Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แพทยสภากำหนดเวลาเข้าเวรหมอภาครัฐ .. ดีต่อหมอ ดีต่อผู้ป่วย แต่ แพทยสภาโดนถล่ม ?





 

 

 

 

แพทยสภากำหนดเวลาเข้าเวรหมอภาครัฐไม่ควรเกิน 40 ชม./สัปดาห์ อายุ 55 ควรได้สิทธิ์งดอยู่เวร

Sun, 2017-10-15 13:37 -- hfocus

แพทยสภาออกประกาศกรอบเวลาทำงานของแพทย์ภาครัฐ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ นอกเวลาราชการ ไม่ควรเกิน 40ชั่วโมง/สัปดาห์ และเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกันขณะที่แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรได้รับสิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ

 

เมื่อวันที่12 ตุลาคม 2560 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา ลงนามในประกาศแพทยสภาที่104/2560 เรื่อง การกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ โดยระบุว่า

ด้วยปรากฎว่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับของสถานพยาบาลของรัฐมีภาระงานหนักทำให้มีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอมีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) แห่งพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9/2560วันที่ 14 กันยายน 2560 ให้ออกประกาศแพทยสภา เรื่องแนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานพยาบาลภาครัฐจัดอัตรากำลังและระบบการทำงานของแพทย์ให้สอดคล้องเหมาะสมดังนี้

ข้อ1 แพทย์เพิ่มพูนทักษะ

ชั่วโมงการทำงานของแพทย์นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์

ระยะเวลาการทำงานเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่ควรเกิน16 ชั่วโมงติดต่อกัน

ข้อ2 แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรได้รับสิทธิ์งดอยู่เวรนอกเวลาราชการ

 

จึงประกาศให้ทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน

 

https://www.hfocus.org/content/2017/10/14718

https://www.matichon.co.th/news/694024

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

IttapornKanacharoen

ประกาศแพทยสภาฉบับที่๑๐๔/๒๕๖๐

ลงวันที่๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐

เรื่องการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐโดยเป็นมติจากการประชุมกรรมการแพทยสภาวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐และมารับรองรายงานการประชุมและลงนามในวันนี้

วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนที่มารับบริการในภาครัฐและ ปรับภาระงานแพทย์จบใหม่ในปี ๑ และแพทย์สูงอายุในการปฏิบัติงานนอกเวลาให้เหมาะสมโดยอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตแพทย์ เสนอต่อกรรมการแพทยสภาแพทยสภาเห็นชอบจึงมีมติออกแนวทางปฏิบัติ ฉบับที่ ๑ ดังภาพโดย ศาสตราจารย์นพ.ดร.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา

หนังสือนี้จะเวียนให้ทุกหน่วยภาครัฐที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

๑๒ตุลาคม ๒๕๖๐

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1587268591333941&set=a.371903056203840.84362.100001524474522&type=3&theater

 

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

ความเห็นส่วนตัว.. แนวคิดเรื่องการจำกัดเวลา ที่แพทยสภาประกาศ

๑.ใช้เป็นหลักฐาน อ้างอิง เวลามีปัญหา จะได้อ้างได้ว่า ทำงานหนักมากกว่ามาตรฐานที่แพทยสภากำหนดไว้

๒.แพทยสภา ไม่สามารถบังคับ ให้หน่วยงานอื่น ทำตามได้ (เรียกร้องได้ แต่บังคับไม่ได้)

๓.ที่เหลือ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ทั้งหลายใน รพ.รัฐ จะทำอย่างไรต่อ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับแพทย์ที่ไม่เต็มร้อยจากการทำงานหนักต่อเนื่องยาวนานกว่ามนุษยธรรมดา แบบที่ผ่านมา (และจะยังเป็นต่อไป ? )

 

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือแพทยสภา โดนถล่ม ?

ผม อาจ มองในแง่ดี คือมีการกำหนด มาตรฐานขึ้นมา เพื่อใช้ในการอ้างอิง ส่วนว่า ใครจะทำได้ ไม่ได้แค่ไหน ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละที่แต่ละคน (เหมือนกับมาตรฐานอื่น ๆที่มีทั้งผู้ที่ทำได้ และผู้ที่ทำไม่ได้)

ถ้าเป็นโรงงานมีประกาศมาตรฐานการทำงานของพนักงาน แล้วพนักงานเห็นว่าตนเองทำงานหนักกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ พนักงานก็จะไปเรียกร้องกับ นายจ้างเจ้าของโรงงาน ... ให้ลดปริมาณงาน หรือเพิ่มค่าจ้าง
 
แต่สำหรับแพทย์บางท่าน แทนที่จะไปเรียกร้องกับ " กระทรวงสาธารณสุข" ให้ทำตามมาตรฐานของแพทยสภา กลับไปต่อว่าแพทยสภา ผมเลยรู้สึกว่ามันแปลก ทั้งที่มาตรฐานนั้น ดีต่อการทำงานของแพทย์ แต่แพทย์บางท่าน กลับไม่เห็นด้วย ?

..............................................


รีบเกินไปพาวินิจฉัยโรคพลาด ผละจาก งานยุ่งเพื่อที่จะมี เวลาคิด https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=7&gblog=203

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ'คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน' ... เดลินิวส์ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2017&group=27&gblog=21

ผมท้าครับ มาลองปฏิบัติงานร่วมกับพวกเราดูเผื่อความดราม่าของคุณจะลดลงได้บ้าง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2017&group=27&gblog=1

อยากเรียนหมอ ชีวิตแพทย์ รพ.รัฐ และแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ... รู้ว่าเป็นหมอเหนื่อย แล้วมาเป็นหมอทำไม ??? https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=16-07-2017&group=27&gblog=25

สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดกับการรักษาพยาบาลไทย : SomsakTiamkao https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-09-2017&group=29&gblog=35

ดราม่าหมอมากมาย กับกำลังใจที่หดหายสังคมกำลังลงโทษแพทย์? แน่ใจเหรอว่าแพทย์เลวทุกคน? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-05-2015&group=27&gblog=5


***********************************

Free Medical Book Thailand #FMBT

แนวทางการกำหนดภาระงานของแพทย์
1. ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ภาครัฐไม่ควรเกิน 80 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ควรมีวันหยุดอย่างน้อย 2 วัน/ สัปดาห์
3. ระยะเวลาเวรปฏิบัติการ ไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมง
4. ถ้าระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง ต้องมีเวลาหยุดพัก 8 ชั่วโมง
5. การอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ไม่ควรเกิน 7 เวร/เดือน
6. การตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ควรใช้เวลาประมาณ 5 นาที/คน (12 คน/ ชั่วโมง)
7. แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี เป็นต้นไป ควรงดอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
...
Guideline for Thai Physician’s Work Time Regulation
https://he02.tci-thaijo.org/…/article/download/125530/95064/
คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ แพทยสภา
________________
Blog แชร์หนังสือ แนวทางเวชปฏิบัติ Guideline ต่างๆ
https://free-medicalbook-thailand.blogspot.com/




Create Date : 15 ตุลาคม 2560
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 17:05:40 น. 0 comments
Counter : 2265 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]