เถียง ๒๕๒๘ ตอน ไป "ตึกแห" กัน
      ช่วงหน้าฝน ช่วงน้ำหลากน้ำไหลนี้นอกจากไปใส่เบ็ด ใส่ไซ ใส่มอง อีกกิจวัตรหนึ่งของพวกเราคือการไป "ตึกแห" หรือ การทอดแห นั้นละ วันนี้เลยจะพาไปดูว่าพวกเราไปตึกแหกันที่ไหนและอย่างไร เพื่อจะได้เห็นบรรยากาศของวิถีชีวิตของบ้านเราเมื่อ 30 ปีก่อน
      คุณตาของเรานอกจากจะเป็นช่างจักสานผลิตงานฝีมือต่างๆแล้วความเชี่ยวชาญอีกอย่างคือการ "สาน" ตาข่ายต่างๆจากเส้นด้ายไนล่อนทั้งหลาย เช่น ตาข่าย แห อวน สวิง ซิงดักนก ฯลฯ ก็ไม่ได้ถามว่าตาไปเอาวิชามาจากไหน ที่สำคัญเราเองก็ไม่ได้เรียนไว้นะ 555 เพราะไม่ชอบงานละเอียดแบบนั้น สงสัยเป็นคนหยาบๆ เลยไม่อันกับงานฝีมือเท่าไหร่
         ตาเราจะ "สานแห" เอาไว้ใช้เองหรือเอาไว้ขาย มีแหเล้ก แหกลาง แหใหญ่ พวก 6 ศอก 11 ศอก คิดดูหว่านที่คลี่ออกรัศมี 11 ศอกหรือ 5 เมตรครึ่ง สองข้างก็ 11 เมตร แบบนี้ปลาไปไหไหนรอดละ 555 แต่ก็รอดนะ ไปเห็นได้มากมายเท่าไหร่หรือได้จนล้นก็ไม่ค่อยมีนะ ปลามันฉลาดกว่าเรามั้ง.... สานแหเอาไว้มากๆ "ผิน" ไหนที่จะขายก็ไม่ยอมนะเอาไว้แบบด้ายขาวๆนั้นละ ให้เขาไปย้อมเอง (แหต้องย้อมด้วยเลือกควายนะมันจะได้ "หมาน" คือ ปลามันจะได้มองไม่เห็นด้ายขาวๆ ไม่ดิ้น ไม่ตกใจ อีกทั้งเวลาหว่านไปเสียงก็จะนิ่ม นุ่มกว่า ไม่เสียงดังมาก รวมทั้งกลิ่นของเลือดที่เอามาย้อมจะช่วยดับกลิ่นด้าย ด้วย การย้อมแหก็มีเทคนิคของใครของมันนะ แต่ปัจจุบันไม่เห็นเขาย้อมกัน เอาด้ายขาวๆมาหว่านเลย สงสัยปลาสมัยนี้กับสมัยนั้นมันแปลกไปนะ) 
        เมื่อที่เราเล็กมากก็จะเอาแหผืนเล็กๆไปเพราะมันหว่านออกพอดีแรง หากเอาแหใหญ่ไปจะทำให้มันหนักหว่านไม่ออก เพราะแรงเหวี่ยงไม่พอ แหก็ไม่คลี่ออก บ้างครั้งไปแบบเป็นก้อนๆหรือพันกันก็มี 555 จนโตขึ้นก็ได้หว่านหรือใช้พวกแหใหญ่ 9 ศอก 11 ศอก หว่านได้สบายๆ  มันก็ต้องฝึกไปเรื่อยๆนะเดี่ญวจะเก่งเอง การหว่านแห็ไม่ได้ง่ายต้องพยายามหว่านไปเรื่อยๆ ลองบนบกบนพื้นหญ้าก่อน จากนั้นค่อยลองของจริงในน้ำ แถมยังมีเทคนิคและประสบการณ์อีกมากต้องเรียนรู้ เช่น ทำอย่างไรแหจะออกหมด ทำอย่างไรแหจะไม่ขาด ทำอย่างไรจะได้ปลา ทำอย่างไรเวลาสาวแห ทำอย่างไรเวลาแหติดกอไม้ กิ่งไม้ การหมักแหทำอย่างไร การคลุมกอ การเหยียบตีนแห ฯลฯ มันต้องอาศัยความรู้ หรือประสบการณ์ทั้งจากคนอื่นๆและจากตัวเราเองนะ
       เวลาที่พวกเราจะไป "ตึกแห" ช่วงที่น้ำเริ่มมากๆปลามันจะตื่นน้ำจะไหลลงตามน้ำไปทางหนองน้ำใหญ่ หรือช่วงที่น้ำสงบแล้วน้ำนิ่งก็จะเป็นอีกช่วงหนึ่ง เวลาจังหวะที่ปลามากๆที่ตึกแหได้ดีเราเรียกว่า "ปลาลง" เป็นเวลาที่พวกนักตึกแหชอบมากเพราะปลาจะเยอะมากวิ่งกันให้พล่านเลยละ บางคนก็ชอบไปกลางวันได้ปลามากแต่เป็นปลาตัวเล็ก เช่น ปลาขาว ปลากด ปลาสบทง ปลาขแยง ปลาหมอ บางคนชอบไปตอนกลางคืนก็จะได้ปลาตัวใหญ่ๆ ปลาช่อน ปลาดุก ประเภทนั้น แต่ก็ต้องเสี่ยงกับไม่กลัวผีนะ หรือมันเปลี่ยวกลางคืนไม่มีคนเห็น 
      สถานที่ของพวกเราที่ชอบไปกันมากมี 2 แห่ง แห่งแรกเราแรกว่า "ท่อ" เป็นท่อใต้ถนนด้านตะวันตกออกจากหมู่บ้านไปทางไปหวาง ติดกับวัด ติดกับโรงเรียน เป็นทางเกวียนเก่า นำ้จึงไหลแรงจนกว่าเป็นร่องน้ำธรรมชาติ แต่ไม่มีตลิ่งนะ ไม่ใช่คลองน้ำแบบนั้น มันเป็นที่นาเขาแต่มันเป็นทางน้ำผ่าน น้ำเลยหลากพัดเอาข้าวเขาไปหมด ไม่ค่อยได้กินรอกนาผืนนี่หรือระหว่างทางที่น้ำผ่านนะ น้ำมันมาจาก "ทุ่งเลิ้น" ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาดกว้างมาก แต่มันอยู่สูงกว่าบ้านเรา เวลาน้ำฝนตกมากๆก็ต้องหาทางออก จึงไหลมาทางหมู่บ้านเรานี้ละ ตามทางเกวียนมาจนล้นออกไประหว่างทางเกวียน จนถึงท่อที่ว่านี้ ค่อยไหลต่อไปออกทางหนองควายหรือทุ่งด้านทิศใต้ของหมู่บ้านต่อไป นอกจากน้ำมาแล้วก็มีปลามาด้วย เพราะบริเวณทุ่งเลิ้นมีหนองมีสระมากมาย พอน้ำท่วมน้ำหลากก็พัดเอาปลาที่เลี้ยงหรือธรรมชาติออกมาเต็มไปหมด ตรงนี้จะเป็นท่อน้ำ 2 ท่อขนาดกัน ปากท่อน้ำจะเป็นน้ำวน และมีบริเวณกว้างๆ น้ำมันระบายไม่ทันก็จะเอ่ออยู่หน้าท่อนี้จนเป็นคล้ายๆสระไปล฿กพอหน้าอกนี่ละ ชาวบ้านเอา "ปอ" หรือ ปอเทืองมาแช่เพื่อจะให้มันเน่าจะลอกเปลือกไปขายได้ ปลาจึงมาซ่อนตามปอที่เขาแช่เอาไว้นะ พวกปลาช่อน ปลาดุก ปลาเล็กๆจะไม่ค่อยอยู่แถวนี้มาแล้วก็มุดท่อลงไปทางใต้เลย  นอกจากหาตึกแหแล้วพวกเราก็ยังเป็นที่เล่นน้ำว่ายน้ำมุดน้ำกัน เพราะไม่ค่อยอนตราย อยู่ใกล้คน ยกเว้นตอนที่น้ำมันมากจริงๆ มันไหลลงท่อ เป็นน้ำวนแรงๆใหญ่ๆ พวกผู้ใหญ่ก็ไม่ให้เราลงไปเล่นกลัวว่าท่อจะดูดเราเข้าไปตายได้ อันตรายมาก
          อีกจุดหนึ่งที่เราไปตึกแหกันอยู่ถนนเส้นเดียวกันนี่ละแต่อยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้าน ติดกับบ้านศรีษะกระบือ เราเรียกว่า "สะพาน" เพราะเป็นสะพานปูนสร้างให้น้ำไหลผ่าน เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ บางจุดเป็นคลองน้ำ แต่ไม่มีคันคลองนะ เป็นร่องน้ำและที่ลุ่มน้ำ เวลาฝนตกหรือน้ำท่วมจึงมีน้ำและน้ำจะไหลมารวมกันที่ร่องน้ำนี้ละ ไหลเป็นจำนวนมากด้วย แต่ไม่ได้มาจากทุ่งเลิ้นเหมือนท่อมาจากอีกฝั่งหนึ่งของสวนดง บ้านหนองกระจับ บ้านศรีษะกระบือ บ้านหนองหอ เป็นต้น อีกฝั่งหนึ่ง พอฝนตกมากๆน้ำก็จะหลากและรวมตัวกันท่วมหนองน้ำธรรมชาติ สระน้ำชาวบ้าน พัดเอาปลาต่างๆมาตามน้ำเหมือนกัน จุดนี้จะเป็นที่นิยมของการตึกแหมากว่า เพราะเป็นร่องน้ำใหย๋ ปลาตัวใหญ่ ปลาเยอะ หาได้ทัั้งกลางวันและกลางคืน อยู่กลางทุ่งนาลอย ริมถนนยังสามารถใส่เบ็ด ใส่มองได้อีกด้วย มีเรือไม้จอดไว้ มีพวกไปเอาหญ้าให้ควาย มีพวกไปเอาบัว มันครึกครื้นมาก คุยกันพูดกันทักทายกัน ได้อีกบรรยายกาศ  เวลาที่ปลาลงพวกมาตึกแหจะมากันหลายสิบคนต้องแบ่งหรือสลับกับหว่านแหนะ จะได้ไม่พันกัน ใครได้มาก ใครได้น้อยก็ว่ากันไปเป็นแหๆไป แล้วแต่จังหวัด  ส่วนพวกที่มากลางคืน ก็ไม่ต้องแย่งกับใคร ส่วนมากก็เจอกันคนสองสามคนเท่านั้น นานๆทีหว่าน เผื่อว่าพอดีเจอปลาพอดี เพราะมันมองไม่เห็นอยู่แล้วมันมืดหรือแม้จะมีแสงจันทร์ก็มองไม่เห็นปลาในน้ำนะ แต่บรรยายกาศกลางคืนก็เป็นอีกแบบมันเงียบดี มันสงบดี พร้อมกับก่อกองไหเอาไว้ไล่ลมเย็นๆ หรือแมงต่างๆ ที่เจอบ่อยๆคือ ตึกแหไปฝนตกไปแบบนี้ได้ปลามากน่ะแต่หนาวจากการเปียกฝนนั้นละ ก็ต้องแลกเอาว่าจะทนหนาวได้มากขนาดไหนกับการได้ปลา สมัยนั้นก็ไม่ค่อยมีคนชอบใส่เสื้อกันฝนเท่าไหร่นะ หรือใช้ร่มก็ไม่ค่อยมีนะ ส่วนมากก็หมวกนี่ละ คืนมันหากินกลางทุ่ง หลางฟ้ามันก็ไม่มีอะไรให้คิดมากนั้นเอง ฝนตกมากไปเราทนไม่ไหวก็กลับบ้าน แล้วค่อยมาใหม่หากอยากมานะ
         นี่ละการตึกแหสมัยเมื่อ 30 ปีกว่าๆที่ผ่านมา บางครั้งตึกแหสนุกจนขาดโรงเรียนก็ไม่ แอบลาป่วยว่าอย่างงั้นเถอะ เพราะสนุกกับการหาปลา ปลามันลง (แต่ไม่ดีนะ อย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง)  พอผ่านยุคนั้น ได้กลับไปที่บ้านอีกทั้งท่อทั้งสะพานที่มันคือใหญ่ คือน่ากลัว มันคล้ายกับว่ามันเล็กมากน่ะ ไม่ได้ใหญ่เหมือนสมัยนั้น ยังแอบคิดเลยว่าสมัยนั้นมาเล่นน้ำกันได้อย่างไรมันแคบนิดเดียวเอง 555 ...นี่ละพอโตขึ้นมาหลายๆอย่างมันก็เปลี่ยนแปลงกันไป

          



Create Date : 10 เมษายน 2563
Last Update : 11 เมษายน 2563 7:16:38 น.
Counter : 449 Pageviews.

1 comments
สงกรานต์หรรษา จันทราน็อคเทิร์น
(18 เม.ย. 2567 11:24:41 น.)
แพ้เนื้อจากการโดนเห็บกัด alpha-gal allergy สวยสุดซอย
(17 เม.ย. 2567 14:07:10 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
โจทย์ตะพาบ ... วันใดที่เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใคร โปรดมองมาทางนี้ เธอจะเห็นใครคนหนึ่งที่รอเธอ ... tanjira
(9 เม.ย. 2567 14:13:50 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**

  
แวะมาเยี่ยมครับ
โดย: **mp5** วันที่: 11 เมษายน 2563 เวลา:15:55:29 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

D-chang.BlogGang.com

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด