Bloggang.com : weblog for you and your gang
ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ
https://www.facebook.com/skymantaf
หรือ Follow ได้ที่ Twitter
https://twitter.com/skymantaf
หรือที่
http://www.thaiarmedforce.com
นะครับ
Group Blog
เทคโนโลยีทางทหาร
กองทัพไทย: ประวัติการรบและศาสตร์ทางทหาร
ข้อมูลกองทัพทั่วโลก
Off Topic: เรื่องอื่น ๆ
Welcome
ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญของโลก
Temp Group: For Testing
การบินพลเรือน: เทคโนโลยี ข่าวคราว รูปภาพ
ณ ดินเเดนเเห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า \'โลก\' (หัสนิยายเชิงสารคดีโลกร้อนแนวหว้ากอ)
-+=สารบัญบทความ=+-
รายชื่อ-จำนวนยุทโธปกรณ์ในกองทัพไทย
Politic & Social Talk: การเมืองและสังคม กรุ๊ปนี้เต็มที่
<<
ตุลาคม 2549
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1 ตุลาคม 2549
เรื่องราวของกระสุนและอาวุธต่อต้านรถถัง
All Blogs
(สปอยด์)อาวุธ เทคนิค แท๊คติก ใน Battleship
DTI-1 vs. BM21
รอก Support ของกริพเพน ความลับว่าทำไมค่าบำรุงรักษาของกริพเพนถึงต่ำ
โครงการ F-35 มีค่าใช้จ่ายพุ่งไปถึง 382 พันล้านเหรียญ/ราคาค่าตัวมากกว่า 92.4 ล้านเหรียญ
JAS-39 Gripen: How to build Gripen?+วีดีโอจรวด RBS-15
รู้จักกับ M79 และกระสุนชนิดต่าง ๆ
JAS-39 Gripen: บินไปกับซิมกริพเพนและพูดคุยกับรองผู้อำนวยการโครงการกริพเพนในประเทศไทย
เยี่ยมชมเรือดำน้ำ USS City of Corpus Christi แบบเจาะลึก!
โครงการเครื่องยนต์ทางเลือกของ F-35
F/A-18A/B ของกองทัพอากาศออสเตรเลียในการฝึก Thai Boomerang 2009
JAS-39 Gripen: พิสัยทำการของ Gripen
Walk Around - Su-30MKM แห่งกองทัพอากาศมาเลเซีย
จากงานพระราชพิธี: มารู้จักปืนใหญ่กันเถอะ
คร่าว ๆ กับ StriC ระบบควมคุมปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศไทย
ว่าด้วย ... ระเบิดควัน แก๊สน้ำตา
ภาพและวีดีโอการตกของ B-2 เครื่องบิน Stealth ของสหรัฐ
Airbus Military เปิดตัวเครื่องบินลำเลียง A400M
F-35B รุ่นขึ้นลงทางดิ่ง ทำการบินเที่ยวแรก
JAS-39 Gripen: AEW&C ของไทย, ปากีสถาน, และสิงคโปร์
การพัฒนาขั้นต่อไปของ Typhoon และ Rafale
ภาพการบินทดสอบของ F-35 Lightning II "AA-1"
JAS-39 Gripen: กริพเพนเป็นแค่เครื่องบินฝึก?
รู้จัก Standard Missile-3 จรวดที่สหรัฐใช้ยิงดาวเทียม
The Most Advanced F-16IN For India Unveiled
กองทัพบกจะทำบั้งไฟเข้าประจำการ
TFC: คิดเล่น ๆ : L-39ZA/ART vs. MiG-29B
JAS-39 Gripen: กริเพน กับ Datalink
==พาเที่ยวงาน "วันเด็กแห่งชาติของกองทัพอากาศ 2551: RTAF Children's Day Air Show 2008"==
JAS-39 Gripen: บทความกริเพนของแฟนพันธุ์แท้เครื่องบินรบ สรศักดิ์ สุบงกช
JAS-39 Gripen: ว่าด้วยเรื่อง Software และ Source Code
ความหมาย และหลักการเบื้องต้นของ "Stealth Technology" .... อีกครั้ง
JAS-39 Gripen: ขอโต้เถียงข้อมูลในหนังสือพิมพ์ ภาค 2 เรื่องราคา Gripen
กองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒
JAS-39 Gripen: ข้อมูลเบื้องต้นของ Package อาวุธของ บ.ข. 20 ของกองทัพอากาศ
JAS-39 Gripen: ขอโต้เถียงข้อมูลในหนังสือพิมพ์ ภาค 1
เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งใหม่มาแล้วครับ: Sikorsky S-92
รู้จัก....(ว่าที่) เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 ของกองทัพอากาศไทย: JAS-39 Gripen
อันว่าด้วย.....ระบบเรด้าร์ลอยฟ้า: AWE, AWE&C, AWACS
-+= เปิดประสิทธิภาพ BTR-3E1 รถเกราะล้อยางจากประเทศยูเครน =+-
กองทัพเตรียมต่อยอดหุ่นยนต์กู้ภัยพระนครเหนือ
Rafale M ทดสอบการลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise ครั้งแรก
รู้จักกับ...เทคโนโลยีทางทหารใน "++Transformer++"
"Leave No Man Behind": ขอต้อนรับทุกท่านสู่ SAREX 2007 at Chiang Mai Int'l Airport ภาคอากาศยาน
"Leave No Man Behind": ขอต้อนรับทุกท่านสู่ SAREX 2007 at Chiang Mai Int'l Airport ภาค การแสดงการบิน
วันนี้...พรุ่งนี้....และมะรืนนี้ของ F-22 Raptor
Stealth Technology: รู้จัก เทคโนโลยี Stealth คร่าว ๆ กันครับ
มันมาแล้ว!!!...เอ้ย....ยินดีต้อนรับ "Su-30 MKM" สุดยอดเครื่องบินรบในอาเซียนของ "ทอ.มาเลเซีย"
กองทัพเรือ ฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Exocet MM38 (เชิญชมภาพและ VDO หายากครับ)
เชิญรู้จักกับหน่วยรบพิเศษที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก.....Navy SEAL
โครงการ JSF เปิดเผยหมวกนักบินรุ่นล่าสุดที่จะใช้กับ F-35
รู้จัก "เครื่องบินโจมตี"......ก่อนที่จะไม่มีให้เห็น
พาเที่ยววันเด็กทอ. ณ ดอนเมือง + สาระความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย ภาค 3
พาเที่ยววันเด็กทอ. ณ ดอนเมือง + สาระความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย ภาค 2
20 มีนาคม 2550.........10 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร
พาเที่ยววันเด็กทอ. ณ ดอนเมือง + สาระความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย ภาค 1
"เครื่องบินรบยิงจรวดกลับหลัง"....เอ๊ะ เป็นไปได้เหรอ
บทวิเคราะห์ Su-30 MKM ของมาเลเซีย
***อากาศยานของผู้นำสหรัฐ***
F-35 Lightening II "ขึ้นบินครั้งแรก"; F-35 First Flight
รู้จัก....การแบ่งประเภทเครื่องบินรบและยุคของเครื่องบิน
"เครื่องบินขับไล่จีน": มุมมองสู่ตลาดโลก
รู้จัก..."เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง" ลำใหม่ของกองทัพเรืออาเซียน
เครื่อง Air Force One ของประเทศต่าง ๆ (Presidential Jet)
เรื่องราวของกระสุนและอาวุธต่อต้านรถถัง
อันว่าด้วย "เรือรบล่องหน"
###ขอประกาศปิด Blog เทคโนโลยีทางทหารชั่วคราว###
ทอ.รัสเซีย สั่งซื้อ Su-34 เข้าประจำการจำนวน 58 ลำ
Kfir: ปฏิบัติการขโมยพิมพ์เขียวจากฝรั่งเศส
อิหร่าน..เตรียมจัดซื้อ Su-30 MKP จำนวน 75 ลำ
มารู้จัก "เอจีส" กันเถอะ [Mk 7 Aegis Combat System]
ข้อดี - ข้อเสีย เครื่องบินรบค่ายต่าง ๆ
กองทัพอากาศ ปรับปรุงบ.ข.19 (F-16A/B/ADF) จำนวน 50 ลำมูลค่า 1,000 ล้านบาท
บทวิเคราะห์ F-35 Lighting II จากต่างประเทศ (แปลให้แล้วครับ)
Su-47 Burkut เครื่องบินล่องหนจากรัสเซียกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าประจำการ
รู้จักกับเรือดำน้ำ 3 ชาติมหาอำนาจ ตอน เรือดำน้ำจีน
รู้จักกับเรือดำน้ำ 3 ชาติมหาอำนาจ ตอน เรือดำน้ำรัสเซีย
รู้จักกับเรือดำน้ำ 3 ชาติมหาอำนาจ ตอน เรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกา
เรื่องราวของกระสุนหัวยูเรเนียม (ภาคจบ)
เรื่องราวของกระสุนหัวยูเรเนียม (ภาคแรก)
การแบ่งประเภทของเรือรบและการตั้งชื่อเรือ
เหลือเชื่อ!! F-15 ของอิสราเอลบินได้โดยใช้ "ปี ก ข้ า ง เ ดี ย ว"
ควันหลง: รู้จักกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐและกองเรือคุ้มกัน (US Carrier Battle Group)
F-35 Joint Strike Fighter
F-22 สุดยอด (หรือเปล่า) เครื่องบินรบของอเมริกา
เรือรบใหม่ของกองทัพเรือไทยในแผนปรับปรุงกองทัพ 9 ปี
ฟันธง!!! "เรือดำน้ำ" เหมาะกับไทยหรือไม่ พร้อมวิเคราะห์ตัวเลือกที่เป็นไปได้สำหรับไทย
เปิดประสิทธิภาพฮ.และปืนใหญ่ใหม่ของกองทัพบกไทย
ทำไมเราไม่ "ทำเครื่องบินเอง" ซักที
รู้จักกับเครื่องบินขับไล่เอเชีย: "J-10" จากจีน
เปิดประสิทธิภาพตัวเลือกเครื่องบินใหม่ทอ. ตอนที่ 3: F-16 C/D Block 50/52+
เปิดประสิทธิภาพตัวเลือกเครื่องบินใหม่ทอ. ตอนที่ 2: Su-30 Flanker
เปิดประสิทธิภาพตัวเลือกเครื่องบินใหม่ทอ. ตอนที่ 1: JAS-39 Gripen
รู้จักกับ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" กันเถอะ
ความหมายของคำว่า "วัน ดี เดย์" (D Day)
ทำไมเราจึงต้องซื้อ"เครื่องบินขับไล่"ฝูงใหม่
อร่อยท่ามกลางไฟสงครามกับ MRE (Meal Ready to Eat)
เรื่องราวของกระสุนและอาวุธต่อต้านรถถัง
บทความนี้ เจ้าของบทความคือผู้หมวด FW190 แห่ง Wing21 โดยคุณ Helldriver นำมาโพสที่ //www.thaifighterclub.com เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงขอนำมาให้อ่านกันครับ
รถถังและยานเกราะนั้นจัดได้ว่าเป็นอาวุธเผด็จศึกที่ดีอีกแบบหนึ่งนอกเหนือจากอำนาจการยิงภายใต้เกราะกำบังแล้ว สิ่งหนึ่งที่บรรดาเหล่าม้าศึกมีก็คือ อำนาจการข่มขวัญทำลายขวัญข้าศึก ลองนึกภาพหน่วยยานเกราะเข้าตีดูซิครับ เสียงคำรามของเครื่องยนต์+เสียงคำรนของปืนใหญ่รถถังที่พ่นส่งดุ้นเขื่องมรณะแหวกอากาศเข้าสู่ที่หมายนัดแล้วนัดเหล่า +เสียงเอี๊ยดอ๊าดของสายพานที่กำลังควบตะกุยดินเข้าชาร์จข้าศึกหมายจะขยี้ให้แหลกจมธรณี สิ่งเหล่านี้ถ้าสมมุติเพื่อนๆเป็นทหารราบข้าศึกที่หมอบอยู่ในสนามเพลาะและกำลังกำลังจ้องมองบรรดาฝูงม้าศึกเหล่านั้นกำลังชาร์จเข้าหาตนเพื่อนจะรู้สึกยังไงครับ.....ทหารถ้าฝึกมาไม่ดีเจอเข้ากับสถานการณ์ข้างจะส่งผลต่อสภาพจิตใจมากครับ ศัพท์ทหารเรียกขวัญต่ำ ด้วยความกลัวต่อสิ่งที่เห็นอยู่ ถึงขั้นอาจจะทิ้งปืนวิ่งหนีเอาได้ง่ายๆ......แต่ใช่ว่าม้าศึกเหล่านั้นจะอยู่ยงคงกระพันฟันแทงไม่เข้า รถถังไม่ใช่เป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดในสนามรบ และไม่สามารถอยู่รอดได้ 100 % ในสนามรบ รถถังหรือนายเกราะเองก็มีโอกาสโดนน็อคเอ๊าท์สยบออกจากสนามรบได้เช่นกัน เนื่องจากเจ้าม้าศึกนั้นได้รับการหุ้มเกราะป้องกันเป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าเราจะหยุดบรรดาม้าคะนองศึกเราก็จำเป็นจะต้องเจาะเกราะที่หุ้มอยู่เข้าไปให้ได้.......การเจาะเกราะเพื่อหวังกินไข่แดงนั้นเราก็จำเป็นจะต้องล่อหลอก เอ๊ย ไม่ใช่ หุหุ ผิดเรื่อง การเจาะ(ไข่แดง)นั้นจะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่คือ
1 การเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมี
2. การเจาะเกราะด้วยพลังงานจล
เรามาพูดถึงการเจาะเกราะแบบแรกก่อนครับ การเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมีนั้น เป็นวิธีการแรกๆที่เราคิดกันขึ้นมาเพื่อหยุดบรรดาม้าศึก(รถถังและยานเกราะ)ทั้งหลายมีใช้งานครั้งแรกๆในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หัวรบแบบนี้มีชื่อว่า เชพชาร์จ หรือศัพท์ทหารไทยเรียกว่า ดินโพรง หรือหัวรบแบบ ฮีท(HEAT: High Exprosive Anti Tank หรือ ระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง กระสุนแบบนี้มีใช้งานกับ ปรส. 106 ซึ่งเพื่อนๆก็เคยยิงกันมาแล้วตอนชั้น 2) หลักการทำงานของหัวรบแบบนี้ก็คือ การรวมอำนาจของการระเบิดให้ไปรวมที่จุดโฟกัสเดียว(การระเบิดจะเป็นรูปกรวยโดยปลายแหลมจะทิ่มเข้าหาตัวเกราะ) โดยปกติการระเบิดของหัวรบจะระเบิดกระจายไปทุกทิศทุกทาง แต่หัวรบแบบเชพชาร์จ เมื่อระเบิดจะรวมอำนาจการระเบิดทั้งหมดไปไว้ที่จุดโฟกัสจุดเล็กๆที่ปลายแหลมของกรวยการระเบิด(ตัวอย่างง่ายๆ ลองนึกถึงตอนเด็กๆที่เรานำเอาแว่นขยายมารับแสงแดดให้ไปรวมกันที่จุดโฟกัส ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่มารวมกันที่จุดเล็กๆสามารถเผากระดาษได้เลย เจ้าหัวรบเชพชาร์จก็คล้ายๆ กัน) เพื่อส่งพลังงานการระเบิดทั้งหมดเจาะแทรกผ่านเนื้อเกราะเข้าไปเผาไหม้ภายในตัวรถทำลายพลประจำรถหรืออุปกรณ์ภายในรถ.......หัวรบแบบนี้ไม่ต้องใช้ความเร็วต้นที่สูงมากนัก จะสังเกตุได้ว่า คจตถ.(เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง)ทุกแบบจะใช้หัวรบประเภทนี้ทั้งหมด เช่น อาร์พีจี ที่เรารู้จักกันดี......แต่อย่างไรก็ตาม มีผูกก็ต้องมีแก้ มีตะขอก็ต้องปลด เอ๊! อันหลังฟังแปลกๆแฮะ แต่อย่างไรก็ตามม้าศึกของเราก็คงไม่ยอมจะปล่อยให้โดนถลุ่งอยู่ฝ่ายเดียว จึงได้มีการพัฒนาเกราะเสริมสำหรับเจ้าม้าเพื่อรับมือกับหัวรบแบบนี้โดยเฉพาะนั่นก็คือ เกราะอีร่า(ERA: Exprosive Reaction Armed) หรือชื่อภาษาไทยว่า เกราะเสริมปฏิกิริยาต่อต้านด้วยแรงระเบิด ชาติแรกที่หัวใสคิดค้นขึ้นก็คือ อิสราเอล(มีชื่อว่า เบล์เซ่อ) เกราะเสริมแบบนี้มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมภายในบรรจุดินระเบิด การติดตั้งจะนำกล่องระเบิดเหล่านั้นไปติดไว้ตามตัวของม้าศึกโดยจะติดห่างจากเกราะปกติประมาณ 2-3 นิ้ว หลักการทำงานก็คือ เมื่อหัวรบเชพชาร์จพุ่งเข้าชนเกราะอีร่าที่อยู่ตามตัวม้าศึก เกราะอีร่าก็จะระเบิดขึ้นแรงระเบิดของเกราะอีร่าจะทำลายรูปทรงการระเบิดของหัวรบเชพชาร์จ พูดง่ายๆก็คือ แรงระเบิดจากเกราะอีร่าจะทำให้การระเบิดของหัวรบเชพชาร์จไม่เป็นรูปกรวยดังที่กล่าวไว้ข้างต้นจะส่งผลให้อำนาจการระเบิดของหัวรบเชพชาร์จกระจัดกระจายไม่มีอำนาจพอในการเจาะเกราะม้าศึกเข้าไปได้ เท่านี้ม้าศึกก็ปลอดภัยต่อการเจาะด้วยหัวรบเชพชาร์จ.......แต่เจ้าเกราะอีร่าก็ยังมีข้อเสียคือ 1. การระเบิดของเกราะอีร่าจะก่อให้เกิดสะเก็ดเป็นจำนวนมากซึ่งจะส่งผลต่อเพื่อนผู้พักดีที่รบเคียงบ่าเคียงไหล่ด้วยกันก็คือ ทหารม้าบรรทุกยานเกราะหรือทหารราบยานเกราะหรือทหารราบตัวจ้อยที่ลงรบเดินดินอยู่ข้างๆม้าศึก(หลักการรบเราจะไม่ใช่งานรถถังเพียงลำพังจะใช่งานร่วมกับม้ายานเกราะหรือราบยานเกราะ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังทีหลัง) 2. เกราะอีร่าเมื่อถูกยิงในครั้งแรก บริเวณที่ถูกยิงก็จะล้านเลี่ยนเตียนโล่ง เหลือแต่เกราะปกติเพียวๆไม่มีอีร่ามาแปะป้องกันอยู่ ฉะนั้นถ้าม้าศึกตัวนั้นเกิดดวงกุด ดันโดนซ้ำดอกสองที่บริเวรเดิมซึ่งเหลือเพียงเกราะปกติละก็ เตียมรถมาลากซากกับไปได้เลย(อันนี้พูดถึงในขณะรบติดพัน แต่ถ้าม้าศึกที่ถูกยิงตัวนั้นดวงยังแข็งอยู่รอดดาบสองมาได้ หลังเสร็จศึกตอนนั้นก็สามารถนำเกราะอีร่ามาติดทดแทนของเดิมที่ระเบิดไปได้)......แต่!เดี๋ยวก่อน!ยังไม่จบ ถ้าเพียงท่านโทรสั่งตอนนี้ เอ๊ย ไม่ใช่ บรรดาม้าศึกอย่าพึ่งดีใจไป อย่างที่บอกแต่แรก มีตะขอก็ต้องปลด เอ๊ย มีผูกก็ต้องมีแก้ บรรดาหนุ่มที่หมายมั่นปั่นมืออยากเจาะ(ไข่แดง)เจ้าม้า ทั้งหลายหลังเห็นว่าแผนแรกไม่ได้ผลเพราะสาวเจ้ารู้ทันดันแก้ลำถูกไม่หลงเคลิ้มง่ายๆ ดังนั้นต้องเจอแผนสอง หลังจากไอ้หนุ่มหัวรบเชพชาร์จโดนแก้ลำด้วยอีสาวเกราะอีร่าไปแล้ว บรรดานักประดิษฏ์อาวุธหัวใสก็พยายามคิดค้นวิธีเจาะสาวอีร่าให้ได้ และแล้ว ก็นั่งสมาธิแบบอิกคิวซัง ป็อกๆๆๆ ปิ้ง! อ้า นึกออกแล้ว เมื่อหัวเดียวทิ่ม เอ๊ย เจาะไม่เข้า อย่างนี้อีสาวอีร่าต้องเจอดุ้นมรณะ(หัวรบนะอย่าคิดมาก) 2 หัวซะแล้ว รับรองคราวนี้เสร็จแน่ๆๆ เฮอะๆๆ(อืม เหมือนโรคจิตเลยตู)......และแล้วเกราะอีร่าก็ไม่อยู่ยงคงกระพันได้อีกต่อไป จากข้อเสียข้อที่ 2 ข้างต้นที่ผมเคยบอกไป จึงได้มีการคิดค้น จรวดต่อสู้รถถังแบบ 2 หัวรบ(ในลูกเดียว)เรียงตามกันขึ้นมา โดยหัวรบแรกจะเป็นหัวรบระเบิดแรงสูงธรรมด๊าธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา(ชักงงตัวเองแล้ว วุ๊ย) เจ้าหัว(รบ) ส่วนหัวรบที่ 2 จะเป็นหัวรบแบบเชพชาร์จ การทำงานก็คือ เมื่อดุ้น(จรวด)กระทบเป้าที่มีเกราะอีร่าป้องกันอยู่ หัวรบแรกจะมีหน้าที่แบบกามิกาเซ่คือจะระเบิดตัวเองไปพร้อมกับเกราะอีร่า ทีนี้ละช่องทางเปิดโล่งสะดวกโยธิน เพราะเกราะอีร่าตรงบริเวณนั้นระเบิดไปแล้ว หัวรบที่ดุ้นที่สองที่เป็นเชพชาร์จก็จะพุ่งเข้าชนเกราะปกติของรถถังแล้วระเบิดเจาะเข้าไปตามขั้นตอนที่บอกไว้.....ตัวอย่างแบบหนึ่งของหัวรบ 2 หัวพิฆาตรถถังแบบนี้ก็ได้แก่ จรวด เฮลไฟร์ ที่เป็นอาวุธหลักในการพิฆาตม้าศึกของเจ้าฮ.โจมตีชื่อดัง เอเอช 64 อาปาเช่ นั่นเอง แถมในปัจจุบันมีการพัฒนาหัวรบแบบ 3 หัวอีกต่างหาก เอากับมัน แค่ 2 หัวก็เจ็บจะตายอยู่แล้ว ยังจะมี 3 หัวอีก น่าสงสารเจ้าม้าศึกจัง..............ยังมีลูกเล่นอีกหลายวิธีของการเจาะเกราะรถถังด้วยหัวรบเชพชาร์จในจรวดต่อสู้รถถัง เช่น ในจรวดต่อสู้รถถังแบบใหม่ๆจะเป็นแบบลูกจรวดจะโคจรเหนือเส้นเล็ง เพื่อระเบิดเหนือตัวม้าศึก เพราะเกราะบริเวณหลังคาของรถถังจะบางที่สุด และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ปกติแล้วลูกเล่นของการวางเกราะของรถถังเพื่อเพิ่มความหนาสัมพัท โดยที่ไม่ต้องเพิ่มน้ำหนักของเกราะก็คือ การวางแผ่นเกราะแบบทำมุมลาดเอียง เพื่อนๆลองนำหนังสือมาหนึ่งเล่มครับ ลองเปรียบเทียบความหนาของสันหนังสือดูครับ แบบแรก เพื่อนๆวางหนังสือให้ตั้งฉากกับพื้นโลกโดยหันด้านสันเข้าหาใบหน้าอันหล่อเหลา(หรือสุดสวย)ของเพื่อนๆดูครับแล้วนำไม้บรรทัดมาวัดความหนาของสันหนังสือดูครับโดยการวัดให้วัดโดยไม้บรรทัดขนานกับพื้นโลกครับ แล้วอ่านตัวเลขที่ไม้บรรทัดดูครับ ทีนี้มาลองอีกวิธีครับ ด้วยหนังสือและไม้บรรทัดอันเดิม จากที่วางตั้งฉากทีนี้เปลี่ยนใหม่ครับ ให้วางหนังสือให้เอียงทำมุมกับพื้นโลกดูครับแล้วลองวัดความหนาของสันหนังสือดูอีกทีครับ(วัดแบบเดิมครับคือขนานกับพื้นโลก) เป็นไงครับความหนามันจะมากขึ้นใช่ไหมครับทั้งๆที่เป็นหนังสือเล่มเดิม ยิ่งเอียงทำมุมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งหนามากขึ้น หนังสือคือการจำลองของแผ่นเกราะครับ ส่วนไม้บรรทัดที่วัดคือการจำลองทิศทางการเข้าชนของจรวดหรือกระสุนครับ อีกอย่างครับมุมลาดเอียงของเกราะยังสามารถทำให้จรวดหรือกระสุนที่พุ่งชนมีโอกาสเกิดการแฉลบได้ครับ.......ดังนั้นเหตุที่จรวดต่อสู้รถถังแบบใหม่เปลี่ยนมุมการเข้าต่อตีก็เพื่อเหตุนี้ครับ จากปกติที่พุ่งตามเส้นเล็งเข้าชนแบบตรงๆดื้อๆ ก็เปลี่ยนใหม่เป็น โคจรเหนือเส้นเล็ง แล้วไปแตกตัวระเบิดเหนือรถถังแล้วสาดแรงระเบิดส่งปลายแหลมของกรวยการระเบิดลงทำมุมเข้าหาเกราะรถถังครับ ทีนี้เกราะลาดเอียงก็ไร้ค่าครับ มันจะมีค่าความหนาเหมือนเกราะตั้งฉากครับ เพราะการระเบิดเหนือเกราะแล้วสาดลงทำมุมเข้าหาเกราะลาดเอียง แรงระเบิดที่สาดลงทำมุมก็จะทำมุมตั้งฉากกับเกราะที่ลาดเอียงครับ
การเจาะเกราะด้วยพลังงานจลก็ตามชื่อครับ คือ เป็นการอาศัยความเร่งและโมเมนตั้มของลูกกระสุนในการแทรกเนื้อเกราะทะลุเข้าไปภายในรถถังครับ......หลักการก็คือ จะใช้ความเร็วต้นที่สูงๆเพื่อกระแทกเจาะทะลุเข้าไปภายใน ตัวหัวกระสุนจะไม่มีดินระเบิดแต่จะใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจากการเสียดทานระหว่างเนื้อกระสุนกับเนื้อเกราะ เข้าไปเผาไหม้ภายในเพื่อทำลายอุปกรณ์ตลอดจนพลประจำรถภายใน(บรื้อ สยองแทน เรียกว่า ฌาปนกิจกันเสร็จสัพ) ลองนึกดูครับว่าความเร็วมันสูงแค่ไหนขนาดทำให้เกิดแรงเสียดทานชนิดสามารถเผาไหม้ได้.......ลักษณะลูกกระสุน นั้นหัวกระสุนจะมีลักษณะเหมือนลูกดอกคือ จะมีหัวแหลมตัวจะเรียวเล็ก ไม่มีดินระเบิด และจะมีขนาดหน้าตัดที่เล็กกว่าขนาดความกว้างของปากลำกล้องปืนใหญ่รถถัง ดังนั้นมันจึงต้องมีอุปกรณ์อีกชนิดเข้ามาช่วยนั่นก็คือ ครอบ นั่นเอง เจ้าครอบที่ว่าจะเป็นเหมือนตัวคอนเน็กเตอร์เชื่อมต่อระหว่างตัวหัวกระสุนกับปลอกกระสุน เพราะว่ามันมีขนาดแตกต่างกันมากจึงต้องมี ครอบ ขึ้นเพื่อให้หัวกระสุนสวมเข้าไปในปลอกกระสุนได้ และ ให้ลูกกระสุนอยู่ตรงกลางลำกล้องปืนใหญ่........กระสุนพลังงานจลจะมีอยู่ 2 แบบคือ กระสุนเจสเกราะสลัดครอบทิ้ง(APDS-T) และ กระสุนเจาะเกราะ สลัดครอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหาง(APFSDS-T) ซึ่งในศัพท์ทหารม้าบ้านเราจะเรียกว่า กระสุน เจาะเกราะ และ เจาะเกราะพิเศษ ตามลำดับ ทั้ง 2 แบบเป็นแบบสลัดครอบทิ้งทั้งคู่แต่จะแตกต่างกันตรงที่แบบหลังจะทรงตัวด้วยครีบหาง แบบแรกจะไม่มีแต่จะทรงตัวด้วยการหมุน(เกิดจากเกลียวในลำกล้อง) เจ้าแบบแรกนั้นถูกออกแบบขึ้นมาก่อน แต่ ความเร็วต้นยังต่ำไปเพราะแรงต้านจากเกลียวในลำกล้อง และ อีกปัญหาคือ แบบไม่ครีบหางนั้น เมื่อมันกระทบเป้าจะเกิดอาการเสียการทรงตัว(เนื่องจากการหมุนของตัวลูกกระสุน ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงกระสุนไรเฟิลครับที่ว่า รูกระสุนเข้าจะเล็กส่วนรูออกจะใหญ่ นั่นแหละครับ เพราะมันเกิดจากการที่ ลูกกระสุนมันหมุนพอกระทบเป้าลูกระสุนจะเกิดอาการเสียศูนย์จึงหมุนตีคว้านจึงทำให้ รูกระสุนออกมีขนาดใหญ่นั่นเอง) แล้วตีคว้าน ทำให้เจาะเกราะได้ไม่หนามากนัก นักออกแบบจึงพยายามหาทาง เพิ่มความเร็วและการเจาะให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของเจ้ากระสุนแบบหลัง และ ปืนใหญ่รถถังชนิดลำกล้องเรียบ(ไม่มีเกลียว) จากการที่ลำกล้องแบบใหม่ไม่มีเกลียว ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการทรงตัวให้กับลูกกระสุน จึงได้เพิ่มครีบหางสำหรับทรงตัวให้กับลูกกระสุน(จึงเปนที่มาของชื่อ เจาะเกราะสลัดครอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหาง).......ลำกล้องปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ที่ไร้เกลียว(รถถังยุคใหม่ส่วนมากจะใช้ปืนใหญ่ชนิดนี้ เช่น รถถัง เอ็ม 1 อะบรามของ อเมริกา และ รถถัง ชเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษ) จะทำให้กระสุนมีความเร็วต้นที่สูงขึ้นเพราะไม่มีแรงต้านจากเกลียวในลำกล้อง............แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกระสุนเจาะเกราะสลัดรอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหางใช้งานกลับปืนใหญ่รถถังชนิดมีเกลียว โดย จุดสัมผัสระหว่างตัวลูกดอกกับครอบที่หุ้มอยู่นั้นจะมีตลับลูกปืนอยู่ เมื่อ เวลายิง ออกไป ตัวครอบจะจับกับเกลียวในลำกล้องและหมุนตามเกลียวแต่ตัวลูกดอกภายในเกลียวจะไม่หมุนตามเพราะมีตลับลูกปืนกั้นอยู่ เพราะว่าถ้าไม่มีตลับลูกปืนจะทำให้ตัวลูกดอกหมุนตามไปด้วยซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วและความเสถียรเพราะครีบหางที่หมุนตามไปด้วย(ถ้าเพื่อนๆที่ไปฝึกหรือดูงานทหารม้ามาถ้าไปลองหมุนหัวกระสุนชนิดนี้ดูมันจะหมุนได้แต่ส่วนอื่นจะอยู่กับที่ครับ เพราะผมลองหมุนมาแล้วครับ).........ลักาณะของครอบกระสุนนั้น ด้านหน้าจะมีลักษณะรับลมและต้านลม และมีลักษะเป็นกลีบๆเชื่อมต่อกันอยู่เพื่อที่เมื่อยิงพ้นปากลำกล้องปืนใหญ่ออกไปแล้ว แรงต้านจากแรงลมจะกระทำที่ด้านหน้าของครอบกระสุนและเป็นแรงที่ทำให้ครอบกระสุนแยกออกเป็นกลีบๆและสลัดออกจากตัวลูกดอก..................การทำงานของกระสุนประเภทนี้ก็คือ เมื่อยิงออกไปแล้ว พอกระสุนพ้นลำกล้องไปได้ซักระยะครอบจะถูกสลัดทิ้ง(ตามที่ได้อธิบายไป) จะเหลือแต่ตัวลูกดอกเพียวๆพุ่งเข้าหาเป้าหมาย(ตัวลูกดอกจะทำด้วยทังสเตน หรือ ยูเรเนี่ยมที่หมดรังสีแล้ว เพราะมีมวลหนาแน่น) พอกระทบเป้าตัวกระสุนจะใช้แรงจากความเร่งและโมเมนตั้มและจากรูปลักษณ์ของตัวลูกดอกเองที่เรียวแหลม(ลดแรงต้านจากเนื้อเกราะ) เจาะแทรกตัวผ่านเนื้อเกราะรถถังเข้าไปภายใน เนื่องจากกระสุนประเภทนี้จะไม่มีดินระเบิดดังนั้นมันจะไม่ระเบิดแต่จะอาศัยพลังงานความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างเนื้อลูกดอกกับเนื้อเกราะเป้าหมาย(ในระหว่างที่แทรกตัวเข้าไป)เป็นพลังงานความร้อนเข้าไปเผาไหม้ภายใน ซึ่งจะทำลายพลประจำรถและอุปกรณ์ภายใน............ถ้าจำบทความที่แล้วเกี่ยวกับการเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมีได้(หรือลองไปเปิดกระทู้เก่าดูครับ) จะจำเกราะต่อต้านชนิดหนึ่งได้นั่นก็คือ เจ้าเกราะอีร่า หรือ เกราะเสริมปฏิกิริยาต่อต้านด้วยแรงระเบิด เจ้าเกราะอีร่าที่ว่านี้จะใช้ไม่ได้ผลกับเจ้ากระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจล เพราะว่า กระสุนพลังงานจลไม่มีดินระเบิดและไม่เกิดการระเบิด จึงทำให้เกราะอีร่าไม่ระเบิดเพราะไม่มีช็อกเวพจากการระเบิดของหัวกระสุนที่มากระทบมาจุดให้ตัวเองระเบิดตามไปด้วย ดังนั้นเจ้าเกราะอีร่าไม่สามารถหยุดเจ้ากระสุนพลังงานจลได้ ปัจจุบันยังไม่มีเกราะเสริมพิเศษที่ใช้เทคนิคพิเศษแบบใดที่สามารถป้องกันกระสุนพลังงานจลได้ ซึ่งการต่อต้านทำได้เพียงการเสริมเกราะให้หนาขึ้นเท่านั้น..........ปัจจุบัน ทหารม้า ทบ.ไทย มีเจ้ากระสุนแบบนี้ทั้ง 2 ชนิดครับ เป็น กระสุนขนาด 105 มม.ใช้งานกับปืนใหญ่ลำกล้องมีเกลียว........
Create Date : 01 ตุลาคม 2549
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:25:42 น.
10 comments
Counter : 12469 Pageviews.
Share
Tweet
เจอกระสุนแบบนี้เข้าไปทหารข้างในจะเป็นไงบ้างครับ มีทางรักษาใหมครับ หรือว่าเก็บกระดูกเลย
โดย: Dude IP: 58.8.35.64 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:0:40:36 น.
เคยเห็นสารคดีเอามาฉายเหมือนกันครับ กระสุนแบบพลังงานจลน์ เวลากระสุนกระทบเป้าหมายตัวรถถังจะเป็นรูไม่ใหญ่มากแต่ข้างในดูๆแล้วถ้าโดนทีน่าจะเละ
โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.17.88 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:21:52:50 น.
ข้างในก็คงแย่อยู่ล่ะครับ เหอ ๆ
โดย: Skyman (
Analayo
) วันที่: 3 ตุลาคม 2549 เวลา:1:28:34 น.
ใครอยากจะเป็นพลขับรถถัง ผมไม่เอาด้วยหรอก เหอๆ
กล่องเหล็กดูดกระสุนนี่เอง
โดย: azureus IP: 58.9.63.171 วันที่: 3 ตุลาคม 2549 เวลา:19:46:34 น.
ถึงจะดูน่ากลัว แต่พลรถถังมีโอกาสรอดมากกว่าทหารราบเยอะนะครับ
เพราะมีอาวุธไม่กี่อย่างที่จะทำร้ายได้ ถ้าเป็นทหารราบละ สารพัดอย่างเลย
โดย: DDD IP: 203.144.130.176 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:44:16 น.
เชื่อหรือไม่ครับว่าทหารที่กวาดล้างให้หมดไปจากสนามรบได้ยากที่สุดคือทหารราบครับ เพราะสามารถอยู่ได้ทุกที่ครับ
โดย: FW190 IP: 203.146.63.184 วันที่: 16 มีนาคม 2550 เวลา:13:25:17 น.
เข้าท่าแห้ะ
โดย: 55 IP: 58.10.207.42 วันที่: 11 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:24:20 น.
รู้สึกทหารไทยจะใช้ทราย+ทอนไม้กันเอาไว้มั้งคับ
เคยเห็นแต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าไปถึงไหนแล้ว
โดย: เหมือนเคยเห็น IP: 58.10.195.173 วันที่: 31 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:48:36 น.
กระสุนเจาะเกราะมันคล้ายกับว่า พอเจาะเกราะได้แล้ว ก็เข้าไปทำลายล้างระบบภายในต่อ ประมาณว่าถึงยิงไม่โดนห้องเครื่องหรือสายพานรถ ก็จอดได้เหมือนกันครับ เพราะข้างในถูกทำลายหมด
โดย: Kwang IP: 124.121.175.159 วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:14:15:48 น.
วันนี้ได้ความรู้อีกแล้ว...ผมขออนุญาติถามครับพวกรถฮัมวี่มันกันกระสุนขนาดอะไรบ้างครับ
โดย: เบียร์แดนชล IP: 203.113.80.16 วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:20:03:31 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [
?
]
หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X
Friends' blogs
*คุณวรมัน*
sirpass
ดนย์
ผีกองกอย
อาซิ่ม
UVPhenix
pooktoon
icy_CMU
นางน่อยน้อย
Glitter Maker
เซียงยอด
laughingbug
เพลงเสือโคร่ง
กะว่าก๋า
นภานุภาพ
คนไม่เจียม..
หมีสีชมพู
Warfighter
helldiver
น้องผิง
picmee
Mr.Terran
MeMoM
FW190
เฉลียงหน้าบ้าน
labelle
AW Milan
ลูกกวาดจัง
-=Jfk=-
Jump.Jr
unsa
Vitamin_C
azuma304
น้าหนูนีล_น้องขวัญ
ลูกไก่พองลม
pattapon
จูหน่านพ
แม่น้องขวัญ_ซาแมนต้า
Aerospicy
001 JZ Team
Noahdaddyboy
ขอบฟ้าบูรพา
บิน102
พี่เปิ้ลจ๋า
spetsnaz
archawin
Webmaster - BlogGang
[Add Analayo's blog to your web]
Links
หลังไมค์ถึง Skyman (Analayo)
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
อากาศยานานุสรณ์ อากาศยาน รุ่นต่าง ๆ ของ ทอ.
F-35 JSF Official Site
"นิตยสารนาวิกศาสตร์" นิตยสารของกองทัพเรือ
Eurofighter Typhoon - Nothing Coming Close
F-16.net - The F-16 Community
Sukhoi Design Bureau: สำนักแผนแบบซูคอย
JAS-39 Official Site [Gripen International]
Thaifighterclub.org - เว็บบอร์ดทางทหารของไทย
Wing21 - เว็บบอร์ดทางทหารของไทย
Airliners.net - รวมภาพอากาศยาน
JetPhotos.Net - รวมภาพอากาศยาน
คลับหน้าต่างโลก - เรื่องราวน่าสนใจจากทั่วโลก การเมือง ความเป็นอยู่ ประเทศต่าง ๆ
Wing of Siam : โดยท้าวทองไหล
Blog ภาษาอังกฤษ thaimilitary.wordpress.com
OA Military Books - รวบรวม E-Book ทางทหารทั่วโลก
Warfighter - ข้อมูลเทคโนโลยีทางทหาร
Thai UAV Group ... UAV ขนาดเล็กฝีมือคนไทย
ตำนาน C-130 ของกองทัพอากาศไทย
ThaiArmedForce.com - เว็บบอร์ดและแหล่งความรู้ทางทหาร
NWS 980 - เครื่องฝึกจำลองการรบทางทะเลฝีมือคนไทย
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.