Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ยาอมใต้ลิ้น ISDN .. หมอหัวใจยืนยันว่า " เข้าใจผิด " .. งดแชร์ และ ฝากบอกต่อ




Rungsrit Kanjanavanit
1 ธันวาคม เวลา 23:37 น.


จากเหตุการณ์ เสียชีวิตกระทันหันของผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพรักในสังคม

เห็นมีการแชร์กันมากในไลน์ เรื่อง แนะนำให้พกยาอมใต้ลิ้น ISDN เพื่อลดโอกาสเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ผมมีความลำบากใจบางประการ
แต่ผมขอชี้แจงเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดดังนี้ครับ

ยาอมใต้ลิ้น หรือ ยาไนเตรท นี้ เป็นยาขยายหลอดเลือด ช่วย ลดอาการ เจ็บหน้าอกได้ กรณีที่ไม่เป็นรุนแรง นั่นคือ หลอดเลือดตีบ แต่ไม่ถึงกับตัน เป็นการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ (stable angina)

แต่กรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันเลย
จนเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( acute myocardial infarction )
มันช่วยอะไรมากไม่ได้
อาจบรรเทาความเจ็บปวดลงได้เล็กน้อย
แต่ไม่เคยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า สามารถลดอัตราตาย หรือภาวะแทรกซ้อนได้

หากเจ็บหน้าอกรุนแรง
วิธีลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ทำได้โดย รีบไปพบแพทย์ฉุกเฉิน (ควรใช้บริการ 1669)
เพื่อให้แพทย์เปิดหลอดเลือดหัวใจให้เลือดกลับมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยเร็วที่สุด

จะด้วยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด fibrinolysis
หรือทำ “balloon” ( primary coronary intervention) แล้วแต่ความเหมาะสม

หากจะมีการพกยา
คนที่มีความเสี่ยง อาจพก Aspirin
และเคี้ยวเวลาเกิดอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง
ยังจะมีประโยชน์มากกว่า พกและอมยาใต้ลิ้นตัวที่ว่านี้ครับ

นอกจากนี้ การติดความรู้ CPR ที่ถูกต้องให้กับประชาชนในวงกว้าง รวมถึงการเข้าถึงเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED ได้ง่าย
เป็นกลไกสำคัญในการป้องกัน การเสียชีวิตกระทันหัน จากภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของภาะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันครับ

นพ.รังสฤษฏ์ กาญจนะวณิชย์

อายุรแพทย์โรคหัวใจ
คณะแพทยศาสตร์ มช.

https://www.facebook.com/rungsrit.kanjanavanit/posts/10204279726349724


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ต้นเรื่อง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ?
ที่มา ...https://www.1morenews.com/11532.html

นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้แบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการเหล่านี้คือ มีคนในครอบครัวเป็นมาก่อน คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยผู้ชายเริ่มที่อายุ 40 ปี ส่วนผู้หญิงเริ่มมีความเสี่ยงช่วงหลังหมดประจำเดือน เมื่อรู้แล้วป้องกันตัวเองก่อน โอกาสเกิดเรื่องร้ายแรงก็จะลดลงด้วย

การเจ็บป่วยฉุกเฉิน มีหลายสาเหตุที่สามารถป้องกันและหยุดยั้งอาการไม่ให้กำเริบจนเสียชีวิตหรือพิการถาวรได้ แม้จะได้รับการดูแลรักษาที่ดีเพียงใดก็ตาม อย่างกรณีอดีตนักฟุตบอลทีมชาติที่หัวใจวายนั้น ถ้าในระหว่างนั่งพักอยู่ข้างสนาม ช่วงนั้นยังไม่เกิดวิกฤต แต่ถือเป็นก่อนวิกฤต ถ้ามียาอมใต้ลิ้นสักเม็ด ก็อาจพ้นจากภาวะวิกฤต และอาจไม่เสียชีวิต

สำหรับ “ยาอมใต้ลิ้นแก้อาการหัวใจขาดเลือด” หรือยาไอเอสดีเอ็น เป็นยาที่ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสามารถนำมาให้ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก โดยเอายาใส่ใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้า 2-3 นาที แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ให้อมใต้ลิ้นอีก 1 เม็ด เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตโดยไม่พิการ

“เราพยายามผลักดันเรื่องนี้มานาน ให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินประกาศให้ยาอมใต้ลิ้น เป็นยาสำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพราะมันช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มาก และไม่พิการ ส่วนผลข้างเคียงถ้าเกิดว่าให้ยาในคนที่ไม่ได้เป็นโรคนี้จริง ก็ไม่ได้มีอะไร แค่มีอาการชาใต้ลิ้น ปวดศีรษะตุบๆ ไม่กี่นาทีก็หาย แต่ที่ห้ามเลยคือให้ยานี้ในผู้ชายที่กินยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ (ไวอะกร้า) หรือสารในกลุ่มเดียวกัน ในช่วง 2 วันเท่านั้น เพราะจะทำให้ความดันตก ช็อก และอาจเสียชีวิตได้”

ยาดังกล่าวหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เป็นยาไอเอสดีเอ็น ชนิดอมใต้ลิ้น เม็ดหนึ่งราคาไม่เกิน 2 บาท ไปที่ไหนก็ให้พกติดตัวไว้สัก 2 เม็ด เพราะหากเกิดเหตุอะไรขึ้นมา นอกจากจะช่วยชีวิตตัวเองแล้ว ยังช่วยชีวิตคนอื่นได้ด้วยเงินเพียง 4 บาท


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด(หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2009&group=7&gblog=36

วิธีช่วยเหลือตนเองหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว , ปั๊มหัวใจตัวเองด้วยการไอ... สรุป ไม่จริง ไม่แนะนำให้ทำ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=30-04-2016&group=4&gblog=121

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนามเกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2015&group=4&gblog=106

มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-05-2008&group=4&gblog=35

พยากรณ์โอกาสเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดล่วงหน้า 10 ปี อัตโนมัติ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-04-2009&group=7&gblog=24

เด็กจมน้ำ ..ตะโกน โยน ยื่น

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2015&group=4&gblog=108





Create Date : 04 ธันวาคม 2560
Last Update : 15 ธันวาคม 2560 17:17:30 น. 0 comments
Counter : 4335 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]