Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหญิงชาวสิงคโปร์วัย 78 ปี จบด้วยการเสียชีวิต .. ที่มา Wichai Naiyaraksaereemd




การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของหญิงชาวสิงคโปร์วัย 78 ปี ที่จบด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง และเสียชีวิต 6 วันหลังผ่าตัด

กรณีศึกษาและบทเรียนที่เราต้องมาศึกษาเรียนรู้ว่าในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดถึงแม้จะเป็นการนัดผ่าตัดที่นัดล่วงหน้าไม่ได้ฉุกเฉิน(Elective surgery) แพทย์ก็ไม่ควรประมาท และขบวนการดูแลคนไข้หลังผ่าตัด ทีมสุขภาพที่ดูแลก็ต้องใส่ใจกับ Complaint ของคนไข้ โดยเฉพาะที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการแสดงเริ่มต้นของภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด ถึงแม้บางอย่างจะมีโอกาสพบได้น้อยมาก แต่ถ้าปล่อยเวลาผ่านไปนานเกินไปก็อาจให้การรักษาไม่ทัน

นางYuen Ingeborg ชาวสิงคโปร์วัย 78 ปี ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2016 หลังจากได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้างซ้ายเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2016 ที่โรงพยาบาล Mount Elizabeth โดยมี Dr. Sean Ng Yung Chuan เป็นศัลยแพทย์กระดูกที่ผ่าตัด

“แนวทางที่แพทย์ผู้ดูแลคนไข้ที่เสียชีวิตหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ไปไกลเกินกว่าที่จะใช้คำว่า Human error เป็นการให้สัมภาษณ์ของ Kamala Pannampalam เจ้าหน้าที่ไต่สวนสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไข้รายนี้ หลังจากที่เธอใช้เวลาไต่สวนหาข้อมูลเป็นเวลา 7 วัน โดยการซักถามจากสมาชิกภายในครอบครัวของนางYuen แพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มาให้ความเห็น (โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยรายนี้)”

1 พ.ย. 2016 นาง Yuen Ingeborg เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ากับ Dr. Sean Ny Yung Chuan ที่โรงพยาบาล Mount Elizabeth ระหว่างการผ่าตัด Dr. Ng ได้พลาดไปตัดถูกเส้นเอ็น Medial collateral ligament เขาได้โทรไปเรียกศัลยแพทย์กระดูกอีกท่านหนึ่งมาช่วยเย็บซ่อมเส้นเอ็น หลังผ่าตัดผู้ป่วยดูสบายดี

เช้าวันถัดมา (2 พ.ย. 2016) ผู้ป่วยมีอาการซีดลง Dr. Ng ได้สั่งให้เลือด 1 ถุง วันนี้เริ่มมีการทำกายภาพบำบัด นางYuenไม่ได้ complain อาการใด ๆ กับ Dr. Ng ตอนค่ำวันเดียวกัน Dr.Ng ได้เดินทางไปประชุมทางด้านวิชาการที่กรุงโตเกียวโดยไม่ได้ฝากคนไข้ให้แพทย์ศัลยกรรมกระดูกท่านอื่นดูแลต่อ

ตอนเย็นวันที่ 2 พ.ย. 2016 นาง Yuen มีอาการปวดเท้าซ้าย(ข้างที่ผ่าตัด) พยาบาลประจำตึกตรวจพบว่าผู้ป่วยมีเท้าซ้ายเย็นกว่าปกติและคลำชีพจรไม่ได้ พยาบาลได้รายงาน Dr. Jeffrey Mah แพทย์ประจำบ้านที่อยู่เวรซึ่งเขาก็คลำชีพจรไม่ได้เช่นกัน

Dr. Mah พยายามติดต่อไปที่ Dr. Ng แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงได้ติดต่อไปที่ Dr. Chin Pak Lin ศัลยแพทย์กระดูกที่ได้ร่วมผ่าตัดกับ Dr. Ng Dr. Chin Pak Lin ได้รีบเข้ามาโรงพยาบาลและส่งคนไข้ไปตรวจเอ็กซเรย์อย่างละเอียด ผลปรากฏว่าตรวจพบเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำที่ขาพับ(Popliteal artery และ Popliteal vein) ถูกตัดขาดทำให้ขาบริเวณที่ต่ำกว่าเข่าลงมาขาดเลือดและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ มีผลให้เกิดการติดเชื้อตามมา Dr. Chin ได้ตัดสินใจเปิดการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน และได้ตัดขาบริเวณตั้งแต่เหนือเข่าลงมาออก(Above knee amputation) เพื่อรักษาชีวิตของนาง Yuen แต่หลังผ่าตัดอาการของ นาง Yuen ทรุดลงตามลำดับ มีอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบ(Multiple organ failure) และหัวใจหยุดเต้นตามมา นางYuen เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2016……6 วันหลังผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าระหว่างผ่าตัด Dr. Ng ไม่รู้ว่านอกจากตัดถูกเส้นเอ็นแล้วเขายังตัดไปถูกเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำที่ขาพับด้วย ทำให้เลือดออกภายใน และไม่มีเลือดไหลเวียนไปที่ปลายขาซ้าย ทำให้ขาบริเวณตั้งแต่ใต้เข่าลงมามี อาการเย็น เป็นสีดำคล้ำ

ในระหว่างการไต่สวนเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ Ponnampalam ได้ระบุว่าบุตรของนาง Yuen ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องขบวนการดูแลหลังผ่าตัดของทีมแพทย์และพยาบาล

“ลูก ๆ ของ นาง Yuen รู้สึกไม่ค่อยสบายใจเมื่อทราบว่า Dr. Sean Ng เลือกที่จะไปประชุมที่กรุงโตเกียวหลังการผ่าตัดผ่านไปเพียง 1 วัน และไม่ได้อยู่ดูแลมารดาของเธอเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น”
“ในความเห็นของพวกเขา(ครอบครัวของ นาง Yuen) การดูแลผู้ป่วยของ Dr. Sean Ng ยังไม่ได้มาตรฐานดีพอ”
ครอบครัวของ นาง Yuen ต้องการทราบว่า ถ้าสามารถตรวจสอบพบเส้นเลือดถูกตัดขาดตั้งแต่เนิ่น ๆ มารดาของพวกเขาจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่
ครอบครัวของ นาง Yuen ยังตั้งคำถามถึง ความรู้ ทักษะและการฝึกอบรม (Competencies and training) ของพยาบาล 5 คน ที่มีส่วนดูแลมารดาของพวกเขาหลังผ่าตัด และอดสงสัยไม่ได้ว่าน่าจะมีการละเลยการสังเกตอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน และน่าจะมีความบกพร่องของบันทึกทางการพยาบาล
“บุตรสาวของ นาง Yuen รู้สึกโกรธและเศร้าใจทั้ง ๆ ที่ได้บอกพยาบาลไป 2 ครั้ง คือช่วงเย็น วันที่ 1 พ.ย. 2016 และเช้าวันที่ 2 พ.ย. 2016 ว่าบริเวณขาข้างที่ผ่าตัด รู้สึกเย็นเหมือนน้ำแข็ง แต่พยาบาลกลับบอกว่าเป็นปกติของคนไข้หลังผ่าตัด และไม่มีทำอะไรเพิ่ม

Dr. Ng ทำงานทางด้านศัลยกรรมกระดูกตั้งแต่ปี 2011 ก่อนหน้าการผ่าตัด แพทย์ได้บอกนาง Yuen ว่าเขาติดประชุมวิชาการที่กรุงโตเกียว และได้แนะนำให้ทำการผ่าตัดหลังเขากลับจากประชุม แต่ตัวคนไข้ยืนยันที่จะให้ทำการผ่าตัดก่อนที่เขาจะไปโตเกียว โดยที่ไม่ได้บอกเหตุผลใด ๆ
Dr. Ng ได้กล่าวว่า ก่อนเดินทางไปโตเกียวเขาได้ตรวจเช็คนาง Yuen แล้ว และบอกว่า “ทุกอย่างเรียบร้อยดี” เขายังกล่าวว่าตัวคนไข้ไม่ได้บอกเล่าอาการขาซ้ายเย็นหรือชาในช่วงเวลานั้น
Dr. Ng กล่าวว่าในขณะที่เขาอยู่ที่กรุงโตเกียว พยาบาลได้รายงานว่าคนไข้ complained อาการเป็นเหน็บและที่ชาที่ขาซ้าย เขาได้โทรไปหา Dr. Adrian Ng วิสัญญีแพทย์ที่ได้ช่วยดมยาระหว่างผ่าตัดให้ช่วยไปดูคนไข้ หลังไปดูคนไข้ Dr. Adrian Ng ได้บอกเขาว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ให้เขาประชุมต่อได้ แต่เมื่ออาการคนไข้แย่ลง Dr. Ng ได้รีบกลับมาก่อนการประชุมจะสิ้นสุดและถึงสิงคโปร์ วันที่ 5 พ.ย. 2016 ก่อนหน้าที่ นาง Yuen จะเสียชีวิต 1 วัน
“Dr. Ng ได้ระบุว่าเหตุผลที่เขาไม่ได้ฝากให้ศัลยแพทย์กระดูกท่านอื่นดูแล ในช่วงที่เขาไปประชุมที่ต่างประเทศ เนื่องจากก่อนที่เขาจะเดินทางไปกรุงโตเกียว เขาได้ตรวจคนไข้แล้วไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ และสภาพโดยรวมของนาง Yuen ก็อยู่ในสภาพที่ยอมรับได้” เป็นการเขียนรายงานการไต่สวนของเจ้าหน้าที่ Ponnampalam

ตัว Dr. Ng ก็ไม่สามารถให้ความเห็นใด ๆ เมื่อโดนถามว่าถ้าสามารถตรวจสอบพบเส้นเลือดถูกตัดขาดในห้องผ่าตัดและได้รับการแก้ไขตั้งแต่ในห้องผ่าตัด นาง Yuen น่าจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่

นอกจากนี้ นางสาว Ponnampalam ยังพบว่า Dr. Ng ยังได้บันทึกเวชระเบียนย้อนหลังในช่วงเวลาวันที่ 1 และ วันที่ 2 พ.ย. 2016 หลังจากที่กลับมาจากญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นข้อห้ามของแพทยสภาแห่งสิงคโปร์

ในรายงานเจ้าหน้าที่ไต่สวน ผู้บริหารโรงพยาบาลยังกังวลกับทีมพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย โดยหนึ่งในทีมพยาบาลได้ถูกตักเตือน เนื่องจากมีการบันทึกทางการพยาบาลว่าระบบไหลเวียนเลือดที่ขาว่าปกติ โดยที่ไม่ได้มาประเมินคนไข้จริง ๆ

Dr. Tang Jun Yip ศัลยแพทย์ประจำ Singapore General Hospital(SGH) ซึ่งทำผ่าตัดเปลี่ยนเข่ามากกว่า 2,000 รายต่อปี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีรายงานคนไข้เปลี่ยนเข่าที่เกิดภาวะแทรกซ้อนตัดถูกทั้งเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำไปพร้อม ๆกัน

Professor Yeo Sen Jin ศัลยกรรมกระดูกอาวุโสแห่ง SGH กล่าวว่า ภาวะแทรกซ้อนนี้ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน เขายังให้ความเห็นว่า นาง Yuen น่าจะทรมานจากอาการปวดและชา โดยเฉพาะเมื่อยาชาที่ได้ระหว่างการผ่าตัดหมดฤทธิ์แล้ว
Professor Yeo ยังตั้งคำถามกับ Dr. Ng ว่า “หลังผ่าตัด Dr. Ng ได้ตรวจดูบริเวณขาด้านซ้ายของ นาง Yuen จริงหรือ ถ้าไม่ได้ตรวจจริงแสดงว่าเขาละทิ้งสิ่งควรกระทำ”

ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง Dr. Nicholas Goddard จาก Royal Free Hospital จากเมืองลอนดอน ซึ่งครอบครัวของ นาง Yuen ได้เชิญมาให้ความเห็นได้กล่าวว่า “การผ่าตัดเปลี่ยนเข่าที่ศัลยแพทย์พลาดไปตัดถูกเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำเป็นผลมาจากเทคนิคการผ่าตัดที่ไม่ชำนาญ”

ในบทสรุป นางสาว Ponnampalam เจ้าหน้าที่ไต่สวนได้กล่าวว่า จากการตรวจสอบหลักฐาน ได้แสดงให้เห็นว่า เส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำได้ถูกตัดขาดระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าโดย Dr. Ng ถึงแม้จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่ศัลยแพทย์กระดูกทุกคนต้องรู้และตระหนักถึงระหว่างการผ่าตัด

นางสาว Ponnampalam ยังกล่าวอีกว่า “Dr. Ng ไปต่างประเทศหลังการผ่าตัดใหญ่วันที่ 2 พ.ย. 2016 โดยไม่ได้ฝากศัลยแพทย์ท่านอื่นดูแลต่อถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่รอบคอบและมีผลทำให้ตรวจพบการขาดเลือดของขาข้างที่ผ่าตัดช้าเกินไป
“การตัดสินใจไม่ฝากให้แพทย์ท่านอื่นดูแลต่อในระหว่างที่ตัวเองไม่อยู่ ถือเป็นความคิดที่ตื้นและไม่รอบคอบ”

เธอยังกล่าวว่า “บันทึกทางการแพทย์หลังผ่าตัดของ นาง Yuen ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานและไม่น่าเชื่อถือ ขาดรายละเอียดสำคัญหลายอย่างโดยเฉพาะการตรวจทางด้านระบบประสาทและการไหลเวียนเลือดของขาข้างที่ผ่าตัด และการบันทึกเวชระเบียนย้อนหลังของ Dr. Ng นอกจากผิดกฎของแพทยสภาแห่งสิงคโปร์แล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เนื่องจากสภาพคนไข้แย่ลงไปมาก

บันทึกทางการพยาบาลก็สั้นไม่ได้ลงรายละเอียดที่สำคัญ และการบันทึกของพยาบาลรายหนึ่งก็เขียนตาม Dr. Ng โดยไม่ได้ตรวจเช็คอาการคนไข้ด้วยตัวเอง(Independent checks)

บทสรุปสาเหตุการตายของนาง Yuen คือการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดของแพทย์ในฐานะ Primary care ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

หลังการไต่สวน Dr. Noel Yeo ผู้บริหารสูงสุดของ Mount Elizabeth Hospital ได้ส่งเรื่องร้องเรียนให้แพทยสภาแห่งสิงคโปร์ ในระหว่างรอการพิจารณาของแพทยสภาแห่งสิงคโปร์เขาถูกสั่งพักงานเป็นเวลา 8 เดือน
หลังเกิดเหตุการณ์นี้ ผู้บริหารของ Mount Elizabeth Hospital ได้ทบทวน Nursing protocol การดูแลผู้ป่วยหลังการเปลี่ยนเข่า โดยมีผลตั้งแต่ เม.ย. 2018 โดยพยาบาลที่ดูแลคนไข้กลุ่มนี้จะต้องตรวจสอบชีพจรและการไหลเวียนเลือดบริเวณขาข้างที่ผ่าตัดทุกราย และต้องมีการบันทึกในแบบฟอร์มที่โรงพยาบาลจัดทำขึ้น

“สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เพื่อปรับปรุงขบวนการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนเข่า เราคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการ Monitor อย่างใกล้ชิดและตรงเป้าหมาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบันทึกทางการพยาบาลจะช่วยเพิ่มความตระหนักเชิงคลินิก (Clinical awareness) ทำให้สามารถตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ"

เดรดิต FB @ Wichai Naiyaraksaereemd
https://www.facebook.com/ikkyuninja.thailand/posts/2488501294572071


Create Date : 10 ตุลาคม 2562
Last Update : 10 ตุลาคม 2562 21:22:53 น. 0 comments
Counter : 3626 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณna_nyu


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]