ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ไพร่ VS อำมาตย์

คำ ผกา

เมื่อตอนเป็นเด็กฉันอยู่บ้านไม้ เคยเห็นลวดลายฉลุไม้สวยวิจิตรในวัดแล้วอยากรู้ว่าทำไมเราไม่เอาของสวยๆ อย่างนั้นมาประดับบ้านหรือทำเป็นลวดลายตกแต่งบ้านให้สวยขึ้น

ตาของฉันซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตอบว่า "บ้านชาวบ้านถ้ามีงานไม้แกะสลักอยู่ในบ้านแล้วจะขึด" คำว่า "ขึด" แปลว่า เป็นกาลกิณีอะไรทำนองนั้น

ถ้าคำถามใดมีคำตอบว่า "ถ้าทำลงไปแล้วจะขึด" ก็เป็นอันว่าไม่ต้องถามต่อ ไม่ต้องสงสัย ขึดก็คือขึด

สถานที่ที่จะตกแต่งด้วยไม้ฉลุหรือไม้แกะสลักได้ถ้าไม่ใช่วัดก็ต้องเป็นบ้าน "เจ้านาย" บ้านไพร่สามัญชนมีไม่ได้ ข้อห้ามทำนองนี้มีอีกมาก เช่น ผ้าถุงที่ทอสอดดิ้นเงินดิ้นทองนั้น หญิงไพร่สามัญชนใส่ไม่ได้ จะ "ขึด" เพราะมีไว้สำหรับ "เจ้าหญิง" เท่านั้น

เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอีกหลายอย่าง ว่ากันว่าหากผู้ครอบครอง "บุญไม่ถึง" แล้วดันทุรังเก็บรักษาเอาไว้กับตัว ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา

เพชรสูงค่าบางชิ้น ว่ากันว่าตกอยู่ในมือผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ไม่มีบารมีพอ เพชรนั้นก็จะนำมาซึ่งความพินาศมาสู่ผู้ครอบครอง อย่างนี้เป็นต้น

ต่อมาเมื่อโตพอที่จะเรียนรู้ว่าความเชื่อว่าด้วย "ขึด" และข้อห้าม หรือ Taboo นั้น มีอยู่ในทุกสังคมด้วยเหตุผลต่างๆ กัน

แต่ข้อห้ามเกี่ยวกับการบริโภคนั้นส่วนใหญ่มีไว้กีดกันมิให้สามัญชนทำตัวเสมอเจ้านายหรือสำนวนไทยเรียกว่า "เทียมเจ้าเทียมนาย" หากใครบังอาจประพฤติเช่นนั้นก็มีอาการ "เหาจะกินหัว" ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เหตุที่ต้องมีข้อห้าม เพราะเครื่องมือที่ใช้พยุงอำนาจของชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นคือ "อำนาจแห่งการบริโภค" เพราะนี่จะเป็นเครื่องหมายแสดงบุญญาธิการที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ เนื่องจากความชอบธรรมของผู้ปกครองในโลกก่อนสมัยใหม่นั้นต้องอ้างอิงอยู่กับอำนาจที่เหนือมนุษย์ เช่น เป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ เป็นหน่อพุทธางกูล เป็นพระรามกลับชาติมาเกิด เป็นผู้สั่งสมบุญบารมีมาหลายชาติ ดังนั้น จึงมาเสวยเป็นชาติกษัตริย์ในปัจจุบัน

เมื่อมีบุญดังนั้น องค์ราชาและเครือญาติจึงทรงเครื่องเพชร เครื่องทอง ทับทรวง มงกุฎ บัลลังก์ เครื่องประดับ เสื้อผ้า รวมทั้งที่อยู่อาศัย ปราสาทราชวังอันจำลองมาจากภาพเทวดา นางฟ้าไปจนถึงทิพยวิมานของพระอินทร์ ไม่เหมือนพวกไพร่ ทาส สามัญชนทั้งหลาย



กาลต่อมาเมื่อสังคมไม่ได้มีแต่กษัตริย์กับไพร่ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กษัตริย์ฟรีๆ แต่เริ่มมีการค้า

แน่นอนว่านอกจากทำสงครามแล้ว เหล่ากษัตริย์จำนวนไม่น้อยก็กระโดดเข้าสู่สนามการค้าเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตนเองด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับพ่อค้าจึงเกิดขึ้น

และแน่นอนว่าชนชั้นพ่อค้านั้นย่อมมีทักษะในการค้าขายเหนือชนชั้นกษัตริย์ แต่ชนชั้นราชาหรือกษัตริย์จะรักษาความชอบธรรมในฐานะผู้มีบุญอวตารลงมาเกิดเป็นกษัตริย์ไว้ได้อย่างไร หากวันหนึ่งพ่อค้าที่มีเงินเท่ากับหรือมากกว่ากษัตริย์อุตริไปสร้างบ้านให้เหมือนทิพยวิมานพระอินทร์ของกษัตริย์ขึ้นมา หรือไปสั่งช่างทองทำเชี่ยนหมากทองคำฝังเพชรให้เมียหิ้วไปวัดเหมือนของที่เมียกษัตริย์หิ้วทุกประการ หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การจะไปอ้างเอาความชอบธรรมเรื่องบุญญาธิการแต่ชาติปางก่อนอาจจะถูกสั่นคลอนเอาได้ เผลอๆ ไอ้พ่อค้าคนนั้นมันจะอ้างว่า มันก็เป็นองค์อวตารของพระรามอีกองค์ขึ้นมาแข่งขันช่วงชิงอำนาจ-ขืนปล่อยเป็นเช่นนี้ก็เจ๊งกันพอดี

ชนชั้นปกครองจึงพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง กำหนดกฎหมายพร้อมข้อห้ามที่อิงเอาเหตุผลอย่างเหาจะกินหัวหรือเป็นกาลกิณีมาห้ามเสียเลยว่า หากมิใช่หน่อเนื้อพุทธางกูร สืบสายเลือดในวงศ์วานของราชาแล้ว ต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็อย่ามาบังอาจบริโภคสิ่งที่เป็น "ราชูปโภค" พ่อค้าต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็ไม่มีสิทธิไปสร้างบ้านให้มีหน้าตาเหมือนปราสาทราชวัง ไม่มีสิทธิทำเชี่ยนหมากทองคำให้เมียหิ้ว

และอย่างที่พวกเราทุกคนก็ทราบดีว่า ด้วยฤทธิ์เดชอำนาจของ "ทุนนิยม" บวกกับกระบวนการ enlighten หรือ ตาสว่าง ของชนชั้นกลางจำนวนมากที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าองค์ความรู้เชิงเทววิทยาของเหล่าราชาทั้งหลายนั้น มันเรื่องโกหกทั้งเพเลยนี่หว่า เหล่าราชาทั้งหลายแค่ใช้องค์ความรู้เชิงไสยศาสตร์เหล่านั้นมาหลอกใช้ แถมรีดนาทาเร้นพร้อมทั้งสยบสติปัญญาของเหล่าไพร่ให้เชื่องมิกล้าสบตาหรือทัดทานอำนาจของราชาและศาสนจักร

การค้นพบระบบสุริยจักรวาล การค้นพบว่าโลกกลม การเกิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำ กำเนิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ การโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก กำเนิดธุรกิจการพิมพ์ที่ทำให้หนังสือ ความรู้เป็นของสาธารณะและไม่ได้ถูกผูกขาดโดยชนชั้นปกครองอีกต่อไป การปกครองระบอบประชาธิปไตย การขยายตัวของชนชั้นกลาง การศึกษาของมวลชน การเกิดขึ้นของสังคมเมือง กำเนิดของคนงานคอปกขาว คอปกน้ำเงิน อำนาจของพ่อค้าที่มาพร้อมกับทุน การริเริ่มของธุรกิจการขายของเงินผ่อน ธุรกิจธนาคาร ฯลฯ เหล่านี้ทำให้ชาติกำเนิด หรือการอ้างเอาบุญญาธิการจากชาติปางก่อน หรือ "พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า" มิใช่ข้อกำหนดสิทธิของการบริโภคอีกต่อไป

บรรดาพ่อค้า กระฎุมพีที่มีเงิน ต่างมีเครื่องอุปโภคบริโภคไม่ต่างจากชนชั้นกษัตริย์ในอดีต บ้านของพ่อค้าก็สามารถสร้างได้ใหญ่โตเป็นปราสาทราชวังได้ไม่แพ้กษัตริย์

แน่นอนว่า สิ่งนี้ย่อมนำความระคายเคืองมาสู่กลุ่ม "เจ้า" หรือ ที่ต่อมาพวกเขาจะเรียกตนเองว่า "ผู้ดีเก่า"

จากนั้นจึงพยายามสร้างความแตกต่างระหว่าง "ผู้ดีเก่า" กับเหล่ากระฎุมพีมีสตางค์ที่บังอาจมามีอำนาจในการบริโภคทัดเทียมกับพวกเขา โดยเหยียดหยามกระฎุมพีว่าเป็นพวก Nouveau Rich หรือพวก สามล้อถูกหวย เพิ่งจะรวย บ้าเงิน ไร้รสนิยม

ในความตกต่ำของบรรดา "เจ้าตกอับ" บ้างก็ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการไปแต่งงานกับเศรษฐีใหม่ที่ตนเองดูถูกนั่นเอง

(ชวนให้นึกถึงละครเรื่องวนิดาขึ้นมาในบัดดล เพราะประจักษ์ก็ต้องแต่งงานกับวนิดาเพราะเป็นผู้ดีเก่าตกยาก เป็นหนี้นายทุนอย่างพ่อของวนิดาใช่หรือไม่)



ท่ามกลางความตกต่ำของพวก "เจ้า" ในโลกสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยทุนและจิตสำนึกทางการเมืองสมัยใหม่ ระบอบประชาธิปไตยที่เปลี่ยนไพร่มาเป็นประชาชน พลเมือง โลกปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความรู้และวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ ศาสนา พระเจ้า ลัทธิ ความเชื่อ ผี ฯลฯ กลายเป็นวัตถุเพื่อการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา มานุษยวิทยาเพียงเพื่อจะทำความเข้าใจว่า ความเชื่อเหนือธรรมชาติเหล่านั้นทำหน้าที่อะไรในสังคมก่อนสมัยใหม่

ในโลกเช่นนี้ประชาชนทุกคนต่างมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันที่จะใฝ่ฝันถึงการมีชีวิตที่ดีกว่า เราจะมีบ้านที่ดีกว่านี้ มีรถที่ดีกว่า ลูกของเราจะมีการศึกษาที่ดีขึ้น ชีวิตของเราสามารถลิขิตหรือกำหนดด้วยการกระทำในปัจจุบัน ในชาตินี้ ไม่เกี่ยวกับ บุญ หรือ กรรมแต่ชาติปางก่อน ไม่เกี่ยวกับชาติกำเนิด บุญญาธิการ บารมี แต่เกี่ยวกับความสามารถของเราในฐานะปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาล โครงสร้างทางสังคม นโยบายของพรรคการเมืองที่เราเลือกไปเป็นตัวแทนของเรา ฯลฯ

และบทกลอนโบราณ ประเภท "กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม" นั้นมิใช่คำสาปแช่งแต่เป็นคำอวยพร เพราะสังคมประชาธิปไตยต้องเป็นเช่นนั้น สังคมประชาธิปไตยคือสังคมที่ไม่มีไพร่ ไม่ผู้ดี ไม่มีขี้ครอก ทุกคนออกมาเดินถนน กินข้าว ตามตรอกซอกซอยอย่างเป็นปกติ

ความสามารถในการเข้าถึงการบริโภคมิได้ถูกกำหนดจากชาติกำเนิด แต่ด้วยจำนวน "เงิน" ที่มีอยู่ในมือ และในสังคมที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม คนทุกคนในสังคมต่างสามารถเข้าถึงการบริโภคได้ใกล้เคียงกันและมีศักดิ์ศรีเสมอกัน



ข้อความในเฟซบุ๊กของ กรณ์ จาติกวาณิช ที่อ้างอิงเรื่องการกินอาหารในร้านอาหารร้านเดียวกับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โดยอ้างเรื่อง -ไหนว่าเป็นไพร่ ไยมากินข้าวร้านเดียวกับอำมาตย์- นั้นเป็นข้อความชวนขันอย่างยิ่ง ทั้งชวนขันและชวนให้น่าสมเพชเวทนาพอๆ กับข้อความก่อนหน้านั้นที่บอกว่า คนฝรั่งเศสจะเสียไหมที่ไม่มีกษัตริย์อีกต่อไป เลยอดเฉลิมฉลองมีความสุขกับงานแต่งงานเจ้าชาย เจ้าหญิง แบบอังกฤษ

ให้ตายเถอะ ฉันไม่คิดเลยว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายมีรัฐมนตรีคลังที่ทัศนคติทางการเมืองและสังคมที่เสื่อมทรามขนาดนี้ ทั้งสะท้อนความคับแคบของโลกทัศน์ วิธีคิด แสดงอาการของคนที่สักแต่ได้เรียนหนังสือทว่าขาดการศึกษาอย่างรุนแรง

วาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ นั้นคนที่มีปัญญาย่อมเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงการต่อสู้ของประชาชนที่ออกมาบอกว่า สังคมไทยต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 คือการกระทำที่ดึงเอาระบอบประชาธิปไตยออกจากสังคมไทย-คือขบวนการล้มประชาธิปไตย, ล้มประชาชน-พลันพวกเราที่เป็นประชาชนอยู่ดีๆ ต้องกลายไปเป็น "ไพร่" ส่วนชนชั้นนำที่แย่งอำนาจไปจากประชาชนจึงกลายเป็น "อำมาตย์"-กลับไปสู่การปกครองยุคก่อนสมัยใหม่

ย้ำอีกรอบ เพราะดูเหมือนคนอย่างกรณ์น่าจะสมองช้า การรับรู้ช้า และเข้าใจอะไรได้ช้า (ไม่อย่างนั้นคงไม่เขียนทัศนคติเสื่อมๆ ออกมาเช่นนั้น) - ย้ำว่า - ความเป็นประชาชนถูกพรากไปจากคนไทยเพราะการรัฐประหาร และนับแต่นั้นคนไทยแบ่งออกเป็น อำมาตย์+เครือข่าย, ไพร่ และสุดท้าย คือกลุ่มสมองช้าปัญญาทึบ นึกว่าใครมีปัญญาไปกินข้าวร้านแพงๆ แปลว่า "อำมาตย์" คนกลุ่มนี้เลยเลือกอยู่ข้างเป็นสมุนอำมาตย์คอยเห่าเป็นคอรัสให้อำมาตย์แลกเศษเนื้อเศษกระดูกเท่านั้น

พรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าด้านรับเป็นรัฐบาลโดยไม่แคร์ความถูกต้อง ไม่แคร์หลักนิติรัฐ คือสมุนของเหล่าอำมาตย์ - เป็นแค่สมุนรับใช้อำมาตย์ - ไม่แม้แต่จะเป็นอำมาตย์ด้วยตนเอง

เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม ที่อำมาตย์เลิกโอบอุ้มพวกคุณ และตราบที่ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตย ในวันนั้น พลพรรคประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นไพร่ไม่ต่างจากคนไทยคนอื่นๆ และพร้อมจะถูกอำมาตย์ที่แท้จริงอัปเปหิ ใส่ร้าย ขับไล่ออกนอกประเทศ

ทั้งนี้ ความเป็นไพร่และอำมาตย์นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินทอง ทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ ทว่า มันเกี่ยวพันโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าสิทธิในฐานะที่เป็นประชาชนในระบอบการปกครองที่มิใช่ประชาธิปไตย "อำมาตย์" มีสิทธิจะชี้บอกว่าสิ่งมีชีวิตหน้าไหนคือคนและหน้าไหนไม่ใช่คน

และโปรดดูตัวอย่างสมุนรับใช้อำมาตย์รุ่นพี่อย่าง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่แตกญญ่ายพ่ายยับเยินเห่าใส่ร้ายกันทุกวัน ด้วยตกกระป๋องจากสมุนอำมาตย์มาเป็นไพร่เสียแล้วในวันนี้ เพราะกลุ่มสตรีชั้นสูงและผู้มีนามสกุลพระราชทานต่างพากันออกมาแสดงความเดียดฉันท์กันถ้วนหน้า จนลืมไปว่าเมื่อครั้งจูบปากกันหวานชื่นนั้นอาหารมันดีและดนตรีมันไพเราะขนาดไหน

และหวังว่า คุณวรกร จาติกวณิช จะไม่ลืมวันที่นั่งกินข้าวห่อร่วมกับม็อบพันธมิตรฯ พร้อมชมวิวพระที่นั่งอนันตสมาคมอย่างซ่านซึ้งหัวใจ



วัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นวัฒนธรรมของไพร่กระฎุมพี มีใครเคยได้ยินว่าควีนของอังกฤษออกไปกินข้าว ณ ผับโน้น ผับนี้ หรือเที่ยวไปกินข้าวร้านโน้นร้านนี้หรือไม่? ต่อให้อยากชิมฝีมือเชฟมิชลินสามดาวแค่ไหนก็ไม่อาจออกมาเที่ยวกินข้าวนอกบ้านได้ และไม่เกี่ยวกับว่าจะมีเงินมากน้อยแค่ไหนด้วย

การกินข้าวนอกบ้าน เท่ากับว่าเราได้ใช้ จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับคนอื่น เครื่องครัว มีด ครก เขียงของร้านนั้นทำอาหารมาให้คนร้อยพ่อพันแม่กินมาแล้ว ปราศจากสำนึกแบบกระฎุมพี วัฒนธรรมการกินการใช้ของร่วมกับคนร้อยพ่อพันแม่ที่เราไม่รู้จักไม่มีวันเกิดขึ้นได้

ขยายความต่อไปว่า สำนึกแห่งการใช้ของร่วมกันเป็นสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย (ด้วยความที่เราตระหนักว่าคนที่กินช้อนคันเดียวกับเราเมื่อวานก็เป็นคนเหมือนกับเราจึงไม่เห็นมีอะไรน่ารังเกียจกับการไปกินข้าวในร้านอาหาร)

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และครอบครัวเป็นไพร่ออกมากินข้าวนอกบ้านนั้นถูกต้องตามธรรมเนียมไพร่ทุกประการ กรณ์และเมียก็เป็นไพร่ด้วยเช่นกัน จึงมีวัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

แต่ความแตกต่างของไพร่สองคนระหว่างกรณ์และณัฐวุฒิ ไม่ได้ต่างตรงที่ใครมีเงินมากกว่ากัน และไม่แปลกอันใดที่ไพร่จำนวนมากมีเงินมากกว่าคนที่นึกว่าตนเองเป็นอำมาตย์และมีรสนิยมการกินอยู่ที่ดีกว่าคนที่นึกว่าตนเองอำมาตย์เพราะไปรับใช้อำมาตย์เสียด้วยซ้ำ

แต่ที่ต่างคือ ณัฐวุฒิเป็นไพร่ที่ออกมาต่อสู้เพื่อให้มาซึ่งความเป็นประชาชนกลับมาสู่คนไทยทุกคน ส่วนกรณ์เป็นไพร่ที่ต้นตระกูลก็โล้สำเภามาจากหมู่บ้านเล็กๆ จากเมืองจีน (ซึ่งไม่แปลกเพราะสังคมไทยก็เป็นสังคม Mestizo หรือสังคมลูกครึ่งอยู่แล้ว แต่ที่แปลกคือ Mestizo ของไทยเลือกจะจำว่าตนเองเป็นอำมาตย์ มากกว่าเป็นลูกครึ่งจีนอพยพ) อาศัยเกาะกิน หาสัมปทาน ค้าขาย เป็นนายหน้าให้กับอำมาตย์จนมั่งคั่งขึ้นมาระดับหนึ่ง และด้วยทางครอบครัวมิได้อบรมให้ตระหนักรู้จักรากเหง้าที่มาของตนเอง

วันดีคืนดีเลยลืมตัวเป็นวัวลืมตีน

ลืมไปว่าบรรพบุรุษของตนก็เป็นไพร่จ่ายส่วยเท่านั้น เมื่อเป็นวัวลืมตีนเช่นนี้ คนอย่างกรณ์จึงมีความสุขที่จะหากินในฐานะสมุนอำมาตย์มากกว่าจะตระหนักในความสำคัญของประชาธิปไตยและสิทธิของคนไทยในฐานะที่เป็นประชาชน บวกกับเป็นเพียงผู้ที่ได้เรียนหนังสือแต่มิได้มีการศึกษาจึงขาดความลึกซึ้ง มีความคิดและความสามารถในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้แต่เพียงผิวเผิน ทั้งไร้รสนิยมในการเขียน ถกเถียง และแสดงความรู้สึก

ไพร่อย่างณัฐวุฒิต่อสู้กับประชาชน ในฐานะประชาชน ส่วนไพร่อย่างกรณ์เลือกจะขออยู่อย่างเชื่องๆ แค่ได้แทะเศษเนื้อที่เหลือจากอำมาตย์ก็สุขใจ ไพร่อย่างนี้ ฉันเรียกว่าไพร่น่าสมเพช ถ้าในยุคเลิกทาสก็คงเรียกว่า ทาสที่ปล่อยไม่ไป ชอบคลานแต่ไม่ชอบเดินทั้งๆ ที่มีสองขา

ไพร่ประเภทนี้มักมีปมด้อย เพราะ positioning ตัวเองไว้ผิดฝาผิดตัว จะไปเป็นอำมาตย์ก็ต้องเป็นไม่ได้เพราะชาติกำเนิดไม่ให้ จะกลับมาเป็นไพร่ ไพร่ที่มีจิตสำนึกถูกต้องเขาก็ไม่เอาด้วย เป็นเช่นนี้จึงสำแดงทัศนะอันน่าสมเพชออกมาอยู่เนืองๆ

และทัศนะล่าสุดว่าด้วยไพร่และอำมาตย์ของกรณ์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาบ้องตื้น บ้อท่า และไร้น้ำยาขนาดไหน-กรณ์เอ๊ยกรณ์!

ที่มา : มติชน




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2554 16:22:20 น.
Counter : 570 Pageviews.  

ธงชัย วินิจจะกูล: มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน

“ การประนีประนอมหาทางออกในวันนี้จะส่งผลดีต่อ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ในระยะยาว อันดับแรกสุดคือ ‘เปิดประตู’ เปิดช่องทางให้กับการประนีประนอม

หยุดใช้มาตรา 112 ณ บัดนี้ ปลดปล่อยคนที่เดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ปล่อยคุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) ปล่อยคุณดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และคนอื่นๆ

ขจัดบรรยากาศความกลัวที่ปกคลุมประเทศไทยในขณะนี้ ยอมให้มีการอภิปรายถึงบทบาทสถานะทางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปตามทางของมันไม่ว่าจะลุ่มๆดอนๆขนาดไหนก็ตาม

หากน้อยกว่านี้ สายกว่านี้ หรือรังแกกันต่อไป ก็จะยิ่งเร่งให้ “สุก” โดยไม่จำเป็นเลย

พระมหากษัตริย์ต้องอยู่พ้นจากการเมืองอย่างแท้จริง จึงจะไม่เกิดความขัดแย้งในเรื่องสถาบันหรือตัวบุคคลอีกต่อไป ฝ่ายเจ้าจึงจะไม่ต้องวิตก วิ่งเต้น สะสมกำลัง ชิงความได้เปรียบกันอีกต่อไป ไม่ต้องกลัวว่านักการเมืองรายใดจะมาเป็นคู่แข่ง เพราะไม่มีอำนาจการเมืองเป็นเดิมพันอีกต่อไป

ฝ่ายเจ้าของไทยในปัจจุบันจะมีสายตายาวไกลพอหรือไม่ เห็นแก่ประเทศชาติประชาชนขนาดไหน หรือพวกเขาอยู่สูงเหนือประชาชนจนไม่เข้าใจว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้วในระดับรากหญ้าและไม่สามารถหยุดยั้งหรือย้อนเวลากลับได้อีกแล้ว”


ธงชัย วินิจจะกูล

000000

เกริ่นนำ

เมื่อ 10 ปีก่อนในรายการเพื่ออาจารย์ชาญวิทย์เช่นกัน ผมถือว่าเป็นโอกาสที่จะเสนอความคิดทางวิชาการครั้งสำคัญเพื่อให้งานสำหรับอาจารย์ชาญวิทย์มีความหมายต่อไปอีกนานๆ คราวนั้นจึงประมวลความคิดความรู้เสนอเรื่อง “ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม” เป็นหัวข้อที่จัดอยู่ในเรื่องประวัติศาสตร์นิพนธ์และปรัชญาประวัติศาสตร์ของไทยซึ่งเป็นแขนงความรู้หนึ่งที่อาจารย์ชาญวิทย์ให้ความสำคัญ

วันนี้เป็นโอกาสสำคัญทำนองเดียวกันอีกครั้ง คราวนี้ขอเลือกหัวข้อที่จัดอยู่ในเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่อาจารย์ชาญวิทย์ให้ความสำคัญจนเป็นที่รู้จักกันดี

การศึกษาประวัติศาสตร์มีหลายแบบ โดยมากจะสนใจลงรายละเอียดข้อเท็จจริงมากมายเพื่อต่อชิ้นส่วนของอดีตอีกชิ้นหนึ่ง แต่มีงานทางประวัติศาสตร์ การคิดทางประวัติศาสตร์อีกแบบคือ ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในมุมกว้างครอบคลุมเวลานับร้อยปี เพราะการศึกษาในแบบแรกซึ่งทำกันอยู่ทั่วไป มักมองไม่เห็นแนวโน้มใหญ่ๆทางประวัติศาสตร์ของสังคม มองไม่เห็นทั้ง “ป่า” มองเห็นแต่ “ต้นไม้” เป็นต้นๆหย่อมๆ

ในวันนี้ผมอยากจะเพ่งมองลงไปที่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองไทยใน 100 กว่าปีที่ผ่านมานับแต่เริ่มเกิด “สยามใหม่” ก็ว่าได้ พยายามมองในกรอบเวลากว้างไกล เราจะเห็นอะไร

แน่นอนว่ามีหลายแง่มุมให้เราเพ่งมอง เช่นฐานของระบบเศรษฐกิจ หรือประวัติศาสตร์ชนบทไทย แน่นอนว่าเราอาศัยความได้เปรียบที่เรามีชีวิต 100 ปีหลังจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้เห็นความคลี่คลายของสังคมไทย 100 ปีให้หลัง ถ้าเรามองจากปัจจุบัน มองภาพรวมของกระแสความเปลี่ยนแปลงในร้อยปี เราจะเห็นอะไรบ้าง

สิ่งที่เด่นชัดขึ้นมา คือ มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังอยู่กับทุกอณูของปัจจุบัน


สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในความเข้าใจของเราและของบทความนี้

ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์มี 2 นัย คือ

หนึ่ง สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีคุณูปการมหาศาลต่อปัจจุบัน ช่วยให้สยามอยู่รอดเป็นเอกราชและเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่รุ่งเรืองเจริญสถาพรทุกด้าน

สอง แต่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รวบอำนาจในมือกลุ่มเจ้า ไม่เปิดโอกาสแก่สามัญชนที่มีความรู้ความสามารถในระบบราชการ จนกลายเป็นอุปสรรคต่อความเจริญ ดังนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 ซึ่งถือว่าเป็น “อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม” เรามักเข้าใจกันว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จบไปแล้ว หากนับจากปีที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่ประมาณปี 2425 และเริ่มการปฎิรูปครั้งใหญ่ จนถึง 2475 สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีอายุประมาณ 50 ปีเท่านั้น

ทุกวันนี้คนจำนวนมากเอาทั้งสองนัยมารวมกันคือ สรรเสริญทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคณะราษฎร (โดยเฉพาะ 30 ปีหลังมานี้ที่คณะราษฎรและปรีดี พนมยงค์ได้รับการกอบกู้เกียรติภูมิขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง) แต่ประวัติศาสตร์มาตรฐานเน้นนัยแรก และโทษว่าปัญหาหนักหน่วงใดๆของสังคมการเมืองไทยหลังจากนั้นไม่เกี่ยวข้องกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไปเพราะ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จบไปแล้ว บาปเป็นของคณะทหารเริ่มจากจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นต้นมา

สิ่งที่ผมเห็นจากการมองประวัติศาสตร์แบบมุมกว้างกลับพบว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังไม่จบอย่างที่คิด เพราะสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สร้างฐานรากหลายๆด้านแก่สังคมการเมืองไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นฐานรากของปัญหาเรื้อรังหลายอย่างของปัจจุบันด้วย ปัญหาสำคัญหลายอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่แก้ยากเย็นเหลือหลายเพราะเรื้อรังมานาน แต่กลับนึกไม่ถึงว่าเป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพราะเรานึกว่าจบไปแล้ว

คณะราษฎรยุติระบอบการเมืองอย่างเป็นทางการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ไม่ตระหนักรู้เพียงพอถึงรากฐานที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์สร้างไว้ คณะราษฎรจัดการกับปัญหาสำคัญบางด้าน แต่กลับสืบทอดมรดกหลายอย่างของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อมาด้วยซ้ำ

ขอได้โปรดเข้าใจว่าการประเมินย้อนหลังเช่นนี้มิใช่กล่าวโทษหรือลดคุณูปการของบรรพบุรุษในอดีต ทุกคนมีข้อจำกัดตามยุคสมัยด้วยกันทั้งนั้น และคุณูปการทุกอย่างย่อมมีด้านที่เป็นปัญหาซึ่งมักโผล่ตัวหลายสิบปีหลังจากนั้น เราต้องทั้งเคารพอดีตยามที่เราศึกษาเหตุการณ์และมนุษย์ในอดีต แต่ต้องกล้ามองอดีตจากปัจจุบันยามที่เราแสวงหาบทเรียนหรือประเมินผลของอดีตต่อปัจจุบัน

ทำไม สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงมีมรดกลึกซึ้งกว้างไกลขนาดนั้น

เพราะว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ ระบอบอำนาจและยุคสมัยที่ให้กำเนิดและหล่อหลอมรัฐไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คือระบอบอำนาจที่ทั้งก่อให้เกิดและเป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงขณะที่สยามเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงเป็น Defining Period ของสยามยุคสมัยใหม่ หมายถึง เป็นช่วงเวลาที่รัฐไทยและสังคมไทยตัดสินเลือกทางเดินสำคัญๆที่มีผลกำหนดอนาคตของสยามประเทศต่อมาอีกนาน เป็นยุควางรากฐาน เสาเข็ม โครงสร้างของรัฐและภาวะสมัยใหม่ของไทย บ้านหลังนี้เปลี่ยนผนังกั้นห้อง ทาสีใหม่ไปแล้วหลายรอบ แต่ฐานราก เสา โครงสำคัญกลับยังไม่เคยเปลี่ยน

กล่าวอีกอย่างคือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่ระบอบการเมืองทางการที่จบไปแล้ว แต่หมายถึงยุคสมัยหรือช่วงขณะที่เป็นรากฐานของไทยสมัยใหม่ที่ก่อรูปเกิดขึ้นท่ามกลางการเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และกลายเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ต่อมาอีกนาน ไม่ใช่แค่ช่วง 50 ปีนับจากปลายรัชกาลที่ 5 ถึงสิ้นรัชกาลที่ 7

ผลผลิตสำคัญที่สุดของสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือประเทศไทยสมัยใหม่นั่นเอง


มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์

มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สืบทอดมาอย่างไม่หยุดนิ่งตายตัว แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ภายในกรอบที่วางไว้ตั้งแต่ 100 ปีก่อน เอาเข้าจริงแทบทุกอย่างที่จะเสนออาจกล่าวได้ว่านักประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้ก็พอมองเห็นมาก่อน แต่พวกเขามองเห็นว่าเป็นคุณูปการที่น่าเฉลิมฉลองขอให้อยู่ต่อไปอีกนานๆ นั่นเป็นจุดยืนและมุมมองแบบเจ้ากรุงเทพฯที่นักประวัติศาสตร์มักรับเอามาเป็นของตน จนทำให้มองไม่เห็นอีกด้านของเหรียญเดียวกัน นั่นคือ คุณูปการที่น่าเฉลิมฉลองน่าภาคภูมิใจนั้น กลับเป็นกรอบกำแพงที่กักขังสังคมไทยไว้ จนไม่สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับเวลาที่เปลี่ยนไป หลายประเด็นเป็นข้อจำกัดทำให้เราไม่สามารถแม้แต่จะคิดออกนอกกรอบกำแพงดังกล่าว หรือถึงกับรังเกียจ ลงโทษ ทำร้ายคนที่คิดออกนอกกรอบกำแพงดังกล่าว

อะไรบ้างคือมรดกเหล่านั้น ในที่นี้จะขออธิบายเริ่มจากบริบท แล้วจะกล่าวถึงมรดกเป็นเรื่องๆไป เริ่มจากรัฐ ระบบการปกครอง อำนาจอธิปไตย ต่อด้วยเรื่องวัฒนธรรมภูมิปัญญา ได้แก่พุทธศาสนา อุดมคติทางสังคม ความรู้ประวัติศาสตร์ และลงท้ายที่ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์

ในตอนท้ายสุด จะกล่าวถึงทัศนะท่าทีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ๆ ซึ่งก็เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกันว่าเกี่ยวข้องกับปัจจุบันอย่างไร


บริบทของสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ในที่นี้ขอย้ำบริบทสำคัญเพียงประการเดียว นั่นคือ สภาวะกึ่งอาณานิคมของสยาม

ความเข้าใจที่ว่าสยามไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นนั้นไม่ผิดเสียทีเดียวแต่ก็ไม่ถูกความเข้าใจนี้จำกัดปิดกั้นความคิดวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์อย่างมากจนหลงทิศทางมาตลอด สภาวะกึ่งอาณานิคมกล่าวโดยสรุปหมายถึง

· สยามตระหนกต่อกำลังของมหาอำนาจยุโรป แม้แต่จีนซึ่งเป็นจักรวรรดิใหญ่ของอารยธรรมสมัยก่อนยังพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดินิยมยุโรป แม้แต่พม่าซึ่งเป็นอริที่เข้มแข็งในโลกทัศน์ของสยามก็พ่ายแพ้ราบคาบ สยามตระหนักว่าต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปแล้ว

· แต่ชนชั้นนำสยามให้ความร่วมมือกับมหาอำนาจยุโรปอย่างดี ทั้งเพราะเกรง เพราะเห็นการณ์ไกล และเพราะได้ประโยชน์มาก ความรู้และเทคโนโลยี่การปกครองแบบใหม่ เพิ่มกำลังอำนาจของชนชั้นนำสยาม การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจอาณานิคมระดับโลกให้ผลประโยชน์แก่ชนชั้นนำสยาม

· เป้าหมายสำคัญของการปรับตัวเพิ่มอำนาจ มิใช่แค่การทัดทานฝรั่ง แต่เพื่อรักษาสถานะเดิมที่เป็นอธิราชเหนืออาณาจักรหลายแห่งในภูมิภาค ในยามที่อธิราชคู่แข่งร่วงลงทีละแห่ง ความเป็น “เอกราช” ที่สยามต้องการมิได้แค่หมายถึงเป็นอิสระจากฝรั่ง แต่หมายถึงต้องการรักษาสถานะองค์ราชาที่เป็น “เอก” เหนือราชาทั้งหลาย

· สยามใหม่ภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็นทั้งผู้ด้อยกว่าจักรวรรดิยุโรป และเป็นเจ้าจักรวรรดิ “พี่เบิ้ม” ของภูมิภาคในเวลาเดียวกัน

· ชนชั้นนำสยามไม่ถูกโค่น พวกเขาเป็นอำนาจนำในการเลือกสร้าง เลือกรับปรับเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีของรัฐสยามใหม่ ที่กล่าวว่า สยามเลือกรับของดีทิ้งของเสียจากตะวันตก จึงหมายถึงเลือกสิ่งที่ชนชั้นนำเห็นว่าดีสอดคล้องผลประโยชน์ จริต รสนิยม อุดมคติของตน การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่างจึงเป็นไปได้เพราะพวกเขาเลือกทำตามผลประโยชน์ของตน ยังไม่มีพลังทางสังคมกลุ่มอื่นที่มีผลประโยชน์เป็นของตนเองต่างจากพวกเจ้าในยุคนั้น

· การกระทำทั้งหลายทั้งปวงเพื่อ “รักษาเอกราช” จึงแยกไม่ออกจากการรักษาอำนาจ รักษาสถานะเดิมและผลประโยชน์ของชนชั้นนำสยามในขณะนั้น ทั้งสองอย่างเป็นอย่างเดียวกัน ประวัติศาสตร์ฉบับทางการสอนเราด้านเดียวว่าเป็นการรักษาเอกราช แต่ไม่ได้ชี้ให้เห็นอีกด้านที่แยกกันไม่ออก ซึ่งก่อมรดกมากมายมาสู่ปัจจุบัน


รัฐสยามแบบไทยๆ อธิปไตยแบบไทยๆ และลัทธิเสียดินแดน

เรารู้กันดีว่าการสถาปนาระบบการปกครองหัวเมืองและระบบราชการสมัยใหม่ที่กรุงเทพฯเป็นผลงานเอกและเป็นหลักหมายของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ที่ยังมีศึกษากันไม่พอก็คือ รัฐที่ดูเหมือนสมัยใหม่นั้นอยู่บนฐานจารีตเดิมขนาดไหนอย่างไร ผลผลิตหรือรัฐแบบฝรั่งใส่ชฎาหรือนุ่งผ้าม่วงเขมรใส่เชิ้ตฝรั่งที่ตกทอดมาถึงเรานั้น แท้ที่จริงเป็นรัฐแบบไทยๆอย่างไร ก่อปัญหาแบบไทยๆในยุคต่อมาขนาดไหน

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเรื่องรัฐรวมศูนย์และเรื่องอฺธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งเป็นฐานของระบบบริหารที่ล้าหลังไม่ยอมปรับตัว ลัทธิรัฐเดี่ยวที่แข็งทื่อ และลัทธิเสียดินแดน

ก่อนมีอธิปไตยเหนือดินแดนแบบปัจจุบันนั้น สยามเป็นรัฐราชาธิราช องค์อธิราชอ้างความชอบธรรมจากบุญญาบารมีที่สูงส่งกว่ากษัตริย์อื่น ทำตัวเป็นเจ้าพ่อใหญ่ที่แผ่ร่มบรมโพธิสมภารเหนือกษัตริย์รายอื่นซึ่งเป็นเจ้าพ่อรายย่อยกว่า ดินแดนไม่ใช่ฐานของอำนาจแบบรัฐราชาธิราช

อธิปไตยเหนือดินแดนแบบปัจจุบันของสยามเป็นการแปร “ร่มบรมโพธิสมภาร” หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ให้กลายเป็นปริมาณที่มีขอบเขตชัดเจนบนผิวโลก

การแปรเปลี่ยนนี้จึงต่างลิบลับตรงข้ามกับกำเนิดของอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐสมัยใหม่ในยุโรปเมื่อกลางศตวรรษที่ 17 พัฒนาการของ nation-state ในยุโรปในศตวรรษที่ 18-19 ก็เป็นคนละเรื่องกับกำเนิดชาติและสยามประเทศในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์

รัฐชาติสยามคือการแปลงร่างรัฐราชาธิราชออกมาเป็นรัฐสมัยใหม่ที่มีฐานอยู่กับดินแดน

กระบวนการแปลงร่างนี้อาศัยกระบวนการ 2 ด้านควบคู่กัน กระบวนการแรกคือ ผนวกประเทศราชเดิมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองแบบ “เทศาภิบาล”ที่ใช้ดินแดนเป็นฐาน เรารู้จักกระบวนการนี้ในนามของการปฎิรูปการปกครองหัวเมืองซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณปลายทศวรรษ 2420 แต่ประกาศเป็นทางการเมื่อ ร.ศ.111 (2435)

กระบวนการที่สองคือ ใช้กำลังทหารเข้าครอบครองแย่งชิงดินแดนที่อธิปไตยเดิมกำกวมซ้อนทับกันระหว่างอธิราชหลายองค์ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 คือผลของการแย่งชิงประเภทนี้กับฝรั่งเศสแล้วสยามแพ้ สยามจึงไม่เคยพ่ายแพ้จนจะตกเป็นอาณานิคม แต่สยามแย่งดินแดนกับเขาแล้วแพ้ เอามาเป็นของสยามไม่ได้ เสียพระเกียรติยศของเจ้าพ่อรายใหญ่

การแปลงร่างเกิดเป็นสยามขวานทอง จึงเป็นผลลัพธ์ของความพ่ายแพ้ชนิดนี้ ดินแดนถูกกำหนดขอบเขตโดยมหาอำนาจยุโรป ไม่ใช่เสียดินแดนแต่เพราะได้เพียงแค่นี้ และเป็นผลลัพธ์ของผนวกประเทศราชเดิมเข้าในบูรณภาพเหนือดินแดนซึ่งสยามเก่าไม่เคยมีมาก่อน

มรดกสำคัญที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ส่งทอดต่อมาในเรื่องนี้ได้แก่

ประการแรก ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์เกิดขึ้นเพื่อบริหารบงการบูรณภาพเหนือดินแดนแบบใหม่ เป็นความจำเป็นเพื่อยึดผนวกหัวเมืองและประเทศราชเดิมไว้ในมือกรุงเทพฯอย่างแข็งแกร่งในยามต้องการรักษาอำนาจแต่ตระหนกต่อจักรวรรดินิยมยุโรป

การปกครองดินแดนแบบใหม่เริ่มต้นโดยอธิราชเดิมแปลงร่างเป็นรัฐบาลกลางของรัฐแบบใหม่ เจ้าเมืองเดิม เจ้าครองนครประเทศราชเดิม ล้วนแต่อ่อนแอ ไม่มีอำนาจต่อรองสร้างระบบปกครองที่มีอิสระสักหน่อยจากศูนย์กลาง ครั้นเจ้าเมืองเดิมพยายามเช่นนั้นก็ถูกปราบรุนแรงราบคาบทุกแห่งทั้งในหัวเมืองล้านนา หัวเมืองลาว และหัวเมืองปัตตานีในปี 2445 (ร.ศ.121)

ระบบรวมศูนย์ที่แข็งทื่อไม่ยืดหยุ่นให้อำนาจล้นหลามเกินจำเป็นแก่ขุนนางที่กรุงเทพฯตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา ให้ผลประโยชน์มหาศาลแก่ขุนนางที่กรุงเทพฯเพราะดูดซับทรัพยการจากทั้งประเทศมาเจือจุนกรุงเทพฯแม้ว่าจะเป็นระบอบหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วก็ตาม ระบบนี้ขัดขวางการกระจายอำนาจ ไม่ยอมให้อำนาจแก่ประชาชนท้องถิ่นตัดสินอนาคตของตัวเอง ระบบนี้ไม่เคยถูกทบทวนในยุคต่อมารวมทั้งหลัง 2475 แถมแข็งแกร่งขึ้นภายใต้รัฐทหารที่อ้างภัยต่อความมั่นคงของชาติในยุคสงครามเย็น

ประการที่สอง ระบบรวมศูนย์ถูกค้ำจุนด้วยลัทธิรัฐเดี่ยว (เอกรัฐ) แบบแข็งทื่อ นั่นคือ ความเชื่อ ว่า รัฐไทยต้องอยู่ใต้ระบบปกครองที่เหมือนๆกันทั้งประเทศ การกระจายอำนาจถูกหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เพราะถือว่าเป็นก้าวแรกของความแตกแยกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศไทย เอกราชต้องหมายถึงดินแดนทุกส่วนต้องอยู่ใต้การปกครองจากกรุงเทพฯเหมือนๆกัน การต่อสู้เรื่องกระจายอำนาจจึงยากลำบากแสนเข็ญ เพราะถูกสงสัยเป็นประจำว่าจะทำให้ประเทศแตกแยกเป็นส่วนๆ แม้ว่าการกระจายอำนาจจะเป็นจริงมากขึ้นหลังสงครามเย็นในประเทศสิ้นสุดลง รัฐไทยยอมรับความหลากหลายของภูมิภาคและท้องถิ่นมากขึ้นนับจากกลางทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา แต่มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ข้อนี้ยังแข็งแกร่งอยู่ ดูได้จากการจัดการวิกฤตชายแดนใต้ไม่ว่าโดยรัฐบาลไหนก็ตามนี่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกอย่างที่เป็นปัญหาหนักหน่วงในปัจจุบัน

ความเชื่อว่าประเทศไทยต้องอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เป็นแบบเดียวกัน ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งผืน เพื่อความมั่นคงรักษาเอกราชไว้ ยังเป็นฐานของลัทธิ “ความเป็นไทย” ที่คับแคบตายตัว ซึ่งก่อตัวเติบโตมากับสยามใหม่ที่มีจินตนาการผูกติดกับอธิปไตยเหนือดินแดนแบบไทยๆ มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ข้อนี้เป็นเสาหลักประการหนึ่งของลัทธิชาตินิยมไทยจนปัจจุบัน

ประการที่สามลัทธิเสียดินแดน แม้สยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคม แต่กลับมีลัทธิความเชื่อทางประวัติศาสตร์ไม่ต่างกับประเทศอาณานิคม คือ เชื่อว่า เสียดินแดนให้นักล่าอาณานิคม ลัทธิเสียดินแดนเป็นมรดกความเชื่อทางประวัติศาสตร์ ที่รับเอามุมมองและความคิดของเจ้ากรุงเทพฯมาเป็นของเรา ถ้าเราคิดอย่างอิสระแบบคนไม่ใช่เจ้า หรือคิดจากมุมมองของเจ้าเวียงจันทน์ ยโสธร มุกดาหาร สุวรรณเขต พวน กัมพูชา ฯลฯ ก็จะไม่มีทางเข้าใจลัทธิเสียดินแดนของไทย

อานุภาพของลัทธิเสียดินแดนมีมากขนาดไหนคงไม่ต้องอธิบายกันอีก แต่อยากขอสรุปแต่เพียงว่า ลัทธิเสียดินแดนเป็นเสาหลักประการหนึ่งของลัทธิชาตินิยมของไทยมาจนถึงปัจจุบัน


พุทธศาสนากับความเป็นไทย

พุทธศาสนาในสยามผ่านการปฎิรูปทางภูมิปัญญาครั้งใหญ่ในต้นศตวรรษที่ 19 โดยขบวนการธรรมยุตินิกายของวชิรญาณภิกษุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือความเข้าใจต่อ “ศาสนา” อย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน พุทธศาสนาต้องมิใช่ความเชื่อที่อธิบายโลกธรรมชาติทั้งปวงอีกต่อไป แต่ทำให้ศาสนาเป็นระบบความเชื่อทางศีลธรรมของปัจเจกบุคคล และเป็นความเชื่อที่เป็นเหตุเป็นผล การตีความปรัชญาความคิดพุทธศาสนามีต่อมาอีกมากมายในสังคมไทยแต่โดยมากอยู่ภายในกรอบของพุทธศาสนาอย่างที่วางไว้แล้วแต่ครั้งนั้น

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของพุทธศาสนาในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีสองประการ คือ ประการแรก สถาปนาคณะสงฆ์ที่รวมศูนย์ตามแบบการปกครองของรัฐ และแผ่ขยายความคิด การตีความและคัมภีร์ที่กรุงเทพฯถือเป็นมาตรฐานออกไปเพื่อตะล่อมให้พุทธศาสนาบนแผ่นดินสยามคล้ายคลึงตามมาตรฐานเดียวกัน ทั้งหมดนี้เริ่มขึ้นในครึ่งหลังของรัชสมัยรัชกาลที่ 5

ประการที่สอง ทำให้พุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงริเริ่มลัทธิชาตินิยมตามแบบของพระองค์ แม้คนที่อาศัยบนแผ่นดินสยามจะนับถือศาสนาพุทธเถรวาทเป็นส่วนใหญ่มานานหลายร้อยปีก่อนหน้าศตวรรษที่ 20 แต่ความคิดเรื่องความเป็นไทยเพิ่งถูกประมวลก่อรูปร่างขึ้นมาเป็นวาทกรรมทรงพลังในต้นศตวรรษที่ 20 นี้เอง วาทกรรม “ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์” เพิ่งเกิดขึ้น พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นการเมืองวัฒนธรรมประการสำคัญของไทย และกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชาตินิยมไทยสมัยใหม่ภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์นี่เอง

มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ข้อนี้ยังคงอยู่กับเราในปัจจุบันอย่างแข็งแกร่ง การวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาแทนที่จะเป็นเรื่องความเชื่อของปัจเจกบุคคลและเสรีภาพที่จะเชื่อหรือไม่ของแต่ละคน กลับถูกถือเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ความหลากหลายของความคิด ความเชื่อและวิถีปฎิบัติของแต่ละท้องถิ่นถูกจำกัดทำลายลงไปมากตั้งแต่ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 แม้ว่าอำนาจรัฐไม่มีทางขจัดความหลากหลายระดับท้องถิ่นให้หมดสิ้นก็ตาม


สังคมไทยปกติที่พึงปรารถนา: A Buddhist Organic Society

ความสัมพันธ์ทางสังคมตามจารีตของไทยเป็นแบบสูงต่ำตามลำดับชั้นของบุญบารมี โดยผูกติดกับเครือข่ายระบบมูลนายอันแผ่กระจายอยู่ทั่วทั้งสังคม แต่แยกเป็นส่วนๆตามหัวเมืองตามกรมกองสังกัด สังคมไทยไม่เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงที่โยกคลอนความสัมพันธ์ชนิดนี้อย่างถึงราก ความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่และรัฐสมัยใหม่ของสยามคือการปรับความสัมพันธ์แบบคนสูงต่ำไม่เท่ากันนี้ให้เข้ากับสังคมกระฎุมพีและเข้ากับรัฐรวมศูนย์และระบบราชการใหม่ สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์แห่งชาติกับราษฎรไทยทั้งมวลทั่วไป

ประชากรไทยไม่เคยเป็น citizen ที่เท่าเทียมกันและมีความสัมพันธ์กันตามแนวนอน สังคมไทยสมัยใหม่ไม่เคยเป็นที่รวมของปัจเจกชน (individuals) ที่นับเป็นหน่วยทางสังคมในตัวเอง

การปรับตัวนี้เริ่มมาก่อนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือมากับการเติบโตของการค้าและเศรษฐกิจเมืองตลอดศตวรรษที่ 19 หรือก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ แต่ความคิดหรือเราอาจเรียกว่าเป็นทฤษฎีหรือปรัชญาการเมืองของไทยเพิ่งจะประมวลขึ้นมาในปลายศตวรรษที่ 19 นี่เอง ผมขอเรียกว่าเป็นสังคมอินทรียภาพแบบพุทธ (Buddhist Organic Society)

สังคมอินทรียภาพแบบพุทธ คือแนวคิดที่เน้นว่าสังคมจะปกติสุขและจะเคลื่อนตัวพัฒนาไปได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยต่างๆของสังคมจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนและทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน (harmony) เปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่างๆกันความสำคัญไม่เท่ากัน แต่ต้องประสานสอดคล้องกันจึงจะไม่เจ็บป่วย

องค์รวมที่เรียกว่าประเทศไทย จึงเต็มไปด้วยหน่วยย่อยๆที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาหน่วยสังคมใดๆ เช่นครอบครัว ที่ทำงาน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด กระทรวงกรม โรงเรียน บริษัท โรงงาน ฯลฯ ก็จะพบผู้คนที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน และต้องยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ทุกๆคนล้วนมีความสำคัญเพราะทุกอวัยวะทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ ความสามัคคีที่เป็นคาถาในอาร์มแผ่นดินมีรากมาจากพุทธศาสนา ได้รับการตีความให้เข้ากับปรัชญาสังคมอินทรียภาพแบบพุทธของไทยสมัยใหม่

สังคมไทยจึงเรียกร้องและเน้นความสามัคคีและหน้าที่กันเหลือเกินตั้งแต่ออกจากครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน สังคมไทยกลัวความขัดแย้งและจัดการความขัดแย้งไม่ค่อยเป็น สังคมไทยจึงเน้นหน้าที่และความรับผิดชอบเพราะเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นของบุคคลที่สังกัดขึ้นต่อผู้อื่น มากกว่าสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นของปัจเจกภาพ

(เราท่านคุ้นเคยกับความคิดสังคมอินทรียภาพแบบพุทธจนอาจคิดว่า เรื่องความสามัคคีเป็นสามัญสำนึกของคนทั้งโลกเหมือนๆกัน อาจนึกไม่ออกว่ามีทฤษฎีหรือปรัชญาสังคมแบบอื่นที่สร้างให้เกิดค่านิยม วัฒนธรรม ตลอดจนถึงบุคลิกภาพทั่วๆไปของคนในสังคมนั้นๆที่ต่างออกไป อันที่จริงปรัชญาสังคมอินทรียภาพมีหลายแบบทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก สังคมตะวันตกสมัยใหม่หลายแห่งถือว่าคนเท่ากัน สัมพันธ์ในแนวนอน ปัจเจกชนและสังคมขับเคลื่อนด้วยความขัดแย้งที่อยู่ในกรอบและแปรเป็นพลังสร้างสรรค์)


ลัทธิประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม

แม่บทประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยมที่ยังทรงอิทธิพลแข็งแกร่งถึงทุกวันนี้ก็เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์นิพนธ์ เป็นแบบสมัยใหม่เริ่มต้นราวกลางศตวรรษที่ 19 แต่ไม่มีข้อเสนอเรื่องเล่าประวัติของชาติที่กลายเป็นแม่บทของประวัติศาสตร์ไทย แม้จะมีความพยายามอยู่บ้างก็ตาม

แม่บทประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยมก่อตัวขึ้นในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ลงตัวประมาณประมาณปี 2460 เศษโดยเป็นผลของเรื่องเล่า 2 กระแสมาบรรจบผสมกัน

กระแสแรก คือกำเนิดสยามเป็นอารยธรรมเก่าแก่ศิวิไลซ์มาแต่โบราณ ไม่ใช่สืบมาจากพุทธทำนาย หรือวงศ์อวตารอีกต่อไป ประวัติศาสตร์สุโขทัยทำหน้าที่นี้อย่างสำคัญที่สุด แต่อิงอยู่กับจารึกพ่อขุนรามฯ แทบทั้งสิ้น และใช้การตีความแบบเป็นเหตุเป็นผลเข้าอธิบายตำนานปรัมปราเกี่ยวกับพระร่วง สร้างเป็นเรื่องเล่าแบบใหม่ขึ้นมา (ดังนั้นข้อสงสัยเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามฯจึงกระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติอย่างมาก)

กระแสสอง ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อเอกราชของสยาม โครงเรื่องหลักคือการเสียกรุง 2 ครั้งและกู้อิสรภาพกลับมา 2 ครั้ง เรื่องเล่าชุดนี้ใช้ทัศนะชาตินิยมต่อต้านการรุกรานของต่างชาติอันเป็นผลของ ร.ศ.112 เข้าตีความข้อมูลเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดาร ผลคือประวัติศาสตร์ต่อต้านผู้รุกรานล่าอาณานิคมในระยะเดียวกับที่ประวัติศาสตร์ทำนองเดียวกันเริ่มเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน แต่ผู้รุกรานสยามกลับไม่ใช่ฝรั่งนักล่าอาณานิคม กลับเป็นพม่า - อริเก่าของยุคโบราณ เราอาจจะกล่าวกลับกันได้ว่า เอาเข้าจริงประวัติศาสตร์ไทยรบพม่าเป็น allegory ของประวัติศาสตร์ต่อต้านฝรั่งนักล่าอาณานิคม เรื่องเล่ากระแสนี้จึงเป็นผลผลิตของ ร.ศ.112 อย่างชัดเจน

แกนกลางของประวัติศาสตร์ทั้ง 2 กระแสคือ พระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้นำของรัฐชาติ ดังนั้นจึงเรียกว่าประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม ซึ่งเคยเสนอไปเมื่อ 10 ปีก่อนแล้ว


(สถาบัน) พระมหากษัตริย์

เหล่านี้คือ มรดกสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน แม้มีความเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่องเหล่านี้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในกรอบเดิมทั้งสิ้น คงเห็นแล้วว่าครอบคลุมมิติหลักๆของรัฐและสังคมไทยปัจจุบันขนาดไหน

มรดกสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ขอกล่าวถึงเป็นอย่างสุดท้าย เป็นปัจจัยที่ยึดโยงรากฐานของรัฐสมัยใหม่ทุกประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดเข้าด้วยกัน นั่นคือ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ [ทำไมต้องวงเล็บรอบคำว่า “สถาบัน” จะเข้าใจได้ต่อไป]

ระบบการปกครองใหม่ของจักรวรรดิกรุงเทพฯ อธิปไตยเหนือดินแดนที่แปลงร่างมาจากพระบรมโพธิสมภารขององค์อธิราช ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม พุทธศาสนาของไทย และ สังคมอินทรียภาพที่มีอำนาจทรงธรรมเป็นหัวใจขององคาพยพทั้งหมด รากฐานสำคัญๆในระบบการเมืองและวัฒนธรรมการเมืองของไทยสมัยใหม่ มีพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยร่วม

ภาวะเช่นนี้ไม่น่าประหลาดใจเลย เพราะรากฐานดังกล่าวทั้งหมดถูกก่อร่างสร้างขึ้นโดยชนชั้นนำที่ถือเอาพระมหากษัตริย์เป็นใจกลางของรัฐสังคมสมัยใหม่ของสยามเพื่อประโยชน์ของชนชั้นตน

แต่พระมหากษัตริย์สมัยใหม่ (modern monarchy) ของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีบทบาทสถานะเปลี่ยนจากยุคสยามเก่าอย่างสำคัญ กล่าวคือนอกจากทรงเป็นสมมติเทพและผู้ทรงบุญบารมีสูงสุดในแผ่นดินตามคติฮินดู-พุทธที่ปรับเปลี่ยนเรื่อยมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์แล้ว ภารกิจของพระองค์กลับมิใช่เพียงแค่ทรงทศพิธราชธรรมเพื่อให้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์แผ่ปกป้องคุ้มครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้พ้นทุพภิกขภยันตรายนานาชนิดตามคติความเชื่อแต่โบราณ แต่ทรงเป็นผู้นำรัฐบาลผู้บริหารระบบราชการกระทรวงทบวงกรมแบบใหม่ที่มีหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของราษฎร เช่น สร้างถนน คูคลอง น้ำประปาสาธารณูปโภคและการศึกษาแก่ประชาชน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นภารกิจที่รัฐโบราณไม่เคยต้องรับผิดชอบ

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเหนือกลไกรัฐทั่วทั้งแผ่นดินนี่เองกลับมีความสัมพันธ์กับประชาชนอย่างที่พระมหากษัตริย์สมัยเก่าไม่เคยต้องเผชิญคือ เป็นพระมหากษัตริย์แบบสาธารณะ (public) ถึงแม้จะยังไม่ถูกตรวจสอบจากสาธารณะและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของประชาชน แต่พระมหากษัตริย์มาอยู่ในพื้นที่สาธารณะ (public sphere) สาธารณชนรับรู้และสื่อสารกันเกี่ยวกับพระองค์ จึงย่อมหนีไม่พ้นวาทกรรมในสังคมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงมีทั้งพระปิยมหาราชของสาธารณชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย และพระมหากษัตริย์ที่โดนสาธารณชนโค่นล้มเป็นครั้งแรก

พระมหากษัตริย์ที่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองท่ามกลางมหาชนชาวสยาม ย่อมออกหัวก็ได้ ออกก้อยก็ได้ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน จะบังคับให้ประชาชนใช้เหรียญที่มีแต่หัวทั้งสองด้านย่อมไม่ได้เพราะประชาชนรู้ว่าเป็นของปลอมของเก๊

แม้ว่าความไม่พอใจของสาธารณชนคนเมืองจะมีมากจนมีส่วนหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 แต่ทั้งคณะราษฎรและผู้ไม่นิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อื่นๆ กลับแตะต้องมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มากเท่าไรนัก คณะราษฎรเห็นความล้มเหลวของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัชกาลที่ 6 และ 7 แต่พวกเขาไม่เห็นด้วยซ้ำไปว่ารัชกาลที่ 5 คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่พวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน ผู้นำคณะราษฎรแทบทุกคนถือเอาพระปิยมหาราชเป็นแบบอย่างกษัตริย์และผู้นำที่พึงปรารถนา ซึ่งไม่ต่างจากความปรารถนาของพวกเจ้าทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์และภายหลัง

การเปลี่ยนแปลงที่คณะราษฎรกระทำมีความสำคัญและมีผลกระทบมหาศาลในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความกล้าหาญและคุณูปการของคณะราษฎรเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ แต่มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ระดับรากฐานยังสืบทอดต่อมา แม้แต่อำนาจฝ่ายเจ้าและบทบาทสถานะพิเศษทางการเมืองของ(สถาบัน)พระมหากษัตริย์ก็ได้รับการรื้อฟื้นในเวลาต่อมา

เมื่อฝ่ายเจ้าฟื้นอำนาจหลังการรัฐประหาร 2490 นั้น พวกเขามีทุนอยู่แล้วในการเมืองวัฒนธรรมและภูมิปัญญา สิ่งที่ฝ่ายเจ้าทำคือ รื้อฟื้นฐานความชอบธรรมที่อิงอยู่กับคติฮินดู-พุทธแต่โบราณ รื้อฟื้นพระมหากษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์ กับสร้างพระมหากษัตริย์ของมหาชนชาวสยาม (popular monarchy) ขึ้นมาอีกครั้ง สิ่งที่ฝ่ายเจ้าสมัยนั้นพยายามแก้ไขคือ แทนที่จะกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์เป็นหัวหน้ารัฐบาลเอง ต้องรับผิดรับชอบเอง ฝ่ายเจ้ากลับออกแบบระบบการเมืองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ เหนือ การเมืองในความหมายที่ต่างตรงข้ามกับที่คณะราษฎรพยายามกำหนด นั่นคือ แทนที่จะหมายถึงหลุดพ้นออกไปจากระบบการเมืองอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายเจ้ากลับทำให้พระมหากษัตริย์อยู่ข้างบนของระบบการเมืองปกติอีกทีหนึ่ง ฝ่ายเจ้าสมัยนั้นคงเชื่อว่านี่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับระบบการเมืองที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีกเพราะมีรัฐบาลเป็นผู้รับสนองความผิดแทน

สถานะเหนือการเมืองชนิดนี้มีกลไกเสริมความมั่นคงไม่ให้ต้องเผชิญการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ ที่สำคัญคือ ทำให้พระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะละเมิดมิได้ ฟ้องเอาผิดไม่ได้ นี่เป็นการรับเอากลไกทางกฏหมายของฝรั่งมาใช้อย่างผิดฝาผิดตัวเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าเอง (“เลือกสิ่งดี”) กล่าวคือในบางประเทศที่มีกลไกนี้ ก็เพื่อคุ้มครองพระมหากษัตริย์ที่ไม่ทรงทำอะไรเลยทางการเมือง แต่ฝ่ายเจ้าของไทยเอามาใช้เป็นเกราะกำบังพวกกษัตริย์นิยมที่กำลังรื้อฟื้นบทบาทสถานะพิเศษทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง นี่คือภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของ “มาตรา 112” ในปัจจุบัน และเป็นประด็นที่แทบไม่มีใครกล่าวถึงในการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกฏหมายนี้

พระมหากษัตริย์สมัยใหม่แบบใหม่ (“Modern Monarchy 2.0”) นี้เริ่มต้นมากับยุคเผด็จการทหารขนานแท้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลัง 2490 เติบโตเข้มแข็งขึ้นภายใต้เผด็จการทหารยุคพัฒนา และบรรลุจุดหมายโดยพื้นฐานเมื่อโค่นเผด็จการทหารลงในปี 2516 ใช้เวลาเสริมสร้างความมั่นคงในเวลา 15 ปีต่อมา ในที่สุดฝ่ายเจ้าก็สามารถสถาปนาพระมหากษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รักของมหาชนและอยู่ข้างบนของระบบการเมืองได้สำเร็จ นี่คือมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปรับตัวกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในยุคของเรา

ฝ่ายเจ้าคงคิดว่านี่เป็นบทบาทสถานะทางการเมืองที่มั่นคงปลอดภัยที่สุดได้ประโยชน์ที่สุด พวกเขาต้องการให้เป็นแบบนี้ตลอดไป หรือกล่าวอีกอย่างคือ ต้องการให้เป็น “สถาบัน”

แต่บทบาทสถานะทางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์แบบนี้กำลังเผชิญปัญหา ขอย้ำว่าไม่ใช่เพราะพวกล้มเจ้า ทักษิณ หรือนักวิชาการที่ออกมาเตือน แต่เป็นเพราะบทบาทสถานะแบบนี้มีปัญหาในตัวเองที่ไม่มีทางแก้ตกและไม่มีทางอยู่ยั่งยืนได้ตลอดไปอย่างที่ฝ่ายเจ้าปรารถนา ปัญหาในตัวเองนี้เป็นปัญหาเดียวกันกับที่นำไปสู่ “อวสานของสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เมื่อ 80-100 ปีก่อน ดังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชบันทึกเมื่อปี 2469 ว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหมาะสมกับประเทศสยาม “ตราบเท่าที่เรามีพระเจ้าแผ่นดินที่ดี…ทว่าแนวความคิดนี้เป็นแต่เพียงทฤษฎี....ไม่แน่นอนว่าเราจะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ดีอยู่เสมอ” คำกล่าวของพระองค์ ใช้ได้กับบทบาทของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์หลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน

ปัญหาในตัวเองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์และภายหลังมี 2 ประการได้แก่ หนึ่ง บทบาทสาธารณะกับความต้องการอยู่ในสถานะศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้และเป็นที่รักของมหาชนอย่างสัมบูรณ์ ไปด้วยกันไม่ได้ ดังได้อธิบายไปแล้วถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลังรัชกาลที่ 5

จะบังคับให้มหาชนชาวสยามใช้เหรียญที่ออกหัวทั้งสองด้าน ไม่มีก้อย จะไปได้นานสักเท่าไรกัน ไม่ช้าก็เร็วย่อมมีคนร้องเรียนว่าเป็นเหรียญเก๊

อำนาจบุญบารมีแบบพระมหากษัตริย์โบราณไม่อาจกลบเกลื่อนความแตกต่างทางสังคมในการเมืองสาธารณะได้อีกต่อไป จึงไม่มีใครหรือสถาบันใดที่สามารถมีบทบาททางการเมืองโดยไม่ต้องขัดแย้งในทางสาธารณะ ถ้าจะคงสถานะศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รักของมหาชนได้ยาวนานก็ต้องไม่มีบทบาททางการเมืองอย่างสิ้นเชิง

สอง ความฝันของฝ่ายเจ้าที่อยากให้ตัวแบบพระปิยมหาราชกลายเป็นสถาบันไปนานๆโดยไม่ขึ้นกับตัวบุคคล จึงขัดฝืนกับความเป็นจริงดังที่รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็น เมื่อ 100 ปีก่อน ความสำเร็จของพระปิยมหาราชมิได้เป็นผลของแบบแผนหรือความเป็นสถาบันที่ดำรงอยู่ก่อนแต่อย่างใด แถมประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานอยู่แล้วว่าพระมหากษัตริย์แบบพระองค์มิได้กลายเป็นสถาบันพ้นรัชสมัยของพระองค์ พระปิยมหาราชเป็นความสำเร็จของพระองค์และฝ่ายเจ้าร่วมสมัยของพระองค์ ฝ่ายเจ้าสมัยนั้นคงปรารถนาให้พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์สามารถทรงบทบาทสถานะดังกล่าวได้ พระมหาธีรราชเจ้าทรงเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ดังพระสมัญญานาม แต่ไม่ทรงเป็นอะไรอีกเลยนอกเหนือจากนั้น บรรดาเจ้านายแวดล้อมพระองค์ละทิ้งพระองค์ก่อนมหาชนเสียอีก

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ฝ่ายเจ้าเองบ่อนทำลายความพยายามของพวกเขาเองโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาด้วยความมักง่ายสายตาสั้น มองไม่เห็นว่าสิ่งที่พวกเขาทำมีผลข้างเคียงที่พวกเขาไม่ประสงค์เสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อ 100 ปีก่อน วี่แววว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีปัญหาเริ่มมาตั้งแต่เจ้าฟ้าวชิราวุธทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราช กล่าวคือ ความสำเร็จล้นเหลือของพระราชบิดา (ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม) นั่นเองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระบรมโอรสาธิราชล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ขึ้นครองราชย์ ยิ่งฝ่ายเจ้าประโคมแซ่ซร้องสรรเสริญพระราชบิดาในปลายรัชกาลว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ไทยที่มีมาก่อน ยิ่งพระราชบิดาเป็นที่เคารพรักเทิดทูนของมหาชน (แม้แต่คณะราษฎรก็เทิดทูน) หรือยิ่งดูเหมือนประสบความสำเร็จมหาศาลเท่าใด ก็ยิ่งทำให้พระราชโอรสมีโอกาสน้อยลงทุกทีที่จะเทียบเคียงความสำเร็จ และยิ่งทำให้ตัวแบบพระราชบิดาหมดหนทางกลายเป็นสถาบัน ผู้นิยมเจ้าจน “เว่อ” คือผู้ปิดประตูอนาคตของเจ้าเสียเอง

นี่เรายังไม่พูดถึงความจริงที่ว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อ 100 ปีก่อนมีคุณสมบัติส่วนพระองค์ที่เจ้านายสมัยนั้นรับไม่ได้ ยิ่งทำให้พระองค์ขาด moral authority และไม่เป็นที่นิยมทั้งในฝ่ายเจ้าเองและต่อสาธารณชน เรียกง่ายๆว่า นอกจากจะเทียบพระราชบิดาไม่ได้แล้ว ตัวพระองค์เองยังเริ่มต้นที่ติดลบอีกด้วย

ความขัดแย้งในตัวเองของบทบาททางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ทั้งสองประการนี้เองที่นำไปสู่อวสานของระบอบการเมืองสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ไม่ใช่พวกเก็กเหม็ง คณะราษฎร ปรีดี หรือพิบูล หรือขบวนการล้มเจ้า

ความไม่พอใจพระมหากษัตริย์ การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ในที่สาธารณะเมื่อ 80-90 ปีก่อน เป็นผลสะท้อนปัญหาในตัวเองของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ต้องการมีพระราชอำนาจทางการเมือง แถมพยายามทำให้สถาวรเป็นสถาบัน แต่กลับเป็นบทบาทสถานะที่ขึ้นกับตัวบุคคล ทั้งหมดนี้ขัดแย้งกันเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเมืองแบบสาธารณะ

ฝ่ายเจ้าที่ฝันอยากสร้างพระปิยมหาราชขึ้นมาเป็นตัวแบบของ “สถาบัน”พระมหากษัตริย์ยุคหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คงยังไม่ตระหนักว่าพวกเขากำลังสืบทอดมรดกของความขัดแย้งในตัวเอง จนถึงทำลายตัวเองของสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเต็มๆ พวกเขากำลังเผชิญปัญหาเดิมๆแบบเมื่อ 80-100 ปีก่อนแต่ยังไม่ตระหนัก ยังดิ้นขลุกขลักๆในกรอบเดิมๆ เอาแต่โทษคนอื่นเหมือนเดิม มีคนเสนอทางออกให้ก็เล่นงาน ด่าทอไล่ให้ออกไปอยู่นอกประเทศไทยซะ ข่มขู่ ยัดข้อหา จับกุมคุมขังพวกเขาเหล่านั้น

ถ้าเรียนรู้จากอดีตก็จะเห็นการณ์ไกลว่าพวก “รักพ่อ” มากจนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เองกำลังทำให้ปัญหาทับถมหนักหน่วงขึ้นทุกที การทำร้ายด้วยอำนาจรัฐและกฎหมาย ทำใหัทุกอย่างเลวร้ายลง พวกเขากำลังสร้างปัญหาแก่อนาคตของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์


การเปลี่ยนแปลง: ชิงสุกก่อนห่าม VS น้อยเกินไปสายเกินการณ์

“... แผนการของข้าพเจ้าถูกคัดค้านโดยพวกอนุรักษ์นิยม รวมทั้งที่ปรึกษาชาวต่างประเทศด้วย .... ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่ประชาชนจะรู้สึกหงุดหงิดและลุกขึ้นจัดการกันเอง...” (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 30 มิ.ย. 2475)

แม้แต่ทัศนะคติและวาทกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยก็อยู่ในกรอบซ้ำๆซากๆ ที่เป็นมรดกจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฎิกิริยาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต่อคำกราบบังคมทูลฯ ของกลุ่มเจ้านายให้แก้ไขระบบบริหารราชการแผ่นดิน และต่อพวกที่ต้องการปาลิเม็นต์คือ ทรงเห็นว่าเป็นการพยายามเอาข้าวสาลีมาปลูกในดินสยามที่เหมาะกับข้าวจ้าวเท่านั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าพวกที่อยากเห็นสยามเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหรือเป็นรีปับลิคเป็นเพราะลัทธิเอาอย่าง เมื่อกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยสูงขึ้น ความไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีมากขึ้น ฝ่ายเจ้าและพวกอนุรักษ์นิยมเห็นว่าเป็นความคิดของพวกหัวนอกไม่กี่คน เป็นประชาธิปไตยแค่รูปแบบ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้จริง ดังนั้นจึงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” เพราะประชาชนยังไม่พร้อม

ปรากฎการณ์ที่คนบางกลุ่มบางส่วนรับรู้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ไวกว่าคนทั่วไปไม่ว่าจะด้วยพลังปัญญาหรือเพราะมีประสบการณ์ก่อนคนอื่น นี่เป็นเรื่องปกติในสังคมทุกแห่งไม่ว่าที่ไหนในโลก คนพวกนี้หากไม่ก่อปัญหากับอำนาจเราเรียกว่าคนเห็นการณ์ไกลมีวิสัยทัศน์ ครั้นท้าทายอำนาจก็เรียกว่าพวกชิงสุกก่อนห่าม คำกล่าวหาดังกล่าวจึงมาจากผู้มีอำนาจที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเสมอ

คนที่ไม่พร้อมที่สุดคือคนมีอำนาจที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงซึ่งล้วนมีการศึกษาดีทั้งนั้น

ตรงข้ามกับการชิงสุกก่อนห่ามซึ่งประวัติศาสตร์ไทยแทบไม่กล่าวถึงหรือให้ความสำคัญน้อยมาก ก็คือ น้อยเกินไปสายเกินการณ์ (too little too late)

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เอง ทรงชี้ให้เห็นว่าฝ่ายเจ้าไม่เข้าใจไม่ตระหนักพอถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้น ไม่เข้าใจความรู้สึกของประชาชน ความพยายามของพระองค์ในการ “รีฟอร์ม” จึงถูกขัดขวางจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และที่ปรึกษาของพระองค์จนในที่สุดก็สายเกินการณ์ ทั้งๆที่การปฎิรูปที่พระองค์ตระเตรียมก็น้อยเกินไปกว่าที่กระแสเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงต้องการอยู่ดี

ทั้งสมัยก่อนและสมัยนี้ ผู้ต้องการความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถูกหาว่าเป็นคนเลวร้าย มีผู้ชักใย ล้างสมอง จ้างวานมา “ถูกชักจูงโดยนักปลุกระดมหรือพวกที่ฝันถึงยุคพระศรีอาริย์” ชนชั้นปกครองไม่เคยคิดว่ากระแสเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ประชาชนจึงต้องการระบบการเมืองที่เขามีส่วนตัดสินอนาคตของตนเอง

ทั้งสมัยก่อนและสมัยนี้ การเรียกร้องประชาธิปไตยถูกหาว่าเป็นเรื่องของฝรั่ง ไม่เหมาะกับสังคมไทย “เอาข้าวสาลีมาปลูกในดินของสยาม” เพราะประชาชนยังไม่พร้อม การศึกษายังไม่พอ เรายังคิดว่าประชาธิปไตยเป็นสมบัติหวงห้ามของคนมีการศึกษาเท่านั้น ความเชื่อผิดๆนี้ยังไม่เปลี่ยน ปัญญาชนผู้มีการศึกษายังเชื่ออย่างนี้กันมาก

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงบัดนี้ ความคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบนโดยพระราชอำนาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุดยังคงหนาแน่น ทั้งๆที่โดยปกติเบื้องบนไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

สังคมไทยปัจจุบันปัจจุบันยังวนเวียนอยู่กับทัศนะเหล่านี้ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทุกวันนี้ ดูเหมือนว่ามีความพยายามปรับตัวน้อยเสียยิ่งกว่า 80 ปีก่อน แต่กลับปราบปรามหนักยิ่งกว่า 80 ปีก่อนเสียอีก

ทางออกที่สถาวรในระยะยาว ก็คือ เลิกพยายามสืบทอดมรดกที่มาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เลิกพยายามสร้าง (สถาบัน)พระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสถานะและความสัมพันธ์การเมืองแบบศักดิ์สิทธิ์เหนือมนุษย์และอยู่ชั้นบนของระบบการเมือง ก็จะทำให้กษัตริย์ทุกพระองค์ ไม่ว่าจะปรีชาสามารถมากน้อยเพียงใดก็สามารถเป็นที่เคารพรักของมหาชนได้อย่างสนิทใจ

ในด้านตรงข้าม ผู้ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นการปฎิวัติอันน่าพิสมัย ก็ควรไตร่ตรองให้จงหนัก แทบไม่มีการปฎิวัติใดๆในโลกนี้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากโคนอย่างที่กล่าวอ้างกัน แถมการปฎิวัติของมวลชนไม่ได้รุ่งโรจน์อย่างที่คิด

Paradox ของการเปลี่ยนแปลงสังคมขนานใหญ่ คือ พวกก้าวหน้าที่เชื่อว่าตนมีอุดมการณ์ขุดรากถอนโคนมักจะไม่รู้ว่ารากโคนของปัญหาอยู่ตรงไหน ครั้นการปฏิวัติจืดจางลง ระบอบใหม่กับระบอบเก่ามักไม่ต่างกันมากนัก นักปฎิวัติมักจะโทษนั่นนี่ว่าทำไมการปฎิวัติจึงออกนอกลู่นอกทาง แต่ไม่มีการปฎิวัติใดเลยที่อยู่ในลู่ในทาง เพราะลู่ทางที่ปฎิวัติเป็นแค่ความฝันจินตนาการ นอกลู่ทางต่างหากคือความเป็นจริง แถมการปฎิวัติที่ต้องอาศัยมวลชนกว้างขวาง มักต้องอาศัยแนวความคิดที่ไม่ซับซ้อน มิติเดียวหรือถูกทำให้ง่ายเป็นขาวดำ เพราะแนวคิดลักษณะนั้นจึงจะมีพลังในการเคลื่อนไหวมวลชน ผู้นำปฎิวัติที่เชิดชูกันมักเหมาะกับสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น แต่ก็ยกย่องเชิดชูกันไม่ต่างกับยกย่องเจ้า หลายคนลงท้ายประกาศตนเป็นเจ้าเสียเลยจริงๆ เช่น การปฎิวัติฝรั่งเศสลงท้ายก็ได้จักรพรรดิองค์ใหม่เมื่อกระแสปฎิวัติจางหายไป

สังคมมนุษย์กว้างใหญ่ซับซ้อนเกินกว่าการปฎิวัติยกเดียวจะเปลี่ยนแปลงได้มากอย่างที่มักคิดฝัน มนุษย์ปุถุชนไม่ว่าเจ้าหรือนักคิดนักปฎิวัติต่างมีข้อจำกัดเกินกว่าจะแบกรับความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่เกินตัว คุณูปการที่น่าสรรเสริญใดๆลงท้ายไม่พลิกแผ่นดินมากอย่างที่คิดเมื่อมองจากมิติเวลาที่กว้างไกลทางประวัติศาสตร์

การชิงสุกก่อนห่ามสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากชนชั้นนำผู้มีอำนาจยอมปรับตัวไม่น้อยเกินไปไม่สายเกินการณ์ สภาวะ “สุก” เร็วไปเป็นผลของการกดขี่ปราบปรามโดยชนชั้นนำผู้มีอำนาจ ไม่ใช่ผลของการปลุกปั่นจ้างวาน การใช้มาตรา 112 อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ และการปราบปรามด้วยความรุนแรงนั่นแหละที่เร่งบ่มให้สถานการณ “สุก” เร็วยิ่งขึ้น

การประนีประนอมหาทางออกในวันนี้จะส่งผลดีต่อ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ในระยะยาว อันดับแรกสุดคือ “เปิดประตู” เปิดช่องทางให้กับการประนีประนอม

หยุดใช้มาตรา 112 ณ บัดนี้ ปลดปล่อยคนที่เดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ขจัดบรรยากาศความกลัวที่ปกคลุมประเทศไทยในขณะนี้ ยอมให้มีการอภิปรายถึงบทบาทสถานะทางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปตามทางของมันไม่ว่าจะลุ่มๆดอนๆขนาดไหนก็ตาม

หากน้อยกว่านี้ สายกว่านี้ หรือรังแกกันต่อไป ก็จะยิ่งเร่งให้ “สุก” โดยไม่จำเป็นเลย

พระมหากษัตริย์ต้องอยู่พ้นจากการเมืองอย่างแท้จริง จึงจะไม่เกิดความขัดแย้งในเรื่องสถาบันหรือตัวบุคคลอีกต่อไป ฝ่ายเจ้าจึงจะไม่ต้องวิตก วิ่งเต้น สะสมกำลัง ชิงความได้เปรียบกันอีกต่อไป ไม่ต้องกลัวว่านักการเมืองรายใดจะมาเป็นคู่แข่ง เพราะไม่มีอำนาจการเมืองเป็นเดิมพันอีกต่อไป

ฝ่ายเจ้าของไทยในปัจจุบันจะมีสายตายาวไกลพอหรือไม่ เห็นแก่ประเทศชาติประชาชนขนาดไหน หรือพวกเขาอยู่สูงเหนือประชาชนจนไม่เข้าใจว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้วในระดับรากหญ้าและไม่สามารถหยุดยั้งหรือย้อนเวลากลับได้อีกแล้ว

* ธงชัยกล่าวปาฐกถา ในงานแสดงมุทิตาจิต 'ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ' ที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554




 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 11 พฤษภาคม 2554 19:33:24 น.
Counter : 656 Pageviews.  

เจาะลึกประวัติศาสตร์การเมืองของสิงคโปร์นับตั้งแต่ตั้งประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

รายงาน: “เลือกตั้งสิงคโปร์ 7 พ.ค.” เมื่อฝ่ายค้าน “ร่วมกันเดิน แยกกันตี” ฝ่ายรัฐบาล

Sat, 2011-05-07 00:39
ทีมข่าวต่างประเทศ
ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือก 2.3 ล้านคนทั่วเกาะสิงคโปร์จะออกไปใช้สิทธิทั่วไปในวันนี้ โดยถือเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ โดยพรรคฝ่ายค้านได้แบ่งกันส่งผู้สมัคร 82 ที่นั่ง จาก 87 ที่นั่ง เพื่อหวังชิงที่นั่ง ส.ส. มาจากพรรคกิจประชาชน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมาตลอด


เขตเลือกตั้งสิงคโปร์ สำหรับการเลือกตั้ง 7 พ.ค. โดยพื้นที่สีชมพูเป็นเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว (Single Member Constituencies - SMCs) มี 12 เขต และสีที่เหลือเป็นเขตเลือกตั้งแบบกลุ่มหรือเขตเรียงเบอร์ (Group Representation Constituencies - GRCs) มีตั้งแต่เขตที่เลือก ส.ส. ได้ 4 คน จนถึงเขตที่เลือกได้ 6 คน มีจำนวนทั้งสิ้น 15 เขต โดยเกือบทุกเขตเป็นเขตที่เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับพรรครัฐบาลคือพรรคกิจประชาชน ยกเว้นเขตตันจง ปาการ์ (Tanjong Pagar) เขตเดียวที่มีแต่ผู้สมัครจาก ส.ส.พรรคกิจประชาชน (ที่มาของภาพ: วิกิพีเดีย )

ในวันนี้ (7 พ.ค.) ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 2.3 ล้านคนในสิงคโปร์ จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป โดยถือเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันสูงสุดนับตั้งแต่ตั้งประเทศสิงคโปร์ในปี 2508 ทั้งนี้เพราะพรรคฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง ส.ส. 82 ที่นั่ง จากทั้งหมด 87 ที่นั่ง ด้วยเหตุนี้ “ทีมข่าวต่างประเทศ” ขอนำเสนอข้อมูลโดยสังเขปสำหรับการเลือกตั้งของสิงคโปร์ดังกล่าว

การเลือกตั้งที่รัฐบาลพรรคเดียวเป็นผู้ชนะมาโดยตลอด
ทั้งนี้นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2508 พรรคกิจประชาชน ครองอำนาจในสภามาโดยตลอด โดยระหว่างปี 2508 – 2526 ทั้งสภา มี ส.ส. จากพรรคกิจประชาชนเพียงพรรคเดียวที่ชนะการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2527 มี ส.ส. ฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกโดยวิธีการสำรองที่นั่งให้ฝ่ายค้าน ทำให้มีฝ่ายค้าน 2 ที่นั่งจากจำนวน ส.ส. ทั้งสภา 74 ที่นั่ง
ในปี 2531 มี ส.ส. ฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งเข้ามาในสภา 1 ที่นั่ง จากจำนวน ส.ส. ทั้งสภา 77 ที่นั่ง ในปี 2534 มี ส.ส. ฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้ง 4 ที่นั่ง จาก ส.ส. ทั้งสภา 81 ที่นั่ง ในปี 2540 ปี 2544 และปี 2548 ส.ส.ฝ่ายค้านไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ฝ่ายค้านได้รับการสำรองที่นั่งให้เป็น ส.ส. จำนวน 2 ที่นั่ง
ขณะที่ล่าสุด ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 มีการชิงชัย ส.ส. 84 ที่นั่ง โดยมีพรรคฝ่ายค้านลงแข่งเลือกตั้งกับพรรคกิจประชาชน (PAP) เพียง 47 ที่นั่งเท่านั้น ทำให้อีก 36 ที่นั่งเป็นของ PAP โดยปราศจากคู่แข่ง โดยผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคกิจประชาชน (PAP) ได้ ส.ส. 82 ที่นั่ง พรรคฝ่ายค้านได้ 2 ที่นั่งจากการสำรองที่นั่ง ได้แก่ พรรคแรงงาน (Workers’ Party) และพันธมิตรประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Alliance) อย่างละ 1 ที่นั่ง

การเลือกตั้งที่ขับเคี่ยวมากสุดในประวัติศาสตร์ และ “ร่วมกันเดิน แยกกันตี” ของฝ่ายค้าน
โดยการเลือกตั้ง 7 พ.ค. นี้ จะมีการเลือกตั้งใน 27 เขตเลือกตั้ง เพื่อชิงตำแหน่ง ส.ส. 87 ที่นั่ง แบ่งเป็นเขตเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว (Single Member Constituencies - SMCs) 12 เขต และที่เหลือเป็นเขตเลือกตั้งแบบกลุ่มหรือเขตเรียงเบอร์ (Group Representation Constituencies - GRCs) 15 เขต
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการชิงชัยระหว่าง พรรคกิจประชาชน (PAP – People’s Action Party) พรรครัฐบาลซึ่งครองอำนาจมาโดยตลอดนับตั้งแต่ตั้งประเทศสิงคโปร์ในปี 2508 กับ พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดเล็ก ได้แก่ พรรคแรงงานสิงคโปร์ (Workers' Party of Singapore - WP) พรรคปฏิรูป (Reform Party) พรรคสมานฉันท์แห่งชาติ (the National Solidarity Party - NSP) พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Party - SDP) และพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Alliance - SDA) ซึ่งในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สองกลุ่มการเมือง คือ องค์กรชาวมาเลย์แห่งชาติสิงคโปร์ (Singapore Malay National Organization - PKMS) และพรรคประชาชนสิงคโปร์ (Singapore People's Party - SPP)
โดยพรรคฝ่ายค้านได้แบ่งกันส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบไม่มีซ้ำเขตเพื่อตัดคะแนนกันเอง แต่เป็นการแบ่งกันส่งเพื่อลงชิงตำแหน่ง ส.ส. กับพรรครัฐบาลคือพรรคกิจประชาชน (PAP – People’s Action Party) เกือบทุกเขต รวม 82 ที่นั่ง จากทั้งหมด 87 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 94.3 โดยสถิติการแข่งขันสูงสุดก่อนหน้านี้ คือการเลือกตั้งในปี 2515 ที่ฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง ส.ส. 57 ที่นั่ง จากทั้งหมด 65 ที่นั่ง คือเป็นร้อยละ 87.7
ทำให้ในการเลือกตั้ง ครั้งนี้มีเพียงเขตตันจง ปาการ์ (Tanjong Pagar) ซึ่งมี ส.ส. 5 ที่นั่ง ซึ่งมีเพียงผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคเดียวคือพรรคกิจประชาชนนำโดยนายลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐบุรุษของสิงคโปร์และอดีตนายกรัฐมนตรีหลายสมัย โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้สมัคร ส.ส.พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งโดยที่ยังไม่ถึงวันเลือกตั้ง เนื่องจากผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้านยื่นใบสมัครไม่ทันกำหนดเส้นตายของเวลา 12.00 น. วันที่ 27 เม.ย.

สื่อ เวลา สถานที่: สารพันข้อจำกัดการหาเสียง
ข้อจำกัดสำหรับพรรคฝ่ายค้านในการหาเสียงแข่งกับพรรครัฐบาล คือวันหาเสียงที่มีระยะเวลาจำกัด โดยกฎหมายเลือกตั้งกำหนดให้พรรคการเมืองมีเวลาหาเสียงเพียง 9 วัน โดยการเลือกตั้งรอบนี้ วันแรกของการหาเสียงเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. และต้องหยุดกิจกรรมหาเสียงทุกอย่างหลังเวลา 22.00 น. ของในวันที่ 5 พ.ค. 54 ก่อนวันเลือกตั้ง 7 พ.ค.
นอกจากเวลาการหาเสียงจะน้อยแล้ว ช่องทางการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ สำหรับพรรคการเมือง ก็เป็นไปอย่างจำกัด โดยพรรคการเมืองสามารถใช้สื่อดังกล่าวได้เฉพาะที่รัฐจัดสรรเวลามาให้ ทำให้บรรดาพรรคการเมืองหันไปหาสื่อออนไลน์ เช่น พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ (SDP) มีการเปิดเว็บ //yoursdp.org/ เพื่อสื่อสารกับผู้สนับสนุน มีการอัพโหลดคลิปการปราศรัยไว้ในเว็บไซต์ youtube.com นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่คลิปโฆษณาของพรรคใน youtube ด้วย เช่นชุด SDP Loves Singapore: VOTE SDP! ซึ่งเผยแพร่เมือ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยเป็นคลิปที่สมาชิกพรรค SDP 45 คน ช่วยกันแปรอักษรว่าพรรค SDP รักสิงคโปร์ เพื่อขอคะแนนจากคนสิงคโปร์ให้ช่วยกันโหวต ขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 4 มี.ค. มีการออกคลิปโฆษณาชุด SDP: Time For Change เป็นผู้สมัครของพรรคเปลี่ยนชุดฟอร์มขาวล้วน คล้ายกับชุดของพรรคกิจประชาชน (PAP) เป็นชุดฟอร์มสีแดงของพรรค SDP และลงท้ายคลิปว่าได้เวลาเปลี่ยนแปลง (Time for Change)
ขณะที่พรรคกิจประชาชน ซึ่งเป็นรัฐบาลเองก็ไม่แพ้กัน โดยจอร์จ เหยียว (George Yeo) รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคกิจประชาชน (PAP) หลังจากที่หน้าเฟซบุ๊คของเขามีเพื่อนถึง 5 พันคนแล้ว เขาได้สร้างบัญชีแฟนเพจขึ้นใหม่ โดยมีผู้แอดแล้วกว่า 3 หมื่นคน ขณะที่ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ผู้นำพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งแม้ไม่มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ค แต่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (4 พ.ค.) เขาก็ได้ตอบคำถามผู้สนับสนุนผ่านหน้าแฟนเพจของพรรคกิจประชาชน (PAP) ทั้งนี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊คในสิงคโปร์ถึง 3 ล้านบัญชี จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 5 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายหาเสียงเลือกตั้ง ได้กำหนดให้พรรคการเมืองไม่สามารถห้ามโพสต์ข้อมูลใดๆ เพิ่มหลังพ้นเวลา 22.00 น. ของวันที่ 5 พ.ค. จนกว่าถึงเวลานับคะแนนเลือกตั้ง
นอกจากเวลาที่จำกัด สถานที่จัดชุมนุมปราศรัยทางการเมืองก็ถูกจำกัด โดยปีนี้ กรมตำรวจสิงคโปร์ ประกาศให้มีพื้นที่สำหรับการชุมนุมทางการเมืองทั้งสิ้น 41 แห่งทั่วเกาะสิงคโปร์ โดยพรรคการเมืองที่ต้องการใช้สถานที่ดังกล่าวจะต้องลงทะเบียน โดยใช้วิธีลงทะเบียนแบบมาก่อนได้สิทธิ์ก่อน โดยการชุมนุมหาเสียงสามารถจัดได้ระหว่างวันที่ 28 เม.ย. ถึง 5 พ.ค. 54 ระหว่างเวลา 7.00 ถึง 22.00 น.
มากกว่านั้น หลังการเลือกตั้งไปแล้ว ก็ยังมีระเบียบควบคุมการรวมตัวของบรรดาผู้สนับสนุนพรรคการเมือง โดยที่ในวันเลือกตั้ง ผู้สมัครลงเลือกตั้ง ผู้สนับสนุน และสมาชิกของพรรคการเมืองต่างๆ จะสามารถรวมตัวกันได้หลังจากที่ปิดหีบเลือกตั้งไปแล้ว เริ่มตั้งแต่เวลา 20.00 น. และรวมตัวกันได้จนถึงเวลา 30 นาทีหลังจากมีการประกาศผลการนับคะแนนในเขตสุดท้าย และรวมตัวกันได้ในสถานที่ซึ่งกฎหมายกำหนดเท่านั้น และในสถานที่เหล่านั้นจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัย
โดยในการเลือกตั้ง 7 พ.ค. นี้ พรรคการเมืองสามารถไปรวมตัวได้ในสถานที่ที่เรียกว่า “ศูนย์กลางการสมาคม” (Assembly centre) ซึ่งประกาศในวันนี้ (6 พ.ค.) ไว้อย่างน้อย 5 แห่ง โดยฝั่งตะวันออกของเกาะ ได้กำหนดให้ สนามกีฬาเบดก (Bedok Stadium) เป็นสถานที่รวมตัวของพรรคกิจประชาชน (PAP) และสนามกีฬาหูกัง (Hougang Stadium) เป็นสถานที่รวมตัวของพรรคแรงงาน (WP)
พื้นที่ตอนกลางของเกาะ ได้กำหนดให้สนามกีฬาโต๊ะ ปาโย (Toa Payson Stadium) และพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะ ได้กำหนดให้สนามกีฬาจูร่ง (Jurong West Stadium) เป็นที่รวมตัวของพรรคกิจประชาชน (PAP) ขณะที่สนามกีฬาคเลเมนติ (Clementi Stadium) ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะ ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่รวมตัวและสมาคมของพรรคปฏิรูป (RP)
โดยในการเลือกตั้งสิงคโปร์วันนี้ จะเริ่มเปิดคูหาเลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) และจะปิดหีบลงคะแนนในเวลา 20.00 น. และการนับคะแนนจะเริ่มในทันทีหลังปิดหีบบัตรเลือกตั้ง โดยคาดว่าจะรู้ผลการเลือกตั้งช่วงกลางดึกของคืนวันนี้

ที่มา: เรียบเรียงจาก
Singaporean general election, 2011, Wikipedia,
Assembly centres for Polling Day, Straits Times, May 6, 2011

ที่มาภาษาไทย : ประชาไท


พรรคกิจประชาชนชนะเลือกตั้งสิงคโปร์ ด้านฝ่ายค้านได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นแถมทำ 2 รัฐมนตรีสอบตก

Sun, 2011-05-08 03:16

“พรรคกิจประชาชน” ชนะเลือกตั้งท่วมท้น 81 ที่นั่ง ได้เป็นรัฐบาลต่อเนื่องนับตั้งแต่ได้ก่อตั้งประเทศในปี 2508 แต่คะแนนโหวตโดยรวมอยู่ที่ 60.14% ลดลง 6% ขณะที่พรรคฝ่ายค้านได้ ส.ส. 6 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน และทำให้ 2 รัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันต้องกลายเป็น ส.ส. สอบตก
8 พ.ค. – ผลการนับคะแนน การเลือกตั้งทั่วไป 7 พ.ค. ของสิงคโปร์สิ้นสุดลงแล้ว โดยพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party - PAP) ชนะการเลือกตั้ง ได้ที่นั่ง ส.ส. ทั้งหมด 81 ที่นั่ง ที่เหลือ 6 ที่นั่ง เป็นของพรรคแรงงานสิงคโปร์ (Workers’ Party)
โดยพรรคแรงงานสิงคโปร์ ชนะการเลือกตั้งในเขตหูกัง (Hougang) ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งแบบเดี่ยว และเขตอัลจูนีด (Aljunied) ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งแบบกลุ่มมี ส.ส. ได้ 5 คน
โดยที่เขตอัลจูนีด มีสองรัฐมนตรีในพรรครัฐบาลที่ต้องสอบตก คือ นายจอร์จ เหยียว (George Yeo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นางหลิม หวี หัว (Lim Hwee Hua) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ยังมีรัฐมนตรีอาวุโสอย่างนายไซนุล อะบิดีน ราชีส (Zainul Abidin Rasheed) นางซินเธีย ผัว (Cynthia Phua) ซึ่งเคยเป็นประธานสภา นอกจากนี้ยังมีผู้นำสหภาพแรงงานอย่างนายอ๋อง เย กุง (Ong Ye Kung) โดยผู้สมัครจากพรรคกิจประชาชน (PAP) ในเขตอัลจูนีดทั้ง 5 คนดังกล่าว ต้องสอบตกในการเลือกตั้งครั้งนี้
ทำให้ในการเลือกตั้งปีนี้พรรคฝ่ายค้านได้ ส.ส. เพิ่มขึ้นกลายเป็น 6 ที่นั่ง จากเดิมในการเลือกตั้งปี 2549 มี ส.ส. ฝ่ายค้าน 2 ที่นั่ง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 93.06 โดยคะแนนรวมของพรรคกิจประชาชน (PAP) อยู่ที่ร้อยละ 60.14 ลดลงจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2549 ซึ่งคะแนนรวมอยู่ที่ร้อยละ 66.60
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันสูงที่สุดนับตั้งแต่ตั้งประเทศสิงคโปร์ในปี 2508 เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านได้แบ่งกันส่งผู้สมัคร ส.ส. แข่งกับพรรคกิจประชาชน (PAP) โดยพรรคฝ่ายค้านส่ง ส.ส. ลงชิงที่เก้าอี้ ส.ส. 82 ที่นั่ง จากทั้งหมด 87 ที่นั่ง ขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2549 พรรคกิจประชาชนชนะเลือกตั้งโดยปราศจากคู่แข่ง 36 ที่นั่ง ขณะที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านส่งผู้สมัครเพียง 47 ที่นั่งเท่านั้น


ที่มา: เรียบเรียงจาก
Workers' Party takes Aljunied, makes breakthrough, Straits Times, May 8, 2011,

ที่มาภาษาไทย : ประชาไท




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 10 พฤษภาคม 2554 4:21:28 น.
Counter : 603 Pageviews.  

ค่าใช้จ่ายของราชวงศ์ประจำชาติต่างๆ

เบลเยี่ยม

The King's Civil List 253,900,000 BEF
Queen Fabiola's annuity 46,900,000 BEF
Prince Philippe 13,900,000 BEF
Royal Family, other allowances 14,800,000 BEF

Total 329,500,000 Belgian Francs
(US$9,852,050)
ราว ๆ 300,000,000 บาท

เดนมาร์ค
H.M. Queen Margrethe II 42.3 million Danish kroner
Other members Royal Family (Dowager Queen Ingrid,
Crown Prince Frederik, Prince Joachim) 15.7 million Danish kroner
Total 58,000,000 Danish kroner
(US$9,367,000)
ไม่ถึง 300,000,000 บาท

ลิคเตนสไตน์
The Government used to reimburse 250,000 Francs for
the Reigning Prince's expenses, but in recent years the
Reigning Prince has waived this reimbursement
(Liechtenstein Mission to the UN, letter of May 9, 1996).

รัฐบาลเคยจ่ายให้ประมาณ 250,000 ฟรังซ์ (น่าจะราว ๆ 1,250,000)
แต่ปีถัดมา เจ้าชายขอยกเลิก

ลัคเซมเบิร์ก
For year 1995:
Civil List of the Grand Ducal House 32,184,000 FL
Additional funds for staff expenses 136,776,000 FL
Representation funds (official functions), Grand Duke 14,450,000 FL
Representation funds (official functions), Hereditary Grand Duke
3,620,000 FL
Grand Ducal House, buildings and maintenance 6,363,000 FL
Civil servants staff allocation 2,864,000 FL
Total Public Funds 196,257,000 Luxembourg Francs
(US$5,946,587)

ราว ๅ 183,000,000 บาท

โมนาโก
H.S.H. the Sovereign Prince 47,000,000 FF
Household of H.S.H. the Prince 4,857,000 FF
Office of H.S.H. the Prince 12,073,000 FF
Archives and Library of Princely Palace 1,831,600 FF
Chancery of Princely Orders 670,000 FF
Palace 37,803,700 FF

TOTAL 104,000,000 French Francs
(US$18,938,400)

ราว ๆ 580,000,000 บาท

เนเธอร์แลนด์
1996 stipends (figure in parentheses indicates amount
considered personal income)
Queen Beatrix 6.9 million guilders (1.2)
Prince Claus 1.3 million guilders (0.5)
Prince Willem-Alexander 1.6 million guilders (0.4)
Princess Juliana 1.8 million guilders (0.7)
Prince Bernhard 1.1 million guilders (0.3)
Total 12.7 million guilders (3.1)
(US$6,953,250)

ราว ๆ 200,000,000 บาท

นอร์เวย์

1996 appanage to the King and Queen, NOK 22.8 million
1996 appanage to Crown Prince Haakon Magnus, NOK 130,000
1996 appanage to Princess Mไrtha Louise, NOK 100,000
Court Administration (the King's and Queen's staffs), NOK 12 million
Royal Castle Administration (daily operation and maintenance
of Royal Castle (Oslo), Bygd๘ Royal Farm, and Oscarshall,
which are owned by the State), NOK 20 million
1995 extra allocation for extraordinary building and restoration
activities at the Royal castle, NOK 45 million
Total 55,030,000 Norwegian kroner
(US$8.595,686)

ราว ๆ 260,000,000 บาท

สเปน

Total allotment of 924 million pesetas; no amounts allocated
directly to other members of the Royal Family. Under Article
65 of the Constitution, this amount is meant to provide for
the Family and Household of the monarch.

Total 924,000,000 pesetas
(US$6,837,600)

ราว ๆ 200,000,000 บาท

สวีเดน
H.M. The King 30 million Swedish Crowns
(This sum includes clerical, office, and administrative expenses,
which account for about 70% of the total; travel and entertainment
are also covered by this sum; security is paid for by the police.)

No other members of the Royal Family receive public funds.

Maintenance of the 10 Royal Palaces (not the property of the monarch): approximately 30 million Swedish Crowns

Royal Collections (maintenance and restoration of the interiors,
furniture, art works, etc. at Royal Palaces): 11 million Swedish Crowns

Total 60,000,000 Swedish Crowns (approximate)
(US$8,466,000)
ราว ๆ 250,000,000 บาท

อังกฤษ

Total 53,810,878
(US$89,444,441)

ราว ๆ 2,730,000,000 บาท
แต่ปัจจุบันรัฐบาลลดลงเหลือ 38 ล้านปอนด์ หรือ
1,780,000,000 บาท

ญี่ปุ่น
The only figure supplied pertains to Fiscal Year 1994.

Imperial Household ฅ5, 285,000,000
(US$44,922,500)

ราว ๆ 1,525,000,000 บาท

คูเวต

Public funds: KD 8 million
(US$26,552,000)

ราว ๆ 800,000,000
source //constantian.tripod.com/expense.html


ราชวงศ์ไทย

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับ
ประมุขต่างประเทศ 500,000,000 บาท (ปี 51)

สำนักพระราชวัง 2,086,310,000 บาท (ปี 51)

ถวายการอารักขา (ปี 50 )
จาก พรบ งบประมาณ ปี 50

กรม : กองทัพบก
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและ
ปฏิบัติตามพระราชประสงค์
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
1. งบรายจ่ายอื่น 195,000,000 บาท

กรม : กรมราชองครักษ์
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย ถวายพระเกียรติและปฏิบัติตาม
พระราชประสงค์
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
รวมงบทั้งหมดของกรม 424,198,000 บาท

กรม : กองทัพอากาศ
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและปฎิบัติ
ตามพระราชประสงค์
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
1. งบรายจ่ายอื่น 15,000,000 บาท

กรม : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
รวมงบเฉพาะการถวายความปลอดภัย 267,326,600 บาท

กรม : กองบัญชาการทหารสูงสุด
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
1. งบรายจ่ายอื่น
1. งบหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120,000,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย
รักษาพระองค์ 120,000,000 บาท


ค่าราชพาหนะและโรงเก็บ (ปี 51)

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

1. งบลงทุน
(1) เครื่องบินพระราชพาหนะขนาดกลาง และเครื่องบินรับ - ส่งบุคคลสำคัญ
จำนวน 4 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น พร้อมโรงเก็บเครื่องบินมาตรฐาน
จำนวน 2 โรง 381,450,000 บาท

(2) เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ จำนวน 3 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น
และโรงจอดอากาศยาน 1,220,000,000 บาท

3. งบรายจ่ายอื่น
1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 601,594,700 บาท


เวบไซต์ของสำนักงบประมาณ
//www.bb.go.th/FILEROOM/CABBBIWEBFORM/DRAWER29/GENERAL/DATA0000/00000038.PDF
เปิดเผยว่า งบประมาณ ของสำนักพระราชวัง ที่ประกาศใน "งบประมาณโดยสังเขป" ประจำปี 53 อยู่ที่ 2,364.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนนี้ 13.3% โดยเมื่อปีที่แล้ว งบนี้อยู่ที่ 2,086.3 ล้านบาท

งบประมาณของสำนักพระราชวัง

ปี 2502--------32,836,049 บาท
ปี 2522-------126,185,900 บาท
ปี 2523-------141,151,100 บาท
ปี 2524-------165,683,100 บาท
ปี 2525-------184,922,000 บาท
ปี 2526-------235,286,000 บาท
ปี 2527-------312,911,700 บาท
ปี 2528-------281,435,000 บาท
ปี 2529-------340,980,000 บาท
ปี 2530-------387,734,790 บาท
ปี 2531-------358,685,300 บาท

ปี 2533-------450,372,100 บาท
ปี 2534-------517,515,900 บาท
ปี 2535-------623,176,400 บาท
ปี 2536-------829,365,200 บาท
ปี 2537-------815,711,600 บาท
ปี 2538-------933,229,700 บาท
ปี 2539-------907,461,000 บาท
ปี 2540-------944,400,000 บาท
ปี 2541-------987,516,500 บาท
ปี 2542-------961,575,400 บาท
ปี 2543------1,028,315,500 บาท
ปี 2544------1,058,540,000 บาท
ปี 2545------1,136,536,600 บาท
ปี 2546------1,209,861,700 บาท
ปี 2547------1,275,948,400 บาท
ปี 2548------1,501,472,900 บาท
ปี 2549------1,676,888,800 บาท
ปี 2550------1,945,122,400 บาท
ปี 2551------2,086,310,000 บาท
ปี 2552-------2,086,310,000 บาท
ปี2553-------2,364.610,000 บาท
ปี2554----ประมาณการณ์เพิ่มขึ้นเป็น3,303 ล้านบาทเศษ
*//weareallhuman2.info/index.php?showtopic=35415

ทั้งนี้งบประมาณที่พสกนิกรน้อมถวายด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้ก็เพื่อความสะดวกแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น

4. งบเงินอุดหนุน 835,519,200 บาท
4.1 เงินอุดหนุนทั่วไป 835,519,200 บาท
1) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับ 308,000,000 บาท
2) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร 198,000,000 บาท
3) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระองค์ 65,625,000 บาท
4) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ 57,856,000 บาท
5) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้ายในพระราชฐานต่างจังหวัด 110,000,000 บาท
6) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินเบี้ยหวัดข้าราชการฝ่ายใน 8,908,200 บาท
7) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินพระราชกุศลตามพระราชอัธาศัย 9,900,000 บาท
8) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 19,380,000 บาท
9) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พนธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี25,350,000 บาท
10) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระราชฐานและซ่อมเครื่องตกแต่ง 11,000,000 บาท
11) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระตําหนักจิตรลดารโหฐานพร้อมจัดหาซ่อม ทําเครื่องใช้เครื่องตกแต่ง 16,500,000 บาท
12) เงินอุดหนุนโครงการบูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 5,000,000 บาท

5. งบรายจ่ายอื่น 3,500,000 บาท
1) ค่าใช้จ่ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการสํานักพระราชวังเดินทางไปต่างประเทศ 2,000,000 บาท
2) ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาแมลงและสัตว์รบกวนในเขตพระราชฐาน 1,000,000 บาท
3) ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กรสํานักพระราชวัง500,000 บาท

5.พสกนิกรน้อมใจจัดสรรงบประมาณจากภาษีให้โครงการตามพระราชดำริทุกปี และโครงการตามพระราชดำรินั้น ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินที่ประชาชนจ่ายภาษี
//www.bb.go.th/budget/bu/blue51/25004.pdf

คนมักเข้าใจผิดๆว่าสำนักงานโครงการพระราชดำรินั้น เป็นโครงการที่ในหลวงใช้จ่ายเงินส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกร ความจริงคือ

5.1ใช้งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชน
5.2โครงการต่างๆที่ว่า6พันกว่าโครงการนั้น ก็ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนผ่านโครงการของหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

(รายละเอียดครับ)
กรม : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ผลผลิต : โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์

1. งบบุคลากร 5 2,598,800 บาท
1.1 เงินเดือนและค่าจ้างประจำ 4 2,760,100 บาท
1.1.1 เงินเดือน 3 8,863,600 บาท
(1) อัตราเดิม 3 3,096,600 บาท
(2) เงินประจำตำแหน่ง 2 ,274,000 บาท
(3) เงินค่าตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ 3 ,324,000 บาท
(4) เงินช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น 1 69,000 บาท
1.1.2 ค่าจ้างประจำ 3 ,896,500 บาท
(1) อัตราเดิม (ค่าจ้างประจำ) 3 ,575,600 บาท
(2) เงินช่วยเหลือการครองชีพพิเศษ 3 20,900 บาท
1.2 ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 9 ,838,700 บาท
1.2.1 ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 9 ,838,700 บาท
(1) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 9 ,838,700 บาท

2. งบดำเนินงาน 2 6,644,900 บาท
2.1 ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 2 4,350,500 บาท
2.1.1 ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 2 4,350,500 บาท
(1) ค่าอาหารทำการนอกเวลา 3 00,000 บาท
(2) ค่าเช่าบ้าน 4 1,900 บาท
(3) รายการค่าตอบแทนอื่น ๆ 1 ,780,700 บาท
(4) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะ 7 ,368,500 บาท
(5) ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม 1 ,556,000 บาท
(6) ค่าประชาสัมพันธ์ 9 ,220,000 บาท
(7) ค่าใช้สอยอื่น ๆ 1 ,661,500 บาท
(8) วัสดุสำนักงาน 7 21,900 บาท
(9) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 3 00,000 บาท
(10) วัสดุงานบ้านงานครัว 1 00,000 บาท
(11) วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ 1 00,000 บาท
(12) วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ 2 00,000 บาท
(13) วัสดุคอมพิวเตอร์ 9 00,000 บาท
(14) วัสดุยานพาหนะและขนส่ง 1 00,000 บาท
รายละเอียดงบประมาณจำแนกตามงบรายจ่าย

กรม : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2.2 ค่าสาธารณูปโภค 2 ,294,400 บาท
2.2.1 ค่าสาธารณูปโภค 2 ,294,400 บาท
(1) ค่าโทรศัพท์ 8 21,700 บาท
(2) ค่าน้ำประปา 6 2,000 บาท
(3) ค่าไปรษณีย์โทรเลข 1 83,800 บาท
(4) ค่าไฟฟ้า 1 ,085,700 บาท
(5) ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม 1 41,200 บาท

ตัวอย่างบางตอนว่าเงินที่มาทำโครงการพระราชดำริมาจากไหน

นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2550 กรมชลประทานได้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 33,835 ล้านบาท โดยแผนงานในปี 2550 กรมชลฯ มีการดำเนินโครงการขนาดใหญ่จำนวน 9 โครงการ รวมเป็นเงิน 8,243 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่เปิดโครงการโดยคณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริจำนวน 4 โครงการ




 

Create Date : 11 มกราคม 2554    
Last Update : 11 มกราคม 2554 15:06:20 น.
Counter : 1902 Pageviews.  

สองมาตรฐานและสิทธิในการสัญจร: บทเรียนจากสาวซีวิค เด็กแว้น รถเก๋ง และรถตู้

กานดา นาคน้อย
6 มกราคม 2554

กรณีเด็กสาวขับรถฮอนด้าซีวิคชนรถตู้โดยประมาทและไม่มีใบขับขี่เมื่อวันที่ 28 ธค. ได้รับความสนใจในวงกว้างโดยเฉพาะในชุมชนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นพันทิปดอตคอม เฟซบุ๊ก ฯลฯ แม้ดิฉันอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกาก็ติดตามข่าวนี้เพราะผู้เสียชีวิต 1 ใน 9 รายคือเพื่อนเก่า

การวิพากษ์วิจารณ์ในชุมชนออนไลน์มีสาเหตุจากการบิดเบือนข้อมูลของสื่อมวลชนหลายสังกัด เบื้องต้นสื่อรายงานว่าสาวซีวิคบาดเจ็บสาหัส การรายงานดังกล่าวขัดกับรูปภาพในชุมชนออนไลน์ และขัดกับความจริงที่ปรากฏภายหลังว่าเธอเดินได้ปกติในวันที่มารายงานตัวกับตำรวจตามหมายเรียก นอกจากนี้การตอกย้ำโดยสื่อมวลชนว่ารถตู้เป็นฝ่ายผิดยิ่งทำให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์สาวซีวิคขยายตัว


ชุมชนออนไลน์คือสื่อทางเลือก

ชุมชนออนไลน์แสดงบทบาทสื่อทางเลือกด้วยการเผยแพร่รูปภาพและข้อมูลเกี่ยวกับสาวซีวิค จนครอบครัวของเธอเปิดเผยตัวตนต่อสื่อกระแสหลักว่าเธอเป็นทายาทของสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่ง เกิดกระแสวิจารณ์กันต่อว่าครอบครัวของเธอใช้อภิสิทธิ์เพื่อก้าวก่ายสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่หรือไม่? คนร่วมสกุลของเธอเผยแพร่จดหมายแสดงความเสียใจผ่านสื่อมวลชน ขอให้เป็นอุทาหรณ์แก่สังคมทั้งๆที่คนนอกสกุลเป็นผู้สูญเสีย ไม่แน่ใจว่าอุทาหรณ์สอนใคร? สอนคนในสกุลอื่นว่าอย่าปล่อยให้ลูกออกมาเพ่นพ่านบนท้องถนนจนชาวบ้านเสียชีวิตหรือ? ญาติผู้ใหญ่ยศพลเอกของเธอได้ขอร้องให้สื่อหยุดโจมตีทั้งๆที่ฝ่ายโจมตีไม่ใช่สื่อกระแสหลัก

ประเด็นสำคัญคือความคลุมเครือในการเสนอข่าว มีผู้เรียกร้องสิทธิคุ้มครองเธอในฐานะเยาวชน แต่ไม่ชัดเจนว่าเธออายุเท่าไร? ปอเต็กตึ๊งรายงานว่าเธออายุ 18 แต่สื่อรายงานว่า 16 สุดท้ายเธอให้สัมภาษณ์ว่า 17 บิดาของเธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอขับรถเองที่สหรัฐฯก่อนจะกลับมาเมืองไทย ทั้งๆที่ใบขับขี่อเมริกันมีเงื่อนไขว่าผู้ถือใบขับขี่ต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ในทีสุดตำรวจแจ้งข้อหาและออกหมายเรียกในฐานะเยาวชน

เพียงสัปดาห์เดียวตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันที่เธอรายงานตัวตามหมายเรียก ชุมชนออนไลน์กลายเป็นสนามปะทะคารมระหว่าง "ฝ่ายโจมตีคุณหนูลูกอภิสิทธิชน" และ "ฝ่ายปกป้องหนูน้อยผู้น่าสงสาร" แม้ว่าสมาชิกเฟซบุ๊กที่กด"ชอบ"เฟซบุ๊ก"มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ(ชื่อเธอ)" มีจำนวนเกือบ 300,000 คน หลายความคิดเห็นเป็นการแสดงความคิดเห็นซ้ำซากของสมาชิกเดิมๆ การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในรูปการให้คะแนนสนับสนุนความคิดเห็น ลักษณะการออกเสียงดังกล่าวคล้ายการออกเสียงในความคิดเห็นท้ายข่าวออนไลน์

จุดเด่นของการวิจารณ์ในชุมชนออนไลน์คือการเปรียบเทียบวุฒิปริญญาและหน้าที่การงานของผู้เสียชีวิตกับสาวซีวิค เงื่อนไขด้านการศึกษากดดันให้มารดาสาวซีวิคไปงานศพของผู้เสียชีวิตที่มีวุฒิปริญญาเอก และกราบขอขมามารดาของผู้เสียชีวิต แต่ไม่สามารถกดดันให้สมาชิกในครอบครัวเธอ ไปงานศพของผู้เสียชีวิตที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาเอก สื่อสังกัดหนึ่งลงข่าวว่าครอบครัวสาวซีวิคช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตรายละ 30,000 บาท แต่มารดาของผู้เสียชีวิตคนหนึ่งเขียนลงเฟซบุ๊กว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวเท็จ น่าอัศจรรย์ว่าเงินจำนวนนี้ซื้อไม่ได้แม้กระทั่งตั๋วเครื่องบินไปกลับระหว่างกรุงเทพฯและสหรัฐฯ พอจะซื้อไวน์ดีๆได้ไม่กี่ขวด ตัวเลขนี้มาจากไหน? 100 ปีที่แล้วเงินจำนวนนี้มากพอที่จะซื้อบ้านได้ซักหลัง หรือว่าผู้กำหนดตัวเลข 30,000 เป็นคนหลงอดีตจนลืมคิดอัตราเงินเฟ้อ?

การใช้วุฒิปริญญาเป็นเงื่อนไขของความยุติธรรมทำให้สื่อมวลชนบางสังกัดเปลี่ยนท่าทีในการเสนอข่าว กลยุทธ์ดังกล่าวโจมตีการวัดค่าของคนด้วยชาติกำเนิดและสนับสนุนให้วัดค่าของคนด้วยปริญญาและหน้าที่การงาน แม้ว่าการวัดค่าของคนด้วยหน้าทีการงานจะสอดคล้องกับการคำนวณความเสียหายในคดีแพ่ง การวัดค่าของคนด้วยปริญญาและหน้าที่การงานขัดแย้งกับนิยามสิทธิมนุษยชนในทางอาญา เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอาญา กลยุทธ์นี้ไม่สามารถแก้ปัญหาสองมาตรฐานได้เท่าไรนัก ทำได้อย่างมากคือช่วยกำหนดตัวเลขค่าชดเชยความเสียหายทางแพ่งให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต เช่น ถ้าใช้มูลค่าเงินเดือนและสวัสดิการ 40,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 30 ปีโดยไม่ขึ้นเงินเดือน จะตกเป็นเงิน 14,400,000 บาท

อย่างไรก็ดี เราปฏิเสธไม่ได้ว่าชุมชนออนไลน์มีบทบาทสำคัญในฐานะสื่อทางเลือก สื่อทางเลือกให้บทเรียนแก่สื่อมวลชนว่าการรายงานเท็จและสอนจริยธรรมไปพร้อมๆ กันไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว โลกาภิวัฒน์ทางข้อมูลทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดข้อมูล ชุมชนออนไลน์ทำให้ข่าวกลายเป็นสินค้าราคาถูกและตรวจสอบได้ง่าย แม้แต่ที่สหรัฐฯ หนังสือพิมพ์ที่คุณภาพต่ำเสียลูกค้าและ ขาดรายได้จากการโฆษณาจนต้องขายกิจการกันหลายราย


สาวซีวิคและเด็กแว้น

“ฝ่ายปกป้องหนูน้อยผู้น่าสงสาร” นำเสนอความน่าสงสารโดยเปรียบเทียบเธอกับ "ไอ้ฟัก" ในวรรณกรรมเรื่อง "ผู้พิพากษา" การเปรียบเทียบดังกล่าวเหมือนเปรียบว่า “ใครเก่งกว่ากันระหว่างนายกฯ อภิสิทธิ์กะมิคกี้เมาส์?” เป็นการเปรียบเทียบที่ประเมินไม่ได้และไม่มีประโยชน์เพราะมิคกี้เมาส์และไอ้ฟักไม่มีตัวตนจริง วิธีการนำเสนอ "ดราม่า" คล้ายการนำเสนอประเด็นสาวซีวิคยืนเล่นบีบีในที่เกิดเหตุโดย "ฝ่ายโจมตีคุณหนูลูกอภิสิทธิชน" ไม่ว่าไอ้ฟักหรือบีบีไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ดิฉันขอเสนอให้ผู้อ่านที่ต้องการใช้เหตุผลโยนทั้งไอ้ฟักและบีบีออกจากจินตนาการ และกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง

เมื่อการนำเสนอด้วย "ดราม่า" ไม่ได้ผล “ฝ่ายปกป้องหนูน้อยผู้น่าสงสาร” หันมาเรียกร้องสิทธิคุ้มครองเธอ ในฐานะเยาวชน โปรดสังเกตว่าไม่มีนักสิทธิมนุษยชนออกมาเรียกร้องสิทธิคุ้มครองเยาวชนให้เด็กแว้น ทั้งสื่อมวลชนและตำรวจกระตือรือร้นในการดำเนินคดีกับเด็กแว้นและเรียกร้องให้ผู้ปกครองรับผิดชอบ ตำรวจและสถานพินิจเยาวชนร่วมกันควบคุมเด็กแว้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีการประสานงานกับนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และอัยการเพื่อเตรียมตัวต้อนรับเด็กแว้นแบบที่ต้อนรับสาวซีวิคและผู้ปกครองในวันรายงานตัว ทำให้เกิดคำถามว่าเด็กแว้นทำคนตายไปกี่คน? การซิ่งและก่อความรำคาญโดยเจตนาแย่กว่าการซิ่งโดยประมาทแล้วทำคนตาย 9 ศพโดยไม่เจตนาหรือ?

ลองสมมติว่าเป็นที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่บิดาสาวซีวิคอ้างอิงว่าสาวซีวิคขับรถเองก่อนกลับเมืองไทย ถ้าเธอเป็นเยาวชนจริง เธอจะโดนอายัดตัวเพื่อสอบปากคำและตรวจแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดในร่างกาย เพื่อหาสาเหตุว่าความประมาทของเธอมาจากแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดหรือไม่ ถ้าบาดเจ็บก็ไปโรงพยาบาลแต่ไม่ได้กลับไปอยู่ในความคุ้มครองของผู้ปกครองทันที ผู้ปกครองเธอต้องโดนดำเนินคดีอาญาด้วยข้อหาปล่อยปละละเลย อาจโดนพิพากษาให้เสียสิทธิในการเลี้ยงดูเยาวชน

ดิฉันไม่ได้คลิก "ชอบ" เฟซบุ๊กที่บอกว่า "มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ(ชื่อเธอ)" ถ้าเฟซบุ๊กดังกล่าว เปลี่ยนชื่อว่า "ฉันไม่พอใจ(ชื่อเธอ)" ดิฉันจะคลิกชอบ ดิฉันไม่มั่นใจว่ามีคนไทยกี่คนไม่พอใจเธอเพราะพูดแทนคนอื่นไม่ได้ แต่เป็นความจริงว่ามีสองมาตรฐานเมื่อเราเปรียบเทียบกับเด็กแว้น


สองมาตรฐานน่ากลัวกว่าเฟซบุ๊ก

“ฝ่ายปกป้องหนูน้อยผู้น่าสงสาร” บางคนนำเสนอว่าเฟซบุ๊กอาจจะทำให้คนเกลียดชังกันจนใช้ความรุนแรง โดยผิวเผินผู้อ่านตัดสินความดิบเถื่อนจากภาษาในชุมชนออนไลน์ ทั้งๆ ที่ความดิบเถื่อนที่แท้จริงคือ การเห็นชีวิตคนเป็นผักปลา ความดิบเถื่อนดังกล่าวเป็นพื้นฐานของสังคมสองมาตรฐาน คนที่กลัวพลังของเฟซบุ๊กน่าจะกลัวความดิบเถื่อนของสังคมสองมาตรฐานมากกว่า สังคมสองมาตรฐานเป็นสังคมที่ความกลัวต่อสู้กับความโกรธ เมื่อคนโกรธจนลืมกลัวก็ใช้ความดิบเถื่อนตอบโต้ความดิบเถื่อน สังคมสองมาตรฐานมีรากฐานมาจากสังคมทหารที่สอนให้คนฆ่าคนโดยไม่รู้สึกผิด ความดิบเถื่อนของสังคมไทยไม่หายไปไหนตราบใดที่ยังมีระบบทหารเกณฑ์ เฟซบุ๊กเป็นเพียง "กระจกสะท้อนสังคมไทย" ที่สื่อกระแสหลักไม่ยอมเสนอให้คนไทยรู้ตัวเท่านั้น

โปรดสังเกตว่าการกังวลกับอนาคตโดยไม่คำนึงถึง "ความน่าจะเป็น" เป็น "ดราม่า" แบบหนึ่ง สังคมเฟซบุ๊กเป็นสังคมออนไลน์ คนติดเฟซบุ๊กนั่งเล่นเฟซบุ๊กไม่ไปไหน ถ้าไม่มีการเตรียมการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือผู้คุมกฎให้ท้าย จะพากันไปบุกบ้านใครเพื่อด่าหรือทำร้ายใครไหม? ถ้าผู้อ่านกังวลในประเด็นนี้มาก ขอเสนอให้นับดูว่าที่โพสต์ด่าบนเฟซบุ๊กดังกล่าวมีกี่คน? ถ้าอ่านดูจะพบว่าเป็นความเห็นซ้ำซากจากคนเก่า ไม่ได้มีเกือบ 300,000 คนแบบจำนวนคนที่กด "ชอบ" คำถามเพื่อตรวจสอบความจริง (Reality check) มีต่างๆ นานา อาทิ เฟซบุ๊กทำคนตายไปแล้วกี่คน? ตอนมารดาสาวซีวิคไปขอขมามารดาของผู้เสียชีวิตวุฒิปริญญาเอกมีใครปาอะไรใส่มารดาสาวซีวิคหรือ? มีการเสนอข่าวว่าสาวซีวิคโดนขู่ฆ่า ถ้ากลัวนักก็จ้าง รปภ. ได้เพราะครอบครัวเธอมีฐานะ มีญาติเป็นทหารระดับสูงจะกลัวเหมือนในละครทำไม?

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือสื่อมวลชนรายงานข่าวว่าสาวซีวิคจะบวชชีให้ผู้เสียชีวิต การบวชไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเพราะไทยไม่ใช่รัฐศาสนา การยกประเด็นดังกล่าว อ้างอิงศาสนาคล้ายการนำเสนอว่า "ความตายเป็นกรรมเวรส่วนตัว" การนำเสนอ"กฎแห่งกรรม" เป็นเพียงความเชื่อส่วนตัว ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในสังคม บ้างก็ว่าคนตายฟื้นคืนชีพไม่ได้ ตายแล้วแล้วไง? ตายแล้วคนเป็นไม่ต้องบังคับใช้กฎหมายหรือ? ให้คนเป็นนั่งรอกฎแห่งกรรมไปตามยถากรรมหรือ?

การเรียกร้องให้ชุมชนออนไลน์หยุดสนใจคดีนี้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความยุติธรรม ประเทศอื่นมีความยุติธรรมได้จากการเรียกร้อง ตำรวจและผู้พิพากษาฝรั่งไม่ได้เอาความยุติธรรมมาแจกให้ฟรีๆ คนตายอย่างไม่เป็นธรรมในอดีตทำให้คนออกมาเรียกร้องทำให้กระบวนการยุติธรรมพัฒนาได้ ออกมาทั้งไปงานศพ กดดันผ่านสื่อมวลชน ผ่านเครือข่ายทางสังคมต่างๆ คนอเมริกันเข้าใจดีกว่าถ้าคนอื่นไม่ได้รับความเป็นธรรม เขาก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกัน ความยุติธรรมไม่ใช่ของฟรี คณะลูกขุนคือคนธรรมดาที่ต้องสละเวลามาร่วมกระบวนการยุติธรรมของผู้อื่น ความยุติธรรมไม่มีวันเกิดขึ้นในสังคมไทยถ้าคนนิ่งดูดายและถือว่า "ไม่ใช่ญาติฉัน ฉันไม่เสียเวลาด้วย" ถ้าไม่สนใจแม้กระทั่งจะสงสัยว่า"ความยุติธรรมคืออะไร?" ก็หวังยากว่าจะหลุดพ้นการรอคอยความยุติธรรมชาติหน้าที่มาไม่ถึง

ถ้าผู้อ่านกลัวเฟซบุ๊กมาก อย่าลืมว่าแท้จริงแล้วคุณกำลังกลัว "ความดิบเถื่อนของสังคมสองมาตรฐาน" ความดิบเถื่อนดังกล่าวไม่เห็นค่าของคนเท่ากัน แม้คนเฟซบุ๊กเองก็ยังไม่เห็นความค่าของ 91 ศพ เท่า 9 ศพเพราะเขาเอาปริญญาเป็นน้ำหนักในการวัดค่าของคน (ไม่รู้ปู่ย่าตายายมีปริญญาเอกกันกี่คน?) ไม่มีเฟซบุ๊กชื่อว่า "มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจที่คนไทยตาย 91 ศพเมื่อเดือนพฤษภา" แต่เขาก็ไม่ดิบเถื่อนเท่าคนที่ไม่เห็นค่าของศพแม้แต่ศพเดียว


รถเก๋งและรถตู้

โศกนาฏกรรมนี้แสดงให้เห็นความไม่สัมพันธ์กันระหว่างรายได้และการศึกษา นักวิจัยปริญญาเอกหรืออาจารย์วุฒิปริญญาโทมีตำแหน่งผู้ช่วยคณบดีใช้บริการรถตู้เพราะรายได้ไม่มากพอที่จะซื้อรถยนต์ ประเด็นคือรถยนต์ไทยราคาแพงกว่าต่างประเทศมากทั้งๆ ที่คุณภาพต่ำกว่า

ที่สหรัฐฯ ฮอนด้าซีวิคราคา 5 แสนบาทเทียบเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ต่อปีของวิศวกรจบใหม่หลักหักภาษีแล้ว ดังนั้นวิศวกรจบใหม่ผ่อนรถยนต์ได้เลยตั้งแต่เริ่มทำงาน รถที่ถูกกว่าซีวิคก็มีทั้งยี่ห้อฮอนด้าด้วยกันและทั้งจากสารพัดยี่ห้อ ตัวอย่างรถรุ่นอื่น เช่น ฮอนด้าแอคคอร์ด หรือโตโยต้าแคมรีราคาเริ่มต้นที่ 6 แสนบาท เปรียบเทียบกันแล้วรถเมืองไทยราคาแพงกว่ากันเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบรายได้คนจบปริญญาตรียิ่งไปกันใหญ่ สาเหตุที่รถยนต์ไทยราคาแพงคือภาษีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศสูงมากรวมทั้งรถมือสอง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์มีอำนาจตลาดมากจนตั้งราคาสูงได้ รถมือสองจากต่างประเทศคุณภาพดีกว่ารถมือสองในไทยมาก

ไม่มีประเทศใดแก้ปัญหารถติดหรือขนส่งมวลชนด้วยการสนับสนุนให้รถยนต์ราคาแพง ประเทศที่พัฒนาแล้วแก้ปัญหารถติดด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างแรงจูงใจให้คนใช้รถยนต์น้อยลง เช่น เก็บภาษีน้ำมันในอัตราสูง ตั้งกฎเกณฑ์ด้านประกันภัยอย่างเข้มงวด


จากประชานิยมสู่ประชาสัญจร

สาวซีวิคและเด็กแว้นเป็นเพียงตัวอย่างของการละเมิดสิทธิในการสัญจรอย่างปลอดภัยของผู้อื่น ที่จริงแล้วคนไทยโดนละเมิดสิทธิในการสัญจรอย่างปลอดภัยตลอดเวลาบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาถนนแคบ พื้นผิวถนนไม่ได้มาตรฐาน ค่าผ่านทางด่วนราคาแพง (ประเทศทุนนิยมสุดขั้วอย่างสหรัฐฯ มีทางด่วนแบบเก็บเงินน้อยมากๆ ทางด่วนส่วนใหญ่ฟรี) กำแพงทางด่วนต่ำ ไม่บังคับใช้กฎจราจรอย่างเป็นธรรม กระบวนการปิดถนนที่ไม่โปร่งใสและตรวจสอบไม่ได้ ยานพาหนะมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่ำ ฯลฯ

สิทธิในการสัญจรอย่างปลอดภัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นความตายพอๆ กับสิทธิในการรับบริการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายหลักของนโยบายประชานิยม ถึงเวลาแล้วหรือยังที่องค์กรภาคประชาชนต่างๆ จะหันมาเรียกร้องสิทธิในการสัญจรอย่างปลอดภัย?

เราอาจเรียกมาตรการยกระดับคุณภาพการคมนาคมว่า "นโยบายประชาสัญจร" (People’s Traffic) การยกระดับขนส่งมวลชนเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระยะสั้นที่ง่ายกว่านั้นคือการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ใหม่หรือยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์มือสอง จะทำให้ราคารถยนต์ใหม่ถูกลงและเป็นที่ต้องการมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องกังวลว่ารถมือสองจะตีตลาดจนรถใหม่ขายไม่ได้จนต้องลดการจ้างงาน รถตู้ก็จะราคาถูกลง ผู้ประกอบการสามารถลดจำนวนผู้โดยสารต่อคันเพื่อยกระดับความปลอดภัยได้และสามารถขึ้นค่าแรงให้คนขับรถตู้หรือฝึกอบรมคนขับอย่างเป็นระบบเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการ ถ้ากังวลว่าการยกเลิกภาษีนำเข้ารถมือสองจะทำให้รถติดใน กทม.มากขึ้นก็ขึ้นภาษีน้ำมันได้ ภาษีน้ำมันไม่จำเป็นต้องเท่ากันทั้งประเทศ กำหนดให้อัตราภาษีใน กทม.สูงกว่าในต่างจังหวัดได้

ส่วนการแก้ปัญหาด้านความมาตรฐานถนนและยานยนต์นั้นต้องอาศัยการบังคับกฎหมาย อุบัติเหตุเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์และถนนในต่างประเทศ เพราะอุบัติเหตุนำไปสู่การตรวจหาความบกพร่องของรถยนต์และถนนนอกเหนือไปจากการพิสูจน์การกระทำของคู่กรณี ความเร็วของการขับรถไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ (ในยุโรปมีทางด่วนออโตบาห์นที่ไม่จำกัดความเร็วและกำหนดความเร็วขั้นต่ำ) มาตรฐานถนนและมาตรฐานรถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญ คนไทยไม่ตื่นตัวเรื่องสิทธิจึงไม่นิยมฟ้องร้องผู้ผลิตหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำให้ไม่เกิดแรงกระตุ้นให้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย การเรียกร้องสิทธิเหล่านี้ควรได้รับการสนับสนุนจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 08 มกราคม 2554    
Last Update : 8 มกราคม 2554 15:53:55 น.
Counter : 522 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.