รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
13 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
การทดลองเพื่อให้รู้จัก.physical ของอาการจิตตั้งมั่น.

การฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธินั้น จุดมุ่งหมายเพื่อให้จิตตั้งมั่น

จิตตั้งมั่นคืออาการที่จิตตั้งมั่นอยู่ในฐานของจิต จิตไม่วิ่งไปวิ่งมาตามการสัมผัสที่เกิดขึ้น เมื่อผมได้บอกถึงกฏ 3 ข้อในการปฏิบัติไปแล้ว แต่เพื่อให้ท่านที่ปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้เข้าใจมากขึ้นและได้รู้จักกับอาการของจิตตั้งมั่นว่าเป็นอย่างไร ขอให้ท่านที่สนใจ ทดลองตามที่ผมเขียนแนะนำข้างล่างนี้เพื่อให้รู้จักกับอาการของจิตตั้งมั่น

1..ผมสมมุติว่า ท่านได้รู้จักกฏ 3 ข้อที่ผมได้บอกไปแล้ว ต่อไป ขอให้ท่านใช้กฏ 3 ข้อ แล้วให้ท่านหายใจเข้าไปให้เต็มปอด แล้วกลั้นลมหายใจไว้ครับ

เมื่อท่านกลั้นลมหายใจอยู่ ขอให้ท่านสังเกตครับว่า จิตใจท่านจะนิ่ง ๆ ตาก็ยังมองเห็น หูก็ยังได้ยินอยู่ ถ้ามีลมมาโดนกายก็รู้สึกถึงได้ โดยที่จิตใจท่านยังนิ่ง ๆ อยู่ที่เดิม ท่านสังเกตเห็นจิตที่มันนิ่ง ๆ นี้ไหมครับ

ถ้าท่านรู้สึกว่ากลั้นลมไม่ไหวแล้ว ก็คลายออกก่อนนะครับ อย่าได้กลั้นนานไป เดียวจะแย่เสียก่อน

2..จากข้อ 1 ผมสมมุติว่า ท่านสังเกตเห็นจิตใจของท่านในขณะที่กำลังกลั้นลมว่านิ่ง ๆ ได้แล้ว ทีนี้ขอให้ท่านเริ่มใหม่ครับ หายใจเข้าแล้วกลั่นลมหายใจไว้ ทีนี้ ขอให้ท่านใช้มือเกาที่หลังมืออีกข้างหนึ่ง เกาเบาๆ ก็พอครับ ขอให้ท่านสังเกตอีกว่า จิตใจท่านยังนิ่งอยู่ที่เดิมและท่านก็สามารถรู้สึกถึงการเกาที่หลังมือได้ พร้อมกับตาที่ยังมองเห็นได้ หูที่ยังได้ยินอยู่ นี่แหละครับ อาการของจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในฐาน มันจะเป็นอย่างนี้ คือ นิ่งอยู่ในฐาน ไม่วิ่งไปวิ่งมาตามอายตนะต่าง ๆ แต่รู้ได้หลาย ๆ อย่าง

3..จากข้อ 1 และ 2 ต่อไปขอให้ท่านเริ่มใหม่ หายใจเข้า แล้วกลั่นลมหายใจไว้ ทีนี้ ขอให้ท่านใช้ขากระทบพื้นดินเหมือนการเดินซอยเท้า ขอให้ท่านสังเกตว่า จิตใจท่านยังนิ่งอยู่ที่ฐานเช่นเดิม แต่ท่านก็รู้สึกได้ถึงขาที่กระทบพื้นดินได้ใช่ไหมครับ นั่้นแหละครับ

*****

จากข้อ 1/2/3 ผมแนะนำให้ท่านทำการทดลองหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้รู้จักอาการของจิตตั้งมั่นที่ตั้งมั่นอยู่ในฐานว่าอาการมีลักษณะอย่างไร พอท่านรู้จักอาการจิตตั้งมั่นแล้ว ต่อไป ก็ขอให้ท่านหายใจปรกติ แล้วฝึกการรู้กายตามแบบทีท่านถนัดด้วยกฏ 3 ข้อ แต่ขอให้จิตตั้งมั่นอยู่ในฐานอย่างที่ท่านทำในข้อ 1/2/3 ต่อไป

ทีนี้ เมื่อท่านหายใจปรกติ และฝึกฝน ท่านอาจพบปัญหาว่า จิตมันไม่นิ่งแบบเดิมแล้ว มันจะวิ่งไปโน่น วิ่งไปนี่ ซึ่งเป็นไปได้ครับ เพราะกำลังสัมมาสติของท่านยังอ่อนแอ มันจะเป็นอย่างนี้ แต่ท่านรู้จักจิตตั้งมั่นในฐานแล้ว เมื่อท่านฝึกไปเรื่อยๆ ด้วยจิตตั้งมั่น กำลังสัมมาสติก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แล้วต่อไป จิตมันจะเชื่องเอง ไม่วิ่งไปวิ่งมาแต่จะตั้งมั่นอยู่ที่ฐานได้เองต่อไป

******

4..เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในฐานได้แล้วอย่างมีกำลัง ต่อไป จิตจะไม่เข้าไปรวมตัวกับอาการปรุงแต่งต่าง ๆ ทำให้ท่านสามารถเห็นอาการปรุงแต่งต่าง ๆ เป็นไตรลักษณื ได้ต่อไป และถ้าท่านยิ่งฝึก จิตก็ยิ่งตั้งมั่น แต่ขอให้ท่านอย่าได้ลืมกฏ 3 ข้อด้วยนะครับ ทั้ง 2 อย่างนี้สมควรไปด้วยกัน


Create Date : 13 เมษายน 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:05:18 น. 8 comments
Counter : 1833 Pageviews.

 
เรียนอาจารย์คะ

ได้ทดลองทำตามแล้ว 2-3 รอบคะ มีข้อเรียนถามอาจารย์ดังนี้คะ
- "จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน" จำเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะรู้ว่าฐานที่ตั้งมั่นอยู่ตรงไหน หรือเพียงแค่รู้ตามที่รู้สึกต่างๆ เช่น เสียงที่ได้ยิน สัมผัสที่รู้สึก

- แล้วหากขณะที่กลั้นหายใจบางทียังมีความคิดอื่นๆแทรกมา เช่นคิดว่า"จิตเราตั้งมั่นที่ฐาน" แบบนี้ฝึกผิดหรือเปล่าคะ

อนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณ และสวัสดีวันสงกรานต์คะ


โดย: Nim IP: 124.121.12.66 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:13:00:22 น.  

 
1..- "จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน" จำเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะรู้ว่าฐานที่ตั้งมั่นอยู่ตรงไหน หรือเพียงแค่รู้ตามที่รู้สึกต่างๆ เช่น เสียงที่ได้ยิน สัมผัสที่รู้สึก

*** ถ้าผมตอบว่าิจำเป็น ท่านผู้อ่านบางท่านก็จะเครียดขึ้นมาทันที เพราะอาจหาไม่พบว่าอยู่ตรงไหน เอาเป็นว่า ให้รู้สึกถึงอาการของจิตที่มันไม่วิ่งไปวิ่งมาเมื่อเกาหลังมือ หรือ ตอนเท้ากระทบพื้นก็แล้วกัน เพราะถ้าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาที่เราเกามือ จิตจะวิ่งไปจับจุดที่เราเกาที่หลังมือ หรือ ว่าจิตวิ่งไปจับที่เท้าเวลาที่เท้ากระทบพื้น

ขอให้รู้จักว่า อาการจิตไม่วิ่งไปจับหลังมือ ไม่วิ่งไปจับเท้าเป็นอย่างไร คุณ Nim จับอาการนี้ได้หรือไม่ ถ้าจับอาการจิตไม่วิ่งนี้ได้ ก็ใช้ได้แล้วครับในตอนนี้

แต่ถ้าใครก็ตามที่ฝึกไปมาก ๆ จนสามารถเห็นตัวจิตได้แล้ว เขาจะเห็นได้ครับว่า จิตที่ตั้งมั่นมันอยู่ตรงไหน ซี่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้ว เขาก็จะเห็นได้เอง โดยที่ไม่ได้สนใจจะไปรู้ว่าอยู่ตรงไหน แต่เขาก็รู้ได้เอง

ผมเขียนอย่างนี้งงไหมครับ ถ้างงให้ถามใหม่ได้ ผมจะอธิบายให้เข้าใจ

2..- แล้วหากขณะที่กลั้นหายใจบางทียังมีความคิดอื่นๆแทรกมา เช่นคิดว่า"จิตเราตั้งมั่นที่ฐาน" แบบนี้ฝึกผิดหรือเปล่าคะ

*** ไม่ต้องไปใส่ใจจุดนี้ครับ ถ้ามันจะคิดแทรกขึ้นมา ก็อย่าได้ใส่ใจมัน เราใส่ใจแต่ว่า อาการจิตไม่วิ่งไปวิ่งมาเมื่อมันตั้งมั่นเป็นอย่างไร เพื่อจะไ้ด้รู้จักอาการที่จิตตั้งมั่น เพื่อเราจะได้นำมาใช้ในการฝึกจริง ๆ ด้วยการหายใจปรกติ

แต่ถ้าเราฝึกไปมาก ๆ เข้า เมื่อจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วจริง ๆ เวลามีความคิดแทรกขึ้นมา เราจะเห็นความคิดนั้นทันที แล้วความคิดนั้นจะดับลงไปเป็นไตรลักษณ์


โดย: นมสิการ วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:16:48:25 น.  

 
ขอให้มีความสุขในวันสงกรานต์นะครับ อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: shadee829 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:19:44:51 น.  

 
เรียนอาจารย์คะ
จากที่ได้ฝึกตาม ข้อ 1-3 นั้น รู้สึกได้ว่ามีการวิ่งไปรู้ที่สัมผัสในตอนแรกแว๊บนึงคะ
พอลองฝึกบ่อยๆ ก็เห็นว่าไม่ได้วิ่งไปที่จุดสัมผัสนั้นแล้ว

.. ยังเพียรปฏิบัติต่อไปตามแนวทางที่อาจารย์แนะนำ ไม่ย่อท้อคะ สู้ สู้..

ขอบพระคุณคะ อาจารย์ สำหรับวิธีฝึกฝนที่มีประโยชน์มากมายต่อผู้แสวงหาเส้นทางความหลุดพ้นคะ

ในวันสงการนต์นี้ขออำนาจแห่งคุณพระศรีพระรัตนตรัยคุ้มครองอาจารย์มีความสุข สุขภาพดี เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปคะ



โดย: Nim IP: 182.53.80.51 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:21:47:26 น.  

 
การที่จิตวิ่งไปจับที่จุดสัมผัส ก็เพราะว่ากำลังของสัมมาสติยังอ่อน
ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องน้อยใจ เมื่อเข้าใจหลักการแห่งจิตตั้งมั่นเสียแล้ว เมื่อฝึกไปเรื่อย ๆ ก็จะมีการพัฒนาการที่ดีขึ้นไปเอง ขอให้หมั่นฝึกฝนไปมาก ๆ


โดย: นมสิการ วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:22:23:04 น.  

 
ขอบพระคุณคะ อาจารย์นมสิการ


โดย: Nim IP: 125.27.211.10 วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:14:11:08 น.  

 
ขอบคุณมากครับ

เป็นคำสอนที่ดีมากครับ



โดย: 30 ธันวา IP: 118.172.244.195 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:49:11 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:16:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.