Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เปิด 7 ปัญหาหลักกับภาระงานแพทย์ในรพ.รัฐขนาดเล็ก ที่หลายคนอาจไม่รู้ ? .. นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ






กรรมการแพทยสภาเผยปัญหาแพทย์ทั่วประเทศพบหลักๆ 7 ข้อ
ล่าสุดผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะทำงานกรอบชั่วโมงทำงาน ถือเป็นเรื่องดี


*ภาระงานแพทย์* – เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน *นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ* กรรมการแพทยสภา
กล่าวถึงปัญหาภาระงานของแพทย์ ทั่วประเทศ ว่า ทุก ๆ ปีกรรมการแพทยสภาจะจัดให้มีการแวะ
เยี่ยมเยียนสมาชิกที่ออกไปปฏิบัติงานในท้องที่ห่างไกล  โดยอยู ่ในโครงการภายใต้ชื่อว่า “แพทย
สภาสัญจร”  เพื่อให้คณะกรรมการแพทยสภารับทราบปัญหาที่แท้จริงของสมาชิกที่ปฏิบัติงานในที่ห่างไกล เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ปัญหาให้กับสมาชิกทั้งหมด ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ทำให้พบว่า ปัญหาของโรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลที่แวะเยี่ยม เช่น โรงพยาบาลกันทรลักษ์ โรงพยาบาลกันทรารมย์ โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลแม่จัน เป็นต้น โรงพยาบาลเหล่านี้มักประสบ
ปัญหาคล้าย ๆ กัน หลักๆ ดังนี้

*1.ขาดแคลนแพทย์ที่อยู่ประจำเป็นระยะเวลานาน ๆ* อันเนื่องมาจากระยะทางจากตัวจังหวัดหรือ
บ้านเกิด ทำให้แพทย์ที่มาอยู่ที่นี่เกือบทั้งหมดมาจากการจับสลากเพื่อชดใช้ทุน ดังนั้น เมื่อครบทุนส่วนใหญ่จึงขอย้ายออกกลับไปยังภูมิลำเนาหรือสถานที่อื่นที่ต้องการ ซึ่งมักเป็นที่มีเครืองไม้เครื่องมือทางการแพทย์ดีกว่า หรือมีโอกาสก้าวหน้า กลับไปเรียนต่อเฉพาะทางดังนั้นจึงทำให้เหลือเฉพาะแพทย์ที่ทำงานบริหาร ซึ่งมักเป็นคนพื้นที่หรือแพทย์ที่ตัดสินใจปักหลักแล้วเท่านั้นปัญหานี้ยังเป็นเหตุสำคัญให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

*2. ปริมาณผู้ป่วยต่อจำนวนบุคลากร* ทั้งแพทย์และพยาบาล ไม่ได้สัดส่วนอย่างมาก หลายแห่งแพทย์ต้องออกตรวจผู้ป่วยนอกตั้งแต ่เช้าจนถึงเย็นไม่ต่ำกว่า 300-500  ราย บางแห่งมีจำนวนแพทย์
ประจำเพียง 2-3 ท่าน ท่านหนึ่งต้องทำงานบริหาร(ผู้อำนวยการ) ที่เหลือ ผลัดกันออกตรวจทั้งผู้
ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน(IPD)  หลาย ๆ ครั้งที่เมื่อแพทย์ที่ทำงาน IPD เสร็จ ก็ต้องรีบไป
ช่วยตรวจOPDรวมทั้งผู้อำนวยการเองหากไม่ติดราชการก็มักต้องลงมาช่วยน้อง ๆ ตรวจ หากบางวัน
ที่ส่วนกลางมีการเรียกประชุมสำคัญ ๆ ก็ต้องส่งแพทย์ที่ปฏิบัติงานท่านใดท่านหนึ่งเข้าร่วมประชุมมิฉะนั้นอาจพลาดโอกาสสำคัญ ๆ โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเช่น การของบประมาณ เป็นต้น การขาดระบบนัดหมายการไม่เอาใจใส่หรือขาดความรู้หรือไม่สนใจที่จะดูแลตนเอง รวมทั้งการรักษาฟรีทุกอย่าง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่พึ่งพาตนเอง ส่งผลให้แพทย์เหนื่อยกว่าที่ควรจะเป็น ไม่สามารถใช้กำลังสมองไป คิดงานอย่างอื่นเพื่อความก้าวหน้าของโรงพยาบาลได้เลย

*3. ปัญหาความไม่พอใจของผู้ป่วยและญาติ* ซึ่งต่อเนื่องมาจาก ๒ ปัญหาข้างตน เช่น รอแพทย์
ตรวจนาน แพทย์พูดจาไม่ดีไม่ไพเราะ แพทย์ขาดความมั่นใจในการรักษา เพราะเป็นแพทย์จบ
ใหม่ ซึ่งขาดทักษะการดูแลรักษา การพูดจาปฏิสัมพันธ์

*4. ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วย* เดิมการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษามักจะจำกัดอยู่เฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็น
ต้องรับการผ่าตัดใหญ่ หรือผู้ป่วยที่มีโรคซับซ้อน หากไม่ใช่ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แล้วแพทย์มักจะดูแลเบื้องต้นให้ก่อน จนกว่าจะเห็นว่ามีความจำเป็นต้องส่งต่อ แต่เมื่อมีคำตัดสินของศาลเกี่ยวกับแนวทางการ
รักษา เช่น การตัดสินจำคุกแพทย์ในกรณีผ่าตัดไส้ติ่ง การทำคลอดการสังเกตอาการเบื้องต้นแล้วล่า
ช้าเกินไป ทำให้แนวโน้มการส่งต่อสูงขึ้น จนทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กถูกมองว่าไม่ต่างจากสถานี
อนามัยที่คอยจ่ายยาโรคเรื้อรัง รักษาหวัด ส่วนการผ่าตัดนั้นหยุดสิ้นลงโดยสิ้นเชิง แม้จะมีคำพิพากษากลับในศาลสูงแต่ไม่ทำให้ทัศนคติเปลี่ยนไป“ความเชื่อสำคัญกว่าความจริง” ความเชื่อที่ว่าหากรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีความพร้อมสูงสุดอาจต้องโทษอาญาและแพ่งได้ ถูกฝังลึกลงไปเรียบร้อยแล้วผ่านการสั่งเสียจากรุ่นสู่รุ่นดังนั้นคงยากที่จะเห็นโรงพยาบาลขนาดเล็กกลับมาเปิดห้องผ่าตัดอีก จนกว่าฝ่ายบริหารในส่วนกลางจะลงมาแก้ปัญหาทั้งหมด

“ปัญหายังไม่จบลงด้วยการส่งต่อ แต่ยังเกิดขึ้นที่ปลายทาง ซึ่งเป็นฝั่งรับผู้ป่วยที่มักปฏิเสธ เพราะ
เตียงเต็ม (ซึ่งก็เต็มจริง ๆ) ทำให้แพทย์ในสถานพยาบาลขนาดเล็กเกิดความเครียด ซึ่งไปกระตุ้น
ให้เกิดความขัดแย้งและมีแนวโน้มขอย้ายออกนอกพื้นที่ ปัญหานี้ในบางแห่งที่ผู้อำนวยการมีความ
สามารถสูง ก็จะช่วยลดปัญหาลงด้วยการพูดคุยกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่เพื่อให้รับผู้ป่วย โดยอาจมีการแลกเตียงกัน เช่น นำส่งคนไข้ที่มีอาการหนักไปสถานพยาบาลขนาดใหญ่และแลกกับการนำผู้ป่วยเรื้อรังที่สถานพยาบาลขนาดเล็ก พอดูแลได้กลับมา เป็นต้น

*5. ปัญหาการขาดความมั่นใจในการทำหัตถการ* เกิดจากปัจจัยหลัก ๆ อาทิ กังวลถูกฟ้องร้อง ความไม่พร้อมของสถานพยาบาล เช่น ขาดวิสัญญีแพทย์ ขาดบุคลากรในการดูแลหลังทำผ่าตัด ปัญหานี้กระตุ้นให้แพทย์ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยทั้งหมดทั้งหมดเพื่อไปรับการทำหัตถการในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งมักตรงกับความต้องการของญาติอยู่แล้ว แต่ปัญหาจะไปกองที่ปลายทาง” นพ.เมธี กล่าว

*6.ปัญหาเรื่องเวลาการทำงานและพักผ่อน* แพทย์ที่ไปอยู่หากปรับตัวกับภาระงานไม่ได้จะต้องเผชิญความเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับครอบครัวซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ลาออกหรือย้ายออกเร็วขึ้น 

*7.ปัญหารายได้น่าสังเกตว่าเกือบทั้งหมด * ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ หรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยกว่าเรื่องอื่นอาจเป็นเพราะมีการเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษ หรือความสามารถในการหารายได้จากแหล่งอื่น นี่เป็นตัวอย่างปัญหาของแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก็มีปัญหาอีกเช่นกัน

/ผู้สื่อข่าวถามว่าจากปัญหาดังกล่าวล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้มีการตั้งคณะ
ทำงานศึกษาเรื่องนี้
นพ.เมธี กล่าวว่า นับเป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อยก็เป็นครั้งแรกที่ผู้บริหารระดับสูง ออกมายอมรับถึงปัญหาและให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เพราะคุณภาพการรักษาผู้ป่วย ต้องเริ่มจากคุณภาพคนทำงาน เป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(สรพ.) ออกกฎเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย เพื่อให้บุคลากรทำตาม แต่กลับลืมเรื่องสำคัญที่สุด 2 อย่างคือ 1. ชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม 2.อัตรากำลังคนทำงานต่อจำนวนผู้ป่วย ทั้ง ๆที่สองเรื่องนี้ สำคัญที่สุดในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ทุก ๆ อย่างต้องเริ่มจากคน/

เครดิต  https://www.matichon.co.th



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 13:12:53 น. 0 comments
Counter : 890 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]