Group Blog
 
All Blogs
 

อะไรก็ได้ (๖๘) เครื่องมือสื่อสารยุคแรก (๒)

อะไรก็ได้ (๖๘)

เครื่องมือสื่อสารยุคแรก (๒)

จากความคิดเห็นของเพื่อนท่านหนึ่งในกระทู้เรื่อง แสตมป์สื่อสาร เมื่อ ๖ เมษายน ๒๕๕๔

ได้นำภาพเครื่องเคาะสัญญาณ รหัสมอส ที่บริษัทไปรษณีย์ไทย ได้เลิกใช้ในการส่งโทรเลข ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓ แล้ว มาวางให้ชม

เครื่องส่งโทรเลขนี้ได้เริ่มใช้ตั้งแต่สมัย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นำเข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับทหารสื่อสาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖




เครื่องโทรเลขเครื่องแรก





เริ่มแรกเป็นการส่งสัญญาณไปตามเส้นลวดที่ขึงบนเสา เรียกว่าโทรเลข เวลาเรียนต้องท่องตามเสียรหัส เช่น ตี ตี ติ๊ด คือ ก ไก่ ติ๊ด ตี ติ๊ด คือ ร เรือ

ฝ่ายรับก็สะกดตามไปจนจบข่าว



เมื่อมีเครื่องรับส่งสัญญาณด้วยรหัส ที่เรียกว่า เลขสัญญาณ แล้ว

ต่อมาได้เอาเสียงสัญญาณไปผ่านเครื่องวิทยุ ส่งออกอากาศ เรียกว่า วิทยุโทรเลข สามารถรับส่งได้ไกลมาก




ข้างบนเป็นเครื่องรับส่งวิทยุ แบบ รส.๔ ทหารสื่อสารสร้างเอง

ภาพหน้านี้ เป็นแบบ รส.๕ สร้างที่โรงงานเครื่องสื่อสาร




แบบ รส.๖




ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใช้ติดต่อระหว่าง เชียงตุง กับ เชียงใหม่ ลำปาง หรือถึงกรุงเทพก็ได้ คือแบบ รส.๕



ความคิดเห็นที่ 8

ต่อมาจึงพัฒนาเครื่องรับส่ง ให้ใช้คำพูดโดยตรง เรียกว่า วิทยุโทรศัพท์

แล้วเปลี่ยนเป็นเอาเครื่องพิมพ์ดีดไปส่งผ่านเครื่องวิทยุ เรียกว่า วิทยุโทรพิมพ์

ต่อมาพิมพ์ให้เสร็จเป็นเอกสารมีการลงชื่อเรียบร้อยแล้ว ส่งผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ เรียกว่า โทรสาร

สุดท้ายเอาภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว ส่งผ่านเครื่องวิทยุ จึงเรียกว่า โทรทัศน์




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 7 พฤษภาคม 2554 7:53:04 น.
Counter : 909 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๖๗) เครื่องมือสื่อสารยุคแรก

อะไรก็ได้ (๖๗)

เครื่องมือสื่อสารยุคแรก

จาก นิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับครบรอบ ๖๐ ปี ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗

ภาพปก





อาคารกองบัญชาการ กรมการทหารสื่อสาร หลังเก่านี้ตั้งอยู่ที่มุมสี่แยกสะพานแดง ที่ถนนพระรามที่ ๕ ชนกับถนนเตชะวณิช ถนนประดิพัทธ์ และถนนทหาร

เดิมเป็นของทหารช่าง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐

ทหารสื่อสารเดิมก็คือทหารช่างสัญญาณ เป็นสาขาหนึ่งของการช่าง มีหน้าที่รับส่งข่าวระหว่างหน่วยทหารเหล่าอื่น ๆ ในสนามรบ และในยามปกติ

ต่อมาทางราชการได่แยกทหารสื่อสารออกจากทหารช่าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ มีหน้าที่ในการ
รับส่งข่าวของกองทัพบก ทั้งในยามปกติ และยามสงคราม

ทหารสื่อสารจึงได้ครอบครองอาคารหลังนี้ และพื้นที่ของกรมทหารช่างที่มุมสะพานแดง ตั้งแต่บัดนั้น




เมื่อถึง พ.ศ.๒๕๒๒ ทหารสื่อสารได้อยู่ที่สะพานแดงมาแล้ว ๔๕ ปี ก็ได้รื้อลง และก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นทดแทน




เครื่องมือสื่อสารยุดแรกที่เริ่มใช้ในกองทัพบก ที่ได้ตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑืทหารสื่อสาร หลังตึกกองบัญชาการ นั้น มีหลายประเภท
ภาพเครื่องมือสื่อสารประเภททัศนะสัญญาณ

ธงสัญญาณ มีสองแบบ ถ้าใช้ในเวลาอากาศสว่าง แถบบนล่างเป็นสีน้ำเงิน แถบกลางสีขาว




ถ้าใช้ในเวลาอากาศขมุกขมัว แถบบนล่างเป็นสีขาว แถบกลางเป็นสีน้ำเงิน





การส่งข่าวของธงสัญญาณ ใช้เหวี่ยงธงลงข้างขวา เป็นจังหวะยาวสุดแขน หรือจังหวะสั้น แค่หัวไหล่
จะแปลเป็นตัวอักษรได้ ตามที่แปลงมาจากรหัส มอส ซึ่งใช้มาตั้งแต่ในวิชาลูกเสือ
เดิมเป็นอักษรโรมัน A B C D เราก็เอามาแปลงเป็น ก ข ค ง เช่น -.- ก ไก่ .-. ร เรือ เป็นต้น
เรียกว่า เลขสัญญาณ




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2554 13:07:25 น.
Counter : 1178 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๖๖)

อะไรก็ได้ (๖๖)

ภาพสารบัญ จากนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับเดียวกับเมื่อวานนี้ครับ






เรื่องในคอลัมน์ อะไรก็ได้ ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ในหน้า ๑๑๔

คือเรื่อง หูยังดี



ตอนจบ




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2554 12:53:15 น.
Counter : 1546 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๖๕)

อะไรก็ได้ (๖๕)

จากนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับครบรอบปีที่ ๕๖ พฤษภาคม ๒๕๒๓





มีเรื่องในคอลัมน์ อะไรก็ได้ ที่น่าสนใจ

คือเรื่อง

ข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น




ท่อนจบ




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2554 12:45:47 น.
Counter : 592 Pageviews.  

อะไรก็ได้ (๖๔) นิทานธรรมะ (๒)

อะไรก็ได้ ๖๔)

นิทานธรรมะ

นิทานเรื่องที่ ๒ ของท่านอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก แห่งวัดสุนันทวราราม บ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ชื่อ ดูลิงป่าเล่นกัน

ดูลิง





ดูไปเรื่อย





ดูจนมันสงบเอง






 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2554 10:14:53 น.
Counter : 1066 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.