Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

จริยธรรมเกี่ยวกับ ... การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ...




คำนำ: จริยธรรมเกี่ยวกับ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ศ. นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา



ในระยะสองสามปีที่ผ่านมาได้มีการกล่าวถึงการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรค ต่างๆมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์และผู้สื่อข่าวจำนวนมากมีความห่วงใยว่า การใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคต่างๆนั้นจะกลาย เป็นธุรกิจที่ผิดจริยธรรม ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทยได้มีหนังสือถึงแพทยสภาท้วงติงในเรื่อง นี้ แพทยสภาได้มีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งขึ้นมาพิจารณาแนวทางในการควบคุม ด้านจริยธรรมในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาในด้านนี้ แพทยสภาต้องการเห็นการวิจัยที่ทำถูกต้อง ทั้งทางวิทยาศาสตร์และจริยธรรม

ในปัจจุบัน มีการยอมรับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดรักษาโรคทางโลหิตวิทยา เท่านั้น

การใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคของอวัยวะอื่นยังอยู่ในขั้นการทดลองและวิจัย เท่านั้น แม้ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะนำเอาเซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคได้ หลายชนิด

ได้มีการเสนอให้มีการตั้งคณะ กรรมการ Scientific และ Ethical Committee กลางซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายฝ่ายมาร่วมกันพิจารณา ผู้ที่จะทำการวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดจะ ต้องผ่านคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันของตนก่อนแล้วจึงมาผ่านหน่วยกลางก่อนทำ การวิจัย เพื่อให้การวิจัยนั้นเชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และให้ความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อผู้ป่วยโดยไม่มีอคติในทางใดทางหนึ่ง

แพทยสภาจะแถลงข้อเท็จจริงและ ข้อมูลเกี่ยว กับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดให้ประชาชนและแพทย์ทราบ เมื่อมีคณะกรรมการจริยธรรมกลางแล้วแพทยสภาจะออกข้อบังคับเพื่อควบคุมการ วิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อไป

๑๒ กันยายน ๒๕๕๐

----------------------------------------------------------------------------------------------------------



๑. เซลล์ต้นกำเนิดบำบัด


ศ. นพ.สุรพล อิสรไกรศีล*

*สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล




เซลล์ต้นกำเนิดหรือ stem cell มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถแบ่งตัวได้เซลล์ใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนเดิม และสามารถเจริญเป็นเซลล์ชนิดต่างๆได้หลายชนิด

เซลล์ต้นกำเนิดจำแนกออกเป็น

เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน หรือ embryonic stem cell (ES cell) และ

เซลล์ต้นกำเนิดผู้ใหญ่ (adult stem cell) เซลล์ต้นกำเนิดทั้งสองชนิดสามารถเจริญเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อได้หลากหลาย ชนิด

เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนหรือ ES cell สามารถเจริญเป็นเซลล์ได้ทุกชนิด เรียกคุณสมบัติดังกล่าวว่า pluripotency

เซลล์ต้นกำเนิดผู้ใหญ่เจริญเป็นเซลล์ได้หลายชนิดแต่ไม่ทุกชนิด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า multipotency


การที่สามารถเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดของคนได้เป็นครั้งแรกโดยนักวิทยา ศาสตร์อเมริกันเมื่อ พ.ศ. 2541 ทำให้เกิดความหวังที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความเสื่อม ความชราภาพ และโรคที่เกิดจากภยันตรายต่างๆ

ศักยภาพดังกล่าวของเซลล์ต้นกำเนิดทำให้นักวิทยาศาสตร์และแพทย์สนใจที่จะทำ วิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตามการทำวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมีปัญหาจริยธรรมว่า ชีวิตเริ่มต้นเมื่อใด การนำเซลล์จากตัวอ่อนระยะ blastocyst มาเพาะเลี้ยงจะเป็นการทำลายชีวิตหรือไม่ หากเป็น ก็ผิดจริยธรรม จากข้อจำกัดดังกล่าวแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จึงหันมาสนใจเซลล์ต้นกำเนิด ผู้ใหญ่กันมากขึ้น

ทั้งนี้โลหิตแพทย์ได้ใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากไขกระดูก เลือด และเลือดสายสะดือ ในการรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคโลหิตวิทยา ได้แก่
โลหิตจางอะพลาสติก ธาลัสซีเมีย ลิวคีเมียเฉียบพลัน ลิวคีเมียเรื้อรัง ลิมโฟม่า มัลติเพิล มัยอิโลมา โรคภาวะพร่องภูมิคุ้มกัน ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีการรักษามาตรฐาน



เซลล์ต้นกำเนิดบำบัดเป็นการรักษาวิธีมาตรฐานในโรคใดบ้าง

มีการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อรักษาโรคโลหิตวิทยาดังกล่าวข้างต้น

โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากผู้ให้ที่เป็นพี่น้องที่มี HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วย หรือใช้ผู้ให้ที่เป็นบุคคลอื่นที่มี HLA เข้ากันได้ หรือใช้ เลือดสายสะดือ ที่เก็บจากธนาคารเลือดสายสะดือ

ต่อมามีการใช้เซลล์ต้นกำเนิดใน เลือด โดยการกระตุ้นด้วย G-CSF ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกเคลื่อนย้ายมาอยู่ในเลือด แล้วจึงเก็บจากเลือด การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก เลือด และเลือดสายสะดือ เป็นวิธีการรักษามาตรฐานสำหรับโรคต่างๆที่กล่าวมาแล้ว

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก ต้องเจาะไขกระดูกผู้ให้ ต้องดมยาสลบผู้ให้ และใช้เวลาเจาะนาน 1-2 ชั่วโมง

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจาก เลือด ง่ายถ้าไม่ต้องเจาะไขกระดูก และการฟื้นตัวของไขกระดูกในผู้ป่วยเร็วกว่า แต่มีอุบัติการของภาวะ chronic GvHD สูงกว่า

การปลูกถ่าย เลือด สายสะดือ มีข้อจำกัดเพราะมีเซลล์ต้นกำเนิดจำนวนไม่มาก และการฟื้นตัวของไขกระดูก โดยเฉพาะเกล็ดเลือดช้ากว่า



เซลล์ต้นกำเนิดบำบัดใช้รักษาโรคอื่นๆนอกจากโรคโลหิตวิทยาได้ผลหรือไม่

มีการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด หรือไขกระดูก หรือเลือดสายสะดือ มาใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด โรคกระดูก โรคระบบประสาท และโรคเบาหวาน แผลที่เกิดในผู้ป่วยเบาหวาน

ส่วนใหญ่เป็นรายงานเบื้องต้น มี clinical trial เพียง 9 การศึกษาที่ทำในโรคหัวใจขาดเลือด โดยการเปรียบเทียบกับกลุ่ม control พบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล ในกลุ่มที่ได้ผลมักได้ผลไม่มากและได้ผลชั่วคราว สำหรับในโรคอื่นยังไม่มีข้อมูลของ clinical trial

เซลล์ต้นกำเนิดบำบัดในการรักษาโรคอื่นๆ นอกจากโรคโลหิตวิทยายังอยู่ในระหว่าง การศึกษาวิจัย หากจะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยควรเป็น randomized control trial ซึ่งจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการวิจัยในคนก่อน



ควรเก็บเซลล์ต้นกำเนิดไว้ในธนาคารเพื่อใช้ในอนาคตหรือไม่

ขณะนี้มีการรณรงค์เพื่อเก็บเซลล์ต้นกำเนิดของตนเองไว้ใช้ในอนาคตหากเจ็บป่วย และจำเป็นต้องใช้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด อาจเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเลือดสายสะดือขณะแรกคลอด หรือเก็บเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกหรือเลือด โดยสามารถเก็บไว้ได้นาน 20 ปี

ในปัจจุบันเซลล์ต้นกำเนิดบำบัดเป็นวิธีการรักษามาตรฐานเฉพาะโรคโลหิตวิทยา เท่านั้น

ถามว่าจะใช้เซลล์ต้นกำเนิดบำบัดของตัวเองเพื่อรักษาโรคโลหิตวิทยาได้หรือ ไม่

คำตอบคือได้ แต่มีโรคเพียงไม่กี่โรคเท่านั้นที่เหมาะสมที่จะรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตนเอง

ถ้าเป็นโรคธาลัสซีเมียก็ไม่สามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตนเองได้ หากเป็นลิวคีเมียก็ไม่ควรใช้เซลล์ต้นกำเนิดของตนเองเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะจะมีอัตราการเป็นโรคกลับสูง

การเก็บเลือดสายสะดือเพื่อไว้ใช้สำหรับตัวเองเรียก Private cord blood bank พบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาจากจำนวนเลือดสายสะดือที่เก็บ 250,000 ตัวอย่าง ใช้ไปเพียง 14 ตัวอย่างเท่านั้น โดยที่ไม่ได้ใช้กับตัวเจ้าของเลือดสายสะดือเลย หากแต่ใช้กับพี่หรือน้องที่เจ็บป่วยด้วยโรคโลหิตวิทยาและจำเป็นต้องปลูกถ่าย เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการเก็บที่เก็บไว้ใช้กับเจ้าของเลือดสายสะดือเท่านั้น

*สำหรับการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูกก็เช่นเดียวกัน มีโอกาสที่จะนำมาใช้ไม่มาก



เซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บไว้จะใช้ในโรคอื่นได้หรือไม่

ดังที่กล่าวแล้ว ข้างต้น ในปัจจุบันเซลล์ต้นกำเนิดบำบัดยังไม่ใช่การรักษามาตรฐานสำหรับโรคอื่นๆ นอกจากโรคโลหิตวิทยา และหากจำเป็นต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิด เซลล์ต้นกำเนิดก็มีอยู่แล้วในตัวผู้ป่วยทั้งในไขกระดูกและในเลือด ซึ่งสามารถเจาะไขกระดูกหรือเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดมาใช้ได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดสายสะดือที่ผู้เก็บรับรองว่าจะเก็บไว้ได้นานอย่าง น้อย 20 ปี

หากเซลล์ต้นกำเนิดบำบัดจะใช้ได้ผลจริงในโรคที่ไม่ใช่โรคโลหิตวิทยาในอนาคต โรคที่เกิดจากความเสื่อมมักพบในคนสูงอายุ ดังนั้นเจ้าของเลือดสายสะดือยังอายุไม่มากพอที่จะเกิดโรคดังกล่าว



----------------------------------------------------------------------------------------------------------



๒. การดำเนินงานเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด


โดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา



เนื่องในปัจจุบันความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีความพยา ยามที่จะสร้างและพัฒนาวิธีการในการรักษาโรคแบบใหม่ เพื่อทำการแก้ไขรักษาความผิดปกติของโรคโดยตรงที่สาเหตุ จึงทำให้มีการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีของเซลล์ต้นกำเนิดอย่างมากในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา

ทั้งนี้เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเซลล์ตั้งต้นของชีวิต ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด โดยที่ยังคงรักษาคุณสมบัติเป็นเซลล์ต้นกำเนิดไว้ได้ และในสภาวะที่เหมาะสมก็สามารถเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อจำเพาะทุก ชนิดของร่างกายได้ และจากคุณสมบัตินี้เองจึงทำให้มีนักวิจัยและแพทย์หลายกลุ่มพยายามศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางในการรักษาโรคแบบเซลล์และเนื้อเยื่อบำบัด

จากวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่มุ่งหมายเพื่อใช้ในการบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงอยู่ในขอบข่ายคำนิยามของยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา

ดังนั้นการวิจัย ผลิต นำเข้า การเก็บรักษา การโฆษณา การขาย ผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิด จึงอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือ สหภาพยุโรป เป็นต้น ที่มีแนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดตามกฎหมายว่าด้วยยา เช่นเดียวกัน

แต่เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดเป็นสิ่งที่ใหม่ทั้งในด้าน วิทยาศาสตร์ องค์ความรู้และข้อมูลสนับสนุน จึงอาจทำให้การกำกับดูแลมีความแตกต่างจากยาทั่วๆ ไปที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าอาจเทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์ยาประเภทยาชีววัตถุก็ตาม

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงต้องกำหนดกฎระเบียบและหลักเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดที่เป็นยา เพื่อให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ว่ามี คุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย อีกทั้งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิด อาทิเช่น การผลิต การเก็บรักษาเป็นต้นนั้น ก็ต้องมีมาตรฐาน อาทิเช่น Good Manufacturing Practice, Good Distribution Practice, Good Tissue Practice, Good Laboratory Practice หรือ Good Storage Practice เป็นต้น อีกด้วย

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นและแนวโน้มการพัฒนาดังกล่าว จึงได้จัดทำระบบกำกับดูแลผลิตภัณฑ์จากเซลล์ต้นกำเนิดและผลิตภัณฑ์จากเนื้อเยื่อ เพื่อรองรับการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดที่อาจจะมีการผลิตหรือนำ เข้าในอนาคตอันใกล้นี้

รวมถึงยังมีโครงการร่วมกับแพทยสภาและกองการประกอบโรคศิลปะเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนเพื่อมิให้เป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านการรับบริการและข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นธรรมอีกด้วย


----------------------------------------------------------------------------------------------------------



๓. ประเด็นทางจริยธรรมการวิจัย ในการนําเซลล์ต้นกําเนิด มาใช้ในการบำบัดรักษา


ศ. นพ. ทวิป กิตยาภรณ์*

*ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล



การนําเซลล์ต้นกําเนิด (stem cell) มาใชในการรักษาโรค เป็นวิทยาการใหมและเป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่การรักษาใน ปัจจุบันยังไม่ได้ผลดีและยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ทำให้มีประเด็นบางอย่างเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่ต้องทําความกระจ่าง ชัดให้เกิดขึ้น กล่าวคือ

๑. การนําเซลล์ต้นกําเนิดมาใช้ในการรักษาโรคบางชนิดเป็นการรักษาตามมาตรฐานหรือเป็นเพียงขั้นตอนของการวิจัย

ความสําคัญของประเด็นนี้คือ หากจะถือว่าการใชเซลล์ต้นกําเนิดเป็นการรักษาตามมาตรฐานสากลได้ จะต้องมีการพิสูจน์ได้ว่าเซลล์ต้นกําเนิดมีสรรพคุณ (efficacy) และอาจรวมถึงประสิทธิผล (effectiveness) ในการรักษาจริงและมีความปลอดภัยต่อผู้รับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว

ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการวิจัยตามขั้นตอนต่างๆ และเป็นที่ยอมรับขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ/หรือ ราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ มาก่อน

รวมทั้งต้องผ่านขั้นตอนการผลิตตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) การดําเนินการในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลอง (pre-clinical phase) ภายใตหลักการของการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการที่ดี (Good Laboratory Practice, GLP)

จากนั้นจึงจะทําการทดสอบในมนุษยภายใตมาตรฐานการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice, GCP) ซึ่งมีทั้งสิ้น ๓ ขั้นตอน จนถึงการทดสอบทางคลินิกระยะที่ ๓ (phase III หรือ efficacy trial) จึงจะตอบคําถามของสรรพคุณและความปลอดภัยของการรักษาของผลิตภัณฑ์ที่นํา มาทดสอบได แต่จากการติดตามการใช้เซลล์ต้นกําเนิดที่มีการกล่าวกันในปัจจุบันว่าใช้ใน " การรักษาโรค" นอกเหนือไปจากโรคทางโลหิตวิทยาบางประเภทนั้น

ผู้ที่ทำงานทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและงานวิจัยทางคลินิกหลายท่านเห็น ตรงกันว่าน่าจะยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยในคนขั้นต้น (ระยะที่ ๑ และ ๒) เท่านั้น ซึ่งมีเพียงวัตถุประสงคหลักที่จะตอบคําถามวิจัยไดแต่เพียงว่ามีความ ปลอดภัยต่อผู้ที่ได้รับเซลล์ต้นกําเนิดเพื่อการรักษาโรคมากน้อยเพียงใด รวมถึง dosing, scheduling และ potential efficacy เท่านั้น

๒. ค่าใชจ่ายในกระบวนการรักษาโรคด้วยเซลล์ต้นกําเนิด

เนื่องจากกระบวนการใช้เซลล์ต้นกําเนิดยังอยูในระยะการวิจัยทางคลินิกระยะ ที่ ๑ – ๒ ซึ่งมีวัตถุประสงคหลักที่จะตอบคําถามวิจัยว่ามีความปลอดภัยต่อผู้ที่ได้รับ เซลล์ต้นกําเนิดเพื่อการรักษาโรคมากน้อยเพียงใด ฯลฯ ในขั้นตอนดังกล่าว ค่าใช้จ่ายสําหรับการนี้จึงควรเป็นภาระที่ผู้ใหทุนจะต้องรับผิดชอบ อีกทั้งต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัย หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงคอันเกี่ยวข้องโดยตรงจากการวิจัยด้วย

๓. ประเด็นอื่นๆ

เนื่องจากผู้ป่วยที่ร่วมในโครงการทดสอบการใชเซลล์ต้นกําเนิดมักเป็นผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง และยังไม่มีวิธีการรักษาใหหายขาด

ดังนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยในโครงการวิจัยเซลล์ต้นกําเนิดจึงจัดเป็นผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเปราะบาง (vulnerable subject) ที่สมควรได้รับการคุ้มครองดูแลเป็นพิเศษ ควรระวังมิให้เกิดการโน้มน้าว หรือข่มขู่เชิงบังคับ (inducement/coercion) ให้ผู้ป่วยเหล่านี้เข้าร่วมการวิจัย ขั้นตอนการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัยซึ่งเป็นหัวใจสําคัญ

ด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัยจะต้องได้รับข้อมูลที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับ ประเด็นต่างๆ ของการวิจัย และควรมีการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในเนื้อหาของข้อมูล ที่ได้รับก่อนตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยที่เป็นโดยใจสมัคร (voluntary decision) ก่อนการรับเข้าโครงการ (recruitment) ฯลฯ

ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงขออนุญาตเสนอข้อคิดเห็นแก่แพทย์ทั่วไปเพื่อทราบ อันจะเป็นผลให้การวิจัยในคนโดยการใช้เซลล์ต้นกําเนิด ในวงการแพทย์ไทยเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตรและหลักจริยธรรมการ วิจัยในคน และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง (valid) ใช้ได้เป็นไปตามหลักสากล รวมทั้งเพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพของผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมการ วิจัยต่อไป


เครดิต Ittaporn-stem cell-fact sheet sep2007

............................................................

แพทยสภาเตือน ประชาชนให้ระวังการแอบอ้างของคลินิกและแพทย์ในการใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคที่ยังไม่เป็นมาตรฐาน

****************************

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 15.00 น.ภายหลังจากการประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการและจริยธรรมการใช้เซลล์ต้นกำเนิดและการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ
์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่แพทยสภาได้เคยประกาศว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ นั้นในขณะนี้ต้องมีการควบคุม เพราะยังไม่เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน นอกจากโรคที่เกี่ยวกับระบบโลหิตวิทยาที่แพทยสภาได้รับรองไว้แล้ว ส่วนเรื่องอื่น ๆ จัดเป็นโครงการวิจัยที่ต้องผ่านแพทยสภาและไม่สามารถเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วยได้

ปัจจุบันมีแพทย์และคลินิกหลายแห่งได้อ้างว่าใช้สเต็มเซลล์รักษาผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ เช่น โรคอัมพาต โรคไขสันหลังบาดเจ็บ โรคเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง ไปจนถึงการชะลอความแก่และความงาม โดยมีการโฆษณาอย่างแพร่หลายในสื่อต่าง ๆ และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจำนวนมากจากผู้ป่วย

แพทยสภาขอยืนยันว่าโรคเหล่า
นี้ยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ผู้ใดพบแพทย์หรือคลินิกใดที่อวดอ้างหรือพบผู้ป่วยรายได้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สเต็มเซลล์ที่แอบอ้าง ขอให้แจ้งที่แพทยสภา โทร. 02-590-1881 หรือที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 02 -193-7999 เพื่อแพทยสภาจะได้ดำเนินคดีทางด้านจริยธรรมต่อไป

แพทยสภาเห็นว่าควรมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์ ปัจจุบันแพทยสภากำลังศึกษาเพื่อให้พระราชบัญญัติรัดกุมและไม่ขัดขวางการปฏิบัติงานของแพทย์ในปัจจุบัน รวมทั้งสนับสนุนการก้าวหน้าของการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและปกป้องประชาชนเพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด


https://www.facebook.com/themedicalcouncil/photos/a.217237308403332.49467.217001611760235/763276087132782/?type=3

............................................

อย. ประกาศคุมผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์เป็นยาผลิตต้องขออนุญาต

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2009&group=4&gblog=74
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2009&group=4&gblog=74


ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18



ปล. เป็นข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ผ่านมา ๘ ปีแล้ว แต่เท่าที่ทราบ ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง


Create Date : 08 มิถุนายน 2552
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2562 14:23:37 น. 9 comments
Counter : 1301 Pageviews.  

 

//www.komchadluek.net/detail/20090828/26150/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%81...%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%92%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81.html

วันที่ 28 สิงหาคม 2552


คมชัดลึก > ศาสนา ศิลปะ-วัฒนธรรม สาธารณสุข > ข่าวทั่วไป

มัดมือชก...หมอจบใหม่ฉีดสเต็มเซลล์เฒ่าทารก


คมชัดลึก : ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะอยากผิวพรรณเต่งตึงและมีชีวิตอมตะ กระทั่งหลงเชื่อคำโฆษณาทุกอย่าง ยินดีควักเงินล้านจากกระเป๋าได้อย่างง่ายดาย เพียงให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการข้างต้น...

ช่วงเดือนมีนาคม 2552 "คม ชัด ลึก" ตีแผ่ขบวนการหลอกขายสเต็มเซลล์ในประเทศไทย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ประกาศขายในเว็บไซต์กว่า 8,000 แห่ง และกลุ่มคลินิกเสริมความงามที่รับฉีดสเต็มเซลล์คอร์ส ละ แสนบาทขึ้นไปจนถึงหลายล้านบาท โดยอวดอ้างสรรพคุณเหมือนกันว่า ฉีดแล้วจะเต่งตึงมีผิวเด็กตลอดกาล

กระทั่งวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศคุมเข้มให้สเต็มเซลล์ขึ้นเป็นตำรับ "ยา" ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าจากต่างประเทศมาฉีดให้คนไข้ต้องขออนุญาต หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

แต่ดูเหมือนข้อบังคับของ อย. จะไม่ได้ช่วยผู้บริโภค หรือผู้ป่วยที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋นกลุ่มนี้ มีจำนวนลดน้อยลงแต่อย่างใด โดยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยจัดแถลงข่าว "Stem cell กับความงาม" เพื่อชี้ให้เห็นอันตรายของการฉีดสเต็มเซลล์จาก หมอเถื่อนและหมอแท้ตามคลินิก

โดย รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังฯ รู้สึกเป็นกังกลอย่างยิ่ง เพราะมีคนไข้มากมายสอบถามข้อมูลการฉีดสเต็มเซลล์รักษาโรคและเพื่อรักษาความงาม แม้จะพยายามอธิบายหลายครั้งว่า วงการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอนุญาตให้ใช้สเต็มเซลล์รักษาได้โรคเดียว คือ โรคทางโลหิตวิทยา เช่น โลหิตจาง มะเร็งในเม็ดเลือด ธาลัสซีเมีย ส่วนโรคอื่นยังห้ามอย่างเด็ดขาด

สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลง เพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สกัดเซลล์ต้นกำเนิดได้ 2 วิธี คือ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem cell) กับสเต็มเซลล์จากร่างกาย หรือที่เรียกว่าสเต็มเซลล์เต็ม วัย (Adult Stem cell) เช่น รก สายสะดือ เนื้อเยื่อ ไขกระดูก ไขมัน เลือด ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย

โดยวงการแพทย์พบสเต็มเซลล์จากเลือดจนพัฒนาเพื่อรักษาโรคเลือดมานานกว่า 20 ปีแล้ว ขณะที่สเต็มเซลล์จากอวัยวะอื่นๆ รวมถึงสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ เพิ่งค้นพบไม่กี่ปีมานี้จึงอยู่ระหว่างการวิจัย

รศ.นพ.นภดล บอกว่า ขณะนี้คนไข้ที่ถูกหลอกให้ฉีดสเต็มเซลล์มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการรักษาโรคร้ายบางชนิด เช่น มะเร็ง เบาหวาน หัวใจ ตับ ไต ฯ
ลฯ และกลุ่มคลินิกเสริมความงาม ที่อ้างว่าฉีดสเต็มเซลล์แล้วผิวพรรณจะเปล่งปลั่งแลดูอายุลดน้อยลง

...........
ข้อเท็จจริงคือปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่ยอมรับ และไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าสเต็มเซลล์สามารถชะลอความแก่ หรือรักษาโรคอื่นได้นอกจากโรคเกี่ยวกับเลือด อยากให้ผู้ป่วยที่ถูกหลอกให้ฉีดสเต็มเซลล์คอร์สละหลายล้านบาท มาช่วยกันฟ้องร้องเอาผิดแพทย์และสถานประกอบการที่ทำผิดกฎหมายเหล่านี้

"น่าสงสารหมอเด็กที่จบมาใหม่ ส่วนใหญ่สมัครเข้าทำงานกับคลินิกโรคผิวหนัง ที่มีแฟรนไชส์ทั่วประเทศ เมื่อแพทย์ผู้บริหารสั่งให้ฉีดยา ฉีดสาร หรือทำเลเซอร์อะไรให้คนไข้ก็จะทำตาม ไม่กล้าขัดขืน บางแห่งสั่งซื้อเครื่องเลเซอร์แบบใหม่มาฝึกหมอไม่กี่วัน ก็ให้ทดลองทำกับหน้าคนไข้ หรือหมอเด็กบางคนฝึกฉีดสารโบท็อกซ์เพียง 3 ชั่วโมงก็ฉีดให้คนไข้ได้เลย เมื่อเจอคนไข้ฟ้องร้องแพทย์เจ้าของแฟรนไชส์และคลินิกจะไม่โดนข้อหาอะไร แต่เป็นหมอเด็กที่ต้องรับกรรม โดนปรับและยกเลิกใบประกอบโรคศิลปะ"

ด้าน ดร.นพ.เวสารัช เวสสโกวิท หัวหน้ากลุ่มงานพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สเต็มเซลล์เป็นเซลล์มีชีวิตสามารถแบ่งตัวได้เรื่อยๆ ไม่มีขีดจำกัด สกัดได้จากคนและสัตว์หลายชนิด เช่น แกะ วัว หนู ฯลฯ

ตามข้อเท็จจริงแล้วสเต็มเซลล์เป็น สิ่งมีชีวิตที่ตายง่ายมาก การเก็บรักษาทำได้ยาก มีเงื่อนไขหลายข้อและเสียค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่

1.ต้องอยู่ในที่ปลอดเชื้อตลอดเวลา

2.ต้องได้รับน้ำเลี้ยงเชื้อและมีการเปลี่ยนสม่ำเสมอภายใน 2-3 วัน

3.ต้องเก็บในบรรยากาศที่มีความชื้นและคาร์บอนไดออกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์

4.อยู่ในอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียสเท่าร่างกายมนุษย์


"จากเงื่อนไขทั้งหมดหากใครเห็นสเต็มเซลล์อยู่ในกล่องแล้วเอามาใส่หลอดฉีด ให้รู้เลยว่าถูกหลอก อาจเป็นสเต็มเซลล์ที่เชื้อตายแล้ว หรือเป็นสารอะไรก็ไม่รู้ และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะผสมสเต็มเซลล์ลงในเครื่องสำอาง เพราะบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดไม่สามารถรักษาชีวิตสเต็มเซลล์ได้

การอ้างว่าสั่งซื้อสเต็มเซลล์จากต่างประเทศก็เป็นการหลอกลวง เพราะสเต็มเซลล์ต่อให้อ้างว่าเก็บอย่างดี หรือแช่แข็งส่งมาจากต่างประเทศ ก็แทบจะกลายเป็นเซลล์ตายเกือบหมด

คนไข้ส่วนใหญ่ถูกหลอกว่าฉีดสเต็มเซลล์รก แกะหรือรกเด็ก ทำให้เสียเงินแพงๆ เป็นการฉีดน้ำเปล่าหรือสารอะไรก็ไม่รู้เข้าร่างกาย คนที่รู้สึกว่าผิวพรรณเต่งตึงขึ้นก็อาจเป็นเพราะได้รับสารกระตุ้นอื่น แต่ไม่ใช่สเต็มเซลล์ที่มีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน"


ส่วนคนไข้บางรายที่ยอมเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านบาท แลกกับสเต็มเซลล์ของ จริงที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น

.................ดร.นพ.เวสารัช ยืนยันว่า ถึงจะฉีดเข้าไปก็ไม่มีข้อมูลทางวิชาการแพทย์ชี้ว่า ช่วยชะลออายุหรือช่วยด้านความงามได้ ยังไม่มีงานวิจัยยอมรับว่าสเต็มเซลล์ใช้ได้ผลด้านศัลยกรรม

............... แต่มีงานวิจัยยืนยันอันตรายจากการฉีดสเต็มเซลล์ของ แกะหรือสัตว์อื่นเข้าไปในร่างกายมนุษย์ เนื่องจากทำให้เกิดปฏิกิริยาปฏิเสธเนื้อเยื่อ (Graft rejection) อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อคนก็อาจกลายเป็นเซลล์ที่เจริญเติบโตแบ่งตัวไม่หยุดยั้ง กลายเป็นเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ ได้เช่นกัน



ปัจจุบันได้รับรายงานว่า มีแพทย์บางกลุ่มที่หลอกฉีดสเต็มเซลล์ผิดกฎหมายให้คนไข้ โดยหลบเลี่ยงว่าเป็นโครงการวิจัยแทน วางแผนให้คนไข้เข้าร่วมโครงการทดลองวิจัยสเต็มเซลล์ของ โรงพยาบาลหรือสถาบันต่างๆ

............... เรื่องนี้ ดร.นพ.เวสารัช เน้นว่าหากเป็นคนไข้ในโครงการวิจัยจริง ต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

................... ที่สำคัญต้องตรวจสอบว่าโครงการนั้น ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิจัยและจริยธรรม และผู้ป่วยต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เป็นส่วนหนึ่งของการทดลองสเต็มเซลล์ในมนุษย์ ใครที่รู้ตัวว่าถูกหลอกสามารถเก็บหลักฐานร้องเรียนได้ที่ อย.และแพทยสภา



ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย. เตือนว่าสินค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริม เครื่องสำอาง หรือยา ที่อ้างว่ามีส่วนผสมของสเต็มเซลล์ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะ อย.ยังไม่เคยอนุญาตให้ใช้หรือฉีดสเต็มเซลล์ใน ประเทศไทย นอกจากเป็นยารักษาด้านโลหิตวิทยาเท่านั้น

............ ส่วนเครื่องสำอางราคาแพงจากต่างประเทศ ที่โฆษณาว่าทำมาจากรกแกะก็เป็นเพียงสารประกอบจากรกแกะเท่านั้น ไม่ได้เป็นสเต็มเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ใครถูกหลอกสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ที่สายด่วน อย.1556




โดย: หมอหมู วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:19:30:10 น.  

 

สเต็มเซลล์กับความงาม

ดร.นพ. เวสารัช เวสสโกวิท
หัวหน้ากลุ่มงานพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล
สถาบันโรคผิวหนัง



ความหมายของสเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้เรื่อยๆ โดยไม่มีขีดจำกัด และสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ได้หลากหลาย

ที่มาของสเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ มีสองประเภท คือ ที่มาจากตัวอ่อน (embryo) หรือมาจากสิ่งมีชีวิตหลังคลอด

สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน ได้มาจากการดึงเอาเซลล์ออกมาจากตัวอ่อนที่มีอายุเพียงไม่กี่วัน ดังนั้น การนำเอาสเต็มเซลล์ออกมาจากตัวอ่อนจะต้องมีการทำลายชีวิตของตัวอ่อนดังกล่าว ในมนุษย์ ตัวอ่อนมักถูกสร้างจากไข่และสเปิร์มของผู้ที่มีบุตรยาก เมื่อฝังตัวอ่อนในมารดาจนได้บุตรเพียงพอแล้ว มักจะต้องทำลายตัวอ่อนที่เหลืออยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการสร้างตัวอ่อนขึ้นมาเพื่อทำลายโดยตรง

สเต็มเซลล์ที่มาจากสิ่งมีชีวิตหลังคลอด ได้มาตั้งแต่ทารกเพิ่งคลอด หรือเมื่อคนๆ นั้นเติบโตขึ้น หากเอาจากทารกหลังคลอด ส่วนใหญ่จะเป็นการเอาเซลล์มาจากรก โดยอาจทำการเจาะหลอดเลือดดำในสายสะดือ แล้วนาเซลล์ต้นกำเนิดมาเก็บไว้ หรือได้จากวุ้นที่อยู่ภายในสายสะดือ ที่เรียกว่าวาร์ตัน เจลลี่ (Wharton jelly)

ส่วนสเต็มเซลล์ที่ได้จากผู้ใหญ่ แต่เดิมจะเก็บจากการเจาะไขกระดูก แต่ในปัจจุบันเราทราบว่าเซลล์ต้นกำเนิดมีในหลายๆ อวัยวะ ดังนั้น สามารถจะเก็บเซลล์ต้นกำเนิดได้ตามอวัยวะต่างๆ เช่น เก็บจากผิวหนัง หรือจากเลือดหลังจากฉีดยาบางอย่างเพื่อให้เซลล์เหล่านี้ออกมาจากไขกระดูก



การพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาโรค

เมื่อได้เซลล์ต้นกำเนิดมักได้ปริมาณน้อย จะต้องมาทาการเพาะเลี้ยงในจานเพาะเลี้ยงเซลล์ กระบวนการดังกล่าวมีความยุ่งยากซับซ้อน บางกรณีจะใช้น้ำเหลืองจากวัวมาผสมในน้ำเลี้ยงเซลล์ ตลอดจนอาจต้องใช้เซลล์พี่เลี้ยงที่เป็นเซลล์มาจากหนู เซลล์เหล่านี้ เลี้ยงยาก ตายง่าย ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

เมื่อได้เซลล์จำนวนมากพอ อาจนำมาใช้รักษาผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เมื่อเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดโดยใช้ยากระตุ้น มักเก็บได้เซลล์ปริมาณมากพอจนไม่จาเป็นต้องนำเซลล์มาเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณก่อนนำไปใช้

การใช้สเต็มเซลล์ในผู้ป่วย หากเป็นโรคทางโลหิตวิทยามักจะฉีดเซลล์ดังกล่าวเข้าไปทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย แต่การใช้รักษาโรคอื่นๆ มักจะให้ในวิธีการต่างๆ กัน เช่น หากใช้มารักษาแผล อาจนำเซลล์มาปิดไว้ที่ผิวหนัง หากนำมาใช้รักษาโรคตับ อาจฉีดเข้าไปที่เส้นเลือดดำใหญ่ที่ไปเลี้ยงตับ เป็นต้น

การใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาโรค ในปัจจุบัน การรักษามาตรฐานมีเพียงโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดโลหิต หรือภาวะโลหิตจากธาลัสซีเมีย


มีการศึกษาวิจัยเพื่อใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต อย่างไรก็ดี ตราบจนปัจจุบันการศึกษาวิจัยเหล่านี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าการใช้สเต็มเซลล์ก่อให้เกิดประโยชน์ ได้ผลสม่ำเสมอในผู้ป่วยทุกราย

ดังนั้น นอกจากโรคทางโลหิตวิทยา การใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษาถือเป็นการวิจัยทั้งสิ้น โดยการรักษาเหล่านี้ จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิจัยและจริยธรรมฯ ก่อน ว่ามีความเหมาะสมที่จะวิจัย ตลอดจนจะต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ป่วยเป็นรายลักษณ์อักษร แสดงความจำนงว่าจะเข้าร่วมการศึกษาวิจัย โดยทราบผลดีผลเสียที่ได้จากการวิจัย และ ผู้ป่วยจะต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว

การใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษานอกจากโรคทางโลหิตวิทยา อาจพิจารณาใช้ในกรณีที่ไม่มีหนทางอื่นแล้วที่จะใช้รักษาโรคของผู้ป่วย ตลอดจนมีหลักฐานหรือทฤษฎีว่าการใช้สเต็มเซลล์จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วย



การใช้ด้านความงาม และชะลออายุ

ไม่มีการศึกษาวิจัยที่ได้มาตรฐาน สาหรับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในด้านความงาม และชะลออายุ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้กันโดยไม่เปิดเผย ไม่มีข้อมูลที่สามารถยืนยันได้ ว่าการใช้สเต็มเซลล์ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือไม่เกิดประโยชน์ แต่โทษอาจเกิดได้ หากการเพาะเลี้ยงเซลล์ทาไม่ได้มาตรฐาน



สเต็มเซลล์ของคนและสัตว์เหมือนกันไหม ใช้ของแกะหรือหมูมาใช้กับคนได้หรือไม่

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีกระบวนการปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อ โดยมองว่าเซลล์จากสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ตนเองเป็นของแปลกปลอม ดังนั้น หากนำเอาสเต็มเซลล์จากสัตว์มาใช้ในคน น่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาปฏิเสธเนื้อเยื่อ (Graft rejection) ในลักษณะคล้ายคลึงกับการปฏิเสธไตที่พบในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ซึ่งอาจทาให้เกิดอันตรายอย่างมากได้

อย่างไรก็ดี การเอาสเต็มเซลล์จากสัตว์มาฉีดในคน อาจเป็นการฉีดเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งอาจไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสเต็มเซลล์




สเต็มเซลล์ และเซลล์ เธเรอปี เหมือนกันไหม

การใช้เซลล์ เธเรอปี (cell therapy) หมายถึงการนำเซลล์ไปใช้รักษาโรค ซึ่งอาจเป็นสเต็มเซลล์หรือเซลล์อื่นๆ ก็ได้ โดยทั่วๆ ไปจะใช้คำนี้เมื่อเซลล์ดังกล่าวไม่ใช่สเต็มเซลล์

การรักษามาตรฐานของเซลล์ เธเรอปี คือการนำเอาเซลล์สร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนัง (fibroblast) ไปฉีดให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตุ่มน้ำโป่งพองกรรมพันธุ์ ชนิด Hallopeau-Siemens เท่านั้น

การใช้เซลล์ดังกล่าวเพื่อรักษารอยเหี่ยวย่น เคยมีการวิจัยเดียวที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เชื่อถือได้ ว่าการรักษาดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วย ทั้งนี้อาจเป็นปัญหาทางเทคนิคของผู้วิจัย

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการรักษาดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านความสวยงามแก่ผู้ป่วย แต่โอกาสเกิดโทษมีได้มาก เนื่องจากกระบวนการผลิตเซลล์มักไม่ได้มาตรฐาน GMP (good manufacturing practice) โดยกระบวนการผลิตมักเก็บเป็นความลับ ไม่มีการตรวจสอบ และอาจใช้น้ำเหลืองจากสัตว์ ที่อาจเป็นโรควัวบ้า นอกจากนั้นยังพบอีกว่า
เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีการชราภาพค่อนข้างเร็วในหลอดทดลอง ยังไม่มีใครทราบว่าหากนำเซลล์ชราภาพมาฉีดในผู้ป่วย จะก่อให้เกิดผลเสียหรือไม่ อย่างไร


การใช้รก ทั้งรกแกะ รกคน มีประโยชน์อย่างไร และมีโทษอย่างไร

รกมีการนำมาใช้ผลิตเป็นเครื่องสำอางมาเป็นเวลานาน เนื่องจากความเชื่อที่ว่ารกมีสารต่างๆ ที่มีคุณประโยชน์ โดยไม่มีการศึกษาวิจัยชัดเจน

ปัจจุบันมีการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากรกไว้ เพื่อใช้ใน การรักษาเด็กดังกล่าว หากโตขึ้นเป็นโรคทางโลหิตวิทยา ทั้งนี้ การเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก

การเลือกใช้หน่วยงานที่เก็บเซลล์จากรกควรศึกษาให้ดีก่อน ว่าหน่วยงานดังกล่าวมีความสามารถในการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดขึ้นมาจากหลอดทดลองได้สำเร็จมากน้อยเพียงใด

ในปัจจุบันมีบริษัทบางแห่งรับเก็บรักษาสเต็มเซลล์จากรก แต่ไม่รับเพาะเลี้ยงเซลล์ เหมือนกับเอาเงินของท่านไปทิ้งเปล่า ไม่มีบริษัทไหนจะรับประกันได้ว่าเซลล์แช่แข็งยี่สิบปีจะสามารถนามาใช้ได้เหมือนเซลล์ที่เพิ่งเก็บ

หากเด็กป่วยเป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่จาเป็นต้องใช้สเต็มเซลล์จากรกมาใช้ในการรักษา น่าจะมีประโยชน์มาก


ส่วนรกแกะก็เช่นกัน มีคนนำมาทำเครื่องสำอางต่างๆ แต่ไม่สามารถนามาใช้ฉีดในมนุษย์ เนื่องจากเป็นเซลล์แปลกปลอมซึ่งจะก่อให้เกิดโทษมหันต์ ยกเว้นท่านจะถูกหลอก ฉีดเซลล์จากรกแกะที่เซลล์ตายหมดแล้ว หรือฉีดน้ำเปล่า แล้วหลอกว่าเป็นเซลล์จากรก



การใช้สารเหล่านี้ฉีดเข้าร่างกาย มีประโยชน์และโทษอย่างไร

ประโยชน์ที่ได้จากการฉีดสเต็มเซลล์ นอกจากโรคทางโลหิตวิทยา ผลดียังไม่แน่ชัด ส่วนใหญ่ผลการวิจัยมักพบว่าคนไข้บางคนอาการดีขึ้น บางคนแย่ลง บางครั้งตัวชี้วัดทางการวิจัยบอกว่าอาการดีขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนทางคลินิก

โทษมีได้หลายอย่าง อาจมีการติดเชื้อได้ หากใช้เซลล์จากผู้อื่น หรือใช้น้ำเหลืองจากวัวใน การเพาะเลี้ยง หรือมีการปนเปื้อนเชื้อระหว่างการเพาะเลี้ยง นอกจากนั้น อาจเกิดการปฏิเสธเนื้อเยื่อหากใช้เซลล์จากบุคคลอื่น

ดังนั้น การวิจัยหรือการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด มีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐาน และมีการตรวจสอบคุณภาพของผู้ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ ไม่ใช่เป็นของที่ทำกันตามคลินิกโดยไม่มีการตรวจสอบ
ในปัจจุบัน มีการใช้เลือดตัวเองมาปั่นเอาส่วนที่เป็นน้ำเหลือง แล้วฉีดเข้าใบหน้าตัวเองเพื่อลด ริ้วรอย กระตุ้นให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเอง



มีความเห็นอย่างไร และเป็นไปได้ไหมใน พลาสมามีสเต็มเซลล์หรือไม่ มี growth factor หรือไม่ การฉีดมีอันตรายหรือไม่ อย่างไร

การปั่นเลือดดังกล่าว เพื่อให้เลือดแยกส่วนเป็น 3 ส่วน คือ เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (packed red cells) ส่วนเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด (buffy coat) และส่วนที่เป็นพลาสมาหรือน้ำเหลือง ส่วนเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดมักจะเรียกอีกชื่อว่าน้ำเหลืองที่มีเกร็ดเลือดปริมาณมาก (PRP – platelet-rich plasma)

โดยทฤษฎีว่า เกร็ดเลือดเมื่อได้รับการกระตุ้น จะมีการหลั่งสารบางอย่างออกมาที่มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ต่างๆ ที่เรียกว่า growth factor พบว่าในหลอดทดลอง เมื่อเอา buffy coat มาหยอดในจานเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทาให้เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งตัวเร็วขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี การทดลองดังกล่าวพบว่าเลือดจากแต่ละคน มีคุณสมบัติต่างกัน คือจากบางคนสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ แต่จากบางคนไม่มีผลกระตุ้นเลย

นอกจากนั้น ปริมาณของ PRP ที่ใช้ก็มีผล คือทดลองใส่ปริมาณร้อยละ 5 หรือ 20 ในน้ำเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน พบว่าหากใช้ปริมาณสูงเกินไป จะยับยั้งการแบ่งเซลล์ได้

ไม่เคยมีการตีพิมพ์การใช้ PRP ในการรักษารอยเหี่ยวย่นที่ผิวหนังในวารสารที่เชื่อถือได้

การฉีด PRP เข้าไปบนใบหน้า มักใช้เข็มเล็กๆ ที่ควบคุมปริมาณการฉีดไม่ได้ ที่เรียกว่า mesotherapy ผลดีที่อาจพบในคนไข้ อาจเกิดจากการใช้เข็มเล็กๆ ไปทิ่มที่ผิวหนัง ไม่ได้เกิดจากการใช้ PRP เนื่องจากการสร้างความบาดเจ็บเล็กน้อยให้ผิวหนังสามารถกระตุ้นให้ผิวหนังมีการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเพิ่มขึ้นได้ เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์บางชนิด

ดังนั้น การฉีดดังกล่าว ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะทำให้เกิดประโยชน์หรือไม่

โทษอาจเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เนื่องจากขบวนการเตรียม จะต้องมีการเจาะเลือด และมีการปั่น ดูดเอาส่วนที่ต้องการออกมาจากหลอดทดลอง ซึ่งทั้งหมดจะต้องใช้กระบวนการปลอดเชื้อ หลอดที่ใช้ในการปั่นอาจไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะในคลินิกบางแห่งที่ซื้อหลอดราคาถูกเพื่อลดต้นทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาได้



เครื่องสำอางที่ใส่สเต็มเซลล์จากแกะ รก หรือ biosynthesis เป็นไปได้ไหมที่เซลล์ยังอยู่ และมีประโยชน์อย่างไร

เซลล์ต้นกำเนิดเลี้ยงยาก ตายง่าย จะต้องอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อตลอดเวลา ได้รับน้ำเลี้ยงเชื้อและมีการเปลี่ยนสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 วัน โดยบรรยากาศจะต้องมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 มีอุณหภูมิเท่าร่างกาย และมีความชื้นสูงตลอดเวลา

ปัจจัยเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ สรุปคือ เซลล์เหล่านี้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในเครื่องสำอาง

หากมีการใส่เซลล์เหล่านี้เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ก็จะเป็นเซลล์ที่ตายแล้วเท่านั้น จึงน่าจะเป็นคำที่ใช้ในทางการโฆษณามากกว่า

หากเซลล์ต้นกำเนิดที่มีชีวิตอยู่นำมาทำหรือปิดที่ผิวหนัง จะได้ประโยชน์เฉพาะในกรณีที่มีแผลผิวหนังลอกออกหมดเท่านั้น เนื่องจากชั้นหนังกำพร้าจะกันไม่ให้เซลล์เหล่านี้เข้าไปในผิวหนัง




การใช้สเต็มเซลล์จากไขมันตัวเองมาฉีดเข้าตัวเอง จะทำได้หรือไม่ อย่างไร

มีการนำเอาไขมันจากผู้ป่วยในบริเวณหนึ่ง มีฉีดเข้าอีกบริเวณหนึ่ง เป็นเวลานานแล้ว เช่น เอาไขมันส่วนเกินที่หน้าท้อง มาฉีดเข้าที่แก้ม เมื่อแก้มตอบลงตามอายุ

จากการศึกษาพบว่า หากเอาไขมันออกมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ทำให้เซลล์แตก เมื่อฉีดเข้าอีกบริเวณหนึ่ง ไขมันจะอยู่ได้นานเป็นปีๆ ต่างจากการบดไขมันก่อนฉีดเข้าในบริเวณที่ต้องการ

ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าการฉีดดังกล่าว จะย้ายเอาสเต็มเซลล์ไขมันจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ ในปัจจุบันการฉีดสเต็มเซลล์ไขมัน ใช้ในกรณีเดียวดังกล่าวมาแล้ว




การใช้สเต็มเซลล์รักษาผมร่วง กระตุ้นให้ผมขึ้นได้หรือไม่

ปัจจุบันเราพบว่าภาวะผมร่วงแบบกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของเซลล์รากผมที่เรียกว่า dermal papilla cells ไม่ใช่การขาดสเต็มเซลล์

ดังนั้นการฉีดสเต็มเซลล์ไม่น่าจะทำให้ผมขึ้นโดยตรง

แต่การฉีดสเต็มเซลล์ อาจมีผลอื่น เช่น กลายเป็นเซลล์พี่เลี้ยง หรือมีการหลั่งสารบางอย่างที่ช่วยให้ผมมีการเจริญมากขึ้นก็เป็นได้

ในปัจจุบันไม่มีการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เชื่อถือได้ ที่บอกได้ว่าการใช้ สเต็มเซลล์รักษาผมร่วง กระตุ้นให้ผมขึ้น






โดย: หมอหมู วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:20:08:43 น.  

 


VDO stem cell จาก สมาคมแพทย์ผิวหนังและ อย.

//www.youtube.com/watch?v=3IEaZqpM_ME&eurl=http%3A%2F%2Fsystopp lus%2Ecom%2Fdemo%2Fdst%2Findex%2Ephp&feature=player_embedded#t=280



แถมเรื่องนี้ด้วย .. ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แต่เนื้อหา ก็ยังใช้ได้อยู่ ..


“สเต็มเซลล์ไทย” วิทยาการเพื่อวันนี้ หรืออีกกี่สิบปีข้างหน้า
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 มกราคม 2549 07:08 น.

//ecurriculum.mv.ac.th/science/library_sci/nanotec/ViewNews.aspx-NewsID=9490000000657&Page=1.htm


โดย: หมอหมู วันที่: 12 กันยายน 2552 เวลา:19:44:05 น.  

 
//guru.sanook.com/pedia/topic/Stem_cells/

Stem cells

เลือดที่ได้จากสายสะดือ (umbilical cord) และรก (placenta) เด็กแรกเกิดมี stem cells ซึ่งสามารถสร้างเลือดและระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดขาวมาก (leukemia) และโรคมะเร็งได้ เลือดจากสายสะดือและรกได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยหลายร้อยคนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าเลือดที่ได้นี้เต็มไปด้วยเซลล์ที่เรียกว่า hematopoietic stem cells ซึ่งเป็นเซลล์ตั้งต้นของส่วนประกอบต่างๆในเลือด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนให้กับเกล็ดเลือด (platelets) ที่ช่วยการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล

stem cells ที่ว่านี้จากรก 1 คนมีจำนวนเซลล์มากพอที่จะสร้างเลือดและระบบภูมิคุ้มกันของเด็กที่เป็นโรค leukemia ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติ การรักษาจะทำได้โดยทำลายเซลล์เหล่านี้ด้วยเคมีบำบัด ในอดีตแพทย์จะให้การรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant) จากผู้บริจาคที่มีชีวิตซึ่งมี stem cells ที่สามารถสร้างเลือดและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้ แต่ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในระหว่างการสรรหาผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อที่เข้า กันได้กับผู้ป่วย เลือดจากสายสะดือซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้และมีแนวโน้มที่จะเข้ากันได้ ง่ายกว่าการใช้เซลล์จากไขกระดูก เนื่องจาก stem cells จากสายสะดือมีสมบัติด้านภูมิคุ้มกันแตกต่างจากเซลล์ในไขกระดูกจากผู้ใหญ่

การปลูกถ่ายเซลล์จากสายสะดือ ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มากต่อการรักษาโรค leukemia นอกจากนี้ stem cells ยังช่วยรักษาให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง (sickle cell anemia) เป็นปกติได้ และยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องอย่างรุนแรงของทารกกลับเป็นปกติได้อีก ด้วย

เลือดจากสายสะดือสามารถใช้รักษาความบกพร่องของเอ็นไซม์ เช่น Hurler's syndrome ซึ่งมีความรุนแรงถึงชีวิต stem cells ในเลือดจากสายสะดือไม่เพียงแต่ จะทำให้เกิดเซลล์เม็ดเลือดแดงและ เม็ดเลือดขาวที่ปกติแล้ว ยังสร้างเซลล์ในสมองที่เรียกว่า microglia ซึ่งสามารถให้เอ็นไซม์ตัวสำคัญที่ขาดหายไปได้

หลังจากที่ทราบข้อดีต่างๆ ของการปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือ ทำให้ศูนย์บริการด้านการแพทย์หลายแห่ง ก่อตั้งธนาคารเลือดชนิดนี้ขึ้น เพื่อให้มารดาได้บริจาคเลือดจากสายสะดือ หลังคลอดสำหรับผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์เมื่อจำเป็น

เช่นเดียวกับการค้นพบวิทยาการใหม่ๆ คือมีหลายคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมเกิดขึ้นตามมา เช่น ใครคือเจ้าของเลือดจากสายสะดือ: ควรจะเป็นพ่อ-แม่ หรือ แม่เท่านั้น หรือจะเป็นตัวเด็กทารก? และถ้าหากแม่ได้บริจาคเลือดให้กับธนาคารแล้ว ทารกเกิดเป็น leukemia ภายหลังและต้องการใช้เลือดจะทำอย่างไร

คำถามเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อมีบริษัทเอกชน เปิดให้บริการเก็บและ รักษาเลือดจากสายสะดือของทารกแรกเกิด เผื่อไว้สำหรับคนในครอบครัวในอนาคต

มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ที่บริษัทเหล่านี้พยายามขายบริการนี้อย่างมากมาย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเก็บเลือดจากสายสะดือถึง 1,500 เหรียญสหรัฐ และค่าเก็บรักษา 95 เหรียญฯ ต่อปี ในขณะที่โอกาสที่เด็กจะต้องการใช้เลือดนั้นมีเพียง 1 ใน 10,000 (จาก New York Blood Center) ถึง 1 ใน 200,000 (จาก National Institutes of Health) เท่านั้น



ความเป็นมาของ stem cells

จุดเริ่มต้นที่บอกเป็นนัยว่า เลือดจากสายสะดือ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ เกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 1972 เมื่อ Norman Ende แห่ง University of Medicine and Dentistry of New Jersey และ Milton Ende ซึ่งเป็นแพทย์ที่ Petersburg ได้รายงานการรักษาผู้ป่วย leukemia อายุ 16 ปี ด้วยการให้เลือดจากสายสะดือ หลายสัปดาห์ต่อมานักวิทยาศาสตร์พบว่า เลือดของผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ระบุได้ว่าเกิดจาก stem cells ของผู้ให้ แต่หลังจากนั้นใช้เวลาหลายปีกว่าที่แพทย์คนอื่นๆ จะทราบถึงศักยภาพของการปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือ

Hal E. Broxmeyer จาก Indiana University School of Medicine และคณะ ได้กระตุ้นความสนใจเรื่องนี้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1989โดยแสดงให้เห็นว่าเลือดจากสายสะดือคนมี stem cells มากพอๆ กับไขกระดูก และในปีเดียวกัน Eliane Gluckman แห่ง Saint-Louis Hospital กรุงปารีส และคณะ รายงานการรักษาเด็กอายุ 5 ปี ป่วยเป็นโรค Fanconi anemia ซึ่งมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีอันตรายอาจถึงชีวิต โดยใช้เลือดจากสายสะดือของทารกซึ่งเป็นน้องสาวของเขาเอง นับแต่นั้นมา ประมาณ 75% ของการปลูกถ่ายเลือด เป็นการใช้เลือดกับผู้ป่วย ที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน กับผู้ให้ซึ่งได้จาก โปรแกรมการเก็บเลือดจากสายสะดือสำหรับการใช้งาน

การปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือ มีจุดประสงค์เพื่อนำ stem cells ในนั้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีโอกาสจับคู่ (match) ได้มากกว่าเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ ยีนต่างๆ ที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า human leukocyte antigens (HLAs) จะเป็นตัวกำหนดประเภทของเนื้อเยื่อ ซึ่ง HLAs นี้พบได้ที่ผิวของทุกเซลล์ในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะรู้จักเซลล์ที่มีโปรตีน HLA ที่มีมาตั้งแต่เกิดและถือว่าเป็นปกติหรือเป็นของ "ตัวเอง" ส่วนโปรตีนอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมไม่ใช่ของ "ตัวเอง" เซลล์ที่มีโปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้ จะถูกระบบภูมิคุ้มกัน กำจัดอย่างรวดเร็ว

HLA ยีนตัวหลักๆ มีอยู่ 6 ชนิด แต่ละคนจะมีชนิดละ 2 ชุด หรือ alleles ซึ่งได้มาจากพ่อและแม่ฝ่ายละ 1 ชุด แต่ละ allele สามารถทำให้เกิดยีนที่แตกต่างกันมากกว่า 30 ชนิด

ในการปลูกถ่ายไขกระดูกแพทย์พยายามที่จะ match 6 alleles (จากทั้งหมด 12) ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่าย แต่เนื่องจาก เซลล์เลือดจากสายสะดือ มีสมบัติทางภูมิคุ้มกัน แตกต่างจากเซลล์ที่ได้จากไขกระดูก แพทย์จึงสามารถใช้เลือดที่ได้จากผู้บริจาคที่ match เพียง 5 หรือ 3 HLA alleles เท่านั้นได้

การรับไขกระดูกจากผู้อื่น ที่เข้ากันไม่ได้อาจทำให้ผู้รับเสียชีวิตได้ หรือทำให้การปลูกถ่ายล้มเหลว คือเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ที่ปลูกถ่ายเข้าไปจะถูกทำลาย โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้รับได้ การปลูกถ่ายที่ล้มเหลวนี้ จะไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะไม่ทำงาน มีผลให้ร่างกายไวต่อการติดเชื้อ หรือในทางตรงกันข้าม เซลล์ที่ปลูกถ่ายเข้าไป สามารถจู่โจมเซลล์ในร่างกายผู้รับ ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมได้ จะทำให้เกิดอาการของ การไม่ยอมรับเนื้อเยื่อ (graft-versus-host disease) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการพุพอง เป็นแผล เป็นผื่นแดง หรือเกิดการทำลายตับซึ่งนำไปสู่อาการตับล้มเหลว หรือเกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง และเสียชีวิตได้ในที่สุด

นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ความเสี่ยงของการเกิด graft-versus-host disease เกิดจากการ matching ที่ไม่ได้คำนึงถึงโปรตีน HLA หลายๆ ตัวที่ไม่เป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโปรตีนเหล่านี้จะไม่ได้ถูก matched ในการปลูกถ่าย ระหว่างพี่น้องสายเลือดเดียวกันก็ตาม แต่พอจะมั่นใจได้ว่า หนึ่งในจำนวนนี้จะมีโอกาส match กันได้ระหว่างพี่น้อง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน ทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม การจับคู่กันระหว่างพี่น้อง ยังมีโอกาสเสี่ยง ของการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อประมาณ 20%

ปี ค.ศ. Gluckman และคณะ พบว่า การปลูกถ่ายเลือด จากสายสะดือ ให้กับผู้รับที่ไม่ได้เป็นญาติกัน มีความปลอดภัยมากกว่า การปลูกถ่ายไขกระดูก จากการศึกษากับคนไข้จำนวน 143 คน ที่ได้รับการปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือ ซึ่งมีทั้งกรณี ที่ได้รับจากญาติและไม่ใช่ญาติ ถึงแม้ว่า การคัดเลือกเนื้อเยื่อจะมีทั้ง match ได้สมบูรณ์และ match ได้เพียง 1 ใน 3 ก็ตาม พบว่ามีปัญหาการไม่ยอมรับเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง เพียง 5% ในกลุ่มที่เป็นญาติกัน 20% ในกลุ่มคนไข้ที่ไม่เป็นญาติกัน มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพียง 1% ในกลุ่มที่เป็นญาติกัน และ 6% ในกลุ่มที่ไม่เป็นญาติกัน เมื่อเปรียบเทียบ กับการปลูกถ่ายไขกระดูก ที่ได้รับบริจาค(ไม่เป็นเครือญาติ)โดย match อย่างสมบูรณ์ พบว่า 47% เกิดปัญหาการไม่ยอมรับเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง และ 33% เสียชีวิต




ข้อดีของการปลูกถ่าย stem cells

การปลูกถ่ายเลือด จากสายสะดือ มีข้อดีเหนือการปลูกถ่าย ไขกระดูกหลายประการ ได้แก่ ปริมาณหรือโอกาสที่จะได้รับบริจาคเลือดจากสายสะดือมีมากกว่า

ขั้นตอนการตรวจสอบและ ระบุผู้ให้ไขกระดูกที่เหมาะสม มีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลามาก โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ในช่วงเวลานี้ ผู้ที่จะบริจาคจะตรวจเลือดว่า มีเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหรือไม่ เช่น AIDS หรือ ตับอักเสบ หากไม่พบ ผู้บริจาคจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ก่อนที่จะนัดพบแพทย์ เพื่อเก็บตัวอย่าง ไขกระดูกจากกระดูกสะโพกโดยใช้เข็ม

ในทางตรงกันข้าม เลือดจากสายสะดือ มีพร้อมแล้วในตู้แช่แข็งของธนาคารฯ หลังจากการทำคลอด ซึ่งได้ผ่านการตรวจเชื้อไวรัส และชนิดของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง กับระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้การสรรหาหรือจับคู่ระหว่างผู้รับ-ผู้ให้ที่เหมาะสมสามารถทำได้ภาย ใน 3-4 วัน และการเก็บตัวอย่างเลือดนี้สามารถทำได้มากเท่าที่จะทำได้ ทำให้ประชาชนกลุ่มน้อย ของประเทศมีโอกาสที่จะหาผู้ให้ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด

นอกจากนี้ เลือดจากสายสะดือยังปราศจากไวรัส cytomegalovirus (CMV) อย่างแน่นอน ซึ่งในอดีตไวรัสชนิดนี้ ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเสียชีวิตประมาณ 10% มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมีเชื้อ CMV ซึ่งอาศัยอยู่กับเซลล์เม็ดเลือดขาวหลังจากที่ได้รับเชื้อ ถึงแม้ว่า CMVจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการของการติดเชื้อไวรัส ที่ไม่รุนแรงในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่มันสามารถทำให้ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน(หลังจากรับการปลูกถ่ายไขกระดูก) เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เด็กทารกจะได้รับ CMV ในมดลูกมีน้อยกว่า 1% ดังนั้น เลือดจากสายสะดือจึงมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ไขกระดูก



ข้อด้อยของ stem cells

การปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือไม่ใช่ไม่มีความเสี่ยง กล่าวคือ stem cells ที่ได้อาจจะปิดบังความบกพร่องทางพันธุกรรมบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดโรคในผู้รับได้ เช่น โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม (congenital anemia) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น อาจจะไม่ปรากฏให้เห็นภายในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปีแรกๆ และมีโอกาสเป็นไปได้ว่าเลือดนั้นได้ถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยคนอื่นแล้ว ทางธนาคารฯอาจจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้โดยการแยกเลือดที่ได้ เก็บไว้ 6-12 เดือน หลังจากนั้นจึงติดต่อกลับไปยังครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคมีสุขภาพ แข็งแรงดี

นอกจากนี้การติดต่อกันในระยะยาวในลักษณะ identification link ระหว่างผู้บริจาคกับทางธนาคารเลือดเป็นสิ่งจำเป็น แต่ในด้านจริยธรรมเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาคก็มีความสำคัญ ในปัจจุบัน New York Blood Center จะให้ผู้ปกครองของทารก กรอกแบบสอบถามซึ่งเป็นข้อมูลประวัติของโรคในครอบครัว และประวัติความสัมพันธ์ทางเพศ หากข้อมูลทางการแพทย์ไม่ชัดเจนหรือไม่เป็นที่ยอมรับ ทางศูนย์ฯจะไม่เก็บตัวอย่างเลือด และจะเก็บข้อมูลสำหรับการติดต่อในระยะสั้นเท่านั้นจนกว่าการตรวจไวรัสจะ เรียบร้อย จากนั้นตัวอย่างเลือดจะเป็นตัวอย่างที่ไม่มีชื่อเจ้าของ

ข้อจำกัดอีกประการของการใช้เลือดจากสายสะดือคือ stem cells ที่ได้ต่อ 1 ตัวอย่างมีจำนวนน้อย แม้ว่าเลือดจากสายสะดือสามารถใช้กับผู้ใหญ่ แต่จากการศึกษาโดย Pablo Rubinstein แสดงให้เห็นว่าจากจำนวน stem cells ที่จำกัด ผู้ป่วยที่แก่กว่าหรือโตกว่าจะได้รับประโยชน์จาก stem cells น้อยกว่าคนไข้ที่เด็กกว่าหรือเล็กกว่า

ดังนั้นนักวิจัยทั้งหลายกำลังพยายามหาวิธีการเพิ่มจำนวน stem cells ที่ได้จากตัวอย่างเลือดจากสายสะดือโดยการใช้สารอาหารต่างๆ รวมทั้ง growth factors

นอกจากนี้ยังได้พยายามใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทาง พันธุกรรมของ stem cells เช่น ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหลายอย่างรวมกันทำให้มีความรุนแรง ในกรณีนี้แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดจากสายสะดือของเด็กที่ป่วยมาใส่ยีนที่ ปกติเข้าไปใน stem cells จากเลือดตัวอย่าง หลังจากนั้นจะนำใส่กลับคืนเข้าไปในตัวเด็ก


สัญญาณต่างๆ เหล่านี้ทำให้การนำเลือดจากสายสะดือมาใช้ประโยชน์มีความน่าสนใจมากขึ้น อาจจะเป็นไปได้ว่า สักวันหนึ่งหากมีทารกที่เกิดมากับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่ไขกระดูกหรือ เลือด อาจจะให้การรักษาโดยนำตัวอย่างเลือดจากสายสะดือตั้งแต่วันที่คลอด มาแก้ไขข้อบกพร่องโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม และฉีดกลับเข้าไปก่อนที่ทารกนั้นจะได้รับผลจากข้อบกพร่องทางกรรมพันธุ์นั้น หรืออีกทางเลือกหนึ่งอาจจะรักษาโดยนำ stem cells จากธนาคารฯ ที่ match กันอย่างสมบูรณ์กับเซลล์ของทารก ใส่เข้าไปใน (infusion) stem cells ของทารกที่เกิดใหม่ แนวความคิดเหล่านี้อาจจะดูเหมือนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ แต่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การใช้เลือดจากสายสะดือในรูปแบบต่างๆ เพื่อรักษาโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตมีโอกาสมากขึ้น


ที่มา ดร. มาลินี ประสิทธิ์ศิลป์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)


โดย: หมอหมู วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:17:41:38 น.  

 

//www.posttoday.com/

แฉ"สเต็มเซลล์แบงก์"ลวงโลกไทยแลนด์แห่ควักแพงเพื่อลูก

22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08:39 น.

สถาบัน วิจัยในสหรัฐระบุ ธนาคารสเต็มเซลล์แค่เรื่องลมๆ แล้งๆ ศักยภาพรักษาได้จริงยังจำกัด ยกตัวอย่างในประเทศไทย พ่อแม่ยอมจ่ายนับแสนเพื่ออนาคตลูก

เอิร์ฟวิง วีซแมน ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาสเต็มเซลล์และการแพทย์ทางเลือกใหม่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐ เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่า บรรดาคลินิกที่เสนอตัวเป็นธนาคาร สเต็มเซลล์ ด้วยการรับฝากสเต็มเซลล์จากเด็กแรกเกิด เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซมร่างกายยามที่เจ็บป่วยในภายหลังนั้น ล้วนเป็นเพียงเรื่องลวงโลก และหลอกเอาเงินจากพ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวยเท่านั้น

เอเอฟพีรายงานอ้างถ้อยแถลงของวีซแมน ในการประชุมประจำปีสมาคมเพื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าของอเมริกัน (AAAS) ว่า ปัจจุบันมีคลินิกดังกล่าวผุดขึ้นในหลายประเทศ เพื่อให้พ่อแม่ที่มีฐานะฝากสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดของลูกในยามแรกคลอด ไว้ เพื่อเป็นอะไหล่ร่างกายไว้รักษาตัวยามที่ลูกๆ ของตนโตขึ้นและเจ็บป่วย

ผู้อำนวยการจากสแตนฟอร์ดรายนี้ ได้ยกตัวอย่างของ “ประเทศไทย” ว่า มีพ่อแม่หลายรายที่ยอมจ่ายเงินแพงลิ่วถึง 3,600 เหรียญสหรัฐ (ราว 1.2 แสนบาท) ไปกับคลินิกธนาคารสเต็มเซลล์ โดยหวังให้ลูกๆ ได้มีทางเลือกด้านสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคต

ทว่าในทางวิทยาศาสตร์นั้น การเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดในสายสะดือหรือรกของเด็กแรกเกิด (Umbilical Cords) นั้นมีข้อจำกัดด้านศักยภาพอยู่มาก

“สายสะดือหรือรกนั้น มีสเต็มเซลล์ผลิตเม็ดเลือดที่สามารถผลิตเม็ดเลือดได้ในปริมาณเท่ากับของเด็กอ่อนเท่านั้น” วีซแมน กล่าว
นอก จากนี้ มี “เซนไคมอลสเต็มเซลล์” ที่ได้จากรกหรือสายสะดือ ซึ่งเป็นสเต็มเซลล์สำคัญที่จะเติบโตกลายเป็นเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ก็ยังมีประสิทธิภาพที่จำกัดมากในการสร้างเนื้อเยื่อ ไขมัน และกระดูก

และที่สำคัญก็คือ สเต็มเซลล์นี้ไม่สามารถสร้างเซลล์ของอวัยวะสำคัญอย่างสมอง เลือด หัวใจ และกล้ามเนื้อลาย ได้ตามที่หลายคลินิกอวดอ้าง

ผู้อำนวยการของสถาบันด้านสเต็มเซลล์ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า บรรดาผู้ที่ให้การรักษาด้วยสเต็มเซลล์เหล่านี้ทั้งที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ ชัดเจน มีแนวโน้มที่จะเข้าไปเปิดคลินิกในประเทศต่างๆ ซึ่งยังไม่มีการวางกฎระเบียบทางการแพทย์ที่เข้มงวดมากเพียงพอ

อย่างไรก็ดี เอเอฟพี ระบุว่า หลายประเทศในยุโรปซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) และแม้กระทั่งสหรัฐเอง ก็มีคลินิกที่ให้บริการธนาคารสเต็มเซลล์อยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน

ทั้งนี้ สมาคมสเต็มเซลล์ระหว่างประเทศมีกำหนดจะออกรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในเดือนเม.ย.นี้

ปัจจุบันสถาบันทางการแพทย์จำนวนมากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ซึ่งถือเป็นความหวังใหม่ทางการแพทย์ในการรักษาโรคและอาการบาดเจ็บ

ขณะที่โรงพยาบาล หน่วยงานของรัฐ และบริษัทเอกชนหลายแห่ง ได้เปิดบริการธนาคารสเต็มเซลล์ โดยส่วนใหญ่มีการจัดเก็บสเต็มเซลล์ 2 วิธี คือ จากเลือดในรกหรือสายสะดือของเด็กแรกเกิด และจากกระแสโลหิตของบุคคลทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ทางแพทยสภาของไทยได้ออกแนวทางการรักษาและวิจัยสเต็มเซลล์ควบคุมแพทย์ ตามข้อบังคับของแพทยสภาออกมาแล้ว หลังเล็งเห็นว่าผู้รับบริการต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.นี้เป็นต้นไป ทำให้ปัจจุบันการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคซึ่งได้รับการรับรองนั้น มีเพียงโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น

ขณะที่สหรัฐนั้น ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต กลับลงนามยกเลิกคำสั่งของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จากพรรคริพับลิกัน ที่ไม่ให้ใช้เงินของรัฐบาลสนับสนุนงานวิจัยสเต็มเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ โดยได้เปิดไฟเขียวการวิจัยดังกล่าวไปเมื่อเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการบุกเบิกการวิจัยในแขนงดังกล่าว ขณะที่ทิศทางของสหรัฐนั้น ยังทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามวิจัยสเต็มเซลล์ ในเวลาต่อมาไม่นานเช่นกัน




โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:18:39 น.  

 

การใช้เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell)เพื่อการรักษา

เซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell)คือเซลล์ร่างกายของมนุษย์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่างๆของร่างกาย(pluripotential cell) ตัวอย่างเช่น การกำเนิดของตัวอ่อนจะเริ่มต้นจากไข่ของเพศหญิงผสมกับสเปอร์มของเพศชาย จากนั้นจึงแบ่งเซลล์เป็นทวีคูณ และโดยพันธุกรรมจะทำให้มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของแต่ละเซลล์ว่าเซลล์ใดจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะใด

โดยหลักการนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงนำมาศึกษา สำหรับในสัตว์สามารถสร้างตัวใหม่ที่มีพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมได้แล้ว

สำหรับในมนุษย์ยังเป็นที่ถกเถียงกันในด้านจริยธรรมและห้ามการทำเช่นนี้ แต่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีรักษาโรคเพื่อทดแทนอวัยวะเดิมหรือเซลล์เดิมที่เสียหาย เช่นการสร้างไต ตับ หัวใจ ขึ้นเป็นอวัยวะแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง

ในส่วนที่ประสบความสำเร็จในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดสำหรับรักษาโรคในมนุษย์ได้แล้วและเป็นมาตรฐานในการรักษา ได้แก่ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต สำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคทาลัสชีเมีย ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใต้ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549

สำหรับการใช้รักษาโรคอื่นๆนั้นยังไม่เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน หรืออยู่ในขั้นทดลองหากมีการนำไปใช้จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่แพทยสภากำหนดในข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษา พ.ศ. 2552

ดังนั้น การที่มีผู้อวดอ้างการรักษาโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด รักษาโรคหัวใจ โรคทางสมองและไขสันหลัง ด้านความงาม ด้านการชะลอวัย ซึ่งเก็บค่ารักษาที่มีราคาแพงมาก นั้นเป็นการกระทำที่อาจเป็นการผิดข้อบังคับของแพทยสภา

ประชาชนที่ทราบเรื่องว่ามีแพทย์ให้การรักษาดังกล่าวสามารถร้องเรียน มายังแพทยสภาให้ตรวจสอบได้ หากบุคคลที่ทำการรักษานั้นไม่ใช่แพทย์ก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานอวดอ้างว่าเป็นแพทย์ด้วย

ตามข้อบังคับแพทยสภากำหนดว่าการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาจะกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1. ต้องเป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาที่มีการทำวิจัยมาแล้ว จนเป็นที่ยอมรับ

2. ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อการรักษาโรคในคนที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย โครงการนั้นต้องได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการจริยธรรมการทำวิจัยในคนของสถาบันที่ผู้ทำวิจัยสังกัด และคณะกรรมการวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยในคนด้านเซลล์ต้นกำเนิดของแพทยสภา

3. ผู้ทำปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติของแพทยสภาหรือจากสถาบันที่แพทยสภารับรองในสาขา หรืออนุสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วย และต้องขึ้นทะเบียนจากแพทยสภาว่าสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาได้

ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเสียเงินจำนวนมากเพื่อรักษาด้วยวิธีที่มีการแอบอ้างว่าเป็นการรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิด ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ได้รับการรับรองว่าเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานตามข้อบังคับของแพทยสภาแล้วหรือยัง


ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา





โดย: หมอหมู วันที่: 19 สิงหาคม 2556 เวลา:13:31:45 น.  

 


"นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!?
“ฮาร์ท เจเนติกส์” ถอดรหัสยีนพบมะเร็งก่อนระยะที่ 1 (ตอนที่ 1)
//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077078

"นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!?
ทุนใหญ่!กำจัด “คล้ายอัปสร” พ้นเส้นทางถอดรหัสยีน (ตอนที่ 2)
//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077272

"นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!?
"แพทย์จุฬาฯ” ชี้คนไทย!ถูกหลอกรักษา “สเต็มเซลล์” (ตอนที่ 3)
//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077735

“นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!?
แพทยสภา!ปลุกคนไทยอย่าตกเป็นเหยื่อ (ตอนที่ 4)
//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000078775

“นวัตกรรมเซลล์บำบัด-สเต็มเซลล์” ธุรกิจหลอกคนรวย!?
มาเฟียธุรกิจ “เจ๊ ด.” เอี่ยวหนุน “Stem cell” (ตอนจบ)
//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000078867


โดย: หมอหมู วันที่: 19 สิงหาคม 2556 เวลา:13:51:49 น.  

 


"ศ.นพ.เกรียง" ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ เตือน stem cell รักษาได้แค่5โรค ..ที่เหลือแค่ทดลอง..ไม่ชะลอแก่ ใช้ผิดอาจเป็นมะเร็ง!

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จับมือ 5 สมาคมวิชาชีพฯ ย้ำ "สเต็มเซลล์" ใช้รักษาได้เพียง 5 โรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ยันไม่มีรายงานว่าช่วยยืดชีวิต ชะลอความแก่ ความเสื่อมของร่างกาย หวังลดการถูกหลอกรักษา เตือนรักษาไม่ถูกโรคเกิดโทษสารพัด ทั้งหลอดเลือดอุดตัน มะเร็งชนิดรุนแรง และเสียชีวิต

ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวแถลงข่าวเรื่อง "แนวทางการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคทางอายุรกรรม" ร่วมกับสมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย ด้านโรคระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยา ว่า แม้หลายประเทศได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) มาหลายสิบปีแล้ว แต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ร่วมกับเครือข่ายสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขอยืนยันว่า จากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเองหรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้มีเพียง 5 โรคเท่านั้น ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย

"ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว สำหรับกลุ่มโรคที่รักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังไม่ได้ผลชัดเจน ได้แก่ โรคความเสื่อมของอวัยวะจากความชรา หรือจากโรคดั้งเดิมอื่น เช่น ความเสื่อมของสมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ของร่ายกาย ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ทั่วโลกยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติของแพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ ยกเว้น โรคทางโลหิตวิทยา 5 โรค ด้วยเหตุนี้การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยที่ได้รับสเต็มเซลล์ผู้ป่วย" ศ.นพ.เกรียง กล่าว

ศ.นพ.เกรียง กล่าวอีกว่า การนำสเต็มเซลล์มารักษาอย่างไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารโปรตีนแปลกปลอม เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมในระหว่างกระบวนการเตรียมสเต็มเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี และเคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงหลังจากเข้ารับการรักษา และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มในการตั้งความหวังว่าจะเกิดผลดีจากการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษา ซึ่งมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีให้ได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ และระหว่างความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน จึงเป็นความสำคัญของการใช้สเต็มเซลล์โดยหากปราศจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์มารองรับ อาจมีผลกระทบต่อหลักของมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย และไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวังได้

ศ.นพ.เกรียง กล่าวด้วยว่า ด้วยเหตุนี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยจึงร่วม 5 สมาคมวิชาชีพ แสดงจุดยืนร่วมกันว่า ไม่ควรนำสเต็มเซลล์ มาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยาจำนวน 5 กลุ่มโรคหากจะนำมาใช้ในมนุษย์ ก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัยที่มีโครงการวิจัยทดลองในมนุษย์ที่รองรับอย่างชัดเจน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์อย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้นจากผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย

ที่มา manager online
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000112442





โดย: หมอหมู วันที่: 9 กันยายน 2556 เวลา:14:20:48 น.  

 
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ //www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379573122


"สเต็มเซลล์" กับความงาม นพ.สุรเดช หงส์อิง อันตรายจากเซลล์กลายพันธุ์
updated: 19 ก.ย. 2556 เวลา 14:43:31 น.


ความเชื่อที่ว่าสเต็มเซลล์สามารถนำมารักษาอาการผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และนำมาใช้ในธุรกิจความงาม ที่กำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ แม้จะยังไม่มีสถาบันใดออกมารองรับผลสำเร็จของสเต็มเซลล์ก็ตามที
หากสำรวจตามถนนสายธุรกิจอย่างสุขุมวิท จะพบว่ามีสถาบันความงามที่รับฉีดสเต็มเซลล์เพื่อความงามกันมาก โดยพยายามเลี่ยงใช้คำโฆษณา จนตอนนี้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งที่ได้ชื่อว่าใช้สเต็มเซลล์ผิดวิธีระดับต้น ๆ ของโลก โดยตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ หรือบางคนบินไปฉีดไกลถึงต่างประเทศก็มีให้เห็น

หลายสถาบันพูดถึงแต่ผลดีที่ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่ไม่มีใครออกมาพูดถึงผลเสียที่เกิดขึ้น อาจเพราะไม่เกิดผลอะไรเลย หรืออาจจะไม่กล้า เพราะอับอาย และจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เสียแน่ ๆ คือเสียเงินฟรี แม้ลูกค้ากลุ่มนี้จะมีกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายระดับ 7 หลักขึ้นไปได้สบาย ๆ ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีคำเตือนจากแพทย์หลายสถาบัน ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับสเต็มเซลล์ที่ถูกต้อง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะพ่ายการตลาดทางธุรกิจของสถาบันความงามที่พยายามพลิกแพลงกลยุทธ์ แม้แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็มิอาจเข้าถึงได้ หากไม่ได้รับการร้องเรียนก็เข้าตรวจสอบได้ยาก หรือแม้แต่แพทยสภาเองก็เข้าไปจัดการไม่ได้ เพราะไม่ใช่ "หมอ"

น.พ.สุรเดช หงส์อิง แพทย์กุมารเวชผู้เชี่ยวชาญโรคเลือดและโรคมะเร็งในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายระดมทุน มูลนิธิรามาธิบดีฯ จัดหาทุนเพื่อทำการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต อาจารย์สุรเดชยังเป็นผู้เชี่ยวชาญการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต อธิบายว่า ปัจจุบันสเต็มเซลล์ใช้รักษาเฉพาะโรคโลหิตวิทยาที่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ส่วนการนำไปใช้อย่างอื่นยังไม่มีการอนุมัติจากหน่วยงานใด

สเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิด (เซลล์ตัวอ่อน) ปัจจุบันมีความเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะเราเข้าใจว่าเซลล์ต้นกำเนิดกับเซลล์ตัวอ่อนมีอยู่อย่างเดียว แต่จริง ๆ มีความหลากหลายมาก สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ

ประเภทแรกคือ "เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน" อาจจะเป็นสัตว์หรือมนุษย์ก็ได้ ซึ่งได้จากการนำไข่และอสุจิมาผสมกันจนเป็นตัวอ่อนภายใน 1 สัปดาห์ แล้วดึงเนื้อเยื่อจากตัวอ่อนมาผลิตเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งมีการจดลิขสิทธิ์หลายร้อยแห่ง ในประเทศไทยก็มีการทำแห่งแรกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
"เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ สามารถที่จะเป็นอวัยวะใดก็ได้ เพราะเป็นต้นกำเนิดมาก ๆ เราจะสร้างเป็นอวัยวะใดก็ได้หมด แต่ปัจจุบันเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ ยังไม่มีใครนำมาใช้ในคน เนื่องจากคุณสมบัติเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ เมื่อเวลาฉีดในสัตว์ทดลอง การควบคุมให้เป็นอวัยวะที่เราอยากได้มันยาก เพราะมันจะเป็นอวัยวะใดก็ได้ หรืออาจจะเจริญผิดอวัยวะก็ได้ แทนที่จะได้ตับกลับกลายเป็นไต หรืออะไรอย่างอื่นแบบผิดที่ผิดทาง ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการเอามาใช้ในคน"

ฉะนั้นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ที่นำมาใช้ในมนุษย์ยังไม่มี และยังไม่มีการทดลองหรือวิจัยใดประสบความสำเร็จในโลกใบนี้

"ดังนั้น ใครที่มาบอกว่าเอาเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์มาใช้ในคน โกหก...! ยิ่งการใช้เซลล์จากสัตว์มาใส่ในคนยิ่งยากไปกันใหญ่ เพราะข้ามสายพันธุ์ เรียกว่า โกหกทั้งเพ การนำเอาผลิตภัณฑ์สเต็มเซลล์จากสัตว์มาใช้ในคน นี่มันเป็นการข้ามสปีชีส์เลยนะ ในทางการแพทย์เราเรียนรู้ว่า ร่างกายเราไม่มีทางรับสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้ ถ้าไปฉีดบ่อย ๆ อาจจะเกิดโรคภูมิคุ้มกันมันเสีย กลายเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง"


เซลล์ต้นกำเนิดประเภทที่สองคือ "เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวเต็มวัย" ซึ่งสามารถนำมาจากมนุษย์ที่โตเต็มวัย แต่ปัญหาคือ การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดจากมนุษย์มันมีความจำเพาะของอวัยวะ ต่างกับเซลล์ตัวอ่อนที่มาจากอสุจิมาผสมกับไข่ แล้วออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์แล้วดึงออกมาใช้ สามารถไปอวัยวะใดก็ได้

แต่เซลล์ต้นกำเนิดของตัวเต็มวัย ต้องประจำอวัยวะเท่านั้น เช่น จากสมองก็ต้องเป็นสมอง จากตับก็ต้องเป็นตับ เพราะแต่ละอวัยวะของมนุษย์มีสเต็มเซลล์ประจำอวัยวะนั้น ๆ
"การที่เซลล์จะเจริญข้ามอวัยวะ ข้ามสายพันธุ์แทบจะไม่ได้หรือน้อยมาก เพราะมันถูกกำหนดมาแล้วในเซลล์ต้นกำเนิดตัวเต็มวัย ซึ่งประจำอวัยวะนั้น ๆ"

อาจารย์แพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี สรุปอีกครั้งว่า สเต็มเซลล์ที่กล่าวถึงกันในปัจจุบันซึ่งนำมาใช้ในการรักษาคนมีอยู่ชนิดเดียวคือ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่ดูดมาจากไขกระดูก ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่จะเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่อไป

"ไม่ว่าจะเอามาจากไขกระดูก หลอดเลือด หรือรก ล้วนเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทั้งนั้น ฉะนั้นการรักษาโดยตรงคือ การรักษาโรคทางโลหิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ ภูมิคุ้มกันผิดปกติตั้งแต่กำเนิด อันนี้ถือเป็นมาตรฐานที่รักษามาแล้วทั่วโลกมาเกือบ 50 ปี ถือว่าอนุมัติแล้ว ไม่ต้องผ่านกระบวนการวิจัย ถือว่าเป็นการรักษามาตรฐาน"

อย่างไรก็ตาม หลายคนเข้าใจว่า การนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตมารักษาอวัยวะอื่นที่เสื่อมได้นั้น เพราะมีหลักฐานในหลอดทดลองว่าทำได้คือ เอาเซลล์เม็ดโลหิตมาเลี้ยงสมองหรือหัวใจก็ได้ แต่ในความเป็นจริง ตอนนี้การนำมารักษาในคน กำลังอยู่ในขั้นการทดลอง ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจะกลายเป็นสมองหรือกลายเป็นหัวใจได้ ในบางคนอาจจะได้ผลดี บางคนอาจจะได้ผลเสีย

"ความยากคือ สเต็มเซลล์เม็ดโลหิตต้องนำมาตอนยังมีชีวิต แต่อยู่ดี ๆ ใครจะไปเจาะกะโหลกเอาเซลล์จากสมองมาตอนเป็น ๆ ใครจะไปเจาะตับเจาะหัวใจมาบริจาค ฉะนั้นการบริจาคสเต็มเซลล์ที่ง่ายที่สุดคือ การเจาะไขกระดูก ที่ได้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด"

"ที่ว่าสเต็มเซลล์มาใช้กับความงามนั้นไม่จริง"

อาจารย์สุรเดชอธิบายให้เห็นภาพว่า เรื่องสเต็มเซลล์กับความงามยังไม่มีการพิสูจน์ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าคนที่ฉีดสเต็มเซลล์แล้วจะงดงาม แต่ได้แน่ ๆ คือ เสียตังค์

"เราไม่มีทางรู้ว่าเขาจะฉีดอะไรเข้าไปในร่างกายเรา เพราะสูตรความงามมีตั้งหลายสูตร แต่กลับมาบอกว่า ฉีดสเต็มเซลล์แล้วเวิร์ก ซึ่งตอนนี้เป็นแค่การทดลอง เพราะไม่ใช่การรักษา ดังนั้นต้องไม่เก็บเงินคนไข้"

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์สุรเดชได้ยกตัวอย่างคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากการฉีดสเต็มเซลล์ว่า มีการตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์เล่มหนึ่งว่า มีคนไข้เป็นโรค SLE หรือโรคพุ่มพวง นำเอาเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกตัวเองไปเพาะแล้วฉีดเข้าไปในไต ผลปรากฏว่าคนไข้ตาย จากเซลล์ที่ฉีดเข้าไปจนกลายเป็นเนื้องอกแตกตาย

อาจารย์สุรเดชชี้แจงถึงอันตรายของสเต็มเซลล์หากใช้แบบผิด ๆ อาจจะเกิดโรคร้ายแรงที่เราไม่รู้จักก็เป็นได้ รวมถึงกระบวนการผลิตสเต็มเซลล์ที่อาจจะไม่ผ่านการฆ่าเชื้อตรวจสอบก่อนฉีดเข้าร่างกาย ตามคลินิกต่าง ๆ ที่ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ จึงไม่มีใครรับรองว่าจะปลอดภัย อาจจะกลายเป็นมะเร็งและผลาญเงินไปหลายล้านบาท
อันตรายที่สุดคือ มีการนำเอาผลิตภัณฑ์สเต็มเซลล์จากสัตว์มาใช้ในคน !



โดย: หมอหมู วันที่: 25 กันยายน 2556 เวลา:15:17:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]