Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ถ้าฟ้องแพทย์ รพ. รัฐ ตรวจรักษาผู้ป่วยในศูนย์ไตเทียมของเอกชน (outsource) แต่ สถานที่ตั้งอยู่ใน รพ.รัฐ





นำมาฝาก .. ถ้าฟ้องแพทย์ รพ. รัฐ ตรวจรักษาผู้ป่วยในศูนย์ไตเทียมของเอกชน (outsource) แต่ สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ รพ.รัฐ ..แพทย์จะได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.หรือไม่ ?

ที่มา ...

รพ.จังหวัดแห่งหนึ่ง เปิดให้เอกชน มาเช่าพื้นที่ของโรงพยาบาล เพื่อให้บริการฟอกไต กับผู้ป่วย (ข้าราชการ+อื่นๆ บ้าง)
และ ผู้อำนวยการได้มอบหมายให้แพทย์ใน รพ.นั้น (ข้าราชการ) เป็นผู้ดูแล ศูนย์ไตเทียมแห่งนั้น โดยได้รับค่าตอบแทนจาก เอกชน (ที่ทราบว่าได้จากเอกชน เพราะ ถ้าน้องหมอที่รับเงินหมื่น ไปตรวจผู้ป่วย จะออกเงินในชื่อของพี่หมอ แล้วพี่หมอก็นำเงินสดมาให้น้อง)

ประเด็นที่สงสัยในแง่กฎหมายคือ " ถ้ามีการฟ้องร้องของผู้ป่วยที่ฟอกไต แพทย์(ข้าราชการ)นั้น จะได้รับความคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือไม่ ?

เพราะ ตามที่ผมเข้าใจ
- ถ้าเป็น แพทย์ (ข้าราชการ) ไปตรวจรักษาผู้ป่วย (ของ รพ.รัฐ) ในเวลาราชการ จะได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.

- ถ้าเป็น แพทย์ (ข้าราชการ) ไปตรวจรักษา ใน รพ.เอกชน ที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ รพ.รัฐ อันนี้ ก็ชัดเจน ว่าแพทย์ต้องรับผิดชอบตัวเอง (ร่วมกับ เจ้าของ รพ.เอกชน)

- แต่กรณีที่สงสัยนี้ จะเป็น แพทย์ (ข้าราชการ) ไปตรวจรักษาผู้ป่วย (ของ รพ.รัฐ) ในเวลาราชการ แต่ อยู่ในหน่วยฟอกไต (ของเอกชน) ที่ตั้งในพื้นที่ของ รพ.รัฐ โดยแพทย์ (ข้าราชการ) ได้รับค่าตอบแทนจากเอกชน (ถือว่า เอกชนเป็นนายจ้าง ?)

ถ้าฟ้องแพ่ง จะให้ รัฐ มารับผิดชอบคุ้มครองทั้งหมด มันก็แปลก แต่ถ้าจะให้ แพทย์รับไปเต็ม ๆ (กับเอกชน) ก็แปลกอีก เพราะเป็น ผู้ป่วยของ ร.พ.รัฐ ไปตรวจรักษาในเวลาราชการ แถมที่ตั้งก็อยู่ใน รพ.รัฐ อีกต่างหาก

จึงอยากปรึกษาผู้รู้ทางกฎหมายว่า จะตีความอย่างไร ? เพื่อจะได้นำไปอ้างอิง และ กระจายไปให้แพทย์เหล่านั้น ทราบถึงแง่มุมทางกฎหมายเผื่อไว้ ผมเชื่อว่า น่าจะมี รพ.รัฐ หลายแห่งที่ทำคล้าย ๆ กันนี้

ขอบคุณครับ


......................

หมายเหตุ เกี่ยวกับกฎหมาย ขอสรุปง่าย ๆ เท่าที่ผมเข้าใจ ถ้าผิดพลาดก็รบกวนชี้แจงแก้ไขให้ด้วยนะครับ

๑. ถ้าฟ้องแพ่ง (ชดใช้ค่าเสียหายด้วย เงิน )
ถ้าเป็นข้าราชการ ถือว่า เป็นความรับผิดชอบของราชการ ยกเว้นพิสูจน์ได้ว่า เกิดจากความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของบุคคลนั้นเอง
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได ้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

๒. ถ้าฟ้องอาญา ( ชดใช้ค่าเสียหายด้วยเวลา เช่น การติดคุก ประหารชีวิต)
ถือว่าเป็นความรับผิดชอบส่วนตัวของแพทย์เอง ไม่ว่าเป็นข้าราชการหรือเอกชน ทำงานใน รพ.รัฐ หรือเอกชน ก็เหมือนกัน

...................................................

สรุป ความเห็น ของผู้รู้ ... เป็นหลักการโดยทั่วไปทางกฏหมาย เอาไว้เป็นข้อมูลประกอบ สำหรับผู้ที่ประสบเหตุ คล้าย ๆ กัน ... เอาท์ซอร์ส แต่ ให้เข้ามาทำอยู่ในเขต รพ. ?

คห. ๑ ... หลัก คุ้มครอง พรบ ละเมิด ถ้าครบองค์ ก็คุ้มครอง
๑. มีฐานะ จนท รัฐ
๒. ปฏิบัติหน้าที่ให้รัฐตามที่ได้รับมอบหมาย
๓. ทำเพื่อประโยชน์รัฐ มิใช่ส่วนตน

....................

คห.๒ ... แยกเป็นสองประเด็นที่ต้องพิจารณา
๑. นิติกรรมที่หน่วยไตเทียมมาทำกับทางโรงพยาบาลเป็นในรูปแบบใด มาเช่าพื้นที่เท่านั้นหรือร่วมลงทุนกับทางโรงพยาบาลเลย
๒. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสั่งให้แพทย์ที่เป็นข้าราชการไปดูแลหน่วยนี้นั้น เป็นการสั่งปากเปล่าหรือมีหนังสือออกเป็นคำสั่งราชการ

ถ้าหน่วยไตเทียมมาเช่าพื้นที่โรงพยาบาลและแพทย์ที่ไปทำงานในหน่วยนี้แม้ไปใน เวลาราชการก็ตาม โดยรับเงินจากหน่วยไตเทียมเอกชนโดยตรง อย่างนี้พ.ร.บ.ความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ไม่ครอบคลุมแน่นอน

แต่หากเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลกับเอกชนโดยมีหนังสือสัญญาแน่นอน (ซึ่งในทางกฎหมายคงทำไม่ได้ระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาล) และ มีคำสั่งผู้อำนวยการเป็นหนังสือชัดเจน อย่างนี้ พรบ. ก็จะครอบคลุมได้ครับ

...............




Create Date : 19 กันยายน 2559
Last Update : 9 กรกฎาคม 2560 13:10:23 น. 0 comments
Counter : 1299 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]