ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 
รู้จัก....การแบ่งประเภทเครื่องบินรบและยุคของเครื่องบิน

นักตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา เครื่องบินถือเป็นยุทโธปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งต้องการเอาชนะสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองทำให้เทคโนโลยีเครื่องบินรบก้าวหน้าไปมาก และจากการถึงบินครั้งแรกของ Me-262 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบแบบแรกนั้น ทำให้โลกของอากาศยานทางทหารพัฒนาไปจนก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน

ความสำคัญของเครื่องบินรบต่อยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ของสงคราม

เครื่องบินรบสามารถเปลี่ยนโมเมนตัมของสงครามได้ทั้งในระดับเล็กและระดับใหญ่ เครื่องบินทางยุทธวิธีต่าง ๆ สามารถสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดิน ขัดขวางกำลังทางอากาศของข้าศึก ลาดตระเวนรวบรวมข่าวสาร ฯลฯ จนไปถึงเครื่องบินทางยุทธศาสตร์ที่มีผลกับสงครามในสัดส่วนที่ใหญ่กว่าคือสามารถรวบรวมข่าวกรองทางยุทธศาสตร์ ควบคุมปฏิบัติการทางอากาศ ไปจนถึงการโจมตีด้วยนิวเคลีย

สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกแสดงให้เห็นถึงคำพูดของนักการทหารท่านหนึ่งที่กล่าวว่า "ไม่มีรัฐใดแพ้สงครามในขณะที่ครองอากาศได้อย่างสมบูรณ์" เนื่องด้วยกำลังทางอากาศจะเป็นหน่วยแรกที่เข้าสู่สมรภูมิ เคลียทางให้กับกองกำลังอื่น ๆ รวมถึงป้องกันและโจมตีภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายเรา

และคำกล่าวข้างต้นก็สอดคล้องกับพระดำรัสของ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ที่ว่า...

"กำลังในอากาศ เป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว
ที่จะป้องกันมิให้สงครามมาถึงท่ามกลางประเทศ
ของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการคมนาคมปกติ"


เครื่องบินขับไล่

เครื่องบินขับไล่มีหน้าที่หลักก็คือการเข้าขัดขวางและต่อสู้กับเครื่องบินอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องบินชนิดนี้จำเป็นต้องมีความคล่องตัวสูง มีประสิทธิภาพทางการบินที่ดี มีความเร็วที่ยอดเยี่ยม นอกจากนั้นยังต้องมีระบบอิเล็กทรอนิคทางการบินและอาวุธที่เอื้อประโยชน์ให้กับภารกิจด้วย เช่นระบบเรด้าห์ที่สามารถจับเป้าหมายทางอากาศได้ไกล ระบบอาวุธพิสัยใกล้และกลางต่าง ๆ

เครื่องบินประเภทนี้ที่เราจะรู้จักกันดีที่สุดอย่างเช่น MiG-29, F-15, F-16, JA-37, Mirage เป็นต้น

ทั้งนี้ในบรรดาเครื่องบินขับไล่ด้วยกันนั้น ก็มีเครื่องบินประเภทที่ทำภารกิจขัดขวางทางอากาศ หรือ Interceptor โดยเครื่องบินประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่หรือบินได้ไกล เพราะโดยภารกิจแล้วเครื่องบินประเภทนี้มีหน้าที่ขัดขวางเครื่องบินข้าศึกในระยะที่ไม่ไกลจากฐานบิน จนกว่าข้าศึกจะล่าถอยหรือกำลังทางอากาศอื่น ๆ จะเข้ามาช่วย ทั้งนี้ เครื่องบินประเภทนี้มักไม่ได้ติดอาวุธมากมาย มีขนาดเล็ก แต่มีความเร็วและความคล่องตัวเป็นเลิศ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเครื่อง F-5 และ MiG-21 เป็นต้น

ยุคของเครื่องบินขับไล่


ในปัจจุบันเราจะได้ยินการแบ่งยุคของเครื่องบินรบว่าเป็นเครื่องยุคที่ 4 ยุคที่ 4.5 หรือยุคที่ 5 ซึ่งการแบ่งอย่างนี้นั้นไม่มีข้อมูลว่าใครเป็นผู้คิดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการจัดแบ่ง แต่การแบ่งครั้งแรกน่าจะมาจากทางรัสเซียในช่วงกลางทศวรรตที่ 90 ซึ่งรัสเซียจัดคุณสมบัติของ "เครื่องบินยุคที่ 5" เพื่อเปรียบเทียบกับโครงการ JSF ของสหรัฐ

แต่ทั้งนี้ การแบ่งในลักษณะนี้ก็จะทำให้เราเห็นภาพคร่าว ๆ ของการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องบินขับไล่ได้เป็นอย่างดี

เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 1 (1945 - 1955)

ยุคที่ 1 ของเครื่องบินขับไล่เริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการกำเนิดของเครื่องบินรบไอพ่นแบบแรกของโลกคือ Me 262 เครื่องบินในยุคนี้มีอาวุธหลักคือปืนกลอากาศและปืนใหญ่อากาศ ระเบิดธรรมดาและกระเปาะจรวดเหมือนกับเครื่องบินในยุคสงครามโลก มีความเร็วต่ำกว่าเสียง ที่พิเศษกว่าเครื่องบินในยุคสงครามโลกก็คือส่วนใหญ่เครื่องบินมีปีกลู่หลังซึ่งให้ประสิทธิภาพทางการบินดีกว่าในย่านความเร็วที่สูงขึ้น

ตัวอย่างของเครื่องบินในยุคนี้ได้แก่ Me 262, F-84, F-86, MiG-15, MiG-17

ซึ่งเครื่องที่น่าสนใจที่สุดก็คือ F-86 และ MiG-15 ที่สร้างชื่อในยุทธเวหาเหนือน่านฟ้าเกาหลีในสงครามเกาหลีนั้นเอง
ซ้าย: F-86 ขวา: MiG-15


เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 2 (1955 - 1960)

เครื่องบินในยุคนี้มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดก็คือการเปลี่ยนอาวุธหลักจากปืนกลอากาศมาเป็นจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศอย่าง AIM-9 หรือ AA-2 ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เปลี่ยนแนวทางและหลักนิยมในการรบติดพันไปเลยทีเดียว นอกจากนี้เครื่องบินในยุคนี้ยังเริ่มติดตั้งเรด้าห์ และสามารทำความเร็วเหนื่อเสียงได้ นอกจากนั้นเรายังเริ่มเห็นแผนแบบของปีกแบบ Delta Wing ที่ให้ประสิทธิภาพในการบินที่ความเร็วเหนือเสียง

ตัวอย่างของเครื่องบินในยุคนี้ได้แก่ เครื่องบินในชุด "Century Series" ของสหรัฐคือ F-100, F-101, F-102, F-104, F-105, F-106, MiG-19, MiG-21, Su-11, Hawker Hunter, Mirage-III, J-35 Darken เป็นต้น

J-35 Darken ของสวีเดน


เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 3 (1960 - 1970)

เครื่องบินยุคนี้เริ่มติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Semi-active เช่น AIM-7 Sparrow โดยเครื่องนั้นเริ่มต้นในการมีคุณสมบัติ Multi-role หรือในภาษาไทยว่าพหุบทบาท โดยรวมความสามารถในการโจมตีทั้งภาคอากาศและภาคพื้นดินเข้าไว้ด้วยกัน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเครื่องบินในยุคสงครามเวียดนามอย่าง F-4, F-5, MiG-23, MiG-25, Su-22, Harrier, Mirage F.1, Super Etendard, J-8 II เป็นต้น

J-8 II ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน


เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4 (1970 - 1990)

เครื่องบินในยุคนี้แทบทั้งหมดยังประจำการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีคุณสมบัติการเป็น Multi-Role ที่สมบูรณ์ สามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ Active Radar เช่น AIM-120 ได้ ส่วนใหญ่แล้วเครื่องในยุคนี้จะเน้นที่ประสิทธิภาพในการรบมากกว่าความเร็ว

ตัวอย่างของเครื่องบินในยุคนี้คือ F-15, F-16, F/A-18, AV-8B, MiG-29, MiG-31, Su-27, Tornado, Mirage-2000, J-10, F-2 (JSADF), LCA (Indian AF), JA-37 Viggen

LCA: Currently Deveolping by Indian Air Force


เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 (1990 - 2000)

เครื่องบินในยุคนี้เป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศทั่วโลกอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคุณสมบัติส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเครื่องในยุคที่ 4 เพิ่งแต่เพิ่มระบบ avionic ที่ทันสมัยขึ้น ปรับปรุงความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจให้ทำภารกิจได้หลากหลายขึ้น และมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก (Stealth) ในระดับจำกัด

เครื่องบินที่อยู่ในยุคนี้ได้แก่ F/A-18 E/F, Su-30, Rafale และ Eurofighter

Su-30 MKI Indian AF


เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 (2000 and Onward)

เครื่องบินในยุคนี้คือเครื่องบินขับไล่ที่เราจะเห็นไปอีกอย่างน้อย 20 - 30 ปี โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ต้องมีคือเทคโนโลยี Stealth ระบบ Data link (ระบบการกระจายข้อมูลระหว่างเครื่อง) รวมถึง Super Thrust (ระบบขับเคลื่อนความเร็วเหนือเสียงโดยไม่ต้องใช้สันดาบท้าย) เครื่องบินจะเป็นระบบอิเล็กทรอนิคล้วน ๆ

ในปัจจุบันมีเครื่องบินยุคที่ 5 เพียง 2 แบบคือ F-22 และ F-35 แต่รัสเซียได้ประกาศมาแล้วว่าเครื่องบินยุคที่ 5 ของตนกำลังพัฒนาและอาจจะพร้อมขึ้นบินในอีก 3 - 4 ปีนี้

F-35 Lightening II; Model AA-1


เครื่องบินโจมตี


เครื่องบินโจมตีมีภารกิจหลักก็คือโจมตีสนับสนุนการรบให้กับกองกำลังภาคพื้นดิน ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้วมันจะมีความสามารถทางการบินค่อนข้างสูง บรรทุกอาวุธได้มาก สามารถอยู่ในสนามรบได้นาน ส่วนมากแล้วเครื่องบินจะมีนักบิน 2 คนคือนักบินและนายทหารสรรพาวุธคอยช่วยเหลือกัน

ตัวอย่างของเครื่องบินโจมตีได้แก่ A-1, A-7, A-10, A-37, Harrier GR.7, OV-10, Alphajet, Hawk, L-39, A-5 Fantan เป็นต้น

จุดสิ้นสุดของเครื่องบินโจมตี???

ปัจจุบันสถานการณ์ของโลกการบินทางทหารได้เปลี่ยนไป กองทัพอากาศไม่ต้องการเครื่องบินที่ทำภารกิจได้แค่การโจมตีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ต้องการเครื่องบินที่สามารถปรับเปลี่ยนภารกิจได้ตามความต้องการและสถาณการณ์ในขณะนั้น ฉะนั้น ตามความเห็นของผมยุคของเครื่องบินโจมตีขนานแท้อย่าง A-37 หรือ OV-10 ก็คงจะสิ้นสุดลงพร้อมกับการเกิดขึ้นของคำสองคำคือ "Multi Role" และ "Swing Role" (ซึ่งจะกล่าวต่อไป)

A-5C Fantan กองทัพอากาศบังคลาเทศ


เครื่องบินทิ้งระเบิด


เครื่องบินทิ้งระเบิดมีภารกิจหลักคือโจมตีทิ้งระเบิด แต่จะแตกต่างกับเครื่องบินโจมตีก็คือ เครื่องบินโจมตีนั้นสามารถทำการโจมตีในทางยุทธวิธี (tectical) ซึ่งอยู่ในวงจำกัด แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถทำการโจมตีในทางยุทธศาสตร์ (Strategic) คือสามารถเปลี่ยนผลของสงครามทั้งหมดได้

เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถบินได้ไกล บรรทุกระเบิดได้มาก แต่มีอาวุธป้องกันตัวเองจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันก็คือ B-1B, B-2, B-52, F-111, Tu-22M, Tu-160 เป็นต้น

Tu-160 Blackjack. Russian Air Force


เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด


เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดหรือ Fighter-Bomber ก็เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบินทิ้งระเบิดหรือเครื่องบินโจมตี โดยเครื่องบินสามารถปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดขนาดกลางหรือหนักและสามารถทำการรบทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเครื่องบินประเภทนี้ในอดีตคือ F-105 หรือในปัจจุบันคือ Su-30, Tornado เป็นต้น

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ


เครื่อง Tanker มีหน้าที่หลัก ๆ ก็คือเติมเชื่อเพลิงให้กับอากาศยานอื่น ๆ ทางอากาศเพื่อความอ่อนตัวในการรบ เพราะอากาศยานเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องกลับมาลงสนามบินเพื่อเติมเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการเดินทางไกลต่อเนื่องอีกด้วย

ตัวอย่างของเครื่องบินประเภทนี้คือ KC-10, KC-135, Il-78 เป็นต้น

Drogue และ Boom

ระบบการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ระบบตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้เติมคือ

1. Boom ระบบการเติมแบบนี้จะมีท่อยาว ๆ ยื่นออกมาจากบ. Tanker และจะฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปในท่อรับด้านหลังเครื่องที่เรียกว่า Receptacle โดยจะมีเจ้าหน้าที่ที่นั่งอยู่ด้านหนังเครื่อง Tanke คอยควบคุมการเข้าออกของเครื่องบินที่จะรับการเติมน้ำมัน การจ่ายน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งระบบนี้เป็นมาตราฐานหลักของกองทัพอากาศสหรัฐ

ข้อดีของระบบนี้คือสามารถถ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่อากาศยานเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วคือประมาณ 1000 แกลลอนต่อนาทีในเครื่อง KC-135 นอกจากความเร็วแล้ว ประโยฃน์อีกอย่างนึงก็คือเครื่องบินไม่จำเป็นต้องบินเข้าใกล้และรักษาระดับและความเร็วให้เท่ากันเป็นเวลานาน ทำให้มีความปลอดภัย แต่ข้อเสียคือระบบมีราคาแพงมากและสามารถเติมเฃื้อเพลิงให้กับอากาศยานได้ทีละลำเท่านั้น

KC-135 Refueling F-15


2. Drogue ระบบนี้จะใช้สายท่อส่งเชื้อเพลิงยื่นออกมาจากปีกของบ. Tanker โดยปลายสายจะสังเกตุได้ง่าย ๆ ก็คือจะมีลักษณะคล้าย ๆ ตระกร้า โดยอากาศยานที่เข้ารับการเติมเชื้อเพลิงนั้นจะต้องใช้ท่อรับเชื้อเพลิงหรือ Probe ติดเข้ากับตัว Drogue ระบบนี้มีข้อดีก็คือสามารถเติมได้ครั้งและหลายลำ (สูงสุดที่เคยเห็นคือ 4 ลำ) และเป็นระบบที่ติดตั้งง่าย โดยสามารถเปลี่ยนเครื่องบินลำเลียงธรรมดาอย่าง C-130 ให้กลายเป็น KC-130 ได้

Il-78 Refueling Mirage-2000; Inidan AF


เครื่องบินขนส่ง


เครื่องบินขนส่งมีภารกิจหลักคือขนส่งสิ่งของและยุทธปัจจัยต่าง ๆ ไปสู่ที่หมาย รวมถึงสามารถใช้ขนอากาศยาน พลร่ม ปืนใหญ่ ฯลฯ ได้ด้วย

เครื่องบินประเภทนี้ที่รู้จักกันดีคือ C-130, C-5, C-17, An-72, An-124, Il-76 เป็นต้น

An-124


เครื่องบินลาดตระเวน


เครื่องบินประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ติดอาวุธป้องกันตัว โดยเครื่องจะทำภารกิจลาดตระเวนหาข่าวเป็นหลัก

เครื่องที่เรารู้จักกันดีก็คือ SR-71 และ U-2 นั้นเอง

SR-71 BlackBird


เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิค

มีหน้าที่ทำสงครามอิเล็กทรอนิค ซึ่งก็คือการเฝ้าฝังทางอิเล็กทรอนิก การก่อกวนสัญญาณ (Jamming) หรือการตอบโต้การก่อกวนสัญญาณ (ECM) เครื่องบินชนิดนี้ส่วนใหญ่มีราคาแพงมาก และมีความซับซ้อนสูง

ตัวอย่างก็เช่น E-3, EA-6B, EA-18G เป็นต้น

EA-18G Glower


เครื่องบินฝึก


เครื่องบินฝึกมีหน้าที่ฝึกศิษย์การบินเพื่อไปทำการบินกับเครื่องบินแบบต่าง ๆ โดยแบ่งได้คร่าว ๆดังนี้

1. เครื่องบินฝึกขั้นต้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องบินฝึกใบพัดที่ไม่ซับซ้อน เพื่อฝึกให้กับผู้ที่ไม่เคยบินมาก่อน ตัวอย่างเช่นเครื่อง PC-7 หรือ T-6 เป็นต้น

PC-7 Korean AF


2. เครื่องบินฝึกขั้นปลาย เป็นเครื่องบินที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จบจากการฝึกขั้นต้นมาแล้ว เครื่องบินแบบนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น หลาย ๆ รุ่นเลียนแบบห้องนักบินและระบบต่าง ๆ มาจากเครื่องบินรบจริง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับศิษย์การบิน ส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินประเภทนี้สามารถปรับเปลี่ยนภารกจิไปทำภารกิจโจมตีเบาได้ด้วย

ตัวอย่างของเครื่องบินแบบนี้เช่น PC-9, PC-21, Super Tucano เป็นต้น

PC-21


3. เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ หรือ Lead-In Fighter Trainer เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จะไปบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นต่าง ๆ เครื่องบินเหล่านี้ทำภารกิจได้ทั้งฝึกและโจมตี ดังนั้นเราจะเห็นเครื่องบินรุ่นนี้ในหลากหลายภารกิจ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ Hawk, MB339, L-15 เป็นต้น

MB339 Italian AF


Multi Role และ Swing Role

เครื่องบินในสมัยก่อนนั้นทำภารกิจได้เพียงอย่างเดียว แต่พอโลกเปลี่ยนไป ทำให้บางภารกจิเครื่องบินที่ทำได้ภารกิจเดียวไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายและภัยคุกความได้ เครื่องบินรุ่นต่อมาจึงมีคุณสมบัติ Multi Role คือสามารถทำภารกิจได้หลากหลายทั้งขับไล่ โจมตี ลาดตระเวน กดดันระบบป้องกันภายทางอากาศของข้าศึก และล่าสุด เครื่องบินสมัยใหม่ยังต้อมีคุณสมบัติ Swing Role นั้นคือเครื่องบินสามารถปรับเปลี่ยนภารกิจได้ในระหว่างปฏิบัติการกิจหนึ่ง ๆ นั้นก็คือเครื่องอาจจะเปลี่ยนจากภารกิจจมตีสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดินมาเป็นภารกิรขับไล่ทั้ง ๆ ที่ยังบินอยู่ในภารกิจเดิม

เครื่องบินที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ก็เช่น Eurofighter Typhoon, JAS-39 Gripen, F-22, Rafale เป็นต้น


Create Date : 17 ธันวาคม 2549
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:36:32 น. 10 comments
Counter : 15548 Pageviews.

 
ยอดเยี่ยมไปเลยคับ


โดย: jojotaweesak วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:1:42:52 น.  

 
jas 39 อยู่ยุคไหนละ


โดย: gripen IP: 203.113.44.71 วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:7:43:33 น.  

 
แวะมาเยี่ยมวันหยุด...สวัสดีครับ


โดย: **mp5** วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:17:59:36 น.  

 








แวะมาทักทายค่ะ มีความสุขมาก ๆน่ะค่ะ


โดย: icebridy วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:20:18:04 น.  

 
ยุคล่าสุดของไทย คือ


โดย: gripen IP: 203.113.44.9 วันที่: 21 ธันวาคม 2549 เวลา:20:21:56 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้ ขอจดไว้นะครับ
เอ้อ ผมมีเรื่องสงสัยกับเรื่องรหัสของเครื่องบินสวีเดน เนื่องจากที่ผมไปหาข้อมูลมา รหัสเครื่องบินรบของสวีเดนจะไม่มีขีด (-) ระหว่างตัวอักษรกับตัวเลขนะครับ ตัวอย่างเช่น JA 37 หรือ JAS 39 แต่คุณ Skyman กับบางคนพิมพ์มีขีดด้วยเสมอนี่เพราะความเคยชินกับเครื่องที่เราประจำการหรือเป็นระบบเรียกอาวุธของไทยครับ


โดย: กิตติโชค IP: 203.147.0.44 วันที่: 23 ธันวาคม 2549 เวลา:4:56:40 น.  

 
เอ่ ไม่ทราบเหมือนกันครับ เพราะหลาย ๆ เว็บก็เขียนขีด อย่างJ-35, JA-37, JAS-39

เรื่องขีดนี้ผมก็รู้จะหามาตราฐานยังไงอ่ะครับ เพราะมันต้องตามใจผู้ผลิต ไอ้เราคงอ่านก็เลยไม่รู้ว่าอันไหนกันแน่ ลองเข้าไปดูใน gripen.com แล้วก็ยังไงคำว่า JAS ไม่พบ (เพราะเค้าชอบเรียกเครื่องตัวเองว่า Gripen)

แต่ที่แน่ ๆ ระบบอาวุธกองทัพบกของสหรัฐไม่มีขีดครับ อย่างปืนก็ต้อง M16 ไม่ใช่ M-16


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 23 ธันวาคม 2549 เวลา:10:58:41 น.  

 
นั้นสิครับ ทางเขาชอบเรียกชื่อเครื่องอย่างเดียว เลยไม่ค่อยเห็นรหัส ทำให้ไม่รู้ว่าเขาอ่านออกเสียง JAS ยังไงไปด้วย (แต่ผมใช้ยาสไปตามที่คุณ Skyman เคยไปถามคนสวีเดนมา) แต่ใน gripen.com นั้น ผมเจอการกล่าวถึงรหัสในหน้า Gripen - A History บ้าง นอกจากนี้ในเวบกองทัพอากาศสวีเดนเอง (//www.flygvapnet.mil.se/) ก็เขียนเป็น JAS 39 นะครับ


โดย: กิตติโชค IP: 203.147.0.48 วันที่: 23 ธันวาคม 2549 เวลา:19:38:53 น.  

 
แล้ว F117-A stealth นี่จัดอยู่ในกลุ่มไหนครับ


โดย: DD IP: 124.157.248.31 วันที่: 8 สิงหาคม 2550 เวลา:11:45:10 น.  

 
F-117A Nighthawk จัดอยู่ในแบบ Attack/Fighter ครับ
คือสามารถโจมตีภาคพื้นดินได้ แต่ป้องกันตัวเองไม่ได้ครับ (เหมือนกับผู้ก่อการร้ายเอาระเบิดไปวาง ปรากฏว่าไม่ได้เอาอาวุธมา ถูกทหารป้องกันฯจับตายคาที่อยู่ตรงนั้นอ่ะครับ)แต่เนื่องจากเจ้า NightHawk มีความสามารถในด้าน Stealth สูง ก็เลย(พอจะ)หมดห่วงไปได้ แต่ก็ต้องมีสักวันที่ F-117 ถูก Fighter สอยร่วง ด้วยเหตุนี้ F-22A Raptor จึงเข้ามาแทนที่ F-117A ไงล่ะครับ


โดย: PING IP: 203.113.35.11 วันที่: 5 ตุลาคม 2550 เวลา:14:29:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.