เถียง ๒๕๒๘ ตอน ปุ๋ยเคมี
    สมัย 30 กว่าปีมาแล้ว เราใช้ "ฝุ่น" หรือ ปุ๋ยคอกจากขี้ควาย ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้หมู ซึ่งเลี้ยงไว้เองหรือไปซื้อจากคนอื่นๆมา ราคาไม่แพง ขอบ้าง ซื้อบ้าง หรือเก็บเอาตามถนนบ้างก็มี (ตอนเช้าๆจะถือคุถังไปตระเวนตามไปถามหรือทางเกวียน หากมีขี้ควายหรือขี้วัว ก็จะตักเอามาที่บ้านเรากองๆเอาไว้เป็นฝุ่นต่อไป เจ้าของเขาไม่ว่านะ เพราะมันขี้เองในทางส่วนรวม) เอาไปใส่นาทีละหลายคันรถ "แก่ข้าว" (เป็นรถสี่ล้อ ใหญ่กว่ารถกะบะ เล็กกว่ารถหกล้อ เราเรียกว่า "รถแก่ข้าว" ) เพราะเราเอาไว้แก่ข้าวหรือรับจ้างแก่ข้าว จากลานกลางทุ่งหรือเถียงกลางทุ่งเข้ายุ้งข้าวในบ้านของเรา
    จำได้ว่าทุกหน้าแล้งพวกเราต้องช่วยกัน "ขนฝุ่น" และกิ่งไม้ต่างๆ ที่เป็นปุ๋ยได้เอาไปใส่นาทุกปีไม่ได้ขาด เพื่อให้ข้าวของเราสวยงาม ได้เม็ดดี พร้อมกับหญ้าก็สวยงามด้วยละ เราก็ใส่ฝุ่นกันแบบนี้มาตลอด ตั้งแต่เด็กที่จำความได้ จึงมีคำที่เกี่ยวกับฝุ่นหลายคำ เช่น ขนฝุ่น กองฝุ่น ยายฝุ่น ใส่ฝุ่น ฝุ่นเปียก ฝุ่นแห้ง เป็นต้น
       จนกระทั้งเราอยู่ ม.ต้น ก็ได้เริ่มมีการใส่ "ปุ๋ยเคมี" ในนาข้าวซึ่งไม่รู้ว่าใครมาสอนหรือมาบอก อาจจะเป็นเพราะได้รับการบอกต่อกันมาหรือได้เห็นบทเรียนว่า ใส่ปุ๋ยยูเรีย (ปุ๋ยเคมี สูตร 40-0-0 ประมาณนั้น) ทำให้ผักสวนครัวที่ปลูกเอาไว้ขายนั้นมันเขียว และเติบโตเร็วดีก็ได้ เลยลองเอาไปใส่ในนา พอได้ผลดีก็มาบอกต่อๆกันไป  ก็เป็นไปได้
      จากนั้นมาก็เอายูเรียไปหว่านนาข้าว  ทีหนึ่งหลายกระสอบ ต้องหาบต้องแบกกระสอบหรือยูเรียตะลุยไปกับน้ำ คันแท ทางเกวียน ไปเรื่อยๆ หลายกิโลเมตรกว่าจะถึงนาเรา และหลายเที่ยวมากด้วยกว่าจะหว่านหมดหรือทั่วนา แถมตอนหว่านก็ต้องหว่านก่อนที่น้ำจะท่วมหรือน้ำแก่งแตก และหว่านหลังฝนตกแล้วพอดินชุ่มๆหรือมีน้ำขังหน่อยกำลังดี หากหว่านปุ๋ยดินแห้งๆเขาไม่ทำกันว่าอย่างนั้น คือ ต้อง "เอาหุ่น" ก่อนที่จะหว่านปุ๋ย ทำไมนะหรือก็หญ้าจะได้ไม่มาแย่งข้าวกินยูเรียงัยละ มิน่าละไม่ใส่ปุ๋ยตอนที่หน้าแล้งเหมือนใส่ฝุ่น เพราะหญ้าจะงามกว่าข้าวนี่เอง 
             วิธีการหว่านปุ๋ยก็เอามือกำเอาแล้วเหวี่ยงออกไปตามทุ่งนา หนาหรือบางเอาที่ปริมาณกปุ๋ยที่มีหรือเงินที่มีซื้อปุ๋ย "หว่านหนา" ก็งามเร็วและไว มากว่า "หว่านบาง" อย่าถามว่าสวมถุงมือมัย ไม่ครับ ไม่ได้สวมเอาแบบเพียวๆนั้นละนะ เพราะเราไม่รู้ว่ามันเป็นอันตรายหรือไม่ได้คิดว่ามันอันตรายมัยนะ คิดได้ว่า มันอย่า "กัดมือ" ก็พอ 
     ช่วงของการใช้ปุ๋ยเคมีแรกๆนั้น เกิดข้อโต้แย้งหรือถกเถียงกันอย่างมากว่า "มันเป็นอันตรายต่อคน ต่อปลา ต่อสัตว์น้ำ ทำให้ดินแข็ง ทำให้ดินเสื่อม" ประมาณนี้ แล้วก็เกิดเหตุการณ์แบบนั้นในช่วงนั้นหลายๆเหตุการณ์ เช่น มือเป็นตุ่ม เท้าเป็นตุ่ม ปลาเป็นแผล ปลาตาย เป็นต้น ทำให้ชาวนาที่เชื่อแบบนั้นก็ยิ่งเชื่อมากขึ้น  ส่วนเรื่องทำให้ข้าวงามดี เจริญเติบโต เขียว เห็นผลเร็ว นั้นทุกคนเห็นชอบหรือเห็นตรงกันว่าจริง แต่ผลกระทบด้านอื่นๆ จะ 
    สุดท้ายจึงเกิดคำใหม่ๆขึ้นมา เช่น ยูเรีย ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยหมาก หาบปุ๋ย ใส่ปุ๋ย หว่านปุ๋ย ปุ๋ยกัดมือ ปุ๋ยกัดตีน เป็นต้น  นี่คือ คำที่เกิดขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมี ตั้งแต่นั้นมา 
      พอการใช้ปุ๋ยมากๆและถี่เข้าทุกปี พวกเราก็ชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะมันสะดวก สบาย หว่านง่าย ใช้เวลาไม่นาน โตไว ส่วนผลเสียของมันนะหรือยังไม่มีคนมาบอกให้ชัดเจนว่าอะไรบ้าง จนสุดท้ายพวกเราก็ใช้ปุ๋ยเคมีกันเป็นปกติในวิถีการทำนามาจนทุกวันนี้ แม้ในช่วงท้ายจะมีข้อมูลทางวิชาการบอกว่า ปุ๋ยเคมีทำให้ดินแข็ง ดินเป็นดาน ก็ตามที แต่สุดท้ายพวกเราก็ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากมายมหาศาลจนถึงทุกวันนี้....
      ต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนจากฝุ่นให้เป็นปุ๋ยเคมีนั้นใช้เวลาที่ยามนานในการทำให้คน ยอม ที่จะใช้ และ เชื่อ หรือ ชอบ ในปุ๋ยเคมี  พร้อมกับการ ไม่ใช้ ฝุ่น อีกแล้ว เป็นการทำงานหรือการผลักดันที่ยาวนานและยากลำบาก แต่ก็สำเร็จ ทำให้กาารใช้ ฝุ่น แทบจะไม่เห็นกันเลยทีเดียวในระยะตอนมา จนถึงปี 2540 ที่การใช้ ฝุ่นเริ่มกลับมาเพราะ "ต้มยำกุ้ง" ...วันหลังจะเล่าเรื่องราวก็ฟื้นฟูการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอก แทนปุ๋ยเคมี คือ กลับไปใช้ฝุ่นตามเดิมนั้นละ แต่ต้องรอคิวหน่อยนะ เพราะช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงปี 20 หรือ 30 อยู่เลยนะ 55555 



Create Date : 10 เมษายน 2563
Last Update : 17 เมษายน 2563 9:19:26 น.
Counter : 387 Pageviews.

0 comments
สงกรานต์หรรษา จันทราน็อคเทิร์น
(18 เม.ย. 2567 11:24:41 น.)
นุดเบาหวานรายงานตัว ครบ 1 เดือนแล้วจร้า nonnoiGiwGiw
(18 เม.ย. 2567 11:46:58 น.)
โจทย์ตะพาบ ... วันใดที่เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใคร โปรดมองมาทางนี้ เธอจะเห็นใครคนหนึ่งที่รอเธอ ... tanjira
(9 เม.ย. 2567 14:13:50 น.)
ถนนสายนี้มีตะพาบ กม.ที่ 349 "วันใดที่เธอ...." จันทราน็อคเทิร์น
(8 เม.ย. 2567 14:18:13 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

D-chang.BlogGang.com

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด