Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เคล็ดลับ 20 ประการ ที่จะช่วยคุณ " ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...




https://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1464:-20-&catid=107:2010-07-14-03-30-38&Itemid=162
 

เคล็ดลับ 20 ประการที่จะช่วยคุณป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ


วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2010 เวลา 13:49
ผศ. ดร.ยุพดี ศิริสินสุข

มีการประมาณการกันว่าในสหรัฐอเมริกามีคนราว 44,000 – 98,000 คน ที่ต้องเสียชีวิตจากความผิดพลาดในการเข้ารับบริการสุขภาพในแต่ละปี**

แต่ถ้าถามถึงสถิติในประเทศไทยสถิติดังกล่าวไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบในเมืองไทย คิดว่าคงไม่น้อยไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะต้องรู้วิธีป้องกันเพื่อไม่ ให้เกิดความผิดพลาดดังกล่าว



ความผิดพลาดทางการแพทย์เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้แม้แต่ใน การรักษาปกติตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรับการผ่าตัด การได้รับยา หรือการได้รับบริการอื่นๆ ในสถานพยาบาล เช่น การได้รับอาหารที่ผิดประเภทในคนไข้ คู่มือนี้จึงจะเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคหรือคนไข้ในการปฏิบัติตัวเพื่อความ ปลอดภัยในการรับบริการ



ก. หลักการที่สำคัญ

เคล็ดลับประการที่ 1 ต้อง พึงระลึกไว้เสมอว่า “เราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ให้การรักษา” นั่นหมายถึงเราต้องมีส่วนร่วมในทุกๆการตัดสินใจในกระบวนการดูแลรักษา

มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรักษามีแนวโน้มจะได้ผล การรักษาที่ดีกว่า


ข. หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา

เคล็ดลับประการที่ 2 ท่าน ต้องแน่ใจว่าแพทย์ทำการรักษาท่านอยู่ทราบว่า ท่าน ได้รับยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอะไรอยู่บ้างไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์ ท่านอื่นๆหรือท่านหาซื้อมารับประทานเอง

กรณีที่ได้รับจากแพทย์ท่านอื่น แม้ว่าจะเป็นแพทย์โรงพยาบาลเดียวกัน แต่ คนละแผนก ท่านก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เผื่อแพทย์ท่านนั้นจะไม่ได้อ่านประวัติการใช้ยาของท่านทั้งหมด

ในกรณีท่านซื้อมารับประทานเองจากร้านยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ เช่น พวกวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรต่างๆ ซึ่งในการรักษาพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้มากโดยเฉพาะอันตรายจาก ปฏิกิริยาต่อวันระหว่างยา ที่แพทย์สั่งให้ใหม่กับยาที่ท่านรับประทานอยู่ หรือกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้

ดังนั้น ในการพบแพทย์หรือต้องนอนโรงพยาบาลให้นำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้ประจำมา เป็นข้อมูลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบก่อนที่แพทย์จะตัดสินใจสั่งการรักษา


เคล็ดลับประการที่ 3 ท่าน ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่ทำการรักษาท่านอยู่ทราบว่าท่านเคยแพ้ยาหรือมีอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากยาชนิดใด เพื่อแพทย์จะได้หลีกเลี่ยงยาประเภทดังกล่าว

ในกรณีที่ท่านอาจแพ้ยาหรือเกิดอันตรายจากยาที่ได้รับจากคลินิกหรือร้านยา ให้ท่านกลับไปที่คลินิกหรือร้านยาดังกล่าว เพื่อขอทราบชื่อยาและต้องบันทึกเก็บไว้ประจำตัวและแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกร ผู้ให้การรักษาทราบทุกครั้งก่อนรับยา


เคล็ดลับประการที่ 4 ใน กรณีที่แพทย์ตัดสินใจให้ยาแก่ท่าน ท่านต้องพยายามทำความเข้าใจกับใบสั่งยาที่ท่านได้รับ โดยเฉพาะลายมือที่แพทย์เขียน เพราะลายมือที่ไม่ชัดเจนทำให้เภสัชกรจ่ายยาผิดพลาดและเป็นที่มาของความเสีย หายที่เกิดขึ้นกับคนไข้


เคล็ดลับประการที่ 5 ท่านพึงต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับยาที่ท่านได้รับ โดยสอบถามแพทย์ให้ชัดเจน ได้แก่

- ยาที่ได้รับนั้นใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

- ยาที่ได้รับต้องใช้อย่างไร และใช้ยานานแค่ไหน จะหยุดยาได้เมื่อไร

- ถ้าใช้ยาแล้วโอกาสเกิดอาการข้างเคียงอะไรบ้าง และหากเกิดขึ้นจริงจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

- ยาที่ได้รับนี้หากต้องรับประทานร่วมกับยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่ท่านรับประทานอยู่จะปลอดภัยหรือไม่

- ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหรือมีกิจกรรมต่างๆ ประการใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่รับประทานยานี้ เช่น ยาบางชนิดจะมีอันตรายหากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์



เคล็ดลับประการที่ 6 เมื่อไปรับยาตามใบสั่งยาที่ห้องยาหรือร้านยา ต้อง แน่ใจว่าเป็นยาที่เหมาะสมสำหรับท่านจริงๆ ในการรับยาจาเภสัชกร ท่านมีสิทธิที่จะถามเพื่อความมั่นใจว่ายาที่ได้รับเป็นยาที่เหมาะสมกับท่าน จริงๆ โดยเฉพาะหากท่านมีโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาหลายขนานร่วมด้วยอยู่แล้ว

ในการศึกษาวิจัย พบว่า ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะจ่ายยา ได้แก่ การได้รับยาผิดชนิด ไม่ถูกต้องตามที่สั่ง หรือได้รับยาในขนาดที่ผิดไปจากที่สั่ง เป้นต้น


เคล็ดลับประการที่ 7 หากท่านรับยามาแล้วมีข้อสงสัยถึงวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากต้องรีบถามก่อนกลับบ้าน เพราะหากเข้าใจผิดพลาดจะนำไปสู่การรับประทานยาหรือใช้ยาที่ผิดพลาด เช่น ฉลากระบุว่ารับประทานวันละครั้ง หลังอาหารหรือก่อนนอน มีคนไข้รับประทานยานี้วันละ 4 ครั้ง ทั้งหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน


เคล็ดลับประการที่ 8 ควรให้เภสัชกรแจ้งให้ท่านทราบถึงอันตรายหรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา และวิธีปฏิบัติหากเกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะที่อยู่ที่สามารถติดต่อกลับเพื่อขอ ข้อมูลเพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร


เคล็ดลับประการที่ 9 ท่านต้องแน่ใจว่าท่านสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เช่น หากจำเป็นต้องรับประทานยาน้ำ ต้องถามเภสัชกรให้แน่ใจว่าจะใช้อุปกรณ์ในการตวงยาอย่างไรจะเหมาะสม เช่น หนึ่งช้อนชา ไม่เท่ากับขนาดหนึ่งช้อนกาแฟ หากท่านไม่มีช้อนชาสำหรับตวงยาให้ขอจากห้องยาหรือร้านยาได้ หรือหากได้รับเป็นหลอดฉีดยาสำหรับตวงยาต้องแน่ใจว่าท่านใช้ได้อย่างถูกต้อง หรือหากท่านต้องใช้ยาพ่นต้องแต่ใจว่าพ่นถูกอวัยวะ เช่น พ่นเข้าจมูกหรือพ่นเข้าปาก การเก็บยาหลังจากเปิดขวดใช้แล้ว วิธีการใดที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้เย็น หรือต้องทิ้งภายหลังใช้เป็นเวลา 1 เดือน ในกรณียาหยอดตา



ค. หลักปฏิบัติหากต้องไปนอนโรงพยาบาล

เคล็ดลับประการที่ 10 หาก ท่านมีสิทธิเลือก จงเลือกโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการรักษาคนไข้ในวิธีการนั้นๆก่อน, โดยมีงานวิจัยยืนยันว่าหากได้รับการดูแลในโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแล โรคนั้นๆ มากกว่า จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า


เคล็ดลับประการที่ 11 หากท่านต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรการแพทย์คนใด อย่าลืมถามเขาเหล่านั้นว่า “คุณหมอล้างมือให้สะอาดก่อนมาดูแลท่านหรือไม่” เนื่องจากการล้างมือเป็นวิธีการที่ดีและง่ายที่สุดในการลดการติดเชื้อในโรง พยาบาลที่องค์การอนามัยโลกยืนยัน และจากการวิจัยพบว่าหากคนไข้ถามผู้ให้บริการในเรื่องดังกล่าว ผู้ให้บริการเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะล้างมือบ่อยขึ้น และใช้สบู่มากขึ้น


เคล็ดลับประการที่ 12 หาก ท่านต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ท่านต้องแน่ใจว่าตัวท่านเอง แพทย์ที่ดูแลท่าน แพทย์ทำการผ่าตัด เข้าใจตรงกันอย่างท่องแท้ว่าจะมีวิธีการอย่างไร มีวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าหรือไม่ การผ่าตัดมีความเสี่ยงอย่างไร และต้องตรวจสอบว่าโรงพยาบาลเตรียมป้องกันความเสี่ยงไว้เรียบร้อยหรือยัง

เนื่องจากความผิดพลาดในการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ที่ก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะสามารถป้องกันได้ 100% หรือหากเกิดเหตุการณ์อันตรายจากการผ่าตัด ก็จะมีอุปสรรค์หรือเครื่องมือป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ให้เกิดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น


เคล็ดลับประการที่ 13 หาก ท่านได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้ ต้องแน่ใจว่าท่านได้ถามแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาระหว่างที่อยู่ที่บ้านจน ท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานยา การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ หรือการปฏิบัติตนว่าเมื่อไรจะสามารถกลับไปมีกิจกรรมตามปกติได้ หรือกิจกรรมอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง


ง. หลักปฏิบัติทั่วไปในการรับบริการสุขภาพ

เคล็ดลับประการที่ 14 พึง ระลึกไว้เสมอว่า “ท่านมีสิทธิถามข้อสงสัยทุกประการเกี่ยวกับการรักษา เพราะฉะนั้น “จงถาม” หรือ “จงพูด” ในสิ่งที่ท่านกังวลใจให้ผู้ให้บริการได้ทราบ


เคล็ดลับประการที่ 15 ต้องแน่ใจได้ว่ามีผู้ให้บริการคนใดคนหนึ่งที่ดูแลรับผิดชอบเฉพาะต่อตัวท่านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากท่านมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน


เคล็ดลับประการที่ 16 ต้อง แน่ใจให้ได้ว่าผู้ให้บริการทุกคนที่ท่านต้องเกี่ยวข้องด้วยในขณะทำการรักษา ทราบข้อมูลสุขภาพของท่าน โปรดอย่าคิดว่าทุกคนที่เข้ามาในกระบวนการรักษาของท่านจะทราบข้อมูลของท่าน ทั้งหมด


เคล็ดลับประการที่ 17 หาก เป็นไปได้ในการไปรับการรักษาควรพาใครไปเป็นเพื่อนด้วย อาจเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อน เพื่อที่จะช่วยท่านในกรณีที่ท่านต้องการ หรือแม้ว่าคุณอาจจะไม่ต้องการในตอนแรก คุณอาจจำเป็นต้องการคนช่วยเหลือในภายหลังก็ได้ เช่น ใน การผ่าตัดที่ต้องให้ผู้ป่วยหมดสติ หรือการบำบัดรักษาบางชนิดที่ทำให้ท่านช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในการรักษาโดยปกติแพทย์จะแจ้งล่วงหน้าเช่น มารักษาตา ห้ามขับรถกลับเอง เป็นต้น


เคล็ดลับประการที่ 18 พึง ระลึกไว้เสมอว่าในทางการแพทย์ “ยิ่งมากไม่จำเป็นต้องยิ่งดี” โดยเฉพาะการได้รับยาที่มากขึ้นมีโอกาสเสี่ยงต่อยายิ่งมาก หรือแม้กระทั่งการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามความเหมาะสมในการได้รับยาหรือการตรวจ วินิจฉัย เพื่อให้ได้ยาหรือการตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น


เคล็ดลับประการที่ 19 หาก ท่านได้รับคำสั่งให้ตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ใดๆ พึงสอบถามถึงผลของการตรวจ เพราะผลการตรวจอาจจะไม่ได้มีเฉพาะข่าวดีเท่านั้น การทราบผลย่อมจะเป็นประโยชบน์ต่อท่านในการรักษาในขั้นตอนต่อไป


เคล็ดลับประการที่ 20 จง หมั่นเรียนรู้ถึงความเป็นไปของโรคหรือความเจ็บป่วยของท่านอย่างสม่ำเสมอ อาจสอบถามจากแพทย์หรือพยาบาล หรือบุคลากรแพทย์ที่ดูแลท่าน หรือเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อื่นๆ



ที่มา : Agency for Health care Research and Quality. 2550 20 Tips to Help Prevent Medical Errors.

Available at URL : htlp://www.ahrq.org/consumer/zotips.htm

** ประมาณอัตราการตายนี้สูงกว่าการตายที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, มะเร็งเต้านม และเอดส์



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 


Create Date : 19 ตุลาคม 2553
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:33:45 น. 0 comments
Counter : 725 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]