Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

วัคซีนโรคไข้เลือดออก .. นำมา เล่าสู่กันฟัง ..




วัคซีนโรคไข้เลือดออก ..  นำมา เล่าสู่กันฟัง ..
อ้างอิงที่มา ..

https://www.facebook.com/dengue.infection/posts/1805715776378649
https://www.facebook.com/dengue.infection/posts/1806516202965273

https://www.samitivejhospitals.com/th/faq-ไข้เลือดออก/

https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/257159648048069

https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/1750941288555230:0
.......................

เรื่องน่ารู้ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

16 ธันวาคม 2559 ศ.คลินิก เกียรติคุณเสน่ห์ เจียสกุล

https://www.samitivejhospitals.com/th/faq-ไข้เลือดออก/

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกใช้แล้วหรือยัง?

ตอบปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นวัคซีน CYD-TDV หรือ DENGVAXIA (ยังมีวัคซีนอีกหลายขนิดที่อยู่ระหว่างการทดลองศึกษาวิจัย)

CYD-TDV หรือ Dengvaxia คืออะไร?

ตอบเป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดแรกที่ได้รับการรับรองโดยได้การรับรองครั้งแรกที่ประเทศเมกซิโกในเดือนธันวาคมปีที่แล้วให้ใช้ในกลุ่มคนที่มีอายุ 9-45 ปีในเขตที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ใน 13 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย

วัคซีนไข้เลือดออก Tetravalentdengue vaccine (CYD-TDV) หรือ Chimeric yellow fever-denguevirus (CYD) -Tetravalent dengue vaccine (TDV) ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ recombinant, live-attenuated ของบริษัท Sanofi Pasteurครอบคลุม 4 สายพันธุ์ฉีดวัคซีน 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 มล. 0-6-12เดือน (ทั้งหมด 3 เข็ม เว้นระยะ 6 เดือน) ค่าใช้จ่าย 3,620 บาทต่อครั้ง (รวมทั้งหมด 10,860 บาท)

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกฉีดได้ทุกคนหรือไม่?

จากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)ชี้แจงว่า ผู้ที่เหมาะสมเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก คือผู้มีอายุระหว่าง 9-45 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคยังไม่ได้แนะนำว่าควรที่จะฉีดวัคซีนนี้ทุกคน

แต่จากคำแนะนำนี้ก็เท่ากับว่าคนไทยเราในช่วงอายุดังกล่าวเป็นกลุ่มที่เหมาะสมที่จะเข้ารับวัคซีนชนิดนี้เพราะไทยเราเป็นโซนที่มีโรคไข้เลือดออกระบาด

ข้อห้ามใช้ที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตวัคซีนมีดังนี้

• ผู้ที่มีประวัติการแพ้รุนแรงในส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งในวัคซีนหรือมีการแพ้ในวัคซีนนี้ที่ได้รับครั้งแรกหรือแพ้วัคซีนชนิดอื่นที่มีส่วนประกอบเหมือนกัน

• มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลังเช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อ HIV (เอดส์)หรือได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูง หรือเคมีบำบัด)

• ผู้ที่ มีไข้ระดับกลางจนถึงไข้สูงหรือกำลังเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหายดีแล้ว

• สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ( เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นชนิดตัวเป็น(live-attenuatedvaccine)เหมือนวัคซีนทั่วไปจึงห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร และขอแนะนำว่าสตรีที่ได้รับวัคซีนควรเว้นระยะก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน )

ประสิทธิภาพของวัคซีน ?

ตอบ

1. สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ 93.2 %

2. ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล 80.8 %

3.ความสามารถในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์อยู่ที่ 65.6 %คือประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในแต่ละสายพันธุ์นั้นจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งสายพันธุ์ที่4 จะตอบสนองกับวัคซีนตัวนี้ได้ดีที่สุด ส่วนสายพันธุ์ที่ 2จะตอบสนองกับวัคซีนนี้ได้น้อยที่สุด (Den1:50.2%|Den2-39.6% |Den3;74.9%|Den3-76.6%) แต่สายพันธุ์ที่ 2 เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดของประเทศไทย

4. ป้องกันการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ 73 %

5.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ในระยะเวลา 5-6 ปีส่วนหลังจากนั้นจะต้องมีการฉีดกระตุ้นหรือไม่อย่างไร อยู่ในระหว่างขั้นตอนการศึกษา

หากผู้ป่วยเคยได้รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีมาก่อนไม่ว่าจะมีแค่อาการไข้อ่อนๆหรือป่วยหนัก ผู้ป่วยสามารถฉีดวัคซีนได้อีกหรือไม่ ?

ตอบประสิทธิภาพของวัคซีนที่ฉีดให้กับผู้ที่เคยได้รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีมาก่อนจะสูงกว่าและสามารถช่วยป้องกันเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกีสายพันธุ์อื่นๆได้ด้วย(ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อนจะตอบสนองกับวัคซีนตัวนี้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็นหรือไม่เคยได้รับเชื้อไข้เลือดออก)

มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจโรคเบาหวาน สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ?

ตอบ ฉีดได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ความปลอดภัยของวัคซีนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ตอบ อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้หลังการฉีดวัคซีนคล้ายวัคซีนชนิดอื่นเช่น ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังแดง ห้อเลือด บวม และคัน โดยอาการที่พบทั้งหมดจะเป็นชนิดไม่ร้ายแรง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3วันหลังจากฉีดวัคซีน

เมื่อได้รับวัคซีนไปแล้วบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะและมีไข้ได้กลุ่มนี้อาจพบได้ 1 ใน 10

บางคนอาจมีอาการมีเวียนหัว ไอ เจ็บคอมีผื่นคัน กลุ่มนี้ก็พบได้น้อยลงไปอีก อยู่ที่ 1 ใน 100

ส่วนถ้ารุนแรงกว่านั้น คือมีผลต่อระบบประสาทนี่เรียกว่าน้อยมาก ๆ มากกว่าอัตรา 1 ใน 10,000

ภูมิคุ้มกันจะขึ้นเมื่อใด

ตอบภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นเต็มที่เมื่อฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม

ฉีดแล้วจะสามารถป้องกันไข้เลือดออกได้ตลอดชีวิตหรือไม่

ตอบ จนถึงขณะนี้หลังฉีดครบ 3 เข็มตามหลักวิชาภูมิคุ้มกันน่าจะยังคงอยู่ได้นานต้องมีการติดตามกันต่อไปว่าจะสามารถคุ้มกันได้ตลอดชีวิตหรือไม่

การฉีดเข็มที่ 2หรือ 3หากไม่ได้ฉีดตรงตามวันที่กำหนด สามารถฉีดได้หรือไม่ หรือต้องเริ่มนับเป็นเข็มที่ 1ใหม่

ตอบ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สามารถบวกลบได้ 20วัน

สามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนตัวอื่นในวันเดียวกันได้หรือไม่?

ตอบ ยังไม่มีการศึกษาเพื่อความปลอดภัยควรมีระยะห่างจากวัคซีนชนิดอื่น ประมาณ 4 สัปดาห์

ก่อน และ หลังได้รับวัคซีนควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?

ตอบ ก่อนได้รับวัคซีนต้องไม่มีไข้และหลังการฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองด้วยเชื้อโรคที่อ่อนแรงหรือ บางส่วนของเชื้อโรคมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้เพราะฉะนั้นเมื่อรับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นได้ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนซึ่งโดยทั่วไปจะมีอาการไม่มากและจะหายไปเอง

......................................

อย่าง ไรก็ตามในขณะที่ วัคซีน มีประสิทธิภาพปานกลาง (56.5%, 60.8%) และที่สำคัญคือประสิทธิภาพต่อเชื้อ Dengue virus type 2 (พบบ่อยในประเทศไทย มีความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่า)มีเพียง 35.0% และ 42.3%

วัคซีน จึงไม่น่าใช่คำตอบเดียวในการควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค เราน่าจะหาวิธีการใหม่หลายๆอย่างร่วมด้วย เช่น ยาปรับปรุงวิธีการดูแลรักษาในรายที่ติดเชื้อไข้เลือดออก ยาฆ่าแมลงและการควบคุมยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคแบบใหม่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้ก่อนปี 2020 นั่นก็คือต้องอาศัยองค์ประกอบ3 อย่างในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลดีคือ

1.ปรับปรุงการควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค(Improved vector control)

2.ปรับปรุงวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก(Improved case management)

3.พัฒนาให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิผล (Effectivevaccine developement)

https://www.nstda.or.th/nac2014/download/presentation/CC-306-01-PM/Presentation-Jarung.pdf

https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(14)61060-6/fulltext

https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa1411037


....................................................

วัคซีนไข้เลือดออก ข้อสรุป ข้อเท็จจริง

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/1750941288555230:0

แอดมินสนใจเองวัคซีนไข้เลือดออกมานานแล้วครับ เมื่อวานได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัววัคซีนไข้เลือดออกของประเทศไทย ได้ไปฟังกลุ่มปูชนียบุคคลผู้ที่พัฒนาวัคซีนตัวจริงและผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการติดเชื้อไข้เลือดออกและต่อสู้กับไข้เลือดออกมาตลอดชั่วชีวิตของท่าน จึงอยากมาเล่าให้แฟนเพจทั้งหลายฟัง เรื่องยาวหน่อย อ่านไปหาอะไรมากินไป เดี๋ยวก็จบ

ผมขอชื่นชมบริษัทผู้ผลิตวัคซีนที่จัดงานและผู้บรรยาย ที่เนื้อหาไม่ได้..”ขายของ”..แต่อย่างใด ผมเองไปร่วมฟัง เตรียมข้อมูลไปเต็มที่ อยากไปฟังผู้คิดค้นวัคซีนบรรยายเต็มที่ ก็สมใจครับ แทบไม่มีการค้าเจือปน จริงอยู่แม้จะมีบริษัทข้ามชาติเป็นผู้ผลิต แต่ผมจะเอาแต่ข้อเท็จจริงเท่านั้นมาบอกเล่าให้ฟัง
ถามว่าทำไมต้องมีการสร้างวัคซีนไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกสร้างภาระมากมายในโลกนี้นะครับ กว่าครึ่งโลกที่เสี่ยงและกว่า 20%ที่ป่วย การควบคุมไข้เลือดออกขององค์การอนามัยโลกเองก็ทำได้ไม่ดีนัก การสร้างเครื่องมือในการตรวจและวินิจฉัยเราทำได้ดีพอควร แต่การป้องกันยังไม่ดีนัก วัคซีนจึงเป็นประเด็นสำคัญ แล้วใครล่ะที่เป็นต้นคิดการใช้วัคซีนเพื่อปกป้องคนบนโลกนี้ คนนั้นคือ ท่านศาสตราจารย์ ณัฐ ภมรประวัติ คือคนไทยเรานี่เองครับ เมื่อห้าสิบปีก่อน ท่านได้ลงทุนลงแรงและถ่ายทอดเจตนาจากรุ่นสู่รุ่น จนห้าสิบปีหลังจากความตั้งใจนั้น วัคซีนจึงได้ถือกำเนิดขึ้น แม้อาจารย์ณัฐจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่เจตนารมณ์ได้บรรลุความจริงแล้วครับ

วัคซีนไข้เลือดออก พัฒนามากจากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมของไวรัสไข้เหลืองมาเข้ากับไข้เลือดออกทั้งสี่สายพันธุ์ จึงไม่มีความสามารถในการก่อโรคแต่จะมีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ต้องใช้ทั้งสี่สายก็เพราะปัจจุบันมีการระบาดหมดเท่าๆกัน

การศึกษาทำในประเทศในอเมริกาใต้และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะที่นี่คือแหล่งปัญหาของไข้เลือดออกในโลกนี้ ที่อื่นพบเล็กน้อยเท่านั้น ประเทศไทยเองก็เป็นจุดศึกษาที่สำคัญมากๆ (ใครสนใจอ่านหาเพิ่มได้ CYD-TDV 14 ในเอเชีย,CYD-TDV 15 ในอเมริกาใต้, CYD 23 ในประเทศไทย) จากการศึกษานี้ที่เราพบสำคัญคือกลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกเริ่มขยับขึ้นจากเด็กมาสู่ผู้ใหญ่มากขึ้น การศึกษาวัคซีนได้ทำทั้ง ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในภูมิภาคต่างๆ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ในระยะต่างๆของการทดลอง ปัจจุบันยังไม่การศึกษาที่ทำในคนมากมายขนาดเกือบ 40,000 คนแบบนี้อีกเลย จึงเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
การศึกษาทำในเด็กอายุ 2-14 ปีในเอเชีย และ 9-16 ปีในอเมริกาใต้ (ทางอเมริกาใต้พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก) โดยให้วัคซีนเทียบกับยาหลอก และวัดผลสามเรื่อง คือ โอกาสติดเชื้อและมีอาการ การป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล และ ถ้าป่วยแล้วจะรุนแรงไหม ติดตามสูงสุด 5 ปี ได้ผลดีและจะสรุปดังนี้

1. วัคซีนมีประโยชน์สูงสุดสำหรับช่วงอายุ 9-16 ปีตามการศึกษา ไม่ได้หมายความว่าต่ำกว่า 9 ปีจะไม่เกิดประโยชน์ แต่ว่ามันไม่ชัดเจนและไม่ปลอดภัยเท่าเก้าปี ส่วนทำไมต้องสิบหก เพราะการศึกษาระบุทำในอายุเท่านี้ และออกมาผลก็ดี

2. แต่วัคซีนระบุ ให้ฉีดถึง 45 ปี ข้อมูลตรงนี้มาจากการ extrapolate คือการคาดเดาอย่างมีวิธีการ ไม่ได้เกิดจากการศึกษาโดยตรง คือแบบนี้ครับ จากการศึกษาก่อนหน้านี้หลายๆอัน เราพบว่ายิ่งเราอายุมากขึ้นระดับภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออกเราก็มากขึ้น อันนี้เป็นความจริงทั้งโลก ถ้าเราฉีดในเด็กโตซึ่งภูมิเขาน้อยกว่าผู้ใหญ่อยู่แล้ว ยังพบว่าระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นขนาดนี้ ถ้าไปฉีดในผู้ใหญ่ก็น่าจะ..เพิ่มภูมิ...ได้มากกว่าเด็ก ย้ำเป็นการคำนวณคาดการณ์นะครับ ทางองค์การอนามัยโลกก็พอรับได้กับหลักการนี้ จึงยินยอมให้ฉีดในอายุ 9-45 ปี

3. มากกว่า 45 ปี ข้อมูลไม่ชัดเจน จึงไม่ได้แนะนำ ตามหลักการก็น่าจะดี แต่ความเป็นจริงยังไม่มีผลการศึกษายืนยัน โดยเฉพาะระดับภูมิที่สูงพอควรแล้ว ฉีดไปอาจไม่ช่วยเพิ่ม และการเกิดโรคในผู้สูงวัยไม่ได้รุนแรงเหมือนในเด็กโตและเด็กเล็ก ปัญหาของผู้ใหญ่คือ เลือดออกและตับอักเสบ มากกว่าช็อก (แต่ก็ช็อกได้นะครับ)

4. ข้อสี่นี่ ถือเป็นการค้นพบและการเปลี่ยนแปลงใหญ่เลยทีเดียว เดิมเราคิดว่าถ้าเคยมีภูมิอยู่แล้ว ใส่เชื้อไข้เลือดออกเข้าไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง แต่ปรากฏการณ์นี้กลับพบว่า นอกจากไม่ได้ติดเชื้อรุนแรงแล้ว ภูมิคุ้มกันยังจะดีขึ้น และได้ผลต่อวัคซีนมากขึ้น ดังนั้นวัคซีนจึงได้ผลดีในกลุ่มอายุเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก เพราะเด็กโตอายุเกินเก้าปีในประเทศไทย เกือบ 80% เคยได้รับเชื้อมาแล้ว และยิ่ง๔อายุมากขึ้นประสิทธิภาพวัคซีนยิ่งสูงขึ้นในทุกๆกลุ่มย่อยการศึกษา

5. ประโยชน์จริงๆของวัคซีนตามการศึกษาที่เพ่งเล็งประสิทธิภาพ คือ ลดการติดเชื้อที่มีอาการ ต้องการอย่างน้อย 25% และควรได้อย่างน้อย 70% ตามที่คาดการณ์ไว้ของการศึกษา ปรากฏว่า ผลออกมาโดยรวมป้องกันการติดเชื้อมีอาการได้ 65.6% เกือบถึงเป้า #แต่ที่ลดอย่างชัดเจนและมีนับสำคัญทางสถิติมากคือลดความรุนแรง ลดการเกิดโรคแบบรุนแรงลงได้ 92.9% ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในรพ.ลดได้ 80.2% คือฉีดแล้วมักจะไม่เป็นโรครุนแรงนั่นเอง

6. มันมีสี่สายพันธุ์ก็จริง แต่การตอบสนองของวัคซีนก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งสี่สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่สองจะตอบสนองน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ระดับประมาณแค่ 40-50% แต่ถ้าดูภาพรวมทุกสายพันธุ์ก็พอใช้ได้

7. ส่วนที่กังวลว่า เด็กที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การฉีดวัคซีนจะเป็นการทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันครั้งแรก แล้วถ้าติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงมากขึ้น ประโยคนี้เป็นจริงแค่บางส่วน มันมีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นระยะเวลาที่ติดเชื้อสองครั้งห่างกันไหม สายพันธุ์เชื้อ ...จากการศึกษาเด็กที่ไม่มีภูมิมาก่อนมาฉีด แล้วเมื่อเป็นโรคก็ไม่ได้พบว่าความรุนแรงต่างจากเด็กที่ไม่ได้ฉีดครับ

8. ผลข้างเคียง ที่เจอแน่ๆคือ เจ็บ..อาจมีไข้ ..บวมแดงได้ ไม่พบปฏิกิริยาที่รุนแรง มีรายงานการตายหลังฉีดวัคซีน...ทางบริษัท..ทางบริษัทนะครับ แจ้งว่าไม่ได้เกิดจากสาเหตุของวัคซีน

9. มันจะป้องกันได้เป็นสิ่งมหัศจรรย์หรือไม่ ต้องบอกว่าไม่ใช่ครับ เป็นแค่ปัจจัยหนึ่ง สิ่งสำคัญคือเราต้องควบคุมยุง ป้องกันยุง กำจัดลูกน้ำยุงลาย (มันอยู่ในบ้านนะครับ ไม่ได้อยู่ในท่อระบายน้ำ) และเมื่อเป็นไข้ก็ต้องรีบทำการวินิจฉัยและรักษา ต่อให้รัฐบาลลุงตู่ใจป้ำให้ฉีดฟรีทั้งประเทศ ถ้าไม่ควบคุมปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

10. ตกลงจะฉีดไหม...ผมใช้หลักการเดิมของวัคซีนนะครับ ถ้ามีข้อบ่งชี้ว่าฉีดได้ ถ้าไม่มีข้อห้ามการฉีด และถ้ามีสตางค์ไม่เดือดร้อน ก็ฉีดทุกตัวที่เหมาะกับเราครับ มันจะอยู่นานไหมเจ้าภูมิคุ้มกันเนี่ย จาการติดตามพบว่าในระยะเวลาห้าปีที่ศึกษามานี้ระดับภูมิคุ้มกันก็ยังไม่ตก คงต้องรอการศึกษาติดตามต่อไป (อย่าลืมว่าไทยเป็นแดนระบาด เราอาจมียุงกัดมาช่วยกระตุ้นภูมิอยู่เกือบตลอดเวลา)

ยังมีรายละเอียดสนุกๆเกี่ยวกับไข้เลือดออกจาก อ.ประเสริฐ ทองเจริญ, อ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, อ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, อ.อุษา ทิสยากร, อ.ทวี โชติทิพยสุนทร, อ.สุธี ยกส้าน ชื่อทั้งหมดนี้คือปรมาจารย์ไข้เลือดออกของโลก ที่เป็นคนไทย วัคซีนที่มีต้นกำเนิดจากไทย แม้จะมีการให้ทุนและซื้อการพัฒนาจากบริษัทยายักษ์ใหญ่ แต่นี่ก็คือก้าวสำคัญอันหนึ่งในการต่อสู้เชื้อโรคร้าย ที่ผมสรุปแบบไม่ให้มีผลประโยชน์ทางธุรกิจมาเจือปน เพื่อคุณๆแฟนเพจทุกคน

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก แจงกรณีวัคซีนไข้เลือดออก

8 ธ.ค. 2017 11:15:08
https://www.tnamcot.com/view/5a2a11cce3f8e40542f8bd71

สำนักข่าวไทย 8 ธ.ค.-นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก ย้ำการรับวัคซีนไข้เลือดออก ในกลุ่มคนเคยป่วยไม่รุนแรง แต่ไม่เคยป่วยอาจส่งผลติดเชื้อไข้เลือดออก1.4 เท่า แจงเหตุแตกตื่นแปลข้อมูลผิด แต่การตัดสินใจฉีด เน้นดูประวัติการป่วยเป็นหลัก 


นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ถึงแนวทางการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก หลังจากมีการรายงานพบผลกระทบในผู้ฉีดที่ประเทศฟิลิปปินส์ว่า การหารือวานนี้ (7 ธ.ค.) มีผู้เชี่ยวจากหลายองค์กร ทั้ง สมาคมโรคติดแห่งประเทศไทย ,อย.,กรมควบคุมโรค,ศูนย์วัคซีน และกลุ่มหมอเด็กที่มีการใช้วัคซีน  เบื้องต้นทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก ฯในฐานะผู้ที่มีการใช้วัคซีนมากที่สุดใน กลุ่มเด็ก จะจัดทำคำชี้แจงเกี่ยวกับวัคซีน สำหรับบุคคลประชาชน และสำหรับแพทย์  


นพ.ทวี กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็น 1. ผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออก และได้รับวัคซีน พบว่า วัคซีนให้ผลดี  2. ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน พบว่า เพิ่มอัตราการติดเชื้อไข้เลือดออก 1.4 เท่า ของคนไม่เคยป่วยไข้เลือดออกมาก่อนแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ซึ่งจะทำให้ คนไม่เคยได้รับวัคซีน  1,000 คน  ป่วย    5 คน ภายใน 5 ปี  แสดงว่า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละ 1 คน  

ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากกรณีข้อมูลการติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  มาจากการแปลข้อมูลที่คลาดเคลื่อน  มีการระบุว่ามีจำนวนคนติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรง เพิ่มขึ้น  ซึ่งความเป็นจริง การแสดงข้อมูลของบริษัทก็เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ในการให้ข้อมูล และวัคซีนไม่ได้ก่ออันตรายใน ผู้เคยมีประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน  แต่สำหรับผู้ไม่มีประวัติการป่วย อาจมีการป่วยได้ถึง 1.4 เท่า ไม่ใช่ มีความรุนแรงเพิ่ม หรือป่วยเพิ่ม 

นพ.ทวี กล่าวต่อไปว่า สำหรับการรับวัคซีนไข้เลือดออกจากนี้ ผู้ต้องการรับวัคซีน และแพทย์ต้องสอบถามประวัติเป็นหลักเพราะการเจาะเลือดดูการติดเชื้อในอดีตไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ปัจจุบันคาดว่าคนไทยในกลุ่มเด็ก เคยป่วยไข้เลือดออกประมาณ ร้อยละ 80  ส่วนผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 90 แต่ การฉีดวัคซีนต้องดูประวัติการป่วยเป็นสำคัญ ไม่ควรคาดเดาเอาเอง  

สำหรับการรับวัคซีนไข้เลือดออก อายุที่เหมาะสม 9-45 ปี รับ 3 เข็มเพื่อกระตุ้นภูมิ โดยวัคซีนไข้เลือดออก 1 เข็ม บรรจุ 4 สายพันธุ์จากการสอบถามบริษัท ที่จำหน่ายวัคซีนระบุว่า ในประเทศไทยมีการสั่งซื้อมาฉีด 30,000 เข็ม ฉีดไปแล้ว 10,000 เข็ม และบางส่วนยังอยู่ในห้องยา ฉะนั้นการฉีดวัคซีนต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยดูประวัติการป่วยเป็นหลัก และในวันนี้ช่วงบ่าย  จะมีการลงข้อมูลสรุปการหรือกับผู้เชี่ยวชาญ ในเว็บไซด์ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย .-สำนักข่าวไท

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ข้อชี้แจงและข้อแนะนำสำหรับประชาชนเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออก
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
https://www.pidst.or.th/A597.html



จากผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนไข้เลือดออก ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 7 ธันวาคม 2560 มีข้อสรุปดังนี้ 

1. การประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาข้อมูลใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่เบื้องต้นจากโครงการวิจัยโดยผู้ผลิตวัคซีนไข้เลือดออก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนไข้เลือดออกให้มีความปลอดภัยและเหมาะสม

2. ข้อมูลจากการศึกษาเดิม พบว่า โดยรวม วัคซีนให้ประโยชน์ในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 65 ป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากไข้เลือดออกได้รัอยละ 80 และป้องกันไข้เลือดออกรุนแรงได้ร้อยละ 93 

3. ข้อมูลจากผลการศึกษาใหม่เพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่า วัคซีนไข้เลือดออกนี้ยังคงมีประโยชน์ในการป้องกันโรค ลดการนอนโรงพยาบาลและลดความรุนแรงของโรคในผู้รับวัคซีนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน แต่พบว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน เมื่อได้รับวัคซีนนี้แล้วอาจจะมีความเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนที่จะได้รับวัคซีนนี้ ทั้งนี้การตัดสินใจรับวัคซีนดังกล่าวต้องจึงใช้ความระมัดระวังมากขึ้น

4. อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออก ไม่ว่าจะเคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็มีความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน

5. จากผลการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย พบว่าผู้ที่อายุ 9 ปีขึ้นไป มีความชุกของการติดเชื้อไข้เลือดออกสูง โอกาสที่ผู้ที่รับวัคซีนที่อายุ 9 ปีขึ้นไป จะเป็นผู้ที่ติดเชื้อมาก่อน จะค่อนข้างสูง ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน ดังนี้
  • ผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ได้
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน หรือไม่ทราบว่าเคยติดเชื้อมาก่อน รวมทั้งผู้ที่ได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วแต่ยังไม่ครบและมีความประสงค์ที่จะได้รับวัคซีน ควรได้รับทราบความเสี่ยงและประโยชน์จากวัคซีนนี้ก่อนตัดสินใจฉีด (กล่าวคือหากเป็นผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน อาจเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ต่อ 1000 คนที่ได้รับวัคซีนนี้ในช่วง 5 ปีหลังฉีดวัคซีน หรือสูงกว่ากรณีถ้าไม่ฉีดวัคซีนนี้ 1.4 เท่า)

6. ประชาชนควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีอื่นๆร่วมด้วย เช่น การป้องกันยุงกัด การกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้สามารถลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นไข้เลือดออกได้สูงสุด 







Create Date : 28 มกราคม 2560
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2562 14:36:19 น. 1 comments
Counter : 574 Pageviews.  

 
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

วัคซีนโรคไข้เลือดออก .. นำมา เล่าสู่กันฟัง ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2017&group=4&gblog=127

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38


โดย: หมอหมู วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:14:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]