รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
24 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
ภาพการปฏิบัติ-อาตาปี-สัมปชาโน-สติมา-สมมุติ-ปรมัตถ์

การฝึกฝนเพื่อให้ตรงตามสติปัฏฐาน 4 นั้นไม่ยาก.ถ้าเข้าใจ. แต่ว่าการฝึกต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะ กำลังแห่งสัมมาสติจึงจะกล้าแข็งและตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิได้

ผมได้เขียนวิธีการปฏิบัติออกมาในรูปแบบต่างๆ ให้ท่านอ่านก่อนหน้านี้หลายบท ทั้งนี้ก็เพราะว่าบางท่านอ่านอย่างโน้นแล้วไม่เข้าใจ แต่พอไปอ่านอีกแบบกลับเข้าใจได้ดีกว่า แต่ถ้าท่านใดเข้าใจแล้ว อ่านได้ทุกแบบก็เข้าใจได้ทุกแบบ ถ้าท่านใดคิดว่าเข้าใจดีแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเวลามาอ่านเรื่องนี้ครับ เพราะเรื่องนี้เป็นพื้นฐานการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน4

ขอให้ดูจากภาพประกอบ ผมจะอธิบายจากภาพ



การปฏิบัติตามสติปัฏฐานนั้น ในตำราได้กล่าวไว้ถึงหัวใจ 3 คำว่า ***อาตาปี***สัมปชาโน*** สติมา*** ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ***มีความเพียร***มีสัมปชัญญะ***มีสติ

ทั้ง 3 คำนี้ขอให้ท่านอย่าได้แยกออกจากกัน ขอให้ดำรงค์ไว้ทั้ง 3 คำในขณะฝึกฝน จึงจะเป็นผลดีในการฝึกฝนสติปัฏฐาน 4

ซึ่งคำทั้ง 3 นี้ อ่านดูก็เหมือนง่ายแต่ก็ยากจะเข้าใจได้ตรงทาง ผมจึงได้แปลงเป็น work instruction โดยใช้คำไทยในยุคปัจจุบันให้ท่านได้ปฏิบัติตามซึ่งก็คือ กฏ 3 ข้อที่ผมได้บอกไว้แล้วว่า

1.รู้สึกตัว
2.เฉยๆ สบาย ๆ อย่าเครียด ผ่อนคลาย
3.อย่าอยากรู้อะไร แต่ให้จิตเขารู้ถึงได้เอง

ปัญหาหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดกันหรือไม่เข้าใจ คือเรื่องการรู้ ว่ารู้อะไรที่ผมว่าให้จิตเขารู้เอง

ขอให้ดูจากภาพข้างบน ด้านขวาสุด คือ สี่เหลี่ยมที่มีคำว่า .สติมา. อยู่

คำว่า .สติมา. นี้ คือการรู้ที่ใช้ในภาษาตำรา ซึ่งตำราก็แปลว่า .ระลึกถึง.

แต่คำว่า .ระลึกถึง. ในภาษาตำรากับภาษาชาวบ้านนั้นมันไม่เหมือนกันครับ
ถ้าไม่ขยายความให้เข้าใจแล้ว คนไทยก็จะคิดว่า .ระลึกถึง. ก็คือการให้คิดถึงสิ่งนั้น ๆ ซึ่งไม่ตรงทางในการปฏิบัติ

การ.ระลึกถึง.นี้ในการปฏิบัติ จะหมายถึงการรับรู้ด้วยจิตที่เป็นการรู้ได้เอง ซึ่งก็คือ ข้อที่ 3 ในกฏ 3 ข้อ อันเนื่องมาจากกลไกการทำงานที่เป็นธรรมชาติของจิตในขณะที่กำลังมีความรู้สึกตัวอยู่ ซึ่งก็คือ ข้อที่ 1 ในกฏ 3 ข้อ

ในการ.ระลึกถึง.นี้ จะเป็นการรู้สึกถึงในระดับ.ปรมัตถ์. (ดังเส้นลูกศรประ "เบอร์ 1" ) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องระลึกถึงระดับ.ปรมัตถ์.นี้ การฝึกฝนการภาวนาจึงจะได้ผลออกมาได้

แต่ทว่า ใน.ปรมัตถ์. จะมีสิ่งที่เป็น.สมมุติ.ซ้อนกันอยู่เสมอ ดังเส้นลูกศรประ "เบอร์ 2"
ซึ่งการรู้สมมุิตินั้นไม่จำเป็น แต่สำหรับมือใหม่ถ้ารู้ก็ไม่ผิดครับแต่อย่าได้ไปจงใจจะรู้สมมุติ แต่สำหรับปรมัตถ์จำเป็นมาก ถ้าไม่รู้ปรมัถต์นี่ การฝึกฝนจะไม่ได้ผล

มาดูตัวอย่างปรมัตถ์-สมมุติกัน ในภาพ

1..ตาเห็นภาพ นี่เป็นปรมัตถ์ เราเพียงเห็นก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปรู้ว่า สิ่งที่เห็นนี่เป็นอะไร เป็นผู้หญิง ผู้ชาย ชื่ออะไร เรียกว่าอะไร เป็นสัตว์เรียกว่าอะไร เป็นต้นไม้ชื่ออะไร

2..หูได้ยินเสียง นี่เป็นปรมัตถ์ เราเพียงได้ยินก็พอแล้ว ไม่ต้องไปรู้ว่า เสียงนี้หมายความว่าอย่างไร เป็นคำด่าเราหรือไม่ เป็นเสียงดนตรี เสียงเพลง เสียงผู้หญิง เสียงผู้ชาย

ถ้าท่านที่มักขับรถประจำ อาจสัมผัสปรมัถต์ทางเสียงได้บ่อย เช่น ท่านเปิดวิทยุไปด้วยในขณะขับ แต่ท่านไม่สนใจจะฟังวิทยุ ท่านจะได้ยินเสียงวิทยุแต่ท่านไม่รู้ว่าเสียงจากวิทยุกำลัีงพูดเป็นเรื่องอะไรหรือเป็นเสียงอะไร

อีกตัวอย่างหนึ่งของเสียงปรมัตถ์ สมมุติว่าท่านไม่รู้จักภาษาฝรั่ง ท่านดูหนังเสียงในฟิมล์ จะเป็นเสียงภาษาฝรั่งแต่ท่านฟังไม่รู้เรื่อง แต่ท่านรู้ว่ามีเสียงที่ได้ยินอยู่

3..จมูกได้กลิ่น นี่เป็นปรมัตถ์ เราเพียงได้กลิ่นก็พอแล้ว ไม่ต้องไปรู้ว่า นี่กลิ่นอะไร กลิ่นหอมหรือว่าเหม็น กลิ่นปลาร้าหรือกลิ่นทุเรียน ก็ไม่ต้องไปรู้เลย

4..ลิ้นได้รส นี่เป็นปรมัตถ์ เราเพียงได้รสก็พอแล้ว ไม่ต้องไปรู้ว่า นี่รสของอะไร มีรสหวาน หรือเปรียว นี่ไม่จำเป็นต้องไปรู้จักชื่อเรียก

5..กายได้รู้สัมผัส นี่เป็นปรมัถต์ เราเพียงได้รับรู้ถึงการสัมผัสที่ปรากฏก็พอแล้ว ไม่ต้องไปรู้ว่า นี่คือ สิ่งที่สัมผัสอย่างนี้เรียกว่าร้อน สิ่งสัมผัสอย่างนี้เรียกว่าเย็น สิ่งสัีมผัสอย่างนี้เรียกว่าการเคลื่อนไหว สิ่งที่สัมผัสอย่างนี้เรียกว่าอาการเจ็บ

6..สัมผัสได้ถึงอาการนึกคิด นี่เป็นปรมัตถ์ ไม่ต้องไปรู้ว่า เรื่องราวในการนึกคิดเป็นเรื่องอะไร เป็นเรื่องดีหรือเลว เรื่องของคนไหน เรื่องของสิ่งใด

ข้อ 6 นี้คนใหม่จะเข้าใจได้ยากสักหน่อย เพราะไม่เคยเห็นอาการนึกคิด แต่คนทุกคนรู้จักเรื่องที่นึกคิดเท่านั้นอันเป็นสมมุติ

แต่ถ้ามือใหม่ได้เห็นอาการนึกคิดเพียงครั้งเดียว ก็จะเข้าใจทันทีว่าอาการนึกคิดนี่เป็นอย่างไร


******

สำหรับ คนใหม่ๆ นั้น ข้อ 1 ถึง 5 เป็นสิ่งที่นักภาวนามือใหม่ทุกคนจะสัมผัสได้ทันที ถ้าเข้าใจวิธีการรับรู้ปรมัตถ์ (ยกเว้น คนที่มีระบบประสาทส่วนไหนที่พิการ) ยกเว้น ข้อ 6 มือใหม่จะไม่เข้าใจ ดังนั้น ในการฝึกฝนนั้น ผมจึงแนะนำให้ใช้ข้อ 1 ถึง 5 ในการฝึกฝนก่อนในคนใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังของสัมมาสติ เมื่อกำลังของสัมมาสติมีกำลัง มือใหม่ก็จะสัมผัสข้อ 6 ได้ต่อไปในภายหน้า

แต่ถ้านักภาวนาไม่ดำเนินตาม อาตาปี สัมปชาโน สติมา ที่เป็นการระลึกถึงที่เป็นไปเองแห่งการรับรู้ทางปรมัตถ์แล้ว การเพิ่มกำลังสัมมาสติก็จะไม่เกิดขึ้นจนได้ผลในการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์

*****
ทำไม รู้สมมุติ จึงไม่จำเป็น ??

การรู้ปรมัตถ์นั้นจะเป็นการรู้ด้วย.จิตรู้. แต่การรู้สมมุตินั้นเป็นการทำงานของ สัญญาขันธ์+สังขารขันธ์ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน

ในการภาวนาให้ได้ผล เราต้องการเพิ่มกำลังให้แก่.จิตรู้. จึงต้องให้จิตรู้เขาสัมผัสอาการทางปรมัตถ์บ่อยๆ สัมผัสมาก ๆ

แต่การทำงานของ สัญญาขันธ์+สังขารขันธ์ ไม่ส่งเสริมในกำลังตั้งมั่นของจิตรู้ แต่กลับไปบ่อนทำลายความตั้งมั่นของจิตรู้เสียด้วยซ้ำไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการฝึกฝน

แต่ในคนใหม่ การหยุดการทำงานของ สัญญาขันธ์+สังขารขันธ์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ผมจึงบอกว่า รู้สมมุติได้แต่ไม่จำเป็น เพราะถ้าผมบอกว่า การรู้สมมุตินี่ผิด ท่านมือใหม่ก็จะเครียดทันที เพราะมือใหม่รู้ปรมัตถ์ทุกครั้ง ก็จะรู้สมมุติไปด้วยเสมอ

แต่ถ้าในมือเก่าที่ชำนาญมากแล้ว เขาจะควบคุมการทำงานของ สัญญาขันธ์+สังขารขันธ์ ได้ ดังนั้น มือเก่าจึงจะรู้ปรมัถต์อย่างเดียวก็ได้ หรือจะรู้ทั้งปรมัถต์และสมมุติด้วยก็ได้

*****

รู้ที่ไม่ใช่คิดเอาเองคืออย่างไร...

ในการภาวนานั้น ก็มีสอนกันมากว่า ร่างกายและจิตใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา
แต่ปัญหาของนักภาวนาเป็นกันมากก็คือ คิดไปเองว่าตนเองภาวนาได้จนเข้าใจแล้วว่า ร่างกายนี้จิตใจนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา

ถ้านักภาวนา.เห็น.จริง ๆ ด้วยจิตรู้ที่แยกตัวออกมาแล้วเห็นกายนี่เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก นี่คือการเห็นจริง อันเป็นปรมัตถ์

แต่ถ้านักภาวนาไม่มีปรากฏการณ์ที่จิตรู้แยกตัวออกมาเห็น นี่คือการคิดเอาเองของนักภาวนา อันเป็นสัญญาขันธ์ + สังขารขันธ์




Create Date : 24 เมษายน 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:04:57 น. 10 comments
Counter : 4866 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ..

ขออนุโมทนาบุญไปด้วยนะค่ะ

ที่นำบทความออกมาเผยแพร่

ต้องค่อยๆอ่าน และทำความเข้าใจค่ะ

ถึงจะช้าหน่อยก็ไม่เป็นไรเน้อะ..



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:11:04:24 น.  

 
ขอแบ่งปันนะครับและขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


โดย: คนสนใจธรรม IP: 124.121.70.185 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:13:15:13 น.  

 
เห่็นจิตแยกตัวออกมาจากกายรู้ชัดว่ากายไม่ใช่เรา
แต่เห็นจิตเป็นเราอยู่เพราะความรู้สึกยังอยู่ที่จิต
ทำไมยังไม่ปล่อยท้ังกายท้ังจิตค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ


โดย: Dream IP: 119.31.114.236 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:13:18:12 น.  

 
อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: shadee829 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:13:48:57 น.  

 
ตอบคุณ Dream

การที่จิตไม่จับยึดนั้นอยู่ทีว่า จิตสามารถทำลายตัณหาได้ขนาดไหน
การทำลายตัณหานั้นจะมีอยู่หลายระดับ ทำให้จิตปล่อยวางได้ในระดับต่าง ๆ กันออกไป

ถ้าตัณหาถูกทำลายหมดสิ้น จิตก็เป็นอิสระอย่างสิ้นเชิง ไม่จับยึดสิ่งใดอีก

***
ที่คุณบอกว่า เห็นจิตแยกตัวออกมาเห็นกายได้ชัดว่า กายไม่ใช่เรา
ผมสัณนิฐานว่า คำว่า "กาย" ที่คุณพููดคือร่างกายทั้งหมดของร่างกายที่เป็นลำตัว มีหัว 1 หัว มี 2 แขน มี 2 ขา ใช่ไหมครับ
ถ้าใช่ สิ่งที่คุณเห็นแบบนี้ ก็ดีอยู่ แต่ยังเป็นเพียงขั้นต้น ๆ ของการที่จิตมีสมาธิไม่มากและยังไม่ตั้งมั่นนัก การเห็นแบบนี้ จิตยังยึดกายเต็มที่อยู่ครับ คุณต้องฝึกฝนการเพิ่มกำลังสัมมาสติให้มากกว่านี้มาก ๆ


โดย: นมสิการ วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:17:44:11 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
ใช่ค่ะกายที่เห็นเป็นเช่นนั้น
จะฝึกฝนต่อไปค่ะ


โดย: Dream IP: 119.31.114.236 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:21:37:30 น.  

 
เรียนอาจารย์ครับ
แบบนี้หรือครับที่เรียกว่า
เห็นสักแต่ว่าเห็น
ตามพุทธพจน์หรือปล่าวครับ



โดย: คนใหม่ IP: 223.207.0.234 วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:11:00:25 น.  

 
สักแต่ว่าเห็น นี่เฉพาะเห็นปรมัตถ์ โดยไม่มีสมมุติครับ

ถัายังมีสมมุติด้วย ยังไม่ใช่ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:16:29:41 น.  

 
"ตาเนื้อ เห็นกาย...ตาใน เห็นสุข เห็นทุกข์..."


โดย: คนป่าหาธรรม วันที่: 30 เมษายน 2554 เวลา:13:49:47 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:14:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.