Group Blog
 
All Blogs
 

อะไรก็ได้ (๔๓) ผู้ตามรอยพระอรหันต์ (๒)

อะไรก็ได้ (๔๓)

“ประภัสสร” ได้เล่าเรื่องของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ไว้ในนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับประจำเดือน กันยายน ๒๕๓๖ ต่อไปถึงผลงานของท่าน

ท่านพุทธทาสได้เผยแผ่ธรรมมาตลอดเวลา ๖๐ ปีเศษ ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล ได้มีผู้นำไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชาวต่างประเทศ จนได้รับการยกย่องว่า เป็นปราชญ์ทางพุทธศาสนาของโลก แก่นของธรรมะที่ท่านพุทธทาส ได้นำมาเผยแผ่แก่ประชาชน ที่จะขอหยิบยกเอามาเป็นตัวอย่างเพียงส่วนน้อย คือ

พ.ศ.๒๔๘๓ วิถีแห่งการถึงพุทธธรรม
“.....วิถีแห่งการรอดพ้น หรือการเข้าถึงพุทธธรรมนั้น อยู่ที่การละวางหรือคลายออกเสียซึ่งสิ่งที่ตนเคยยึดถือ ไม่ว่าจะเป็นความยึดถือในโลกียารมณ์ ในลัทธินิกาย หรือในตัวตนของตนเอง....”

พ.ศ.๒๔๘๕ ความสงบคือพุทธธรรม
“.......หลักการของพระพุทธศาสนา มีอยู่อย่างชัดเจนแล้วว่า ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์แล้ว (ในโลกนี้) หามีอะไรเกิดขึ้นและดับไปไม่.....”
“........ที่เราเรียกกันว่า สุข ๆ นั้น หมายถึงความสงบของทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นอย่างแท้หรืออย่างเทียมก็ได้........”
“.......สุขอื่นนอกจากความสงบแล้วเป็นไม่มี ถ้าความสงบเป็นอย่างเทียม ความสุขนั้นก็เทียม ถ้าความสงบนั้นเป็นอย่างแท้ ความสุขนั้นก็เป็นอย่างแท้ สงบมากก็สุขมาก สงบน้อยก็สุขน้อย และนี่เป็นกฎตายตัวของธรรมชาติ.....”

พ.ศ.๒๔๙๑ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม
หมายถึงเครื่องกีดกั้นขัดขวาง วิถีทางแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมหรือเครื่องปิดบังพระนิพพาน อันเป็นตัวพุทธธรรม ซึ่งก็คือความยึดมั่นถือมั่นอย่างงมงาย ต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยไม่ได้ปฏิบัติธรรม อันเป็นเครื่องหลุดพ้น อย่างถูกต้องนั่นเอง

พ.ศ.๒๔๙๗ โลกอาจรอดได้แม้เพราะกตัญญูกตเวที
“..........ถ้าหากทุกคนในโลก ยอมรับรู้ถึงความจริงอันประเสริฐสุด คือ ความที่มนุษย์ทุกคนเป็นหนี้บุญคุณต่อกันและกัน แม้แต่คนที่เป็นศัตรูของกันและกัน ดังที่กล่าวแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยการแข่งขันกันทำความดี เพื่อปลดเปลื้องหนี้บุญคุณของตน ๆ ให้พ้นหนี้อันนี้.........”
“.........ความกตัญญูของพุทธบริษัททั้งหลาย จึงเป็นไปเพื่อทำให้โลกร่มเย็น อย่างน่าชื่นอกชื่นใจแท้จริง........”

พ.ศ.๒๕๐๔ ใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
หัวใจของพุทธศาสนานั้น อาจมีคนเข้าใจว่า อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางแห่งความดับทุกข์ บางคนก็ว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความทุกข์ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน บ้างก็ถือหลักไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้เต็ม ทำจิตให้บริสุทธิ์ อย่างนี้ก็ได้ แต่มันถูกน้อยที่สุด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ....สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยืดมั่นถือมั่น”
แล้วพระองค์ก็ย้ำลงไปอีกทีหนึ่งว่า “....ถ้าใครได้ฟังความข้อนี้ คือได้ฟังทั้งหมดของพระพุทธศาสนา.........”

(ยังมีต่อ)


Create Date : 01 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 8:48:28 น.




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:44:28 น.
Counter : 502 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๔๒) ผู้ตามรอยพระอรหันต์

อะไรก็ได้ (๔๒)

ในนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับประจำเดือน กันยายน ๒๕๓๖ มีเรื่องที่น่าสนใจคือ พุทธทาสภิกขุ ผู้ตามรอยพระอรหันต์ ซึ่งกล่าวถึงท่านภายหลังที่ได้มรณภาพ ไปเพียงสองเดือน โดย “ประภัสสร” จึงได้คัดลอกมาให้อ่านเพื่อรำลึกถึงท่าน ในวาระใกล้จะครบรอบ ๑๗ ปี คือ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓

ข่าวใหญ่ที่สำคัญที่สุด ของพุทธศาสนิกชน ในรอบ ๔ เดือนที่ผ่านมา คงจะไม่มีเรื่องใดที่สะเทือนใจยิ่งไปกว่าที่ ท่านพุทธทาส หรือ พระธรรมโกศาจารย์ แห่งสวนโมกขพลาราม ถึงแก่มรณภาพ เมื่อ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖

ท่านพุทธทาสภิกขุ เดิมชื่อ เงื่อม เกิดเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ เป็นบุตรของนายเซี้ยง นางเคลื่อน พานิช มีน้องชายชื่อ ยี่เก้ย ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น นายธรรมทาส และน้องสาวชื่อ กิมซ้อย ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการศึกษาขั้นต้นถึงชั้น มัธยมปีที่ ๓

พ.ศ.๒๔๖๙ ได้อุปศฒฐ?ฌ)ฯฑณธ๓กษุ ณ พระอุโบสถวัดอุบล ได้รับฉายา อินทปัญโญ และไปจำพรรษาที่วัดใหม่พุมเรียง อุปสมบทอยู่ ๓ พรรษา ก็สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาได้ไปศึกษาบาลีที่กรุงเทพสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค

เมื่อได้ศึกษาบาลีเพียงพอแก่การค้นคว้า หาความรู้จากพระไต่ปิฎกแล้ว ท่านจุ่งมุ่งที่จะดำเนินชีวิต ตามรอยพระอรหันต์ ด้วยการปฏิบัติตามหลักธุดงควัตรของพระพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาล พอปลายปี พ.ศ.๒๔๗๔ ท่านจึงเดินทางจากกรุงเทพ กลับไปที่ไชยา เลือกได้พื้นที่ของวัดร้างในป่าพุมเรียง อยู่ริมหนองน้ำตระพังจิกเป็นที่พำนัก ตั้งชื่อว่า สวนโมกขพลาราม และอุทิศตนเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม เช่นเดียวกับภิกษุในสมัยที่ พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ โดยมีปนิธานว่า

“ข้าพเจ้ามอบกายและชีวิต ถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุด้วยว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงมีชื่อว่า พุทธทาส”

ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๕ จนตลอดระยะ ๒ ปีแรก ท่านพุทธทาสพักอยู่เพียงผู้เดียวในสวนโมกขพลาราม ต้องอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ใช้เวลาศึกษาธรรมะในพระไตรปิฎก อย่างละเอียดและลึกซึ้ง จนเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอด และต่อมาจึงได้เผยแพร่ธรรมะออกไป เป็นข้อเขียนในหนังสือพิมพ์ พุทธศาสนา ซึ่งดำเนินการโดย นายธรรมทาส พานิช น้องชายของท่าน เมื่อหนังสือพิมพ์พุทธศาสนาได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จึงมีพระภิกษุที่สนใจ เข้าไปร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาส เช่น ท่านปัญญานันทะภิกขุ ท่านเขมาภิรัต เป็นต้น

จนถึง พ.ศ.๒๔๘๗ สวนโมกขพลาราม จึงได้ขยับขยายมาอยู่ในพื้นที่ใหม่ บริเวณเขาพุทธทอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดธารน้ำไหล จากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายออกไปจนมีสภาพอย่างปัจจุบัน

ท่านพุทธทาสได้เลื่อสมณศักดิ์ ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ.๒๔๘๙ พระครูอินทปัญญาจารย์
พ.ศ.๒๔๙๓ พระอริยนันทมุนี
พ.ศ.๒๕๐๐ พระราชชัยกวี
พ.ศ.๒๕๑๔ พระเทพวิสุทธิเมธี
และสุดท้ายเป็นที่ พระธรรมโกศาจารย์

ท่านพุทธทาส ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก หลังจากที่ได้ล้มป่วยลง ตั้งแต่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๖ และสุดความสามารถของคณะแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช จะเยียวยารักษาได้

คณะศิษย์ได้จัดการศพ ให้เป็นไปตามพินัยกรรม ที่ท่านได้เขียนไว้เมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๖ คือ ไม่มีการฉีดยาศพ ไม่มีพิธีรดน้ำศพ ไม่มีการสวดพระอภิธรรม และไม่มีพิธีกรรมใดใดทั้งสิ้น คงนำร่างบรรจุหีบไม้ซึ่งได้เตรียมไว้แล้ว นำไปฝังยังที่กำหนดไว้ ใกล้ศาลาธรรมโฆษ เป็นเวลา ๓ เดือน เมื่อจะเผาห้ามไม่ให้ตั้งเมรุใหญ่โต ให้เผาอย่างง่ายที่สุด ในสวนโมกขพลาราม แล้วนำอัฐิบรรจุไว้ในแท่นซึ่งได้เตรียมไว้ ที่ศาลาธรรมโฆษแห่งเดียว

(ยังมีต่อ)


Create Date : 29 มิถุนายน 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 8:05:55 น.




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:43:46 น.
Counter : 439 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๔๑) ม้าในวรรณคดี (๔)

อะไรก็ได้ (๔๑)

คราวนี้มาต่อเรื่องม้าสีหมอก ของ “สายอักษร” ในนิตยสารทหารสื่อสารกันให้จบไปเลย

บทรำพันของขุนแผนจึงเต็มไปด้วยความรู้สึก ทำให้ผู้อ่านนึกเห็นไปว่า ขุนแผนนั้นกล่าวด้วยความจริงใจ อันเต็มไปด้วยความทุกข์ พาให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจตามไปด้วย

ขุนแผนว่าลาแล้วเจ้าเพื่อนยาก
จะตายจากหรือพบกันในวันหลัง
แม้นยังไม่มรณาชีวายัง
ถึงติดคุกคุมขังไม่วายคิด
จะเร็วช้าถ้ามีเวลาออก
จะมาหาม้าสีหมอกที่พิจิตร
อยากจะพาเจ้าไปก็ได้คิด
ขุกชีวิตเรานี้จะมรณา
เขาจะส่งสีหมอกเป็นม้าใช้
จะผูกขึงกรึงไว้อดน้ำหญ้า
สิ้นสูญบุญเราไปลับตา
เวทนาที่ไหนใครจะรัก

ฝ่ายสีหมอกเมื่อรู้ว่านายจะจากไปก็เศร้าโศก

สีหมอกฟังว่าน้ำตาไหล
ด้วยพระมนต์ดลใจให้ประจักษ์
กลอกหัวตัวสั่นรันทดนัก
ซบพักตร์แทบเท้าทั้งสองรา

หนังสือขุนช้างขุนแผนสรุปถึงการจากกันระหว่างม้ากับคนไว้อย่างน่าสงสารว่า

ขุนแผนวอนสั่งพระพิจิตร
เจ้าคุณจงคิดถึงตัวข้า
ฝากม้าคู่ชีวิตกับบิดา
ด้วยลูกยาเหลือที่จะห่วงใย
พระพิจิตรตอบว่าอย่าปรารมภ์
เด็กเรามีถมพอเลี้ยงได้
น้ำท่าหญ้าฟางก็ถมไป
อย่าอาลัยคะนึงถึงอาชา
ว่าพลางทางพากันคลาไคล
สีหมอกมีใจละห้อยหา
ขุนแผนวันทองนองน้ำตา
ลงนาวาเข้าในประทุนปิด

ครั้งนั้นขุนแผนต้องติดคุกอยู่ถึง ๑๕ ปี แต่แม้กระนั้นขุนแผนก็มิได้เสื่อมคลายความจงรักภักดีที่มีต่อพระพันวษาเลย ในปีที่ ๑๕ นั้นเองเกิดเรื่องพระเจ้าเชียงใหม่ชิงนางสร้อยทองไป เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำจะต้องมีการปราบปรามกัน

พลายงามลูกชายขุนแผนได้ช่องจึงอาสา และทูลขอพ่อไปช่วยรบด้วย พระพันวษาจึงโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษ เพื่อให้ไปทัพกับลูกชาย ระหว่างที่ขุนแผนต้องโทษอยู่นั้น ม้าสีหมอกก็แก่ไปเปล่า ๆ โดยมิได้ทำประโยชน์อันใดให้สมศักดิ์ชองม้าอาชาไนย น่าเสียดายที่ว่าม้าศึกตัวสำคัญนี้ ต้องอยู่ไปชั่ววันหนึ่ง ๆ ตลอดเวลาที่นายของมันจากไป สีหมอกเป็นม้าที่ดีก็จริงอยู่ แต่ก็มิใช่ม้าดีสำหรับคนทุกคนถ้าใครขาดความชำนาญในการบังคับม้าพยศ ก็ไม่สามารถจะขี่สีหมอกได้

อย่างไรก็ตามเวลา ๑๕ ปีนั้น ไม่ทำให้ขุนแผนลืมสีหมอกเลย ขุนแผนแวะรับม้าสีหมอกด้วยความตั้งใจจะเอาไปรบด้วย แม้ม้าจะแก่ขุนแผนก็มิได้คิดจะหาม้าอื่นมาแทนที่ เมื่อคนและสัตว์เลี้ยงแสนรู้พบกันอีกครั้งนั้น ท่านกวีผู้ประพันธ์ตอนนี้ ส่งบทขุนแผนให้เด่นชัดมาก ในแง่ของความเป็นคนรักม้าอย่างจริงจัง ทั้งพรรณนากิริยาของม้าได้เหมือนจริงมาก

สีหมอกม้าหญ้ามนต์เข้าดลใจ
จำได้รู้ภาษาพูดจาสิ้น
ลงตีนโปกโปกโขกแผ่นดิน
เพียงจะดิ้นหลุกแหล่งด้วยดีใจ
เลียดมชมทั่วทั้งกายา
ขุนแผนกอดม้าน้ำตาไหล
ลูบหลังสีหมอกแล้วบอกไป
ข้านี้ต้องราชภัยพึ่งพ้นมา

หลังจากนั้นขุนแผนก็เล่าเรื่องราวของตนให้สีหมอกฟัง ราวกับเป็นคนด้วยกัน และลงท้ายก็ชวนให้สีหมอกไปทัพด้วย แม้ม้านั้นชราไปตามอายุขัย ขุนแผนก็มิได้ย่อท้อ เสกหญ้าให้ม้ากิน สีหมอกก็แข็งแรงว่องไวขึ้นตามเดิม ดังความพรรณนาว่า

ลองขับนัอยใหญ่ทั้งไล่หนี
ท่วงทีไวว่องคล่องขยัน
ถึงม้าหนุ่มจะเปรียบไม่เทียบทัน
สารพันถูกทำนองด้วยว่องไว

จากนั้นมา ม้าสีหมอกก็มิได้มีบทบาทสำคัญอะไรอีก น่าเสียดายที่ม้าดีอย่างสีหมอกนั้น ไม่มีโอกาสได้รับใช้นายของมัน ในการรบเพื่อชาติบ้านเมืองเลย เท่าที่สีหมอกได้ออกรบแสดงฝีมือมาแล้วนั้น ก็เป็นการเข้ารบเพื่อเหตุผลส่วนตัวของขุนแผนทั้งนั้น ถึงกระนั้นผู้อ่านก็จะเห็นภาพม้าสีหมอกได้อย่างแจ่มชัดในมโนภาพ

จนกระทั่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ใดก็ตามที่เคยอ่านเคยรู้เรื่องขุนช้างขุนแผนมาแล้ว ผู้นั้นก็จะรู้จักม้าสีหมอกด้วย ในฐานะตัวละครสำคัญ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมบทบาทของตัวเอกคือขุนแผน ได้อย่างสง่าภาคภูมิ

สมลักษณะของนักรบผู้แกล้วกล้าแห่งกรุงศรีอยุธยา.

################

Create Date : 22 มิถุนายน 2553
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 5:18:45 น. 2 comments
Counter : 14 Pageviews. Add to




สวัสดีตอนเช้าๆ จ้า^^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:12:35:26 น.




เมื่อวานตื่นเช้าแล้วถวายสังฆทานพระสงฆ์สามรูปที่บ้าน
เป็นการทำบุญประจำปี

แล้วก็กินนอนทั้งเช้าสายบ่ายเย็น เลยไม่เห็นข้อความของคุณ ขออภัยด้วยครับ

เมื่อคืนฝนตกหนัก น้ำท่วมชั้นล่างทุกห้อง ต้องนอนดึก
แล้ววันนี้ก็ไปหาหมอคลีนิกสูงอายุด้วยครับ.

โดย: เจียวต้าย วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:4:40:34 น.





 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:43:00 น.
Counter : 706 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๔๐) ม้าในวรรณคดี (๓)

อะไรก็ได้ (๔๐)


เล่าเรื่องม้าสีหมอก ของขุนแผน จากข้อเขียนของ “สายอักษร” ในนิตยสารทหารสื่อสารฉบับเดือน กันยายน ๒๕๓๘ ต่อไป

แต่ขุนเพชรอินทราและขุนรามอินทรา เกิดความโกรธที่ทหารเสียที จึงด่าว่าขุนแผนด้วยถ้อยคำหยาบช้า ก้าวร้าวไปถึงบิดามารดาของขุนแผน ขุนแผนเหลืออดจึงเข้ารบกับนายทัพทั้งสองนั้นถึงขั้นตะลุมบอน การเข้ารบนั้นเต็มไปด้วยความห้าวหาญ เพราะทั้งสองนั้นเป็นคนมีฝีมือ และรบอยู่บนหลังช้าง ส่วนขุนแผนก็เข้ารบทั้ง ๆ ที่พาหนะของตนเสียเปรียบกว่าในเรื่องกำลัง แต่ขุนแผนก็ได้อาศัยความคล่องแคล่วว่องไวของสีหมอก และฝีมืออันเลอเลิศของตนเข้าสู้จนได้ชัยชนะ และประหารเสียทั้งคู่บรรดาไพร่พลก็เลยพลอยตายไปด้วย

ขุนแผนชนะศึกครั้งนั้นอย่างเด็ดขาด แต่ก็กระทำความผิดติดตัวมากขึ้น เพราะฆ่าทหารและนายทัพอันเป็นคนของหลวง ความผิดครั้งหลังนี้เป็นอาญาแผ่นดิน ขุนแผนจึงไม่อาจจะอยู่ในบ้านในเมืองต่อไป เพราะเกรงราชภัย จึงพานางวันทองเที่ยวดั้นด้นซอกซอนไปในป่า เดินทางด้วยม้าไปเรื่อย ๆ ทั้งสองคนก็มีความสุขไปตามประสายาก อยู่เป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งนางวันทองตั้งครรภ์

ขุนแผนเห็นว่าจะอยู่ในป่าต่อไปอีกไม่ได้ จึงพากันเดินทางไปจนถึงเมืองพิจิตร เข้าสารภาพมอบตัวกับพระพิจิตรโดยดี ทั้งพระพิจิตรและภรรยาเกิดเมตตาจิตรักใคร่ขุนแผนและวันทองอย่างแท้จริง จึงให้สองสามีภรรยาอาศัยอยู่ด้วยอย่างสบาย มิได้จองจำทำโทษแต่อย่างไร อยู่มาไม่นานขุนแผนก็สำนึกได้ว่าตนเป็นชายชาติทหารที่ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน เมื่อกระทำผิดแล้วก็ควรยอมรับโทษผิดของตน โดยไม่บิดพลิ้ว และอีกประการหนึ่ง ขุนแผนก็ตระหนักดีว่าถ้าหลบซ่อนอยู่นานไปอีกพระพิจิตรผู้มีคุณก็อาจจะเดือดร้อนเพราะตนได้ ฉะนั้นขุนแผนจึงขอร้องให้พระพิจิตรส่งตนและภรรยาเข้าไปรับโทษที่อยุธยา และในตอนนี้เองที่ขุนแผนจำต้องทิ้งม้าสีหมอกไว้ที่เมืองพิจิตร เพราะตนอยู่ในฐานะคนโทษไม่รู้อนาคตแน่นอน ทั้งขุนแผนและวันทองแวะมาร่ำลาม้าสีหมอกด้วยความรักความอาลัย

นางวันทองก็เห็นคุณของสีหมอก ประจักษ์แก่ตาทั้งในฐานะม้าศึก และม้าพาหนะสามัญ ตลอดเวลาหลายเดือนที่ท่องเที่ยวอยู่ในป่าก็ได้อาศัยม้าสีหมอกนี่เอง การฝ่าอันตรายและทุกข์ยากลำบากร่วมกันมาเป็นเวลานาน ทำให้วันทองบังเกิดความอาลัยรักม้าสีหมอกอย่างจับใจ เพราะรำลึกได้ว่าม้านั้นมีคุณแก่ตนและสามีมากมายนัก เมื่อจะต้องจากกันวันทองก็อดไม่ได้ที่จะรำพันถึงความหลัง ครั้งเมื่อลำบากมาด้วยกัน

วันทองว่าพี่สีหมอกของน้องเอ๋ย
เคยยากมาด้วยน้องในไพสัณฑ์
ยุงริ้นมากินมาหลายวัน
อุตส่าห์ให้น้องนั้นได้ขี่มา
ต้องบุกป่าฝ่าดงพงชัฏ
ดั้นตัดดงรามหนามหนา
อดอยากหญ้าฟางกลางพนา
เป็นหลายวันคืนมาในป่ารก
ถึงเมืองพอมีที่จะอยู่
ก็มาจู่จากซ้ำน้ำตาตก
เป็นเพื่อนยากเพื่อนตายมาหลายยก
จากอกอกน้องจะพองพัง

ส่วนขุนแผนนั้นก็รำพันกับม้า ด้วยความรักความอาลัยอย่างสุดซึ้ง ตามวิสัยของนักรบที่รักม้าคู่ใจของตน ดังนั้นเมื่อจะต้องจากกันโดยไม่รู้ว่าจะได้พบกันอีกหรือไม่ ขุนแผนจึงบังเกิดความโศกเศร้าอย่างสุดพรรณนา

(ยังมีต่อ)


Create Date : 21 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 6:31:26 น. 2 comments
Counter : Pageviews. Add to




แว้บมาอ่านบันทึกค่ะเริ่มเข้าบล๊อกได้บ้างแล้ว เป็นบางครั้งไม่รู้ติดขดตรงไหนค่ะ

แล้วจะมาอ่านต่อนะคะ

โดย: ปันฝัน วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:9:53:42 น.




ขอบคุณครับ แล้วก็แว่บไปอ่านกลุ่มอื่น ๆ ด้วยนะครับ.

โดย: เจียวต้าย วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:21:17:38 น.





 

Create Date : 28 สิงหาคม 2553    
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:42:18 น.
Counter : 774 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๓๙) ม้าในวรรณคดี (๒)

อะไรก็ได้ (๓๙)

เรื่องม้าในวรรณคดี ตอน ม้าสีหมอก ของ “แสนอักษร” จากนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับเดือน กันยายน ๒๕๓๘ นั้น คงจะมีต่อหลายตอนหน่อย เพราะมีความยาวถึงหกหน้า ผู้นำมาเสนอพิมพ์รวดเดียวไม่ไหว เชิญติดตามต่อไป

ฝ่ายขุนช้างเมื่อรู้สึกตัวก็คุมไพร่พลออกตาม เมื่อพบขุนแผน ขุนช้างก็ขับพวกไพร่เข้ารุมรบ ขุนแผนเข้าต่อสู้โดยเนรมิตหุ่นหญ้าเป็นคนช่วยรบด้วย และในตอนนี้เองที่ม้าสีหมอกได้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะเป็นม้าฉลาดฝีเท้าดีแล้ว ยังมีพิษสงรอบตัวอีกด้วย

พลปืนพลหอกออกสะพรั่ง
เสียงดังครื้นครั่นสนั่นป่า
กรูกันเข้าห้อมล้อมอาชา
หน้าไม้ไกลั่นสนั่นดัง
สีหมอกหมุนผกชกขบ
หลีกหลบเดาะถูกลูกคางปั๋ง
อ้ายละว้าว่ามันทนพ้นกำลัง
เก้กังเข้าไปไล่จับม้า

ในที่สุดขุนช้างและไพร่พลก็แตกกระจายไป เพราะไม่มีใครใจกล้าพอจะรบกับขุนแผน ขุนแผนก็ “ชักม้าผยองมาในดง” ตามสบาย แต่ขุนช้างไม่ได้ยุติเรื่องแต่เพียงนั้น ได้นำข้อกล่าวหาขึ้นกราบบังคมทูล เป็นความฉกรรจ์ว่า ขุนแผนบังอาจคิดขบถ สมเด็จพระพันวษาจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระหมื่นศรีกับจมื่นไวยเป็นแม่ทัพ พลห้าพัน พร้อมกับให้ขุนเพชรอินทรา และขุนรามอินทรา กำกับพลปีกซ้ายและปีกขวา ยกไปปราบขุนแผน

ในตอนนี้หนังสือขุนช้างขุนแผน พรรณนาเรื่องราวไว้สนุกมาก แสดงอัธยาศัยของตัวละครสำคัญทั้งสาม คือ ขุนช้าง วันทอง และขุนแผน โดยเฉพาะขุนแผนนั้น ผู้อ่านจะนึกเห็นภาพนักรบในวัยฉกรรจ์ ผู้เชื่อดีในฝีมือตน ทั้งยังมีอาวุธคู่มือ มีม้าศึกคู่ขา มีอาคมเป็นเครื่องป้องกันภัย และมีนางคู่ใจอยู่แนบข้างพร้อมมูลเช่นนี้แล้ว ขุนแผนก็มิได้หวาดเกรงสิ่งใดเลย แม้ว่าศัตรูของตนจะมาทั้งกองทัพ ขุนแผนก็ยิ่งฮึกเหิม ทั้งขุนแผนมิช่คนพูดแต่ปาก ฉะนั้นเมื่อได้เผชิญภัยเฉพาะหน้าดังนั้นแล้ว ก็อวดอิทธิฤทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์ แก่คนทั้งกองทัพนั้นเสียด้วย

รับนางขึ้นนั่งบนหลังม้า
ขับสีหมอกออกมาจากไพรสนฑ์
แกล้งชักม้าผ่านหน้าบรรดาพล
สองคนขี่ม้าสง่างาม
ภูติพราบราบล้อมมาพร้อมหน้า
อ่านคาถาเป่าไปให้เกรงขาม
สีหมอกเดินออกด้านขุนราม
เป่าจังงังให้คร้ามขยาดฤทธิ์

ผู้อ่านบางท่าน เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้แล้ว อาจจะรู้สึกว่าเกินไป ที่คน ๆ เดียวจะสู้กับคนทั้งกองทัพ แต่ถ้าพิจารณาตามเนื้อเรื่องแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ผู้ประพันธ์ได้แสดงเรื่องไว้อย่างเหมาะสม เพราะขุนแผนนั้นเป็นแม่ทัพมาก่อน มีฝีมือเป็นที่เลื่องลือไม่มีใครทาบติด ทั้งรู้วิทยาอาคมมากมาย อาจบันดาลให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้ไปด้วยวิธีใดก็ได้ ทหารเหล่านั้นรู้จีกขุนแผนดีพอที่จะกลัว และคนเหล่านั้นส่วนมากก็นิยมขุนแผนเป็นทุนอยู่มากพอ ๆ กับที่หมั่นไส้ขุนช้างอยู่แล้ว ประกอบกับพระพันวษาก็สั่งให้จับเป็นด้วย พวกทหารจึงยังไม่กล้าจู่โจมทันที เพราะคนอย่างขุนแผนนั้น ไม่ใช่คนชนิดที่ใครจะมาจับได้ง่าย ๆ ฉะนั้นเมื่อขุนแผนเชื่อแน่ว่าตน มิได้กระทำผิดรุนแรงอย่างที่ขุนช้างทูลฟ้อง จึงใช้ทั้งฝีมือและเวทย์มนต์เข้าต่อสู้ป้องกันตัว ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ไพร่พลของฝ่ายตามจับเกิดความหวาดหวั่น เพราะใจไม่คิดสู้อยู่แล้ว

ขุนแผนขึ้นม้าสีหมอกบุกตะลุยเข้าไปในท่ามกลางกองทหารอย่างองอาจ เมื่อชักม้าไปทางใด ทางนั้นก็แตกกระจายไม่เป็นขบวน พวกทหารเกิดรวนกันขึ้นเอง แต่ขุนแผนก็ไม่ได้ฆ่าใคร เพราะถือว่าคนเหล่านั้นเป็นคนของพระเจ้าอยู่หัว ขุนแผนต้องการเพียงจะป้องกันตัว และอวดอิทธิฤทธิ์ ให้คนเหล่านั้นรู้จักตนดีขึ้นเท่านั้น

(ยังมีต่อ)


Create Date : 20 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 5:28:39 น.




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2553    
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:41:48 น.
Counter : 553 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.