Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

น้ำมันมะพร้าว - ออย์ พูลลิ่ง ( oil pulling ) ... ดีจริง หรือ ???




ความจริง(...ที่ปกปิด) ของน้ำมันมะพร้าว

โดยหมอดื้อ 7 มิ.ย. 2558 05:01

https://www.thairath.co.th/content/503397

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์(Virgincoconut oil) สกัดแบบบีบเย็น จากเนื้อมะพร้าวสด โดยกระบวนการที่ไม่ใช้ความร้อนหรือสารเคมี(Coldpressed coconut oil) เป็นที่นิยมกันถล่มทลายใครไม่กินเป็นเชย แต่ดีจริงหรือ หมอดื้อ ได้คุณหมอณิชา สมหล่อ หน่วยโภชนาการคลินิกฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาชี้แจงพร้อมกับหมอจะได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวกับอัลไซเมอร์ด้วย

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแม้เชื่อว่าจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าการสกัดร้อนแต่องค์ประกอบกรดไขมันจะไม่ต่างกัน โดยที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง หรือ Mediumchain triglycerides (มีจำนวนคาร์บอน 6-12 ตัว) 63%ซึ่งส่วนมากคือกรดลอริกที่มีคาร์บอน 12 ตัว (Lauric acid, C12:0)กรดไขมัน อิ่มตัวสายยาว (มีจำนวนคาร์บอน >12 ตัว) 30%และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว (มีจำนวนคาร์บอน >12 ตัว) 7%

กรดไขมันอิ่มตัวสายกลางมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถดูดซึมที่ลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรงนำไปใช้ที่ตับได้อย่างรวดเร็วแตกต่างจากกรดไขมันสายยาวที่ดูดซึมผ่านระบบน้ำเหลืองก่อนเข้ากระแสเลือดและการเปลี่ยนนำไปใช้เป็นพลังงานที่ตับมีกระบวนการซับซ้อนกว่าทางการแพทย์จึงสกัดเอากรดไขมันอิ่มตัวสายกลางจากน้ำมันมะพร้าวไปใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารทางการแพทย์ชนิดรับประทานสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ (Semi-elementaldiet) เป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารคีโตเจนิก (Ketogenic diet) ในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคลมชักและเป็นส่วนประกอบของไขมันในอาหารที่ให้ทางเส้นเลือดดำซึ่งการนำมาใช้ทางการแพทย์ที่กล่าวมานี้ต้องผ่านการสกัดแยกมาจากน้ำมันมะพร้าวอีกทีเพื่อเอาเฉพาะกรดไขมันอิ่มตัวสายกลางเท่านั้นไม่ใช่ใช้น้ำมันมะพร้าวแบบที่ขายทั่วไปในท้องตลาดที่มีกรดไขมันอื่นๆประกอบอยู่ด้วย

กรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง(มีจำนวนคาร์บอน 6-12 ตัว) ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักทั้งๆที่มีคุณสมบัติที่ถูกนำไปใช้ในตับได้เร็วเชื่อว่าไม่สะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย การศึกษาในประเทศบราซิล (วารสาร lipids2009) ในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุงอายุระหว่าง 20-40 ปีกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะพร้าว 30 มล.ต่อวันและกลุ่มที่รับประทานน้ำมันถั่วเหลือง 30 มล.ต่อวัน (กลุ่มละ 20 คน)ร่วมกับรับประทานอาหารพลังงานต่ำ และออกกำลังกายโดยการเดิน 200นาทีต่อสัปดาห์ในทั้งสองกลุ่ม เป็นเวลา 12 สัปดาห์พบว่าทั้งสองกลุ่มลดน้ำหนักและดัชนีมวลกายและเส้นรอบพุงลงได้ไม่ต่างกัน

ในการศึกษาแบบวิเคราะห์เจาะลึก60 รายงาน (วารสาร The American journal of clinicalnutrition 2003) พบว่าการรับประทานอาหารที่ใช้กรดลอริกที่พบมากในน้ำมันมะพร้าวทดแทนคาร์โบไฮเดรตในพลังงานที่เท่ากันพบว่าเพิ่มคอเลสเทอรอลในเลือดทั้งตัวดี HDL และตัวร้าย LDLโดยการเพิ่มขึ้นของตัวดีจะมากกว่า จึงนำไปสู่การตีความกันว่าน้ำมันมะพร้าวน่าจะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างไรก็ตาม การศึกษาในสัตว์ทดลองที่ไม่ใช่แค่การดูเฉพาะระดับคอเลสเทอรอลในเลือดกลับพบว่าในกระต่ายที่ได้รับอาหารไขมันสูงจากน้ำมันมะพร้าว 10%มีไขมันอุดตันในเส้นเลือดแดงสูงกว่ากลุ่มใช้น้ำมันมะพร้าว 3% เป็น 2 เท่า(วารสาร Atherosclerosis. 2010) ส่วนการศึกษาในคนซึ่งต้องเป็นการศึกษาระยะเวลานานเป็นปีๆปัจจุบันยังไม่มี

น้ำมันมะพร้าวที่บรรยายสรรพคุณว่าดีสำหรับโรคสมองฝ่ออัลไซเมอร์มีcaprylictriglyceride กรดไขมันอิ่มตัวสายกลางเป็นสำคัญ ตามปกติ พลังงานจะได้จากกลูโคสเมื่อกลูโคสขาดแคลน ตับจะเป็นตัวสร้างคีโตน ให้เป็นแหล่งพลังงานแทนในกรณีนี้ก็ไม่ต้องอดอาหารเอากรดไขมันอิ่มตัวสายกลางป้อนสารคีโตนจากการผ่านทางตับให้สมองโดยโรคอัลไซเมอร์คือ “เบาหวานของสมอง” และสมองเบาหวานนี้จะใช้คีโตนได้ดีกว่ากลูโคสคีโตนจะช่วยลดความเสียหายในเซลล์สมองที่เกิดขึ้นจากมวลอนุมูลอิสระรวมทั้งจากสารอักเสบที่เป็นตัวการของโรคอัลไซเมอร์ และป้องกันการเกิดสารพิษโปรตีน amyloid

การศึกษาการใช้อาหารคีโตนในโรคอัลไซเมอร์โดยเป็นการทดลองในหนู2 รายงาน ในปี 2005 และ 2011 ในสุนัข 1 รายงาน (2008)และในคนที่เริ่มมีอาการหลงลืม MCI (Mild cognitiveimpairment) ในปี 2012 ซึ่งมีผู้ป่วยในการศึกษา 23 รายได้รับอาหารที่มีแป้งหรือคาร์โบโฮเดรตต่ำ ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้มีการสร้างคีโตนพบว่าจะมีความจำดีกว่าคนที่ได้อาหารแป้งสูง ซึ่งคล้ายคลึงกับรายงานในปี 2004 กับผู้ป่วยMCI และที่เป็นอัลไซเมอร์แล้วโดยให้เครื่องดื่มที่มีกรดไขมันขนาดปานกลางไตรกลีเซอไรด์จะพบว่ามีค่าการวัดความจำดีขึ้นบ้าง

สำหรับการใช้น้ำมันมะพร้าวกรดไขมันอิ่มตัวสายกลางกับโรคอัลไซเมอร์มีรายงานของผลิตภัณฑ์ชื่อAxona(AC-1202) ของอเมริกาในปี 2009, 2011 และ 2012ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง 152 ราย ใช้ผลิตภัณฑ์ AC-1202 ที่ 10-20 กรัมต่อวัน ไป 90 วัน ณ วันที่ 45กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวมีระดับการทดสอบดีขึ้น แต่ในวันที่ 90คะแนนกลับมาเท่ากันในกลุ่มที่ได้และไม่ได้น้ำมันมะพร้าว รวมทั้งวันที่ 104หลังจากหยุดการกินน้ำมันมะพร้าวไปแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ไม่มียีนร้ายของสมองฝ่อกลับพบว่าน้ำมันมะพร้าวเสริมความจำให้ดีขึ้นที่การทดลองทุกระยะ

ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าวที่สำคัญอยู่ที่ชนิดและต้องเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง ไม่ใช่น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ไม่ทราบส่วนประกอบประโยชน์ด้านการลดน้ำหนักยังไม่ชัดเจน การป้องกันหรือลดการเกิดโรคหัวใจ และโรคสมองอาจจะเป็นไปได้ โดยที่ต้องติดตามใกล้ชิด.

หมอดื้อ


......................................................

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/17/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

น้ำมันมะพร้าว กับ การลดน้ำหนัก

ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

น้ำมันมะพร้าว(coconutoil) คือน้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocosnucifera L.) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Arecaceaeหรือ Palmae) ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวที่จำหน่ายในท้องตลาดและได้รับความสนใจในขณะนี้คือ virgin coconut oil ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะพร้าวที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมีวิธีที่ใช้ในการเตรียม virgin coconut oil เช่น วิธีบีบเย็นเป็นต้น

องค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัว(มากกว่า 90%จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด)แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ำมันมะพร้าวนั้นเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง(mediumchain fatty acid) เช่น กรดลอริก(lauric acid) ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue)ได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (long chain fatty acid) เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในน้ำมันถั่วเหลืองเป็นต้น (1, 2)

จากคุณสมบัติดังกล่าวของน้ำมันมะพร้าวส่งผลให้น้ำมันมะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการรับประทานเพื่อช่วยลดความอ้วนจากรายงานการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blind,clinical trial) ในประเทศบราซิล (3)ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะพร้าวและกลุ่มที่รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง(abdominal obesity) มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (กลุ่มละ 20 คน)รับประทาน 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างการทดสอบผู้ทดสอบทุกคนจะได้รับอาหารพลังงานต่ำ (hypocaloricdiet) และออกกำลังกาย 4 วัน/สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ทำให้น้ำหนักตัวและbody mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลองเมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย(LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ำมันถั่วเหลืองมีระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ10.45และ 23.48 ตามลำดับ และมีระดับไขมันตัวดี (HDL) ลดลงร้อยละ12.62 เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลองอย่างไรก็ตามระดับไตรกลีเซอไรด์ของทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง

แม้การศึกษานี้จะแสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลองและไม่ทำให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวมไขมันตัวร้าย(LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้นอีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี(HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วยอย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทำการทดสอบในกลุ่มคนจำนวนน้อยและระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่ำและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ(4วัน/สัปดาห์)ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดี จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูผลของน้ำมันมะพร้าวต่อการลดน้ำหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาวดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลต่อการลดน้ำหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและหากจะให้แนะนำถึงหนทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดในขณะนี้สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักก็คงจะหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


..................................................

OilPulling จริงหรือแหกตา ? ลองมาวิเคราะห์กันดูค่ะ***

https://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2010/01/L8762536/L8762536.html

เนื่องจากช่วงนี้ได้รับหลังไมค์ถามเรื่องนี้และเห็นมีกระแสในบางห้องมาแรงเหลือเกินก็เลยอยากจะลองวิเคราะห์ดูตามความรู้ของตัวเองและตามที่ได้ศึกษามาค่ะ

ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์และที่เห็นโพสต์ตามเวปขายน้ำมันพวกนี้

"ออยล์พูลลิ่งเป็นวิธีบำบัดของอินเดียที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยการอมน้ำมันไว้และเคลื่อนน้ำมันไปให้ทั่วช่องปากใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr.F. Karach, M.D., ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมสัมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karachได้อธิบายถึงการบำบัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใครด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้การอมน้ำมัน

ผลลัพธ์ของการบำบัดด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วยความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมากอย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการอธิบาย ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ทดลองทำ พิสูจน์หาความสมเหตุสมผลที่เกิดขึ้นต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจากการรักษาอย่างสมบูรณ์อีกทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วย เป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ด้วยวิธีการง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด

Dr.Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียงซึ่งเขียนหนังสือไว้หลายเล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสงสัยในรายงานดังกล่าวจึงได้ทดลองทำออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr. Fife ถึงกับออกปากว่าออยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr.Fife สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำมันจึงช่วยรักษาโรคได้เขาเริ่มศึกษาการทำออยล์พูลลิ่งของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้นในที่สุดก็ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy มีใจความบางตอนดังนี้

-ในปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย

ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรียไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสมมีความร้อน ความชื้น และอุณหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทานกล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลกแบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือกบางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้นการแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้นซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม

-โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก

อาจฟังดูเหลือเชื่อแต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือโรคจากการบาดเจ็บต่างๆโรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆล้วนเริ่มต้นที่ปากเนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกายการรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอยิ่งกว่านั้นในปากและลำไส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตรายบางชนิดไม่ และบางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือดแม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อจะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่ายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ

-ออยล์พูลลิ่งทำงานอย่างไร?

ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำบัดที่ทำได้ง่ายที่สุดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาการรักษาทางธรรมชาติด้วยเช่นกันสำหรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่การอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปากไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูลลิ่งไม่ได้รักษาโรคแต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการปล่อยสารพิษให้หมดไปเพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู

ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆแบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปล่อยสารพิษแก่ร่างกายนั้นแต่ละเซลล์ของมันจะปกคลุมด้วยน้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผิวเซลล์(เซลล์ของคนเราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำมันลงในน้ำสิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำกับน้ำมันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกันแต่ถ้าคุณเทน้ำมันสองชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้ำมันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง

เมื่อคุณใส่น้ำมันลงในปากเนื้อเยื่อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปากแบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟันจะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติดแน่นอยูในส่วนผสมของน้ำมัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป20 นาที ส่วนผสมของน้ำมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯคุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะกลืนมัน

เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออกด้วยเช่นกันสิ่งที่ไม่ใช่น้ำมัน (water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำลายน้ำลายยังช่วยลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย

เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไปจึงเป็นโอกาสดีที่ร่างกายได้ทำการฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไปกระแสเลือดเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซมการมีสุขภาพดีจึงกลับมาในที่สุด

-โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง

ผลของการทำออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือสุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอนเหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรังได้อีกหลายชนิดต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามีการตอบสนองที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง:สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำมูกมาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบเรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟันโรคเหงือก ท้องผูก แผลในกระเพาะ ลำไส้ ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับอ่อนเพลียเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน

ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ(ARDS) ถุงลมโป่งพองการอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาทกระดูกพรุน ปอดบวม ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย แพ้สารพิษและโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด"

ข้อความนี้น่าจะแปลมากจากเวปhttps://www.oilpulling.com/และตรงกับหนังสือเรื่อง Oil Pulling

..................................................

พบว่าข้อความดังกล่าวเต็มไปด้วยเนื้อหาที่ไม่น่าเชื่อถือ

"ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรียและโรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก"

-คงไม่ขนาดน้านนนน... แบคทีเรียในช่องปากมีอยู่เป็นร้อยๆชนิดก็จริง แต่มีอยู่ไม่กี่อย่างที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก

-ส่วนโรคอื่นๆที่พบว่าเกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก เช่นโรคลิ้นหัวใจติดเชื้อจากแบคทีเรีย (BacterialEndocarditis) ก็ต้องเกิดในคนที่มีความบกพร่องของลิ้นหัวใจอยู่แล้ว(ในคนไข้โรคหัวใจจึงต้องให้ยาปฏิชีวนะป้องกันเวลาทำฟัน) โรคปอดอักเสบจะพบในคนไข้ป่วยหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจและนำพาเชื้อจากช่องปากเข้าไปเป็นต้น ไม่ใช่ว่าใครจะป่วยกันง่ายๆ

"ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือดแม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อจะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่ายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ "

-ชี้ให้เห็นว่าคนเขียนไม่มีความรู้ด้านการแพทย์เพียงพอเพราะถึงแม้มีการผ่านของเชื้อโรคทางแผลเข้าเส้นเลือด ก็ไม่สามารถก่อโรคได้ง่ายเพราะร่างกายมีระบบป้องกันตนเอง (ไม่เช่นนั้น เราคงป่วยตายตั้งแต่กันตอนเป็นเด็กแล้วเพราะใครๆก็คงเคยมีแผลในปากทั้งนั้น)

"ออยล์พูลลิ่งทำงานอย่างไร?"

-ไขมันไม่น่าดึงเอาแบคทีเรียในปากออกมาได้ ด้วยการอม หรือกลั้วปาก ได้ดีกว่าน้ำ เพราะว่าโครงสร้างผนังเซลล์หรือ cell membrane เป็นชั้นไขมันอยู่ภายใต้ peptidoglycan ไขมันที่อมเข้าในปากจึงไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับไขมันที่เยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย เพราะโครงสร้างภายนอกเป็น peptidoglycanซึ่งไม่ใช่ไขมัน

-สารพิษหรือ toxin ในร่างกายไม่สามารถถูกดึงผ่านหลอดเลือดหรือเยื่อบุกระพุ้งแก้มออกมาได้ด้วยน้ำมันหรอกค่ะถ้ามันออกมาได้คงวุ่นวายน่าดู555...ถ้ามันผ่านออกมาได้จริงก็บ้วนปากออกซะก็สิ้นเรื่อง อีกอย่าง toxin ที่ควรจะถูกจับด้วยน้ำมันควรจะต้องละลายได้ดีในไขมัน (fat-soluble)ก็ไม่ควรจะมาลอยเท้งเต้งในกระแสเลือด ควรจะไปอยู่ในอวัยวะที่มีไขมันแล้ว oil pulling จะดึงออกมาได้อย่างไร

"โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง"

-โอเค เรื่องสุขภาพปากและฟันอาจจะดีขึ้นจริงๆเพราะว่าการบ้วนปากด้วยน้ำมันกลั้วไปกลั้วมาตั้ง 20 นาทีพร้อมกับบ้วนปากตามก็คงเป็นการรักษาสุขภาพช่องปากอยู่แล้วและมีการวิจัยว่าพวกน้ำมันอะไรพวกนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆรวมทั้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงทำให้ลดการอักเสบได้

-แต่ไอ้คำกล่าวว่า "อาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ( ARDS) ถุงลมโป่งพองการอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง บลาๆๆๆ..." นั้นไม่มีหลักฐานด้านการแพทย์หรืองานวิจัยยืนยัน

ค้นจาก"Pubmed"ซึ่งเป็นแหล่งรวมงานวิจัย พบเรื่อง "Oil Pulling" เพียงสองเรื่องที่ศึกษาว่าการบ้วนปากด้วยน้ำมันตามวิธีนี้สามารถลดปริมาณเชื้อ Streptococcus mutans ลด Plauqe ในช่องปากและเหงือกอักเสบได้ ไม่มีรายงานเรื่องผลต่อโรคอื่นๆเลยรวมทั้งเวปงานวิจัยอื่นๆด้วย

ในงานวิจัยนี้ https://www.ijdr.in/article.asp?issn=0970-9290;year=2009;volume=20;issue=1;spage=47;epage=51;aulast=Asokanพบว่าประสิทธิภาพของ oil pulling ก็พอๆกับการใช้น้ำยาบ้วนปากchlorhexidine 1 นาที ...ก็เลือกเอาก็แล้วกันว่าจะอมน้ำมัน 20นาที หรือบ้วนปากแค่หนึ่งนาที ^ ^

-"Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมสัมนาบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง "

เป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆหาที่อ้างอิงไม่ได้ ชื่อของ Dr.F. Karach ปรากฎแต่ในเวปของ Oil Pulling เท่านั้น

สรุป

-เราไม่ควรนำแบคทีเรียออกจากปากหรืออวัยวะส่วนใดของเรา (เช่น การสวนล้าง... การทำ detox)เพราะแบคทีเรียพวกนี้เป็นแบคทีเรียเจ้าถิ่นทำหน้าที่รักษาสมดุลให้ร่างกายและต่อสู้กับแบคทีเรียร้าย

-การกล่าวเชิญชวนว่ามีวิธี หรือยาอื่นใดที่สามารถรักษาโรคสำคัญ เช่น หัวใจ ปอดเบาหวาน โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าผิดกฎหมาย

-การจะเชื่อสิ่งใดๆ ต้องมีเหตุผลและหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เช่นการรับรองจากนักวิชาการ งานวิจัยที่เชื่อถือได้

Reference

https://www.mayoclinic.com/health/dental/DE00001

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez

https://www.textbookofbacteriology.net/normalflora.html

https://www.lisabarger.com/oil_pulling_debunked/

กระทู้นี้ก็สมควรใช้วิจารณญาณในการเชื่อเช่นกันค่ะ... ไม่ว่ากันถ้าใครจะลองทำเพราะว่าเห็นว่าไม่เสียหาย แต่ไม่ควรหลงงมงายเกินไปค่ะ

จากคุณ : หมูเหมียว

เขียนเมื่อ : 13 ม.ค. 53 17:28:58

 ....................................

OilPulling Therapy

เรื่องหลอกลวง(hoax),Thaihoax.co.cc

https://sites.google.com/site/thaihoax/Home/oil-pulling-therapy

สรุปว่าเรื่องที่อ้างถึงว่ามาจากวิธี Oil Pulling ดังว่านี้เป็นเรื่องหลอกลวง

อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลรับรองว่าเป็นจริงโดยองค์กรใดด้านสาธารณสุข,มหาวิทยาลัย, องค์การอนามัยโลก.สำนักข่าวอย่างCNN.com และ BBC.co.uk ก็มิได้เอ่ยถึงเรื่องนี้

เรื่องนี้เป็นธุรกิจผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากจากอินเดีย ผู้มีทักษะทางภาษาอังกฤษดี ย่อมต้อง postว่าเป็นเรื่องจริงในทุก forum ที่ postได้ ดังนั้นทำให้เกิดความเชื่อถือว่าเป็นเรื่องจริงมากขึ้นไปอีก เขียนเป็นหนังสือยังทำได้ แค่ post เหตุใดจะไม่ได้




Create Date : 08 มิถุนายน 2558
Last Update : 28 ธันวาคม 2561 21:37:04 น. 0 comments
Counter : 709 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]