการจะหลุดพ้นไปจากทุกข์อย่างที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

การภาวนาทุกอย่าง สมควรจะอธิบายได้ว่า ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์เพียงใด ถ้าอธิบายให้เข้าใจไม่ได้ นักภาวนาก็จะเกิดข้อสงสัย ยิ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางในการภาวนาไป

ถ้าท่านสงสัยในการภาวนาวิธีแบบใดว่า ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์เพียงใด ขอให้ลองใช้ความคิดพิจารณาดูว่า คำสอนในการภาวนาแบบนั้น ๆ เข้าได้กับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า ..ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น เธอจักเห็นธรรมตามความเป็นจริง..

กุญแจหลักของพุทธพจน์นี้เป็นเหตุและเป็นผลกันที่ว่า การหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ คือ การเห็นธรรมตามความเป็นจริง และการเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้นั้น จะต้องมาจาก จิตที่ตั้งมั่น และการที่จิตทีตั้งมั่นได้นั้่น คือ การเจริญสมาธิที่ถูกหลักการของพุทธเจ้าที่ทรงสอนไว้

ท่านลองนั่งคิดพิจารณาดูการภาวนาของท่านหรือคำสอนของใครๆ ก็ตามว่า สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้หรือไม่ในพุทธพจ์ดังกล่าว

เรื่องคำสอนการปฏิบัติของท่านอื่นนี้ ผมเขียนมากไม่ได้ เดียวจะกระเทือนกัน ท่านที่มีปัญญาลองพิจารณดูเอง ผมได้แนะแนวทางให้ท่านแล้ว ถ้าท่านตอบโจทย์ได้หมด ที่สามารถดำเนินตามพุทธพจน์ที่ว่านี้ได้

..ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น เธอจักเห็นธรรมตามความเป็นจริง..

ขอให้ท่านเชื่อมั่นในคำสอนของอาจารย์ท่านนั้นได้อย่างมั่นใจ และก้าวไปพร้อมท่านได้อย่างไม่ลังเลใจ ถ้าท่านตอบคำถามไม่ได้ มีอะไรค้างคาใจ ท่านก็สมควรดำเนินวิถีทางของท่านต่อไปเองว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไปดีกับการภาวนา เรื่องนี้ ผมช่วยท่านไม่ได้เลยครับ ขออภัยจริงๆ

****
เรื่องท้ายบท

ในสวนญี่ปุ่น จะมีเครื่องแต่งสวนอย่างหนึ่ง ที่เป็นกระบอกไม้ไผ่ ผมไม่ทราบชื่อเรียกว่าอะไร( ท่านใดทราบชื่อเรียก บอกผมด้วยครับ )

กระบอกไม้ไผ่นี้ จะรองรับน้ำที่ไหลเข้าสู่กระบอกไม้ไปเรื่อย ๆ จนน้ำไหลเข้าถึงระดับหนึ่ง กระบอกไม้ไผ่นี้จะกระดกลง ทำให้น้ำในกระบอกไหลออกจนหมด เมื่อน้ำไหลออกแล้ว กระบอกไม้นี้ก็จะกลับเข้าที่ไปรับน้ำที่ไหลมาใหม่วนเวียนเป็นอย่างนี้ตลอดเวลา

ในการภาวนาจะคลาย ๆ แบบนั้นสำหรับมือใหม่ การฝึกฝนที่ถูกต้องจะเหมือนกับการที่น้ำไหลเข้ากระบอกไม้นั้น แต่คนจะไม่รู้เลยว่า น้ำเข้ากระบอกได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว พอภาวนาได้ที่ ก็จะเหมือนน้ำไหลเข้ากระบอกไม้ได้พอแล้ว นักภาวนาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเห็นธรรมของจริงได้ครั้งหนึ่งที่รุนแรงพอที่จะเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจได้ครั้งหนึ่ง

อย่าคาดหวังในการภาวนา เมื่อได้ที่ มันจะปรากฏให้เห็นเองครับ





Create Date : 09 มกราคม 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:09:28 น. 5 comments
Counter : 1824 Pageviews.

 
สาธุครับ


โดย: mind_heART วันที่: 9 มกราคม 2554 เวลา:8:16:54 น.  

 
อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: shadee829 วันที่: 11 มกราคม 2554 เวลา:18:28:50 น.  

 
สาธุค่ะ...


โดย: ตั้งไข่ IP: 223.204.194.228 วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:7:28:03 น.  

 
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ


โดย: บนเส้นทางกลับบ้าน IP: 118.175.86.113 วันที่: 17 มกราคม 2554 เวลา:17:27:41 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:24:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.