Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทางรอดโรงพยาบาลรัฐอยู่ในมือของท่าน ... เรื่องโดย Somsak Tiamkao





ทางรอดโรงพยาบาลรัฐอยู่ในมือของท่าน !!


Somsak Tiamkao
28 กรกฎาคม 2560

ผมเห็นข่าวแต่ละวันเกี่ยวกับแพทย์ ระบบบริการที่ไม่ดี ล่าช้า รักษาไม่หาย ยาไม่ดี หมอไม่เก่ง โรงพยาบาลไม่สะอาด รอตรวจนาน ไม่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีแต่ข่าวคนตำหนิการบริการโรงพยาบาลรัฐตลอดเวลา แล้วสังคมได้อะไรมากขึ้นจากการตำหนิบ้างครับ เจ้าหน้าที่ทุกคนไม่มีใครอยากโดนตำหนิ ทุกคนพยายามทำเต็มที่ เต็มความสามารถ แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้มากเลย เพราะโรงพยาบาลของรัฐมีข้อจำกัดมากมาย งบประมาณที่ไม่พอ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากขึ้น เจ้าหน้าที่ลาออก ไม่พอต่อการทำงาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่พอต่อความต้องการ แพทย์ก็ไม่พอ พยาบาลก็ไม่พอ ตอนนี้ทุกคนทำงานหนักเกินกว่าชั่วโมงการทำงานของกรรมกรเสียอีก แล้วจะให้มีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร ผมอยากให้สังคมร่วมกันมาช่วยเหลือ หรือหาทางออกให้กับพวกเราด้วยครับ เช่น

1. การดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้ดี เจ็บป่วยเล็กน้อยที่พอดูแลตนเองได้ก็ดูแลตนเองครับ ทำแผลเองที่บ้าน ทานยาลดไข้หวัดเอง ไม่ต้องพบแพทย์ทุกครั้งหรอกครับ

2. การรักษาเมื่อได้รับยาก็ควรทานให้ครบตามที่แพทย์ เภสัชกรแนะนำ ไม่ใช่เหลือทิ้ง ต้องนำมาแลกไข่เหมือนที่ผ่านมา

3. เมื่อมารักษาควรรับยาเฉพาะตนเอง ไม่ใช่ขอให้หมอสั่งยากระเพาะอาหาร ยาฆ่าเชื้อ ยาหม่อง ยานวดไปเก็บไว้ หรือขอไปให้ญาติ ให้พระ หมอไม่สั่งให้ก็ไม่พอใจ

4. การตรวจเพิ่มเติม การเจาะเลือด เอกซเรย์ ควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ใช่ปวดหัวก็อยากตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เอ็มอาร์ไอสมอง ต้องการตรวจให้มากที่สุด เพราะเห็นว่าเป็นสิทธิ์ที่ตนเองต้องได้ฟรี ไม่ต้องกลัวครับถ้าจำเป็นต้องตรวจแพทย์ส่งตรวจแน่นอนครับ เพราะแพทย์ก็อยากส่งตรวจเพื่อให้ความแม่นยำในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง

5. การรักษาถ้าไม่รุนแรง หมอโรงพยาบาลใกล้บ้านรักษาได้ก็ควรรักษาใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องให้หมอส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ หมอไม่ส่งตัวก็ไม่พอใจ ร้องเรียนครับ ความจริงแล้วมากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์สามารถรักษษได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

6. ถ้าพอที่มีทุนทรัพย์ก็ร่วมบริจาคให้โรงพยาบาลด้วยครับ ผมลองคิดดูเล่นๆ นะครับถ้าทุกคนที่มาตรวจร่วมบริจาคคนละ 10 บาท ถ้ามีผู้ป่วย 300 คน ก็ 3000 บาทต่อวัน เดือนละ 66000 บาท (22 วันทำการ) ก็พอจะจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มได้ 2-3 คน เพื่อทำให้ระบบบริการดีขึ้น อำนวยความสะดวกได้มากขึ้น หรือถ้าคนในชุมชนนั้นๆ ร่วมบริจาควันละ 1 บาท ผมว่าปีหนึ่งๆ ได้หลายหลานเลยนะครับ เช่น มีประชากร 30000 คน ๆละ 350 บาทต่อปี ได้เกือบ 10 ล้านบาทต่อปี น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ สามารถร่วมพัฒนาโรงพยาบาลได้เลย หรือมีการร่วมทอดผ้าป่า ทอดกฐินทำบุญให้โรงพยาบาลในชุมชน เหมือนทำบุญให้วัด ได้บุญเหมือนกันครับ

7. ถ้าพอมีเวลาก็มาเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาลครับ จะได้ช่วยกันดูแลผู้มารับบริการ และเข้าใจการให้บริการของแพทย์ พยาบาล บุคลากรในโรงพยาบาล เข้าใจปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าจะทำให้การบริการและความเข้าใจระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการดีขึ้นแน่นอน

8. ระดมความคิดช่วยกันแก้ไขปัญหา ร่วมพัฒนาโรงพยาบาล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งนะครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำเพื่อส่วนรวม บางครั้งหมอเอง พยาบาลเอง หรือผู้บริหารก็ต้องการคำแนะนำอย่างรอบด้านจากคนในชุมชนครับ อย่าเพียงแต่ตำหนิอย่างเดียวครับ

9. ช่วยกัน post เรื่องราวดีๆ ของโรงพยาบาลบ้างครับ เช่นรักษาผู้ป่วยวันนี้กี่คน หายดีหมดเลย หมอคนนี้ดูแลรักษาอย่างดี พยาบาลช่วยอาบน้ำ สระผม ตัดผมให้ผู้ป่วยอย่างดี ไม่ใช่รักษาผู้ป่วยไป 1 หมื่นคน ไม่หายเพียง 1 คน ก็ post ต่อว่ากันใหญ่เลยว่ารักษาไม่ดี แบบนี้ใครจะทนไหวครับ

10. ควรเข้าใจความเป็นจริงของข้อจำกัดต่างๆ ในการบริการของโรงพยาบาลของรัฐ เจ้าหน้าที่ก็มาทำงานแต่เช้าเพื่อมาเตรียมการบริการให้ผู้ป่วย มาก่อนและกลับหลังจากเวลาราชการ พูดง่ายๆ คือมาก่อน และกลับหลังผู้ป่วย แต่ก็ไม่ได้เบิกค่าทำงานล่วงเวลาครับ กลางวันก็ไม่เคยได้ทานข้าวตรงเวลา หิวน้ำก็ไม่มีเวลาดื่มน้ำ ปวดปัสสาวะเข้าห้องน้ำ ก็ไม่ได้ไป พ่อแม่ป่วยก็ไม่ได้ลาไปดูแล ได้แต่โทรศัพท์สอบถามอาการ เจ็บป่วยเนโรคต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป หมอก็เกิดอุบัติเหตุ รถชนกันบ่อย เพราะไม่ได้นอนตอนอยู่เวร ง่วงนอนแล้วไปขับรถ นี้คือเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ในองค์กรครับ

ที่ผมพูดมายาวมากนี้ ก็เพียงอยากบอกว่าเราทุกคนที่ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐนั้น ทำด้วยใจรัก ทำเพราะอยากทำงานให้ราชการ ยอมรับในงานที่หนัก อยากทำให้ดีที่สุดเหมือนกันครับ ไม่ได้บ่น ไม่ได้ต้องการให้ใครมาเห็นใจว่าเราทำงานหนัก แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า การทำงานของโรงพยาบาลรัฐนั้นมีข้อจำกัดมากมาย ผมเชื่อมั่นว่าไม่มีใครชาติไหนในโลกนี้ที่จะทำงานหนักเท่ากับบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐเท่ากับประเทศไทย

ที่มา  https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1415118358609709&set=a.228176750637215.51283.100003346742860&type=3&theater



*******************************************

“นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า” งบประมาณไม่พอ ทางออกไม่ใช่ร่วมจ่ายเสมอไป
วันที่ 15 กันยายน 2560 - 16:00 น.
https://www.matichon.co.th/news/665020


“สารพัดปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นรายวัน แม้จะมีการบ่มเพาะ และถูกหมักหมมมาเป็นเวลานาน แต่ไม่ใช่ว่าจะแก้ไม่ได้ซะทีเดียว”Ž นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า แพทย์ประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าว

คุณหมอสมศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า ในความเป็นจริงแล้ว ระบบการให้บริการการดูแลสุขภาพคนไทยในภาพรวมทั้งประเทศนั้น หากเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ ยังถือว่าประเทศไทยมีการดูแล และสามารถให้คนทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาข้าราชการ รวมไปถึงบัตรทอง คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ทั้งหมด หลายๆ ประเทศยังไม่สามารถทำได้อย่างประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ทุกสิทธิก็ยังมีปัญหาไม่แตกต่างกัน

เรื่องของการให้บริการ เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ผมมองว่าสาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากไม่กี่เรื่องหลักๆ ก็คือ คนไข้ และญาติคนไข้มีความคาดหวังสูงจากการรับการรักษา เมื่อเทียบกับในอดีต แต่หลายๆ ครั้งก็ไม่เพียงพอกับการคาดหวังของคนไข้ และญาติคนไข้ จะเห็นว่ากรณีที่มีปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีคนไข้มารับบริการ จำนวนมาก และการให้บริการในช่วงเวลานั้นมักจะไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารที่จะ สร้างความเข้าใจต่อกัน

ปัญหาหลักๆ คือ การคาดหวังกับการบริการ

ถามว่าจะแก้อย่างไร ผมมองว่า ถ้าสามารถทำให้ประชาชนไว้วางใจในสถานพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งเวลานี้มีการทำโครงการต่างๆ ออกมาหลายโครงการ เช่น หมอครอบครัว ใกล้บ้าน-ใกล้ใจ เป็นต้น การไปใช้บริการในสถานพยาบาลใกล้บ้านนั้นจะช่วงแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ได้ไม่ให้เกิดความแออัดจนเกินไป

โดยปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลชุมชน หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านมีศักยภาพพอที่จะดูแลคนไข้ได้ดีมากขึ้น คนไข้ไม่จำเป็นต้องเสียเวลามารอคิว หรือนั่งรถมาไกลๆ ที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เพียงเพื่อเหตุผลว่าอยากได้หมอเก่งๆ หรือหมอเฉพาะทางในโรคนั้นๆ ทั้งนี้ โรงพยาบาลชุมชนก็จะมีมาตรฐานเวชปฏิบัติอยู่แล้วว่าเจ็บป่วยขนาดไหนดูแลได้ หรือเจ็บป่วยขนาดไหนต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใหญ่ ไม่จำเป็นว่าต้องไปโรงพยาบาลใหญ่ทุกกรณีŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ตามประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แล้ว พบว่าคนไข้ร้อยละ 70-80 สามารถรักษาตัวในโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่ไม่สบายใจ ไม่ไว้ใจ ที่จะไปใช้บริการยอมเสียเงิน เสียเวลารอ เพื่อให้ได้ตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากแก้ไขวิธีคิดดังกล่าวได้ จะทำให้หลายๆ ปัญหาได้รับการคลี่คลายไปในตัวเอง

*แล้วเราต้องทำอย่างไรให้ประชาชนมีความไว้วางใจสถานพยาบาลใกล้บ้าน*

นพ.สมศักดิ์บอกว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายระดับชาติที่ต้องทำอย่างจริงจัง ต้องประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจ ที่สำคัญคือ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนเองก็ต้องหมั่นทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ ตัวเองดูแลรับผิดชอบด้วย มั่นใจว่าหากสามารถลดปริมาณคนไข้ให้เบาบางลงได้ ปัญหาความขัดแย้ง กระทบกระทั่งระหว่างหมอ พยาบาล และคนไข้ก็จะเบาบางลง

หลายๆ ครั้งความขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นนอกเวลาราชการ ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉินนั้น เกินกว่าครึ่งไม่ได้ฉุกเฉินจริง แต่เมื่อมาใช้กันจำนวนมากก็จะคิดว่าตัวเองได้รับการดูแลไม่เหมาะสม เนื่องจากทุกคนมักจะคิดว่าเรื่องของตัวเองฉุกเฉินที่สุด แม้ว่าในทางการแพทย์จะมีข้อกำหนดการรออยู่แล้วว่าอาการอย่างไร สามารถรอได้นานแค่ไหน ปัญหาคือ ทนรอไม่ได้ เพราะไม่มีความไว้วางใจหมอ ซึ่งปัญหาก็จะวนกลับไปที่เดิม คือ ความไม่เข้าใจ ไม่ไว้วางใจกันŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

*ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะหมอไม่ค่อยชอบสื่อสารกับคนไข้หรือเปล่า*

การที่หมอไม่ค่อยสื่อสารกับคนไข้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เรื่องของจำนวนคนไข้ที่มีมาก ทำงานแข่งกับเวลา และการรอคอย การสื่อสารอาจจะทำได้ไม่ดีพอ เกิดเป็นความเข้าใจผิดกันได้ และในยุคสมัยนี้ เมื่อไม่มีใครอธิบาย ก็จะเกิดการฟ้องร้องต่อสังคมโซเชียลขึ้น หลายคนที่ไม่เข้าใจ รับรู้ข้อมูลเพียงข้างเดียวก็จะตำหนิหมอเอาไว้ก่อน หมอก็อยู่ในสภาวะน้ำท่วมปาก จะอธิบายอะไรก็ถูกมองว่าเป็นการแก้ตัว

*การเรียน การสอนวิชาแพทย์ ให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้มากน้อยแค่ไหน*

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า โรงเรียนแพทย์ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาตลอด ทั้งเรื่องการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ การวางตัวที่เหมาะสม ย้ำแม้กระทั่งเรื่องของสำเนียงที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังๆ ที่มีเรื่องของการใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือสื่อสารกันมากขึ้น ย้ำทั้งนักเรียนแพทย์ และแพทย์ฝึกหัดอยู่เสมอในเรื่องของการใช้สติ คือ การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องตั้งสติให้มั่น สติจะเป็นตัวลด และหลีกจากความขัดแย้งที่ดีที่สุด

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ความจริงแล้ว ระบบหลักประกันสุขภาพที่คนไทยใช้อยู่คือ บัตรทองนี้เป็นระบบการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ แต่ปัญหาที่มักจะพบในระบบนี้ก็คือความไม่เข้าใจของผู้ที่มาใช้บริการเอง โดยมักจะคิดว่าอะไรก็ตามที่ได้มาฟรีๆ แล้วมักจะไม่ค่อยดีนัก เพราะคนส่วนใหญ่จะค่อนข้างตั้งความหวังไว้กับหมอสูงมาก

ยกตัวอย่าง กรณีมารักษาโดยใช้สิทธิบัตรทองนั้นก็มีทั้งรักษาแล้วหายจากโรค นั้นๆ และรักษาไม่สำเร็จ หรือตายไปก็มี ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค ไม่ใช่รูปแบบบริการที่เข้ามาใช้ แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดไปเองว่า บัตรทองที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นของฟรี มันจะไม่ค่อยดีนัก ถ้ามารักษากับบัตรทองแล้วตาย เป็นเพราะรักษาบัตรทองไม่ดี ความเข้าใจแบบนี้แหละคือปัญหา ที่โดยภาพรวมแล้วเราต้องแก้ไขให้ได้Ž นพ.สมศักดิ์กล่าว

‘เรื่องการจัดงบประมาณ จากรัฐบาลที่ไม่เคยเพียงพอเลย แม้จะไม่เกินอัตราที่องค์การอนามัยโลกกำหนด แต่รัฐบาลก็ยังยืนยันว่าจะให้ได้เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 ซึ่งน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ คิดว่าทางแก้ปัญหาเรื่องนี้จะต้องทำอย่างไร และการร่วมจ่ายจะเป็นทางออกได้หรือไม่

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการร่วมจ่ายมาตลอด แต่ไม่ใช่การร่วมจ่ายในจุดบริการเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก แต่การร่วมจ่ายในที่นี้หมายถึง การหาเงินจากหน่วยงาน อื่นๆ มาสนับสนุนมากขึ้น เช่น เงินจากภาษีสรรพสามิต หรือคนที่ใช้บริการบัตรทองถ้ามีรายได้สูง ต้องดูจากฐานภาษีว่าจะช่วยตรงจุดไหนได้บ้าง ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม

เราต้องยอมรับว่า บ้านเราจะไปพึ่งแต่ตัวงบประมาณ เพื่อให้ได้ทุกอย่างมาแบบสมบูรณ์แบบนั้นไม่ได้แน่นอน เราต้องปรับตัวตามสถานการณ์และความเหมาะสมถึงจะอยู่ได้ คอร์สการรักษาโรคหลายๆ โรคนั้นสูงมาก ลำพังเงินจากรัฐบาลอย่างเดียวไม่พอแน่นอน แต่ก็น่าดีใจว่า เวลานี้โรงพยาบาลหลายๆ แห่ง มีการคิดโครงการต่างๆ ขึ้นมา เช่น ที่โรงพยาบาลน้ำพอง จ.ขอนแก่น เขาพยายามให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มาบริจาคเงินตามกำลังของตัวเองให้โรงพยาบาล เพื่อเอาเงินจำนวนนั้นไปใช้ยามที่ตัวเองเจ็บป่วย เช่น ได้ใช้ห้องพิเศษ ได้ใช้ยานอกบัญชี เป็นต้น คือ ผมจะบอกว่า ลักษณะแบบนี้ก็คือการร่วมจ่ายรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่การจ่ายหน้าจุดให้บริการŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

*สำหรับปัญหางบประมาณไม่เพียงพอนั้น นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ทางออกของการแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การหางบประมาณมาเพิ่ม หรือการร่วมจ่ายเสมอไป อยู่ที่การบริหารจัดการภายในพื้นที่โรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างน่าชื่นชม โดยมีคนในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วม*
*ยกตัวอย่าง การเลือกใช้ยาที่เป็นชื่อสามัญซึ่งราคาถูกกว่ายาต้นแบบ แต่การรักษาเหมือนกัน ลดการตรวจเพิ่มแบบไม่จำเป็น หรือการที่คนในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาล เช่น ช่วยสื่อสารลดความขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นต้น*





Create Date : 30 กรกฎาคม 2560
Last Update : 26 มกราคม 2561 1:56:13 น. 1 comments
Counter : 2884 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:53:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]