Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อแนะนำ ถ้าต้อง ลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร? ...



ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ

ที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้พวกเราลาออกจากราชการ นะครับ เพียงแต่อยากให้เป็นข้อคิด แนวทางในการตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรดี ...... เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ

การตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่าง ผมเชื่อว่า ต้องมีเหตุผลเบื้องหลังพอสมควร ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ อาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้บอกว่า เหตุผลนั้นดีหรือไม่ดี ถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราตัดสินใจนั้นเราได้คิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างดีแล้ว คนอื่น ๆ จะว่าอย่างไร ก็อย่าไปคิดให้รกสมองเลยครับ เพราะเวลามีปัญหาอะไรขึ้นมา คนอื่นเขาไม่ได้มาพบเจอกับเราด้วย เราเองเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ไม่ว่า ผลจะดีหรือร้าย ก็คงต้องรับไปเต็ม ๆ ดังนั้น ก่อนที่จะคิดลาออก ก็ต้องคิดให้รอบคอบไว้ด้วย

คิดก่อน

1. เขียนข้อดีข้อเสีย ของการอยู่ หรือ ออกจากราชการ ปัญหามันคืออะไร มีทางแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ คิดได้ ก็เติมไป สัก 2 อาทิตย์ แล้วค่อยกลับมาอ่านทบทวน

2. คุยปรึกษาเพื่อน ๆ พี่ๆ คุยกับพ่อแม่พี่น้อง เป็นการหาข้อมูล ความคิดเห็น แล้วก็ถือว่า เป็นการเกริ่นไว้คร่าว ๆ ก่อน จะได้มีเวลาเตรียมใจ เผื่อเราออกจริง ๆ

3. วางแผนว่า ถ้าออกแล้วจะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วก็ลองหาข้อมูล ติดต่อไว้ก่อน เผื่อถ้ามีปัญหาติดขัดอะไร ก็จะได้แก้ไขก่อน เตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีกว่า
แล้วอย่าลืมว่าแผนด้านการเงินด้วยว่า ระหว่างที่ออกไป จะเอาเงินที่ไหนใช้จ่าย เงินที่เก็บไว้มีเพียงพอหรือเปล่า

4. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ว่าถ้าจะลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง
แล้วให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบเรื่องวันลาว่ายังมีสิทธ์ลาพักร้อน ลากิจ เหลืออีก กี่วัน จะได้วางแผนเรื่องเวลาได้ถูก รวมถึง ตรวจสอบสิทธิบำเหน็จ บำนาญ เงินตกเบิก เงินที่ต้องใช้คืนในกรณีติดทุน

5. ถ้าลาออก พ่อแม่ ครอบครัว จะใช้สิทธิการรักษาอะไร ต้องใช้สิทธิบัตรสุขภาพ (บัตรทอง) หรือไม่ จะได้เตรียมเอกสารและสถานที่ติดต่อให้พร้อม ซึ่งเท่าที่สอบถาม นำเอกสาร(หนังสือให้ออกจากราชการ +สำเนาทะเบียนบ้าน +สำเนาบัตรประชาชน) ไปติดต่อได้ที่ สถานีอนามัย หรือ รพ.ในภูมิลำเนาที่อยู่ หลังจากที่ได้รับหนังสือให้ออกจากราชการแล้ว



ตัดสินใจแน่นอน

1. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ขอหนังสือลาออกจากราชการ ( เป็นใบคำร้อง ขอลาออกจากราชการ ) แล้วก็กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบ โดยเฉพาะ เหตุผลที่ขอลาออก ซึ่งอยากจะเน้นว่า อย่าให้เป็นเหตุผลที่อาจกระทบต่อคนอื่น ๆ มากนัก ไหน ๆ จะออกแล้วก็อย่าให้มีเรื่อง ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องดีกว่า

2. เสนอ ผู้อำนวยการ ซึ่งผู้อำนวยการอาจอนุมัติเลย หรือ อาจยับยั้งไว้ก็ได้ แต่ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 113 ถ้าผู้อำนวยการแจ้งเหตุผลให้ทราบก็ยับยั้งได้ 90 วัน
ส่วนกรณีที่อาจเป็นปัญหา ก็คือตามระเบียบ ถ้า ผู้อำนวยการ เฉย ๆ ไม่แจ้งยับยั้ง แต่ก็ไม่เซนต์อนุมัติ ให้ถือว่า ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ยื่น ซึ่งข้อนี้ ค่อนข้างเสี่ยงเพราะไม่ได้ระบุว่า ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเราไม่มาทำงาน แล้วเกิดการเล่นแง่ว่า เราขาดราชการโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แบบนี้ก็อาจมีปัญหาได้ ซึ่งอาจไม่มาทำงาน โดยใช้วันลากิจ แต่ต้องทำเป็นหนังสือลาให้ถูกต้องด้วยนะครับ
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก็น่าจะขอให้เป็นหนังสือราชการว่า ให้ออกตามคำขอ หรือ ยับยั้ง ดีกว่า

3. ใบลาจะมีผลบังคับเมื่อได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือแล้วหยุดเอง โดยที่ไม่ได้ทำตามระเบียนวันลาราชการ จะถือว่า ขาดราชการ ซึ่งอาจกลายเป็นถูกสั่งให้ออกจากราชการ (ปลดออก ไล่ออก) ทำให้ไม่ได้ สิทธิบำเหน็จบำนาญราชการ รวมถึงการขอเข้ารับราชการใหม่ด้วย

4. ควรทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อาจช้าหน่อย แต่ก็ต้องเผื่อไว้ด้วยว่า เราอาจจะกลับเข้ารับราชการใหม่ เพราะถ้าเป็นการออกจากราชการด้วยเหตุผลว่า “ ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก “ อยากจะเข้ามารับราชการใหม่ ไม่ว่าที่ไหน ตำแหน่งอะไร ก็มีปัญหาแน่นอน อ้อ รวมถึงตำแหน่งทางการเมืองด้วยนะครับ


[color=blue]:: พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตราที่ 112-123 [/color]

:: หมวด 6 การออกจากราชการ

มาตรา 112 ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ
(1) ตาย
(2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(3) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตาม มาตรา 113
(4) ถูกสั่งให้ออกตาม มาตรา 54 มาตรา 67 มาตรา 107 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 118 หรือ มาตรา 123 หรือ
(5) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (4) และ (5) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (2) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้

มาตรา 113 นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะ ลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนด เวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง

ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่งและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก

ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก

หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.พ. วางไว้

..........................................

ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร?...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19

ทำไมผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=27&gblog=20

สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=27&gblog=18

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน'... เดลินิวส์

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2017&group=27&gblog=21





Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 13:22:54 น. 12 comments
Counter : 7199 Pageviews.  

 
ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ


การลาออกจากราชการ เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะมี ข้าราชการคนไหน ที่ตั้งใจไว้ว่า เข้ามารับราชการแล้ว จะลาออก .. ส่วนใหญ่ ก็ตั้งใจว่า จะทำงานราชการไปเรื่อย ๆ ...

เมื่อข้าราชการคนหนึ่ง อยากจะลาออก ก็มักจะมีสาเหตุ หลายประการ รวม ๆ กัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว ดังนั้น การที่จะให้บอกแน่ ๆ ว่า ลาออกเพราะอะไรนั้น จึงค่อนข้างยาก ที่จะระบุให้ชัดเจน ...

สำหรับตัวผม สาเหตุที่ออก หลัก ๆ เลย ก็เป็นเรื่อง ลักษณะงานของหมอผ่าตัด เนื่องจาก ผมดูแล้วงานมีแต่เยอะขึ้น ขณะที่อายุเราก็เยอะขึ้น ด้วยเช่นกัน (ถึงแม้ตอนนี้ยังหนุ่มอยู่ก็ตาม )

เมื่อผมดูพี่ ๆ ออร์โธฯ หรือ ศัลย์ ในรพ. ที่อายุมากแล้ว แต่ต้องมาอยู่เวรดึก ๆ ต้องมาถูกตามในวันหยุด ซึ่งควรจะเป็นวันที่ได้พักผ่อน .. แล้วผมคิดว่า ผมไม่อยากเป็นแบบนี้ไปอีก ๑๐ หรือ ๒๐ ปีข้างหน้า

ส่วนสาเหตุรอง ๆ มีเพียบ เช่น เรื่องร้องเรียนเยอะขึ้น ความต้องการของผู้ป่วย (ญาติ) มากขึ้น ต้องการให้เรารักษาตามใจของเขา ทั้ง ๆ ที่ บางครั้งก็ไม่จำเป็น หรือ บางครั้งก็ไม่ถูกต้อง เสียด้วยซ้ำไป แนวโน้มความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ปริมาณก็มากขึ้น และเรื่องอื่น ๆ อีกบางส่วน


ใครบางคนเคยบอกไว้ว่า “ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรามองไปทางไหน ก็มีปัญหา คนโน้นก็ไม่ดี คนนี้ก็แย่ อะไร ๆ ก็มีปัญหาไปหมด ให้กลับมามองดูสิว่า คนที่มีปัญหานั้นอาจเป็นตัวเราเอง ก็ได้ “ ผมก็คิดว่า อาจเป็นจริง แบบนั้นก็ได้ เลยต้องกำจัดปัญหา ......... ท๊ากกกกกกกกกกกกกก สิน ออกไป .... เอ๊ยไม่ใช่ ผมเองครับที่ออกไป

หลาย ๆ คนที่เมื่อรู้ว่า “หมอลาออก “ ก็จะคิดว่า ทำไมหมอไม่เสียสละ ? ทำไมไม่อดทน ? ทำไมไม่คิดถึงภาษีที่ประชาชนส่งเสียให้เรียนหมอ ? ทำไม่ท้อแท้ ไม่อยู่แก้ไขปัญหา ที่เป็นอยู่ ? ฯลฯ

เลยอยากเล่าให้ฟังความเป็นมา เผื่อจะเข้าใจกันมากขึ้น ( หวังว่า จะเป็นอย่างนั้นนะครับ )

สภาพงานที่ผมทำอยู่ ที่ รพ.รัฐ ประจำจังหวัด แห่งหนึ่ง ( เป็น รพ.ทั่วไป ขนาด ๓๕๐ เตียง ) มีหมอออร์โธฯ ๓ คน แบ่งงานเท่า ๆ กัน ซึ่งถือว่าโชคดีของผมเหมือนกันที่ พี่ ๆ ยุติธรรม ไม่เอาเปรียบน้อง ไม่เจอแบบที่อ้างว่า พี่อายุมากแล้วขอทำงานน้อยลง ( แต่ได้เงินมากกว่า ) เหมือนบางแผนก งานก็แบ่งง่าย ๆ เหมือนกับทุก ๆ ที่แหละครับ

๑. ตรวจ opd ๒ วันต่อสัปดาห์ ตรวจครั้งหนึ่งก็ ๘๐-๑๐๐ คนต่อ ๓ ชม.ผู้อำนวยการสั่งว่า ถ้าตรวจไม่หมดในช่วงเช้า บ่ายก็ต้องมาตรวจให้หมด ผมก็เลยต้องพยายามตรวจให้หมด อย่างรวดเร็ว ซึ่งเครียดมากเหมือนกัน แล้วเดี๋ยวนี้ มีคนไข้ประเภทขอมากขึ้น ตั้งใจมาขอโดยเฉพาะ ขอยาเยอะ ๆ ขอยาเดิม ห้ามเปลี่ยน ขอเอกซเรย์ ขอใบส่งตัว ขอ... ขอ.. ฯลฯ บางทีไม่สนว่า เป็นอะไร จะรักษาอย่างไร ประมาณว่า “ จะเอาแบบเนี๊ย หมอเขียนตามที่สั่งละกัน “ เมื่อก่อนก็หงุดหงิด ตอนหลัง ๆ ผมก็จะอธิบายแล้วถ้าเขายืนยัน อะไรให้ได้ ก็ให้ไปเลย ไม่คิดมาก ( ถึงแม้จะหงุดหงิดอยู่บ้าง ก็ตาม ) เขาคิดมาจากบ้าน ตั้งว่าจะเอาแบบเนี๊ย แล้วจะให้เรามาอธิบายแค่ ๒ นาทีให้เขาเปลี่ยนใจ มันก็คงทำได้ยาก

เคยมีอยู่ช่วงหนึ่ง ก็พยายามเปลี่ยนแปลง โดยขอมาตรวจ opd ตอนบ่าย แทนที่จะเป็นตอนเช้า เพราะคิดว่า ตอนเช้าทุกแผนกก็ตรวจพร้อม ปริมาณคนไข้ ก็จะเยอะ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร ห้องยา ฯลฯ ก็จะต้องทำงานหนัก เพราะคนไข้เยอะมาพร้อม ๆ กัน ... คนไข้ก็ต้องรอคิวตรวจ รอคิวรับยานาน ... ผมเลยเปลี่ยนมาตรวจตอนบ่าย ก็ดีขึ้นนะครับ ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ ทั้ง ๆ ที่ปริมาณงานก็เท่า ๆ เดิม แต่ กระจายงานมาอยู่ในช่วงบ่าย ซึ่งไม่ค่อยยุ่ง ทำให้สะดวกขึ้น คนไข้ก็ไม่ต้องรอนาน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องเร่งทำงาน ... ทำไปได้สักพัก ก็มีปัญหาอีก เพราะ ปกติเจ้าหน้าที่จะว่างช่วงบ่าย แต่พอผมเปลี่ยนมาตรวจช่วงบ่าย เขา/เธอ ก็ไม่ว่าง คนไข้บางคนก็บ่นว่า บ้านไกล ไม่มีรถกลับ ( ให้ไปตรวจกับหมออื่นตอนเช้าก็ไม่เอาอีก ) แต่สิ่งที่หนักก็คือ ปริมาณคนไข้เยอะขึ้นกว่าเดิม ตรวจไม่หมด เลยสี่โมงครึ่ง ก็ต้องตรวจต่อ จะหยุดก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้จะส่งให้ใครตรวจต่อ จะให้น้องที่อยู่เวร ER ตรวจต่อก็คงไม่ไหว .. พอตรวจต่อ นอกจากผมที่ต้องอยู่ตรวจแล้ว เจ้าหน้าที่อื่น ๆ ก็ต้องอยู่ด้วย กลายเป็นว่า คนอื่น ๆ เขาก็ต้องมาเดือดร้อน เพราะผม ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่คิดว่า น่าจะทำให้ดีขึ้น พอทำไปได้สัก สี่ห้าเดือน ก็เลยต้องเลิก กลับมาตรวจแบบเดิม เหมือนกับคนอื่น ๆ ตรวจไปให้ได้มากที่สุด เที่ยงก็ได้พัก เหลือบ่ายก็ให้แพทย์ที่ออกตรวจตอนบ่าย ตรวจต่อให้ ... เหมือนกันกับแผนกอื่น ๆ ( ช่วงหลัง ผู้อำนวยการออกคำสั่งให้แพทย์ทุกแผนกตรวจคนไข้ให้หมดในช่วงเช้า ถ้าไม่หมด ก็ต้องมาตรวจต่อตอนบ่าย )

๒. อยู่เวรใน สลับกันไป ๓ คน อยู่ประมาณ ๒๔-๒๖ เวรต่อเดือน หรือ ๖-๗ เวรต่ออาทิตย์ ( ๘ ชม. ต่อเวร วันราชการก็ ๒ เวร บ่าย ดึก แต่ถ้าวันหยุด ก็จะเป็น ๓ เวร เช้า บ่าย ดึก ) ซึ่งอยู่เวรแต่ละวัน มีคนไข้ฉุกเฉินให้ผ่าตลอด ถ้าวันไหนอยู่เวรแล้วไม่มีตาม ถือว่าผิดปกติ ต้องโทรไปถามว่า วันนี้ผมอยู่เวรหรือเปล่า :-p แล้วถ้าอยู่เวรแล้วได้กลับบ้านก่อนเที่ยงคืน ก็ถือว่าเป็นเวรที่ค่อนข้างสบาย ส่วนใหญ่เกินเที่ยงคืน เฉลี่ย ๖ เดือนก่อนที่ผมจะลาออก คนไข้ที่ต้องมาทำนอกเวลาราชการ ทั้งผ่าและไม่ผ่า ก็ประมาณ 80 รายต่อเดือน พอคิด work load ก็มักจะเกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ( ถ้าใครสนใจ ก็ติดต่อมาได้เลยครับ รายได้ดีเหมือนกัน ถ้าทำไหว )

๓. วันผ่าตัด เนื่องจากมีแพทย์หลายคน หลายแผนก แต่ห้องผ่าตัดมีน้อย เลยต้องใช้วิธีแบ่งกัน โดยให้มีวันประจำ ของแพทย์แต่ละคน ที่จะผ่าตัด ก็แบ่งคนละ ๑ วัน ต่อ อาทิตย์ ถ้ามีคนไข้เหลือเยอะ ก็หาเวลาแทรก ๆ ไป ในบางวันที่แพทย์เจ้าของห้อง ไม่มีคนไข้ผ่า หรือ ผ่าตัดเสร็จเร็วกว่าที่คาดไว ซึ่งก็ทำให้ ผมไม่เคยมีอาทิตย์ไหนเลยที่ว่าง ไม่ต้องผ่าตัด

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผมเคยทำตารางนัดผ่าตัดผู้ป่วย case elective วันผ่าตัดละ ๒ คน (อาทิตย์ละ ๒ คน) ก็สะสมไปเรื่อย ๆ จนนัดนานเป็นปี เลยครับ จนต้องเลิกใช้ตารางนัดผ่าตัด เพราะถูกร้องเรียนว่า รอคิวผ่าตัดนาน กลับมาใช้วิธีเดิม ๆ ก็คือไม่ต้องนัดกันแล้ว เสี่ยงดวงกันหน่อย ถ้าใครโชคดีมาช่วงที่ว่าง ก็ได้ผ่าเร็ว ใครมาช่วงคนไข้อุบัติเหตุเยอะ ๆ ก็ต้องรอไปก่อน อาทิตย์หน้าค่อยมาใหม่ เหมือนกับแพทย์ท่านอื่น ๆ ที่ไม่มีตารางนัดผ่าตัด ก็ไม่มีเรื่องร้องเรียนว่า นัดผ่าตัดนาน เพราะไม่มีนัดแล้ว ... แต่ปัญหาของคนไข้ และ หมอ ก็คือ ไม่รู้ว่าจะได้ผ่าวันไหน วางแผนไม่ได้เลย ...คนไข้บางคนมาเป็นสิบครั้งก็ไม่ได้ผ่า เพราะไม่เร่งด่วน มีคนไข้ที่เร่งด่วนกว่า ให้หมอผ่าทุกอาทิตย์ไป

๔. งานอื่น ๆ เช่น อยู่ตรวจ opd บ่าย เวรชันสูตร งานบริหาร ประชุม เป็นต้น


เมื่อ ๕-๖ ปีก่อน หน้าที่ผมจะลาออก ในความรู้สึกผมตอนนั้นก็คือ งานมันเยอะมากเกินไป ( เงินก็ชักไม่อยากได้แล้ว ) แล้วความต้องการ ข้อเรียกร้อง ของผู้ป่วยและญาติ ก็มากขึ้น เสียงบ่น เสียงว่าให้เข้าหู บ่นว่าต่อหน้า ก็เยอะมากขึ้น เมื่อเทียบกับตอนที่ผมมาทำงานใหม่ ๆ ......

เลยมาคิดว่า อยู่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ คงไม่ไหว เหนื่อยทั้งกาย ( คนไข้เยอะขึ้น ผ่าตัดเยอะขึ้น อยู่เวรดึก ๆ วันรุ่งขึ้นก็ต้องมาทำงาน หมอก็น้อย โอกาสที่มีหมอเยอะขึ้นกว่านี้ ก็แทบไม่มีโอกาส ) เหนื่อยทั้งใจ ( การเรียกร้อง เรื่องร้องเรียนเยอะขึ้น มีบางท่านโดนฟ้องร้องด้วย ) เหนื่อยกายไม่เท่าไหร่ พอได้พักก็หาย แต่เหนื่อยใจนี่สิครับ เราทำงานเต็มที่แล้ว ยังต้องมาคอยระวังว่า จะโดนฟ้องเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แบบนี้ไม่ไหว แล้วฟ้อง ไม่ใช่แค่ฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหาย อย่างเดียว ( เดี๋ยวนี้ก็เรียกค่าเสียหายเยอะด้วยสิครับ หลายล้าน ซึ่งบางที ผมยังคิดเลยว่า ผมทำงานทั้งชีวิต ก็คงไม่มีเงินเก็บถึงขนาดนั้น ) แต่ยังฟ้องอาญา ให้ติดคุก อีกต่างหาก

หลาย ๆ คนก็บอกว่า ไม่เป็นไรหรอก โอกาสมันน้อยมาก ๆ แล้วถ้าโดนฟ้อง รัฐ ก็ช่วยอยู่แล้ว ก็จริงครับ ถ้าฟ้องแพ่ง เมื่อศาลตัดสินให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในฐานะเป็นข้าราชการ กระทรวงสาธารณสุข ก็มาช่วยเรื่องเงินค่าเสียหาย แต่ หมอก็จะต้องถูกสอบสวน ต้องขึ้นศาล กว่าเรื่องจะจบก็ใช้เวลาหลายปี สภาพจิตใจตอนนั้นเป็นอย่างไร ถ้าใครไม่เคยเจอ ไม่เคยโดนฟ้อง ก็ไม่รู้หรอกครับ ว่า ทุกข์ทรมานขนาดไหน นี่ยังไม่รวมถึง ชื่อเสียงที่เสียหายด้วยนะครับ ... เรื่องฟ้องแพ่ง ก็พอมีคนช่วยบ้าง แต่ฟ้องอาญานี่สิครับ หมอรับไปเต็ม ๆ คนเดียวเลย ถึงแม้จะมีคนมาช่วยเหลือเรื่องคดี แต่ถ้าศาลตัดสินว่า ผิดจริง งานนี้ คุก เต็ม ๆ เลยนะครับ อย่าบอกว่า ไม่เคยเกิดขึ้น ที่ศาลตัดสินให้หมอติดคุก ...

ตอนแรก ๆ ผมวางแผนไว้ว่า ตอนอายุ ๔๐ ค่อยตัดสินใจว่า จะอยู่หรือจะออกจากราชการ แต่ดู ๆ แล้วยังไง ก็ไม่ได้อยู่ถึงเกษียรแน่นอน ผมจึงเริ่มหาทางเลือกอื่น ทำไปด้วย .. เริ่มจาก เปิดคลินิก และ รับปรึกษา รพ.เอกชน ผ่านไปสี่ห้าปีก็เห็นว่า น่าจะพอไหว เลยลาออกจากราชการ .... คิดวางแผนล่วงหน้าหลายปีนะครับ ไม่ใช่ว่านึกจะออก ก็ออกเลย ...

อ้อ ผม เรียนจบออร์โธฯ มาก็ทำงาน รพ.รับราชการอย่างเดียว ไม่ทำเอกชน ไม่เปิดคลินิก เป็นแพทย์ออร์โธฯและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ (พคบว) ทำอยู่ ๕ ปี ก็ได้อะไรเยอะครับ เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดี (และไม่ดี ???) ได้เข้าใจว่า สิ่งที่เราคิดว่า ดี คนอื่นเขาอาจคิดอีกอย่าง แล้วก็เข้าใจชีวิตมากขึ้น เข้าใจคนมากขึ้น ตอนจบใหม่ ๆ ไฟแรง ( มาก ) เห็นปัญหา ก็คิดว่า ทำไม ไม่มีใครแก้ไข คิดว่า แก้ไขไม่ยาก แต่พอทำจริง ๆ จึงเข้าใจว่า ทำไม ถึงยังเป็นปัญหาอยู่จนมาถึงเรา ....... เคยมีรุ่นพี่ คนหนึ่งบอกว่า “ ปัญหาที่มีอยู่ มันไม่ได้พึ่งมี มันมีมานานแล้ว ถ้ามันแก้ไขได้ง่าย ๆ มันก็คงไม่เป็นปัญหามาถึงเราหรอก “ ทำตั้งนาน ถึงเข้าใจ

เมื่อตัดสินใจแน่นอน ก็ได้แจ้งผู้อำนวยการและพี่ ๆ ล่วงหน้า ๖ เดือน มีแต่คนคิดว่า จะออกจริงหรือ ? ทำไมต้องบอกล่วงหน้านานขนาดนั้น จะต่อรองอะไรหรือเปล่า ??? อย่างว่าแหละครับ ต้องรอจนกระทั่งยื่นใบลาออกแล้วถึงจะเชื่อว่า “ ออกจริง “

คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ที่หมอลาออกกันนั้น เป็นเพราะเรื่อง “ เงิน “ แต่ผมบอกเลยนะครับ เท่าที่คุยกับหมอหลาย ๆ คนที่ลาออก ไม่มีคนไหนเลยครับที่ลาออกเพราะ รัฐ ให้เงินน้อย ...แต่ออกด้วยสาเหตุอื่น ๆ มากกว่า

ถ้ายังคิดแก้ไขปัญหา แพทย์ลาออก ด้วยการเพิ่มเงิน ผมบอกเลยว่า ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ ... การเพิ่มเงิน ช่วยได้เพียงแค่ ให้หมอที่อยู่ราชการ อยู่แล้ว มีรายได้เพิ่มขึ้น มีแรงใจเพิ่มขึ้น เท่านั้นเอง ... แต่หมอที่ตัดสินใจว่า จะออก ก็ออกอยู่ดี ... แล้วการใช้วิธีเพิ่มเงิน ก็ทำมาตั้งหลายปี หลายรูปแบบ แต่ก็ยังไม่สามารถ หยุดยั้งการลาออกของหมอใน รพ.รัฐ ผู้รับผิดชอบ ก็น่าจะคิดได้แล้วว่า วิธีแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเงิน ไม่ได้ผล คงต้องหาวิธีอื่น ๆ มาใช้ร่วมด้วย และ ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วด้วย เพราะยิ่งช้า หมอที่อยู่ รพ.รัฐ ก็จะน้อยลง แต่ปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้หมอที่ยังไม่คิดจะลาออก ก็อาจทนไม่ไหว ลาออกตามมาด้วย





โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:52:52 น.  

 
แนวทางแก้ไขในปัญหาเงินเดือนและค่าตอบแทนวิชาชีพ จาก แพทยสภา


ปัญหาแพทย์ลาออกจากระบบราชการ ”
โดยแก้ไขในปัญหาเงินเดือนและค่าตอบแทนวิชาชีพ

4 พฤษภาคม 2547
แพทยสภา
2 พฤษภาคม 2547

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

สืบเนื่องจากวันที่ 15 สิงหาคม 2546 ที่ทางแพทยสภาได้จัดสัมมนาเรื่อง "ปัญหาแพทย์ลาออกจากระบบราชการ" โดยมีท่านรัฐมนตรีสุดารัตน์เป็นประธาน จึงได้มีการตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในระบบราชการ โดยในปี 2546 ที่ผ่านมามีแพทย์ลาออกจากราชการเกือบ 1000 คน ปัญหาแพทย์ขาดแคลนจึงเป็นปัญหารีบด่วนที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับปัญหานี้

จากผลการสัมมนาดังกล่าว พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้แพทย์ลาออกจากระบบราชการ ซึ่งส่งผลให้ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนจำนวนมากขาดแคลนแพทย์ ทำให้แพทย์ที่เหลืออยู่ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน จะเกิดผล Domino Effect ทำให้แพทย์ลาออกกันเพิ่มขึ้นเพราะทนภาวะงานหนักไม่ไหว

ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ทำให้แพทย์ลาออกมากก็คือ “ปัญหาพนักงานของรัฐ” แพทย์จบใหม่ไม่ได้บรรจุเข้าเป็นข้าราชการ เป็นที่น่ายินดีที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้และได้มอบหมายให้ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม แก้ปัญหานี้ไปได้ระดับหนึ่งโดยการอนุมัติตำแหน่งรับบรรจุแพทย์ที่เป็นพนักงานของรัฐกลับเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญกว่าสองหมื่นตำแหน่ง

ปัจจัยสำคัญอันดับที่สองที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการก็คือ "ปัญหาเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ต่ำมาก" แพทย์ที่จบมาและทำงานจะมีลักษณะการทำงานซี่งต่างไปจากข้าราชการประเภทอื่น ดังนี้

1) วิชาชีพแพทย์ต้องใช้เวลาศึกษานานถึง 6 ปี หลังจบแพทย์ต้องออกไปใช้ทุนต่างจังหวัดอีก 3 ปี และหากต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางต้องกลับมาศึกษาต่ออีก 3-5 ปีแล้วแต่สาขาที่ต้องการศึกษา เช่นศัลยกรรมกระดูกต้องใช้เวลา 4 ปี ศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจต้องใช้เวลา 5 ปี จะเห็นว่ากว่าแพทย์จะเรียนจบและทำงานเหมือนอาชีพอื่นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12-14 ปี ซึ่งระหว่างที่ศึกษาอยู่จะหนักกว่าวิชาชีพอื่นเพราะต้องเรียนและปฏิบัติงานไปด้วยแบบเต็มวันไม่ได้เป็นหน่วยกิตเหมือนสาขาอื่น นอกจากนี้ยังต้องอยู่เวรปฏิบัตินอกเวลาราชการรวมทั้งวันเสาร์-อาทิตย์ ซี่งส่วนมากต้องอยู่เวรไม่น้อยกว่า 10 เวรต่อเดือน หลังอยู่เวรเช้าวันรุ่งขี้นก็ต้องปฏิบัติงานต่อไม่ได้หยุดพัก เช่นหากมีนัดผ่าตัดก็ต้องเข้าห้องผ่าตัดต่อ จะเห็นว่ากว่าแพทย์จะศึกษาจบและออกมารับใช้ชาติอย่างเต็มที่ ต้องใช้เวลานานกว่าวิชาชีพอื่น

2) เวลาทำงานของแพทย์ ไม่ใช่แค่ 8.30 - 16.30 น. แต่ต้องมาดูผู้ป่วยและสั่งการรักษาก่อนเวลาดังกล่าวพอเวลา 9.00 น. ก็ต้องออกตรวจผู้ป่วยนอก หรือเข้าห้องผ่าตัด

3) ภายหลังเวลาราชการคือหลัง 16.30 น. แพทย์ยังต้องสลับกันอยู่เวร ซึ่งอาจเป็นเวรตรวจผู้ป่วยห้องฉุกเฉินตั้งแต่ 16.30 - 8.30 น. หรือเวรปรึกษาเฉพาะทาง เช่น เวรปรึกษาศัลยกรรมกระดูกตั้งแต่16.30 - 8.30 น. ซึ่งในบางครั้งอาจมีผู้ป่วยมากจนแทบไม่ได้นอนทั้งคืน นอกจากนี้หลังออกเวรตอนเช้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ออกเวรและได้กลับไปนอนพัก แต่ยังต้องทำงานต่อเหมือนปกติ

4) ความรับผิดชอบของแพทย์ไม่เพียงแต่ตรวจรับเอกสารเหมือนข้าราชการอื่น แต่ต้องรับผิดชอบถึงสุขภาพและชีวิตของคนไข้ ซี่งหากเกิดความผิดพลาดอาจถูกฟ้องร้องได้ ทั้งที่บางครั้งไม่ได้เป็นความผิดของแพทย์ แต่เป็นโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ หรือในบางครั้งผู้ป่วยหรือญาติอาจมีความคาดหวังสูงเกินกว่าที่แพทย์จะทำให้ได้

5) ในการทำงานเกี่ยวกับผู้ป่วย แพทย์จะมีความเครียดและเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและบางครั้งถึงอาญา ซึ่งในแต่ละปีมีแพทย์ถูกร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่พบว่าไม่มีความผิดดังที่ถูกร้องเรียน และแพทย์ที่ถูกร้องเรียนจะรู้สึกท้อแท้เพราะตั้งใจทำงานแม้งานจะหนักก็ยังถูกร้องเรียน นอกจากนี้การทำงานยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยทุกขณะ

6) ภายหลังเวลาราชการคือหลัง 16.30 น. ชีวิตแพทย์ก็ไม่เหมือนข้าราชการอื่น แต่ยังคงต้องรับผิดชอบผู้ป่วยที่ตนได้ตรวจรักษาหรือทำผ่าตัดไว้ เช่นอาจต้องถูกตามกลับมาแก้ไขผู้ป่วยที่ตนได้ทำผ่าตัดไว้

7) ในการอยู่เวรของแพทย์เฉพาะทาง เช่นเวรแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูก หากโรงพยาบาลนั้นมีแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเพียงคนเดียว ก็ต้องรับอยู่เวรปรึกษาทุกวัน จนกว่าจะมีแพทย์ด้านกระดูกคนที่ 2 หรือคนที่ 3 มาช่วยแบ่งเบาภาระ ในการที่ต้องตรากตรำอยู่เวรทุกวันตลอดเดือน โอกาสผิดพลาดก็ยิ่งมาก แพทย์จะหลีกเลี่ยงโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับรักษาผู้ป่วยหรือไม่ยอมอยู่เวรก็ไม่ได้ สุดท้ายหากทนไม่ไหวก็ขอย้ายหรือลาออกไปอยู่เอกชน เพราะงานสบายกว่า ได้รับค่าตอบแทนดีกว่าและมีเวลาว่างมากกว่า


จะเห็นได้ว่าวิชาชีพด้านการแพทย์มีลักษณะการทำงานและความรับผิดชอบแตกต่างไปจากวิชาชีพอื่น แต่ใช้วิธีการให้เงินเดือนและค่าตอบแทนเหมือนวิชาชีพหรือข้าราชการอื่น แพทยสภาใคร่ขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขแพทย์ลาออกจากระบบราชการในมุมมองเงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำ ตามลำดับ ดังนี้ (ขอให้ดูตารางและรูปภาพประกอบ)

1) แพทยสภาขอให้รัฐบาลแก้ปัญหาวิชาชีพแพทย์ก่อน: แพทยสภาเข้าใจกระทรวงสาธารณสุขว่ามีหลายสาขาวิชาชีพที่กระทรวงฯ ต้องดูแล แต่ปัญหาที่เกิดอยู่ในขณะนี้คือวิกฤติในการขาดแคลนแพทย์ จึงควรมุ่งแก้ปัญหานี้ก่อน ต่อเมื่อได้แก้ปัญหานี้แล้วจึงค่อยพิจารณาแก้สาขาวิชาชีพอื่นต่อไป นอกจากนี้จากตารางข้างล่างแยกให้เห็นรายได้เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและเอกชนตามสายวิชาชีพ จะเห็นว่าวิชาชีพแพทย์มีความแตกต่างระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมากที่สุด

2) เงินเดือนและค่าตอบแทน: จริงๆ แล้วหากต้องการแก้ให้ตรงจุด ควรแก้ที่หมวดเงินเดือน โดยการแยกข้าราชการแพทย์ออกจาก ก.พ. เพราะแพทย์มีลักษณะการทำงานและความรับผิดชอบแตกต่างไปจากข้าราชการอื่นดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น หลังจากแยกออกจาก ก.พ.แล้วจึงแยกพระราชบัญญัติเงินเดือนของแพทย์ออกมา นี่เป็นการแก้ในระยะยาวซึ่งต้องใช้เวลา แต่เพื่อเป็นการแก้ปัญหาแพทย์ลาออกจากระบบราชการในช่วงวิกฤติคงรอแก้ในหมวดเงินเดือนไม่ได้ แพทยสภาจึงขอเสนอให้เพิ่มในหมวดค่าตอบแทนทางวิชาชีพ จากระบบเงินเดือนปัจจุบันแพทย์จบใหม่จะได้รับเงินเดือนแค่ 9,320 บาทเท่านั้น เพื่อที่จะดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบราชการน่าจะเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์อีกเดือนละ 24,000 บาท รวมแล้วแพทย์จบใหม่จะได้รับเริ่มต้นเดือนละ 33,320 บาท (แพทย์จบใหม่หากทำงานกับเอกชนจะได้รับเดือนละ 80,000-100,000 บาท) จะเห็นได้ว่าแม้จะเพิ่มค่าตอบแทนให้แล้ว เงินที่แพทย์ได้รับเป็นแค่ 33% ของแพทย์ในระบบเอกชน (ขอให้ดูกราฟเปรียบรายได้ของแพทย์เทียบกับแพทย์ต่างประเทศและกับแพทย์ภาคเอกชน)


3) ค่าวิชาชีพเฉพาะทาง: ในกรณีที่รับราชการระยะหนึ่งแล้วมีความประสงค์อยากขอลาไปศึกษาต่อเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง กระทรวงสาธารณสุขควรให้การสนับสนุนอนุญาตให้ไปศึกษาต่อเพื่อดึงให้อยู่ในระบบราชการต่อไป อย่าให้เหมือนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขไม่มีนโยบายให้ตำแหน่งไปศึกษาเป็นแพทย์เฉพาะทางต่อ ผลที่ตามมาก็คือแพทย์ขอลาออกเพื่อศึกษาต่อโดยใช้ทุนตัวเองซึ่งจะใช้เวลาศึกษา 3-5 ปีแล้วแต่สาขาวิชา เมื่อศึกษาจบแล้วก็ไม่กลับเข้ารับราชการแต่ไปทำงานกับเอกชน กระทรวงสาธารณสุขควรให้การสนับสนุนเพราะแพทย์เหล่านี้เมื่อศึกษาจบก็ยังอยู่ในระบบราชการและจะกลับมาช่วยดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จึงควรให้ค่าวิชาชีพเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 12,000 บาท (หากแพทย์เฉพาะทางทำงานในภาคเอกชนจะได้รับเดือนละ 120,000 – 150,000 บาท) จะเห็นได้ว่าแม้เพิ่มค่าตอบแทนให้ 24,000 + 12,000 บาท แพทย์เฉพาะทางจะได้รับประมาณ 43,000 – 50,000 บาท ซึ่งคิดเป็น 33% ของแพทย์ระดับเดียวกันในภาคเอกชน ซึ่งข้าราชการในสาขาวิชาชีพอื่นเมื่อเทียบกับเงินที่ได้รับหากทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับถึง 60% ของภาคเอกชน จะเห็นว่าแม้เพิ่มค่าตอบแทนให้วิชาชีพแล้วส่วนต่างกับภาคเอกชนก็ยังมีมากอยู่

4) ค่าเวรนอกเวลาราชการ: การทำงานของแพทย์ไม่เหมือนกับข้าราชการอื่น ที่ส่วนมากจะทำงานในเวลาราชการคือช่วง 8.30-16.30 น. หรือทำงานเพียงวันละ 8 ชั่วโมง แพทย์ทำงานในช่วงเวลาราชการเหมือนข้าราชการอื่นแต่ต้องรับผิดชอบสุขภาพและชีวิต หลังเวลาราชการแพทย์ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งต้องสลับกันอยู่เวร ซึ่งจริงๆ แล้วแพทย์ทุกท่านอยากกลับบ้านไปพักผ่อนและอยู่กับครอบครัวมากกว่า แต่เพื่อผู้ป่วยจึงต้องจัดชื่ออยู่เวร เวรนอกเวลาแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ได้ 2 ประเภทคือ

4.1 เวรห้องฉุกเฉิน ตั้งแต่ 16.30 - 8.30 น. แพทย์เวรห้องฉุกเฉินทำงานค่อนข้างหนักต้องอยู่ตรวจผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน บางครั้งอาจไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลาหรือบางครั้งอาจไม่มีเวลาหลับนอน การปฏิบัติงานเวรห้องฉุกเฉินเป็นการทำงานนอกเวลาราชการนอกเหนือไปจากการทำงานตามปกติและวันรุ่งขึ้นหลังออกเวรแล้ว แพทย์จะไม่ได้หยุดพักแต่ต้องทำงานตามปกติ จึงควรมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวรคิดเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท หากแพทย์ท่านใดไม่ได้อยู่เวรฉุกเฉินก็จะไม่ได้รับเงินตอบแทนส่วนนี้ เป็นการให้ค่าตอบแทนตามภาระงาน หากต้องอยู่เวรมากก็ได้รับค่าตอบแทนมาก หากอยู่เวรน้อยก็ได้รับน้อย

4.2 ค่าเวรปรึกษาเฉพาะทางนอกเวลา: หลังเวลาราชการนอกจากเวรห้องฉุกเฉินแล้วแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ยังต้องจัดเวรปรึกษาเฉพาะทางเช่น เวรปรึกษาศัลยกรรมทั่วไป เวรปรึกษาศัลยกรรมกระดูก เวรปรึกษากุมารฯ เป็นต้น แพทย์เวรปรึกษาจะรับปรึกษาผู้ป่วยเฉพาะทางจากแพทย์เวรฉุกเฉินซึ่งอาจต้องรับเป็นผู้ป่วยในและอาจต้องทำผ่าตัด จึงควรมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวรคิดเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละ 250 บาท หากแพทย์ท่านใดไม่ได้อยู่เวรปรึกษาเฉพาะทางก็จะไม่ได้รับเงินตอบแทนส่วนนี้ เป็นการให้ค่าตอบแทนตามภาระงาน หากต้องอยู่เวรมากก็ได้รับค่าตอบแทนมาก หากอยู่เวรน้อยก็ได้รับน้อย

5) ค่าวิชาชีพเฉพาะทางสาขาขาดแคลน: ในทางการแพทย์การที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยให้ครบวงจรและมีประสิทธภาพต้องมีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา แต่ในความเป็นจริงสาขาบางสาขาในทางการแพทย์ไม่เป็นที่น่าสนใจหรือน่าสนใจน้อยกว่าสาขาอื่น ทำให้กระทรวงสาธารณสุขขาดแคลนแพทย์บางสาขาเช่น พยาธิแพทย์ แพทย์นิติเวช จิตแพทย์ เป็นต้น สาขาขาดแคลนเหล่านี้แพทยสภาได้พยายามให้สิทธิพิเศษเช่น เรียนจบแพทย์แล้วสามารถขอศึกษาต่อได้เลยโดยไม่ต้องออกไปใช้ทุนและกระทรวงสาธารณสุขก็เคยให้ทุน แต่ก็ยังมีแพทย์ให้ความสนใจน้อยมาก จึงควรให้ค่าตอบแทนเพิ่มเดือนละ 10,000 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์สนใจที่จะศึกษาต่อในสาขาที่ขาดแคลน

6) ค่าตอบแทนสำหรับพื้นที่ทุรกันดารและพื้นที่เสี่ยง: โรงพยาบาลหลายแห่งตั้งอยู่ในท้องที่ห่างไกลและทุรกันดาร เช่น แม่ฮ่องสอน, สระแก้ว หรือพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แพทย์ที่ยอมเสียสละมาปฏิบัติงานสมควรได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงฯ หรืออาจได้รับเพิ่มเติมตามสถานการณ์สุดแท้แต่รัฐบาลจะเห็นควรเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีแพทย์ไปปฏิบัติราชการ

7) การขึ้นเงินเดือนหรือการได้รับเงินประจำตำแหน่ง: เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถแยกออกจาก ก.พ. จึงเห็นว่าให้เป็นเหมือนข้าราชการอื่นไปก่อน ทั้งระเบียบเกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง

จึงเรียนมาทราบและพิจารณาสั่งการตามที่เห็นควร
แพทยสภา
2 พฤษภาคม 2547


หนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยนายแพทย์สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล กรรมการบริหารชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์และกรรมการแพทยสภา



โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:53:46 น.  

 
จากเวบไทยคลินิก ...

หัวข้อ 7424: ข้อมูลและสาเหตูที่ทำให้แพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข (จำนวนคนอ่าน 357 ครั้ง)

« เมื่อ: Jul 26th, 2007, 10:54am »

ข้อมูลและสาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข

สถิติแพทย์ลาออก
ปีพ.ศ. จัดสรรใหม่ ลาออก ร้อยละ คงเหลือ
2544 878 269 30.63 609
2545 922 540 58.56 382
2546 1028 795 77.33 233
2547 995 408 41.01 587
2548 1177 485 41.19 692
2549 1148 520 46,16 628

ในปีพ.ศ. 2547 มีแพทย์ที่ทำงานในประเทศไทย 18,918 คน อยู่ในภาคเอกชน 3,595 คน(19%) อยู่ในภาครัฐ 15,324 คน(81%) อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 9,375 คน(49.5%) อยู่ในหน่วยงานอื่น 5,949 คน(31.5%)

เมื่อรวมจำนวนแพทย์ที่เพิ่มใหม่(คงเหลือหลังการลาออกแล้ว) ในปี2550 จะมีแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็น 10,655 คน ทั้งนี้ยังไม่ได้หักจำนวนผู้เกษียณอายุราชการออก

ข้อมูลจากกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข




สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ(จากการสำรวจของแพทยสภา)

1.ไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ
คือต้องเป็นพนักงานของรัฐ เงินเดือนน้อยเท่าข้าราชการแต่ไม่มีสวัสดิการเท่าข้าราชการซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขและบรรจุเป็นข้าราชการทั้งหมด

2 ภาระงานหนักและมากเกินไป
คือจำนวนผู้ป่วยมากเกินไปมีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกคนละ 2-5 นาทีเท่านั้น และต้องทำงานสัปดาห์ละ 97 ชั่วโมงทั้งกลางวันกลางคืนทั้งในวันราชการและวันหยุดราชการ เพราะโรงพยาบาลทุกแห่งต้องเปิดให้บริการทุกวันๆละ 24 ชั่วโมง ทำให้ขาดการพักผ่อนและมีเวลาสำหรับครอบครัวน้อยคุณภาพชีวิตแย่ (จากการวิจัยของคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ แพทยสภา)

3.เงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำ
ทั้งที่ภาระงานมากและคุณภาพงานสูงแต่ได้เงินเดือนตามกำหนดซี(pc)เหมือนข้าราชการอื่นๆทั่วไป และเงินทำงานนอกเวลาราชการและยามวิกาลน้อยเพียงชั่วโมงละ 50 บาท เป็นมาหลายปีแล้ว และโรงพยาบาลบางแห่งก็ไม่มีเงินจ่ายค่าอยู่เวรในขณะเดียวกันนั้น แพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนมีภาระงานน้อย แต่ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนมากกว่าเป็น 10 เท่า จึงทำให้แพทย์มีทางเลือกในการทำงานที่ดีกว่ามาก

4. แพทย์มีความทุกข์เพราะมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา ฟ้องแพทยสภา ฟ้องสื่อมวลชน โดยความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องนั้น มาจากการที่แพทย์มีผู้ป่วยมากเกินไป ทำให้มีเวลาตรวจและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจได้น้อย พบว่าแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาลมีเวลาตรวจผู้ป่วยนอกเพียงคนละ 2-4 นาที(จากการเก็บข้อมูลของคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ แพทยสภา) เวลาที่ต้องรีบร้อนตรวจและสั่งการรักษาอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เสี่ยงต่อความผิดพลาดในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียหายต่อผู้ป่วย นอกจากนั้นเวลาที่มีในการอธิบายหรือแนะนำที่น้อยเกินไป ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดต่อวิธีการปฏิบัติตัวและ/หรือผลการรักษา และผู้ป่วยคาดหวังผลที่ดีเกินความจริง

จากสถิติของสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาพบว่า การฟ้องแพทย์เพิ่มขึ้นหลังการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 รวมทั้งจากสถิติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเองที่มีการร้องเรียนขอค่าชดเชยความเสียหายหลังการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งข่าวในสื่อมวลชนและศาลที่มีการฟ้องร้องทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา ทำให้หมอถูกศาลสั่งจำคุกบ้าง ต้องชดใช้เงินจำนวนมากบ้าง ในขณะที่ประชาชนก็หวาดระแวงว่าหมอจะรักษาเต็มที่ตามสิทธิ์ 30 บาทหรือเปล่า หมอก็หวาดระแวงว่าประชาชนที่มาให้หมอตรวจรักษานี้จะฟ้องร้องหมอหรือเปล่า ทำให้ความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีต่อกันระหว่างหมอกับผู้ป่วยขาดหายไป กลับกลายเป็นความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน นอกจากนั้น การที่แพทย์ถูกฟ้องแล้วยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงก่อนที่ศาลจะตัดสินด้วย

5.สาเหตุอื่นๆ
เช่น ต้องไปทำงานในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เสี่ยงอันตราย ครอบครัว(สามี-ภรรยา)ต้องแยกกันอยู่คนละจังหวัด หาที่ฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางไม่ได้ในสาขาที่ต้องการ การพิจารณาการเลื่อนขั้น(เลื่อนซี) เลื่อนตำแหน่ง สภาวะการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาไม่ยุติธรรม ฯลฯ


หมายเหตุ

การที่แพทย์รุ่นใหม่อีกประมาณครึ่งหนึ่งยังไม่ลาออกจากราชการนั้น สาเหตุหนึ่งก็เพราะกระทรวงสาธารณสุขบังคับให้ไปใช้ทุน 3 ปีทั้งๆที่ กพ.เคยบอกว่านักศึกษาแพทย์ไม่เคยได้รับทุนการศึกษาตามความหมายของ รัฐบาล และแพทย์ที่ใช้ทุนจนครบก็เพราะส่วนหนึ่งมีความหวังที่จะได้รับการคัดเลือกให้มาฝึกฝนอบรมให้เป็นแพทย์เฉพาะทาง (Specialist) ซึ่งทำให้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนเองชอบ ทำให้มีความรู้เฉพาะเหมาะกับความต้องการของประชาชนและโรงพยาบาลทุกแห่ง มีเงินตอบแทนมากกว่าแพทย์ทั่วไป และมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันในการที่แพทย์มาฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางนั้น แพทย์เหล่านี้ต้องลามาฝึกอบรม ทำให้ถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนถึง3-5 ปีเพราะถือว่ามาเรียนต่อ แต่การฝึกอบรมของแพทย์นี้มิได้มานั่งฟังเล็คเช่อร์เหมือนการเรียนทั่วไป แต่แพทย์เหล่านี้(ซึ่งเรียกว่าแพทย์ประจำบ้าน) ต้องมาทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นด่านแรกในโรงพยาบาลที่มาฝึกอบรม โดยทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการ โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา โดยมีชั่วโมงการทำงานถึงสัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง โดยรับผิดชอบการดูแลรักษาผู้ป่วยเองหรือปรึกษาอาจารย์ โดยบางแห่งแพทย์ประจำบ้านต้องทำงานทุกวันตลอดสัปดาห์โดยไม่มีวันหยุด ทำให้เครียดและเหนื่อยล้าและมีแพทย์ประจำบ้านส่วนหนึ่งลาออกจากการฝึกอบรม เพราะทนความเครียดและความเหนื่อยล้าไม่ไหว ซึ่งอาจมีผลให้แพทย์เฉพาะทางบางสาขาที่ต้องทำงานหนักและมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องสูงเช่น ศัลยกรรม และสูตินรีเวช ฯลฯ จะมีจำนวนเพิ่มไม่มากพอที่จะดูแลรักษาประชาชนต่อไปในอนาคต


ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: Jul 26th, 2007, 2:38pm »

ต้องประกาศให้ชาวบ้านเค้ารับรู้และช่วยเหลือบ้างครับ
ความเข้าใจเป็นสิ่งจำเป็น และลดช่องว่างระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยได้

แต่ไปถามดูเถอะ
ชาวบ้านร้านค้า ร้อยทั้งร้อย คิดว่าเป็นหมอแล้วสบาย รวย ดีเลิศ
แล้วใครเค้าจะมาสงสารและช่วยเหลือเรา เค้าก็ดีแต่คาดหวังเอา ฟ้องร้องเอา
ถ้าคิดจะone man show แก้ไขปัญหาขององค์กรแพทย์
ด้วยลำแข้งของแพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
อีกสิบชาติก็แก้ไขไม่ได้ครับ

ฟันธง
มันเป็นแบบนี้มาหลายสิบปีดีดักแล้ว
ยังมัวแต่แก้ปัญหา ขายผ้าเอาหน้ารอดแบบเดิมๆอยู่อีกเลย
เห็นแก้ปัญหาได้แค่เฉพาะหน้าทีไร
แต่สร้างปัญหาระยะยาวทุกที
ตอนนี้เร่งผลิตแพทย์กันยกใหญ่ ระวังเรื่องคุณภาพนะครับ
อีกสิบปีจะมาปวดหัวกับคุณภาพของหมอที่เร่งๆผลิตกัน
เติมน้ำใสตุ่มที่มันรั่ว เติมยังไงก็ไม่เต็ม
ปัญหามันอยู่ที่การกระจายแพทย์ ทำอย่างไรให้แพทย์กระจายตัวออกไปได้
ทำอย่างไรไม่ให้ออกนอกระบบ

คนมันจะช่วยคนอื่นได้
ตัวเองต้องเอาตัวให้รอดก่อน
ตัวเองยังเอาตัวไม่รอดแล้วจะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร



ส่งโดย: 777ER
สถานะ: Newbie
จำนวนความเห็น: 6



« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: วันนี้ เวลา 6:56am »

ปัจจุบันนี้ บ้านเมืองมีปัญหามากมาย ปัญหาในวงการต่างๆนั้น ได้รับการหยิบยกมาแก้ไขบ้างแล้ว เช่น มีกระบวนการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปการศึกษา และปฏิรูประบบประกันสุขภาพ

แต่ยังไม่มีใครพูดถึง "การปฏิรูปการแพทย์" ให้แพทย์มีสภาพการทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานการทำงานเหมือนประเทศอื่นๆ หมอชาญวิทย์ ทระเทพ ผอ.สำนักนโยบายและแผนของกระทรวงสธ.เคยพูดว่า หมอไทยมีภาระงานมากที่สุดในประเทศแถบอาเซียน (จะเป็นรองก็แต่อินโดนีเซียเท่านั้น)แต่หมอไทยได้เงินเดือนน้อยที่สุดเมื่อ เทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ

ซึ่งจากการเฝ้าสังเกตมายาวนาน ก็ยังมองไม่เห็นว่าใครจะยื่นมือมาแก้ไข พวกเราที่เป็นแพทย์จึงควรลุกออกมา breaking the silence เลิกเป็นพลังเงียบ มาช่วยกันเปิดเผยและเรียกร้องสิทธิในการที่จะได้รับการดูแลด้านสวัสดิภาพและ ความเป็นอยู่ และมีสภาพการทำงานที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถทำงานดูแลรักษาชีวิตประชาชนได้อย่างดีที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งแพทย์และประชาชนด้วย

เดี๋ยวนี้ หมอคนไหนทนได้ก็ทนไป ถือว่าเป็นคนที่มีความอดทนและเสียสละอย่างสูง(แต่ก็ไม่มีใครยกย่องสรรเสริญ ไม่ได้เหรียญรางวัลใดๆ เพราะรางวัลของชีวิตหมอคือความสุขใจทีได้ช่วยให้ผู้ป่วยกลับฟื้นคืนชีวิตมาได้)

หมอคนไหนทนไม่ได้หรือไม่อยากทนหรือมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ก็อำลาชีวิตข้าราชการแพทย์ไป ซึ่งก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนที่จะต้องดูแลตนเองและครอบครัวให้มีความสุข ก่อนจึงจะมีความสามารถไปดูแลผู้อื่นได้

ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน ไม่ร่วมมือกัน เพื่อหาทางแก้ไข ปัญหาการแพทย์ในขณะนี้ แล้ว ปัญหาก็คงจะเพิ่มมากขึ้น และการแพทย์ไทยก็คงจะถอยหลังเข้าคลองไป ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็จะขาดผู้ดูแลรักษาสุขภาพยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะ "ผลิต" แพทย์ใหม่ได้มากเพียงใด ถ้าสภาพการทำงานและการฟ้องร้องยังเป็นแบบนี้ ก็คงไม่มีวันที่แพทย์จะยังมีอยู่พอเพียงกับความต้องการของประชาชน



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:55:51 น.  

 
หัวข้อ 6484: การสำรวจข้อมูลการปฏิบัติงานของแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข (จำนวนคนอ่าน 798 ครั้ง)
« เมื่อ: Jul 8th, 2007, 3:19pm »


บทคัดย่อ

คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ แพทยสภา ได้จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการปฏิบัติงานของแพทย์ในภาคราชการ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ โรงพยาบาลที่ทำการสำรวจข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนขนาด 120, 90, 60, 30 และ 10 เตียง ขนาดละ 1 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถาม การสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ ข้อมูลการสำรวจประกอบด้วย ระยะเวลาที่แพทย์ใช้ในการตรวจผู้ป่วยนอกแต่ละราย, จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ของแพทย์ และปัจจัยที่อาจมีผลต่อชั่วโมงทำงานของแพทย์ ผลการสำรวจพบว่าผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ได้รับการตรวจ ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที โดยแพทย์ใช้เวลาตรวจผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ย 4 นาทีต่อราย และพบว่าแพทย์ 154 คนจากโรงพยาบาลที่ทำการสำรวจ มีชั่วโมงการปฏิบัติงานเฉลี่ย 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยแพทย์โรงพยาบาลขนาด 120 เตียงปฏิบัติงานมากที่สุดและมีเวลาพักน้อยที่สุด (เฉลี่ย 128 และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ขณะที่แพทย์โรงพยาบาลทั่วไปปฏิบัติงานและพักโดยเฉลี่ยเท่ากับกับแพทย์โรงพยา บาล 10 เตียง (122 และ 46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แพทย์ปฏิบัติงานหนัก คือ การจัดระบบหมุนเวียนปฏิบัติงาน (คำสำคัญ : ชั่วโมงทำงาน, แพทย์, โรงพยาบาลรัฐบาล)

ข้อสรุปที่สำคัญที่ได้จากการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ คือ แพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกขนาด

(1) ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีในการตรวจผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่

(2) มีชั่วโมงการปฏิบัติงาน 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 56 ของเวลาทั้งหมดหรือ อีกนัยหนึ่งมีเวลาพักเพียงไม่เกินร้อยละ 40 ของเวลาทั้งหมดใน 1 สัปดาห์



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120

58.8.141.78






« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 3:20pm »


ประเด็นที่น่าสนใจมากไปกว่าจำนวนชั่วโมงที่แพทย์ต้องปฏิบัติงาน คือ การต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องโดยมีเวลาพักไม่เพียงพอ เช่น การอยู่เวรติดต่อกัน 36 ชั่วโมง แม้จะเป็นเวรที่สามารถพักได้ (on call) เพราะแพทย์มีโอกาสที่จะเกิดความเหนื่อยล้าอันอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป ่วย เช่น การสั่งการรักษาผิดพลาด และอันตรายแก่ตัวแพทย์เอง เช่น เกิดอุบัติเหตุจราจรขณะเดินทางกลับที่พัก (12) อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลครั้งนี้สะท้อนเพียงจำนวนชั่วโมงที่ต้องอยู่เวร แต่ยังไม่ได้วิเคราะห์ละเอียดว่าเป็นการอยู่เวรอย่างต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมง เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดในแต่ละสัปดาห์



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120

58.8.141.78






« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 3:26pm »


ชั่วโมงการทำงานของแพทย์

โดยเฉลี่ยแล้วแพทย์ที่ได้รับการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ ปฏิบัติงาน 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าประเทศอื่น เช่น การสำรวจชั่วโมงการปฏิบัติงานของแพทย์ในประเทศนอรเวย์ในปีพ.ศ.2536 พบว่ามีค่าเฉลี่ย 52.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสำหรับประเทศนอรเวย์เองแล้ว ถือว่าแพทย์ปฏิบัติงานมากกว่าอาชีพอื่นถึงร้อยละ 40 (9) ขณะที่ การสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสำนักงานสถิติแรงงาน (US Bureau of Labor Statistics) ในปี พ.ศ.2547 พบว่ามากกว่าหนึ่งในสามของแพทย์ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาปฏิบัติงานมากกว่าหรือ เท่ากับ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (10) นอกจากนั้น Accreditation Council for Graduate Medical Education (ACGME) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการของแพทย์ฝึกหัดจากการมีชั่วโมงป ฏิบัติงานนานเกินไป และได้กำหนดให้แพทย์ฝึกหัดทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น (11)

ผลการสำรวจยังสะท้อนให้เห็นว่า แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐบาลแต่ละขนาด มีชั่วโมงการทำงานที่แตกต่างกัน แต่การที่แพทย์โรงพยาบาลศูนย์มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์น้อยกว่าแพท ย์โรงพยาบาลทั่วไป และการที่แพทย์โรงพยาบาลขนาด 120 เตียงมีชั่วโมงการทำงานมากที่สุด ทำให้สรุปได้ว่าจำนวนเตียงผู้ป่วยไม่สัมพันธ์กับชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในล ักษณะเส้นตรง

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบแพทย์เฉพาะทางต่างสาขากัน พบว่าศัลยแพทย์และอายุรแพทย์มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าแพ ทย์สาขาอื่น ขณะที่แพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลขนาดเล็กมีจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าแพทย์ใช ้ทุนในที่ปฏิบัติงานแยกแผนกในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120

58.8.141.78






« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 6:47pm »




อืม ...... เหมือนเป็นความรู้ ใหม่ มาก ๆ เลย



เรื่องนี้ ผมว่า เลิกศึกษากันได้แล้วครับ .. จะทำอะไร ก็ทำซะที



ถ้าไปเอางานวิจัย สัก ๑๐ ปีที่แล้ว เรื่องสาเหตุที่แพทย์ลาออกจากราชการ ของ สวรส. ... ผลวิจัย ก็สรุปคล้าย ๆ กัน ...



รู้แล้วว่า ปัญหามีอะไรบ้าง ... แนวทางแก้ไข ก็เห็นวิจัยกันเยอะแล้ว ... ก็เหลือแค่ นำมาทดลองทำ เท่านั้นเอง ... กล้า ๆ หน่อย ไม่น่าจะมีอะไรที่เสียไปมากกว่านี้อีกแล้ว


________________________________________
ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.geocities.com/phanomgon โรคกระดูกและข้อ
www.geocities.com/cmu2807 เวบหมอเชียงใหม่รุ่น28

ส่งโดย: หมอหมู
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff
จำนวนความเห็น: 12535

125.24.215.41






« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 7:08pm »


ทำวิจัยเสร็จก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ
ก็เหมือนไม่ได้ทำ อะไรเลย

ถ้าเช่นนั้นคำถามคือ ทำวิจัยแล้วใครได้ประโยชน์อะไร
หากเป็นวิจัยที่ไม่มีประโยชน์ก็ผิดหลักการทำวิจัยครับ

หน่วยงานใหนทำอะไรแบบไร้หลักการที่ถูกต้องแล้ว ก็ต้องทบทวนที่มาที่ไปแล้วครับ มีเหมือนไม่มี ก็น่าจะยุบ เลิก แล้วก็ตั้งหน่วยงานใหม่ที่เหมาะสมมีความสามารถมีความคล่องตัวมาดูแลปัญหาแทน ดีกว่า


________________________________________จิตถูกต้อง ต้องมีสติ สัมปชัญญะ ปัญญา
ส่งโดย: jubjeab
สถานะ: Senior Member
จำนวนความเห็น: 277

222.123.1.141






« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 9:07pm »


ปัญหาที่แพทย์ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติรู้มามากกว่า 20 ปี
วิจัยไปทำไมหรือ
ก็วิจัยเพื่อจะได้ใช้งบประมาณไง แม้วิจัยเรื่องที่รู้กันอยู่แต่ไม่แก้ไข
ขอเรียกร้องเหมือนเดิมครับจนกว่าจะเบื่อไปข้างหนึ่ง
ขอเรียกร้องว่าแพทย์ไม่ควรตรวจคนไข้ เกินวันละ 8 ชั่วโมง
ขอเรียกให้คนที่เป็นแพทย์ทุกคน ต่อสู้ให้แพทย์เราทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน หากอยู่เวรด้วยห้ามทำงานติดต่อกัน> 16 ชั่วโมงครับ ขนาดกรรมกรกฎหมายยังห้ามนายจ้างสั่งให้ทำงานเกิน 16 ชั่วโมงติดกัน
และให้แพทย์ตรวจผู้ป่วย ชั่วโมงละไม่เกิน 6 คน (คนละ 10 นาที) วันละ 48 คน/8ชม
ตามมาตราฐานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นสากลครับ
ผู้ป่วยที่ตรวจไม่ทันเวลาราชการก็ตรวจต่อโดยแพทย์เวรครับ หากแพทย์เวรตรวจไม่หมดก็ตรวจต่อเช้าวันรุ่งขึ้นครับ
แพทย์ไม่ควรรีบตรวจครับ เพราะจะผิดพลาดได้ง่ายและเวลาผิดพลาดไม่มีพวกในกระทรวงช่วยครับ
มีแพทย์ที่ช่วยราชการ






ส่งโดย: anantom
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1355

125.27.188.131






« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 10:54pm »


Quote:
เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ โรงพยาบาลที่ทำการสำรวจข้อมูล


แปลว่าจะทำใช่ไหมครับ จะได้รอ
เพราะไม่เกินปีหน้าผมจะลาออกแล้ว


________________________________________
เรื่องสั้นที่แต่งจากประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการแพทย์ทั้งสิ้น
รวมเรื่องสั้นแต่งเอง
ปล. หมอแมว=เรื่องสั้นแต่งเอง
ส่งโดย: -เรื่องสั้นแต่งเอง-
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 234

222.123.235.99






« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: Jul 8th, 2007, 11:05pm »


on Jul 8th, 2007, 9:07pm, anantom wrote:
ปัญหาที่แพทย์ผู้บริหารและผู้ปฎิบัติรู้มามากกว่า 20 ปี
วิจัยไปทำไมหรือ
ก็วิจัยเพื่อจะได้ใช้งบประมาณไง แม้วิจัยเรื่องที่รู้กันอยู่แต่ไม่แก้ไข
ขอเรียกร้องเหมือนเดิมครับจนกว่าจะเบื่อไปข้างหนึ่ง
ขอเรียกร้องว่าแพทย์ไม่ควรตรวจคนไข้ เกินวันละ 8 ชั่วโมง
ขอเรียกให้คนที่เป็นแพทย์ทุกคน ต่อสู้ให้แพทย์เราทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน หากอยู่เวรด้วยห้ามทำงานติดต่อกัน> 16 ชั่วโมงครับ ขนาดกรรมกรกฎหมายยังห้ามนายจ้างสั่งให้ทำงานเกิน 16 ชั่วโมงติดกัน
และให้แพทย์ตรวจผู้ป่วย ชั่วโมงละไม่เกิน 6 คน (คนละ 10 นาที) วันละ 48 คน/8ชม
ตามมาตราฐานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นสากลครับ
ผู้ป่วยที่ตรวจไม่ทันเวลาราชการก็ตรวจต่อโดยแพทย์เวรครับ หากแพทย์เวรตรวจไม่หมดก็ตรวจต่อเช้าวันรุ่งขึ้นครับ
แพทย์ไม่ควรรีบตรวจครับ เพราะจะผิดพลาดได้ง่ายและเวลาผิดพลาดไม่มีพวกในกระทรวงช่วยครับ
มีแพทย์ที่ช่วยราชการ





เห็นด้วย ครับ ไม่ตรวจ เกินกำลัง เพื่อลดความเสี่ยง

ต้องติดป้ายไว้หน้ารพ.

เหมือนพวกเครื่องดื่มชูกำลัง

ไม่ตรวจเกินชม.ละ 4 คน คนละ 15 นาที หรือ ชม.ละ 2 คน แบบ เมืองนอก

เพราะ เน้นคุณภาพ ถ้า ต้องตรวจ เกินกว่านั้น อาจมีความเสี่ยง



ส่งโดย: jangdonkan
สถานะ: Senior Member
จำนวนความเห็น: 285

203.156.40.114






« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 12:12am »


เห็นด้วยคับ



ส่งโดย: kkcontrol
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 697

125.24.153.44






« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 1:01am »


ขออนุญาต เพิ่มรายละเอียดนะครับ ขอบคุณ อาจารย์ cmu06 ที่กรุณามาลงครับ

1.อนุฯทำงานชุดด้านบนนี้มีขึ้นเพื่อนำข้อมูลในปัจจุบันมาคัดค้าน
ข้อมูลบางกลุ่มอาจมองตรงข้ามกับเราครับ โดยให้พุ่งเป้าไปที่ รพ.ที่ต้องการสำรวจครับ
เนื่องจากการรายงานในระดับองค์กรนั้นจำเป็นต้องมีตัวเลขประกอบชัดเจน ในสภาวะปัจจุบันที่สุดครับ จะได้เปิดเกมส์รบกันใหม่..

2.ภาระงานที่มีปัญหาปัจจุบันมากที่สุดคือ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหลัก กระทรวงอื่นๆนั้นปัญหาน้อยกว่ามาก ถึงไม่มีเลย และเอกชน ไม่มีปัญหานี้ครับ

3.ก่อนจะคิดแก้ปัญหาต้องมาดูข้อเท็จจริง ลองคิดตามผมดูนะครับ
(ความเห็นส่วนบุคคล ในมุมแคบๆของคนความรู้ ประสบการณ์ ไม่มาก..
อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดนะครับ..share กันได้ครับ)

3.1 แพทย์ที่มีปัญหา ส่วนมากสังกัดอะไร??

3.2 แพทย์สำนักงานปลัด นั้น มีจำนวนเท่าใด จากแพทย์ 36000 คนทั้งประเทศ

3.3 การกำหนดงานหน้าที่รับผิดชอบแพทย์ 9000 กว่าคน ในรพ.600 กว่าแห่งของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ขึ้นกับใคร

3.4 สธ.เป็นผู้ออกบทบาทการบริการ โดยรู้อยู่แล้วว่างานหนักเบา จำนวนคนที่ให้บริการต้องใช้เท่าไร ทำไม ไม่กำหนดภาระงาน แล้วประกาศ
(นอกอำนาจแพทยสภา ไม่สามารถทำแทนได้ ได้แต่ส่งคำแนะนำครับ)

3.5 ความขาดแคลนแพทย์ ขึ้นกับอัตราไม่พอเพียง การกำหนดตำแหน่ง และเงินเดือนแพทย์ ขึ้นกับใคร ?

3.6 กพ.เองทำหน้าที่ 3.5 ได้กำหนดรายได้ขึ้นกับภาระงานได้หรือไม่ เอาเงินเดือนแพทย์ออกนอกระบบได้หรือยัง(กำลังทำอยู่) เพื่อดึงคนเข้าระบบมากขึ้น ติดที่งบประมาณ มาจากไหน

3.7 สปสช.กำหนด งบรวมเงินเดือนให้ สธ. มีงบพอดังกล่าวหรือไม่หรือมัวทำวิจัย พิมพ์หนังสือ สวยๆ ทำโครงการหรูๆ จนลืมบุคลากรทางการแพทย์ สร้างประชานิยมแล้ว สร้างแพทย์นิยมบ้างไหม นอกจากเป็น กระทรวง2 สร้างภาระงาน รายงานมากมาย จาก รพ.หน่วยย่อยซ้ำซ้อนกับงาน สธ.จนระดับล่างสับสน..

3.8 แพทย์ที่ไหลออกล้วนเพราะมีที่ไปการสนับสนุน medical hub จณะที่แพทย์ ในรพ.ชุมชน 600+ โรง ไม่เพียงพอ เจาะช่องทางสว่างให้ เห็นทางไหลออก รัฐสนับสนุนเท่าไร เปิดมากเท่าไร ประชาชนรากหญ้า ย่อมสูญเสียแพทย์ที่ดูแลตนเองออกไปดูแล medical hub hospital แน่นอน แพทย์จำนวนเดียวกันไหลไปมา หากไม่จำกัดจะสร้างทันปีไหน ..แพทย์ สธ.ขาดอีกระดับหมื่นกว่าคน จบปีละ 1600 คน ได้ตำแหน่งจากกพ. 1300 คน ลาออกปีละ 4-600คน กี่ปีจะทัน
หากลืมตาอีกข้างมาดูเอกชน รับสมัครแพทย์ แล้วได้เกือบหมด ทุกครั้งที่ได้ แพทย์รัฐต้องเสียไป..จริงหรือไม่.. รัฐมีมาตรการควบคุมอย่างไร หรือปล่อยเสรี หากวันพรุ่งนี้ มีรพ.เอกชนเปิดใหม่ ใช้แพทย์ 100 คน ส่วนใหญ่ย่อมไหลจากภาครัฐไป แล้วใครจะมาช่วยภาครัฐ.. หากคุมไม่ได้ ใช้มาตรการ win win ได้หรือไม่ เช่นแพทย์เอกชนมีส่วนร่วมดูแลคนไข้รัฐบ้าง เพื่อผ่อนภาระ เป็น private public mix คืนให้กับสังคม ..

3.9 อาจมีแพทย์บางกลุ่มสนิทสนมใช้ฐาน NGO ร่วมงาน สมมติว่าให้ข่าวว่าคดีฟ้องร้องไม่เพิ่มขึ้นหากเพิ่มเพราะแพทย์ชุ่ยเอง เขาจึงต้องออกมาคุ้มครองประชาชน อาจมีผลให้กลุ่มเกี่ยวเนื่องตนก้าวหน้า คดีที่เพิ่มขึ้นทางจริยธรรมในแพทยสภา จนล้น ค้างกว่า 680 คดี เป็นจุดบีบของสังคมให้น้องดีๆที่กลัวความเสี่ยงต้องออกไป..จากระบบราชการ จะเป็นความรับผิดชอบของใคร ที่ทำให้น้องลาออกจากเหตุนี้ แม้เรื่องนี้แพทยสภาจะพยายามแก้ไขป้องกันการฟ้องร้องที่ไม่เป็นธรรม แต่มิได้ช่วยคนผิดนะครับ ก็ยังถูกมองด้วยสงครามข่าวและฝ่าย ngo บางกลุ่ม เล่นงานจนเละเป็นพักๆ จนอาจารย์หลายท่านท้อแทบไม่อยากมาเปลืองตัวอยู่แล้ว...เช่น อ.สมศักดิ์ที่ออกมา กามิกาเซ่ แทนพวกเราเป็นพักๆ ประกาศข้อเท็จจริงยังโดนซะอ่วม..

3.10 สรุป
-แพทยสภาบทบาทนี้ มีหน้าที่ให้คำแนะนำ (แนะไปแล้วไม่ทำก็ได้ ใส่ลิ้นชักไว้ก็ได้ เพราะไม่ใช่เจ้านายสายตรง )
-กพ.กำหนดตำแหน่ง เงินตอบแทน อิงภาระงาน
-สธ.ดูแลภาระงาน ผู้ปฏิบัติ ผู้กำหนดหน้าที่ ให้หมอทำ และเป็น กระทรวงที่ขาดหมอและหมอลาออกมากที่สุด ที่ควรต้องแก้ไขปัญหาด้วยการจัดระบบดูแลแพทย์ ภาระงาน สวัสดิการ และอื่นๆด้วยตนเอง.หากแต่แพทย์ผู้บริหารนั้น เช่น นพ.สสจ. หากมาจาก รพ. หรือสายงานดูแลคนไข้ย่อมมีวิสัยทัศน์กว่าแพทย์ที่มาบริหารโดยไม่เคยผ่านสายก ารตรวจคนไข้จาก รพ.ชุมชน แน่นอน..
-สปสช.กำหนดงบ ให้ สธ.และแถมกำหนดงาน สร้างงานใหม่ๆ
-สธ.เป็นผู้อนุญาตการเปิด รพ.ใหม่ๆ การทำ medical hub เอง..จากกองโรคศิลป์
-แพทย์สภากำหนดการผลิตแพทย์ ปัจจุบันเต็มที่จนเสี่ยงต่อคุณภาพไม่ผ่าน ศูนย์สอบรายงานว่า ไม่ผ่านมาตรฐานปีนี้จำนวนมาก
-รัฐบาลกำหนด เรื่อง medical hub
-ประชาชนบางกลุ่มกำหนดบทบาทให้เกิดการฟ้องร้องมากขึ้น..

จะเริ่มที่ไหนก่อนดีครับ

ไม่ต้องห่วงครับ
ทุกสิ่งต้องกลับสู่สมดุลย์ตามพุทธพจน์
ผมคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีนี้
พวกเราได้เห็นมิติกลับทางการแพทย์แน่นอนครับ ..
เมื่อ นักเรียนแพทย์รุ่นนับแต่ปีนี้ จบการศึกษาไป..
ท่ามกลางความร้อนแรงการฟ้องร้อง ..
การหนีไปเรียนวิชาชีพอื่นของคนเก่ง..
การที่ต้องยอมรับว่าแพทย์นั้นเรียนยาก มาก ..
ไม่ใช่ทุกคนเรียน และจบได้..เป็นหมอที่ดีได้ง่ายๆ
ข้อเท็จจริงที่หากหมอไม่เก่ง ก็มีโอกาสพลาดมากกว่าเดิม
ประชาชนเป็นตัวรับผลกระทบนี้เองครับ...
เนื่องจากเป็นเรื่องของชีวิตและความอยู่รอด..
กว่าประชาชนจะตระหนัก ทนายจะตระหนัก
แพทย์เก่งไม่พอต่างชาติไม่ยอมรับ
ระบบ medical hub ที่ฝันได้เพราะหมอทุกวันนี้เราเก่งระดับ inter
ต่างจากหมอ อินเดีย ปากีสถานที่เรียนจบสอบไม่ได้ ขายยา หรือขับ taxi ก็ยังมี..
วันนั้นประชาชนจะหันมาช่วยปกป้องวิชาชีพนี้เอง..

ท่านว่าไหมครับ...



« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: Jul 9th, 2007, 1:13am by 716:16 »
________________________________________
-->
Information Technology Doctor :->
Empower by Air Force :->

ส่งโดย: 716:16
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1223

58.8.102.179





โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:54:41 น.  

 
« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 7:21am »


ได้อ่านข้อท้ายๆของ อจ Dr 716 หมดหวังครับ ถ้ายังต้องรอตามระบบ โดยเฉพาะถ้าแพทยสภาบอกมิใช่หน้าที่แล้ว ไม่เห็นอนาคตครับ

ผมเชื่อและมั่นใจเอามากๆ ว่ากระทรวงจะไม่ทำอะไร เหมือนที่ผ่านๆมา อย่างที่มีหลายคนตั้งข้อสังเกตุแล้ว เรื่องทำนองนี้มิใช่เป็นครั้งแรก ปล่อยกันมาจนมันเรื้อรังขนาดนี้

ปัญหาในอดีต เอาไว้เป็นบทเรียนกำหนดกลยุทธ์

1. กระทรวงอาจจะแสร้งทำหรือพยายามทำ แต่อ้างว่า กพ ไม่ยอมรับ ติดขัดงบประมาณ อัตราตำแหน่ง

2. ปัญหาที่เคยเกิดในอดีต คือ วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง อาศัยโหนกระแสพวกหมอเราไปด้วยทำให้ภาพมันดูเบลอ ในสายตาคนที่คิดเป็นขั้นเป็นตอนไม่เป็น คงต้องผลักดันให้แต่ละสาขาทำการวิจัยแบบนี้ออกมา และแยกกันตีเถอะครับ รวมกันเป็นก้อนไม่สำเร็จแน่นอน ภารโรงมันยังเคยอ้างว่ามันก็เป็นสมอง ถ้ามันไม่ทำความสะอาด โอ อาร์ หมอ ผ่าตัดไม่ได้

อยากขอร้องให้แพทยสภารับเป็นเจ้าภาพผลักดันต่อเถอะครับ อย่าได้คิดว่าไม่มีหน้าที่เลย เพราะถ้าท่านไม่ทำต่อ ใครจะมาทำ

อย่าลืมนะครับว่ากรรมการชุดนี้ส่วนใหญ่ได้รับเลือกเพราะผลงานเรื่องนอก JD นะครับ

และอย่าให้ผมมองว่ากรรมการชุดนี้ปกป้องโรงพยาบาลเอกชน medical hub



________________________________________The mirror has 2 faces.
ส่งโดย: ส้มตำ
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1029

203.121.160.59






« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 11:23am »


ที่เราพยายามเอาข้อมูลต่างๆมาเผยแพร่นี้ ก็เพื่อให้พวกแพทย์เราในวงการแพทย์และประชาชนอื่นๆ ที่ต้องไปรับบริการทางการแพทย์ได้ตระหนักว่าแพทย์ไทยในโรงพยาบาล ของรัฐบาลไทยนี้ ต้องทำงานหนักเกินกำลัง ขาดการพักผ่อน และขาดคุณภาพชีวิตที่ดี เสี่ยงต่อความผิดพลาดในการทำงาน เสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการทำงานและการดำรงชีวิต แต่ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ที่จะแก้ไขได้ก็ไม่ทำ ผู้ที่อยากจะทำแต่ไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง เช่นคณะกรรมการแพทยสภาที่ได้พยายามอย่างมาก
ที่พยายามจะแก้ไข โดยได้ขอเข้าพบรมว.สธ.มาหลายคนแล้วใน
ระยะ 4-5 ปีมานี้ แต่รมว.ก็อยู่ในกระทรวงไม่นาน จึงไม่ทำงานต่อเนื่อง
ส่วนข้าราชการประจำระดับบริหารสูงสุด ก็ไม่มีความกล้าหาญที่จะแก้ไข
ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่เป็นห่วงใยในวิชาชีพของเรา จะต้องร่วมมือกันร่วมแรงร่วมใจกันที่จะแก้ไข ให้ระบบการแพทย์ไทยได้ทำงานพอเหมาะเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพและคุณภา พชีวิตของประชาชน และเสี่ยงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแพทย์เช่นเดียวกัน
โดยเริ่มจากการพูดกันมากๆ เพื่อให้ทุกคนในทุกภาคส่วนของสังคม ได้หันมาสนใจในปัญหาเหล่านี้ ที่นับวันก็มีแต่จะเลวร้ายลงทุกวัน และมีผลกระทบต่อประชาชนทุกคน ที่จำเป็นจะไปรับการดูแลรักษาสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐบาลอย่างแน่นอน
ปัญหาสำคัญที่พวกเราที่เป็นแพทย์รัฐบาลทราบกันดีอยู่แล้วในเรื่องความขาดแคล นบุคลากร งบประมาณและอื่นๆฯลฯ แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนมีการเรียกร้องการบริการทางการแพทย์มากขึ้น ต้องการการบริการที่ดีที่สุด( ห้ามตาย ห้ามมีโรคแทรกซ้อน ไม่งั้นโดนฟ้อง ฯลฯ)โดยไม่ต้องรับผิดชอบซ่อมสุขภาพของตัวเองเลย แต่ประชาชนไม่ยอมรับรู้ปัญหาเหล่านี้ เราเคยได้ยินNGO พูดในที่ประชุมใหญ่แห่งหนึ่งว่า โรงพยาบาลรัฐบาลขาดทุนไม่ได้ เพราะขอเงินจากรัฐบาลมาได้ พราะรัฐบาลให้เงินมาเพื่อบริการประชาชน โรงพยาบาลไม่ควรมาคิดเรื่องกำไร-ขาดทุน เงินไม่พอก็ไปขอรัฐบาลมาซิ และหมอมีหน้าที่ทำตามความต้องการของประชาชน โดยไม่เข้าใจเรื่องข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
แพทยสภาควรเป็นแกนกลางหรือเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาในวงการแพทย์อย่างเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดระบบบริการ การจัดสรรงบประมาณ การจัดสรร
บุคลากร และแก้ปัญหาอุปสรรคต่อภาระงาน และคุณภาพการบริการ โดยแพทยสภาควรหาแนวร่วมจากกระทรวงสาธารณสุข จากแพทยสมาคม ราชวิทยาลัย ผู้นำรัฐบาล และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อช่วยแพทย์ไทยให้ทำงานอย่างเหมาะสมเพื่อจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้อย่างปลอ ดภัย
เมื่อเช้าได้ยินข่าวผลการประชุมของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื ่องขนมเด็ก ว่าทำให้เด็กไทยอ้วนสมควรควบคุม เรื่องเล็กๆแค่นี้สภาที่ปรึกษาฯยังต้องประชุมมีมาตรการออกมา แต่เรื่องบริการทางการแพทย์ที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับความเป็นความตายของประชาชน ทุกคน กลับไม่มีใครเป็นเจ้าภาพจัดการดูแลแก้ไข
กระทรวงสาธารณสุขไทยทำเป็นอยู่อย่างเดียวในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์คือจอ งจำด้วยสัญญาการใช้ทุนและการลงโทษเป็นค่าปรับ กระทรวงสาธารณสุขแก้ปัญหาอยู่อย่างเดียวคือ ถ้าหมอมันลาออกมากก็เพิ่มค่าใช้ทุนการศึกษา (ทั้งๆที่กพ.เคยบอกหลายครั้งแล้วว่านักศึกษาแพทย์ไม่เคยได้รับทุนการศึกษาจา กรัฐบาลตามกฎระเบียบของกพ.)
คุณหมอทั้งหลายรู้หรือเปล่าว่า เดี๋ยวนี้ นักศึกษาแพทย์ใหม่ต้องทำสัญญาใช้ทุน 1 ล้านบาทแล้ว
อาจารย์716 กรุณาผลักดันให้คณะกรรมการแพทยสภาจัดสัมมนาระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาระบบบริกา รทางการแพทย์ด้วย



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120

58.8.139.231






« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 12:51pm »


เห็นควรด้วยครับพี่ 716 วันนี้OPD med บ่ายผมเหลืออีก 50 แหนะ สาธุด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าทำมาในชาตินี้ขอให้ข้าพเจ้าแคล้วคลาดจากการฟ้อ งร้องด้วยเทอญ




ส่งโดย: 151xx
สถานะ: Junior Member
จำนวนความเห็น: 60

203.113.51.103






« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 12:55pm »


on Jul 9th, 2007, 7:21am, ส้มตำ wrote:
ได้อ่านข้อท้ายๆของ อจ Dr 716 หมดหวังครับ ถ้ายังต้องรอตามระบบ โดยเฉพาะถ้าแพทยสภาบอกมิใช่หน้าที่แล้ว ไม่เห็นอนาคตครับ
อยากขอร้องให้แพทยสภารับเป็นเจ้าภาพผลักดันต่อเถอะครับ อย่าได้คิดว่าไม่มีหน้าที่เลย เพราะถ้าท่านไม่ทำต่อ ใครจะมาทำ
อย่าลืมนะครับว่ากรรมการชุดนี้ส่วนใหญ่ได้รับเลือกเพราะผลงานเรื่องนอก JD นะครับ และอย่าให้ผมมองว่ากรรมการชุดนี้ปกป้องโรงพยาบาลเอกชน medical hub




ผมต้องขออภัยที่อาจารย์อาจเข้าใจผิดครับ..
จริงๆเป็นหน้าที่ และภาระกิจหลักที่แพทยสภาตระหนักและต้องผลักดันเพื่อแพทย์โดยรวมและกำลังดำเ นินการต่อเนื่องอยู่แล้วครับ ที่บ่นข้างบนเพราะอยากshare ว่า ไม่ง่าย ..
เรื่องนี้กรรมการทุกท่านพยายามทำทุกขั้นตอนที่เป็นไปได้ โดยมองภาพรวมทั้งประเทศ
หากแต่ว่าที่เสนอข้อมูลคืออุปสรรค์ที่ทำให้มันไม่ง่ายอย่างที่คิด
เพราะเรามีหน้าที่ มีความประสงค์ที่จะทำให้ระบบสมบูรณ์ แต่ไม่มีอำนาจ (responsibility without authority) ในหลายส่วนของกลไกรวมทั้งระบบ โดยผู้มีอำนาจ ไม่ขยับ และกลุ่มผู้เสียหายหลักกลับ ไม่ผลักดันเดินเรื่องเอง..แบบจริงจัง
เพียงอยากให้ทุกภาคส่วนเร่งประสานงานกันแก้ไข ก็จะลุล่วงโดยง่าย

โดยผู้บริหารต้องลดอัตตาลง ลดการมองว่าหากเสนอปัญหานี้ตนเองจะไม่ก้าวหน้า เอางบมาใช้ให้ตรงจุด เมื่ออยู่ข้างบนเป็นผู้บริหารแล้วขออย่าลืมน้องๆที่ชุมชน
เมื่อเสนอไปอย่านำเรื่องสมัยตนเองว่าเคยรักษาคนไข้ โอพีดี 100กว่า คนได้ ทุ่มเท ชุมชนได้ ตอนนี้คนไข้ปัจจุบันยุคไอที เขาไม่เหมือนเดิมนะครับ
เขามีความรู้ ฉลาดขึ้น เลือกได้ และมีกฎหมายในมือ น้องๆชุมชนจึงลำบากไงครับ
เมื่อเสนอเรื่องคดี ก็ขออย่าให้พี่ๆแถว จ.เลย เอาข้อมูลตนเองเสนอ รมต.ว่าคดีไม่เพิ่ม เหมือนๆเดิม มาทะเลาะกันกับบแพทยสภา
น้องๆย่ำแย่แล้ว พี่ออกตรวจบ้างหรือไม่..ทั้งที่เป็นกรรมการจัด gis แพทย์ สธ.เอง

ผงเข้าตาแพทย์บางส่วนไม่ใช่ทุกส่วน
โดยเฉพาะ สำนักปลัด สธ. เจ้าตัวไม่ยอมเริ่มเขี่ยออก
ชาวบ้าน(อย่างแพทยสภา) โวยวายให้ เพราะเห็นว่าท่านดูแลคนมากที่สุด (9000จาก36000) ท่านไม่ช่วยขยับรับลูกกัน ให้เป็นเรื่องราว จะแก้ได้อย่างไร
(ดุจคนไข้ไม่มี in-sight แพทย์ที่ใดจะเยียวยาได้ครับ)

เรียน อ.ส้มตำว่า กรรมการแพทยสภาที่เล่ามาน่ะครับ ทำหลายอย่างมากจนบางทีเกินหน้าที่..ก็ทำ.. พบ รมต.หลายครั้ง ยื่นหนังสือ จัดประชุม สัมนา ในอดีตมีมาทั้งสิ้นครับ..แต่ วาระนี้ก็ไม่ท้อถอยครับยังไงคงลุยต่อไป..

เรียน อ. cmu06 ครับ การสัมนาระดับชาตินั้น เป็นเรื่องน่าสนใจครับ แต่ปัญหานี้แม้มีผลระดับชาติ (40ล้านคน) แต่เป็นปัญหาหลักอยู่ในหน่วยงานเดียว น่าจะระดม สรรพกำลังช่วยกันแก้ไขตรงจุดกว่าครับ คนอื่นเขามีปัญหาบ้างแต่ไม่มากเท่านะครับ
เพียง สธ.ออกมาตรการภาระงานออกมา ให้รพ.600แห่งตนเองทราบ ข้อเท็จจริง(ที่รู้ๆกันอยู่) ว่ามีปัญหาก็ช่วยกันบรรรเทาได้ส่วนหนึ่งแล้วครับ..
หากไม่มีผู้ยอมรับว่าปัญหามีจริงในระบบตนเองแล้วจะแก้ได้อย่างไร??

ระดับชาติภาครัฐนะครับย่อมรวมถึง มหาวิทยาลัย ทหาร บก เรือ อากาศ ตำรวจ มหาดไทย กทม. เขาไม่มีปัญหามากเช่นนี้นะครับ เรียกมาให้สับสนปล่าวๆ เพราะแกนสาระปัญหากระทรวงอื่นคนละจุดกัน..ยิ่งกว้างจนไม่มีคนลงไปแก้แทน..

โฟกัสจะจะ ว่า หมอใน สธ. ที่อยู่ สำนักปลัด ในรพ.600 แห่งเนี่ย
ตรวจคนไข้กี่คน จากหมอ 9000 คน รับผิดชอบบริหาร ไม่ตรวจกี่คน แล้ว
ถ้าเอาข้อมูลหมอรวมไปหารคนไข้ทีไร
ปัญหาขาดหมอก็เหมือนไม่ขาดมากสักที..ทั้งที่คนทำงานจริงจะตายเอา.
หมอที่เดินในกระทรวงไม่มีโอกาสดูคนไข้เท่าไร ..
ผู้บริหารสำคัญนะครับต้องมี แต่ต้องแยกกันให้ได้ ..ชัดๆ
หมอลาเรียนมีผลมากไหม ต้องเอามาดู..เรียนต่อแล้วลาออก มากๆ ท่านแก้อย่างไร หากหมอมีความสุขดีไม่ออกหรอกครับ

วิกฤติหมอในสำนักปลัดนี้..ต้องเริ่มที่สำนักตัวเองก่อนหรือเปล่าครับ...
ทุกคนรู้ข้อเท็จจริง แต่ใครจะเอากระพรวนไปผูกคอแมวครับ

อย่าเผลอนะครับ หากมีช่องโอกาสแพทยสภาจะไปผูกเอง..แน่นอน

แพทย์ที่บ่นในนี้ ท่านสังกัดใดเล่าครับ??
หากมีคำแนะนำที่ดีๆ ยินดีเสมอครับ..


« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: Jul 9th, 2007, 11:39pm by 716:16 »
________________________________________
-->
Information Technology Doctor :->
Empower by Air Force :->

ส่งโดย: 716:16
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1223

58.8.104.110






« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 3:02pm »


ขอบคุณครับ ได้อ่านคำตอบอาจารย์แล้วสบายใจว่าเลือกไม่ผิด ผมเสนออย่างนี้ครับ

1. เรามีองค์กรแพทย์ระดับประเทศอยู่ พร้อมสาขาทุกโรงพยาบาล ลงไปทางนี้ได้ไหมครับ เอาตัวแทนมาช่วยแพทยสภา ดำเนินการผลักดัน ไม่ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ กสรกำหนดแนวทาง การดำเนินการแก้ไข ทั้งบนดิน ใต้ดิน
2. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่จากหมอและผู้เกี่ยวข้อง ภาระงานก็คล้ายๆกับข้อแรก จะมาจากการแต่งตั้งหรืออาสาสมัครก็ได้

ต้องทำอะไรกันแล้วละครับ ข้อมูลมีพอสมควร ส่วนหมอในนาม ผมว่าหาไม่ยากครับ เอาที่ขึ้นทะเบียนไว้ ลบพวกในกระทรวง คงพอประมาณได้ว่าหมอในนาม มีกี่คน


________________________________________The mirror has 2 faces.
ส่งโดย: ส้มตำ
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1029

203.121.160.59






« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 3:56pm »


อาจารย์ 716 ครับ อย่าคิดว่าเป็นเพียงปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นนะครับ ปัญหามีทั้งนั้นไม่ว่าในคณะแพทยศาสตร์ ที่อาจารย์ก็ขาดแคลน เพราะลาไปอยู่เอกชนเยอะ ส่วนของตำรวจ ทหารเราไม่ทราบ แต่ปัญหาต่างๆเช่นงบประมาณไม่พอ บุคลากรไม่พอ และประชาชนเรียกร้องมากขึ้นนี้ เรารู้ว่ามีทุกแห่งของโรงพยาบาลของรัฐบาล หรือของเทศบาล
เราว่าไหนๆจะแก้ไขให้แพทย์ไทยทำงานเหมือนอาชีพอื่นบ้าง คือมีเวลาพักผ่อนพอเพียง มีงานไม่มากเกินไป(จำนวนผู้ป่วยและหัตถการเหมาะสม) มีเวลาทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ แล้วไซร้ จะต้อง "ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข" พร้อมกันทุกระบบ และควรไปดึงเอาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมมาช่วยด้วย เพราะสภานี้มีศักยภาพตามภาระหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย ที่สามารถเชิญรัฐมนตรีมาให้ข้อมูลและให้การแนะนำปรึกษารัฐบาลได้ทั้งเรื่อง เศรษฐกิจและสังคม



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 120

58.8.143.47






« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 7:04pm »


โอ้ข้อมูลแน่นมากครับ ปัญหาสาสุข ไม่รู้จะไปจับตรงไหนก่อน หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ



ส่งโดย: keath
สถานะ: Senior Member
จำนวนความเห็น: 384

222.123.9.86






« ความเห็นที่ #17 เมื่อ: Jul 9th, 2007, 11:30pm »


on Jul 9th, 2007, 3:56pm, cmu06 wrote:
อาจารย์ 716 ครับ อย่าคิดว่าเป็นเพียงปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นนะครับ ...



ขอบคุณครับ..
เรียน อ.ส้มตำครับ เรื่ององค์กรแพทย์น่าจะดี หากพูดความจริงกัน หากไม่เกรงใจผู้บริหาร น่าจะผลักดันได้ครับ แต่ทุบทางตันนี้ แม้พูดแล้ว จะหาแพทย์เพิ่มไม่ได้ ยังไม่รู้ทางออกที่จนตรอกจะเป็นอย่างไร

หากมีแพทย์สัก 5 หมื่นคนคงไม่มีปัญหาครับ

เรียน อ. cmu 06 ครับ ผมเห็นด้วยและจะพยายามให้เป็นเช่นนั้นทุกภาคส่วนครับ
หากแต่ความรีบด่วนขณะนี้คือกลไกแพทย์ ที่ impact ประชาชนจำนวนมาก
ที่เราต้องคุ้มครอง คือกระทรวงสาธารณสุขครับ มีคนรอความหวัง40ล้านคน

ส่วน รร.แพทย์ tertiary care นั้น ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ อาทิตย์ก่อนสัมนากับท่านรองคณบดี
ที่หนึ่งบอกเราว่า อาจารย์ รร.แพทย์ สิบปีก่อน เปิดตำแหน่งก็มีตัวเลือกดีๆ
แย่งกันมาสมัคร ปัจจุบัน เปิดตำแหน่งแล้ว รอแล้วรอเล่า ไม่มีคนสมัครครับ..
พอมาถามว่าเงินเดือนเท่าไร พอทราบก็หายไปหมดครับ..

ก็การแก้ปัญหาบนทรัพยากรจำกัดคงต้ง priority เป็นลำดับรีบด่วนถัดไปครับ ..
สงสาร 40 ล้านคนที่รอก่อนนะครับ..

ปล.งานแพทยสภามากครับ วันอังคารก่อนท่านนายก มอบหมายให้วิ่งไปจับหมอปลอม ที่ปทุมธานี ..ส่งติดคุกไป1
วันนี้มีปสด.จับหมอนกเขา ..ต้องเตรียมตอบสื่อมากมาย
คืนนี้ประชุมทีมเลขาฯ รองเลขา พึ่งเลิก ตอน5ทุ่ม..เองครับ
พรุ่งนี้ต้องบินไป3จังหวัดใต้ สัมมนาปัญหาแพทย์ที่ปัตตานี ยะลา พร้อมท่านนายก โดย อ.พินิจ(กุล) บินไปล่วงหน้าครับ พวกเราเป็นห่วงหมอใน3จังหวัดมากๆ
วันพฤหัสจะมาตอบปัญหาต่อครับ..ที่ปัตตานีปลอดภัยมากครับ แลยต้องมา edit ใหม่..


« แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ: Jul 11th, 2007, 12:37pm by 716:16 »
________________________________________
-->
Information Technology Doctor :->
Empower by Air Force :->

ส่งโดย: 716:16
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1223

58.8.105.150






« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: Jul 10th, 2007, 12:51am »


on Jul 9th, 2007, 11:30pm, Dr.716 wrote:


ถ้ารอดกลับมาวันพฤหัสจะมาตอบปัญหาต่อครับ..




นี่ขนาดไปวันเดียวนะครับ..

ถ้าอยู่นานมีหวัง...

นอกเรื่องหน่อย.....จะเป็นกำลังใจให้คนที่เกี่ยวข้อง 3 จังหวัดครับ...
--------------------------------

อย่างนี้โจทย์คือ ทำอย่างไรให้ดึงหมอเอกชนเช้ามาช่วยทำงานในภาครัฐได้มากขึ้นใช่มั้ยครับ...

เพราะ รวดเร็ว ไม่ต้องรอน้องจบอีก 6 ปี

น่าจะทำแบบที่พี่ๆว่าก็ได้นะครับ เป็นงาน part time เพื่อมนุษยชน พอจะเป็นไปได้?



ส่งโดย: poopoo
สถานะ: Newbie
จำนวนความเห็น: 47

125.26.245.242






« ความเห็นที่ #19 เมื่อ: Jul 11th, 2007, 1:10pm »




ขอออกความเห็นเรื่องการดึงแพทย์เอกชนมาช่วยงานราชการครับ

ต้องระวังปัญหาทางกฎหมาย ความรับผิดในทางอาญา และทางแพ่ง หากจะอนุญาตควรทำเป็นระเบียบให้ชัดเจนว่า หน่วยงานราชการรับผิดทางแพ่งแทนในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลืองานราชการ

ส่วนเรื่องทางอาญา ยังไงก็หนีไม่พ้น ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวครับ แล้วแพทย์ผู้หวังดีที่มาช่วยงานราชการ ก็จะถูกฟ้องโดยพนักงานอัยการ ผู้เสียหายก็จะเรียกค่าเสียหายมาในคดีอาญาโดยไม่จำเป็นต้องฟ้องทางแพ่ง และจะไม่มีหน่วยงานใดไม่ว่าจะเป็นราชการหรือองค์กรวิชาชีพที่มีหน้าทีโดยตรง เข้ามาช่วยเหลือทางคดี ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ต้องเสียค่าทนายเอง
ต้องจ่ายค่าเสียหายเอง
เครียด
เป็นทุกข์
เรื่องเช่นนี้ เป็นบทเรียนครับ
มีคำกล่าวว่า " คนฉลาดต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น " เรื่องเช่นนี้ยังมีอยู่ ถ้าจะทำต้องหาทางที่เป็นธรรม กับทุกฝ่ายครับ



ส่งโดย: TANAE
สถานะ: Newbie
จำนวนความเห็น: 13

61.7.161.56






« ความเห็นที่ #20 เมื่อ: Jul 12th, 2007, 2:10am »


ขอบคุณครับ..


________________________________________
-->
Information Technology Doctor :->
Empower by Air Force :->

ส่งโดย: 716:16
สถานะ: Executive Member
จำนวนความเห็น: 1223

58.8.99.185


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:54:53 น.  

 
ปัญหาแพทย์ลาออก ไม่ยากอย่างที่คิด


น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ภูกระดึง

ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท เป็นปัญหาที่คลาสสิก (ไม่ใช่โรแมนติก) เพราะปัญหานี้ ปัจจุบันก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่ต่างจากเดิม ทำไมจึงบอกว่า คลาสสิก ลองดูข้อมูลนี้นะครับ
ประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนแพทย์มานาน สมัยก่อนแพทย์ทั้งจังหวัดมี 1-2 คนเท่านั้น รัฐบาลจึงเริ่มนโยบาย "บังคับชดใช้" ทุนนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507-2508 และมีแพทย์ที่จบและถูกบังคับชดใช้ทุนรุ่นแรกในปี 2514-2515 และมีการผลิตเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด


จนถึงปัจจุบันมีแพทย์จบมาใช้ทุนในชนบทประมาณรุ่นละ 1,200-1,400 คน รวมถึงปัจจุบันเรามีแพทย์จบออกมาชดใช้ทุนแล้วถึง 32 รุ่น รวมแล้วประมาณ 23,075 คน และหากตัดแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1-3 ออกไป (แพทย์ทุกคนต้องใช้ทุน 3 ปี) จะเหลือ 19,568 คน โดยจำนวนเกือบ 20,000 คนนี้ เป็นแพทย์ที่เกือบทั้งหมดได้ผ่านมาทำงานในชนบททั้งสิ้น
แต่ในจำนวนนี้กลับเหลือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลอำเภอในอดีต) เพียง 1,200 คน ซึ่งนับได้เพียงประมาณร้อยละ 6-8 เท่านั้น

ทั้งๆ ที่ตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามที่จะแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ โดยเมื่อมีเหตุการณ์เรื่องแพทย์ลาออกรุนแรงครั้งใด ผู้ที่รับผิดชอบก็จะออกมาแก้ตัวเป็นพัลวัน หรือไม่ก็โยนความผิดหาแพะให้กับอะไรก็ได้ตามสถานการณ์ขณะนั้น เช่น โยนปัญหาให้ ก.พ. ที่ให้แพทย์เป็นพนักงานของรัฐฯ ไม่ยอมให้เป็นข้าราชการ หรือเมื่อมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้เริ่มมีกระแสแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว ทำให้ทุนเรียนแพทย์เฉพาะทางสาขายอดนิยมลดลง ก็โทษปัญหานี้

ผู้เขียนในฐานะแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนมา 16 ปี มีแพทย์หมุนเวียนผ่านมาร่วมช่วยทำงานคราวละประมาณ 2 ปี แล้วก็จากไปยังภูมิลำเนาหรือศึกษาต่อตลอดทั้ง 16 ปี จนสูงที่สุดในปีที่แล้ว (ปี 2545) มีแพทย์ 4 คน (แพทย์ 1 คนต่อประชากร 15,000 คน) ซึ่งนับเป็นปีทองของชาวอำเภอภูกระดึง แต่แล้วเพียงปีเดียวแพทย์ก็ลดลงไป 1 คน ทำให้ต้องลดการบริการลง นำมาซึ่งความปวดใจทั้งแพทย์และประชาชนที่ยากไร้ แต่ก็ต้องขอบคุณที่เหตุการณ์นี้ทำให้เห็นสัจธรรมมากขึ้นว่า วิธีการที่แพทย์ชนบทต่อสู้นั้นต้องใช้พละกำลังมากไปแต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มเลย เพราะวิธีแก้ที่พยามยามสู้นั้น เป็นวิธีที่ฝืนธรรมชาติมากเกินไป เมื่อค่อยๆ คิดร่วมกันหลายๆ ฝ่าย จึงพบต้นตอแห่งปัญหาเพื่อแสวงหาทางออกดังนี้

"ธรรมชาติของแพทย์" ต้นตอแห่งปัญหา ในอดีต-ปัจจุบันรัฐบาลมอบให้สถาบันการผลิต (โรงเรียนแพทย์) เป็นผู้ผลิตแพทย์ โดยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณตามแผนการผลิตของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ กติกาการคัดเลือกคนมาเรียน จึงเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของโรงเรียนแพทย์เท่านั้น คัดนักศึกษาแพทย์ตามผลการสอบเอนทรานซ์ ซึ่งหมายถึง "คนเก่ง" เพื่อให้เป็นแพทย์ที่เก่งเพื่อรับใช้สังคม แต่เนื่องจาก "คนเก่ง" ถูกนิยามให้หมายถึงผู้ที่สอบเอนทรานซ์ได้คะแนนสูงๆ คนเหล่านี้ก็มักจะถูกคัดเลือกจากคนที่มีโอกาสทางการศึกษาสูง และมักมีฐานะดี และส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและมาจากเขตเมือง เมื่อเรียนจบก็ต้องมาจับฉลากเพื่อไปชดใช้ทุนในชนบทที่ห่างไกล วัฒนธรรมประเพณี แตกต่างจากสังคมเดิม ประกอบกับหน่วยงานในชนบทมักจะแร้นแค้นในทุกด้าน ทำให้แพทย์เหล่านี้ปรับตัว อดทนได้ไม่นาน เมื่อชดใช้ทุนครบ แพทย์กว่าร้อยละ 92-94 จึงย้าย/ ลาออก เพื่อกลับภูมิลำเนา หรือไปเรียนต่อเพื่อความมั่นคงในชีวิตและครอบครัวในอนาคต

แก้ง่ายนิดเดียว ถ้าคิดจะทำ หากรัฐบาลจะลองพิจารณานำยุทธศาสตร์งบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อผลิตแพทย์จากเดิมจัดสรรให้โรงเรียนแพทย์โดยตรง มาเป็นการจัดสรรลงไปที่อำเภอหรือชุมชนที่ขาดแคลนก่อน และให้เอกสิทธิ์ในการคัดเลือกนักเรียนแพทย์แก่ชุมชน โดยให้คงไว้ซึ่งคุณภาพ ก็จะมีการคัดเลือกจากไตรภาคี โดยมีกรรมการจากชุมชน สภาวิชาชีพ/โรงเรียนแพทย์ และผู้ใช้ (โรงพยาบาลที่ขาดแคลน) ซึ่งจะทำให้กติกาการคัดเลือกยืดหยุ่นมากขึ้น แต่คงไว้ซึ่งคุณภาพขั้นต่ำที่ผู้ผลิต/ผู้ใช้กำหนด และชุมชนได้คัดเลือกจากคนในท้องถิ่นที่เห็นวิถีชีวิต และเห็นท่วงทำนองชีวิตตั้งแต่ในวัยเด็กและครอบครัว ไม่ใช่รู้จักเฉพาะตอนสอบสัมภาษณ์ 5 นาที และทำให้แพทย์รู้ว่า เมื่อจบแล้วจะกลับมาทำงานที่ใด ไม่ใช่ให้รอเรียนครบ 6 ปี แล้วจึงรอลุ้นจับฉลากลูกปิงปองเพื่อเสี่ยงทายชะตาชีวิตเหมือนทุกวันนี้ ที่สำคัญจะทำให้ลดปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้ให้และผู้รับบริการ จะกลายเป็นสังคมที่เอื้ออาทร

หากรัฐบาลกล้าทำ ก็จะสามารถแก้ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น หากเราใช้วิธีการจัดสรรทุนแบบนี้กับทุกวิชาชีพ เราจะมีทุนแพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร พยาบาล เภสัชกร นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ เพื่อให้ได้คนกลับมาทำงานในท้องถิ่น เราจะได้แพทย์สตรีชาวมุสลิมมาทำคลอดให้คนมุสลิม เราจะได้คนอีสานมาดูแลพี่น้องชาวอีสาน

ส่วนความจำเป็นต้องมีสัญญาชดใช้ทุน ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีให้เสียความรู้สึกก็ได้ เพราะได้เกิดสัญญาใจตามธรรมชาติที่เหนียวกว่าสัญญากระดาษมากหลายร้อยเท่า และนักเรียนเหล่านี้ก็จะกลับมาอยู่กับครอบครัว ได้ดูแลบุพการี แผ่นดินเกิด เกิดการพัฒนาแบบรากหญ้า สังคมไม่ล่มสลาย ต่อยอดกับโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล

ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ โควตาเช่นนี้ต้องมีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโควตาปกติ เช่นเดิมมีโควตาผลิตแพทย์ 1 พันคน ก็ให้โควตาท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 500 คน ติดต่อกัน 10 ปี ก็ได้ 5,000 คน หากเริ่มต้นวันนี้ ประมาณ 16 ปี เราก็จะมีแพทย์ที่มาจากชนบท และเพื่อชาวชนบทจริงๆ ไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 คน เพื่อดูแลประชาชนประมาณ 50 ล้านคน

ในทำนองกลับกัน ไม่ว่าจะแก้เรื่องค่าตอบแทน เปลี่ยนแพทย์ให้เป็นข้าราชการทั้งหมด คิดหรือว่าจะสามารถชนะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติและชนะกระแสสังคมได้ และหากยังปล่อยให้พยายามแก้ปัญหาแบบเดิมๆ แบบไม่ตรงจุด บอกได้เลยว่าอีก 30 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีแพทย์รวม 60,000 คน แต่จะมีแพทย์ในชนบทไม่เกิน 2,400 คน เพื่อดูแลคนชนบทไม่ต่ำกว่า 60 ล้านคน

แนวทางที่เสนอนั้นว่าไปแล้วอาจกระทบความรู้สึกของโรงเรียนแพทย์เท่านั้น ที่ดูเหมือนอำนาจการคัดเลือกคนแบบเบ็ดเสร็จสูญเสียไป เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่หากลองพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว อาจเป็นโอกาสอันดีที่โรงเรียนแพทย์จะเป็นกลจักรสำคัญที่ได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทครั้งสำคัญ และเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการจัดบริการสุขภาพให้กับผู้ยากไร้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ปัญหานี้แก้ได้อย่างแน่นอน หากท่านนายกฯ จะจัดให้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์เป็นวาระแห่งชาติ และลงมาแก้ปัญหานี้ด้วยตนเอง อย่ารออีกเลยครับ เพราะพิสูจน์แล้วว่า วิธีเดิมๆ 30 ปี ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อย่าให้รอพิสูจน์อีก 30 ปีเลยครับ

หนังสือพิมพ์ กรุงเพทธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2546



โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:01:40 น.  

 
สรุปผลการสัมมนา

" ฝ่าวิกฤตแพทย์ภาครัฐเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชน "

วันศุกร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๑๒ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลราชวิถี



ผลการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์
จากการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์โดยการส่งแบบสอบถามของแพทยสภา ได้ข้อมูลตอบกลับและสรุปได้ดังนี้

๑. ผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด ๖๖๙ คน เพศชาย ๔๘๐ คน , เพศหญิง ๑๘๓ คน ที่เหลือไม่ระบุเพศ มีอายุตั้งแต่ ๒๒ - ๘๑ ปี โดยมีอายุเฉลี่ย ๓๙ ปี เป็นแพทย์ที่ลาออกจากราชการแล้ว ๑๕๙ คน , ยังอยู่ในระบบ ๕๐๘ คน , ไม่ตอบ ๒ คน

นำข้อมูลของแพทย์ที่ยังอยู่ในระบบราชการมาสรุปได้ดังนี้

การลาออก
๒. กลุ่มที่ปฏิบัติงานใน รพศ.และ รพท. เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ปฏิบัติงานใน รพช. มีจำนวนใกล้เคียงกัน
มีจำนวนแพทย์ที่คิดจะลาออก / ไม่คิดจะลาออก / ไม่แน่ใจ ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ( กลุ่มละประมาณ ๑/๓ )
แพทย์กลุ่ม รพศ.และ รพท. เมื่อเปรียบเทียบความคิดในการลาออกกับกลุ่ม รพช. แล้ว จาก Chi-Square test พบว่าไม่แตกต่างกัน

เงินเดือน / เงินค่าตอบแทน
๓. ประมาณ ๔๗.๑% ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือน ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท
๔. ประมาณ ๘๑.๕ % ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ได้รับเงินประจำตำแหน่งต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท / เดือน
๕. ประมาณ ๖๒.๖ % ซี่งเป็นส่วนใหญ่ได้รับเงินค่าเวร ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท / เดือน
๖. ประมาณ ๗๒.๘ % ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ได้รับเงินอื่น ๆ ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท / เดือน

ความพึงพอใจกับการลาออก
๗. เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพบว่า มีความพึงพอใจ ๘๘ คน ( ๑๘.๖% ) ไม่พึงพอใจ ๓๘๕ คน ( ๘๑.๔ % ) ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value<_.05 Chi-square test P-value = 0.00 df 2 )

ภาระงาน
๘. ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าบุคลากรน้อย มีการอยู่เวรตั้งแต่ ๑-๕ ครั้ง / เดือน ไปจนถึงมากว่า ๒๐ ครั้ง / เดือน มีทั้งการอยู่เวร ๔ ชั่วโมงไปจนถึง ๒๔ ชั่วโมงต่อครั้ง การอยู่เวรฉุกเฉินมีตั้งแต่น้อยกว่า ๕ ครั้ง / เดือน ไปจนถึงมากกว่า ๒๐ ครั้ง / เดือน


สรุปผลและวิจารณ์

จากแบบสอบถามพบว่ามีแพทย์ให้ความสนใจตอบแบบสอบถามทั้งแพทย์ที่ลาออกและแพทย์ที่ยังอยู่ในระบบราชการ เมื่อนำข้อมูลการตอบแบบสอบถามของแพทย์ที่ยังอยู่ในระบบราชการมาวิเคราะห์แล้วจะพบว่า แพทย์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศชาย มีความคิดจะลาออก / ไม่ลาออก / ไม่แน่ใจ ในปริมาณใกล้เคียงกัน สาเหตุการคิดลาออกส่วนใหญ่เกิดจากไม่พอใจกับการทำงานโดยมีเหตุผลหลักคือ งานหนัก เงินเดือนน้อย มีความเครียดจากการคุกคามของการฟ้องร้องเนื่องจากประชาชนคาดหวังสูง และมีความต้องการสูงจากระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ส่วนผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะออกหรือไม่ก็ให้เหตุผลว่ากำลังรอดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งในระบบการบริการ ( ๓๐ บาทจะมีการเปลี่ยนแปลงไหม ) และค่าตอบแทนการทำงานและสวัสดิการของแพทย์จะเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า

ในส่วนของเงินเดือนและค่าตอบแทนพบว่า แพทย์ส่วนใหญ่จะได้เงินเดือนอยู่ในช่วง ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท จนถึงอายุ ๔๕ ปี ในช่วงอายุระหว่าง ๔๖ - ๕๕ ปี จะมีเงินเดือน ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ บาท ส่วนเงินประจำตำแหน่งส่วนมากจะได้ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ทำงานซึ่งแสดงถึงความมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ

แพทย์ส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน เหตุผลคือ งานหนัก เงินน้อย อยู่เวรมาก ถูกคุกคามจากการฟ้องร้อง มีข้อจำกัดด้านความก้าวหน้าทางราชการในการเลื่อนระดับ เพราะถูกจำกัดด้วยกรอบอัตรากำลัง รวมทั้งข้อจำกัดในการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ( ผ่านยาก ) และพบว่าความไม่พึงพอใจมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการคิดลาออกจากราชการ โดยมีแพทย์ส่วนใหญ่คิดว่าบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดแคลนและมีแพทย์

ส่วนมากให้ข้อคิดว่าแพทย์ทำงานมากเกินไปทำให้คุณภาพชีวิตของแพทย์ไม่ดีเท่าที่ควร และมีเวลาให้ครอบครัวน้อยเกินไป


ข้อเสนอแนะ

การแก้ไขปัญหาแพทย์ลาออกจากราชการเพื่อให้คงมีแพทย์ปฏิบัติงานในโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคนั้น ควรแก้ไขปัญหาหลายเรื่องคือ

๑. เพิ่มค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ ให้เหมาะสมทั้งค่าตอบแทนในรูปเงินเดือน และค่าอยู่เวร

๒. บริหารจัดการให้มีแพทย์ปฏิบัติงานให้เพียงพอต่อการผลัดเปลี่ยนการทำงานนอกเวลาราชการ เพื่อแพทย์ได้มีเวลาพักผ่อนและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอย่างเหมาะสม เช่น กำหนดว่าควรอยู่เวรบ่อยแค่ไหน หรือควรต้องพักกี่วันจึงอยู่เวรกลางคืออีกครั้ง เป็นต้น

๓. มาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๒ ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประชาชนและแนวโน้มฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น ควรพิจารณายกเลิก และให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน



ผลการสัมมนา เรื่อง โครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์

๑. แยกแพทย์ออกจาก กพ. เช่น เนื่องจากวิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีลักษณะการทำงานไม่เหมือนข้าราชการพลเรือนอื่นๆ

๒. โครงสร้างเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต้องแยกออกจากบัญชีเงินเดือนข้าราชการ
- แยกเป็นพระราชบัญญัติเงินเดือนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ไม่ใช้ระบบซี แต่จัดระดับขั้นใหม่ โดยใช้เวลาการทำงานและประสบการณ์ เช่น แพทย์ผู้ช่วย แพทย์ประจำการ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับ ๑ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับ ๒ เป็นต้น การเลื่อนระดับดังกล่าวให้ใช้เวลาการทำงานเป็นหลัก
- เงินประจำตำแหน่ง เห็นควรให้เพิ่มจากเดิม และควรเริ่มมีเงินประจำตำแหน่งเร็วกว่าเดิม

๓. ให้มีค่าตอบแทนตามปริมาณงานที่ทำ ( work load )

๔. ให้แยกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ดังนี้
- ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการห้องฉุกเฉิน ให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง เช่น ชั่วโมงละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท แล้วบวกด้วยค่าตรวจเป็นรายหัวในส่วนที่เกินจากเกณฑ์ที่กำหนด
- ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการในลักษณะเวรที่ปรึกษา ( consult ) ให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงเช่นเดียวกันแต่เป็นลักษณะ stand by แล้วบวกด้วยค่าหัตถการเป็นราย ๆ
งานนอกเวลาราชการทั้งสองอย่าง จะมีค่าตอบแทนขั้นต่ำ แล้วบวกเพิ่มตามปริมาณงานที่ทำ งานมากได้มาก งานน้อยได้น้อย



ผลการสัมมนา เรื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะพัฒนาดีขึ้นได้อย่างไร

ประเด็นที่ ๑ เงินเท่าไหร่ถึงจะพอ
ที่ประชุมมีความเห็นตรงกัน สรุปได้ดังนี้
๑. ปัจจุบันเงินไม่พอ ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ขาดทุน เงินเท่าไหร่ถึงจะพอสรุปไม่ได้

๒. วิธีคิดเงินงบประมาณให้แก่สถานบริการปัจจุบันเป็นการคิดรายหัว ซึ่งฐานรายจ่ายได้มาจากค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยที่ประชาชนจ่ายให้แก่สถานพยาบาล ซึ่งไม่ได้รวมต้นทุนงบประมาณด้านเงินเดือนเจ้าหน้าที่ ด้านการพัฒนาองค์กร ด้านการลงทุน และงบทดแทนเครื่องมือที่เสื่อมสภาพ ดังนั้นการคิดงบประมาณควรจะเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ต้องแยกงบเงินเดือนออกจากงบค่ารักษาพยาบาลรายหัว ซึ่งจะทำให้สถานพยาบาลต่าง ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระรายจ่ายในการให้การรักษาพยาบาล และเงินเดือนที่กล่าวถึงนั้นเป็นเงินเดือนใหม่ให้เหมาะสมกับภาระงานและคุณค่าของงานที่ได้ ซึ่งต้องมากกว่าปัจจุบัน
- งบประมาณค่ารักษาพยาบาลนั้นควรมีเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานพยาบาลระดับต่าง ๆ ซึ่งไม่เท่ากัน เช่น เงินเหมาจ่ายรายหัวให้เป็นเฉพาะ primary care ส่วนโรงพยาบาลระดับ secondary และ tertiary ควรให้งบประมาณตามค่ารักษาพยาบาลจริงตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น จ่ายตาม DRG เป็นต้น หรือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลควรพิจารณาความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น การให้งบรายหัวมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
- ควรแยกงบประมาณด้านการพัฒนา งบการลงทุน ( เช่น การสร้างตึกใหม่ ) และงบทดแทน ( ซื้อเครื่องมือใหม่ทดแทนเครื่องมือเก่าที่เสื่อมสภาพ ) ออกจากค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้เกิดการพัฒนาโรงพยาบาลและพัฒนาด้านวิชาการที่เหมาะสมต่อไป

ประเด็นที่ ๒ ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร

ที่ประชุมเห็นว่าแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกระดับมีภาระงานมากขึ้น และมีการใช้สิทธิเรียกร้องของประชาชนอย่างไม่มีขอบเขต ได้ร่วมกันสรุปแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้
- ควรเพิ่มจำนวนแพทย์เข้าไปในระบบให้มากขึ้น เช่น การผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพมากขึ้น การรักษาแพทย์ไม่ให้ลาออก เป็นต้น รวมทั้งการจัดการให้เกิดการกระจายแพทย์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงสถานพยาบาลตามความต้องการของแพทย์ที่ให้แพทย์อยู่ได้
- ควรเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ให้เพียงพออย่างเหมาะสม เพื่อให้แพทย์ได้ค่าตอบแทนตามภาระงานที่เพิ่มขึ้น ในรูปของเงินเดือน ค่าตอบแทนพิเศษตามภาระงาน และค่าอยู่เวร เป็นต้น
- ควรมีเกณฑ์มาตรฐานของการรักษาพยาบาลในแต่ละระดับให้ชัดเจน เช่น ของโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบสิทธิที่มีโดยทั่วกัน เช่น สิทธิในการใช้ยาตามยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น เป็นต้น และการเรียกร้องที่มากกกว่าสิทธิที่มีได้ ประชาชนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในรูปของการร่วมจ่ายเงิน หรือจ่ายเองทั้งหมด
- โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค จำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์ในการลดการฟ้องร้องแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถทำงานในสภาพที่ภาระงานล้นมือได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างกลไกการไล่เบี้ยในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแก่ประชาชน



สรุปจากข้อสรุปของอนุกรรมการจัดงานฯ โดย ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์
๑๗ กันยายน ๒๕๔๗


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:02:31 น.  

 
[b]หัวข้อ 12850 ความล่าช้าของกระทรวงสธ.ในการแก้ปัญหาแพทย์ลาออกจากร (จำนวนคนอ่าน 786 ครั้ง)[/b]

« เมื่อ: Apr 28th, 2005, 11:51am »

จาการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาฯ ในวันที่ 27 เมษายน 48 ซึ่งทางกระทรวงฯได้นำเสนอเพื่อให้พิจารณาปรับเพิ่มค่าใช้ทุนนั้น ดิฉันในนามตัวแทนกรรมการแพทยสภาได้เสนอในที่ประชุมว่า นักศึกษาแพทย์ไม่เคยได้รับทุนจากรัฐบาลเลย(ยกเว้นนักศึกษาแพทย์ทหาร)จึงไม่ควรต้องถูกบังคับให้ใช้ทุน

ซึ่งท่านผู้แทนจากกพ.ที่มาประชุมได้พูดว่านักศึกษาแพทย์ไม่เคยได้รับทุน จะเรียกว่าต้องมาใช้ทุนเป็นการพูดผิด ไม่สมควรพูดเช่นนั้น

แต่เนื่องจากประเทศชาติขาดแคลนแพทย์ รัฐบาลจึงหาวิธีการบังคับให้แพทย์ทำราชการโดยอ้างว่าถ้าใครไม่ยอมรับราชกาต้องถูกปรับใช้ทุน ซึ่งก็สามารถทำให้แพทย์ยังคงทำงานในภาคราชการได้บ้าง แต่กระทรวงไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ยังอยู่ในระบบราชการได้มากตามที่ต ้องการ ในระยะ 3-4 ปีมานี้ โดยข้อมูลจากการะทรวงฯเองที่บอกว่าจากปี พศ. 2544-2547กระทรวงได้รับการจัดสรรแพทย์จบใหม่รวมทั้งสิ้น 3823 คน แต่ลาออกแล้ว 2012 คน (ข้อมูลจากเอกสารประกอบการประชุม) กระทรวงจึงคิดว่าต้องเพิ่มค่าปรับ เพื่อจะได้ทำให้แพทย์ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าปรับได้ จะได้จำทนอยู่ในกระทรวงต่อไป

โดยที่คณะกรรมการในที่ประชุมส่วนใหญ่ ได้เสนอว่ากระทรวงควรหาสาเหตุว่าทำไมแพทย์จึงพากันลาออกมากๆในช่วงนี้ เพื่อจะได้แก้ไขให้ตรงกับสาเหตุ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของราชการได้อย่างยั่งยืน โดยดิฉันได้เสนอว่าแพทยสภาเคยจัดสัมมนา 2 ครั้งและได้สรุปปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข สาเหตุการลาออกของแพทย์ ว่าสาเหตุการลาออกที่สำคัญก็คือ งานหนัก เงินเดือนน้อย ชั่วโมงการทำงานมาก(overwork, underpaid, long hours of working period) และไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพในสาขาที่ตนเองชอบหรือถนัด แต่ประธานในที่ประชุมก็ยังไม่ยอมรับผลการสัมมนาและการสำรวจนี้ โดยอ้างว่างานวิจัยอาจจะมี biasได้ กระทรวงจะให้สวรส (สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข ) เป็นผู้วิจัยอีกทีหนึ่งว่าสาเหตุมันอยู่ที่ไหน

นี่จึงเป็นความล่าช้า(และล้มเหลว) ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของดิฉันในที่นี้ โปรดให้เหตุผลโต้แย้งได้ กรุณาใช้ภาษาแบบสุภาพชนและกรุณาเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของท่านด้วยค่ะ การให้ความเห็นที่หลากหลายจะเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาค่ะ

ส่งโดย: หมอเชิดชู


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 12:08pm »

[ftp]) กระทรวงจึงคิดว่าต้องเพิ่มค่าปรับ เพื่อ่
จะได้ทำให้แพทย์ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าปรับได้ จะได้จำทนอยู่ในกระทรวงต่อไป [/ftp]

แล้วแพทย์ที่จำทนต้องอยู่ในระบบจะทำงานได้มีคุณภาพหรือ

ส่งโดย: The Sorrow


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 12:15pm »

ผมเห็นด้วยกับพี่หมอ แต่อยากจะเสนอพี่ในฐานะสมาชิกแพทย์สภาคือเรื่องสิทธิแพทย์ครับ คนเราคงจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมงไม่ได้ แพทย์ควรจะมีเวลาพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ปริมาณที่ตรวจต้องมีการจำกัด เช้าไม่เกิน 30 คน คนไข้ในรับใหม่ไม่เกิน 5 คนต่อ 1 เวร ช่วยออกกฎมาให้เร็วจะได้รู้ความจริงขาดแคลนแพทย์มาก เราทำงานทดแทนส่วนที่ขาดมานานแล้ว เมื่อผิดพลาดก็ถูกเล่นงาน ขอให้ออกสิทธิแพทย์ด่วนด้วยครับเพื่อประโยชน์ 2 ประการ
1ความปลอดภัยของคนไข้
2แก้การไหลออกของแพทย์

ส่งโดย: หมอเอง


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 12:53pm »

เสาวร์ อาทิตย์ วันหยุด ก็ต้องราวดน์วอร์ด ข้าราชการอื่นๆเขาหยุดกัน

ส่งโดย: la_vie_en_rose





« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 1:39pm »

ขอพี่เชิดชูช่วยทำสวัสดิการให้อาชีพแพทย์ด้วยครับ โดยเฉพาะแพทย์จบใหม่
ผมเป็นคนหนึ่งที่ลาออกจากราชการ เนื่องจากขณะรับราชการ รายได้ไม่พอเพียงต่อการดูแลครอบครัว
(ครอบครัวติดปัญหา NPL ตั้งแต่ยุคฟองสบู่แตก)
ถ้าผมอยู่ในระบบราชการจนถึงปัจจุบัน ผมและครอบครัวคงลำบากกว่าตอนนี้มาก

เพื่อนผมเป็นครู มีเงินกู้สำหรับครู
ญาติทำงานธนาคารก็มีเงินกู้สำหรับพนักงาน
ตอนผมจบใหม่ ผมไม่รู้จะไปพึ่งใคร
ทางออกของผมตอนนั้นคือ ภาคเอกชนครับ
ตอนนี้ผมยังอยากทำงานให้ภาครัฐอยู่ครับ
ถ้าค่าตอบแทนเหมาะสมพอกับความเครียดที่ได้รับ

ส่งโดย: หมอกล้วย

« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 1:48pm »

เห็นด้วยครับ ที่ว่ากระทรวง สธ ไม่ได้หาทางแก้เลย การปรับเพิ่มนั้นเป็นการแก้ที่ไร้ซึ่งความคิดแบบรอบด้าน ไม่ใช่การหาสาเหตุแล้วแก้ไข แต่เป็นการแก้แบบ ถึกๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการวิจัยหรือใช้ความคิดก็ตั้งขึ้นมาได้ และที่บอกว่าต้องรอการวิจัยของ สวรส นั้น มันล่าช้า เห็นวิจัย รอๆๆๆๆ มานาน บางที เหตุการณ์หรือความจริงที่รู้ๆอยู่ มันไม่จำเป็นต้องวิจัยอะไรความจริงก็คือความจริง หรือว่ารอวิจัยเพื่อรอให้มันผ่านไปทีละยุคๆๆๆ...
ปล. เรียนคุณหมอเชิดชูครับ ที่จริงหมอเราทุกคนใช้ทุนของรัฐบาลครับ แต่ใช้ในแบบที่เรามองไม่เห็น เคยทราบมาว่ากว่าหมอแต่ละคนจะจบออกมาได้ต้องใช้งบประมาณ ประมาณห้า ถึงหกล้าน (จำไม่ค่อยได้ครับ) ซึ่งส่วนนี้ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกระทรวงครับ

ส่งโดย: Parafinoma

« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 2:13pm »

ไปเอาตัวเลขมาจากไหนห้าหกล้าน

ศิริราชผลิตแพทย์ปีนึงสองร้อยคน ใช้เงิน พันล้านต่อรุ่นเลยรึ
เคยได้ยินแต่ สามแสนต่อคนต่อปี รวม 1.8 ล้านต่อคน
แต่นักเรียนแพทย์ไม่เคยได้ค่าชดเชยในการปฏิบัติงานเพื่อผู้ป่วย ไม่ว่าจะอยู่เวรหรือทำแล็ปต่างๆเพื่อการรักษา ถ้าหักลบกันไป ตัวเลขจะน้อยกว่า 1.8 ล้านอีก

รัฐบาลจริงๆ แล้วอุดหนุนการศึกษาทุกคณะสาขาวิชา แต่ไม่เคยมาคำนวณว่าผลิตวิศวะ หรือสถาบัตย์ คนนึงใช้เงินรัฐบาลเท่าไหร่ และไม่เคยเรียกร้องให้ใช้ทุนในสาขาเหล่านั้นด้วย
การผลิตวิศวะ ไม่ใช่ว่าไม่ต้องใช้เงินสนับสนุน ไม่ว่าจะค่าตึกเรียน เครื่องมือการเรียนการสอน ค่าครูบาอาจารย์ ส่งไปต่อเมืองนอก ปีละกี่สิบกี่ร้อยล้าน เหล่านี้ก็เป็นค่าต้นทุนการศึกษาเหมือนกัน แต่มีมั้ยที่เรียกร้องให้ทำสัญญาใช้ทุน ไม่เห็นจะเคยมี

ส่งโดย: RaPhAeL


« ความเห็นที่ #9 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 2:48pm »

อิอิ โทษครับ ถามอาจารย์แล้ว ห้าหกแสนต่อปีต่อคนครับ แก่แล้วจำผิด แล้วแต่สถาบันด้วยครับ นี่ไม่ได้เป็นตัวเงิน แต่เป็น cost ทั้งหมดที่ต้องลงทุนครับ...

ส่งโดย: Parafinoma

« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 3:00pm »

คิดว่าเงินใช้ทุนไม่ใช่ปัญหาถึงเพิ่มอีกคนที่จะออกมันก็จ่ายจนได้ พชทส่วนใหญ่อยากใช้ทุนเพื่อต้องการฝึกทักษะ+ทำงานจริงมากกว่า เงินยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่อยากได้ตอนนี้ การถูกกดดันจากสภาพแวดล้อม งานหนักเกิน การรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบหลอกใช้ มากกว่าที่ผลักให้พชท ออกจากระบบ(ความคิดส่วนตัว+เพื่อนๆที่เห็น)

ส่งโดย: cryo


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 4:19pm »

แพทย์ มน. จ่ายค่าเทอม ปีละ 20 000 บาท ใช้เงินผลิต 500 000 บาท

เวลาออก ก็ 400 000 ถูกต้องแล้วนี่ครับ

ส่งโดย: Ken



« ความเห็นที่ #16 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 5:41pm »

เรียนพี่เชิดชู และพี่น้องทุกคนค่ะ

เก มีเรื่องมาเล่าค่ะ

หลังแพ้สงคราม เยอรมนี ถูกแบ่งออกเป็น2 ประเทศ เนื่องจากความอึดอัดต่างๆในแบบสังคมนิยม ประชาชนฝั่งตะวันออก ต่างพากันอพยพมาฝั่งเสรีนิยมในตะวันตก

ผ่ายตะวันออก เห็นท่าไม่ดี จึงคิดว่าถ้าสร้างกำแพงให้คนเหล่านั้นออกมาไม่ได้ ปัญหาทุกอย่างก็จะจบ กำแพงแบร์ลินถูกสร้างขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน เพียงเพื่อให้รัฐบาลฝั่งตะวันออกอุ่นใจ

แต่ เหตุการณ์ไม่ราบรื่นสวยหรูอย่างที่หวัง

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก คนฝั่งตะวันออก ยังคงตั้งหน้าตั้งตาต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และสิทธิที่ตนควรได้ บางคนขุดอุโมงค์ลอดผ่านไป หรือสุดท้าย เหลืออดแล้ว เขาเหล่านั้นก็เลือกที่จะเผชิญหน้าแบบท้าทาย ด้วยการปีนกำแพงแบร์ลินแบบซึ่งๆหน้า ศพแล้ว ศพเล่า แม้ว่าอิสรภาพ อยู่ห่างเขาเพียงไม่กี่เมตร

แต่ท้ายที่สุด กำแพงแห่งความอัปยศนี้ ก็ถูกพังทลายลง ไม่ใช่เพราะสังคมนิยมเสื่อมอำนาจ แต่เพราะ"พลังแห่งมหาชน" ที่ช่วยกันโหมไฟแห่งพายุของความถูกต้อง ความพึงมีพึงได้ และความเอื้ออาทรต่อพี่น้องของเขา

บางทีเราอาจเรียนรู้จากอดีตได้

และเก ก็ไม่อยากให้กำแพงแห่งความอัปยศ มันเกิดขึ้นกับพี่น้องแพทย์ของเราค่ะ

เอาใจช่วยนะคะ เพราะเก รักเมืองไทยที่สุดค่ะ

ส่งโดย: GDR

« ความเห็นที่ #18 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 6:55pm »

โห เรื่องงานหนัก เงินน้อย นี่นะครับ มันก็เป็นกันมานานนนนนมากแล้วตั้งแต่รุ่นพี่ๆ
เด็กรุ่นใหม่อย่างพวกเราอาจจะบ่นไปบ้าง ก็เพราะเซ็งที่ไม่เคยพัฒนาขึ้นเลยแม้จะผ่านไปกี่สิบปี

แต่ที่เราลาออกกันเยอะๆ นี่เคยไปถามน้องๆ รึเปล่าครับ

คนเราน่ะ คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก ยิ่งอยู่แบบไม่มีอนาคต ต้องยอมให้พี่ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเมือง
ให้น้องๆ เป็น GP อยู่บ้านนอกตลอด ไม่ยอมให้ทุนไปเรียน แบบนี้ใครเขาจะอยากอยู่กับพี่ล่ะคร้าบบบบ

ส่งโดย: Kennel

« ความเห็นที่ #21 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 8:35pm »

สำหรับผมเพิ่งลาออกเมื่อต้นเดือนเมษานี้เอง ใช้ทุนได้ 2 ปี งานหนัก เงินน้อยพอทนได้ คือเป็น รพ. 30 เตียง ตรวจคนเดียวอยู่เวรคนเดียว ตรวจทุก case ถึง เทื่ยงคืน กลับบ้านเดือนละครั้ง มีน้อง intern 1 จากจังหวัดมาอยู่เวรแทนให้ อยู่ได้ 6 เดือน ต่อมาไม่มีน้องมาอยู่เวรให้เลย จึงไม่ได้กลับบ้าน พยายามประสานงานกับ สสจ. ให้ช่วยจัดน้องมาอยู่เวรให้ 1 เดือนก็แล้ว 2 เดือนก็แล้วเรื่องก็เงียบ ปกติเวลาน้องมาอยู่จะให้เงินน้องเพิ่มต่างหากโดยให้เอง เป็นค่าข้าว ค่าน้ำมัน ไม่มีรถ ก็ให้ รถ รพ.ไปรับส่งให้ อยู่ ๆ ไป 6 เดือนไม่ได้กลับบ้านเลย แต่ก็พอทนได้

แต่อึดอัดมากที่สุดคือ เรื่องชันสูตรศพ อยู่คนเดียว แต่ต้องออกชันสูตร ไม่ออกตำรวจไม่ยอม ถึงขั้นมีการร้องเรียน ไปยัง สสจ. ว่าแพทย์ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการชันสูตรพลิกศพ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ใจก็อยากออก ถ้าใกล้ๆ รพ. ออกให้ตลอด แต่ถ้าเป็นไกล ๆ อยากให้ส่งมาชันสูตรใน รพ. เพราะห่วงคนไข้ถ้ามาหนัก ๆ ก็ไม่มีหมอตรวจ แล้วก็คนไข้ใน ward อีก ตำรวจพยายาม force ให้ออกทุกวิธีทาง ร้องเรียน นายอำเภอ พยายามให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมา force อยากให้ สสจ. ฃ่วยเคลียร์ แต่เรื่องก็เงียบไม่ยอมช่วยอะไร จึงพยายามตกลงกับ สสจ. ว่าถ้าต้องออกชันสูตรนอกสถานที่ทุกครั้งจะโทรแจ้ง สสจ. เป็นครั้ง ๆ ให้ร่วมรับรู้ว่าไม่มีหมอใน รพ. ถ้าคนไข้มา er แล้วกลับช่วยไม่ทัน คนไข้ใน ward arrest ถ้าคนไข้ร้องเรียน หรือ ฟ้องร้อง ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาจะได้ร่วมรับผิดชอบ กลับได้คำตอบว่า"ทำไมพี่ต้องไปรับรู้การชันสูตรของน้องด้วย" คำนี้เป็นคำที่ผมตัดสินใจลาออก ทั้งๆที่ก่อนไปใช้ทุนก็ตั้งใจจะใช้ทุนให้ครบ อยากจะขอทุนมาเรียนต่อ ตอนขอย้ายกลับใกล้บ้านเพราะ 2 ปีขอย้ายข้ามจังหวัดได้ตอนก่อนปีใหม่ก็เรียกไปพบ พยายามหว่านล้อมว่า จังหวัดขาดหมอ ขอให้อยู่ต่อ เพราะไม่รู้ว่าปีหน้าจะได้น้องมากี่คน แล้วจะพยายามคุยขอทุนกับทาง รพ.จังหวัดให้ ก็หลงเชื่อยกเลิกการขอย้ายกลับ แต่ต่อมามีปัญหา สสจ. ไม่เคยยื่นมือมาให้ความช่วยเหลือเลย ลอยตัวอยู่เหนือปัญหาตลอด คอยแต่สั่งราชการ แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหาประสานงานกับหน่วยราชการอื่นเลย

ส่งโดย: ลาออกแล้ว



« ความเห็นที่ #23 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 8:52pm »

รพช.จำกัดศักยภาพของแพทย์เป็นอย่างมาก บางที่แค่อิเล็กโตรไลท์ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากยังส่งตรวจไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าจะเรียนจบ พบ. มาทำไมในเมื่อมันก็ไม่ได้ต่างไปจากคลีนิคหรือ สอ.

ส่งโดย: GP


« ความเห็นที่ #25 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 9:40pm »

ที่ต้องเป็นอย่างนี้ เพราะการเมืองเปลี่ยนไปรึเปล่าครับ ผมรับราชการเพราะหวังทำงานเพื่อพระเจ้าอยู่หัวและประชาชน แต่ตอนนี้ผมรู้สึกเหมือนทำงานเพื่อพวกนักการเมืองมากกว่า ปัจจุบันนี้ผมจึงลาออกแล้วครับ ไว้หมดยุคพวกนักการเมืองพวกนี้เมื่อไหร่ผมพร้อมจะกลับไปอยู่ชนบทเหมือนเดิมค รับถ้าเป็นการทำเพื่อประชาชนจริงๆ

ส่งโดย: หมอที่ลาออกอีกคน




« ความเห็นที่ #27 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:39am »

ผมเห็นว่าปัญหาเกิดจากอะไร มันก็ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว
ฉลาดขนาดจบหมอมาได้ แค่นี้ไม่รู้กันเหรอครับ

ผมว่าทุกท่านที่มาแสดงความคิดเห็น ก็ทราบกันดีอยู่แล้ว ...ก็น้อง Intern จบใหม่ยังรู้เลย
แต่ผมงงมาก ระดับผู้บริหารในกระทรวง ไม่มีใครรู้เลย?
ให้ตายเถอะพระเจ้า ต้องตั้งคณะกรรมการศึกษากันเป็นวรรคเป็นเวร แล้วก็สรุปผลไม่ได้
พอหมอรวมตัวกันโวยวายที ก็ตั้งคณะกรรมการกันใหม่อีกที..ซ้ำซากไม่รู้จบ
ท่านครับ ปัญหาแพทย์พยายามออกจากระบบ มันไม่ใช่บ้านทรายทองนะครับ จะได้ฉายวนซ้ำไปซ้ำมาอยู่นั่นแหละ

แล้วมีใครเคยฟังที่กรรมการแพทย์สภาท่านชี้แจง หรือให้ข้อมูลมั่งไม๊ครับ
เห็นเชิญเป็นกรรมการทุกงาน แต่ตอนสรุปไม่เคยฟังเลยว่าหมอให้ความเห็นว่าอะไร...แล้วจะเชิญไปทำลิงอะไรคร ับ

สรุป ปัญหาคืออะไร เกิดจากอะไร ...
หมอๆผู้ปฏิบัติงานเค้ารู้กันมาเป็นชาติแล้วลุง แต่จะมีใครจริงใจแก้ไขหรือเปล่านี่สิ ที่ผมยังไม่เคยเห็น

หวังว่า รมว. ที่เป็นหมอ...ก็อาจารย์ผมเองนั่นแหละ ท่านคงเข้าใจนะครับ คนอื่นไม่ใช่หมอ แกล้งโง่ไม่เข้าใจ ผมยังให้อภัย
แต่ถ้าอาจารย์ยังงงๆอยู่ ไม่รู้ว่าทำไมหมอถึงออกจากระบบกันนักนะ ขอเวลาตั้งคณะกรรมการศึกษาก่อน..
ก็ไว้รอหมอลาออกจนไม่มีใครตรวจ รพช.แล้ว ค่อยเอามาเข้าวาระพิจารณาก็ได้ครับ ไม่มีคำว่าสาย ถ้าประชาชนพอใจ หมอไม่พอใจก็ช่างหัวมันปะไร 555
(รีบอ่านนะครับ อีกไม่นาน ความเห็นผมโดนลบแหง อิอิ)

ส่งโดย: ไม่เก่งแต่อยากตอบ

« ความเห็นที่ #28 เมื่อ: วันนี้ เวลา 6:22am »

ไม่ใช่ผู้บริหารไม่รู้หรอก เขารู้ "แต่ไม่ทำ" ไง ผลดีไม่เข้าตัว (น้อง ๆ ดีขึ้น แล้วไง แต่ละคนตำแหน่งต่ำ ๆ เล็ก ๆ ไม่มีผลประโยชน์ ตัวเองไม่ได้อะไร) ผลกระทบกับตัวมันเยอะ (กลุ่ม หรือชมรม ... กดดัน อันนี้มีผลกว่า) เผลอ ๆ เดี๋ยวตกเก้าอี้ (บริหาร)

เขาถือว่ามากินตำแหน่งแล้วก็ไป มองแต่ข้างบน ไม่สนใจจะมามองข้างล่างหรอก ขอแค่สมัยตัวเองที่อยู่ไม่กี่ปี มันไปรอดได้ก็แล้วกัน

สามสิบสี่สิบปีที่ผ่านมา มันถึงย่ำอยู่กับที่ไง

ไอ้ที่อ้างว่าต้องให้ สวรส ไปทำวิจัยเอง ก็คงเป็นเพราะต้องการซื้อเวลา (รอให้กรรมการชุดนี้มันเปลี่ยนคน) หรือไม่ก็ไปปั้นแต่งตัวเลขเสียก่อน แล้วก็เอามายันกับผลของการศึกษาที่มันมีอยู่แล้ว

ส่งโดย: หมอมานพ

« ความเห็นที่ #29 เมื่อ: วันนี้ เวลา 7:39am »

เหอๆ ....... เขาคงรอให้ได้ผลวิจัยตามที่ตัวเองต้องการน่ะครับ คล้ายๆโพลจัดตั้งล่ะมั้ง

ส่งโดย: Redsnow

« ความเห็นที่ #30 เมื่อ: วันนี้ เวลา 8:55am »

งานนี้ พี่มานพตอบได้สะใจจริงๆครับ

ผมติดตามปัญหานี้ มาประมาณ 4 ปี ตั้งแต่ที่ปัญหาเริ่มเกิด ผมว่า ไม่เห็นมีใครได้แก้ปัญหาตรงไหน

แพทย์เราเองก็ทนกันจริงๆ ทุกวันนี้รอดู ผลกระทบถึงจุดที่อิ่มตัวครับ

ส่งโดย: seng


« ความเห็นที่ #31 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:02am »

สธ.มักมีผู้บริหารที่ไม่ชอบแก้ปัญหานี้ หมอจะอยู่ได้หรือเปล่าไม่สน ระดับ ผอ.ก็ อยากเป็นรองอธิบดี พยายามสร้างตึกและอื่นๆ พอเงินบํารุงหมดก็ตัดOT มีแต่คนคิดโครงการใช้เงินสร้างหรือซื้อของแพงๆเพราะมันเอื้อต่อตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่วนการพัฒนาคน รักษาให้คนดีและเก่งทำงานต่อไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีมันไม่ทำให้ได้เป็นอธิบดี

ส่งโดย: surg



« ความเห็นที่ #33 เมื่อ: วันนี้ เวลา 4:52pm »

ก้อถ้ารายได้เอกชนมันเยอะกว่าจะทนอยู่ใช้ทุนไปทำไมล่ะ ในเมืองานก็หนักกว่า รายได้ก็น้อยกว่า ถ้าไม่รักจริงหรืออยู่แล้วไม่มีความสุขก้อยู่ไม่ได้หรอก

ส่งโดย: polarbear


« ความเห็นที่ #34 เมื่อ: วันนี้ เวลา 9:44pm »

ตั้งแต่เป็นแพทย์มารู้สึกว่าถูกโกงเวลาพัก เราไม่เคยได้ลาจริงๆ(ไม่ว่าลาอะไร) เพราะเมื่อไรที่เราลาหมายความว่า เพื่อนเราต้องทำงานแทนเราเพิ่มขึ้น ไม่สามารถอ้างเหมือนอาชีพ อื่นๆว่ารอผู้รับผิดชอบ หรือ จ่ายค่าตอบแทนให้คนที่มาทำงานแทนเหมือนพยาบาลที่เขาลาพักร้อน ก็จ้างot ขึ้นทำงานแทน

ส่งโดย: asdf


« ความเห็นที่ #35 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:36pm »

อจ.น่าจะเปิดเผยชื่อท่านประธานครับ โหดดี นักกฎหมายที่ออก กม.ใครฟ้องหมอได้เงินแสนว่าโหดแล้ว มาเจออันนี้ยิ่งกว่าอีก ทำไมอาฆาตและปิดทางออกขนาดนั้น งานหนัก เงินน้อย ใครฟ้องจะได้เงินแสน ห้ามทำผิด ห้ามง่วง ต้องมีเวลาอธิบายให้ญาติเข้าใจซ้ำซาก อยากมีส่วนติดสินความผิดของหมอ นี่จะมาห้ามลาออก

ส่งโดย: สมชาย


« ความเห็นที่ #36 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:38pm »

ผมเป็นคนหนึ่งที่เจอปัญหาแต่ นพ. สสจ.ไปเชื่อพยาบาล มากกว่าซึ่งเราตรวจคนไข้ตั้ังมากมาย ผป.รักเราจะตาย แต่การทำงานของเราเขาบอกว่าเราทำให้เขาทำงานหนักขึ้น
แต่เขาไม่เคยคิดในแง่กลับกันเลยถ้าเป็นญาติเขาเองล่ะจะทำอย่างไง
และถ้าเขาไม่ป่วยเขาจะมาหาเราทำไม แต่นายกลับเชื่อเขามากกว่าเขาเป็นคนพื้นที่ มันถึงไม่เจริญซะที

ส่งโดย: gp คนหนึ่ง


« ความเห็นที่ #37 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:39pm »

เบื่อเป็นหมอจัง อยากลาออกแล้วอะ แงๆ ทั้งๆที่เป็นแค่ intern1 เอง
ต้องอยู่เวร (ขายถูกๆ)เกือบทุกวันเลยอะ
ควรทนให้ครบ 1 ปีไหมคะ แต่ถ้าชิงออก เพื่อนๆก็คงก่นด่า เพราะไป load งานเขา

ไม่มีทางออกเลย ฮือๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ส่งโดย: เบื่อ



« ความเห็นที่ #39 เมื่อ: 04/30/05 เวลา 10:27:11 »

ปัญหาไม่ใช่แค่ขาดแพทย์อย่างเดียว แต่ควรแก้ไขแพทย์ในระบบที่ไม่ยอมทำงาน และยังไม่ยอมลาออกด้วย ทำให้ตำแหน่งเต็ม ตัวเลขแพทย์ที่ทำงานจริงน้อยกว่าจำนวนที่มีอยู่มากๆ ควรมีมาตรการจัดการกับแพทย์เหล่านี้

ส่งโดย: หมอด้วย


« ความเห็นที่ #40 เมื่อ: 04/30/05 เวลา 15:38:37 »
ประธานที่ประชุมในวันนั้นคือ หมอ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ที่บอกว่าจะไปให้สวรส วิจัยหาสาเหตุแพทย์ลาออกก่อน จึงจะหาทางแก้ แต่เขาได้ยอมรับในที่ประชุมว่า ปีนี้ที่น้องลาออกมากนั้นเป็นความผิดพลาดของกระทรวงทีให้จับฉลากทุกปี แต่เขาบอกว่าเป็นความผิดพลาดของคณะกรรมการชุดอื่น ไม่ใช่ชุดของเขา และปีต่อไปจะไม่มีอีกแล้ว

ส่วนดิฉันก็จะนำผลการประชุมนี้ไปรายงานในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันที ่12 พค.ที่จะถึงนี้ ว่าจะมีมติให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป

จากการประชุมนี้ทำให้ทราบว่า

1. นศพ. ไม่เคยได้รับทุนรียนแพทย์ตามความหมายของระเบียบกพ. จึงไม่สมควรต้องใช้ทุน

2. รัฐบาลไม่สามารถจูงใจให้แพทย์รักที่จะเป็นข้าราชการแพทย์ของกระทรวงได้ และแพทย์มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า จึงหาวิธีบังคับให้แพทย์ทำงานในต่างจังหวัดโดยการทำสัญญาว่า เรียนจบต้องไปใช้ทุนที่รพ.ชุมชน ถ้าไม่ไปต้องจ่ายเงิน 400,000บาท ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งแพทย์ก็ยินยอมหรือจำยอม เพราะหวังว่าหลังจากนั้นก็อาจจะได้ย้ายหรือเรียนต่อเพื่อความก้าวหน้าในวิชา ชีพ

3. สถานการณ์ปัจจุบัน แพทย์ถูกกดดันมากเกินทน ไปอยู่ต่างจังหวัด ไหนงานจะหนัก ไม่มีเวลาพัก เงินน้อย ผู้บังคับบัญชาหรือพี่ๆไม่ดูแล ก็คงจะทนอยู่ยาก
จะสังเกตได้ว่า จังหวัดไหนที่เจ้านายหรือลูกพี่ดีๆกับน้อง เอาใจใส่ ช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจ น้องๆก็ทนอยู่ได้โดยไม่ลาออก

4. ผู้ที่ได้ทุนเรียนจริงๆ เช่นทุนกพ.ไปเรียนต่างประเทศ ไม่ต้องจ่ายเงินตัวเองหรือพ่อแม่เลย มีค่ากินอยู่ เสื้อผ้า ตำรา ค่าครองชีพ เรียนจบปริญญาแล้วไม่ต้องไปอยู่อำเภอ ถ้าไม่ทำราชการถูกใช้ทุน 2 เท่า

5. นศพ. ทหาร(พระมงกุฎฯ) ได้บรรจุเป็นข้าราชการตั้งแต่ปี 2 และได้รับเงินวันละ 90บาท แต่ถูกหักเป็นค่าหอพักและค่าอาหาร และค่าเสื้อผ้า จึงเหลือเม็ดเงินที่ได้รับวันละ 9 บาท

6. เมื่อเริ่มทำงานใน ward(ปี4,5,6) นศพ.ทหารจะได้เบี้ยเลี้ยงจากการทำงานดูแลผู้ป่วยจึงได้รับเงินรายวันๆละ 90 บาท โดยกินอยู่ และเสื้อผ้าฟรี

7. เมื่อนศพ.ทหารเรียนจบจะต้องรับราชการใช้ทุน 2 เท่าของเวลาที่ได้ทุนคือ 10 ปี ถ้าลาออกจากราชการจะต้องใช้เงินแทนปีละ60,000 บาท ต่อปี เท่ากับ600,000 บาท
จึงอยากบอกให้หมอพลเรือนทุกท่านได้ทราบว่า ท่านไม่เคยได้ทุนจากรัฐบาล และเวลาท่านฝึกงานบนวอร์ด ท่านก็ทำงานบริการประชาชนและอาจารย์ของท่านฟรี แลกกับความรู้ที่ได้รับโดยไม่มีเงินค่าเหนื่อย และโรงพยาบาลของคณะแพทย์ทำรายได้จากการรักษาพยาบาลปีละหลายแสนล้านบาท แต่ไม่ได้เอาไปหักออกจากการที่อ้างว่าลงทุนสอนนศพ.

5. ขอแสดงความยินดีกับผู้ทีตัดสินใจว่าจะออกไปแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้ชีวิตของตน เหมือนกับฝูงปลาที่ว่ายทวนกระแสน้ำไปหาแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์กว่า ส่วนผู้ที่อยู่ทนหรือทนอยู่ในลำน้ำที่แห้งขอดในกระทรวงเหมือนๆกันกับดิฉันนั้น ในฐานะที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนแพทย์ ดิฉันก็คงจะหาทางช่วยกันต่อไป เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารได้ปฏิบัติการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป

ส่งโดย: หมอเชิดชู


« ความเห็นที่ #41 เมื่อ: 04/30/05 เวลา 20:00:31 »

ที่ รพ ก็เพิ่งมีเพื่อนลาออกค่ะ มีปัญหา GP งาน work load มากกว่า specialist
อึดอัดใจเวลาอยู่เวร หมอในเวลาราชการมาก แต่พอเวลาอยู่เวร ไม่ค่อยจะมีคนอยู๋โดยเฉพาะเวรใน round เช้าวันหยุดปาเข้าไปเกือบร้อยเตียง แถมหลังเที่ยงคืน ต้องดู ER อีก เหมือนอยู่เวร รพ ศูนย์เลย เพื่อนเพิ่งลาออกเอง เห็นว่าจะไป free trainเอา

ส่งโดย: nanx



« ความเห็นที่ #43 เมื่อ: 05/01/05 เวลา 19:47:38 »

ผมว่าเราควรมีการรวมตัวเพื่อต่อรองและให้เห็นผลเร็วๆ....พวกนี้ถ้าไฟไม่ลนก้นหรือถูกหอกทิ่มแทงก้นจะไม่ยอมทำงานหรอกครับ.....เช่นสไตร์หยุดงานบางส่วนให้มีผลกระทบบ้างให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นจะได้รู้กันไปเลย

ส่งโดย: Big_Bear

« ความเห็นที่ #45 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:26:00 »

ขอให้พี่หมอเชิดชูช่วยเป็นแกนนำปลุกแพทย์ที่รับราชการ รวมพลังกันเรียกร้องความยุติธรรมให้กับวิชาชีพแพทย์ด้วย โดยเฉพาะในประเด็นที่พวกเราถูกกดขี่แรงงานยิ่งกว่าทาส ( ค่าแรงต่ำเมื่อเทียบกับ ความรับผิดชอบ) พวกเราถูกโกงเวลาพักผ่อน(วันหยุดราชการแพทย์บางคนต้อง ROUND WARD โดยไม่ได้ค่าล่วงเวลาเนื่องจากปริมาณคนไข้มากเกินไป แพทย์เวรดูแลไม่ไหว ) พวกเราถูกบีบบังคับทั้งร่างกายและจิตใจอย่างไร้ความปรานี ให้ดูแลคนไข้อย่างมีคุณภาพโดยไม่จำกัดจำนวนคนไข้ให้เหมาะสม พวกเราไม่สามารถปฏิเสธการรับคนไข้ไว้ดูแลทั้งๆที่เกินอัตรากำลังของรพ. มิหนำซ้ำ ็ยิ่งกว่าถูกข่มขืนจิตใจในขณะที่ต้องดูแลคนไข้ที่ปริมาณเกินความเหมาะสมนั้น ก็ฅ้อง
ให้ผลการรักษาออกมาเป็นที่พอใจของคนไข้และญาติด้วย มิฉะนั้นพวกเราจะถูกฟ้องร้องให้สังคมประนาม
ทนเสียสละมานานหลายปี เห็นทีต้องลุกขึ้นมาสู้บ้าง

ส่งโดย: หมอรพท.


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:03:08 น.  

 
หัวข้อ 12837 ขออนุญาตนำ reply ของพี่เชิดชูมาโพสใหม่ครับ (จำนวนคนอ่าน 236 ครั้ง)
ขออนุญาตนำ reply ของพี่เชิดชูมาตั้งกระทู้ใหม่ครับ เผื่อหลายๆคนที่สนใจยังไม่ทราบความคืบหน้าของกระทู้
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action= display;num=1114413056

ถ้า mod เห็นว่าไม่จำเป็นก็ลบได้นะครับ เต็มใจ


ขอรายงานผลการประชุมค่ะ

ประธานที่ประชุมคือ หมอพิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ฝ่ายเลขาเสนอว่าเนื่องจากอัตราค่าปรับ ใช้มานานแล้ว และเงินเฟ้อมากขึ้น ทำให้การปรับ 400,000 บาท ไม่สามารถทำให้แพทย์ยอมทำงานในกระทรวงสธได้ จึงเสนอที่ประชุมว่าควรพิจารณาเพิ่มค่าปรับเพื่อจะได้ทำให้คนต้องทนอยู่ต่อไ ป

มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยมีแต่คนไม่เห็นด้วย มีกรรมการเห็นด้วยเพียง 1 คน มาจากแพทย์ทหารเรือ ส่วนกรรมการจากแพทยสภาคือหมอสมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล และดิฉันได้ช่วยกันแสดงเหตุผลต่างๆที่ไม่เห็นด้วย โดยได้เสนอว่า สำหรับน้องใหม่ลาออกมาก เพราะปีนี้ต้องจับฉลากคือใช้ทุนปี1จบก็ต้องจับฉลากสำหรับปี 2อีกปี และไม่สามารถหาต้นสังกัดไปเรียน รวมกับความคับข้องใจอื่นๆอย่างที่เราทราบกัน และดิฉันก็บอกว่านศพ.นั้นไม่เคยได้ทุนเรียน จึงไม่ควรถูกเรียกว่าใช้ทุน และไม่ควรขึ้นค่าปรับ เปรียบกับทุนกพ. หรือน.ศ.พ.ทหารที่ได้ทุนเรียนจริงๆ จึงสมควรเรียกให้ชดใช้ทุน และ กรรมการจากกพ.ก็ยอมรับว่าพากเราแพทย์ทั้งหลายไม่เคยได้ทุนเรียนแพทย์ แต่การขาดแคลนแพทย์ ทำให้รัฐบาลหาช่องทางบังคับแพทย์โดยวิธีบอกว่า ถ้าไม่ทำงานให้รัฐต้องจ่ายเงิน โดยที่ไม่เคยได้ทุนจริงๆ ฉะนั้นจึงไม่สมควรขึ้นค่าปรับ กระทรวงควรไปหาข้อมูลสาเหตุการลาออกมาแล้วมาเข้าที่ประชุมใหม่

ดิฉันได้เสนอว่า ถ้าอยากขึ้นค่าปรับ ก็ให้แบ่ง นศพ.เป็น 2 พวก คือพวกแรก เรียนฟรีหมดและมีเงินเบี้ยเลี้ยงเวลาขึ้นทำงานบนwardและได้บรรจุเป็นข้าราชการตั้งแต่เป็นนักเรียนปี2เหมือน นศพ.ทหารพวกนี้ไม่ให้ใช้ทุน อีกพวกหนึ่งที่ไม่อยากถูกบังคับ ก็ให้จ่ายค่าเล่าเรียนเหมือนนักศึกษาในคณะอืนๆของรัฐบาลไม่ใช่จ่ายแพงเหมือน คณะแพทย์เอกชน คือจ่ายเงินเรียนเหมือนักศึกษาคณะอืนๆของรัฐบาล (แบบที่เราต้องจ่ายอย่างปัจจุบันนี้) พวกนี้ไม่ต้องเสียค่าปรับและไม่ต้องมีสัญญาผูกพัน

ประธานที่ประชุมบอกว่าบางเรื่องเขาไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการก้าวก่ายหน่วย งานอื่น แต่ดิฉันเห็นว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องประสานงาน กับหน่วยงานอื่นๆเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ยังอยากทำงานกับกระทรวงสาธารณสุ ข ไม่ใช่คิดหาแต่วิธีลงโทษ หมอพิพัฒน์ก็ยอมรับว่ากระทรวงผิดพลาดในการจัดสรรแพทย์ใช้ทุนปี 47 และให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องการจะเพิ่มค่าปรับออกไปก่อน โดยจะให้สวรส(สำนักงานปฏิรูประบบสาธารณสุข) เป็นผู้วิจัยสาเหตูการลาออกของแพทย์เพื่อจะได้เสนอแนวทางแก้ไขต่อไป โดยเขาไม่ยอมรับผลการวิจัยของแพทยสภา เขาว่าจะหาคนที่เป็นกลางมาศึกษาวิจัย

ปัญหาความล้มเหลวในวงการแพทย์ไทย อยู่ที่ใคร ช่วยตอบที

หมอเชิดชู

ส่งโดย: Redsnow

« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 8:21am »

on Apr 28th, 2005, 8:17am, Redsnow wrote:
กรรมการจากกพ.ก็ยอมรับว่าพากเราแพทย์ทั้งหลายไม่เคยได้ทุนเรียนแพท ย์ แต่การขาดแคลนแพทย์ ทำให้รัฐบาลหาช่องทางบังคับแพทย์โดยวิธีบอกว่า ถ้าไม่ทำงานให้รัฐต้องจ่ายเงิน โดยที่ไม่เคยได้ทุนจริงๆ

อ่านทีไรก็อึ้งครับ อึ้งมากๆ

ส่งโดย: Redsnow


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 9:34am »

Quote:
ปัญหาความล้มเหลวในวงการแพทย์ไทย อยู่ที่ใคร ช่วยตอบที

จริง ๆ ทุกคนก็รู้กันอยู่ว่าความล้มเหลวของการจัดสรรแพทย์อยู่ที่ไหน

อยู่ที่ผู้บริหาร และบรรดาคณะกรรมการไง ที่ไม่เคยคิดจะแก้ปัญหาจริงจังแบบยั่งยืน เอาง่ายเข้าว่า

Negative reinforcement มันง่าย ไม่ต้องลงทุน (ขอโทษไม่ได้ดูถูกอาชีพนะครับ) สามล้อยังทำเป็นเลย ไม่ต้องเรียนจบสูง ๆ หรอก แต่เคยมี negative reinforcement ที่ไหนในโลกนี้แล้วระบบอยู่ยั้งยืนยงบ้าง

Positive reinforcement มันทำยาก ลงทุนลงแรงเยอะ แต่ผลที่ได้มันจะดีและทำให้ระบบมันคงอยู่ได้

ที่ผ่านมา ผู้บริหารต่าง ๆ ประเภทมาแล้วก็ไป ไม่ใช่หน้าที่ข้า ฯ ขอแค่สมัยที่ข้า ฯ อยู่มันรอดไปได้ก็พอ

35-40 ปีที่ผ่านมา ระบบ "ใช้ทุน" (ที่ไม่เคยได้เงินซักแดง ไอ้ที่ว่าลงทุนสร้าง รพ. ก็เป็นข้ออ้างลม ๆ แล้ง ๆ ทำไมกลับไม่คิดว่าบรรดา รพ.ที่เปิดให้นักเรียนแพทย์ไปฝึกอบรม ได้แรงงานฟรีไปเท่าไหร่แล้ว) มันทำให้จำนวนแพทย์เพียงพอในชนบทหรือเปล่า ?

รังแกแต่เด็ก ทำอะไร นึกถึงบาปกรรมกันบ้าง


ส่งโดย: หมอมานพ

« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 10:00am »
แล้วเงินภาษีที่ไปอุดหนุนการศึกษาของพวกท่านละ อัตราการอุดหนุนของคณะแพทย์จากเงินงบของรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมสูงกว่าคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน วิชาชีพยังได้รับการอุดหนุนทางตรงและทางอ้อมตามงบประมาณมากกว่าวิชาชีพอื่นในกลุ่มวิชาชีพทางสาธารณสุขทั้งหมด เงินเหล่านี้ต้องขอคืนก่อน ... ให้อุดหนุนวิชาชีพแพทย์ทั้งคณะ วิทยาลัย ทั้งทางตรงและทางอ้อมในอัตราต่อนักศึกษาและต่อบุคลากรเทียบเท่าคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่ยังอุดหนุนนักเรียนที่มีฐานะยากจนตามคำจัดความของรัฐบาลอย่างเต็มที่ต่อไ ป .... เอาอย่างนี้น่าจะดีที่สุดละท่าน

ส่งโดย: พูดมาก


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 10:34am »
เรื่องทุนนี่แม้แต่คนที่ทำงานในรพ.บางคนก็ยังไม่เข้าใจนะครับ เคยคุยกับพี่ที่เรียนทุนของสธ.เรื่องการใช้ทุนของแพทย์เขายังงงเลย พวกเราต้องจ่ายค่าเทอมเอง ค่าหอพักเอง ค่าข้าวเอง ..บลาๆๆ แต่ต้องมาใช้ทุน .. เออ ตกลงมันทุนอะไรที่ไหนเนี่ย..

ความเห็นที่ 3 รู้สึกจะแรงจังนะครับ แต่ถ้าลองเปลี่ยนว่าเอาเงินที่รัฐบอกว่าสนับสนุนค่าเรียนแพทย์มากกว่าคณะอื่นมาเพิ่มในค่าเทอม แล้วจบมาไม่ต้องใช้ทุน จะเป็นยังไงล่ะครับ

..คิดว่าหมอรุ่นใหม่จะไปทำงานกันใน รพช. กันเพียบเลยรึเปล่า...

น่าคิดนะ..

ส่งโดย: อภินิหารหมอพลังเพลิง

« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 11:17am »

ขอแย้งความเห็น 3 หน่อย

สิ่งที่เรียกว่า "เงินอุดหนุน" เห็นพูดกันไปพูดกันมาอยู่นั่น คนโน้นพูดที คนนี้พูดที ฟังดูสวยหรู แจงกันเป็นข้อ ๆ ดีกว่า

Quote:
อัตราการอุดหนุนของคณะแพทย์จากเงินงบของรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมสูงกว่าคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ข้อมูลนี้มาจากไหน ถ้าทางอ้อมหาข้อมูลยาก เอาทางตรงก่อนก็ได้ เงินตรงไหนที่บอกว่าเป็นเงินอุดหนุนคณะแพทย์ งบประมาณ? งบประมาณส่วนไหน เงินเดือนอาจารย์หรือเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์ใน "มหาวิทยาลัย" มันมากกว่าข้าราชการอื่นในระดับเดียวกันหรือเปล่า คำตอบคือ "เท่ากัน" แล้วตรงไหนที่บอกว่าอุดหนุนมากกว่า, งบประมาณของหน่วยงาน เทียบงบประมาณของส่วนราชการมหาวิทยาลัยทั้งหมด (ทบวง ฯ เดิม) ยังไม่ได้ 1/4 ของกระทรวงหลาย ๆ กระทรวงด้วยซ้ำ อันนี้เป็นเงินรวมทุกคณะ ฯ ด้วย ถ้าจะมาดูแต่คณะแพทย์ ฯ อย่างเดียว ดูงบสำหรับสนับสนุนการเรียน (ไม่รวมงบสำหรับบริการและโรงพยาบาล) ก็ไม่ต่างกันอยู่ดี

Quote:
วิชาชีพยังได้รับการอุดหนุนทางตรงและทางอ้อมตามงบประมาณมากกว่าวิชาชีพอื่นใ นกลุ่มวิชาชีพทางสาธารณสุขทั้งหมด



ที่ยกมาก็ไม่จริงอีกในช่วงเรียน (ที่บอกว่าเอาทุนเขามาเรียนหน่ะ) ถ้าจะว่าได้เงินเดือน + เงินรายได้อื่น ๆ มากกว่า อันนี้ก็เป็นช่วงทำงานที่ "ใช้ทุน" ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกันเพราะเรียนจบแล้ว หนำซ้ำภาระงานยังมากกว่ารายได้ด้วยซ้ำไป

บางคนอาจจะแย้งว่า งบประมาณดำเนินงานของ โรงพยาบาลต่าง ๆ ใน รร.แพทย์ ทำไมไม่เอามาคิด ก็ขอถามกลับไปว่า ถ้า รพ.เหล่านั้นไม่รับนักเรียนแพทย์ คิดว่าค่าใช้จ่ายมันจะมากขึ้น หรือน้อยลง - คำตอบแบบชัดแจ้งคือ "มากขึ้น" ทำไมเหรอ - ก็เพราะว่าทุกวันนี้ รพ.เหล่านี้ยังได้ "แรงงานฟรี" (จากนักเรียนแพทย์) และ "แรงงานราคาถูก" (จากแพทย์ประจำบ้าน) ทำงานอยู่ (นี่ขนาดไม่รวมนักเรียนพยาบาล และนักเรียนสาขาวิชาชีพอื่นในแขนงนี้) ถ้าไม่มีนักเรียนแพทย์ และแพทย์เหล่านี้ จะต้องจ้างบุคลากรมาทดแทนเท่าไหร่ (บอกได้ว่าสำหรับ รร.แพทย์ขนาดใหญ่ แต่ละแห่งต้องจ้างแพทย์เพิ่มไม่ต่ำกว่า 200-300 คน ถ้าไม่มีนักเรียนแพทย์และแพทย์ประจำบ้านเหลืออยู่เลย บางแห่งอาจจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำ แล้วทั้งประเทศนี่กี่แห่งล่ะ ลองคูณออกมาเป็นเงินเดือนดูแล้วกัน)

ที่ยกตัวอย่างมาให้ดู อยากจะให้มองความเป็นจริงบ้าง ดูหลาย ๆ ด้าน มองด้านใดด้านหนึ่งมันไม่พอหรอก ไม่ใช่เอะอะก็ว่ากันไป เขาพูดมาก็ทึกทักว่าเป็นจริง พูดต่อ ๆ กันหาข้อมูลจริงไม่ได้

ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเรื่องพวกนี้ แต่เห็นใจเด็กมันบ้าง ไม่ใช่เอะอะก็โยนภาระให้เขา แล้วก็เอาข้ออ้างที่ไม่มีมูลขึ้นมาขู่

พูดปด ผิดศีล ตกนรกไม่รู้ด้วย

ส่งโดย: หมอมานพ

« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 12:05pm »

คุณความเห็นที่ 3

เขาไม่เรียกว่า "อุดหนุน" เขาเรียกว่า "ลงทุน"

ทำไม ระบบการศึกษาของไทยตกต่ำอย่างน่าใจหาย มันไม่ใช่เรื่องการอุดหนุน แต่รัฐบาล"ไม่ลงทุนต่างหาก"

ทำไมคุณภาพคนไทยตกต่ำลง มันก็เรื่องรัฐบาล"ไม่ลงทุนในการศึกษาเช่นกัน"

หากจะลงทุนเพื่อพัฒนาคนไทยให้ฉลาดขึ้น มันไม่ใช่แค่"ลงทุนในคณะแพทย์"

รัฐบาลจะต้องลงทุนทุกๆคณะวิชา ซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด เราต้องการนักปกครองที่มีคุณธรรม ไม่ใช่นักการเมืองขี้ฉ้อ เราต้องการวิศวกรที่มีคุณภาพ ไม่เกิดปัญหาตึกถล่มในโคราช เราต้องการนักบัญชีที่ดี ไม่ใช่นักบัญชีที่ช่วยโกงภาษี

เหนืออื่นใด เราต้องการคนไทย ที่มีความเป็นมนุสโส ไม่ใช่สักแค่ "เป็นคน" อ้าย กิน ปี้ ขี้ นอน สุนัขมันก็ทำได้

การลงทุน ต้องทำอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่เครื่องมือหรืออาคารสถานที่ ซึ่งคุณความเห็นที่ 3 เห็นแค่ภาพภายนอกและฉาบฉวย อันแสดงความ คุณภาพของคุณความเห็นที่ 3 ซึ่งหากเป็นคนไทยส่วนใหญ่แล้ว เป็นอันแน่ใจว่า ชาติไทยล่มสลายแน่นอน ที่คนไทยเรา มองแค่ปลายจมูกของตนเอง

ไม่ว่าคณะวิชาใด จะต้องลงทุนเพื่อเพิ่มสติปัญญาของคณาจารย์ มีห้องสมุดที่ทันสมัย(ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ส่อให้เห็นชัดว่า สติปัญญาของเราต่ำต้อย เพราะห้องสมุดเล็กยังกะขี้หนู)

บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยจะต้องมีความเป็น วนาหรือสวนป่า เพราะคนวัยศึกษา ไม่ควรหมกมุ่นเรื่องเพศ อย่างที่ทั้งสื่อสารมวลสัตว์ของไทยได้กระพือ นักการเมืองทำตนมือถือสากปากถือศีล

พอดีกว่า ขี้เกียจบ่น เดี๋ยวหมออู่จะซวย

ส่งโดย: possibility






« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: Apr 28th, 2005, 12:20pm »

Quote:
อัตราการอุดหนุนของคณะแพทย์จากเงินงบของรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมสูงกว่าค ณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน


เอ ถ้าคณะอื่นได้รับเงินอุดหนุนเหมือนกัน ก็ต้องใช้ทุนเหมือนกันดีไหมครับ โอเค ของหมอถ้ามีหลักฐานว่าเงินมากเราก็ใช้ทุนมาก ตอนนี้ก็สามปีแล้วนะ แต่คณะอื่น วิดวะ วิดยา บัญชีนี่ ต้องใช้ทุนไหมครับ สักปีนึงดีไหม ใครไม่ใช่จ่ายตังเหมือนกัน

ส่งโดย: เที่ยวทั่วไทยไปกับจุ่น



« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: วันนี้ เวลา 4:39pm »

แล้วเงินภาษีที่ไปอุดหนุนการศึกษาของพวกท่านละ

เบื่อจริงๆเลยนะพวกที่อ้างเงินภาษีเนี่ย อะไรๆก็ภาษีของพวกผม เซ็ง... อยากรู้นักว่าคนที่พูดเนี่ยเสียภาษีปีละเท่าไหร่ ผมอ่ะ 45,445 บาท ต้องขอผ่อน 3 เดือน คนพูดเนี่ยกี่หมื่นต่อปีครับครับ ของผมนะ เบื้ยกันดารยังโดนหักภาษีเลย ที่อยู่เนี่ยอีก 15 กิโลก็ถึงพม่าละ แล้วก็เป็นด่านที่มีการฝังกับระเบิดด้วยนะ ไม่ใช่ด่านเจริญเหมือนแม่สอดแม่สาย

ส่งโดย: หมอชายแดน


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:03:46 น.  

 
หัวข้อ 12695 : การพิจารณาค่าปรับชดใช้ทุนแทนการปฏิบัติงานของนักศึก (จำนวนคนอ่าน 590 ครั้ง)

« เมื่อ: Apr 25th, 2005, 2:10pm »

คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้เชิญคณะกรรมการประชุมในวันที่ 27เมษายน2548เวลา 10.00 น .นี้ โดยจะเสนอให้มีการเพิ่มค่าปรับจาก 400,000 บาท โดยคิดว่ารัฐบาลลงทุนค่าผลิตแพทย์ชนบทโดยต้องให้เงินอุดหนุนคณะแพทยศาสตร์ปี ละ300,000 บาทต่อหัวต่อปี ก็เลยคิดว่ารัฐบาลลงทุนไป 300,000 x 6 เท่ากับ 1,800,000 บาทต่อคน จึงอยากพิจารณาเพิ่มค่าปรับเพื่อป้องกันไม่ให้แพทย์ลาออกจากราชการ

อันที่จริงแล้วรัฐบาลก็ต้องลงทุนในการศึกษาให้ทุกคณะในมหาวิทยาลัยแต่ไม่มีใครต้องใช้ทุนยกเว้นคณะแพทย์ แต่การที่ต้องลงทุนในคณะแพทย์มากกว่าคณะอื่นๆนั้นก็เพราะคณะแพทย์ต้องลงทุนในการสร้างโรงพยาบาลและมีค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล คณะอื่นๆมีผลผลิตอย่างเดียวคือบัณทิต แต่คณะแพทย์มีผลผลิตทั้งบัณทิตและผลงานการรักษาผู้ป่วยและองค์ความรู้จากงาน วิจัยที่มีมูลค่ามากมายมหาศาล และนักศึกษาแพทย์ก็ต้องทำงานภายใต้การควบคุมของอาจารย์เพื่อให้ได้ผลงานการด ูแลรักษาผู้ป่วยโดยไม่เคยได้ค่าแรงงานที่ต้องทำทั้งในเวลาปกติและเวลาวิกาล วันหยุด ทำไมรัฐบาลไม่คิดว่าผลผลิตจากคณะแพทย์เอาไปหักลบต้นทุนการผลิตแพทย์บ้าง ทำไมไม่หาวิธีจูงใจให้แพทย์อยากทำงานให้กระทรวงสาธารณสุขบ้าง ทำไมไม่ถามบ้างว่าหมอเขาคับแค้นใจเรื่องอะไรจึงพากันลาออกมากมายมหาศาลในช่วงนี้ แล้วไปแก้ตรงปัญหานั้น

การที่มาบอกว่าแพทย์ได้รับทุนเรียนแพทย์ก็ไม่จริง ไม่เหมือนนักศึกษาแพทย์ทหารที่เขาไม่ต้องเสียเงินเรียนแพทย์เลย แถมยังได้บรรจุเป็นข้าราชการและมีเงินเดือนตั้งแต่ปีที่ 1 ถ้านักศึกษาคณะอื่นที่ได้ทุนเรียนนั้น เขาจะไม่ต้องจ่ายค่าเรียนเลย การมาบอกว่านักศึกษาแพทย์ใช้เงินภาษีประชาชนเรียนมาแล้วไม่ออกไปรับใช้ประชาชน ทำให้ถูกประชาชนดูหมิ่น เกลียดชัง ทั้งๆที่เราก็ใช้ภาษีประชาชนเหมือนคณะอื่นๆ (แถมเรารับใช้ประชาชนคนป่วยในเวลาเรียนโดยไม่เคยได้รับค่าแรงงานเลย ในขณะที่คณะอื่นๆก็ไม่ต้องุถูกบังคับให้ใช้ทุนเลย

อยากจะถามเหตุผลน้องๆที่ลาออกไปในช่วง 3-4 ปีนี้ว่าทำไมจึงลาออก เพื่อจะได้เอาไปเสนอกระทรวงสธ.ให้แก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อจะได้ช่วยให้ยังมีแพทย์ทำงานรับใช้ประชาชนในกระทรวงสาธารณสุขอย่างมีเกียรติ มีความสุข พอสมควรแก่ภาระงานและความรับผิดชอบไม่ใช่ตกอยู่ใต้การบังคับอย่างเดียว โดยไม่เห็นอกเห็นใจคนที่ต้องทำงานเลย
ที่ถามมาในที่นี้เพื่อต้องการทราบอย่างจริงใจ เพราะดิฉันจะต้องเข้าประชุมในนามแพทยสภาในวันที่27 นี้ เพราะเท่าที่ทราบก็คืองานหนัก เงินน้อย ขาดเวลาส่วนตัวและครอบครัว ถูกคุกคามจากการฟ้องร้อง ไม่ได้เรียนต่อในสาขาที่ต้องการ ไม่มีต้นสังกัด ฯลฯ

จากสถิติของกระทรวง พบว่า ปี2544 แพทย์สังกัดกระทรวงสธ 878คน ลาออก 269 คน ปี2545 แพทย์922 คน ลาออก 540 คน ปี2546แพทย์1, 028 คน ลาออก 795 คน ปี2547แพทย์995 คน ลาออก 408 คน รวมแพทย์ที่ได้รับจัดสรร 3823 คน ลาออก 2012 คน คิดเป็น จำนวนแพทย์ทีลาออกเท่ากับ58.63 %

ขอทราบปัญหาจากน้องๆและความเห็นรวมทั้งแนวทางทีควรแก้ไขด่วน


ส่งโดย: หมอเชิดชู


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: Apr 25th, 2005, 5:30pm »

ดูเหมือนว่ากระทรวงก็ทราบนะครับ ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน...

ผมคิดว่านอกจากดูตัวเลขแพทย์ที่ลาออก คงต้องดูด้วยว่าที่ลาออก 60% นั้นไปอยู่ในส่วนไหน ย้ายมาสังกัด ร.พ.รัฐ ในกทม. 30% หรือเปล่า หรือลาออกไปอยู่เอกชนกันหมด ส่วนที่ย้ายมาอยู่ร.พ.รัฐในกรุงเทพ กระทรวงคงสามารถจัดการได้มั้งครับ

หมอที่นอกเหนือจากนั้น คงไม่ต้องถามว่าสาเหตุใดจึงไม่ยอมอยู่รับใช้ประชาชนตาดำๆในต่างจังหวัดต่อ ผมคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ก็น่าจะมาจากปัญหาเล็กๆน้อยๆในสมัยก่อนที่ ค่อยๆทับถม หมักบ่ม จนได้ที่ในปัจจุบันนี้น่ะครับ คงไม่ใช่เฉพาะปัญหาในเรื่องการทำงานอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาสังคมระดับชาติ ที่สังคมไทยเริ่มก้าวสู่ยุคทุนนิยมเสรี ลัทธิสุขนิยม ฯลฯ

หมอรุ่นหลังๆที่เพิ่งจบมาก็ได้รับผลกระทบไปด้วยไม่มากก็น้อยน่ะครับ แล้วแต่ความแข็งแรงของฐานรากของแต่ละคน

คงได้แต่หวังว่ากระทรวงจะแก้ไขให้ตรงจุดได้ ไม่ใช่อะไรๆก็เอาเงินมาอ้าง อย่างที่กำลังจะทำอีกในตอนนี้ มันก็ยิ่งเป็นการสงเสริมลัทธิ บูชาเงินในทางอ้อมน่ะครับ ขึ้นเงินที่ต้องใช้คืนก็เหมือนปรับเพิ่มโทษติดคุกน่ะครับ มันไม่ได้แก้ปัญหาอะไรให้ดีขึ้นนอกจากยื้อเวลาให้แพทย์ที่เพิ่งจบใหม่ ความรู้ยังน้อย ต้องทำงานต่อนานขึ้น มาตรฐานก็คงไม่ได้ดีจากเดิมหรอกจริงไหมครับ


ส่งโดย: Dr. Lu


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: Apr 25th, 2005, 6:14pm »

เหอๆ ถ้าได้อ่านจดหมายข่าวชมรมแพทย์ชนบทแล้ว คงทราบว่าใครเป็นต้นคิด

ควรใช้ positive reinforce มากกว่า (ในบอร์ดนี้เคยพูดกันหลายทีแล้ว)

การใช้ตรรกกะง่ายๆอย่าง ใช้ทุนน้อยเลยลาออก ก็เพิ่มค่าใช้ทุนซะ มันจะได้ไปไหนไม่รอด ผมว่ามันหน่อมแน้มไปหน่อยนะ

ผมว่าปัญหาใหญ่ของน้องๆ (ผมเองก็เคยเจอ ) คือ ตอนเรียนไม่ได้สัมผัสการทำงานในชุมชนอย่างเข้าใจจริงๆ ไม่ทราบว่าสิ่งที่ต้องเจอในชุมชนมีอะไรบ้าง มีความขาดแคลน ข้อจำกัดอะไร(อย่าอ้างเชียวว่าอยู่ชุมชน 1-2 เดือนตอนเรียน com.med.จะช่วยอะไรได้มาก)
คนเราถ้าไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง ก็กลัวเป็นธรรมดา กลัวมาก กังวลมาก ลาออกดีกว่า

นอกจากนี้ยังมีเรื่องภาระงานอีก ถ้าต้องตรวจคนไข้ 200-300 คน/วัน ทุกวัน แล้วเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยช่วยหรือ ผ.อ. ไม่สนใจ ก็น่าลาออกเหมือนกัน

เสนอนะครับ(เดี๋ยวจะหาว่าค้านลูกเดียว ) อยากให้น้องๆ extern หรือ intern ได้มีโอกาส มา tern ร.พ. ชุมชนที่ดี มีทีมบริหารที่ดี คนไข้ไม่มีปัญหามาก เจ้าหน้าที่ไม่ severe ไม่ต้องนานมาก อาจซัก1-2 เดือนก่อนปฏิบัติงานจริง (เช่นช่วงหลังจับฉลาก แล้วรอเวลาไปปฏิบัติงาน) ให้น้องๆมีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาล(เข้าร่วมประชุม คบร.) ได้ดูงานด้านส่งเสริม ป้องกันโรค การสอบสวนโรค (ห้ามเอาน้องไปใช้งานตรวจ OPD อย่างเดียวนา) ถึงจะไม่นานมาก แต่อย่างน้อยน้องๆจะได้เห็นแบบอย่างที่ดีของการอยู่รพ.ชุมชน ถ้าในอนาคตเกิดโชคร้ายไปอยู่ที่ที่มัน severe จะได้เข้าใจว่าอย่างน้อยมันไม่เลวร้ายไปทุกที่หรอก

ป.ล. ผมเคยคิดอยากลาออกเหมือนกัน ตอนintern ปีแรกเพราะ
- ตรวจคนไข้ 150-300 คน/วัน (ต่อหมอ 1 คน )
- ผมเคยคุยกับ ผ.อ. 2 ครั้งเท่านั้นในเวลา 4 เดือน คือตอนมา กับตอนกลับ
- เวลาทำงานไม่เคยพบ ผ.อ. เพราะท่านเข้าทำงานบ่าย 2 มาเซนต์แฟ้ม ที่เหลือท่านไปตีกอล์ฟ(ยืนยัน)
- ตอนไป tern ไม่เคยได้จับงานอะไรทั้งสิ้น นอกจากตรวจๆๆๆๆ ทุกวัน จนแทบบ้า
- คนไข้ ขอทุกอย่าง ถ้ามีกะปิ-น้ำปลาด้วยคงขอไปแล้ว
- ที่พักคือห้องพิเศษ 1 ห้อง แคบไปหน่อยแต่ก็ดีที่ furniture พร้อม
- โชคดีอย่างเดียว คือ เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดี ชวนกันไปเล่นกีฬาทุกวัน

ตอนนั้นตัดสินใจว่า ถ้าย้ายมาอยู่ที่ใหม่เป็นเหมือนเดิม ตูลาออกไปตายเอาดาบหน้าแหงๆ

โชคดีที่ตรงข้ามทุกอย่าง ยกเว้น เจ้าหน้านิสัยดีเหมือนกัน


ส่งโดย: Redsnow


« ความเห็นที่ #8 เมื่อ: Apr 25th, 2005, 11:07pm »

ที่จริงที่ลาออกน่ะไม่ได้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลท่านอื่นๆเลยค่ะ
ผอ.ก็ดีทุกท่านที่เคยอยู่ด้วยมานะคะทั้งตอนเป็นพชท1,2
ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงินแต่อย่างใด
ไม่ได้มีปัญหาว่าต้องทำงานหนัก
แต่อยากมีเวลากินเวลานอนอย่างคนปกติบ้างสุขภาพรับไม่ไหวกับการที่มีหมออยู่ไม่กี่คนแล้วก็ต้องผลัดกันอยู่เวรแทบตาย
ที่สำคัญอีกอย่างก็มีเหตุการณ์ที่มันทำให้เราน้อยใจและท้อแท้ในการทำงานซึ่ง เราไม่ได้ทำผิดขั้นตอนอะไรเลยแต่กลับโดนว่า
ระบบราชการก็เป็นอีกอย่างที่น่าเบื่อไม่เคยคิดจะฟังความเห็นคนผู้น้อยแล้วเอาไปปรับปรุงบ้าง
แต่ระบบทุกวันนี้ที่เป็นอยู่จริงก็คือใครทนได้ก็ทนอยู่ต่อไปใครทนไม่ได้ก็ลา ออกอย่าหวังว่าเธอจะมาเปลี่ยนแปลงอะไรได้นะ
(ไม่ใช่เรื่องสวัสดิการแต่เป็นเรื่องระบบการทำงานผลประโยชน์คนไข้ล้วนๆที่เรากังวลถึง)

ส่งโดย: arm

« ความเห็นที่ #10 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 5:02am »

เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าใช้ทุน
แต่ต้องทำควบคู่กับการส่งเสริมให้แพทย์อยู่ได้ในระบบ
เรืองแพทย์ออกจากราชการเท่าที่ผ่านมาแพทย์รู้ กระทรวงรู้ แต่ กพ เหมือนจะซื่อบื้อ
ออกจาก กพ เถอะครับ เราปกครองดูแลกันเองเหมือนครู ตำรวจ ศาล
ถ้าปลดแอกจาก กพ ได้ถือเป็นผลงานโบว์แดงเลยครับ

ส่งโดย: อ่านเจอ


« ความเห็นที่ #11 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 7:26am »

สมัยนี้ใครๆ ก็ต้องการตตรวจกับ specialist พ่อแม่คุณเองก็อยากให้ตรวจกับ
Specialist ใช่มั้ยครับ ไม่อยากไปเจอ Intern จบใหม่ หรือ GP กันหรอก
พอหาทุนเรียนก็บอกว่า ไม่มีเพราะ specilaist เยอะแล้วเมืองไทย พอหาไม่ได้ก็ต้องทำงานต่อ และสุดท้ายเบื่อหน่าย ก็เลยต้องลาออกเพราะ รพ.รัฐ ก็รุ้อยู่ งานเยอะ เงินน้อย ในโลกนี้ไม่มีใครอยากทำงานแบบนี้ตลอดชีวิตหรอกครับ
บางครั้งเวลา refer คนไข้ไปรพ. ใหญ่บางทีไม่เจอ specilaist เลย เกี่ยงกันทำงานอะครับ และอีกอย่างคนคงน้อย
****อยากให้ปล่อยทุนเรียนมากกว่านี้ เพื่อระบบสาธารณสุขจะได้เจริญขึ้น ทุกวันนี้ผมหาทุนไม่ได้ จึงต้องสาปแช่งพวกรุ่นเก่าให้......คิดเองละกันครับ จะได้ขาดแคลน จะได้มีทุนให้เรียนไง ทุกวันนี้ทำงาน เอกชนครับ

ส่งโดย: อยากเรียน



« ความเห็นที่ #12 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 7:27am »

เรื่องนี้เคยพูดกันแล้วนี่นา

คำถามแรก นักเรียนแพทย์รับทุนการศึกษาของรัฐฯหรือไม่
คำตอบ
1. ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ เพราะนักเรียนแพทย์ต้องจ่ายเงินค่าหน่วยกิต เหมือนกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั่วไป
2. แต่มีคนอ้างกันว่า รัฐบาล"ลงทุน"กับแพทยศาสตร์ศึกษามากกว่าคณะวิชาอื่นๆ

คำถามที่สอง การ"ลงทุน" มันเกี่ยวข้องอะไรกับ "ทุนการศึกษา"
คำตอบ เป็นเรื่องของ หมาป่ากับลูกแกะ เป็นเรื่องของความไร้เหตุผล

คำถามต่อไป เราจะdealกับความไร้เหตุผลนี้ได้อย่างไร

ต่อคำถามนี้ผมไม่มีคำตอบที่ลงตัวให้เลย เพราะเมื่อคนเราไร้เหตุผลแล้ว จะเอาเหตุผลไปพูดคุยได้อย่างไร

ผมได้แค่เสนอวิธีการที่เจ็บปวดน้อยที่สุดแก่ทุกฝ่ายคือ การอิงหลักกฎหมายสากล คือ กฎหมายจะไม่ย้อนบังคับอดีตที่ผ่านมา นั่นคือ ให้เริ่มกฎบ้าๆนี้ แก่นักเรียนแพทย์ในปีการศึกษา 2548 ส่วนที่เรียนนับแต่2547 ย้อนกลับไป ให้ใช้หลักการเดิม และต้องบอกให้ผู้ที่จะศึกษาวิชาแพทย์นับแต่ปี 2548 เป็นต้นไปว่า มีเงื่อนไขตามข้างต้น

วิธีที่เลวร้ายที่สุดและไม่เชื่อว่าคนไทยจะกล้าคือ Demonstration

ส่งโดย: possibility


« ความเห็นที่ #13 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 8:32am »

ก่อนอื่น (เดี๋ยวจะลืม) ขอขอบคุณ หมอเชิดชู ที่เมื่อจะเข้าประชุมในนามตัวแทนแพทยสภาก็หาช่องทางสื่อสารกับแพทย์ก่อน นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดี อยากให้กรรมการแพทย์สภาทุกท่านคิดอย่างนี้ แม้ช่องทางสื่อสารอาจจะไม่มากไม่รวดเร็วนักก็ไม่ควรละเลย

ขอขอบคุณหมออู๋ เจ้าของเว็บที่ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น น่าเสียดายที่ไม่ได้เป็นกรรมการแพทยสภาไม่งั้น เราได้เว็บแพทยสภาที่ดีกว่านี้อีก

การเพิ่มค่าปรับนั้นผมเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาแพทย์ลาออกได้ อาจจะมีการลาออกตอนใช้ทุนน้อยลงบ้าง(ไม่มาก) แต่เมื่อใช้ทุนครบแล้วก็ลาออกอยู่ดี อันนี้เท่าว่า ส่วนราชการเป็นที่ฝึกงานให้กับรพ.เอกชนฟรีๆ

เท่าที่เห็นเพื่อนแพทย์ที่ลาออกไป ส่วนมาก ไปทำงานรพ.เอกชนบ้าง เปิดคลีนิกเต็มเวลาบ้าง เมื่อสอบถามแล้วก็มีเหตุให้ลาออกต่างๆกันไป เช่น งานราชการหนักมาก ไม่มีเวลาพัก รายได้ไม่พอใช้จ่าย ทนการเอารัดเอาเปรียบจากระบบสธ.ไม่ไหว(อย่างที่ข้างบนเล่าเรื่องผอ.บางท่าน) ไม่มีทุนเรียนต่อ เบื่องานนโยบาย มองไม่เห็นความก้าวหน้าในราชการ ปัญหาพวกนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มค่าปรับ แต่แก้ได้ด้วยการปรับปรุงตัวเองของสธ.เองเท่านั้น

ค่าปรับนั้น ถ้าคับแค้นแน่นอก เท่าไหร่ก็ยอมเสีย ถ้าอยากได้ค่าปรับก็เพิ่มค่าปรับ แต่ถ้าอยากให้แพทย์อยู่ในระบบ ต้องปรับปรุงระบบครับ

ส่งโดย: แฉล้มป์


« ความเห็นที่ #14 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 10:39am »

น่าจะ ปรับระบบนะ
ตอนเป็น intern ก็เจอปัญหา ระบบ
อยู่แล้วรู้สึกคับข้องใจ
แต่ก็ทนอยู่จนครบทุนได้เรียน specialist
ตอนนี้ใช้ทุนครบอีกรอบแล้ว
คับข้องใจกับระบบราชการเหมือนเดิม
อยากออกเหมือนกัน


ส่งโดย: โอ๋เอ๋



« ความเห็นที่ #15 เมื่อ: Apr 26th, 2005, 12:01pm »

ก็ดีนะ คนจนหรือฐานะปานกลางจะได้เลิกกระเสือกกระสนให้ลูกหลานเรียนแพทย์เสียที่ เงินล้านแปดสำหรับคนรวยนั่นน่ะจิ๊บจ๊อย มากที่จะจ่ายเพื่อซื้อเสรีภาพจากการเป็นทาสในเรือนเบี้ยของลูกหลานที่เป็นแพทย์ในกระทรวงสาสุข ขี้เกียจพูดแล้ว ก็รู้ๆอยู่ว่าปัญหาขาดแคลนแพทย์เกิดจากอะไร แก้ให้มันตรงจุดซะก็สิ้นเรื่อง

ส่งโดย: หมอแก่รำคาญ



« ความเห็นที่ #20 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:51am »

เเก้ได้ชุ้ยมากครับ ต้องเเก้อย่างงี้สิรับรองไม่มีลาออก เงินเดือน เดือนละ เเสน อะหยวนเอาเป็นเริ่มที่ 5หมื่น เบี้ยเลี้ยงอย่างอื่นตังหาก ค่าDF ตังหากเอาหัวละ100 ละกันทํามากได้มากทําน้อยได้น้อย ก็ไหนๆรัฐก็ลงทุนเเล้วไงก็ลงทุนเพิ่มอีกจิจะมาหวังกําไรอะไรละกะหมออะ หมอจบไหม่มีสิทธิที่จะเลือกบันจุในจังหวัดภูมิลําเนาทันทีมันจะล้นหน่อยก็ช่วยไม่ได้ก็ไม่อยากไกลบ้านนิ งั้นก็ลาออกอีก เรียกร้องสิทธิกันหน่อยอาชีพอื่น ทนาย กับตัน เขาเรียกร้องกันหมดเเล้วสวัสดิการมากมายเงินเเรง ใครก็อยากเป็น ส่วนจังหวัดที่คนไม่อยากไป ก็เพิ่มสวัสดิการให้เเรงเลย งั้นจังหวัดที่ไกลคนไม่อย่ากไปก็ไม่มีคนจริงไหมครับ เเต่ทุกวันนี้จังหวัดเสี่ยงภัยก็ทํานะเเต่มันไม่เเรงพอจนผมอยากไปเสี่ยงภัย อะจิหมอตั้งคนนะครับ ผมไม่หลอกตัวเองนะผมอยากช่วยคนเเต่ผมก็รักตนเองเช่นกัน

ส่งโดย: อุกี้


« ความเห็นที่ #21 เมื่อ: วันนี้ เวลา 1:39pm »

ขอรายงานผลการประชุมค่ะ

ประธานที่ประชุมคือหมอพิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ฝ่ายเลขาเสนอว่าเนื่องจากอัตราค่าปรับ ใช้มานานแล้ว และเงินเฟ้อมากขึ้น ทำให้การปรับ 400,000 บาท ไม่สามารถทำให้แพทย์ยอมทำงานในกระทรวงสธได้ จึงเสนอที่ประชุมว่าควรพิจารณาเพิ่มค่าปรับเพื่อจะได้ทำให้คนต้องทนอยู่ต่อไป มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยมีแต่คนไม่เห็นด้วย มีกรรมการเห็นด้วยเพียง 1 คน มาจากแพทย์ทหารเรือ ส่วนกรรมการจากแพทยสภาคือหมอสมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล และดิฉันได้ช่วยกันแสดงเหตุผลต่างๆที่ไม่เห็นด้วย โดยได้เสนอว่า สำหรับน้องใหม่ลาออกมาก เพราะปีนี้ต้องจับฉลากคือใช้ทุนปี1จบก็ต้องจับฉลากสำหรับปี 2อีกปี และไม่สามารถหาต้นสังกัดไปเรียน รวมกับความคับข้องใจอื่นๆอย่างที่เราทราบกัน และดิฉันก็บอกว่านศพ.นั้นไม่เคยได้ทุนเรียน จึงไม่ควรถูกเรียกว่าใช้ทุน และไม่ควรขึ้นค่าปรับ เปรียบกับทุนกพ. หรือน.ศ.พ.ทหารที่ได้ทุนเรียนจริงๆ จึงสมควรเรียกให้ชดใช้ทุน และกรรมการจากกพ.ก็ยอมรับว่าพากเราแพทย์ทั้งหลายไม่เคยได้ทุนเรียนแพทย์ แต่การขาดแคลนแพทย์ ทำให้รัฐบาลหาช่องทางบังคับแพทย์โดยวิธีบอกว่า ถ้าไม่ทำงานให้รัฐต้องจ่ายเงิน โดยที่ไม่เคยได้ทุนจริงๆ
ฉะนั้นจึงไม่สมควรขึ้นค่าปรับ กระทรวงควรไปหาข้อมูลสาเหตุการลาออกมาแล้วมาเข้าที่ประชุมใหม่

ดิฉันได้เสนอว่า ถ้าอยากขึ้นค่าปรับ ก็ให้แบ่งนศพ.เป็น 2 พวก คือพวกแรก เรียนฟรีหมดและมีเงินเบี้ยเลี้ยงเวลาขึ้นทำงานบนwardและได้บรรจุเป็นข้าราชการตั้งแต่เป็นนักเรียนปี2เหมือนนศพ.ทหารพวกนี้ไม่ให้ใช้ทุน อีกพวกหนึ่งที่ไม่อยากถูกบังคับ ก็ให้จ่ายค่าเล่าเรียนเหมือนนักศึกษาในคณะอืนๆของรัฐบาลไม่ใช่จ่ายแพงเหมือน คณะแพทย์เอกชน คือจ่ายเงินเรียนเหมือนักศึกษาคณะอืนๆของรัฐบาล (แบบที่เราต้องจ่ายอย่างปัจจุบันนี้) พวกนี้ไม่ต้องเสียค่าปรับและไม่ต้องมีสัญญาผูกพัน

ประธานที่ประชุมบอกว่าบางเรื่องเขาไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการก้าวก่ายหน่วย งานอื่น แต่ดิฉันเห็นว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องประสานงาน กับหน่วยงานอื่นๆเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ยังอยากทำงานกับกระทรวงสาธารณสุ ข ไม่ใช่คิดหาแต่วิธีลงโทษ หมอพิพัฒน์ก็ยอมรับว่ากระทรวงผิดพลาดในการจัดสรรแพทย์ใช้ทุนปี 47 และให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องการจะเพิ่มค่าปรับออกไปก่อน โดยจะให้สวรส(สำนักงานปฏิรูประบบสาธารณสุข) เป็นผู้วิจัยสาเหตูการลาออกของแพทย์เพื่อจะได้เสนอแนวทางแก้ไขต่อไป โดยเขาไม่ยอมรับผลการวิจํยของแพทยสภา เขาว่าจะหาคนที่เป็นกลางมาศึกษาวิจัย

ปัญหาความล้มเหลวในวงการแพทย์ไทย อยู่ที่ใคร ช่วยตอบที

ส่งโดย: หมอเชิดชู


« ความเห็นที่ #23 เมื่อ: วันนี้ เวลา 3:38pm »

ขอบคุณ พี่เชิดชู ..............

พวกเราก็พอได้รู้มั่งแล้วว่า ใครเป็นไง ................... เรื่องนี้อย่างน้อยก็ยังดีที่มี พี่ ๆ อาจารย์ ช่วยเหลือและเข้าใจ และ เราก็ได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ใครคิดอย่างไรบ้าง ............

เราจะจำไว้
ส่งโดย: หมอหมู


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:04:16 น.  

 

หัวข้อ 7595: จำนวนชั่วโมงการทำงานของแพทย์สธ. (จำนวนคนอ่าน 157 ครั้ง)

ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Working Hours of Physicians in Thai Public Hospitals
ฉันทนา ผดุงทศ, คนึงนิจ นิชานนท์, ภัทรินทร์ คณะมี
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สนับสนุนโดยแพทยสภา)

บทคัดย่อ

คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ แพทยสภา ได้จัดให้มีการสำรวจข้อมูลการปฏิบัติงานของแพทย์ในภาคราชการ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมาตรฐานการทำงานของแพทย์ โรงพยาบาลที่ทำการสำรวจข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนขนาด 120, 90, 60, 30 และ 10 เตียง ขนาดละ 1 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถาม การสังเกตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ ข้อมูลการสำรวจประกอบด้วย ระยะเวลาที่แพทย์ใช้ในการตรวจผู้ป่วยนอกแต่ละราย, จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ของแพทย์ และปัจจัยที่อาจมีผลต่อชั่วโมงทำงานของแพทย์

ผลการสำรวจพบว่าผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ได้รับการตรวจ ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที โดยแพทย์ใช้เวลาตรวจผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ย 4 นาทีต่อราย และพบว่าแพทย์ 154 คนจากโรงพยาบาลที่ทำการสำรวจ มีชั่วโมงการปฏิบัติงานเฉลี่ย 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยแพทย์โรงพยาบาลขนาด 120 เตียงปฏิบัติงานมากที่สุดและมีเวลาพักน้อยที่สุด (เฉลี่ย 128 และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ขณะที่แพทย์โรงพยาบาลทั่วไปปฏิบัติงานและพักโดยเฉลี่ยเท่ากับกับแพทย์โรงพยาบาล 10 เตียง (122 และ 46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แพทย์ปฏิบัติงานหนัก คือ การจัดระบบหมุนเวียนปฏิบัติงาน (คำสำคัญ : ชั่วโมงทำงาน, แพทย์, โรงพยาบาลรัฐบาล)

ข้อสรุปที่สำคัญที่ได้จากการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ คือ แพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกขนาด (1) ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีในการตรวจผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่ (2) มีชั่วโมงการปฏิบัติงาน 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 56 ของเวลาทั้งหมดหรือ อีกนัยหนึ่งมีเวลาพักเพียงไม่เกินร้อยละ 40 ของเวลาทั้งหมดใน 1 สัปดาห์

ประเด็นที่น่าสนใจมากไปกว่าจำนวนชั่วโมงที่แพทย์ต้องปฏิบัติงาน คือ การต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องโดยมีเวลาพักไม่เพียงพอ เช่น การอยู่เวรติดต่อกัน 36 ชั่วโมง แม้จะเป็นเวรที่สามารถพักได้ (on call) เพราะแพทย์มีโอกาสที่จะเกิดความเหนื่อยล้าอันอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป ่วย เช่น การสั่งการรักษาผิดพลาด และอันตรายแก่ตัวแพทย์เอง เช่น เกิดอุบัติเหตุจราจรขณะเดินทางกลับที่พัก (12) อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลครั้งนี้สะท้อนเพียงจำนวนชั่วโมงที่ต้องอยู่เวร แต่ยังไม่ได้วิเคราะห์ละเอียดว่าเป็นการอยู่เวรอย่างต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมง เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดในแต่ละสัปดาห์


• จำนวนผู้ป่วยนอก โดยทั่วไปแล้ว การจัดจำนวนแพทย์เพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มักใช้ข้อมูลจำนวนเตียงของโรงพยาบาล ซึ่งสะท้อนจำนวนผู้ป่วยในเป็นตัวกำหนด แต่บางโรงพยาบาลมีจำนวนเตียงไม่มาก แต่มีผู้ป่วยนอกไปรับบริการจำนวนมาก โดยเป็นประชากรแฝง ประชากรต่างด้าว หรือประชากรต่างอำเภอที่ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลแต่อยู่ใกล้โรงพยาบาล พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ป่วยอื่นๆที่จำเป็นต้องไปรับบริการได้เฉพาะตอนเย็นหรือตอนเช้า ทำให้แพทย์ต้องตรวจผู้ป่วยนอกด้วยความรวดเร็วมากขึ้นและบางครั้งต้องตรวจนาน เกินกว่าเวลาปฏิบัติงานปกติเพื่อตรวจผู้ป่วยให้หมดในแต่ละวัน เช่น ต้องออกตรวจ extended OPD ช่วงเวลา 7.30 – 8.30 น. หรือ 16.30 – 20.00 น.


• นโยบายการตรวจผู้ป่วย หลายโรงพยาบาลกำหนดให้แพทย์ต้องตรวจผู้ป่วยทุกรายที่มารับบริการ ไม่ว่าจะในหรือนอกเวลาทำการปกติ ขณะที่บางโรงพยาบาลจัดให้พยาบาลเวชปฏิบัติตรวจผู้ป่วยแทนแพทย์ ซึ่งประการหลังนี้ ทำให้แพทย์สามารถมีเวลาตรวจผู้ป่วยได้นานขึ้นบ้าง มีจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ลดลง หรือมีจำนวนชั่วโมงการอยู่เวรที่ได้พักเพิ่มขึ้น แต่โรงพยาบาลก็อาจก่อความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามมาด้วย


ชั่วโมงการทำงานของแพทย์
โดยเฉลี่ยแล้วแพทย์ที่ได้รับการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ ปฏิบัติงาน 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าประเทศอื่น เช่น การสำรวจชั่วโมงการปฏิบัติงานของแพทย์ในประเทศนอรเวย์ในปีพ.ศ.2536 พบว่ามีค่าเฉลี่ย 52.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสำหรับประเทศนอรเวย์เองแล้ว ถือว่าแพทย์ปฏิบัติงานมากกว่าอาชีพอื่นถึงร้อยละ 40 (9) ขณะที่ การสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสำนักงานสถิติแรงงาน (US Bureau of Labor Statistics) ในปี พ.ศ.2547 พบว่ามากกว่าหนึ่งในสามของแพทย์ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาปฏิบัติงานมากกว่าหรือ เท่ากับ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (10) นอกจากนั้น Accreditation Council for Graduate Medical Education (ACGME) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการของแพทย์ฝึกหัดจากการมีชั่วโมงปฏิบัติงานนานเกินไป และได้กำหนดให้แพทย์ฝึกหัดทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น (11)
ผลการสำรวจยังสะท้อนให้เห็นว่า แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐบาลแต่ละขนาด มีชั่วโมงการทำงานที่แตกต่างกัน แต่การที่แพทย์โรงพยาบาลศูนย์มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์น้อยกว่าแพทย์โรงพยาบาลทั่วไป และการที่แพทย์โรงพยาบาลขนาด 120 เตียงมีชั่วโมงการทำงานมากที่สุด ทำให้สรุปได้ว่าจำนวนเตียงผู้ป่วยไม่สัมพันธ์กับชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในลักษณะเส้นตรง
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบแพทย์เฉพาะทางต่างสาขากัน พบว่าศัลยแพทย์และอายุรแพทย์มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าแพทย์สาขาอื่น ขณะที่แพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลขนาดเล็กมีจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าแพทย์ใช้ทุนในที่ปฏิบัติงานแยกแผนกในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป


โรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกประกอบด้วย โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี, โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร, โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์, โรงพยาบาลยุพราชปัว จังหวัดน่าน, โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, โรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยองและโรงพยาบาลบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การสำรวจข้อมูลประกอบด้วยการสังเกตการปฏิบัติงานของแพทย์ การจับเวลาที่แพทย์ใช้ในการตรวจผู้ป่วย ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแพทย์และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ทีมสำรวจข้อมูล ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน จากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ทีมสำรวจได้เจาะจงเลือกโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 7 แห่ง เพื่อเป็นตัวแทนโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง, 30 เตียง, 60 เตียง, 90 เตียง, 120 เตียง, โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ ทั้งนี้ อาศัยข้อตกลงเบื้องต้นว่าโรงพยาบาลขนาดเดียวกันมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าอยู่ที่ใดในประเทศไทย


ซึ่งการเก็บข้อมูลของแพทยสภาครั้งนี้ในเรื่องเวลาที่แพทย์ใช้ตรวจผู้ป่วยนั้น ไปตรงกับข้อมูลที่เก็บจาก “โครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐที่ไปเก็บข้อมูลการทำงานของบุคลากรสธ. ที่จังหวัดเชียงใหม่ ดังรายละเอียดข้างล่างนี้)

ข้อมูลเพิ่มเติม (เก็บความและเอกสารอ้างอิงจากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่1 วันที่ 21 มีนาคม 2549
โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ไปประชุมในฐานะผู้แทนแพทยสภา หลังจากนั้นไม่ทราบว่ามีการเก็บข้อมูลนอกเหนือจากจังหวัดเชียงใหม่อีกหรือยัง และไม่ทราบว่ามีการประชุมต่อเนื่องอีกหรือไม่ )

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่1 โครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ: กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โยศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ และคณะ ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลภาคสนามในจังหวัดเชียงใหม่ในเดือนมกราคม- มิถุนายน 2549 โดยเริ่มเก็บข้อมูลจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลชุมชนหางดง สถานีอนามัยตำบลหนองแก๋ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้สรุปข้อมูลจากภาคสนามดังนี้คือ
1.โรงพยาบาล/ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำหน้าที่ ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ควบคู่ไปด้วยกัน พร้อมทั้งต้องจัดการเรื่องประกันคุณภาพการให้บริการ อาทิเช่น HA หรือ PSO ซึ่งเป็นงานเอกสาร
2. โรงพยาบาลต้องสูญเสียบุคลากรไปปฏิบัติที่ PCU ด้วยอย่างน้อยครึ่งวัน
3.แพทย์มีเวลาตรวจคนโดยเฉลี่ย 2นาทีต่อ คนไข้ 1 คน

นอกจากนั้นยังได้สรุปว่า
1.โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลให้ภาระงานของแพทย์เพิ่มขึ้น และภาระงานที่มากขึ้นทำให้เวลาตรวจผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง เสี่ยงต่อความผิดพลาดเพิ่มขึ้น เกิดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากแพทย์
2.ค่าตอบแทนแพทย์ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเปรียบเทียบค่าตอบแทนแพทย์ไทยกับต่างประเทศดังนี้
ประเทศ เงินเดือน(US$) เปรียบเทียบกับประเทศไทย
จีน 242 0.37
ไทย 622 1.00
ฟิลิปปินส์ 979 1.48
มาเลเซีย 998 1.51
สิงคโปร์ 4,386 6.63
เกาหลีใต้ 4.777 7.22
ออสเตรเลีย 5,879 8.88
ฮ่องกง 1 0,184 5.38
สหรัฐอเมริกา 10.402 15.71
ญี่ปุ่น 11,011 16.63

จากโครงการนี้ได้สรุปข้อค้นพบเกี่ยวกับกำลังคนด้านสาธารณสุขดังนี้
1.ปัจจุบัน สธ.มีสูตรในการคำนวณกำลังคนที่ใช้ในโครงสร้างประชากรในแต่ละพื้นที่เป็นฐานคำนวณ โดยแยกตามประเภทของบุคลากร
2.โรงพยาบาลและสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ยังมีบุคลากรแต่ละประเภทไม่ครบตามกรอบกำลังคนที่มีอยู่ ประเภทบุคลากรที่ดูจะขาดแคลนมากกว่าประเภทอื่นคือ พยาบาลวิชาชีพ
3.โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแพทย์มากกว่าโรงพยาบาลที่ อยู่ในพื้นที่เขตเมือง
4.บุคลากรด้านสาธารณสุขมักต้องทำงานอื่นนอกเหนือจากงานหลัก โดยเฉพาะงานเอกสารทั้งหลายที่นับวันจะมากขึ้น
5.ความต้องการบุคลากรด้านสาธารณสุขแปรผันตาม 1.พื้นที่ 2.ช่วงเวลา 3.สถิติจำนวนผู้ป่วยที่อาจไม่สัมพันธ์กับพื้นที่และช่วงเวลา หรือมีประชาชนอพยพจากต่างถิ่น
6.ปัญหาด้านกำลังคนด้านสาธารณสุขของประเทศ อยู่ที่การจัดการไม่ได้อยู่ที่จำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุข
7.สิ่งที่ท้าทายผู้ที่รับผิดชอบด้านกำลังคนด้านสาธารณสุขของประเทศ คือการจัดการให้สมารถใช้กำลังคนที่มีอยู่ในประเทศเป็นประโยชน์สูงสุด

ประเด็นคำถามและข้อหารือ
1.จำนวนแพทย์ที่ขาดแคลน หากแยกเป็นสาขา จะขาดแคลนสาขาใดมากที่สุด 5 อันดับแรก
2.การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง4ประเภท(แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร) ที่ใช้คำนวณในปัจจุบันกำหนดไว้ที่ตังเลขใด มีความเหมาะสมแล้วหรือไม่
3.สูตรคำนวณที่สธ.ใช้อยู่ควรมีการปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร

แต่ผู้สรุปเรื่องนี้เห็นว่า สิ่งที่ท้าทายผู้รับผิดชอบด้านการจัดการด้านกำลังคนสาธารณสุขนั้น อยู่ที่ว่าเมื่อไหร่จะลงมือจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรรักที่จะทำงานในกระทรวงสาธารณสุข เพราะได้รับความเป็นธรรมในชั่วโมงการทำงานและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนกั บประชาชนอื่นๆในสังคม



ส่งโดย: cmu06
สถานะ: Full Member
จำนวนความเห็น: 126


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:04:44 น.  

 
ขึ้นค่าปรับแพทย์ใช้ทุนทางออก...หรือทางตัน

//www.medicthai.com/news/news_detail.php?id=2678

จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่าจะปรับเพิ่มค่าชดเชยแทนการใช้ทุนของแพทย์ ในกรณีที่แพทย์ใช้ทุนลาออกจากราชการ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาในการใช้ทุน จากเดิม 400,000 บาท เป็น 4,000,000-10,000,000 บาท ในการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาที่มีขึ้นในเดือนสิงหาคม ประเด็นนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ ซึ่งบางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากเป็นมาตรการที่เหมือนเป็นการบีบบังคับแพทย์ใช้ทุน และมองว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดอย่างแท้จริง

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวถึงที่มาของระบบแพทย์ใช้ทุนว่า "ตั้งแต่ ปี 2510 รัฐบาลได้มีมาตรการบังคับให้แพทย์ที่จบการศึกษาใหม่ทุกคนต้องออกไปทำงานรับใช้ประชาชนในชนบทเป็นเวลา 3 ปี และหากไม่ทำงานใช้ทุนก็ต้องเสียค่า ปรับ 400,000 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้จะนำเข้าไปเป็นรายได้ของคณะแพทยศาสตร์มหา วิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งผลิตนักศึกษาแพทย์คนนั้น โดยค่าปรับอัตรานี้เป็นอัตราที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งหากนับจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลา กว่า 40 ปีแล้ว"

มาตรการดังกล่าวมีผลทำให้แพทย์จบใหม่ต้องออกไปทำงานใน โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดภาระการทำงานใช้ทุนแพทย์ส่วนใหญ่มักจะลาศึกษาต่อ และเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง กรุงเทพมหานคร หรือทำงานโรงพยาบาลเอกชน และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมายังพบว่าแพทย์จบใหม่เลือกลาออกก่อนหมดสัญญาใช้ทุน โดยยินยอมที่จะจ่ายเงินแทนการใช้ทุน มากขึ้น จากเดิมปีละประมาณ 100 คนหรือมากกว่านั้นนิดหน่อย เพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 400-500 คน

ปัจจุบันประเทศไทยมีแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 700 กว่าแห่ง ประมาณ 2,900 คน และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นแพทย์ที่อยู่ระหว่างชดใช้ทุน ซึ่งแพทย์กลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบบริการผู้ป่วยในปริมาณที่มากกว่าแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ โดยแพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบ ผู้ป่วยนอกประมาณ 16,000 คน ในขณะที่แพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ศูนย์ 1 คนรับผิดชอบผู้ป่วยประมาณ 4,000 คน ถึงแม้ความยากง่ายของการรักษาผู้ป่วยจะแตกต่างกัน แต่ปริมาณของผู้ป่วยก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังต้องรองรับความ คาดหวังจากประชาชนและสังคมที่สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องที่มากขึ้น ด้วย

ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขจะพยายาม พัฒนาแรงจูงใจด้านอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาการลาออกของแพทย์ที่ปฏิบัติงานชนบท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความก้าวหน้าในทางราชการ ค่าตอบแทน บ้านพัก หรือสวัสดิการอื่น ๆ แต่ยังถือว่าทำได้น้อยมากเมื่อเทียบกับแรงจูงใจในการทำงานในเมืองหรือใน กรุงเทพมหานคร

และเพื่อเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อปี 2549-2550 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอเพิ่มค่าปรับแพทย์ใช้ทุน ที่เข้าศึกษาจากโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (ปีละประมาณ 500 คน) เป็นต้องทำงานใช้ทุน 6 ปี หรือเสียค่าปรับ 1.8 ล้านบาท และขอให้แพทย์ที่เข้าศึกษา ตามโควตาหนึ่งอำเภอหนึ่งแพทย์ (ปีละประมาณ 200 คน) ซึ่งจากเดิมต้องทำงานใช้ทุน 12 ปี หรือเสียค่าปรับ 2 ล้านบาท เพิ่มเป็นต้องเสีย ค่าปรับ 2.6 ล้านบาท

ส่วนแพทย์ที่เข้าศึกษาตามโครงการสอบเข้า มหาวิทยาลัยตามปรกติ (ปีละประมาณ 2,000 คน) ยังคงมีระยะเวลา ใช้ทุน 3 ปี หรือเสียค่าปรับ 400,000 บาทตามเดิม แต่คณะกรรมการ กลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรียังไม่เห็นด้วย และให้กระทรวงสาธารณสุขกลับมาศึกษาพัฒนาข้อเสนอใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ ในระหว่างการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข และเมื่อไม่นานมานี้ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้เสนอ ให้มีการขึ้นค่าปรับแพทย์ใช้ทุนอีกครั้ง จากเดิม 400,000 บาท เป็นอัตรา 4,000,000-10,000,000 ล้านบาท โดยจะนำเรื่องนี้เสนอในการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาที่มีขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้

กรณีดังกล่าว ศ. นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้แสดงความคิดเห็นว่า "ประเทศไทยใช้มาตรการบังคับให้แพทย์จบใหม่ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด เพื่อใช้ทุนมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งแพทย์ที่ไปใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชน 30,000 คน เหลือปฏิบัติงาน อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนไม่ถึง 10% แสดงให้เห็นว่าวิธีการใช้อำนาจบังคับไม่ได้ผล ซึ่งต้องมาคิดกันว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาได้"

"เมื่อ 40 ปีที่แล้วเราจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะแพทย์ไม่ค่อยจะมีทางเลือกมากนัก แต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ก็เริ่มมีทางเลือกมากขึ้น และยิ่งมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภาระงานของแพทย์ก็มากขึ้น ยิ่งทำให้แพทย์ลาออกมากขึ้น ซึ่งจะโทษโรงพยาบาลเอกชนก็ไม่ได้ เพราะปีหนึ่งรับแพทย์ไม่กี่คน หรือจะโทษโครงการ Medical Hub ก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ใช้แพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศเท่านั้น"

ศ. นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า "สิ่งที่น่าจะเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ อยู่ในชนบทได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ค่าตอบแทนเพียงปัจจัยเดียวคงไม่ใช่คำตอบ แต่การส่งแพทย์จบใหม่ไปทำงานโดยที่แพทย์เหล่านั้นรู้สึกว่า ยังไม่มีความสามารถพอ ขณะที่ภาระงานมากขึ้น ซึ่งมีอัตราสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนว่าหากภาระงานมากขึ้นโอกาสเสี่ยงต่อการ ถูกฟ้องร้องก็จะมากขึ้นตามไปด้วย และในปัจจุบันก็มีกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย ฟ้องร้องแพทย์ได้ง่ายขึ้นออกมาอีก ประกอบกับสวัสดิการต่าง ๆ ความปลอดภัย โอกาสในการศึกษาต่อยังไม่ดีพอ และเมื่อมีครอบครัวปัญหาเรื่องโรงเรียนของลูกก็จะตามมาอีก สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจลาออกจากโรงพยาบาลชุมชน"

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหา ศ. นพ.สมศักดิ์ แนะนำว่า "รัฐบาลควรจะใช้ระบบแรงจูงใจมากกว่าการบีบบังคับ โดยเข้าไปดูแลความปลอดภัย โอกาสในการศึกษาต่อ และเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ และแทนที่จะใช้วิธีจับฉลากใช้ทุนเหมือนในปัจจุบัน ควรเปิดโอกาสให้แพทย์ศึกษาจนได้เป็น แพทย์ประจำบ้านก่อน แล้วจึงประกาศรับสมัคร ซึ่งหากให้เงินเดือนสูง สวัสดิการดี มีบ้านพักอย่างดี แพทย์ก็จะสมัครใจไปทำงานเอง"

"นอกจากวิธีการดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลยังควรจัดระบบใหม่ให้เป็นระบบเครือข่าย โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ไม่ใช่โรงพยาบาลชุมชนอยู่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัดอยู่เดี่ยว ๆ ไม่ประสานงานกัน ส่วนในระดับหมู่บ้านควรใช้พยาบาลดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชนเปลี่ยนเป็นแบบโพลีคลินิก หากต้องผ่าตัดหรือ Admit ก็ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาล ศูนย์ (ในกรณีที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือในพื้นที่มีประชากรที่ต้องดูแลมากอาจจะมีโรง พยาบาลชุมชนที่เหมือนโรงพยาบาลจังหวัดเพิ่มได้) และ มี Center สำหรับรักษาเฉพาะโรค มีแพทย์หลายคนช่วยกันทำงานเป็นทีม มีเครื่องมือครบและมีความชำนาญ ซึ่งระบบนี้จะประหยัดกว่า และสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีกว่าการหาซื้อเครื่องมือให้ทุกโรงพยาบาล และรัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายที่มีช่องโหว่ให้ผู้ป่วยฟ้องร้องแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเข้าใจว่ากฎหมายเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่ดี แต่เอื้อให้ผู้ป่วยฟ้องร้อง ผู้ให้บริการทางการแพทย์มากขึ้น อายุความก็นาน ทำให้แพทย์เสียกำลังใจ เสียเวลา"

"ขณะนี้เด็กเก่ง ๆ ก็ตัดสินใจเรียนต่อแพทย์น้อยลง เพราะมีทางเลือกอย่างอื่นมากขึ้น หากยิ่งมีการเพิ่มค่าปรับแพทย์ใช้ทุน ซึ่งนอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างตรงจุด ใน ขณะที่มีปัญหาการฟ้องร้องมากขึ้นอาจส่งผลกระทบทำให้เด็กเก่ง ๆ ไม่อยากเรียนแพทย์ ซึ่งอาจยิ่งทำให้แพทย์ขาดแคลนและด้อยคุณภาพ ลงด้วย"

"โดยส่วนตัวแล้วไม่ชอบการแก้ไขปัญหาแบบ Negative เพราะอาจจะได้ผลในระยะสั้นแต่ระยะยาวจะไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นแทนที่จะบังคับน่าจะเปลี่ยนมาเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ ซึ่งน่าจะได้ผลมากกว่า" ศ. นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ด้าน รศ. นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ให้ความเห็นว่า "การเพิ่มค่าปรับแพทย์ใช้ทุนคงไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ ถูกต้อง แต่คงต้องกลับไปคิดว่าทำไมแพทย์ถึงเลือกที่จะลาออกมากขึ้นในช่วงหลัง ซึ่งประเด็นที่ทำให้แพทย์ที่ปฏิบัติงานในชนบททั้งแพทย์ใช้ทุนที่เลือกเสีย ค่าปรับแทนการใช้ทุน หรือการที่แพทย์ชนบทเลือก ที่จะลาออกมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน เช่น ความเป็นอยู่ หรือสถานที่ทำงาน ซึ่งบางโรงพยาบาลในชนบทเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังเป็นเหมือนเดิม ทั้งหอพัก ห้องตรวจ ความสะดวกสบาย ภาระงานของแพทย์ก็มากขึ้น ในขณะที่จำนวนแพทย์มีเท่าเดิม ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และปัจจุบันการฟ้องร้องแพทย์ก็มีมากขึ้น เพราะความคาดหวังของผู้ป่วยสูงขึ้น ทุกคนมาโรงพยาบาลคิดว่าต้องหายป่วยทุกคน นอกจากนั้นยังคาดหวังให้แพทย์บริการดี ดูแลอย่างรวดเร็ว และพูดคุยนาน ซึ่งขัดกับสภาพความเป็นจริงที่แพทย์มีจำนวนน้อย

ประกอบกับการออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยฟ้องแพทย์ได้ง่ายขึ้น ทำให้อัตราการฟ้องร้องมีสูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นโอกาสในการศึกษาต่อเมื่อใช้ทุนครบ 3 ปีแล้วก็น้อย แพทย์ต้องขวนขวายหาต้นสังกัด ต้องหาตำแหน่งที่จะรองรับ ซึ่งมักมีไม่เพียงพอ แพทย์ที่อยากศึกษาต่อก็ต้องลาออก ทั้ง ๆ ที่อยากทำงานในภาครัฐต่อไป"

สำหรับระบบการศึกษาของประเทศไทยจะไม่รับ Free Train ที่ยังใช้ทุนไม่ครบมาศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง ยกเว้นสาขาที่ขาดแคลน เช่น จิตเวช พยาธิวิทยา หรือนิติเวช ส่วนสาขาอื่น ๆ ต้องไปศึกษาต่อ ในต่างประเทศเท่านั้น เพราะฉะนั้นแพทย์ที่ใช้ทุนไม่ครบหากไม่ไปศึกษาต่อต่างประเทศก็อาจจะออกไป อยู่คลินิก หรือออก OPD ซึ่งค่าตอบแทนไม่สูงมากนัก หรือไม่ก็ไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนมักจะรับแต่แพทย์ที่มีประสบการณ์สูง แพทย์กลุ่มนี้จึงไม่มีทางเลือก มากนัก

"ผมคิดว่ากระบวนการทั้งหมดนี่คือปัญหา ปัญหาการผลิตแพทย์ของประเทศซึ่งมันหลงทางแล้วก็มาพิจารณาแต่ว่าไม่มีแพทย์ไป ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เพราะยอมจ่ายเงินก็เลยจะขึ้นค่าปรับใช้ทุนโดยไม่ดูที่ต้นเหตุ ซึ่งหากพิจารณาจริง ๆ ก็จะรู้ว่าแพทย์ที่ผลิตได้ในปัจจุบันปีละ 2,000 กว่าคน หากใช้ทุนไม่ครบ 3 ปีจะไปไหนไม่ได้ โรงพยาบาลเอกชนก็ไม่รับ อนาคตคลินิกก็จะไม่มีแล้ว บางคนต้องเปลี่ยน อาชีพไปเลย เพราะฉะนั้นประเทศชาติจะเสียโอกาสตรงนี้"

"สำหรับวิธีการในการแก้ไขปัญหาคิดว่าใช้ระบบเดิมก็ดีแล้ว แต่ต้องให้แพทย์มีอิสระเมื่อใช้ทุนรัฐบาลได้แล้ว และหากอยากให้แพทย์คนหนึ่งใช้ทุนนาน ๆ ก็ต้องหาวิธีอื่น ไม่ใช่การเพิ่มค่าปรับใช้ทุน ตัวอย่าง เช่น การให้เงินเดือนหรืออายุราชการตั้งแต่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ซึ่ง เมื่อแพทย์คนหนึ่งปฏิบัติงานใช้ทุนครบ ก็จะมีอายุราชการ 9 ปี เขาก็จะไม่ลาออกง่าย ๆ เหมือนทหารและตำรวจ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ต้องไปแก้ไขส่วนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งได้แก่ ความเป็นอยู่ และค่าตอบแทนแพทย์ ซึ่งควรใกล้เคียงกับภาคเอกชนมากกว่านี้ นอกจากนั้นก็คือการฟ้องร้อง ในด้านของสื่อมวลชนและการออกกฎหมายอย่าคิดแต่ว่าต้องให้การคุ้มครอง ผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความคุ้มครองผู้ให้บริการด้วย ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการแก้ไขเรื่องเหล่านี้แล้วยังขาดแคลนแพทย์ ในชนบทอยู่อีกค่อยมาพิจารณาเรื่องเพิ่มค่าปรับ ใช้ทุนกันใหม่"รศ. นพ.อดิศร กล่าว

ส่วน นพ.อำพล ให้ความเห็นว่า "การแก้ปัญหาแพทย์ไม่ออกไปทำงานในชนบท หรือแพทย์จบใหม่ใช้เงินแทนการทำงานในชนบทเพื่อกลับเข้าเมืองเร็วกว่าระยะ เวลาในสัญญาเป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังมานาน และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศที่มีช่องว่างระหว่างเมือง กับชนบทมาก ยิ่งปัจจุบันแพทย์ต้องรองรับภาระงานหนักของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในขณะที่การแพทย์ในเมืองเติบโตมาก และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับแพทย์ก็ สั่นคลอน จึงมีผลทำให้แพทย์ใช้ทุนไหลออกจากชนบทมากและเร็วยิ่งขึ้น"

"การแก้ปัญหานี้ไม่สามารถทำได้โดยมาตรการเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเพิ่มค่าปรับใช้ทุน หรือมาตรการเดี่ยวอื่น ๆ แต่ควรพิจารณามาตรการหลายอย่างควบคู่ กันไป เช่น แนวคิดการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมชั่วคราวเฉพาะพื้นที่ในช่วงแรกของการทำงาน

แนวคิดการกำหนดเวลาใช้ทุนและ ค่าปรับใช้ทุนแพทย์ให้แตกต่างกันระหว่างแพทย์ที่สอบเข้าตามระบบปรกติกับที่ เข้าศึกษาด้วยระบบพิเศษ ที่กระทรวงสาธารณสุขเคยเสนอ ในปี 2549-2550 ก็น่าจะนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของระบบที่แตกต่างกัน เช่น แพทย์ที่รับตรงจากชนบทด้วยระบบคัดพิเศษเพื่อผลิตให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนา ของตนเองเป็นหลัก เป็นการสร้างความเป็นธรรมต่อคนในชนบทในการเข้าศึกษา ก็ควรกำหนดระบบทำงานใช้ทุนที่มีความจำเพาะเป็นเวลาที่นานขึ้น เช่น 6-10 ปี ไม่นำมารวมกับแพทย์ที่เข้ามาศึกษาตามระบบปรกติ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ควรมีมาตรการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ครบถ้วนไปพร้อม ๆ กันด้วย"

ด้าน นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกำลังคน ด้านสุขภาพแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า "เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องรับผิดชอบจัดบริการสาธารณ สุขให้คนทั่วประเทศ แต่ต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างหนักและเรื้อรังมาโดยตลอด แต่การ แก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรการต่าง ๆ อย่างรอบด้านไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดนโยบายและวางแผน การผลิตและการพัฒนาต่อเนื่อง การกำหนดมาตรการค่าตอบแทน สวัสดิการ และการสนับสนุนอื่น ๆ ซึ่งต้องมีการศึกษาวิจัยรองรับอย่างเพียงพอด้วย"

"ผมมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องปิดกิจการ ตอนนั้นแพทย์จะไหลกลับเข้ามาสู่ภาครัฐ ดังนั้น ในช่วงปี 2547-2550 ที่แพทย์ ในชนบทลาออกมากอาจจะเป็นเพราะว่าประเทศ ไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง

นอกจากนั้นการที่ในระยะหลังรัฐบาลส่งเสริมให้มีบริการทางการแพทย์มากขึ้น เช่น Medical Hub ก็อาจจะเป็นตัวเร่งอย่างหนึ่งให้แพทย์อาวุโส ที่มีประสบการณ์มากลาออกไปอยู่ภาคเอกชน ซึ่งเรื่องนี้อาจไม่มีผลกระทบกับการลาออกของแพทย์ชนบทเท่าใดนัก แต่บางท่านก็บอกว่ามันเป็นเรื่องของการกระทบชิ่ง คือเมื่อแพทย์อาวุโสลาออก แพทย์อาวุโสน้อยก็ต้องมาแทนแพทย์อาวุโสมาก และแพทย์ชนบทก็ต้องย้ายออกมาเพื่อแทนที่แพทย์อาวุโสน้อย"

"ส่วนในด้านสภาพการทำงาน ระยะหลัง ๆ เราจะพบแรงกดดันของแพทย์ที่ทำงานในภาครัฐค่อนข้างมาก เช่น ภาระงาน ความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้แพทย์ลาออกคือภาระงานเมื่อเปรียบ เทียบกับค่าตอบแทน คือในปริมาณงานขนาดเดียวกัน แพทย์จะได้ค่าตอบแทนมากกว่าหากอยู่ในภาคเอกชน และความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องก็มีน้อยกว่า เพราะหากปริมาณงานมากโอกาสผิดพลาดก็จะสูงขึ้น และโอกาสที่จะถูกฟ้องร้องก็สูงขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนั้นก็จะเป็นสวัสดิการอื่น ๆ เช่น การศึกษาของบุตร ซึ่งหากแพทย์ทำงานอยู่ในชนบทขณะที่ลูกหลานขาดสถานที่ศึกษาที่ดีก็เป็นปัจจัย ที่ทำให้เขาตัดสินใจลาออกเพื่อที่จะไปอยู่กับครอบครัว และให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพดี ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของความไม่เท่าเทียมกัน เมื่อมีความไม่เท่าเทียมกันทางด้านสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ เกิดขึ้น แพทย์ก็จะไหลมากระจุกอยู่ในที่ที่มีโอกาสพร้อมมากกว่า เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาเพียงด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่ได้แก้ไขปัญหาด้าน อื่น ๆ ก็คงไม่ใช่คำตอบที่ทำให้แพทย์ตัดสินใจที่จะอยู่ในชนบทต่อไป"นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าว

มาตรการเพิ่มค่าปรับแพทย์ใช้ทุนตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ อาจเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้แพทย์ต้องปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนนานขึ้น อย่างไรก็ตาม หากปัญหาอื่น ๆ ที่เรื้อรังมานานยังไม่ถูกแก้ไข การเพิ่มค่าปรับแพทย์ใช้ทุนเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีนักสำหรับ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์




โดย: หมอหมู วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:01:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]